ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,769 รายการ
เศียรพระพุทธรูป
แบบศิลปะ : อยุธยา (ศิลปะอู่ทอง)
ชนิด : สำริด
ขนาด : สูง 27 เซนติเมตร กว้าง 12 เซนติเมตร
ลักษณะ : พระรัศมีเป็นเปลว เม็ดพระศกเล็กแหลม มีกรอบไรพระศก พระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม พระกรรณยาว พระนลาฏกว้าง พระขนงต่อกันเป็นปีกกา พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่งเป็นสัน พระโอษฐ์แย้มพระสรวล พระศอเป็นปล้อง
สภาพ : ชำรุด พระศอและพระเศียรด้านหลัง เนื้อสำริดแตกหักหายไป
ประวัติ : พระอธิการยุค วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี มอบให้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2471 ย้ายจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2544
สถานที่จัดแสดง : ห้องศาสนศิลป์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi/360/model/10/
ที่มา: hhttp://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi
ดาวน์โหลด พระพุทธสิหิงค์ รุ่น ครบรอบ 112 ปี กรมศิลปากร.pdf
ครุฑยุดนาควัสดุ : ไม้ ล่องชาด ปิดทอง ประดับกระจกแบบศิลปะ/อายุสมัย ศิลปะรัตนโกสินทร์ ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕ (๑๐๐-๒๐๐ ปีมาแล้ว)ประวัติ : ผู้ว่าราชการจังหวัดน่านรับมอบจากพระครูศิริคุณาทาน เจ้าอาวาสวัดท่าล้อ อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน สันนิษฐานว่าเดิมประดับอยู่ในส่วนของหน้าบันอาคาร เช่น วิหาร เป็นต้นครุฑ อ้าปาก สวมมุงกุฎยอด หรือมงกุฎชัย กรรณเจียกจร กรองศอ กำไลแขน กำไลข้อมือ เปลือยท่อนบน นุ่งผ้าชายเพือย ทำท่าในลักษณะเท้าทั้งสองจับส่วนลำตัวนาค แขนทั้งสองจับส่วนหัว และส่วนหางของนาค ปีกทั้งสองสยายออกข้างลำตัว กล่าวว่าการจับนาคจะจับบริเวณต้นกับเกือบถึงปลายหางเพื่อป้องการการเหนี่ยวรัดและแว้งกัด กรงเล็บจะขย้ำลงที่ใต้ท้องนาคในครุฑปุราณะ กล่าวว่า นางกัทรุขอพระจากพรกัศยปมุนีให้มีบุตรเป็นนาค ส่วนนางวินตามีบุตรเป็นครุฑ ซึ่งนางทั้งสองแก่งแย่งชิงดีกัน ครุฑมักจะกินนาคเป็นอาหารเสมอ แม้ในวรรณคดีสันสกฤตเอง ยังมีการกล่าวถึงครุฑว่า ครุฑมีอาหารเป็นนาค เพราะฉะนั้นครุฑจึงกินนาคเป็นอาหาร ในกาลต่อมาครุฑกับนาค จึงกลับกลายมาเป็นศัตรูกันสืบมาครุฑยุดนาค หรือ ครุฑจับนาค เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ระหว่างดีและชั่วเอกสารอ้างอิงพระบุญสม ธมฺมวโร (เชิดสูงเนิน). การศึกษาเปรียบเทียบครุฑในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๖๓.
เส้นทางสายบุญ ไหว้สิมโบราณริมโขง • เชียงคาน • เลยEp.2 วัดศรีคุณเมือง สิมอายุ 187 ปี มีศิลปะที่สวยงาม ทรงคุณค่า อยู่ใกล้ถนนคนเดิน เดินทางสะดวกมากสอบถามหรือแจ้งข้อมูลโบราณสถานโทร. : 043-242129Line : finearts8kkE-mail : fad9kk@hotmail.comTiktok : สำนักศิลปากรขอนแก่นพื้นที่ในความรับผิดชอบขอนแก่น บึงกาฬ เลย สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี#สิม #เลย #ความรู้ #สำนักศิลปากรที่8ขอนแก่น #กรมศิลปากร #โบราณสถาน #เส้นทางสายบุญ #สิมริมโขงเชียงคาน #สิม #สิมโบราณ #คนไทยเลย #เลยก๋อ #เชียงคานเชียงใจ
วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม 2567 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม Workshop การประดิษฐ์สายคล้องกระเป๋า จากต้นหลิวปั้นจิ๋วดินไทย ซึ่งเป็นกิจกรรมพิเศษประจำสัปดาห์ ในงาน “Night at The Palace ย้อนเวลา ชมวัง 4 ศตวรรษ พระราชวังจันทรเกษม” เริ่มเวลา 17.00 น. รับจำนวนจำกัด สามารถลงทะเบียนได้ที่จุดจำหน่ายบัตร ค่าธรรมเนียมเข้าชม ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท ผู้พิการ และชาวไทยผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี เข้าชมฟรี (ร่วมกิจกรรมได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรมเพิ่มเติม) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสนใจติดต่อขอใช้พื้นที่ 0 3525 1586 E-mail : wangchantra@gmail.com หรือทางกล่องข้อความเฟสบุ๊ก Inbox : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม : Chantharakasem National Museum
พระราชวังจันทรเกษม เป็นพระราชวังเดิมตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2120 เพื่อเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวร และในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมเพื่อใช้เป็นที่ประทับแปรพระราชฐาน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้เป็น “ที่ว่าการมณฑลเทศาภิบาล” ซึ่งพระราชวังจันทรเกษม นับเป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนภูมิภาคแห่งแรก ก่อตั้งโดยพระยาโบราณราชธานินทร์ เรียกชื่อว่า โบราณพิพิธภัณฑ์ อยุธยาพิพิธภัณฑสถาน และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม ตามลำดับ
กรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จัดกิจกรรมสุดพิเศษ “Night at The Palace ย้อนเวลา ชมวัง 4 ศตวรรษ พระราชวังจันทรเกษม” เปิดให้ยลโฉมความงามของโบราณสถานสำคัญอันเป็นที่ประทับของพระมหาอุปราชในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในช่วงเวลาค่ำคืน ทุกวันศุกร์ เสาร์และอาทิตย์ เวลา 16.30 - 21.00 น. ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 พร้อมด้วยกิจกรรมอีกมากมาย ภายในงานมีกิจกรรมพิเศษ ประกอบด้วย กิจกรรมนำชมพระราชวังสุดพิเศษ "นำชม รอบเปิดวัง" จากภัณฑารักษ์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม และอาสาสมัครพิพิธภัณฑ์ กิจกรรม “ชวน ชม ชิม” เปิดพื้นที่ภายในพระราชวังจันทรเกษม ให้หน่วยงาน องค์กร ภาคส่วนต่าง ๆ ร่วมแสดงกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม การสาธิต การประดิษฐ์งานศิลปะ กิจกรรม “ชาววัง ชวนขึ้นหอ” ชมทิวทัศน์อยุธยา บนหอสังเกตการณ์ยุคแรกของสยาม กิจกรรม “สายมู ยูต้องมา” สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำวัง (หลวงพ่อลพบุรี พระพุทธรูปเก่าแก่อายุกว่า 700 ปี / พระนเรศวร พระมหาอุปราชผู้ครองพระราชวังองค์แรก / เจ้าพ่อหอส่องกล้อง อารักษ์ประจำวัง /พระคเณศ เทพแห่งความสำเร็จ)
สำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี ขอเชิญฟังการเสวนาทางวิชาการ "สุดยอดการค้นพบใหม่" ในทศวรรษที่ผ่านมาของกรมศิลปากร ในหัวข้อ “แหล่งโบราณคดีโนนหนองหอ จังหวัดมุกดาหาร แหล่งผลิตกลองมโหระทึกสำคัญในประเทศไทย” โดยวิทยากร นายสมเดช ลีลามโนธรรม นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ นางสาวเชาวนี เหล็กกล้า หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี และนางสาวเมริกา สงวนวงษ์ นักโบราณคดีชำนาญการ ดำเนินรายการโดย นางสาวสิริภา เจริญเขต ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน 2567 เวลา 16.00 - 18.00 น. ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมฟังการเสวนาได้โดยการแสกน QR Code หรือกดตามลิ้งนี้ ลงทะเบียน สอบถามเพิ่มเติมได้ทาง Facebook : สำนักศิลปากรที่ 9 อุบลราชธานี หรือ โทร. 0 4531 2845
ชื่อโบราณวัตถุ : ภาชนะดินเผาแบบศิลปะ : สมัยก่อนประวัติศาสตร์ชนิด : ดินเผาขนาด : สูง 18.5 เซนติเมตร ปากกว้าง 12.5 เซนติเมตรอายุสมัย : วัฒนธรรมบ้านเชียงสมัยต้น 4,500 - 3,000 ปีมาแล้วลักษณะ : ภาชนะดินเผามีเชิง มีการตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ ขูดขีด ปั้นแปะ และรมควันให้เป็นสีดำ มีการเจาะรูบริเวณเชิงภาชนะสภาพ : ...ประวัติ : ...สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีแสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang/360/model/06/ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang
แนะนำฐานข้อมูลออนไลน์ GALE ONEFILE NEWS โดย นายตนุภัทร กิจชัยเจริญพร นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
วารสารเครือข่ายกรมศิลปากรเป็นวารสารรายไตรมาสออกทุก ๓ เดือน
พระพุทธรูปประทับยืนเหนือพนัสบดี
- ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖)
- หิน
- ขนาด กว้าง ๓๔ ซม. สูง ๔๙ ซม.
พบในจังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปปางประทานธรรมประทับยืนอยู่เหนือสัตว์ผสมชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า พนัสบดี ซึ่งแปลว่า เจ้าป่า หรือ ต้นไม้ใหญ่ หรือแสงสว่าง ซึ่งอาจเป็นสัตว์ผสมของเทพพาหนะของเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ ปรากฎูรูปบุคคลยืนถือแส้ บางแหล่งมือถือฉัตร ดอกบัว และหม้อน้ำทั้งเบื้องขวา และซ้ายขององค์พระพุทธรูป
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=40207
ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th
ผู้แต่ง : ศรีเลา เกษพรหม ปีที่พิมพ์ : 2541 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง ลัวะเยียะไร่ ไทใส่นา เป็นเรื่องของการทำนาปลูกข้าว ทั้งของคนที่อยู่บนดอย โดยเฉพาะลัวะ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นคนกลุ่มเดิมที่อยู่ในแถบนี้ก่อนที่คนไทจะอพยพเข้ามา และกล่าวถึงการทำนาของคนไทยยวนที่อยู่บนพื้นราบ สะท้อนถึงภาพวิถีชีวิต และขั้นตอนในการทำนาของคนไทในอดีต ซึ่งมีระบบความเชื่อเข้ามาผสมผสาน นับเป็นวัฒนธรรมที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการทำนา จึงทำให้คนละลืมวัฒนธรรมในการทำนาแบบดั้งเดิมเกือบหมดสิ้น
เมืองโบราณเวียงสระเป็นเมืองโบราณในเขตอำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำตาปี เป็นเมืองที่มีคูน้ำล้อมรอบ ๒ ชั้น โดยใช้ลำน้ำธรรมชาติคือแม่น้ำตาปีสายเก่าเป็นคูเมืองด้านทิศตะวันตก และใช้แนวคลองตาลซึ่งไหลไปบรรจบกับแม่น้ำตาปีตรงด้านทิศเหนือเป็นคูเมือง ส่วนคูเมืองด้านทิศตะวันตกและทิศใต้เป็นคูขุดชักน้ำจากแม่น้ำตาปีและคลองตาลให้ไหลมาบรรจบกัน พื้นที่ภายในเมืองแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือเมืองในและเมืองนอก เมืองในมีขนาดประมาณ ๒๐๐ x ๖๒๐ เมตร สภาพทั่วไปเป็นสวนปาล์มมีเนินโบราณสถานอยู่ ๔ เนิน และมีสระน้ำโบราณอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ส่วนเมืองนอกนั้นมีขนาดประมาณ ๔๙๒ x ๕๕๐ เมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองใน ปัจจุบันเป็นที่ตั้งวัดเวียงสระ และพื้นที่สวนยางพารา ภายในเมืองโบราณเวียงสระพบ.........(บทความจากนิตยสารศิลปากร ปีที่ ๕๖ ฉบับที่ ๖ ประจำเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ๒๕๕๖)