ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,775 รายการ
ชื่อเรื่อง : เสาปัก ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2510สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาพระสุเมรุ จำนวนหน้า : 214 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องที่ 13 จากทั้งสิ้น 35 เรื่อง จากหนังสือชุดภาษาไทยที่องค์การค้าคุรุสภาจัดพิมพ์ขึ้น เป็นการแปลพงศาวดารจีน ตามลำดับราชวงศ์กษัตริย์จีน พงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์ซุย และราชวงศ์ถังตอนต้น (พ.ศ.1132-1161)
“งู” โดยความเชื่อเรื่องนี้ ผูกพันกับสังคมไทยตั้งแต่ก่อนรับพุทธศาสนา ดังจะเห็นได้จากลวดลายบนภาชนะดินเผายุคก่อนประวัติศาสตร์ในวัฒนธรรมบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี หรือหม้อเขียนสี เขียนลายงูพันกันในวัฒนธรรมบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
นอกจากนี้ การบูชางูยังถือเป็นความนิยมในทางสากล เป็นสัญลักษณ์ของความอมตะ การลอกคราบเปรียบเสมือนการเกิดใหม่หรือการคืนชีพ ดังจะเห็นได้ว่าในวัฒนธรรมอียิปต์มีการประดับงูบนกระบังหน้าฟาโรห์ (Pharaoh) และงูยังอยู่ในฐานะผู้ล่อลวงอดัมและเอวาให้ละเมิดคำสั่งของพระเจ้า ส่วนงูที่ปรากฏเป็นเครื่องหมายทางการแพทย์ มีที่มาจากเทพนิยายกรีกเรื่อง “เอสคูลาปิอุส” ชายหนุ่มผู้มีความสามารถทางการแพทย์จนสามารถรักษาคนตายให้กลับมามีชีวิตได้ มีเรื่องเล่าว่าครั้งหนึ่งขณะเอสคูลาปิอุสกำลังทำการบำบัดโรคให้ผู้ป่วย มีงูตัวหนึ่งเลื้อยขึ้นมาพันคทา เป็นที่มาของเชื่อถือที่ว่างูเป็นผู้บันดาลความรู้และสติปัญญา ส่วนคทาเป็นเครื่องหมายของการป้องกันภัย
ทว่า ในประเทศไทย ภายหลังการสถาปนา “กรมสาธารณสุข” ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ขึ้นเป็นกระทรวง เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๕ แล้ว ทางราชการได้กำหนดรูปคบเพลิงมีปีกและมีงูพันคบเพลิงเป็นเครื่องหมายของ "กระทรวงสาธารณสุข" แม้ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดเกี่ยวกับความหมายของคบเพลิง แต่จากการสันนิษฐานน่าจะมีความหมายเช่นเดียวกับคทา คือป้องกันภัย (ฆ่าเชื้อโรค?) รวมถึงเป็นแสงสว่างนำทางให้ผู้ศึกษาความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อการรักษา
- เศียรนาคดินเผาลายขูดขีด คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รับมาจากด่านศุลกากร ท่าอากาศยานดอนเมือง -
Post by Admin Sarun / Photo by Nai9Kob
ตำรา 12 เดือน คัดแต่สมุดขุนทิพมนเทียรชาววังไว้. กรุงเทพ : กรมศิลปากร, 2545. กล่าวถึงเนื้อหาในตำรา 12 เดือน คัดแต่สมุดขุนทิพมนเทียรชาววังไว้ ลักษณะการบันทึกข้อความในต้นฉบับหนังสือสมุดไทย อักขรวิธีพิเศษที่ปรากฏในต้นฉบับ และแบบแผนและขนบประเพณีในการปกครองบ้านเมืองของผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราชสืบมาแต่โบราณ
พระพิมพ์ดินเผารูปพระพุทธเจ้ายี่สิบแปดองค์
(พระซาวแปดลำพูน)
สมัยหริภุญไชย พุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ หรือประมาณ ๘๐๐ - ๙๐๐ ปีมาแล้ว สูง ๑๐ เซนติเมตร กว้าง ๖ เซนติเมตร
ได้จากวัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน
จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย
พระพุทธรูปปางสมาธิ พบจากโบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง พระพุทธรูปปางสมาธิสำริด พระรัศมีเป็นลูกแก้ว อุษณีษะเป็นกะเปาะสูง เม็ดพระศกใหญ่ พระกรรณยาว พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์หนา พระศอเป็นปล้อง ครองจีวรเรียบห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา จีวรบางแนบพระวรกาย ชายสังฆาฏิซ้อนบนพระอังสาซ้ายปลายเป็นเขี้ยวตะขาบ เห็นขอบสบงเป็นเส้นโค้งบริเวณบั้นพระองค์ พระหัตถ์ซ้ายวางทับพระหัตถ์ขวาประสานกันบนพระเพลาในท่าสมาธิ นั่งขัดสมาธิราบ โดยพระชงฆ์ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย เห็นฝ่าพระบาทขวา ปรากฏชายผ้าพับซ้อนด้านหน้าพระเพลาใต้ข้อพระบาทขวา พระพุทธรูปปางสมาธิองค์นี้ มีรูปแบบของชายสังฆาฏิที่ซ้อนบนพระอังสาซ้าย และชายผ้าพับซ้อนด้านหน้าพระเพลา คล้ายคลึงกันกับที่ปรากฏบนพระพิมพ์ดินเผาปางสมาธิ ซึ่งขุดพบจากโบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ แห่งนี้ และโบราณสถานแห่งอื่น ๆ ในเมืองโบราณอู่ทอง ได้แก่ โบราณสถานหมายเลข ๕ และโบราณสถานบ้านศรีสรรเพชญ์ ๓ ทั้งนี้ลักษณะชายผ้าที่ห้อยลงมาด้านหน้าพระเพลา อาจคลี่คลายมาจากชายผ้าของพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิเพชร ศิลปะอินเดียแบบปาละ (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๗ หรือประมาณ ๙๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว) โดยถือเป็นรูปแบบเฉพาะ ที่นิยมและปรากฏในพระพุทธรูปปางสมาธิ ซึ่งพบเป็นจำนวนมากในพื้นที่เมืองโบราณอู่ทอง พระพุทธรูปปางสมาธิองค์นี้พบร่วมกับโบราณวัตถุอื่น ๆ ได้แก่ ภาชนะดินเผา แผ่นตะกั่วรูปพระโพธิสัตว์ แผ่นตะกั่วรูปสตรี พระพิมพ์ดินเผาปิดทองคำเปลว และพระพิมพ์ดินเผามีจารึกระบุนามผู้สร้าง ซึ่งสามารถกำหนดอายุจากจารึกและรูปแบบศิลปกรรมได้ว่า มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕ (ประมาณ ๑,๑๐๐ – ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว) ดังนั้นพระพุทธรูปปางสมาธิองค์นี้จึงควรกำหนดอายุในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดียแบบปาละดังที่กล่าวถึงข้างต้น--------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง สุพรรณบุรี --------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง ปรัชญา รุ่งแสงทอง. ผลการขุดแต่งโบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ กับการตอบคำถามเรื่อง “หินตั้ง”ที่ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. พุหางนาคและคอกช้างดินร่องรอยพุทธและพราหมณ์บนเขา ศักดิ์สิทธิ์. สมุทรสาคร:บางกอกอินเฮ้าส์, ๒๕๖๑. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. พระพุทธรูปและพระพิมพ์ทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๒. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.
ชื่อเรื่อง บทสวดมนต์ภาณต้น (ภาณกก)
สพ.บ. 252/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 30 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
กระเบื้องเชิงชาย คือ กระเบื้องแผ่นปลายสุดของชายคา เป็นองค์ประกอบสำคัญของเครื่องมุงหลังคาสถาปัตยกรรมโบราณ ใช้ประดับเรียงรายโดยอุดชายคากระเบื้องลอน เพื่อให้เกิดความงามของแนวชายคา ป้องกันฝนสาดเข้าไปตามช่องของลอนกระเบื้องมุง รวมทั้งป้องกันสัตว์ไม่ให้เข้าไปทำรังและทำลายโครงสร้างภายในอาคารได้ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กระเบื้องหน้าอุด กระเบื้องเชิงชายโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่วหรือสามเหลี่ยมด้านเท่า มีเดือยออกทางด้านหลังเพื่อเสียบเข้าไปในลอนกระเบื้องมุง ทำด้วยดินเผา สันนิษฐานว่าช่างโบราณเลือกเทคนิคการทำด้วยวิธีการพิมพ์จากแบบ ซึ่งลวดลายบนกระเบื้องเชิงชายเป็นลายนูนต่ำ ตัวลายมีความกลมมน ละเว้นรายละเอียดที่มากเกินไป เพราะสะดวกต่อการถอดพิมพ์ นอกจากนี้การทำลวดลายบนกระเบื้องเชิงชายที่จะประดับบนหลังคาเดียวกันให้เหมือนและเท่ากันนั้นยากด้วยวิธีการปั้นแบบอิสระ สิ่งก่อสร้างในสมัยอยุธยาที่ใช้กระเบื้องเชิงชายสามารถแบ่งออกได้ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ได้ ๒ ประเภท คือ ประเภทศาสนสถาน ได้แก่ อุโบสถ วิหาร กุฏิ ซุ้มประตู และประเภทที่อยู่อาศัย ได้แก่ พระมหาปราสาท พระที่นั่ง ตำหนัก ซึ่งกระเบื้องเชิงชายใช้กับอาคารของชนชั้นสูง สอดคล้องกับการตกแต่งลวดลายบนกระเบื้องเชิงชายด้วยรูปภาพที่มีความหมายทางประติมานวิทยา เช่น รูปเทพนม รูปดอกบัว ทำให้สันนิษฐานได้ว่ากระเบื้องเชิงชายแต่ละชิ้นน่าจะเป็นสัญลักษณ์ของวิมานที่สถิตของเทวดา เป็นการส่งเสริมความสำคัญของอาคารนั้น ๆ และแสดงฐานะของผู้ใช้อาคารให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ลวดลายที่ปรากฏบนกระเบื้องเชิงชาย ได้แก่ ลายดอกบัว ลายเทพนม ลายหน้ากาล ลายพันธุ์พฤกษา ลายครุฑยุดนาค จากการสำรวจกระเบื้องเชิงชายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร พบกระเบื้องเชิงชายลวดลายดอกบัว โดยดอกบัวเป็นเครื่องหมายของความบริสุทธิ์ ความสมบูรณ์ ในพุทธศาสนาใช้เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการกำเนิดขององค์พระศาสดา ดังความในพระไตรปิฎกว่า “...สีเส ปฐวิ โปกขเร อภิเลเก สพพพุทธานํ...” หมายความว่า แผ่นดินคือดอกบัว เป็นที่อุบัติตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น จึงนิยมสร้างงานศิลปกรรมเป็นรูปพระพุทธเจ้าประทับอยู่เหนือดอกบัว ต่อมาลายดอกบัวได้มีการปรับเปลี่ยนเป็นลายลายกระหนก ลายเทพนมที่ตกแต่งบนกระเบื้องเชิงชายเป็นภาพเทวดาครึ่งตัวประนมมือเสมอพระอุระอยู่เหนือดอกบัว เป็นลวดลายที่พบในงานศิลปกรรมไทยทั่วไป เช่น ในงานจิตรกรรม ลายพุ่มหน้าบิณฑ์เทพนม ลายก้านขดเทพนม ลายเทพนมบนเครื่องถ้วยเบญจรงค์ ในงานประติมากรรม พบที่กระเบื้องเชิงชาย หน้าบัน บันแถลงประตูหน้าต่างของโบสถ์หรือวิหาร เป็นต้น ซึ่งกระเบื้องเชิงชายที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร กำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๓ --------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร : Kamphaeng Phet National Museum https://www.facebook.com/kamphaengphetnationalmuseum/posts/3796695317123532 -------------------------------------------------------บรรณานุกรม - ประทีป เพ็งตะโก. “กระเบื้องเชิงชายสมัยอยุธยา.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๔๐. - วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๕๙. - สันติ เล็กสุขุม. งานช่าง คำช่างโบราณ. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๗.
เลขทะเบียน : นพ.บ.153/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 93 (1-16) ผูก 6 (2565)หัวเรื่อง : สทฺทสารตฺชาลินี(ศัพท์สัททสารัตถชาลินี)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
โรงพยาบาลแมคคอร์มิคหลังจากมิชชันนารีในสังกัดคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียนเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนาในสยาม ได้สนใจขยายงานมายังหัวเมืองล้านนา โดยศาสนาจารย์แดเนียล แมคกิลวารี (Rev. Daniel Mc Gilvary) ได้แสดงความประสงค์ต่อพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ เพื่อขออนุญาตขึ้นมาปฏิบัติงานที่เชียงใหม่และชี้แจงถึงความจำเป็นในการเปิดมิชชันที่เชียงใหม่ต่อคณะกรรมการมิชชันต่างประเทศขององค์กรคริสตจักรเพรสไบทีเรียนในสหรัฐอเมริกา เพราะเห็นว่าพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์มีท่าทีตอบรับ ด้วยพระองค์ทรงเห็นว่าวัตถุประสงค์ของมิชชันนารีจะเป็นประโยชน์และนำความเจริญมาสู่ท้องถิ่น นั่นคือ การเผยแพร่คริสต์ศาสนา การจัดตั้งโรงเรียนและการรักษาผู้ป่วย เมื่อมีการติดต่อประสานงานกับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่เคยสนิทสนมกับมิชชันนารีมาก่อน จึงทำให้สามารถดำเนินการได้ด้วยดี ศาสนาจารย์แมคกิลวารีและนางโซเฟีย แมคกิลวารี เข้ามาถึงเชียงใหม่ ในพ.ศ. ๒๔๑๐ ได้อาศัยศาลาย่าแสงคำมาที่ตั้งอยู่บนเส้นทางสัญจรหลักของชุมชนเป็นที่พัก จึงเป็นโอกาสในการเผยแพร่คริสต์ศาสนาให้กับชาวบ้าน รวมถึงให้คำปรึกษาและรักษาคนไข้ ในระยะแรกมิชชันนารีประสบปัญหาเรื่องการเจ็บป่วยของคนท้องถิ่นที่ไม่อาจรักษาได้และการเจ็บป่วยของคนในครอบครัวมิชชันนารีเอง จึงต้องการแพทย์เข้ามารับผิดชอบงานนี้โดยตรง เพื่อตอบสนองความจำเป็นในครอบครัวและเผื่อแผ่ไปสู่คนท้องถิ่นด้วยพ.ศ. ๒๔๒๕ คณะกรรมการฝ่ายต่างประเทศของคณะมิชชันที่สหรัฐอเมริกา ได้ส่งนายแพทย์ชาร์ล วรูแมน มาเป็นแพทย์มิชชันนารีคนแรกที่เชียงใหม่ ทำให้การแพทย์แบบตะวันตกเป็นที่รู้จักของชาวล้านนามากขึ้น ต่อมาส่งนายแพทย์แมเรียน เอ ชีค เข้ามารับงานนี้ จากนั้น นายแพทย์ เอ.เอ็ม.แครี่ เข้ามารับผิดชอบในระยะสั้น ๆ การแพทย์ตะวันตกในเมืองเชียงใหม่ขณะนั้นได้มีการนำยาสามัญราคาถูกมาขายให้คนท้องถิ่น เพื่อให้คนรู้จักและเห็นความสำคัญของยาและการแพทย์สมัยใหม่ โดยแพทย์สามารถขายยาเป็นค่าตอบแทนเลี้ยงชีพ แต่ยังคงมีลักษณะกึ่งการกุศล นอกจากนี้ คณะมิชชันนารีในเชียงใหม่ ได้ปรับปรุงสถานที่จำหน่ายยาเป็นโรงพยาบาลขึ้น ชื่อว่า “โรงพยาบาลอเมริกันมิชชั่น” ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง สามารถรับคนไข้ได้ ๘-๑๐ คน ในปี พ.ศ. ๒๔๓๑ ได้เปิดให้การรักษาผู้ป่วยและทำการผ่าตัดเป็นต้นมา นับว่าเป็นโรงพยาบาลแห่งที่สองในสยามและเป็นโรงพยาบาลแรกในส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของโรงพยาบาลแมคคอร์มิคปัจจุบันการดำเนินงานเริ่มมีความมั่นคงขึ้นเมื่อนายแพทย์เจมส์ ดับบลิว แมคเคน เข้ามารับผิดชอบใน พ.ศ. ๒๔๓๓ มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาด้านการแพทย์และการสาธารณสุข เช่น การผลิตหนองฝีในการป้องกันโรคฝีดาษที่ระบาดในเวลานั้น เป็นผู้นำเครื่องทำยาเม็ดควีนิน เข้ามาจากประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อทำยาเม็ดควีนิน จำหน่ายและแจกจ่ายแก่ประชาชนในเชียงใหม่และภูมิภาคในการบำบัดรักษาโรคไข้มาลาเรีย ต่อมานายแพทย์แมคเคนได้จัดตั้งสถานรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อนเกาะกลางแม่น้ำปิง ส่วนโรงพยาบาลอเมริกันมิชชั่น มีนายแพทย์เอ็ดวิน ซี.คอร์ท เข้ามารับผิดชอบแทน ซึ่งขณะนั้นเริ่มมีประชาชนมารักษามากขึ้น ทำให้โรงพยาบาลแออัดมาก นายแพทย์คอร์ทได้คิดทำการสร้างโรงพยาบาลใหม่ขึ้น ด้วยความเห็นชอบของคณะมิชชันนารีและด้วยเงินบริจาค ๒๕,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ ของ Mrs. Nettic Fowler McComick ภรรยาของ Mr. Cyrus Hall McCormick จากทุนทรัพย์นี้และได้รับสมทบจากเจ้านายฝ่ายเหนือและพ่อค้าคหบดีชาวเชียงใหม่ นายแพทย์คอร์ท จึงซื้อที่นา จำนวน ๕๐ ไร่ที่บ้านหนองเส้ง และบริษัทบอร์เนียว จำกัด ได้บริจาคที่ดินให้เพิ่มเติมอีก จึงได้สร้างโรงพยาบาลขึ้นทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ให้ชื่อว่า “โรงพยาบาลแมคคอร์มิค” เพื่อเป็นเกียรติแก่ Mrs. Nettic Fowler McComick ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ ๔ ปี นับว่าเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่ทันสมัยที่สุด มีอุปกรณ์การแพทย์จากสหรัฐอเมริกาและรับผู้ป่วยค้างคืนได้ ๑๐๐ เตียง มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๗ โดยมีสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ พร้อมด้วยหม่อมสังวาลย์ (พระยศในขณะนั้น) และพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ได้เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดโรงพยาบาลแมคคอร์มิคระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ รัฐบาลไทยได้เข้าควบคุมกิจการของโรงพยาบาลแมคคอร์มิค เพื่อใช้เป็นโรงพยาบาลสนาม และเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงพยาบาลเสรีเริงฤทธิ์” เมื่อสงครามโลกสงบ รัฐบาลไทยจึงส่งมอบโรงพยาบาลคืนให้กับคณะมิชชันนารีดำเนินการต่อไป และใช้ชื่อ “โรงพยาบาลแมคคอร์มิค” ดังเดิม หลังจากนายแพทย์คอร์ทเกษียณอายุการทำงาน จึงพาครอบครัวเดินทางกลับสหรัฐอเมริกา คณะมิชชันนารีเพรสไบทีเรียนจึงมอบโรงพยาบาลแมคคอร์มิคและกิจการทั้งหมดให้แก่มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยเป็นผู้ดูแล นับจากนั้นโรงพยาบาลแมคคอร์มิคจึงอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของคนไทยมาจนปัจจุบันผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุ ชำนาญการภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่อ้างอิง : ๑. ประสิทธิ์ พงศ์อุดม. ๒๕๕๗. “สายสัมพันธ์กับมิชชันนารีอเมริกัน.” ใน วงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ (บรรณาธิการ). เจ้าดารารัศมี. เชียงใหม่: วิทอินดีไซน์, ๑๒๑-๑๓๑.๒. ถนอม ปินตา และ พิษณุ อรรฆภิญญ์. ๒๕๒๕. พระคุณพระเจ้าในรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: เอกลักษณ์ดีไซน์๓. โรงพยาบาลแมคคอร์มิค. ม.ป.ป. ประวัติการก่อตั้งโรงพยาบาลแมคคอร์มิค (Online). https://www.mccormickhospital.com/web/aboutus, ๑ กันยายน ๒๕๖๔.๔. เชียงใหม่นิวส์. ๒๕๖๑. “แมคคอร์มิค” โรงพยาบาลแห่งแรกในจังหวัดเชียงใหม่ (Online). https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/869246/, ๑ กันยายน ๒๕๖๔.๕. หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล. ๒๕๖๓. พิพิธภัณฑ์หมอเจ้าฟ้า-พยาบาลสถานแห่งการให้ (Online). https://km.li.mahidol.ac.th/prince-mahidol-museum-at.../, ๑ กันยายน ๒๕๖๔.
นิพฺพานสุตฺต (นิพฺพานสูตร)
ชบ.บ.75/1-1ฒ
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)