ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.447/1กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 12 หน้า ; 5 x 59 ซ.ม. : ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 158  (149-162) ผูก 1ก (2566)หัวเรื่อง : เล่มหลวง--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.597/1                      ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 80 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : รักทึบ-ลานดิบ-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 192  (392-398) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : สังคายนา--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


         วันนี้ในอดีต 21 เมษายน 2566 ครบรอบ 241 ปี วันสถาปนา “กรุงรัตนโกสินทร์” ตอนที่ 1          ต่อมาในเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ซึ่งตรงกับวันที่ 21 เมษายน ปีพุทธศักราช 2325 เวลา 06.54 นาฬิกา เป็นวันที่พระองค์ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทำ “พิธียกเสาหลักเมือง” โดยเป็นประเพณีไทยโบราณเมื่อมีการสร้างเมืองขึ้นใหม่ จะต้องหาฤกษ์มงคลสำหรับฝังเสาหลักเมืองเป็นประการแรก เพื่อความเป็นสิริมงคลของบ้านเมืองและประชาชน           โดยเรื่องราวของ “หลักเมือง” คือเรื่องราวที่ปรากฏในลักษณะเรื่องเล่าที่สืบต่อกันมา และแฝงด้วยความอาถรรพ์ แต่ทว่ายังคงมีเรื่องราวแห่งความจริง ซึ่งเป็นแก่นรวมอยู่ด้วย ยกตัวอย่างเช่นเรื่องราวในสมัยกรุงศรีอยุธยาที่เล่าถึง “หลักเมือง” ไว้ว่า          “พิธีสร้างพระนครหรือสร้างบ้านสร้างเมืองต้องฝังอาถรรพณ์ ๔ ประตูเมือง ต้องฝังเสาหลักเมือง การฝังเสาหลักเมือง และเสามหาปราสาท ต้องเอาคนมีชีวิตทั้งเป็น ๆ ลงฝังในหลุมเพื่อให้เป็นผู้เฝ้าทวารมหาปราสาทบ้านเมืองป้องกันอริราชศัตรู ในการทำพิธีดังกล่าวนี้ต้องเอาคน ชื่อ อิน จัน มั่น คง มาลงฝังในหลุมจึงจะศักดิ์สิทธิ์ ”          สำหรับเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ เชื่อว่าได้รับอิทธิพลทางพิธีการของพราหมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องในพิธีจารึกดวงชะตาพระนคร โดยสำคัญอย่างยิ่งในด้านความเชื่อถือ ซึ่งมีผลโดยตรงทางด้านจิตใจและเป็นการสร้างความมั่นใจผ่านทางพิธีกรรมเพื่อความมงคลว่าบ้านเมืองจะอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข  นอกจากนั้น ภายหลังยังมีการประดิษฐาน “ศาลเทพารักษ์” เพื่อเป็นที่สถิตของเทพารักษ์ประจำหลักเมือง คอยอำนวยความสุข ความมงคล และป้องกันเภทภัยแก่ผู้ที่เคารพบูชา ประกอบด้วยเทพารักษ์จำนวน ๕ พระองค์ ได้แก่ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระกาฬไชยศรี เจ้าเจตคุปต์ และ เจ้าหอกลอง           ปัจจุบันเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยามีเนื้อที่ประมาณ ๑ งาน ๑๕ ตารางวา อยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของท้องสนามหลวง ภายในบริเวณเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ ได้จัดพื้นที่ใช้สอยเป็นสัดส่วนรับรองการมาสักระนมัสการของประชาชน          ในวาระการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๔๑ ปี ในวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๖ นี้ ถือเป็นโอกาสดีที่คนไทย โดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ จะได้เรียนรู้และสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องประวัติศาสตร์ความเป็นมาของการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก่อให้เกิดความรักและภาคภูมิใจในความเป็นไทย ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรม  



           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ขอเชิญร่วมกิจกรรมบรรยายทางวิชาการ ในหัวข้อ “อันเนื่องมาจากเครื่องพุทธบูชา กรุพระเจดีย์ วัดพระศรีสรรเพชญ์” โดยวิทยากร นางสาวศุภวรรณ นงนุช ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในวันศุกร์ที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๓๐ - ๑๒.๐๐ น. ณ ห้องบรรยายฯ อาคารเครื่องทองอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา           ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมฟังการบรรยายได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยสแกน Qr code ในภาพด้านบน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๓๕๒๔ ๑๕๘๗ ต่อ ๑๑


        พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  ประทับบนพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ภายใต้พระบวรเศวตฉัตรทรงรับน้ำอภิเษก           เทคนิค : สีฝุ่นบนเฟรมพื้นไม้            ศิลปิน : นายนพพล  งามวงษ์วาน           ตำแหน่ง : นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน         กลุ่มงาน : กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร         ขนาด : ๗๑ x ๙๒ เซนติเมตร          ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย  กลุ่มจิตรกรรม  สำนักช่างสิบหมู่  กรมศิลปากร  จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์”  ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖  เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)         การเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ด้วยเทคนิคการเขียนสีฝุ่นบนบนเฟรมพื้นไม้ชิ้นนี้  จิตรกรได้บันทึกประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  ในวันเสาร์ที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ เวลา ๑๑.๓๙ น.  พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์  ทรงฉลองพระองค์ครุยสายสะพายนพรัตนราชวราภรณ์  สายสร้อยจุลจอมเกล้า  เสด็จออกจากหอพระสุราลัยพิมานเข้าพระที่นั่งไพศาลทักษิณแล้วประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ภายใต้พระบวรเศวตฉัตร  แปรพระพักต์สู่บูรพาทิศเป็นปฐม  เพื่อทรงรับน้ำอภิเษก           เมื่อสมเด็จพระมหากษัตริย์ทรงผลัดฉลองพระองค์เป็นเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์แล้ว เสด็จออกพระที่นั่งไพศาลทักษิณประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ภายใต้พระบวรเศวตฉัตร เพื่อทรงรับน้ำอภิเษกจากผู้แทนทิศทั้งแปด ราชบัณฑิตประจำทิศเข้าไปคุกเข่าถวายบังคมกล่าวคำถวายพระพรชัยมงคล ถวายแว่นแคว้น ถวายดินแดน ถวายพุทธศาสนา และถวายประชาชน ซึ่งอยู่ในทิศนั้น ๆ ให้ทรงปกป้องคุ้มครองและทำนุบำรุง  แล้วจึงถวายน้ำอภิเษก ทรงรับน้ำอภิเษกด้วยพระหัตถ์แล้วทรงจิบและทรงลูบพระพักตร์ กับทรงรับด้วยพระเต้าเบญจคัพย์  แล้วจึงมีกระแสพระราชดำรัสตอบ เมื่อสิ้นกระแสพระราชดำรัส พราหมณ์เป่าสังข์ พราหมณ์พิธีถวายน้ำพระมหาสังข์ พราหมณ์พฤฒิบาศถวายน้ำเทพมนตร์ด้วยพระครอบสัมฤทธิ์ ต่อจากนั้นจึงทรงผันพระองค์ไปโดยทักษิณาวัฏ ทรงปฏิบัติโดยนัยเดียวกับทิศบูรพาจนรอบพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์โดยลำดับ          การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ปรากฏมาตั้งแต่ครั้งพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. ๒๔๙๓ คือ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชครูพราหมณ์น้อมเกล้าฯ ถวายพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร ภายหลังจากที่ถวายน้ำอภิเษก ณ พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์เป็นปฐม ก่อนเสด็จไปประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐเพื่อทรงรับการทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องราชชกกุธภัณฑ์และเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศต่อไป ธรรมเนียมปฏิบัติดังกล่าวได้ยึดถือเป็นแบบแผนมาถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลปัจจุบัน  อันส่งผลให้พระเศวตฉัตรที่กางกั้นเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐในรัชกาลที่ ๙ และรัชกาลปัจจุบัน  เปลี่ยนจากพระบวรเศวตฉัตรเป็นพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร   บรรณานุกรม คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก.  คำเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก.   [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๔, จาก  http://www.phralan.in.th/coronation/vocabdetail.php?id=79 กรมศิลปากร.  เถลิงรัชช์หัตถศิลป์ = Coronation Art. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๖๖.     ผู้ที่สนใจขั้นตอนการการเขียนสีฝุ่นบนเฟรมพื้นไม้ สามารถเข้าชมวีดิทัศน์ได้ทางลิ้งค์ด้านล่าง https://datasipmu.finearts.go.th/knowledge/26  


วันที่ 11 สิงหาคม 2566กลุ่มโบราณคดี ทำการสำรวจโบราณสถานในพื้นที่อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 2 แห่ง คือ1).โบราณสถานบริเวณที่พักสงฆ์วัดไทย บ้านหัวสวยพบซากเจดีย์ (ธาตุ) ก่ออิฐฉาบปูนแปดเหลี่ยม และฐานอาคารในผังสี่เหลี่ยมวางตัวนแนวแกนตะวันออก – ตะวันตก(ธาตุอยู่ด้านหลังอาคารในผังสี่เหลี่ยม)2).เจดีย์ (ธาตุ) ร้าง ก่ออิฐ มีต้นไม้ปกคลุม ไม่สามารถศึกษารายะเอียดได้มากนักสันนิษฐานว่าโบราณสถานทั้ง 2 แห่ง สร้างขึ้นในสมัยวัฒนธรรมล้านช้าง เมื่อราว 400 – 100 ปีมาแล้วสอบถามหรือแจ้งข้อมูลโบราณสถาน 043-242129 Line: finearts8kk E-mail: fad9kk@hotmail.comพื้นที่ในความรับผิดชอบขอนแก่น เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร#ความรู้ #องค์ความรู้ทางวิชาการ #บทความ #สำนักศิลปากรขอนแก่น #ขอนแก่น #กรมศิลปากร #แหล่งโบราณคดี #โบราณคดี


ปราสาทจอมพระ   ปราสาทจอมพระ ก่อสร้างด้วยศิลาแลงและใช้หินทรายประกอบ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีองค์ประกอบและแผนผังเหมือนกับอโรคยศาลแห่งอื่น ประกอบด้วย 1. ปราสาทประธาน รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้าง 5 เมตร ยาว 5 เมตร มีมุขยื่นออกมาด้านหน้า คือทิศตะวันออกเป็นทางเข้า มีขนาดกว้างประมาณ 2 เมตร ยาว 3 เมตร มีชาลาด้านหน้า 2. บรรณาลัย รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตั้งหันหน้าเข้าหาปราสาทประธาน อยู่ทางมุมตะวันออกเฉียงใต้ 3. กำแพงแก้ว ล้อมรอบปราสาทและบรรณาลัย มีซุ้มประตูอยู่กึ่งกลางกำแพงด้านตะวันออก 4. สระน้ำ 1 สระ อยู่นอนกำแพงแก้ว ทางมุมตะวันออกเฉียงเหนือ จากการขุดแต่งพบโบราณวัตถุสำคัญ ได้แก่ ประติมากรรมหินทรายรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสี่กร ประทับนั่งบนแผ่นหิน เทวสตรี พระพุทธรูปนาคปรกหินทราย และ แท่งจารึกหินทราย ปราสาทจอมพระ ตำบลจอมพระ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์


            กรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย ขอเชิญชมนิทรรศการ เรื่อง “ตามรอยพระศาสดาและพุทธสถานในอินเดีย” ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี จัดแสดงตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม - ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗              นิทรรศการ “ตามรอยพระศาสดาและพุทธสถานในอินเดีย” The Buddhist Exhibition “Buddha Carika – in Footsteps of Buddha” จัดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมประชาสัมพันธ์การอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย ประดิษฐาน ณ จังหวัดอุบลราชธานี ตามความร่วมมือของรัฐบาลไทยและอินเดีย และเป็นความร่วมมือทางวัฒนธรรมเพื่อยกระดับความสัมพันธ์ทางการทูตเชิงพระพุทธศาสนา (Buddhism Diplomacy) ระหว่างจังหวัดอุบลราชธานี และ สถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การพัฒนาเมืองคู่มิตรระหว่างกันต่อไป โดยจัดแสดงภาพถ่ายบอกเล่าเรื่องราวพระพุทธประวัติจากโบราณสถานในอินเดีย พร้อมรับหนังสือนิทานชาดกที่ระลึกสำหรับเด็กและเยาวชนฟรี              ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการนี้ได้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ เปิดวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) 


           สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ขอเชิญผู้สนใจร่วมฟังการเสวนาอวดของสะสม “นักสะสมบันทึกสยามจากต่างแดน” ภายใต้งานนิทรรศการพิเศษ เอกสารล้ำค่าจารึกสยาม ณ ห้องดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร วันเสาร์ที่ 27 เมษายน 2567 เวลา 13.00-16.00 น. วิทยากรโดย นายอรรถดา คอมันตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.พีรศรี โพวาทอง และเรืออากาศตรี สามารถ เวสุวรรณ์ ดำเนินรายการโดยนางภาวิดา สมวงศ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ พร้อมจัดแสดงเอกสาร ภาพถ่ายเก่า และศิลปวัตถุทรงคุณค่าจารึกสยาม ในความดูแลของภาคเอกชนในงานเสวนา เพียงวันเดียวเท่านั้น !            ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานรับฟังการเสวนา พร้อมลุ้นรับของที่ระลึก ตาม QR Code หรือผ่านลิงก์ https://url.in.th/kJBWs รับจำนวนจำกัด 100 ท่าน สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่บัดนี้ หรือจนกว่าจะเต็ม



            คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ขอเชิญร่วมกิจกรรม Open House เปิดบ้านคลังกลางฯ ในรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน กับการเสวนาวิชาการที่จะหยิบยกโบราณวัตถุไม่คุ้นตามาบอกเล่าเรื่องราวภายใต้หัวข้อ "บอกเล่า ไม่เข้าใจ" ที่อยากเชิญชวนทุกท่านมาร่วมทำความเข้าใจไปพร้อมกัน พบกันวันพุธที่ 3 กรกฎาคม 2567 เวลา 13.00 น. - 16.00 น. ณ คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดปทุมธานี              เปิดบ้านคลังนี้...พิเศษกว่าครั้งไหน ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนได้ที่ https://forms.gle/pmheKyhSvhDk26ie7 หรือ สแกนคิวอาร์โค้ด โดยจะแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมผ่านทาง e-mail หลังจากปิดรับลงทะเบียน สอบถามเพิ่มเติมได้ทาง Facebook Inbox  : Central Storage of National Museums : คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ


“วันอานันทมหิดล” ตรงกับวันที่ 9 มิถุนายน เป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (กรมหลวงสงขลานครินทร์) กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2468 ณ เมืองไฮเดลเบอร์ก ประเทศเยอรมนี เมื่อพระชนมายุได้ 3 เดือน ได้ตามเสด็จพระบรมราชชนกไปต่างประเทศ จนกระทั่งพระชนมายุได้ 3 พรรษา จึงได้เสด็จ นิวัติกลับประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2472 สมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จทิวงคต พระองค์จึงได้เสด็จกลับยุโรปเพื่อศึกษาต่อในชั้นประถม ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ สละราชสมบัติ พระองค์จึงเสด็จขึ้นครองราชย์ตามที่สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2477 เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี ในขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา จึงต้องมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หลังจากมีพระชนมายุได้ 21 พรรษา ทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว ทรงมีพระราชกรณียกิจในฐานะประมุขของประเทศมากมาย จนกระทั่งถึงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เวลาเช้ามีเสียงปืนดังขึ้น มหาดเล็กห้องบรรทมวิ่งเข้าไปดู และเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลอยู่บนพระที่บรรทมเสด็จสวรรคตแล้ว รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนลงความเห็นว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 รวมพระชนมายุได้ 21 พรรษา และทรงครองอยู่ในราชสมบัติได้ 12 ปี





Messenger