ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
มหามกุฏราชสันตติวงศ์ : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๔๗ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแพ พระสนมเอก ที่มาของพระนามเนื่องมาจากวันที่พระองค์ประสูตินั้นฝนตกหนักมากราวกับฟ้ารั่ว เหมือนนาคให้น้ำบริเวณนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัวจึงพระราชทานนามว่า " มนุษยนาคมานพ" ประสูติเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๔๐๓
ในปีพุทธศักราช ๒๔๐๗ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้มีพระราชพิธีโสกันต์ พระเจ้าลูกเธอ ๒ พระองค์ที่พระนครคีรี พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพได้โดยเสด็จด้วย ทรงเล่าไว้ในหนังสือ"พระประวัติตรัสเล่า" ว่า
"...เราจำได้ว่าเมื่อครั้งโสกันต์พี่พักตร์พิมลพรรณที่เมืองเพ็ชร์บุรี วันหนึ่งเราตามเสดจลงจากเขามไหศวรรย์ ไปรับกระบวรแห่ไม่ทัน แม่นมอุ้มไปดักกลางทาง สอนให้เราทูลขอให้ทรงรับ ท่านให้หยุดพระราชยานรับเราขึ้นด้วย ประทับที่ไหน พวกเราก็นั่งล้อมเบื้องพระปฤษฎางค์ฯ เรามีความอิ่มใจว่า แม้เรายังเล็ก เราก็พอเปนประโยชน์แด่ทูนกระหม่อมของเราได้บ้าง..."
ในรัชกาลที่ ๕ ทรงผนวชแล้วทรงแปลพระปริยัติธรรมเป็นเปรียญ ๕ ประโยค ทรงได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส สุนทรพรตวิสุทธิพรหมจรรย์ วิมลศีลขันธ์ธรรมวรยุต ศรีวิสุทธิคณานุนายก สาสนดิลกธรรมานุวาทย์ บริสัษยนารถบพิตร ทรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๔๒๔ ต่อมาเลื่อนสมณศักดิ์เสมอสมเด็จพระราชาคณะ เจ้าคณะใหญ่ธรรมยุติกา ทรงตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัยและทรงได้รับการสถาปนาให้เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฑปรินายกองค์ที่ ๑๐ แล้วเลื่อนเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงฯ พระนามตอนต้นอย่างเดิมเปลี่ยนท้ายพระนามว่า บริสัษยนารถสมณุดม บรมบพิตร เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๔๔๙
ในรัชกาลที่ ๖ ทรงรับมหาสมณุตมาภิเษก เป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ศรีสุคตขัตติยพรหมจารี สรรเพชญรังศีกัลยาณวากย์ มนุษยนาค อเนญชาริยวงษ์ บรมพงศาธิบดี จักรีบรมนาถประนับดา มหามกุฏกษัตรราชวรางกูร จุฬาลงกรณ์ปรมินทรสูรครุฐานิยภาดา วชิราวุธมหาราชหิโตปัธยาจารย์ ศุภศีลสารมหาวิมลมงคลธรรมเจดีย์ สุตพุทธมหากวี ตรีปิฏกาทิโกศล เบญจปฎลเศวตฉัตร ศิริรัตโนปลักษณมหาสมณุตมาภิเษกาภิษิต วิชิตมารสราพกธรรมเสนาบดี อมรโกษินทรโมลีมหาสงฆปรินายก พุทธศาสนดิลกโลกุตมมหาบัณฑิตย์ สิทธรรถนานานิรุกติประติภาน มโหฬารเมตตาภิธยาศรัย พุทธาทิรัตนตรัยสรณารักษ์ เอกอัครมหาอนาคาริยรัตน์ สยามาธิปัตยพุทธบริษัทเนตร สมณคณินทราธิเบศสกลพุทธจักรกฤตโยปการ มหาปาโมกขประธานสถาวีรวโรดม บรมนาถบพิตร ทรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระมหาสมณ เป็นประธานสงฆบริษัททั่วราชอาณาเขต เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๓
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่าประธานสงฆ์ทั่วราชอาณาจักร มีพระนามปรากฏว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ มีนามอย่างสังเขปว่า สมเด็จพระสังฆราช เป็นประเพณีสืบมา แต่พระบรมวงศ์ผู้ใหญ่ที่ได้รับมหาสมณุตมาภิเษกดำรงสมณศักดิ์ดังกล่าว กลับเรียกตามพระอิสริยยศแห่งพระราชวงศ์ ไม่ปรากฏพระเกียรติคุณในส่วนสมณศักดิ์นั้นเลย ทั้งทรงพระราชดำริว่าเป็นพระอุปัธยาจารย์ เป็นมหาสังฆปรินายกมา ๑๐ ปีแล้ว มีคุณูปการในทางพุทธศาสนายิ่งนัก และประจวบอภิลักขิตสมัยคล้ายวันประสูติ สมควรจะสถาปนาพระนามในสมณศักดิ์ให้ปรากฏพระเกียรติยศยิ่งขึ้น จึง โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำนำพระนามเป็น “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า” เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๔๖๔
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๔๖๔ สิริพระชันษา ๖๒ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง
อ้างอิง
ศิลปากร, กรม. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ ๑๔ .กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค.ลาดพร้าว, ๒๕๕๔.
วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา. พระประวัติตรัสเล่า. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฎราช
วิทยาลัย, ๒๕๐๘. (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันเอกหม่อมเจ้านิวัทธวงศ์ เกษมสันต์ ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๘)
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๘ น่า ๑๐ วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๔๖๔. ประกาศสถาปนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า.
[ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๔http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2464/A/10.PDF
เรียบเรียง : ณัฐพล ชัยมั่น
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี
ชื่อเรื่อง ตำนานธาตุพนม (พื้นธาตุพนม)
สพ.บ. 384/1ฆ
หมวดหมู่ พุทธศาสนา
ภาษา บาลี/ไทยอีสาน
หัวเรื่อง พุทธศาสนา
พระธาตุพนม
ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลาน
ลักษณะวัสดุ 12 หน้า : กว้าง 4.7 ซม. ยาว 56.7 ซม.
บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (วิภังค์-มหาปัฏฐาน)
สพ.บ. 377/4ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 22 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง ธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทย-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
__ก้อนศิลา “ขอมดำดิน” ในวัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย__. ภาพถ่ายเก่าก้อนศิลา ซึ่งสันนิษฐานกันว่าเป็น ขอมดำดิน ในวัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย ถูกถ่ายเมื่อปี พ.ศ.2450 ครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ได้เสด็จประพาสเมืองสุโขทัยและกล่าวถึงตำนานพระร่วงกับขอมดำดินในพระราชนิพนธ์เที่ยวเมืองพระร่วงว่า. “...อนึ่ง วัดมหาธาตุนี้ราษฎรนับถือกันว่าเป็นที่สำคัญนัก เพราะกล่าวว่าเป็นที่พระร่วง (นายส่วยน้ำ) ได้ทรงผนวชอยู่ ยังมีสิ่งที่ชี้เป็นพยานกันอยู่คือ ขอมดำดิน ซึ่งตามนิทานว่าดำดินมาแต่นครธม มาโผล่ขึ้นในลานวัดกลางเมืองสุโขทัยเพียงแค่อก เห็นพระร่วงซึ่งผนวชเป็นภิกษุกวาดลานวัดอยู่ ขอมไม่รู้จักจึงถามหาพระร่วง พระร่วงก็บอกว่าให้ขอมคอยอยู่ก่อน จะไปตามพระร่วงมาให้ กายขุนขอมก็เลยกลายเป็นศิลาติดอยู่ที่ลานวัดนั้นเอง ก้อนศิลาซึ่งสมมุติเรียกกันว่าขอมดำดินนี้ อยู่ในลานพระมหาธาตุข้างด้านใต้ ที่ยังแลเห็นได้นั้นเป็นรูปมนๆคล้ายหัวไหล่คน ถ้าแม้ต่อศีรษะเข้า ก็พอจะคล้ายรูปคนโผล่ขึ้นมาจากดินเพียงหน้าอกได้...”. ตำนานเรื่องพระร่วงกับขอมดำดินนี้เป็นร่องรอยหลักฐานหนึ่งที่สำคัญ อันแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ในเชิงอำนาจทางการเมืองของขอมหรือเขมรโบราณที่เข้ามามีอิทธิพลในสุโขทัยในช่วงแรกได้เป็นอย่างดี ซึ่งสัมพันธ์กันกับการพบหลักฐานทางโบราณคดีจากการขุดค้นและรูปแบบศิลปกรรมที่ปรากฏจากโบราณสถานต่างๆ ภายในเมืองสุโขทัย เช่น วัดพระพายหลวง ศาลตาผาแดง และวัดศรีสวาย .*ปัจจุบันก้อนศิลาขอมดำดิน เก็บรักษาและจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง**ภาพจาก : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ รหัสภาพ ภ 002 หวญ 22-9(1)***ข้อมูลจาก : พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. เที่ยวเมืองพระร่วง. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2521. (อ่านหนังสือออนไลน์ได้จาก https://www.finearts.go.th/.../23924-%E0%B9%80%E0%B8%97...)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.41/1-1
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
มหานิปาตวณฺณนา(ทสชาติ) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (สุวณฺณสาม,มโหสถ,วิธูร,เนมิราชชาตก)
ชบ.บ.105.7ง/1-1
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.331/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 80 หน้า ; 4.5 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 131 (338-342) ผูก 5 (2565)หัวเรื่อง : มิลินฺทปญฺหา(พระยามิลินทะ)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ด้วยวันที่ ๑๒ ตุลาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนาหอสมุดแห่งชาติ ดังนั้น ในวาระครบ ๑๑๖ ปี เพจคลังกลางฯ จึงขอเชิญชวนทุกท่านเรียนรู้ประวัติ พร้อมทั้งทำความรู้จักโบราณวัตถุยุคบุกเบิกที่เกี่ยวข้องกับหอสมุดแห่งชาติ คือ ตู้พระธรรม ซึ่งเดิมเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ปัจจุบันถูกนำมาเก็บรักษาที่คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยเบื้องต้น หอสมุดแห่งชาติเกิดขึ้นจากการรวมหอสมุดทั้ง ๓ แห่ง แล้วสถาปนาขึ้นเป็นหอพระสมุดสำหรับพระนคร ในสมัยรัชกาลที่ ๕ กระทั่งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐบาลได้โอนหอพระสมุดให้อยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น หอสมุดแห่งชาติ ในปัจจุบัน
“กรมพระดำรงอย่าทิ้งหอพระสมุดนะ” พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีต่อสมเด็จฯ กรมพระดำรงราชานุภาพ (พระยศขณะนั้น) ในคราวโปรดเกล้าฯ ให้ทรงว่าการหอพระสมุดฯ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเก็บรวบรวมบรรดา “ตู้ทองลายรดน้ำ” ที่ถูกทิ้งไว้ตามวัดมาใช้ใส่หนังสือในหอพระสมุดฯ ตู้พระธรรมที่ถูกเก็บรักษาโดยหอสมุดแห่งชาติในปัจจุบันจึงถือเป็นผลจากการดูแลเก็บรักษาในคราวนั้น ด้วยตู้เหล่านี้เป็นโบราณวัตถุที่ทรงคุณค่าด้านศิลปกรรม ซึ่งถูกปรับเปลี่ยนหน้าที่จากเดิมถูกทิ้งไว้อยู่ตามวัดวาอาราม เป็นตู้สำหรับเก็บรักษาหนังสือ สมุดไทย ตลอดจนตำราสำคัญของชาติ
นอกจากนี้ ยังมีการอนุรักษ์ตู้พระธรรมเหล่านั้นให้ทรงคุณค่า พร้อมทั้งยังนำมาใช้การได้ ดังที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายไว้ในพระนิพนธ์ เรื่อง ตำนานหอพระสมุด ระบุว่า “... อนึ่ง ตู้ไทยของโบราณมักปิดทองแลเขียนลายแต่ ๓ ด้าน ด้านหลังเปนแต่ลงรักฤาทาสี การที่จะใช้ใส่หนังสือในหอพระสมุดฯ ได้คิดแก้ติดบานกระจกเปิดข้างด้านหลังให้แลเห็นสมุดในตู้นั้นได้ แลไม่ต้องจับทางข้างบานตู้ให้ลายหมอง ...” มีตัวอย่างเป็นตู้ชิ้นสำคัญ เป็นตู้ขาหมู ลายม่านทอง เครื่องกี๋จีน ด้านหลังเป็นกระจก เก็บรักษาอยู่ที่คลังกลางฯ ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ มีประวัติระบุว่า “สร้างประดิษฐ์ไว้ในหอไตรวัดราชโอรสมีอยู่ ๓ ใบ ถูกฝนและปลวกผุทั้งหนังสือหมด คงใช้ได้ ๑ ใบ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สภานายกหอพระสมุดสำหรับพระนคร มีรับสั่งให้ย้ายมารักษาไว้ ณ หอพระมณเฑียรธรรมสำหรับเก็บพระไตรปิฎกหอพระพุทธศาสนาต่อไป” ซึ่งลายม่านนี้ ยังสอดคล้องกับความนิยมเขียนม่านประดับในงานจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ ๓ - รัชกาลที่ ๔ ด้วย
ระยะเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้หน้าที่ของตู้พระธรรมรวมถึงวิธีการเก็บรวบรวมและอนุรักษ์เอกสารแปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ปัจจุบันจึงมีการจัดแสดงตู้พระธรรมในตึกถาวรวัตถุเพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้และส่งเสริมให้เห็นคุณค่าของงานช่างไทยในอดีต ดังนั้น ตู้พระธรรมหรือตู้ที่ใช้เก็บหนังสือสมุดไทย จึงถือเป็นวัตถุชิ้นสำคัญและมีบทบาทต่อพิพิธภัณฑ์ด้วยเช่นกัน ส่งท้ายบทความวันนี้ หากท่านใดอยากชมตู้พระธรรม ศึกษาลวดลายต่าง ๆ สามารถเข้าชมนิทรรศการตู้ลายทอง ณ อาคารถาวรวัตถุ (ตึกแดง) ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ และอาทิมา ชาโนภาษ ผู้ช่วยภัณฑารักษ์
ภาพโดย กิตติยา เชื้อทอง นายช่างภาพปฏิบัติงาน
เทคนิคภาพโดย ณัฐดนัย อรุณมาศ ผู้ช่วยภัณฑารักษ์
กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร
วันจันทร์ที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๓๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดี กรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีรับมอบเงินสนับสนุนโครงการอนุรักษ์ประติมากรรมปูนปั้นวัดช้างรอบ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ระหว่างกรมศิลปากรและบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) จำนวน ๒ ล้านบาท โดยมีศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ นายอนันต์ ชูโชติ และนายนิติกร กรัยวิเชียร เป็นผู้แทนบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมในพิธี ณ ห้องประชุมชั้น ๕ กรมศิลปากร (อาคารเทเวศร์) อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า การรักษาสืบทอดมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ จะต้องอาศัยความ ร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ตลอดจนประชาชน การสนับสนุนงบประมาณในโครงการอนุรักษ์ประติมากรรมปูนปั้นวัดช้างรอบ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ในครั้งนี้ ถือเป็นตัวอย่างของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะเป็นพลังสำคัญในการร่วมกันขับเคลื่อนความสำเร็จของงานไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ให้ยั่งยืนสืบไป อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวในฐานะแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งของจังหวัดกำแพงเพชร โดยโบราณสถานวัดช้างรอบ ตั้งอยู่นอกเมืองกำแพงเพชร ในพื้นที่เขตอรัญญิก มีเจดีย์ประธานเป็นศูนย์กลางของวัด ซึ่งคุณค่าความโดดเด่นของเจดีย์ประธานที่วัดช้างรอบแห่งนี้ คือ การประดับประติมากรรมช้างปูนปั้นรอบฐานเจดีย์ประธาน จำนวน ๖๘ เชือก มีเทคนิคการสร้างด้วยการใช้ศิลาแลงเป็นโกลนด้านในแล้วพอกแต่งปูนให้เกิดความสวยงามบนผิวภายนอก ประติมากรรมช้างพบครึ่งตัว มีส่วนหัวและขาหน้ายื่นออกมาจากฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ลักษณะที่พิเศษคือ การทำปูนปั้นเป็นเครื่องประดับบนตัวช้าง เรียกว่า ช้างทรงเครื่อง พื้นที่ผนังที่คั่นระหว่างช้างแต่ละเชือกมีปูนปั้นนูนต่ำลายพันธุ์พฤกษาประดับโดยรอบ ขณะนี้ประติมากรรมรูปช้างและลวดลายปูนปั้นต่าง ๆ อยู่ในสภาพชำรุด เสี่ยงต่อการพังทลายในอนาคต จึงมีความจำเป็นต้องอนุรักษ์อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ กรมศิลปากร โดยอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย และกลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมประติมากรรม กองโบราณคดี จึงได้ร่วมกันจัดทำแนวทางการดำเนินงานอนุรักษ์ประติมากรรมรูปช้างและลวดลายปูนปั้นประดับวัดช้างรอบ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จในปี ๒๕๖๕ เพื่อให้โบราณสถานดังกล่าวซึ่งเป็นมรดกทรัพย์สินทางวัฒนธรรมของชาติที่เป็นแหล่งมรดกโลกของไทยให้มั่นคงแข็งแรง สวยงามต่อไป สำหรับแนวทางในการอนุรักษ์ จะมุ่งเน้นไปที่การทำความสะอาดคราบไคล สิ่งสกปรกและวัชพืช ต่าง ๆ รวมถึงการเสริมความมั่นคงของศิลาแลง อิฐ ดินเผา ลวดลายประดับตกแต่ง ชั้นปูนฉาบและชั้นปูนปั้น เป็นหลัก โดยใช้วัสดุดั้งเดิมที่ใช้สำหรับการอนุรักษ์หรือวัสดุทดแทนที่ได้รับการยอมรับตามหลักสากล ไม่เป็นอันตรายต่อโบราณสถาน ไม่ทำให้พื้นผิวของวัสดุเปลี่ยนสภาพไป และไม่ปิดกั้นการระบายความชื้นภายในเนื้อวัสดุ ส่วนกรณีการปั้นซ่อมหรือเพิ่มเสริมให้ครบสมบูรณ์จะพิจารณาเฉพาะพื้นที่ที่จำเป็นเท่านั้น
ชื่อเรื่อง : พระราชประวัติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ชื่อผู้แต่ง : ชุมสาย สมพงษ์
ปีที่พิมพ์ : 2512
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์การศาสนา
จำนวนหน้า : 172 หน้า
สาระสังเขป : เรียงความเรื่องพระราชประวัติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นเรียงความที่ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2 การประกวดเรียงความของจังหวัดลพบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2509 โดยกรมศิลปากรเป็นกรรมการตัดสินการประกวด มีเนื้อหากล่าวถึงพระราชประวัติของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อาทิ การประสูติเมื่อปีวอก จุลศักราช 994 (พ.ศ. 2075) การขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตราธิราช การบูรณะเมืองลพบุรี และพระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ นอกจากนี้ ได้จัดพิมพ์บทความเรื่องสุริยคราสครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ ของบุญช่วย สมพงษ์ ไว้ในเล่มเดียวกัน