ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,769 รายการ

สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 161/6เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


    “การไหว้ครู” หมายถึง การทำพิธีแสดงความเคารพสักการบูชาครูบาอาจารย์ด้วยความสำนึกในพระคุณของท่าน เป็นจารีตประเพณีไทยมาช้านาน เป็นพิธีกรรมที่ปรากฏอยู่ในศาสตร์หลายแขนง เช่น ศาสตร์ด้านการแพทย์ การช่าง เป็นต้น          โดยเฉพาะศาสตร์ที่เกี่ยวกับนาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ ซึ่งให้ความสำคัญกับบุคคลที่เป็นครูบาอาจารย์อย่างยิ่ง ด้วยเหตุที่เพลงดนตรีบางเพลง หรือท่ารำบางท่าเป็นเพลงและท่ารำที่มีความศักดิ์สิทธิ์ หากไม่ได้ทำการไหว้ครูและครอบครู* เสียก่อนก็มิอาจสอนลูกศิษย์ได้ หรือหากสอนลูกศิษย์ไปแล้วเกิดผลร้ายแก่ผู้สอนหรือลูกศิษย์ในภายหลัง ถือกันว่าเป็นการผิดครู ดังนั้นจึงต้องมีพิธีการ “ไหว้ครู” และ “ครอบครู”          หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับพิธีการไหว้ครูและครอบครูมีตัวอย่าง ตามหมายรับสั่งรัชกาลที่ ๔ เรื่อง ไหว้ครูละครหลวง ปีขาล ฉศก พ.ศ. ๒๓๙๗ โปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธีไหว้ครูและครอบครู ณ ชาลา พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท กระทำพิธีในวันพฤหัสบดี** ในหมายรับสั่งนี้ ระบุการมอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ จัดเตรียมสิ่งของที่ใช้ในงานพิธีไหว้ครูครอบครูเท่านั้น อย่างไรก็ตามใน “พระตำราครอบโขนละคร เล่ม ๒ ฉบับหลวงครั้งรัชกาลที่ ๔” กล่าวถึงขั้นตอนในพิธีการไหว้ครูและครอบครูไว้อย่างละเอียด ตั้งแต่การตั้งเครื่องพิธีสงฆ์ ตั้งเครื่องละคร การจุดเทียนบูชาพระ การทำน้ำพระพุทธมนต์ บูชาเทวรูป-กล่าวคำเชิญเทพเทวดา ถวายเครื่องเซ่นไหว้ สักการะ การนำหัวโขนมาครอบแก่ลูกศิษย์ ฯลฯ ลำดับพิธีการดำเนินกระทั่งจบพิธีการเจิมหน้าโขนและเจิมหน้าลูกศิษย์ ลูกศิษย์เอาของมาบูชาครูและรำถวายครู ดังความตอนท้ายของเอกสารกล่าวว่า    “...แล้วครูก็ดับควันเทียน เอาแป้งหอมน้ำมันหอมเจิมหน้าโขน แล้วเจิมหน้าลูกศิษย์ทุก ๆ คน แล้วลูกศิษย์เอาของมาคำนับครู แล้วก็รำถวายมือ...”          การประกอบพิธีไหว้ครูและครอบครูนั้น ผู้ประกอบพิธีจะสมมติตนเป็นพระภรตฤษี ซึ่งเป็นผู้รับเทวโองการจากพระพรหมให้มาถ่ายทอดแก่มนุษย์โลก (นาฏศาสตร์ การฟ้อนรำ มีกำเนิดจากพระอิศวรเป็นปฐม แล้วมอบให้พระพรหมแต่งเป็นตำรา ผ่านมาถึงพระภรตฤษี)          ราชสำนักในสมัยรัตนโกสินทร์ มีบุคคลที่เป็นผู้ประกอบพิธีไหว้ครูและครอบครูหลายท่านด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือ พระยานัฏกานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต) เจ้ากรมโขนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) เป็นผู้ประกอบพิธีไหว้ครูและครอบครูมาแต่ครั้งนั้น และเคยเป็นผู้ประกอบพิธีในพระราชพิธีครอบโขนละครและมีปี่พาทย์ครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ ต่อเบื้องพระพักตร์          ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘ อุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ คุณหญิงนัฏกานุรักษ์ (เทศ สุวรรณภารต) ได้รักษาไว้ จวบจนศิษย์ของท่าน คือ นายอาคม สายาคม ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ประกอบพิธีฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ คุณหญิงฯ จึงได้มอบ “สัตตมงคล” ที่พระยานัฏกานุรักษ์เคยใช้ประกอบพิธีและครอบครูให้เป็นสิริมงคลและเกียรติประวัติ         กระทั่งนายอาคม สายาคม ถึงแก่มรณกรรม เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๕ ทายาทได้เก็บรักษาไว้ และเมื่อคำนึงถึงประโยชน์สำหรับการศึกษาในศาสตร์แขนงนี้สืบไป จึงได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระกนิษฐาธิราช กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันพุธที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำมาจัดแสดง ไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร         สัตตมงคลเหล่านี้ แต่ละชิ้นมีที่มาและความสำคัญอย่างยิ่ง ประกอบด้วย            ๑. พระตำราไหว้ครูฉบับครูเกษ พระราม ตั้งแต่พ.ศ. ๒๓๙๗            ๒. หัวโขนพระภรตฤษี (ผู้รับเทวโองการจากพระพรหมมาถ่ายทอดแก่มนุษย์โลก)            ๓. หัวโขนพระพิราพ (ปางหนึ่งของพระอิศวรผู้ให้กำเนิดการฟ้อนรำ)            ๔. เทริดโนราพร้อมหน้าพราน (โนราเป็นละครดั้งเดิมปรากฏตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา)            ๕. ตู้เทวรูป พร้อมเทวรูป ๕ องค์            ๖. ไม้เท้าหน้าเนื้อ (เป็นไม้ไผ่หัวเป็นรูปหน้าเนื้อสมัน แต่ไม่มีเขา)            ๗. ประคำโบราณ และแหวนพิรอด (ทำจากผ้าถักลงยันต์แล้วพันด้วยด้าย)           *คำว่า “ครอบครู” ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ให้ความหมายว่า พิธีตั้งครูโขนเพื่อให้ผู้นั้นสามารถเป็นผู้ครอบศิษย์ต่อไป         **วันพฤหัสบดี เป็นวันที่มีความหมายถึงวันครู เนื่องจากพระพฤหัสบดี (หรือ คุรุ) เป็นครูของเทพทั้งหลาย ประติมากรรมแสดงเป็นรูปนักบวชสวมสร้อยประคำ มีพาหนะเป็นกวางที่น่าจะหมายถึง กวางในป่าอิสิปปตนมฤคทายวัน สถานที่ปฐมเทศนาของพระพุทธเจ้าและเป็นที่อยู่ของเหล่าฤๅษีนักบวช   อ้างอิง กรมศิลปากร. พิธีไหว้ครูและตำราครอบโขนละคร. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: ไทยแบบเรียน (แผนกการพิมพ์) (ในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาเสวกเอก พระยาอนุรุทธเทวา (ม.ล. ฟื้น พึ่งบุญ) อดีตผู้บัญชาการกรมมหรสพ เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๔) กรมศิลปากร. เทวดานพเคราะห์. กรุงเทพฯ: เฮงศักดิ์มั่นคง, ๒๕๖๐. มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. ศกุนตลา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๕, จาก: https://vajirayana.org/ศกุนตลา/ภาคผนวก-๑-กล่าวด้วยนาฏกะ


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           16/1ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                86 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์” วันวาเลนไทน์ หรือ วันแห่งความรัก วันที่ใครหลาย ๆ คนรอคอย... โดยเฉพาะหนุ่มสาวที่ตื่นขึ้นมา พร้อมรอยยิ้ม เพื่อเตรียมของขวัญ คำหวาน และข้อความพิเศษ ๆ มอบให้กับคนรักอย่างแน่นอน วันวาเลนไทน์เกิดขึ้นได้อย่างไร และชาวตะวันตกทำอะไรกันบ้างในวันสำคัญสำหรับชาวคริสต์วันนี้ วันวาเลนไทน์ หรือ วันแห่งความรัก เริ่มต้นขึ้นจากวันฉลองเพื่อระลึกถึงคริสเตียน 2 ท่าน ที่เสียสละเพื่อมนุณษย์ ชื่อ วาเลนไทน์ (Valentine) แต่ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวันนี้ก็ไม่มีสิ่งไหนที่เกี่ยวพันถึงชีวิตของนักบุญเหล่านี้ บางทีอาจจะมาจากประเพณีโบราณที่เรียกว่า ลูเปอร์คาเลีย (Lupercalia) ชาวโรมันฉลองวันลูเปอร์คาเลียเป็นประเพณีแห่งความรักของหนุ่มสาว ชายและหญิงสาวจะเลือกคู่สำหรับประเพณีนี้ โดยการเขียนชื่อตนใส่กล่องและจับฉลากเพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงความรัก และปกติเขาจะยังคงติดต่อสัมพันธ์กันเป็นเวลานานหลังจากประเพณีนี้ผ่านไปแล้ว หลายคู่ก็จะลงเอยด้วยการแต่งงาน ชาวคริสเตียนจะให้ความสำคัญของประเพณีนี้ โดยจะใช้วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ที่มีความหมายตามประเพณีการเลือกคู่ มาถือเป็นประเพณีที่ทำสืบกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ การฉลองวันวาเลนไทน์ในยุคแรกๆ จากข้อมูลของหนังสือที่ผลิตขึ้นในปี ค.ศ. 1877 กล่าวว่า ประชาชนชาวอังกฤษยอมรับวันนี้เป็นวันหยุดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1446 ส่วนที่สหรัฐอเมริกามานิยมกันในปี ค.ศ. 1800 ในช่วงที่มีสงครามกลางเมือง ผู้เขียนแมกกาซีนในปี 1863 เขียนไว้ว่า “ที่จริงการยอมรับวันคริสตมาสยังไม่มีประเพณีฉลองปรากฏสู่สายตาชาวโลกที่จะครอบงำความสนใจถึงครึ่งหนึ่งเหมือนกับเทศกาลครบรอบวาเลนไทน์นี้ สัญญลักษณ์จำนวนมากของวาเลนไทน์ในยุคนี้ คือ ภาพวาด ซึ่งมักจะเป็นรูปของกามเทพ ซึ่งเป็นผู้ยิงศรรักปักหัวใจคน นักบุญ 2 คน ผู้มีนามว่า “วาเลนไทน์” คนแรกเป็นผู้สอนศาสนาอยู่ในกรุงโรม ประมาณปี 200 ชาวโรมันจำคุกเขาเพื่อกลั่นแกล้งคนคริสเตียน และประมาศ ค.ศ. 270 ชาวโรมันประหารชีวิตเขาโดยการตัดศีรษะ บางข้อมูลอาจจะบอกว่า นักบุญวาเลนไทน์ หรือเซนต์วาเลนไทน์ เป็นผู้ริเริ่มการจัดงานแต่งงานในยุคที่ไม่นิยมให้แต่งงานกัน เหตุเพราะในช่วงนั้นโรมต้องประสบกับสงคราม จักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง ต้องการเกณฑ์คนไปรบ แต่มีบุคคลจำนวนมากที่มีครอบครัว มีภรรยา มีคนรัก ต่างไม่อยากจะทิ้งครอบครัวไป ทำให้ จักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง ตัดสินใจให้ยกเลิกการแต่งงานและการหมั้นทั้งหมดของชาวโรมันในยุคนั้นไปหมดอย่างสิ้นเชิง แต่นักบุญวาเลนไทน์กลับสวนกระแสของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง ชักชวนคู่รักมาแต่งงานหลายต่อหลายคู่ จนโดนจับตัวไปขังเอาไว้ และในคุกที่คุมขังนักบุญวาเลนไทน์นั้น เขาได้พบรักกับสาวตาบอดนางหนึ่ง เมื่อโดนจับได้ นักบุญวาเลนไทน์จึงถูกนำตัวไปประหารในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ วันดังกล่าวจึงกลายมาเป็น วันวาเลนไทน์ วันที่ผู้คนจะรำลึกถึงนักบุญ ผู้อุทิศตนให้ความรักนั่นเอง นักบุญวาเลนไทน์อีกคนหนึ่งเป็นบาทหลวงของ Interaranca (ปัจจุบันคือ Tem) ห่างจากกรุงโรมประมาณ 60 ไมล์ ซึ่งมีบีนทึกไว้ว่าเขาถูกกกลั่นแกล้ง เนื่องจากการเปลี่ยนจากครอบครัวไปเป็นคริสเตียน และเขาถูกตัดศีรษะในกรุงโรม ประมาณปี ค.ศ. 273 เช่นกัน แน่นอนว่าพอถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ซึ่งเป็นวันแห่งความรัก คู่รักทุกคู่ ทุกรูปแบบก็เตรียมพร้อมกับการแสดงออกถึงความระหว่างที่ตนมีระหว่างกันด้วยวิธีการที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรม หรือการมอบสิ่งของแทนใจที่มีความหมายแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็น ดอกกุหลาบ ที่เป็นสัญลักษณ์ หรือตัวแทนแห่งความรัก และสะท้อนความหมายโดยนัยผ่านสีต่างๆ ของดอกกุหลาบที่แตกต่างกัน อาจมอบให้เป็นช่อ หรือจะมอบแบบเป็นดอกเดี่ยวๆ ก็ได้เช่นกัน การ์ดวาเลนไทน์ ไม่จำเป็นว่าจะต้องมอบให้กับคนรัก หรือแฟนเพียงอย่างเดียว แต่เรายังสามารถส่งมอบความปราถนาดี ความห่วงใย และความเอาใจใส่ผ่านตัวหนังสือไปยังคนที่เรารักคนอื่นๆได้ ช็อกโกแลต เกิดขึ้นในยุคที่นักบุญวาเลนไทน์ได้เสียชีวิต การให้ช็อกโกแลตแทนใจนับว่าเป็นสิ่งที่ล้ำค่า เนื่องด้วยในสมัยนั้นช็อกโกแลตเป็นของหายาก จึงเปรียบเป็นของที่มีค่าที่คนรักจะมอบแทนใจให้กันได้ อีกทั้ง ช็อกโกแลตยังสามารถสื่อความหมายถึงชีวิตรักของเราได้อย่างชัดเจน เพราะด้วยรสชาติของมันที่มีตั้งแต่รสขม ไปจนถึงรสหวาน เปรียบได้กับการดำเนินชีวิตคู่ที่บางครั้งก็มีทุกข์บ้าง มีสุขบ้าง หรือมีขื่นขมและมีหวานปะปนกันไป อ้างอิง : บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541. ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี


ชื่อผู้แต่ง             ลำดวน  สุขพันธ์ ชื่อเรื่อง              ประเพณ๊การบวช ครั้งที่พิมพ์           - สถานที่พิมพ์        กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์          โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว ปีที่พิมพ์             ๒๕๒๐ จำนวนหน้า         ๔๔  หน้า                        ประเพณีการบวช เป็นประเพณีสืบเนื่องในพระพุทธศาสนาที่คนไทยถือปฏิบัติควบคู่กับการนับถือศาสนาพุทธมาเป็นเวลานาน และได้ปลูกฝังความเชื่อมั่นในเรื่องการบวชให้สังคมรับสืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน การบวชนอกจากจะเป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนาแล้วยังเป็นการสร้างอานิสงส์ให้แก่ผู้บวชและผู้เป็นบิดามารดาอย่างยิ่งใหญ่ด้วย


เลขทะเบียน : นพ.บ.432/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 36 หน้า ; 5 x 59 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 156  (131-140) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : มิลินทปัญหา--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.579/1                             ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 60 หน้า ; 4.5 x 49.5 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 187  (357-364) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : สวดมนต์กลาง--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


จีวรลายดอก"ผ้ากาสาวพัสตร์" (แปลว่า ผ้าที่ย้อมด้วยน้ำฝาด) หรือ "ผ้าไตร" ที่คนไทยทั่วไปรู้จักกัน เป็นผ้าที่พระสงฆ์ใช้นุ่งห่มกายตามข้อกำหนดของพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยผ้าจำนวน ๓ ผืน ได้แก่ "จีวร" (อุตราสงค์) เป็นผ้าที่ใช้ห่มด้านนอก "สบง" (อันตรวาสก) ผ้าที่ใช้สำหรับนุ่งด้านล่าง และ "สังฆาฏิ" ผ้าสำหรับนุ่งซ้อนหรือพาดบ่า การนุ่งห่มผ้าไตรนี้เป็นข้อกำหนดที่พระพุทธเจ้าทรงประทานอนุญาตไว้ตั้งแต่สมัยพุทธกาลและถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญของพระสงฆ์ ซึ่งประเทศไทยได้รับรูปแบบการแต่งกายนี้เข้ามาพร้อม ๆ กับพระพุทธศาสนา ดังที่พบในงานศิลปกรรมกลุ่มพระพุทธรูปสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖) เป็นต้นมา กระทั่งถึงปัจจุบัน พระสงฆ์ไทยยังคงใช้ผ้าไตรนุ่งห่มตามพระวินัยเช่นเดียวกับพระสงฆ์ที่พบในประเทศต่าง ๆ แม้ว่ารูปแบบการครองผ้าจะเปลี่ยนไปบ้างตามแต่ละนิกายก็ตามผ้าไตรเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างรูปเคารพเนื่องในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะรูปพระพุทธเจ้าและพระสาวก แม้จะมีความแตกต่างกันบ้างตามยุคสมัยและสกุลช่างทางศิลปะ ทว่ายังคงปรากฏในรูปของผ้าสามผืน มีลักษณะเป็นผ้าเรียบ ไม่มีลาย ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าเป็นการสร้างตามรูปแบบของผ้าไตรที่พระสงฆ์ในสมัยนั้นใช้ กระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ราชสำนักมีธรรมเนียมถวายผ้าจีวรที่มีลวดลายดอกไม้อย่างที่เรียกว่า "จีวรลายดอก" แด่พระเถระชั้นผู้ใหญ่ ดังปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ อาทิ จดหมายเหตุบัญชีผ้าพระกฐินและผ้าไตร จ.ศ. ๑๑๘๗ (ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๖๘) และภาพถ่ายพระสงฆ์ในช่วงนั้น กล่าวกันว่าการถวายจีวรลายดอกน่าจะเกิดขึ้นมาแต่สมัยพุทธกาลแล้ว โดยพระพุทธเจ้าทรงประทานอนุญาตเฉพาะลายดอกไม้ขนาดเล็ก ไม่กาววาว (สีสันไม่ฉูดฉาด ไม่แวววาว) จีวรลายดอกที่นิยมถวายกันในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์จึงทำจากผ้าที่นำเข้ามาจากแคว้นเบงกอล เป็นผ้าฝ้ายเนื้อบางละเอียด ทอลายดอกไม้ขนาดเล็กทั้งผืน เรียกว่า “ผ้าย่ำตะหนี่” (Jamdani) นำมาตัดเย็บและย้อมด้วยน้ำฝาดตามพระวินัย ด้วยเหตุนี้ ความนิยมในการสร้างพระพุทธรูปและพระสาวกบางกลุ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ ลงมา จึงได้ถอดแบบมาจากการนุ่งห่มของพระสงฆ์จริง ๆ โดยครองจีวรลายดอกหลายรูปแบบ เช่น ลายดอกพิกุล ลายใบเทศ และลายพุ่มข้าวบิณฑ์แม้ว่าการถวายจีวรลายดอกแด่พระสงฆ์จะลดลงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) จนหายไปในที่สุด ทว่ายังปรากฏการสร้างพระพุทธรูปหรือพระสาวกที่ครองจีวรลายดอกสืบต่อมาจนกลายเป็นอัตลักษณ์หนึ่งของศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ที่ไม่พบในงานศิลปกรรมสมัยอื่นของไทย






          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ขอเชิญร่วมกิจกรรม "ไกด์ ออน เกวียน" 2 รอบสุดท้าย ในวันที่ 29 และ 30 กรกฎาคม 2566 ทริปปิดฤดูกาล ก่อนเข้าพรรษา มีเกวียนบริการวันละ 1 รอบ เวลา 10:30 น. โดยเส้นทางเริ่มต้นจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง ไปหลุมขุดค้นวัดโพธิ์ศรีในแวะชมหลุมขุดค้น และเดินทางต่อไปยังบ้านไทพวนอนุสรณ์สถาน และกลับมายังพิพิธภัณฑ์             ติดต่อสำรองที่นั่งได้ทาง inbox Facebook Fanpage : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง : Banchiang National Museum (www.facebook.com/bcnmfinearts) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 4223 5040  


          สำนักหอสมุดแห่งชาติ โดยกลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก ได้ดำเนินงานโครงการเผยแพร่ความรู้ทางด้านเอกสารโบราณ ประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อจัดทำวีดิทัศน์การเรียนการสอนการเขียนอักษรขอม พยัญชนะตัวเชิงการผสมสระกับพยัญชนะ โดยมีการนำเสนอในรูปแบบการ์ตูน  เกี่ยวกับเรื่องการศึกษาอักษรขอม และการฝึกเขียนอักษรขอม โดยเนื้อหาจะแบ่งออกเป็นสองส่วน      1. การเขียนอักษรขอม พยัญชนะตัวเชิง      2. การผสมสระกับพยัญชนะ           ผู้สนใจสามารถรับชมได้ทาง YouTube :  National Library of Thailand (หอสมุดแห่งชาติ) ที่  https://www.youtube.com/watch?v=4pwhCHeWSf8


-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : ป่าน้ำว้า ตำบลขึ่ง ตำบลไหล่น่าน -- เมื่อหลายสิบปีก่อน อุตสาหกรรมป่าไม้ของไทยได้รับความนิยม ป่าไม้ในภาคเหนือเช่นที่จังหวัดน่านมีพันธุ์ไม้ชั้นดีมากมาย รัฐได้กำหนดผืนป่าบางส่วนสำหรับสัมปทานทำไม้หรือเรียกกันทั่วไปว่า " เปิดป่า " . เอกสารจดหมายเหตุของสำนักงานป่าไม้จังหวัดน่านฉบับหนึ่ง คือแผนที่ป่าไม้นอกโครงการน้ำน่านฝั่งซ้าย แสดงบริเวณป่าน้ำว้า ตำบลขึ่งและตำบลไหล่น่าน ที่เจ้าหน้าที่หรือเอกชนร่างการสำรวจไว้เพื่อขอทำไม้. ลักษณะแผนที่ถูกจัดทำในขนาดมาตราส่วน 1: 50,000 ภายในพื้นที่มีแม่น้ำว้าไหล่ผ่านกลางจากทิศตะวันตกสู่ทิศตะวันออก ลำห้วยต่างๆ แตกสาขาจากแม่น้ำออกไปดั่งเส้นเลือดฝอย เช่น ห้วยเดีย ห้วยปง ห้วยหนวน ห้วยสะลื่น ห้วยสวน และห้วยผายาว ฯลฯ ริมแม่น้ำประกอบไปด้วยหมู่บ้านเป็นระยะ ได้แก่ บ้านขึ่ง บ้านท่าลี่ บ้านห้วยสวน บ้านห้วยเม้น และบ้านหาดไร่ ถึงแม้แผนที่จะไม่แสดงความเขียวครึ้มของผืนป่า หากผู้สำรวจได้ระบายสีม่วงบริเวณพื้นที่ขอทำไม้ไว้ แสดงว่าจุดนั้นต้องอุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ต่างๆ แน่นขนัด ที่สำคัญมันอยู่เลียบแม่น้ำว้าทั้งสองฝั่งและกว้างเกือบ 3 ใน 4 ของแผนที่ ทั้งมิต้องกล่าวถึงพันธุ์สัตว์ชนิดต่างๆ ที่อาศัยอยู่ด้วย คงจะมีปริมาณมากเช่นกัน. อย่างไรก็ดี นอกจากองค์ประกอบทางกายภาพแล้ว แผนที่ยังสะท้อนนัยให้เราทราบอีกบางประการ เช่น. 1. คนอยู่กับป่า ทั้งดำรงชีพหรือพึ่งพาอาศัยกันและกันมาแต่แรก 2. ระบบนิเวศน์อุดมสมบูรณ์ ไม่เช่นนั้นไม่ถูกสำรวจเพื่อขอทำไม้ 3. ชื่อแผนที่คือ " ป่านอกโครงการ ... " สันนิษฐานว่าอาจเคยถูกกันเอาไว้ไม่ให้รับสัมปทาน เพื่อสงวนพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์. น่าเสียดายที่แผนที่ไม่ได้ระบุรายละเอียดใดๆ เพิ่มเติม แม้กระทั่งวันเวลาที่จัดทำ มิฉะนั้น เราจะเข้าใจผืนป่าแห่งนี้มากขึ้น และตอบคำถามหนึ่งได้ว่า สุดท้ายผืนป่าน้ำว้า ตำบลขึ่ง ตำบลไหล่น่าน ถูกสัมปทานหรือไม่ ??.ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา).เอกสารอ้างอิง: หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานป่าไม้จังหวัดน่าน ผจ นน 1.6/11 แผนที่ป่านอกโครงการน้ำน่านฝั่งซ้าย แสดงบริเวณป่าน้ำว้า ตำบลขึ่ง ตำบลไหล่น่าน อำเภอสา จังหวัดน่าน [ ม.ท. ].#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ


          หอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญชวนร่วมงานเสวนาเรื่อง จากบุพเพสันนิวาสสู่พรหมลิขิต : พลังแห่งวรรณกรรมสู่ซอฟต์พาวเวอร์ วิทยากรโดย จันทร์ยวีร์ สมปรีดา นักประพันธ์เจ้าของนามปากกา "รอมแพง" ภายในงานมีกิจกรรมสาธิตการทำขนมไทยฉบับในวัง การแสดงเครื่องเเต่งกายสมัยสมเด็จพระนารายณ์ และหนังสือแนะนำให้อ่านตามรอยวรรณกรรม  ในวันอังคาร ที่ 21 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 - 16.30 น.  ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ  (*รับจำนวนจำกัดเพียง 70 ท่าน และขอปิดรับสมัครเมื่อมีผู้ลงทะเบียนครบตามจำนวน) ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าด้วยการสแกน QR Code หรือทาง https://forms.gle/Et7o37wozX9AH6537            ทั้งนี้ ผู้สนใจที่ลงทะเบียนไม่ทัน หรือไปร่วมงานไม่ได้ ยังสามารถรับชมการถ่ายทอดสดการเสวนาดังกล่าวได้ผ่านทาง Facebook Live: National Library of Thailand


Messenger