ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ

           กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” เรื่องราวงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วิทยากร นายณัฐพงค์ ปิยมาภรณ์ นักวิชาการช่างศิลป์เชี่ยวชาญ, นายเกียรติศักดิ์ สุวรรณพงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มจิตรกรรม, นายภราดร เชิดชู หัวหน้ากลุ่มงานประติมากรรม สำนักช่างสิบหมู่, นายทัตพล พูลสุวรรณ นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร  บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.             ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


        พระบรมสาทิสลักษณ์  พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นมณฑปพระกระยาสนานประทับเหนือตั่งอุทุมพรราชอาสน์แปรพระพักต์สู่ทิศบูรพา         เทคนิค : เขียนสีฝุ่นบนภาพพระบฏ         ขนาด : กว้าง ๕๐ เซนติเมตร  ยาว ๑๓๐  เซนติเมตร         ศิลปิน : นายสิทธิพร  สระโพธิ์ทอง  จิตรกร         กลุ่มงาน : กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร         ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย  กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖  เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)         การเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ด้วยเทคนิคการเขียนสีฝุ่นบนภาพพระบฏชิ้นนี้  จิตรกรได้บันทึกประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ในวันเสาร์ที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒  พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกจากหอพระสุราลัยพิมานเข้ายังพระที่นั่งไพศาลทักษิณ  โดยริ้วขบวนพราหมณ์  เสด็จฯ ไปยังมณฑปพระกระยาสนาน  ณ ชาลาพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน  เมื่อเสด็จฯ ถึงทรงจุดธูปเงินเทียนทอง  สังเวยเทวดากลางหาว  แล้วเสด็จขึ้นมณฑปพระกระยาสนาน  ประทับเหนือตั่งอุทุมพรราชอาสน์  แปรพระพักต์สู่ทิศบูรพาเพื่อสรงพระมุรธาภิเษก           “มณฑปพระกระยาสนาน” หรือ “พระมณฑปพระกระยาสนาน” เป็นสถานที่สรงสนานสำหรับพระมหากษัตริย์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ลักษณะเป็นมณฑปหุ้มผ้าขาวแต่งด้วยเครื่องทองคำ  เพดานดาดผ้าขาว  มีสหัสธารา [สะ-หัด-สะ-ทา-รา] สำหรับไขน้ำพระมุรธาภิเษกจากบนเพดานให้โปรยลงยังที่สรง  ผูกพระวิสูตรขาวทั้ง ๔ ด้าน ภายในมณฑปตั้งตั่งอุทุมพรบนถาดทองรองน้ำสรง           วันสรงพระมุรธาภิเษก ตั้งถาดสรงพระพักตร์ มีครอบมุรธาภิเษกสนาน และวางใบไม้นามวันกาลกิณีสำหรับทรงเหยียบบนฐานมณฑปตั้งราชวัติทรงเครื่องพื้นขาวลายทอง  ตั้งฉัตร ๗ ชั้นทองแผ่ลวดพื้นโหมดทองเงินนาคทั้ง ๔ ด้าน ด้านละ ๓ องค์ มีบุษบกน้อยสำหรับประดิษฐานพระชัยนวโลหะ [พฺระ-ไช-นะ-วะ-โล-หะ] ทางทิศตะวันออกและประดิษฐานพระมหาพิฆเนศ [พฺระ-มะ-หา-พิ-คะ-เนด] ทางทิศตะวันตก ที่มุมฐานมณฑปทั้ง ๔ มุม ตั้งศาลจัตุโลกบาล [จัด-ตุ-โลก-กะ-บาน] สำหรับบูชาพระฤกษ์         “มุรธาภิเษก” แปลว่า การรดน้ำที่พระเศียร น้ำที่รดเรียกว่า “น้ำมุรธาภิเษก” การสรงพระมุรธาภิเษก หมายถึงการยกให้ หรือการแต่งตั้งโดยการทำพิธีรดน้ำ ซึ่งตามคติความเชื่อของพราหมณ์ถือว่า การยกให้ผู้ใดเป็นใหญ่ทรงสิทธิ์อำนาจนั้น จะต้องทำด้วยพิธีรดน้ำศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งน้ำสรงพระมุรธาภิเษกในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่บรรจุในทุ้งสหัสธารานั้น เจือด้วยน้ำปัญจมหานที ในมัธยมประเทศ (อินเดีย) และน้ำเบญจสุทธคงคา แม่น้ำสำคัญทั้งห้าของราชอาณาจักรไทย น้ำสี่สระ เจือด้วยน้ำอภิเษก ซึ่งทำพิธีพลีกรรม ตักมาจาก ปูชนียสถานสำคัญในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร และเจือด้วยน้ำพระพุทธปริตรที่ได้ทำพิธีเตรียมไว้         ขั้นตอนปฏิบัติในการสรงพระมุรธาภิเษกมีแบบแผนคล้ายกันในทุกรัชกาลนับตั้งแต่ทรงผลัดฉลองพระองค์เศวตพัสตร์ เสด็จโดยริ้วขบวนจากหอพระสุราลัยพิมานมายังมณฑปพระกระยาสนาน ทรงจุดธูปเทียนเทียนบูชาเทวดากลางหาว แล้วเสด็จขึ้นประทับเหนือตั่งไม้อุทุมพรหุ้มผ้าขาวผินพระพักตร์สู่มงคลทิศในแต่ละรัชกาล ดังกรณีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแปรพระพักตร์ทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแปรพระพักตร์ทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงแปรพระพักตร์ทิศบูรพา (ตะวันออก)  การผินพระพักตร์ไปยังมงคลทิศต่าง ๆ นี้ เพื่อความเป็นสิริมงคลแด่พระองค์และความสวัสดิสุขแด่ปวงชน         นอกจากการแปรพระพักตร์ไปในมงคลทิศต่าง ๆ แล้ว ยังปรากฏธรรมเนียมการทอดใบไม้กาลกิณีให้ทรงเหยียบซึ่งแตกต่างกันในแต่ละรัชกาลด้วย เช่น รัชกาลที่ ๖ ทอดใบกระถิน รัชกาลที่ ๗ ทอดใบตะขบ รัชกาลที่ ๙ และรัชกาลปัจจุบัน ทอดใบอ้อ   ในส่วนของการถวายน้ำพระพุทธมนต์และน้ำเทพมนตร์ด้วยพระเต้า พระครอบ และพระมหาสังข์ต่าง ๆ นั้น โดยปกติบุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ได้แก่ สมเด็จพระสังฆราช พระบรมวงศ์ผู้ใหญ่ฝ่ายหน้า พระราชครูพราหมณ์ เจ้าพนักงาน แต่ในบางรัชกาลทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีบุคคลปฏิบัติหน้าที่ถวายน้ำเพิ่มเติม ดังเช่นในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียรพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้อาราธนาสมเด็จพระราชาคณะ ๓ รูปถวายน้ำพระพุทธมนต์หลังจากที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา วชิรญาณวโรรสถวายน้ำพระพุทธมนต์ที่พระขนองและพระหัตถ์แล้ว รวมทั้งได้ทูลเชิญสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ถวายน้ำด้วยพระเต้าศิลายอดเกี้ยวที่พระขนองและพระหัตถ์ด้วย    บรรณานุกรม คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก.  คำเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก. [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๔, จาก  http://www.phralan.in.th/coronation/vocabdetail.php?id=79 กรมศิลปากร.  เถลิงรัชช์หัตถศิลป์ = Coronation Art. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๖๖.      ผู้ที่สนใจขั้นตอนการการเขียนสีฝุ่นบนภาพพระบฏ  สามารถเข้าชมวีดิทัศน์ได้ทางลิ้งค์ด้านล่าง https://datasipmu.finearts.go.th/knowledge/26  


ชื่อเรื่อง                    วัดในอำเภอบางบัวทองผู้แต่ง                      พิศาล  บุญผูกประเภทวัสดุ/มีเดีย      หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                978-974-303-537-1หมวดหมู่                  ศาสนา เลขหมู่                     294.3135 พ757วสถานที่พิมพ์              นนทบุรีสำนักพิมพ์                สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชปีที่พิมพ์                   2553ลักษณะวัสดุ              262 หน้า : ภาพประกอบ ; 26 ซม.หัวเรื่อง                    วัด -- ไทย -- นนทบุรี                               วัด -- ไทย -- นนทบุรี -- บางบัวทอง                               วัด -- ไทย -- นนทบุรี -- ประวัติ ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก          รวบรวมเรื่องราวของวัดในอำเภอบางบัวทอง ใช้วิธีการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารต่างๆ การลงพื้นที่สำรวจและบันทึกภาพวัดแต่ละวัด และการสัมภาษณ์พระภิกษุสงฆ์ รวมถึงผู้อาวุโสของวัดและคนในชุมชน


สำนักศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น ชวนระลึกถึงความหลังด้วยชุดภาพถ่าย "บ้านเก่าที่บึงกาฬ" ภูมิใจนำเสนอโดยภาพ : กุลวดี สมัครไทย นักโบราณคดีชำนาญการกราฟิก : ทรัพย์อนันต์ ซื่อสัตย์ ปฏิบัติงานด้านโบราณคดีและวิชาการวัฒนธรรม⋯⋯✦⋯✧✦✧⋯✦⋯⋯✦⋯⋯✦⋯✧✦✧⋯✦⋯⋯สอบถามหรือแจ้งข้อมูลโบราณสถาน 043-242129 Line: finearts8kk E-mail: fad9kk@hotmail.comพื้นที่ในความรับผิดชอบขอนแก่น เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร


ชื่อเรื่อง                     ภาษาไทย เล่ม 2ผู้แต่ง                       พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ภาษาเลขหมู่                      495.918 ศ276ภสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 สำนักพิมพ์คลังวิทยาปีที่พิมพ์                    2504ลักษณะวัสดุ               626 หน้าหัวเรื่อง                     ภาษาไทย – แบบเรียนภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร เล่นนี้ประกอบด้วยเรื่องศรีสุนทรานุประวัติ วิธีสอนหนังสือไทย อุไภยพนจน์ นิติสารสาธก สังโยคภิธานแปล อนันตวิภาค มหาสุปัสสีชาดก และภาคเบ็ดเตล็ดอันมีคำนมัสการคุณานุคุณ วรรณพฤติคำฉันท์ และคำฉันท์กล่อมช้าง



         ปราสาททามจาน           ปราสาททามจาน องค์ปราสาทประธานสร้างด้วยศิลาแลง มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง มีมุขยื่นออกไปทางทิศตะวันออกเป็นประตูทางเข้า ส่วนอีกสามด้านทำเป็นประตูหลอก กรอบประตูและทับหลังทำด้วยหินทราย ทับหลังเหนือกรอบประตูทางทิศใต้สลักลวดลายเสร็จเพียงครึ่งเดียว เป็นรูปหน้ากาลกำลังคายท่อนพวงมาลัย โดยใช้มือยึดจับพวงมาลัยลายใบไม้ม้วน เหนือหน้ากาลมีรูปบุคคลนั่งสมาธิ ลักษณะเป็นพระพุทธรูป มีบุคคลสองคนนั่งพนมมืออยู่บริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน มีอาคารวิหารหรือบรรณาลัย 1 หลัง สร้างด้วยศิลาแลง หันด้านหน้าไปทางทิศตะวันตก แนวกำแพงแก้ว สร้างด้วยศิลาแลงล้อมรอบปราสาทประธานและอาคารหรือบรรณาลัยไว้ โคปุระหรือซุ้มประตูทางเข้าอยู่ทางด้านหน้าปราสาทประธาน ระหว่างโคปุระกับปราสาทมีแนวทางเดินต่อเนื่องถึงกัน สร้างด้วยศิลาแลง ที่บริเวณด้านทิศตะวันออกของโคปุระมีแนวทางเดินสร้างออกจากโคปุระยาวต่อเนื่องไปถึงบริเวณหนองน้ำใหญ่ ด้านนอกของโบราณสถานที่บริเวณมุมด้านตะวันออกเฉียงเหนือนอกแนวกำแพง มีสระน้ำ 1 สระ แผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อเรียงขอบสระด้วยศิลาแลงโดยรอบทั้งสี่ด้าน           จากลักษณะรูปแบบและแผนผังดังที่กล่าวมา สรุปได้ว่า ปราสาททามจาน เป็นสิ่งก่อสร้างที่เรียกว่า อโรคยาศาลา หรือศาสนสถานประจำโรงพยาบาล ที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าวรมันที่ 7 มหาราชองค์สุดท้ายของอาณาจักรเขมร ในพุทธศตวรรษที่ 18 ดังปรากฏหลักฐานในจารึกที่กล่าวถึงพระองค์ทรงโปรดให้สร้าง อโรคยาศาลา ขึ้นทั้งหมด 102 แห่ง ทั่วราชอาณาจักรของพระองค์เพื่อบำบัดทุกข์ของประชาชน รูปแบบทางสถาปัตยกรรมของโบราณสถาน           1. ปราสาทประธาน เป็นปราสาทหลังเดี่ยว ก่อด้วยศิลาแลง ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดกว้างด้านละ 5 เมตร สูง 0.90 เมตร ทางด้านทิศตะวันออกมีฐานของส่วนห้องมุขเชื่อมต่อออกไปด้านหน้าปราสาทประธาน ขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร ส่วนฐานทั้งหมดตกแต่งขอบฐานเป็นบัวคว่ำ-หน้ากระดาน-บัวหงาย และก่อเรียงเป็นขั้นบันไดทั้งสามด้าน (ทิศเหนือ, ทิศตะวันตกและทิศใต้) กว้าง 0.90 เมตร มีขั้นบันได 3 ขั้น ฐานนี้รองรับชั้นเรือนธาตุของปราสาทประธานซึ่งมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 3 เมตร สูง 4.5 เมตร ก่อลักษณะเพิ่มมุม ผนังด้านทิศเหนือ ด้านทิศใต้ และด้านทิศตะวันตก ก่อเรียงเป็นประตูหลอก ไม่เห็นหลักฐานหินที่ก่อเรียงเป็นส่วนกรอบประตู แต่ประกอบด้วยเสาประดับกรอบประตูทั้งสองข้างและทับหลังที่วางเหนือเสาประดับกรอบประตู ส่วนบานประตูหลอกก่อด้วยศิลาแลงแล้วสลักเป็นสันฝาผิดบานประตู ส่วนทับหลังเหนือกรอบประตูของปราสาทประธานมีภาพสลักเฉพาะที่ด้านทิศใต้เท่านั้น เป็นภาพหน้ากาลอยู่ตรงกึ่งกลางภาพ และมีภาพบุคคลนั่งพนมมืออยู่ทางด้านขวาของหน้ากาล ส่วนทางซ้ายของหน้ากาลยังไม่สลักภาพ ด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธานซึ่งเป็นห้องมุขนั้น เป็นประตูทางเข้าสู่ห้องครรภคฤหะที่อยู่ด้านในของปราสาทประธาน ผนังห้องมุขด้านทิศใต้ก่อเรียงหินเป็นช่องหน้าต่างและกรอบหน้าต่างทำจากหินทรายเช่นกัน ส่วนผนังมุขด้านทิศเหนือไม่มีข่องหน้าต่าง ด้านบนของห้องมุขทำเป็นหลังคาโค้งโดยการก่อเรียงหินแบบซ้อนเหลื่อมกันจนถึงสันหลังคา ส่วนเรือนยอดหรือชั้นยอดของปราสาทประธาน ก่อเรียงหินในลักษณะเป็นชั้นลดเรียงซ้อนหลั่นกันขึ้นไปอีกสี่ชั้นเป็นชั้นหลังคาขององค์ปราสาทประธาน หลักฐานชั้นบัวยอดของปราสาทประธานที่พบจากการขุดแต่ง ซึ่งได้ทดลองประกอบและนำขึ้นไปติดบนยอดของปราสาทประธานเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมของปราสาทที่สมบูรณ์           2. ศาลาจัตุรมุข บริเวณด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธาน เป็นฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมแบบจัตุรมุข ก่อเรียงหินเชื่อมติดกับส่วนฐานของห้องมุขด้านหน้าปราสาทประธาน ขนาดกว้างด้านละ 5 เมตร สูง 0.50 เมตร ย่อมุมทั้งสี่มุมเข้าไปด้านละ 0.50 เมตร ที่ขอบโดยรอบก่อเรียงหินสูงกว่าพื้นด้านใน 0.25 เมตร มีหลุมเสารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้าง 0.30 เมตร ที่มุมทุกมุม พื้นด้านในก่อเรียงด้วยหินทรายสลับกับศิลาแลง           3. โคปุระ หรือซุ้มประตูทางเข้าสู่โบราณสถาน ก่อด้วยศิลาแลง ส่วนกรอบประตูและหน้าต่างทำจากหินทราย แผนผังเป็นรูปกากบาท ขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 8 เมตร สูง 4.5 เมตร ผนังของโคปุระทั้งสี่ด้านมีสภาพสมบูรณ์แต่ส่วนหลังคาพังทลายลงเกือบทั้งหมดคงเหลือเฉพาะด้านทิศใต้เท่านั้น ประตูทางเข้ามีสองด้าน คือ ด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ซึ่งเป็นช่องประตูตรงกัน ประตูด้านทิศตะวันออกเป็นประตูที่ใช้เป็นทางเข้าสู่ภายในซุ้มประตู ก่อเป็นมุขยื่นออกไป ขนาดกว้าง 2 เมตร และประดับหน้าต่างหลอกไว้ที่ผนังทั้งสองข้าง ส่วนประตูด้านทิศตะวันตกเป็นประตูที่เข้าสู่พื้นที่ภายในโบราณสถาน อยู่ภายในกำแพงแก้ว ประตูด้านทิศนี้เป็นประตูติดผนัง ไม่มีมุขยื่นออกมา ลักษณะแผนผังรูปกากบาทของโคปุระ ที่มีแนวยาวในแนวทิศเหนือ - ทิศใต้ ทำให้แบ่งพื้นที่ภายในออกเป็น 3 ห้อง คือ ห้องตรงกลาง ห้องด้านทิศเหนือ และห้องด้านทิศใต้ ห้องตรงกลางมีขนาด 4x4 เมตร ผนังด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้ของห้องตรงกลางนี้มีช่องประตูไปยังห้องด้านทิศเหนือและห้องด้านทิศใต้ ซึ่งมีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร ส่วนพื้นภายในห้องโคปุระทั้งหมดวางเรียงด้วยศิลาแลง           4. บรรณาลัย เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 9 เมตร สูง 3.5 เมตร ก่อสร้างด้วยศิลาแลง หันด้านหน้าไปทางทิศตะวันตก ผนังของบรรณาลัยด้านทิศตะวันออก มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ยังคงเหลือตั้งแต่ส่วนฐานถึงผนังรับหลังคา และมีการสลักเป็นประตูหลอกไว้ด้วย ด้านทิศเหนือและด้านทิศตะวันตกคงสภาพอยู่ได้ด้วยรากไม้ขนาดใหญ่โอบรัดไว้ และผนังด้านทิศใต้พังทลายเกือบหมดเนื่องจากรากไม้ขนาดเล็กแผ่ขยายปกคลุมไปทั่วบริเวณ ทางด้านทิศตะวันตกของบรรณาลัยยังพบหลักฐานศาลารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 3 เมตร ยาว 6 เมตร สูง 0.5 เมตร ก่อสร้างด้วยศิลาแลง ฐานศาลานี้ก่อเรียงหินเชื่อมต่อไปยังศาลาจัตุรมุขที่อยู่ด้านหน้าของปราสาทประธาน           5. กำแพงแก้ว ล้อมรอบโบราณสถาน แผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 22 เมตร ยาว 48 เมตร สูง 2 เมตร หนา 0.5 เมตร มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ทั้งสี่ด้าน ทางด้านทิศตะวันออกซึ่งก่อสร้างเชื่อมต่อออกมาจากโคปุระ ทำให้แบ่งแนวกำแพงแก้วออกเป็นสองส่วน คือ ด้านทิศตะวันออกซีกด้านทิศเหนือและด้านทิศตะวันออกซีกด้านทิศใต้ ซึ้นด้านนี้ยังได้พบหลักฐานการก่อเรียงหินเป็นช่องประตูทางเข้าขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร การก่อสร้างกำแพงแก้ว ก่อเรียงจากชั้นฐานเป็นชั้นฐานบัวแผ่ลดหลั่นกันสามชั้นแล้วจึงก่อเรียงเป็นส่วนกำแพงขึ้นไปจนถึงส่วนสันกำแพง แล้วจึงก่อเรียงเป็นบัวกลุ่มยาวตลอดแนวกำแพง           6. สระน้ำ ตั้งอยู่ด้านนอกโบราณสถาน ห่างจากมุมกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 3 เมตร ก่อเรียงศิลาแลงเป็นของสระรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 14 เมตร ยาว 18 เมตร ลึก 4 - 5 เมตร โดยก่อศิลาแลงลดหลั่นเป็นขั้นบันไดลงไปสู่ก้นสระ จำนวน 13 - 15 ขั้น แต่ละขั้นสูงประมาณ 25 -30 เซนติเมตร           7. ทางเดินหรือชาลา ด้านทิศตะวันออกของโบราณสถาน ก่อเรียงหินเป็นทางเดินรูปกากบาทสองชั้นที่ด้านทิศตะวันออกของโคปุระหรือซุ้มประตูทางเข้า ทางเดินนี้เป็นแนวตรงไปถึงถนนลูกรังติดกับกุดปราสาทหนองน้ำใหญ่ ก่อด้วยศิลาแลงและแทรกสลับหินทราย บริเวณติดกับโคปุระ ก่อเรียงหินเป็นทางเดินขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 2 เมตร แล้วก่อเรียงหินเป็นชาลารูปกากบาท กว้างด้านละ 7 เมตร จากนั้นลดขนาดทางเดินให้แคบลงจนกว้างเพียง 1.5 เมตร ยาว 2 เมตร แล้วก่อเป็นชาลารูปกากบาทชั้นที่สอง กว้างด้านละ 7 เมตร ยาวไปจนถึงบริเวณถนน ปราสาททามจาน ตำบลสมอ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ


           กรมศิลปากร ขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมทัวร์ไปกับศิลปากรสัญจร ครั้งที่ 1 ครั้งแรกกับกิจกรรม "ไหว้พระ ชมโขน ยลศิลป์ ถิ่นพิมาย" ที่จะพาท่านเดินทางไปท่องเที่ยวไปกับกรมศิลปากรในราคาย่อมเยาว์ เพียงท่านละ 4,000 บาท  (ราคารวมค่ารถ ค่าอาหาร ค่าที่พักและค่าเข้าชม) ในระยะเวลา 2 วัน 1 คืน ระหว่างวันที่ 20 - 21 มกราคม 2567 เพื่อชมโบราณสถานสำคัญในจังหวัดนครราชสีมา พร้อมวิทยากรมากประสบการณ์ผู้ทำงานในพื้นที่ รวมถึงนักโบราณคดีผู้ขุดค้นแหล่ง พบกับไฮไลท์สำคัญ คือ การชมโขนกรมศิลปากร เรื่องรามเกียรติ์ ชุด "สำมนักขาก่อเหตุ อาเพศลงกา" ในบรรยากาศโบราณสถานปราสาทพิมาย ยามพลบค่ำ ณ ปราสาทหินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย             มีเส้นทางท่องเที่ยว  ดังนี้            - ขึ้นรถที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร            - วัดธรรมจักรเสมาราม (พระนอนทวารวดี 1,300 ปี)            - ปราสาทเมืองแขก            - เมืองพิมาย            - ท่านางสระผม            - กุฏิฤาษี            - ประตูชัย            - ชม “ปราสาทพิมายยามค่ำคืน” (Phimai Night: Light Up)            - ชมการแสดงโขนกรมศิลปากรชุดใหญ่            - สักการะพระเจ้าชัย(องค์จริง) ณ พิพิธภัณฑ์พิมาย            - ปราสาทพนมวัน            - ปราสาทบ้านบุใหญ่            - แหล่งตัดหินสีคิ้ว ทั้งนี้ "รายได้หลังหักค่าใช้จ่าย สมทบกองทุนโบราณคดีเพื่อบูรณะโบราณสถานและพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ            ผู้สนใจสามารถจองที่นั่ง หรือสอบถามเพิ่มเติมที่ คุณวรรณพงษ์ 0958214816 คุณอรุณี 0958214791 หรือผ่านช่องทางออนไลน์ Facebook Page : สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา กรมศิลปากร หรือ สแกน QR Code เพื่อติดต่อ Line Official (ไลน์)


องค์ความรู้ เรื่อง 7 พระเกจิเมืองสุพรรณ ผู้เรียบเรียง : นายปฎิพัทธ์พงษ์ ภุมรินทร์ บรรณารักษ์ปฎิบัติการ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จัดนิทรรศการ เรื่อง "กว่าจะมาเป็นการคัดลอกภาพจิตรกรรมกรุวัดราชบูรณะเสมือนจริงลงบนแผ่นกระเบื้องดินเผา" เนื่องในโอกาสวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี ๒๕๖๖ จัดแสดงระหว่างวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๖ - ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๗ โดยนิทรรศการนำเสนอเรื่องราวการจัดทำกระเบื้องพิมพ์ลายภาพจิตรกรรมกรุวัดราชบูรณะ ที่จัดแสดงอยู่ในอาคารนิทรรศการเครื่องทองอยุธยา เพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับแนวคิด ที่มา และการดำเนินการจำลองภาพจิตรกรรมกรุวัดราชบูรณะลงบนกระเบื้องดินเผาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าชมได้รับความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะกรุและภาพจิตรกรรมกรุวัดราชบูรณะ ตลอดจนเทคนิควิธีการในการเก็บรักษาข้อมูลโบราณสถานเพื่อส่งต่อให้คนรุ่นหลังต่อไป             ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการพิเศษนี้ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ณ อาคารนิทรรศการเครื่องทองอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดวันอังคาร - วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร ๐ ๓๕๒๔ ๑๕๘๗





            อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ขอเชิญร่วมงานเทศกาล “เที่ยวพิมาย” ซึ่งเป็นงานเทศกาลประจำปีที่จัดขึ้นที่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยจะจัดขึ้นเป็นเวลา 5 วัน 5 คืน ในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ในปีพุทธศักราช 2567 เทศกาล “เที่ยวพิมาย” กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 - 10 พฤศจิกายน 2567 ภายในงานจะมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย เช่น             - การแสดงแสง สี เสียง สื่อผสม เล่าเรื่องราวความเป็นมาของอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย             - การแข่งขันเรือยาวประเพณีชิงชนะเลิศถ้วยพระราชทานฯ การแข่งขันเรือยาวประเพณีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ             - ตลาดย้อนยุคโบราณ จำหน่ายสินค้าพื้นเมือง อาหารพื้นบ้าน และผลิตภัณฑ์ชุมชน              - การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน การแสดงศิลปะพื้นบ้านของท้องถิ่นต่างๆ กิจกรรมอื่นๆ เช่น การแสดงคอนเสิร์ต การแข่งขันกีฬา และกิจกรรมสันทนาการต่างๆ            ทั้งนี้ สถานที่จัดงานเทศกาล “เที่ยวพิมาย” หลักๆ จะอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย และบริเวณลำน้ำจักราชและ หน้าทางเข้าปราสาทหินพิมาย



ผู้แต่ง : จำปา เยื้องเจริญ, เทิม มีเต็ม และคงเดช ประพัฒน์ทองปีที่พิมพ์ : ม.ป.ป. สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977)      กรมศิลปากร จัดดำเนินการแก้ไข และปรับปรุง วิเคราะห์ศิลาจารึก ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย และอาณาจักรล้านนานี้ให้ถูกต้องสมบูรณ์กว่าฉบับที่เคยตีพิมพ์มาแล้วก่อนหน้านี้ และได้นำเอาเรื่องจารึกที่พบในเขตจังหวัดลำพูน ถึงแม้จะรักษาเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย มารวมตีพิมพ์เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้ผู้ที่สนใจ สามารถเข้าถึงเรื่องราวเกี่ยวจารึกสมัยอาณาจักรหริภุญไชยได้ครบถ้วน เพื่อเป็นการเผยแพร่การศึกษาประวัติศาสตร์และอารยะธรรมไทยภาคเหนือต่อไป


Messenger