ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
องค์ความรู้สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่เรื่อง : หลักฐานทางโบราณคดีจากแหล่งโบราณคดีหมู่บ้านสันติภาพ 2 จังหวัดน่าน Archaeological remains from Santipharp 2 Archaeological Site, Nan Provinceโดย : นางสาวชญาดา สุวรัชชุพันธุ์เรียบเรียง : นายจตุรพร เทียมทินกฤต-บทนำ-. แหล่งโบราณคดีหมู่บ้านสันติภาพ 2 ตั้งที่ตำบลไชยสถาน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน อยู่ในแอ่งที่ราบระหว่างหุบเขา ที่ปรากฏกระบวนการพัดพา กัดเซาะของแม่น้ำน่านซึ่งพัดพาตะกอนมาสะสมตัวในแอ่งนี้ โดยอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเมืองเก่าน่าน ที่พิกัด UTM WGS 1984 Datum Zone 47 Q 685472.14 m E 2077495.36 m (ใช้เครื่อง GPS Garmin 60 Cs อ้างอิงแผนที่ทางทหาร แผ่นที่ 5146 I L7018 พิมพ์ครั้งที่ 1-RTSD) สภาพพื้นที่เป็นเนิน-ที่ดอนในที่ลาดระดับต่ำจากทิศตะวันตก ไปทางตะวันออก มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 207 เมตร ในบริเวณนั้นเนินดินหลายเนินบนลานตะพักลำน้ำเลียบไปกับพื้นที่ตามทางเดินสายเก่าของแม่น้ำน่านเก่าซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของแหล่งโบราณคดี เดิมคงจะเป็นทะเลสาปรูปแอกวัว(Axe Bow Lake) ปัจจุบันได้ตื้นเขิน ถูกใช้ในการเกษตรกรรม และมีลำห้วยเหมืองหลวงไหลผ่านกลางแหล่งโบราณคดี ซึ่งจะไหลไปบรรจบกับห้วยลี่ ก่อนจะถูกชักน้ำไปที่คูเมืองน่านด้านทิศตะวันตก. ในปี พ.ศ. 2557 สำนักศิลปากรที่ 7 น่าน(ในขณะนั้น) ได้รับแจ้งจากนายสันติภาพ อินทรพัฒน์ เจ้าของที่ดินถึงการพบหลักฐานทางโบราณคดีประเภทอิฐและชิ้นส่วนกระเบื้อง เป็นแนวทรงกลมจากการปรับพื้นที่เพื่อทำสนามแบดมินตัน ในหมู่บ้านสันติภาพ 2 ทางกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 7 น่านจึงทำการสำรวจทางโบราณคดีเมื่อ พบเนินดิน 5 เนินที่มีหลักฐานทางโบราณคดีกระจายทั่วบริเวณ เนินด้านทิศใต้สุดของแหล่งโบราณคดีปรากฏแนวอิฐก่อเป็นวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เมตร แต่ละเนินพบชิ้นส่วนกระเบื้องดินขอ และชิ้นส่วนภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาเมืองน่าน แหล่งเตาเวียงกาหลง และชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีน สมัยราชวงศ์หมิง กระจายทั่วไป จึงจัดทำโครงการขุดค้นทางโบราณคดีเพื่อดำเนินงาน และในปีงบประมาณ 2559 ได้รับงบประมาณ การขุดค้นทางโบราณคดีเริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2559 โดยการทำผังคลุมทั้งบริเวณของแหล่งโบราณคดีตามแนวแกนทิศเหนือ-ใต้ และแบ่งพื้นที่ออกเป็นช่องๆ ช่องละ 4x4 เมตร โดยทำการขุดค้นทั้งสิ้น 4 พื้นที่ คือ เนินด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของแหล่งโบราณคดี 3 พื้นที่ และเนินด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 1 พื้นที่ การขุดค้นเริ่มขุดบริเวณที่ปรากฏแนวอิฐ โดยปรากฏแนวอิฐต่อเนื่องลงไป และขยายพื้นที่ไปทางทิศเหนือ ตามร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดี วิธีการขุดค้นใช้การขุดลอกชั้นสมมติทีละ 5-10 เซนติเมตร-ชั้นทับถมทางโบราณคดี-. จากการดำเนินการขุดค้นทางโบราณพบชั้นทับถมทางโบราณคดีในหลุมขุดค้นทั้ง 4 หลุม จากผนังแสดงชั้นดิน 3 ชั้นหลัก ดังนี้ 1. ชั้นผิวดิน หนาประมาณ 0-30 เซนติเมตร เป็นชั้นดินธรรมชาติที่เกิดหลังจากการใช้กิจกรรมในสมัยโบราณ พบหลักฐานที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์สมัยปัจจุบัน 2. ชั้นทับถมทางวัฒนธรรม 2.1 ชั้นทับถมทางวัฒนธรรมชั้นบน อยู่ใต้ชั้นผิวดิน หนาประมาณ 20-60 เซนติเมตร เป็นดินเหนียวผสมทรายแป้ง ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการใช้เตาเผา ซึ่งจำแนกเป็นเตาเผาหมายเลข 1, 2, 3 และ 4 2.2 ชั้นทับถมทางวัฒนธรรมชั้นล่าง เป็นดินเหนียวผสมเม็ดหินปูน ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการฝังศพ ซึ่งจำแนกเป็นโครงกระดูกหมายเลข 1 และ 2-หลักฐานทางโบราณคดีที่พบในชั้นทับถมทางวัฒนธรรม- 1. หลักฐานทางโบราณคดีที่พบในชั้นทับถมทางวัฒนธรรมชั้นบน เป็นการใช้พื้นที่สมัยที่ 2 โดยพบหลักฐานเกี่ยวกับการทำกิจกรรมการใช้เตาเผา ซึ่งน่าผลผลิตจะเป็นการเผากระเบื้องดินขอ เป็นหลัก โดยพบหลักฐานทางโบราณคดีหลายประเภท ดังนี้ 1.1 โบราณวัตถุประดิษฐ์ เบื้องต้นแบ่งออกได้ ดังนี้ ชิ้นส่วนกระเบื้องดินขอ, ชิ้นส่วนอิฐ, ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา และตะปูโลหะ 1.2 ร่องรอยกิจกรรมมนุษย์โบราณ พบเตาเผาระบายความร้อนในแนวดิ่ง 4 เตา ซึ่งมีลักษณะและองค์ประกอบย่อยแตกต่างกันออกไป - เตาเผาหมายเลข 1 (S5E6 & S5E7) มีลักษณะเป็นเตาตะกรับ ตัวเตา ø 2 ม. สูง 70 ซม. ช่องใส่เชื้อเพลิงขนาด 50x80 เซนติเมตร อยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเตา โดยมีความลาดเอียงเล็กน้อยลงไปทางทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ จากการขุดตรวจภายในเตาพบชิ้นส่วนดินเผาอยู่สูงกว่าพื้นเตาประมาณ 30 ซม. มีลักษณะเป็นดังรังผึ้ง จึงสันนิษฐานว่า คือ ส่วนตะกรับ ใต้ชั้นตะกรับนี้พบว่ามีอิฐวางเรียงกันน่าจะเป็นส่วนฐานเตาเพื่อการรองรับโครงสร้างเตาเผา - เตาเผาหมายเลข 2 (S4E7&S3E7&S3E8) เป็นรูปเกือบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 2.05x3.00 ม. สูง 40-50 เซนติเมตร ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นช่องใส่เชื้อเพลิง 2 ช่อง ที่ทำจากดินดิบทำส่วนบนของเตาโค้งรับกัน กว้างช่องละ 60 เซนติเมตร พบชิ้นส่วนระบายความร้อนที่มีร่องรอยการโดนอุณหภูมิสูงภายในช่องใส่เชื้อเพลิงนี้ และบริเวณถัดไปทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้พบชิ้นส่วนกระเบื้องดินขอ และชิ้นส่วนภาชนะดินเผากระจายตัวอยู่ ซึ่งพบเช่นเดียวกันกับบริเวณหน้าช่องใส่เชื้อเพลิงของเตาหมายเลข 1 - เตาเผาหมายเลข 3 (S3E10&S3E11&S2E10&S2E11) เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 4.3x3.0 เมตร มีช่องใส่เชื้อเพลิงวางตัวตามด้านกว้างของเตาทั้งหมด 6 ช่อง แต่ละช่องกว้างประมาณ 20 เซนติเมตร อิฐของเตานี้มีขนาดและเนื้อดินต่างไปจากทุกเตา คือ มีขนาด 15x7x4 เซนติเมตร - เตาเผาหมายเลข 4 พบในเนินดินด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของแหล่งโบราณคดีใกล้กับลำห้วยมุ่น มีลักษณะคล้ายเตาเผาหมายเลข 2 แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก 2. หลักฐานทางโบราณคดีพบในชั้นทับถมทางวัฒนธรรมชั้นล่าง เป็นการใช้พื้นที่สมัยแรก หลักฐานทางโบราณคดีที่พบเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการฝังศพ มีรายละเอียด ดังนี้ 2.1 โบราณวัตถุประดิษฐ์ ได้แก่ ภาชนะดินเผา, เครื่องมือหินขัด, ขวานสำริด และลูกปัดเปลือกหอย? 2.2 โบราณนิเวศวัตถุ ได้แก่ หอยเบี้ย 2.3 ร่องรอยกิจกรรมมนุษย์โบราณ - โครงกระดูกมนุษย์หมายเลข 1 พบที่ระดับความลึกผิวดินประมาณ 10 เซนติเมตร ผลจากการวิเคราะห์โดยคุณประพิศ พงศ์มาศ นักโบราณคดีผู้เชี่ยวชาญทางด้านมานุษยวิทยากายภาพ ระบุว่า โครงกระดูกไม่สมบูรณ์ แตกหัก แต่ยังคงวางอยู่ในสภาพเดิมของร่างกาย เป็นเพศชายพิจารณาจาก Greater Sciatic notch ที่มีลักษณะเป็นรูปตัว V เป็นมุมแหลม เล็กแคบ อายุเมื่อตาย มากกว่า 35 ปี มีพิธีกรรมการปลงศพ โดยโครงกระดูกหันศีรษะไปทางทิศเหนือ นอนหงาย แขนขวาวางอยู่บนหน้าท้อง แขนซ้ายวางเฉียงอยู่บนหน้าท้อง มือวางเกยอยู่บนมือขวา ขาเหยียดยาว บริเวณข้อเท้าคล้ายถูกมัด ลักษณะทั่วไปของโครงกระดูกสันนิษฐานว่า น่าจะมีการห่อและมัดศพก่อนนำมาฝัง โบราณวัตถุที่พบ ได้แก่กลุ่มภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ วางอยู่ด้านล่างไหล่ด้านซ้าย และสะโพกด้านซ้าย, ลูกปัดเปลือกหอยทรงกระบอก ø 3-4 มิลลิเมตร หนา 1-3 มิลลิเมตร พบบริเวณข้อมือทั้งสองข้างและกระดูกสะโพก, ขวานสำริดมีบ้องสภาพชำรุด วางอยู่บริเวณระหว่างกลางของกระดูกหน้าแข้ง และชิ้นส่วนเปลือกหอยทะเล? วางอยู่บริเวณปลายเท้า - โครงกระดูกมนุษย์หมายเลข 2 พบใต้โครงกระดูกหมายเลข 1 โดยอยู่ลึกจากโครงกระดูกมนุษย์หมายเลข 1 ตั้งแต่ประมาณ 2 – 20 เซนติเมตร สภาพทั่วไปของกระดูก โครงกระดูกไม่สมบูรณ์ แต่ยังคงวางอยู่ในสภาพเดิมของร่างกาย ไม่สามารถระบุเพศได้ เป็นผู้ใหญ่ มีพิธีกรรมการปลงศพ โครงกระดูกหันศีรษะไปทางทิศตะวันออก นอนหงาย แขนขวาเหยียดยาว ไม่มีร่องรอยของการมัดหรือห่อศพ พบโบราณวัตถุที่อุทิศให้แก่ผู้ตาย ประกอบด้วย เครื่องมือหินขัด 2 ชิ้น ลักษณะคล้ายสิ่ววางอยู่ข้างศีรษะทางด้านซ้าย, ลูกปัดเปลือกหอยทะเลลักษณะเป็นแว่น พบบริเวณลำตัวช่วงบนตั้งแต่คอถึงหน้าท้อง, เครื่องมือหินขัดมีบ่า วางอยู่ระหว่างกระดูกหน้าแข้ง, กลุ่มภาชนะดินเผา ถูกทุบและวางไว้บริเวณใกล้กับมือข้างซ้าย และกลุ่มภาชนะดินเผาอย่างน้อย 5 ใบ พบว่ามีการทุบภาชนะดินเผาให้แตกปูรองพื้นและคลุมทับส่วนล่างของโครงกระดูกตั้งแต่ต้นขาลงไป 2.4 ชิ้นส่วนจากร่างกายมนุษย์สมัยโบราณ ได้แก่ ชิ้นส่วนกระดูกต้นขา, ชิ้นส่วนของกระดูกขากรรไกรล่าง และชิ้นส่วนฟันมนุษย์-การลำดับอายุชั้นวัฒนธรรม-. สำนักศิลปากรที่ 7 น่าน(เดิม) ได้ดำเนินการส่งตัวอย่างหลักฐานทางโบราณคดีทั้งสองชั้นทับถมทางวัฒนธรรม โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. ชั้นทับถมทางวัฒนธรรมชั้นบน มีอายุประมาณ 1,023-606 ปีมาแล้ว โดยค่าอายุได้จากการหาค่าอายุด้วยวิธีการเรืองแสงความร้อน (Thermoluminescence, TL) โดยภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน) จำนวน 6 ตัวอย่าง รายละเอียด ดังนี้ - เตาเผาหมายเลข 1: Kiln1 (131 cm.dt.) Brick 896+/-40 และ Kiln1 (143-174 cm.dt.) Soil 916+/-46 - เตาเผาหมายเลข 2: Kiln2 (103 cm.dt.) Brick 669+/-30 และ Kiln2 (92 cm.dt) Brick 641+/-35 - เตาเผาหมายเลข 4: Kiln4 (Soil) 648+/-36 และ Kiln4 (155 cm.dt.) Brick 984 +/-39 2. ชั้นทับถมทางวัฒนธรรมชั้นล่าง เบื้องต้นกำหนดอายุโดยการศึกษาเปรียบเทียบโดยพิจารณาจากหลักฐานทางโบราณคดีประเภทต่างๆ ดังนี้ - เครื่องมือหินขัด สันนิษฐานว่าผลิตจากหินโคลนกึ่งแปร (Metamorphosed Mudstone)งน่าจะมีแหล่งวัตถุดิบจากดอยหินแก้ว ที่อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 3 กม. ซึ่งกำหนดอายุราว 700-4,000 ปีมาแล้ว ร่วมสมัยกับแหล่งโบราณคดีภูซาง - ขวานสำริดมีบ้อง รูปแบบมีความคล้ายคลึงกับขออุทิศที่พบในหลุมฝังศพหมายเลข 3 และ 4 จากหลุมขุดค้นหมายเลข 4 แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งตะขบ ตำบลวังม่วง อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี ซึ่งมีการกำหนดอายุด้วยวิธี AMS (Accelerator Mass Spectrometry) ไว้ราว 3,100 ปีมาแล้ว อย่าไรก็ตาม ได้ส่งตัวอย่างเพื่อตรวจหาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธี AMS (Accelerator Mass Spectrometry) จำนวน 4 ตัวอย่าง เพื่อวิเคราะห์ ณ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ Beta Analytic 4985 S.W. 74th Court Miami FL 12429 สหรัฐอเมริกา ผลที่ได้ดังนี้ 1. ชิ้นส่วนเครื่องประดับทำจากเปลือกหอย จากโครงกระดูกมนุษย์หมายเลข 2 ค่าอายุ 3,820-3,435 ปีมาแล้ว 2. ชิ้นส่วนเปลือกหอย จากโครงกระดูกมนุษย์หมายเลข 1 ค่าอายุ 4,890-4,520 ปีมาแล้ว 3. ชิ้นส่วนฟัน จากระดับชั้นดินสมมติ 130-140 cm.dt. (เป็นชั้นดินที่มีร่องรอยการรบกวน) ค่าอายุ 480-300 ปีมาแล้ว 4. ตัวอย่างถ่าน จากเตาเผาหมายเลข 2 1,695-1,655 ปีมาแล้ว และ 1,630-1,535 ปีมาแล้ว จากการขุดค้นทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่า พื้นที่บริเวณหมู่บ้านสันติภาพ 2 มีการเข้าใช้พื้นที่ 2 ช่วงก่อนถึงสมัยปัจจุบัน สมัยแรกสุดที่พบร่องรอยกิจกรรมมนุษย์ ในช่วงเวลาประมาณ 3,800-3,000 ปีมาแล้ว ถูกใช้ในหน้าที่เป็นแหล่งฝังศพ (Burial Site) ในช่วงสมัยต่อมา ประมาณ 600-900 ปีมาแล้ว ซึ่งร่วมสมัยที่ตั้งเมืองน่านใน ปี พ.ศ. 1911 ตามพงศาวดารเมืองน่าน พื้นที่ถูกใช้ในหน้าที่ผลิตกระเบื้องดินขอ อิฐเป็นต้น(Industrial Site) อาจด้วยจากบริเวณนั้นเป็นแม่น้ำเก่ามีดินเนื้อละเอียดที่เหมาะสมในการใช้งาน *มีบางท่านเสนอว่า เตาที่พบจากลักษณะน่าเป็นเตาเผาปูน แต่ในการดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดี ไม่พบเศษปูนเลย ข้อสันนิษฐานนี้จึงละไว้--------------------------------อ้างอิง-จตุรพร เทียมทินกฤต. “การศึกษากระบวนการผลิตเครื่องมือหิน กรณีศึกษาหลุมขุดค้น N – Hill ปี พ.ศ.2548 แหล่งโบราณคดีภูซาง ตำบลนาซาว อำเภอเมือง จังหวัดน่าน.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ภาควิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2552.ชวนันท์ จันทร์ประเสริฐ. “การศึกษาแหล่งหินและชนิดหินของแหล่งผลิตเครื่องมือหินดอยภูซาง ตำบลนาซาว อำเภอเมือง จังหวัดน่าน.” เอกสารการศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2550.ทิพย์วรรณ วงศ์อัสสไพบูลย์. “ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้เพิ่มใหม่จากจากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านโป่งตะขบ ตำบลวังม่วง อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี พ.ศ.2557.” ใน ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้เพิ่มใหม่จากงานวิจัยโบราณคดีลุ่มแม่น้ำป่าสัก, สุรพล นาถะพินธุ, บรรณาธิการ, กรุงเทพมหานคร: บริษัท จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด, 2558.
พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) กับเจ้าจอมมารดาจันทร์ (สกุลเดิม สุกุมลจันทร์) (พระนามเดิม : พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ) ดำรงพระอิสริยยศ “พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๘ สิ้นพระชนม์วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๔๗๗ พระชันษา ๕๓ ปี (ดูเพิ่มเติมใน กรมศิลปากร, ราชสกุลวงศ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๔, (กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔), ๘๙.)
Cigarette Cards ชุดเจ้านายไทย (๑ สำรับ ประกอบด้วย พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระฉายาสาทิสลักษณ์ และรูปเขียนคล้ายพระรูปพระบรมวงศานุวงศ์บนแผ่นกระดาษ จำนวน ๕๐ รูป) ลำดับที่ ๔๑ โดยบริษัท ยาสูบซำมุ้ย จำกัด (SUMMUYE & CO) ผลิตราวปี พ.ศ. ๒๔๗๗ (หมายเลขทะเบียน ๒/๒๕๑๖/๑) มีประวัติระบุว่า คุณหลวงฉมาชำนิเขต มอบให้เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๑๖
(เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ / เทคนิคภาพ อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร)
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “ยอร์ช เซเดส์” บรรณารักษ์ใหญ่แห่งหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร วิทยากรโดย นายสุวิชา โพธิ์คำ บรรณารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ดำเนินรายการโดย นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๕ ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.
ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร และ Youtube Live : กรมศิลปากร
20 กันยายน วันเยาวชนแห่งชาติ วันพระราชสมภพสองยุวกษัตริย์
----------------------------
พุทธศักราช 2528 (ปี 1985) เป็นปีที่องค์การสหประชาชาติหรือ UN (United Nations) ประกาศให้เป็นปีเยาวชนสากล (International Youth Year: IYY) ด้วยเหตุนี้ ดร. สายสุรี จุติกุล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ หรือ สยช. (ปัจจุบันคือคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ หรือกดยช.) จึงเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อจัดงานวันเยาวชนแห่งชาติของประเทศไทย ต่อมาเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พุทธศักราช 2528 คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้วันที่ 20 กันยายนของทุกปีเป็นวันเยาวชนแห่งชาติ ด้วยเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ไทย 2 พระองค์ ซึ่งเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นยุวกษัตริย์แต่ยังทรงพระเยาว์ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร จึงถือเป็นวันสิริมงคลในการพัฒนาเยาวชน และเป็นโอกาสให้เยาวชนไทยได้ระลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ตลอดจนตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามกุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์ วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้ากับอยู่หัวกับสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู เบญจศก จุลศักราช 1215 ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2396
ครั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต จึงเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ มะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2411 มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2411 เมื่อพระชนมายุ 16 พรรษา โดยมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบรรลุพระราชนิติภาวะแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2416
ตลอดรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกอปรพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อพัฒนาสยามให้เจริญทัดเทียมนานาอารยประเทศ ทรงปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินให้ทันสมัย และทรงปฏิรูปการศึกษาให้ราษฎรมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาอย่างทั่วถึง อีกทั้งยังทรงพัฒนาสาธารณูปโภคและการสาธารณสุขให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดีและสะดวกสบายขึ้น ตลอดจนทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวาง
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2468 ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมันนี เป็นพระโอรสพระองค์แรกในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชา คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสละราชสมบัติในวันที่ 2 มีนาคม พุทธศักราช 2477 สภาผู้แทน ราษฎรมีมติเห็นชอบให้คณะรัฐบาลอัญเชิญพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จักนรนฤบดินทร์สยามินทราธิราช ขณะมีพระชนมายุ 9 พรรษา โดยมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)
เรียบเรียงโดย นางสาวพุธิตา ขำบุญลือ นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ คณะทำงานด้านการจัดการองค์ความรู้ของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
----------------------------
อ้างอิง
กรมกิจการเด็กและเยาวชน. ประวัติความเป็นมา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.dcy.go.th/ content/1636520311278/1636520514570 สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2565.
กรมศิลปากร. พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล. กรุงเทพฯ: บริษัท ส.ศิลป์ (2521) จำกัด, 2529.
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อานันทมหิดล ผู้เป็นที่รักของแผ่นดิน พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 4 มิถุนายน 2460 กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์, 2560.
มูลนิธิปริยัติศึกษา ญสส. ในพระสังฆราชูปถัมภ์. พระราชประวัติพระมหาษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ บทพระราชนิพนธ์ในการเสด็จประพาสต้น ครั้งที่ 2 ในรัชกาลที่ 5 ประวัติเมืองกำแพงเพชร. กรุงเทพฯ: มูลนิธิปริยัติศึกษา ญสส. ในพระสังฆราชูปถัมภ์, 2537.
สำนักนายกรัฐมนตรี. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ. 25 ปี สยช. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.dcy.go.th/public/mainWeb/file_download/
1646493472100-674880574.pdf สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2565.
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารชุดกระทรวงศึกษาธิการ จัดครั้งที่ 2 (2) ศธ26/2195 เรื่องส่งตัวอย่างพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเผยแพร่และจำหน่าย (4 - 7 ตุลาคม 2487).
อรวรรณ ทรัพย์พลอย. พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2546.
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพกองจดหมายเหตุแห่งชาติ รวบรวมจากแหล่งอื่น ๆ ภ 001 กจช (อ) 2/30 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลและคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ฉายคราวเสด็จนิวัติกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2481.
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพกองจดหมายเหตุแห่งชาติ รวบรวมจากแหล่งอื่น ๆ ภ 001 กจช (อ) 3/63 พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ขณะประทับโต๊ะทรงพระอักษร.
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพกองจดหมายเหตุแห่งชาติ รวบรวมจากแหล่งอื่น ๆ ภ 001 กจช (อ) 6/5 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ขณะทรงพระเยาว์ฉลองพระองค์ปกกลาสี.
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพกองจดหมายเหตุแห่งชาติ รวบรวมจากแหล่งอื่น ๆ ภ 001 กจช (อ) 7/28 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงฉลองพระองค์เต็มยศพร้อมเครื่องพระบรมราชอิสริยยศราชูปโภค พระบรมฉายาลักษณ์ทรงฉายในคราวเสด็จนิวัติพระนครครั้งแรก (พฤศจิกายน 2481).
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพชุดหอพระสมุดวชิรญาณ ภ 001 หวญ 12/9(3) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงฉายกับสมเด็จพระบรมราชโอรสองค์ใหญ่ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนพินิตประชานาถ เมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2411 พระชันษา 16 ปี ขณะนั้นสมเด็จพระบรมชนกนาถ มีพระชนมายุ 65 พรรษา.
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพชุดหอพระสมุดวชิรญาณ ภ 001 หวญ 19/12 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ตามแบบอย่างโบราณราชประเพณี เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 พระชันษา 16 ปี.
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพอัลบั้ม กระทรวงการต่างประเทศ ภอ. กต. 2/99 พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (ทรงฉายคราวบรมราชาภิเษกครั้งที่สอง).
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 35/2ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 52 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 53.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 130/2 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 166/1เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
การกำหนดอายุเจดีย์ประธานวัดช้างรอบ โดยวิธีศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบทางศิลปกรรมกับลวดลายเครื่องประดับเทวรูปพระอิศวร เมืองกำแพงเพชร..เทวรูปพระอิศวรสำริด แต่เดิมประดิษฐานอยู่ที่ศาลพระอิศวรอันเป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดูเพียงแห่งเดียวในเมืองกำแพงเพชร ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร ลักษณะประทับยืนมี 1 เศียร 2 กร พระพักตร์รูปเหลี่ยม พระขนงเชื่อมต่อกันเหนือสันพระนาสิก พระโอษฐ์เม้มเป็นเส้นตรง ทรงไว้พระทาฐิกะ (เครา) เป็นรูปสามเหลี่ยม กลางพระนลาฏมีพระเนตรที่สาม สวมกระบังหน้า เกล้าพระเกศารูปทรงกระบอกปรากฏอุณาโลม ประดับกุณฑลที่พระกรรณ ด้านข้างพระเศียรมีกรรเจียก สวมกรองศอที่ประดับลายประจำยามและมีพวงอุบะขนาดเล็กห้อยตกลงมา ส่วนองค์ท่อนบนคล้องสายยัชโญปวีตและสวมพาหุรัดในรูปของนาค สวมทองพระกร ทองพระบาท พระธำมรงค์ทุกนิ้ว ทรงภูษาโจงกระเบนสั้นจีบเป็นริ้ว คาดทับด้วยเข็มขัดที่ประดับด้วยพวงอุบะขนาดเล็ก และชักขอบผ้านุ่งด้านบนให้แผ่ออกเป็นรูปสามเหลี่ยมมีชายผ้าห้อยตกลงมาทางด้านหน้า..การกำหนดอายุโดยการเปรียบเทียบตามความหมายในคู่มือการปฏิบัติงานด้านโบราณคดี หมายถึงอายุที่ไม่สามารถระบุเวลาเป็นจำนวนปีที่เทียบเคียงและเชื่อมโยงเข้ากับเวลาของปฏิทินปัจจุบัน กล่าวคือไม่สามารถระบุเป็นตัวเลขจำนวนปี หรือสมัยได้ ระบุได้เพียงว่าอายุเท่ากับ หรืออายุเก่ากว่า หรืออายุน้อยกว่าหลักฐานทางโบราณคดีชิ้นใด ชุดใด หน่วยใดเท่านั้น.ในที่นี้การพิจารณาวิวัฒนาการของรูปแบบในลักษณะศิลปกรรม โดยการคัดเลือกลวดลายตกแต่งของโบราณวัตถุ และโบราณสถาน อาศัยเหตุทั่วไปว่า ศิลปะทางศาสนา หรือที่ทำขึ้นตามระเบียบประเพณีนั้น ความคิดอ่านทางการช่างมีการสืบช่วงอายุต่อกัน เริ่มต้นจากอิทธิพลภายนอกแล้วกลายเป็นแบบของตนเองในภายหลัง หลักสำคัญอยู่ที่การคัดเลือกลวดลาย จำแนกลวดลายตามวัตถุนั้นๆ ออกเป็นกลุ่มๆ จากนั้นคัดเลือกวัตถุชิ้นใดชิ้นหนึ่งเป็นหลัก ซึ่งวัตถุชิ้นหลักนี้ต้องสามารถกำหนดอายุได้อย่างแน่นอน เช่น วัตถุที่มีจารึกบอกเวลาที่สร้าง หรือวัตถุที่สามารถเปรียบเทียบอายุจากวัตถุที่เป็นศิลปกรรมของพื้นที่อื่นที่ให้อิทธิพลแก่วัตถุชิ้นนั้น แล้วจึงคัดลวดลายจากโบราณวัตถุชิ้นอื่นๆ นำมาสืบช่วงก่อนหลังตามลักษณะลวดลายที่ปรากฏ..เทวรูปพระอิศวรสำริดนี้ปรากฏจารึกโดยรอบฐานอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย ระบุปีพุทธศักราช 2053 มีข้อความโดยสรุปว่า เจ้าพระยาศรีธรรมโศกราชได้ประดิษฐานเทวรูปพระอิศวรนี้ไว้เพื่อปกป้องคุ้มครองมนุษย์และสัตว์ที่อาศัยอยู่ภายในเมืองกำแพงเพชร กล่าวถึงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามทั้งในเมืองและนอกเมืองกำแพงเพชร อีกทั้งยังมีรับสั่งให้ขุดลอกคลองแม่ไตรบางพร้อและคลองส่งน้ำจากเมืองกำแพงเพชรไปถึงเมืองบางพาน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จบพิตรพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ สันนิษฐานว่าพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์นั้นหมายถึงสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ผู้เสวยราชสมบัติเมืองอยุธยาสมัยนั้นพระองค์หนึ่ง และพระเจ้าอยู่หัวองค์ก่อนหน้านี้ คือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 หรืออาจหมายถึงพระอาทิตยวงศ์ผู้ที่ได้รับการสถาปนาเป็นอุปราชครองเมืองพิษณุโลก และขึ้นครองราชสมบัติพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 หน่อพุทธางกูร ในเวลาต่อมา .ตัวอย่างลวดลายเครื่องประดับที่ปรากฏบนกระบังหน้า กรองศอ และผ้านุ่งของเทวรูป อาทิ ลายประจำยาม ลายดอกไม้ก้านขด ลายกระหนก และลายดอกกลม อันมีลักษณะคล้ายคลึงกับลวดลายเครื่องประดับที่ปรากฏบนตัวช้างประติมากรรมที่ฐานเจดีย์ประธานวัดช้างรอบ บริเวณสร้อยคอ ข้อมือ และข้อเท้า .จารึกโดยรอบฐานเทวรูปพระอิศวรระบุปีพุทธศักราช 2053 (พุทธศตวรรษที่ 21) ลวดลายเครื่องประดับที่ปรากฏมีความสอดคล้องกับลวดลายเครื่องประดับที่ปรากฏบนประติมากรรมรูปช้างที่ฐานเจดีย์ประธานวัดช้างรอบ จึงอนุมานจากการกำหนดอายุโดยการเปรียบเทียบได้ว่าวัดช้างรอบ เมืองกำแพงเพชร น่าจะสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 ..เอกสารอ้างอิงกรมศิลปากร สำนักโบราณคดี. คู่มือการปฏิบัติงานด้านโบราณคดี. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์, 2551.กรมศิลปากร. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำกัด, 2557.กรมศิลปากร. ประชุมจารึก ภาคที่ 8 จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ, 2548.นารีรัตน์ ปรีชาพีชคุปต์, ธาดา สังข์ทอง และอนันต์ ชูโชติ ; ผู้แปลภาษาอังกฤษ, นันทนา ตันติเวสสะ และ สุรพล นาถะพินธุ. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร (Guide to Sukhothai Si Satchanalai and Kamphaeng Phet historical parks) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ, 2542.
ชื่อเรื่อง : เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ พร้อมด้วย พระประวัติ และพระนิพนธ์บทร้อยกรอง ฉบับตรวจสอบชำระใหม่มีภาพและแผนที่ประกอบเรื่องชื่อผู้แต่ง : -ปีที่พิมพ์ : 2505สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : หจก.ศิวพร จำนวนหน้า : 370 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องพระประวัติ และพระนิพนธ์บทร้อยกรอง ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศ พระราชนิพนธ์บทร้อยกรองอันได้แก่บทเห่เรือ 1. เห่ชมเรือกระบวร 2. เห่ชมปลา 3. เห่ชมไม้ บทเห่เรื่องกากี บทเห่สังวาสและเห่ครวญ กาพย์ห่อโคลง นิราศธารโศก กาพย์ห่อโคลง นิราศธารทองแดง นันโทปนันทสูตรคำหลวง พระมาลัยคำหลวง เพลงยาว ในส่วนของภาคผนวก ได้อธิบายเรื่อง อธิบายตำนานเห่เรือ บันทึกเรื่องธารโศกและธารทองแดง บันทึกเรื่องนันโทปนันสูตรและพระมาลัย
ชื่อผู้แต่ง สุตต์
ชื่อเรื่อง พระคาถาสรรเสริญพระธรรมวินัย พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 4
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ
ปีที่พิมพ์ ๒๔๕๗
จำนวนหน้า 40 หน้า
“กัสสปสังยุตตาคตสูตร” นี้ สมเด็จพระสังฆราช วัดราชประดิษฐ์ ทรงนิพนธ์และมีพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เป็นคาถาภาษามคธว่าด้วยพระธรรมวินัยในพระพุทธศาสนา แทรกอยู่ด้วย 40 คาถา และสมเด็จพระสังฆราชวัดราชประดิษฐ์ได้ทรงแปลพระราชนิพนธ์นี้เป็นภาษาไทยไว้