ปราสาทโคกงิ้วหรือปราสาทโคกปราสาท ตำบลปะคำ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์
ปราสาทโคกงิ้วหรือปราสาทโคกปราสาท ตำบลปะคำ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์
ปราสาทโคกงิ้ว เป็นอาคารในส่วนของสุคตาลัยหรือศาสนสถานประจำโรงพยาบาล (อาโรคยศาลา)
ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราวคริสตศตวรรษที่ 12-13 หรือราว 800 ปีมาแล้ว
ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราวคริสตศตวรรษที่ 12-13 หรือราว 800 ปีมาแล้ว
ผังประกอบไปด้วยปราสาทประธานหันหน้าไปทางทิศตะวันออก
มีอาคารที่เรียกกันว่าบรรณาลัยอยู่ทางที่ตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน
โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันตก อาคารทั้งสองหลังมีกำแพงแก้วโอบล้อมอาคารไว้
โดยมีโคปุระเป็นซุ้มประตูทางเข้าอยู่ทางทิศตะวันออก ด้านนอกกำแพงแก้วทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นสระน้ำผังสี่เหลี่ยม
มีอาคารที่เรียกกันว่าบรรณาลัยอยู่ทางที่ตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน
โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันตก อาคารทั้งสองหลังมีกำแพงแก้วโอบล้อมอาคารไว้
โดยมีโคปุระเป็นซุ้มประตูทางเข้าอยู่ทางทิศตะวันออก ด้านนอกกำแพงแก้วทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นสระน้ำผังสี่เหลี่ยม
จากการสำรวจเมื่อพ.ศ.2502 โดยภัณฑารักษ์เอกมานิต วัลลิโภดม พบโบราณวัตถุสำคัญได้แก่
1. ประติมากรรมพระไภษัชยคุรุ
2. พระโพธิสัตว์อโวลกิเตศวประทับนั่ง 4 กร
3. กรอบคันฉ่อง ซึ่งปรากฏจารึกภาษาเขมร อักษรขอมโบราณ กล่าวถึงการถวายไทยธรรม (ซึ่งน่าจะหมายถึงกรอบคันฉ่องนี้)
โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แก่อาโรคยศาลา ณ วิเรนทรปุระ เมื่อมหาศักราช 1115 (บางท่านอ่านเป็น 1114) ตรงกับ พ.ศ.1736 (หรือ 1735)
โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แก่อาโรคยศาลา ณ วิเรนทรปุระ เมื่อมหาศักราช 1115 (บางท่านอ่านเป็น 1114) ตรงกับ พ.ศ.1736 (หรือ 1735)
นอกจากนี้จากการขุดศึกษาและบูรณะเมื่อ พ.ศ.2554 ยังพบโบราณวัตถุสำคัญอีกหลายชิ้น เช่น ทับหลังสลักภาพคชลักษมี, เสาประดับกรอบประตู ,
ประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์วัชรปาณีทรงครุฑ,พระหัตถ์ด้านซ้าย ขวา ของพระอวโลกิเตศวร, เครื่องมือเครื่องใช้ และภาชนะดินเผาอีกจำนวนหนึ่ง
ประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์วัชรปาณีทรงครุฑ,พระหัตถ์ด้านซ้าย ขวา ของพระอวโลกิเตศวร, เครื่องมือเครื่องใช้ และภาชนะดินเผาอีกจำนวนหนึ่ง
จากการดำเนินงานทางโบราณคดีนี้ทำให้ทราบว่า คงมีการเคลื่อนย้ายองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมจากปราสาทหลังอื่น
ที่สร้างขึ้นในช่วงก่อนหน้ามาใช้ในปราสาทโคกงิ้วด้วย เนื่องจากทับหลังสลักภาพคชลักษมี และเสาประดับกรอบประตูที่พบ
ที่สร้างขึ้นในช่วงก่อนหน้ามาใช้ในปราสาทโคกงิ้วด้วย เนื่องจากทับหลังสลักภาพคชลักษมี และเสาประดับกรอบประตูที่พบ
ภาพการบูรณะจากกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา
ภาพถ่ายเก่าปราสาทโคกงิ้วจากโครงการและรายงานการสำรวจและขุดแต่งโบราณวัตถุสถาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2502
(จำนวนผู้เข้าชม 490 ครั้ง)