ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ สู่ผลงานสะสมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป” วิทยากร นางสาววัชราภรณ์ มธุรกันต์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป และนางสาวณิชนันท์ รักพงษ์ไทย ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ผู้ดำเนินรายการ นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (facebook live) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๑.๐๐ น. ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๖๘
กลุ่มจารีตประเพณี สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ขอเชิญทุกท่านร่วมทำความรู้จักกับ "เทศกาลดิวาลี" หรือ เทศกาลแห่งแสงสว่าง ที่ชาวไทยรู้จักในนาม "ทีปาวลี" ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๗ และร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลมงคลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในวัฒนธรรมอินเดียร่วมกับพี่น้องชาวไทยเชื้อสายอินเดียและชาวอินเดียทั่วโลก
มาเรียนรู้ร่วมกันในองค์ความรู้ เรื่อง "ดิวาลี แสงประทีปแห่งความสุข" โดย นางสาวพลอยชมพู ยามะเพวัน นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ กลุ่มจารีตประเพณี สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
ศุภะ ดิวาลี ขอแสงสว่างจงนำความสุขและความเจริญทั้งหลายมาสู่ทุกท่านด้วยเทอญ
ผู้แต่ง : ไมเคิล ไร้ท์ ปีที่พิมพ์ : 2526 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จารึกหลัก 2 มีคนพยายามอ่านมาแล้วหลายครั้ง แต่ทำไมต้องเอามาอ่านใหม่อีกครั้ง เหตุมีสองประการคือ 1. หลักนี้มีความสำคัญยิ่งนัก เพราะเล่าถึงเหตุการณ์สุโขทัยก่อนสมัยพ่อขุนรามคำแหงซึ่งความนี้ไม่ปรากฏในที่อื่น 2. หลักนี้มีปัญหามาก อ่านยากกว่าหลักอื่นใด แต่เข้าใจว่าได้พบวิธีอ่านใหม่ที่ทำให้ความยากกลับกลายเป็นความค่อนข้างง่าย ศิลาจารึกสุโขทัยส่วนใหญ่สั้นมากหรือขาดตอนมากจน เราไม่อาจจะกล่าวได้ว่า เอกสารเหล่านี้มีลักษณะ คำเขียน หรือ คำพูด แต่มีบางหลักที่บ่งชัดว่าเป็นคำเขียน
พิพิธิภัณฑสถานแห่งชาติเสมือนจริง ชัยนาทมุนี: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/chainatmuni
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี สังกัดสำนักศิลปากรที่ 4 ลพบุรี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานที่รวบรวมเก็บรักษา อนุรักษ์ และจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่เป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยนาท ตั้งอยู่ภายในบริเวณ วัดพระบรมธาตุวรวิหาร ตำบลชัยนาท อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท มีพื้นที่ 3 ไร่ 45 ตารางวา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี ก่อตั้งขึ้นด้วยความสนใจของพระชัยนาทมุนี (นวม สุทตฺโต) อดีตเจ้าคณะจังหวัดชัยนาท และอดีตเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุวรวิหาร ซึ่งได้รวบรวมโบราณศิลปวัตถุที่พบในเขตจังหวัดชัยนาทและบริเวณใกล้เคียง มาเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานของวัดเป็นจำนวนมาก ต่อมาพระชัยนาทมุนีได้ยินดีมอบโบราณศิลปวัตถุดังกล่าวให้เป็นสมบัติของชาติ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีของไทย
ในปี พุทธศักราช 2509 กรมศิลปากรจึงได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานขึ้นในบริเวณใกล้กับวัดพระบรมธาตุวรวิหาร ตั้งชื่อว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี เพื่อเป็นที่ระลึกแด่พระชัยนาทมุนี เปิดให้ประชาชนเข้าชมตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2512 เป็นต้นมา
กรมศิลปากรขอเชิญชวนเด็กและเยาวชน ร่วมกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๖ ในวันเสาร์ที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๖ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์ หอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุแห่งชาติทั่วประเทศ เด็กๆ ที่สนใจสามารถติดต่อเข้าร่วมกิจกรรมในหน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากรใกล้บ้าน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
การจัดกิจกรรมในส่วนกลาง มีดังนี้
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กิจกรรมประกอบด้วย กิจกรรมบนเวที ดนตรีประกอบการเล่านิทาน ,การแสดงของเด็กและเยาวชน กิจกรรมด้านวิชาการ กิจกรรมตอบปัญหา, กิจกรรมแรลลี่, กิจกรรมเปิดโลกกว้างสู่อาเซียน กิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อเด็กและเยาวชน ระบายสี, งานประดิษฐ์จากดินฟีโม่, ชวนน้องปั้นดิน กิจกรรมสันทนาการ โยนห่วงยาง, ปิดลูกโปง, เก้าอี้ดนตรี และกิจกรรมต่างฯ อีกมากมาย สำหรับเด็กๆที่เข้าร่วมกิจกรรม จะได้รับของขวัญของรางวัลทุกคน
- สำนักการสังคีตจัดการแสดงรายการศิลปากรคอนเสิร์ตรอบพิเศษ ชุด “Children’s Day Concert” อำนวยเพลงโดย นายสถาพร นิยมทอง การแสดงจะเป็นการบรรเลงและการขับร้องจากศิลปินกรมศิลปากรร่วมกับสถานศึกษาและสถาบันการดนตรีที่มีชื่อเสียง อาทิ โรงเรียนหลักสูตรการดนตรีกรุงเทพมหานคร โรงเรียนดนตรีวีมุส โรงเรียนราชินี โรงเรียนปราโมชวิทยา รามอินทรา โรงเรียนโพธิสารพิทยากร ตลอดจนเครือข่ายศิลปินจากสถานศึกษา เข้าร่วมฟังได้โดยไม่เก็บค่าบัตรเข้าชม
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธีกิจกรรมประกอบด้วย การบรรยายเกี่ยวกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี และตอบคำถามรับของรางวัล การตอบปัญหาเกี่ยวกับวันเด็ก เรื่องทั่วไป เรื่องอาเซียน การเล่นเกมส์เก้าอี้ดนตรี การต่อจิกซอว์ และกิจกรรมสันทนาการอื่นๆ เช่น การแข่งร้องเพลง การแข่งเต้น
- สำนักหอสมุดแห่งชาติ กิจกรรมประกอบด้วย การประกวดคัดลายมือ การวาดภาพระบายสี เล่นเกมและกิจกรรมต่างๆ สร้างความรักความอบอุ่นในครอบครัว ลุ้นรับของรางวัลมากมาย พร้อมทั้งบริการอาหารเครื่องดื่มและรับของรางวัล ฟรีตลอดงาน
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป จัดร่วมกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ กิจกรรมประกอบด้วย การแข่งขันประกวดวาดภาพระบายสี, ซุ้มกิจกรรมศิลปะ โดยคณะจารย์ นักศึกษาจากสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศิษย์เก่าสถาบันบัณทิตพัฒนศิลป์, การแข่งขันแรลลี่ตอบปัญหาชิงรางวัล ด้านศิลปะ กิจกรรมสันทนาการ เช่น ดนตรี ประกวดร้องเพลง เกม ฯลฯ โดยความร่วมมือกับสำนักศิลปกรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม, ฉาย DVDแนะนำ และนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ให้แก่เยาวชนและผู้ปกครองที่เข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งบริการอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม
- หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ กิจกรรมประกอบด้วย การแสดงรำอวยพร การบรรเลงเพลง จากวงดนตรี “วีรพล” การแข่งขันตอบปัญหา การแสดงบนเวที ประกวดร้องเพลง การแข่งขันวาดภาพ การแข่งขันเรียงความ เกมการละเล่น พร้อมแจกของขวัญของรางวัลมากมาย
กิจกรรมในส่วนภูมิภาค อาทิ
- อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย กิจกรรมประกอบด้วย การละเล่น เกมต่างๆ การตอบปัญหา การประกวดร้องเพลง และแจกของรางวัล
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี กิจกรรมประกอบด้วย การประกวดวาดภาพ ระบายสี การปั้นตุ๊กตา การประกวดร้องเพลงและการแสดงออกบนเวที ฯลฯ
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ กิจกรรมประกอบด้วย การแสดงบนเวทีโดยเยาวชนจากโรงเรียนหรือชุมชนต่างๆ ในจังหวัดสุรินทร์ การละเล่นเกมต่างๆ บนเวที ฉายภาพยนตร์ตลอดทั้งวัน และจับฉลากชิงรางวัล
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น กิจกรรมประกอบด้วย กิจกรรมสันทนาการ การแสดงบนเวทีของกลุ่มเด็กนักเรียน การแสดงความสามารถ เล่นเกมตอบปัญหาชิงรางวัล รวมทั้งแจกของรางวัล อาหารและเครื่องดื่ม
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี กิจกรรมประกอบด้วย การแนะนำพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทย ด้วยวีดิทัศน์ การบรรยายความรู้เกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ของพิพิธภัณฑ์/ศัพท์น่ารู้ เกมตอบคำถามและเกมที่เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์/ข้าวและการทำนา
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ จัดกิจกรรม “ค่ายเยาวชนสุขสันต์ พิพิธภัณฑ์หรรษา” กิจกรรมเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ให้เยาวชนได้เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ และเรียนรู้การปั้นตุ๊กตาพื้นบ้านล้านนาจากครูภูมิปัญญาล้านนา ในวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๕ ณ โรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร ภายในจังหวัด สุพรรณบุรี และจังหวัดใกล้เคียง
ฯลฯ
นอกจากนี้กรมศิลปากรยังเปิดให้เด็กๆ เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และอุทยานประวัติศาสตร์ทั่วประเทศ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชมอีกด้วย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สถานที่ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์ หอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุแห่งชาติทั่วประเทศติดต่อ : หน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากรใกล้บ้าน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
ไม่เสียค่าใช้จ่าย
เนื่องในวันเข้าพรรษาประจำปี ๒๕๖๐ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ได้จัดนิทรรศการพิเศษเรื่อง "บรรพชนคนอีสานยุคก่อนประวัติศาสตร์กับเทียนพันปี"
วันศุกร์ที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ เวลา ๑๘.๐๐ น. นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีสมโภชองค์พระกฐินพระราชทาน กรมศิลปากร ประจำปี ๒๕๖๒ โดยมีผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ภาครัฐ เอกชน และประชาชนในพื้นที่ร่วมในพิธี จากนั้นในเวลา ๑๙.๐๐ น. สำนักการสังคีต กรมศิลปากร จัดแสดงโขนสมโภชองค์พระกฐิน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด รามาวตาร เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ชื่นชมการแสดงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงอย่างหนึ่งของไทย ณ วัดทรงศิลา ตำบในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
วัสดุ สำริด
แบบศิลปะ ศิลปะล้านช้าง
อายุสมัย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 22-24
สถานที่พบ พบระหว่างการไถที่ดินของนางสาวปาริชาต อุดมสี บ้านนาดูน ตำบลหนองกวั่ง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร เมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2549
พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระพักตร์กลม พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ ภายในพระเนตรฝังวัตถุสีขาว พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์เล็ก พระหนุเป็นปม มีเส้นไรพระศกเป็นแถวเม็ดกลม เม็ดพระศกเป็นทรงกรวยแหลมเรียงเป็นระเบียบ อุษณีษะเป็นต่อมกลมขนาดเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระกรรณยาวปลายงอนเล็กน้อย พระศอเป็นปล้อง ครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา สังฆาฏิเป็นแถบสี่เหลี่ยมปลายตัดตรงยาวจรดพระนาภี ชายสังฆาฏิมีการตกแต่งด้วยแถวเม็ดประคำ 2 แถว แถวละ 3 เม็ด พระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชานุ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานเขียงเรียบซ้อนกัน 2 ชั้น
วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๑ หอสมุดแห่งชาติิเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ตรัง ดำเนินการจัดกิจกรรมตามโครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตประจำปี ๒๕๖๑ โดยผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ (นางสาวกนกอร ศักดาเดช) เป็นประธานพิธีเปิดโครงการ กิจกรรมที่ดำเนินการประกอบด้วย
๑. เวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน "บันทึกแห่งรัก เมื่ออ่านให้เจ้าฟัง" ดำเนินการโดยกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมการอ่านโครงการอ่านยกกำลังสุขตรัง ของสำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ เข้ามาเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการดำเนินงานที่นำไปสู่ความสำเร็จ
๒. กิจกรรมฐานการเรียนรู้ เกี่ยวกับงานศิลปะ จำนวน ๔ ฐาน
- "จักสานก้านจาก" วิทยากรโดยคุณสุจิน ไข่ริน
- "บิดลูกโป่ง" วิทยากรโดยคุณลุงสุชาติ ขุมขัง
- "เพ้นท์สี" วิทยากรโดยคุณสุภัทร์ จิระโรจน์
- "ปั้นดินน้ำมัน" วิทยากรโดยคุณครูนาฎลดา เดชอรัญ
๓. การจัดแสดงหนังสือและผลิตภัณฑ์ประกอบกิจกรรมตามฐานการเรียนรู้
๔. กิจกรรม "เจ้าหนูถามจัง" ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้จังหวัดตรัง