ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,775 รายการ

อุโปสถกมฺมกถา (อุโปสถกรรมกถา)  ชบ.บ.97/1-3  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : 600 ปีติโลกราชกับมิติทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ล้านนาในยุคปัจจุบัน ผู้แต่ง : สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ปีที่พิมพ์ : 2552 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่       เนื่องในวโรกาสครบรอบ 60 ปี พระประสูติของพระญาติโลกราช ที่เป็นกษัตริย์ลำดับที่ 10 ของราชวงศ์มังราย ตลอดรัชสมัยของพระองค์ได้ขยายอาณาเขตไปทั่วทุกทิศ ทั้งยังรงทำนุบำรุงพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรือง ด้วยการปฏิสังขรณ์วัดเจดีย์หลวง ทรงสร้างวัดป่าแดงมหาวิหาร และเพื่อรำลึกถึงพระราชกรณีย์กิจของพระองค์ปกครองไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ให้อยู่เย็นเป็นสุข เสริมสร้างความมั่นคงให้กับอาณาจักรล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ล้านนาในยุคปัจจุบันขึ้น ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2552 ณ หอประชุมอาคารรวมวิจัย และบัณฑิตศึกษา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



ชื่อผู้แต่ง                  เจ้าพระยาธรรมศักดิมนตรี ชื่อเรื่อง                   แบบสอนอ่านใหม่ เล่ม ๒ ครั้งที่พิมพ์               - สถานที่พิมพ์             พระนคร สำนักพิมพ์               โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น ปีที่พิมพ์                  ๒๕๑๔ จำนวนหน้า              ๘๘     หน้า รายละเอียด              หนังสือที่จัดพิมพ์ในงานพระราทานเพลิงศพ นายครรชิต เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นหนังสือสำหรับเด็ก ชื่อ แบบสอนอ่านใหม่เล่ม ๑ และเล่ม ๒                     ของพระยาธรรมศักดิมนตรี บิดาของผู้วายชนม์แต่งในปี พ.ศ.๒๔๗๘ หลังจากที่ออกจากราการแล้ว



วิดิทัศน์ เสวนาเรื่อง "ปกป้องเขาแดง : Save_Singora"ในวันอาทิตย์ ที่ 27 มีนาคม 2565ตั้งแต่เวลา 16.30 - 19.00 น.ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลาอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา


สะพานจันทร์สมอนุสรณ์สะพานข้ามแม่น้ำปิงแห่งแรก ของเมืองเชียงใหม่ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๒๑ โดยนายแพทย์แมเรียน เอ ชีค หรือ หมอชีค มิชชันนารีชาวอเมริกันที่ผันตัวเองไปทำกิจการป่าไม้ สะพานดังกล่าวเป็นสะพานขนาดใหญ่ ทำจากไม้สัก เชื่อมระหว่างแม่น้ำปิงฝั่งตะวันออกบริเวณด้านหลังวัดเกตการามกับฝั่งตะวันตกใกล้ตลาดต้นลำไย เรียกชื่อกันว่า ขัวกุลา ต่อมามีการสร้างสะพานไม้แห่งใหม่ขึ้น เป็นสะพานข้ามแม่น้ำปิงแห่งที่ ๒ ของเมืองเชียงใหม่ (บริเวณสะพานนวรัฐในปัจจุบัน) จึงเรียกสะพานนี้ว่า ขัวเก่า สะพานแห่งนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินข้ามในคราวเสด็จประพาสหัวเมืองพายัพ ใน พ.ศ. ๒๔๗๕ ช่วงฤดูน้ำหลาก ขัวกุลาหรือขัวเก่าถูกไม้ซุงจำนวนมากที่ล่องไปตามแม่น้ำปิงกระแทกเข้ากับเสาตอม่อสะพาน ทำให้สะพานเอียงทรุดเสียหาย ต่อมาจึงต้องรื้อทิ้ง ชาวบ้านสองฝั่งแม่น้ำปิงได้รับความยากลำบากในการเดินทางมากขึ้น โดยเฉพาะในฤดูแล้งที่ไม่สามารถใช้เรือข้ามได้ การเดินทางข้ามแม่น้ำปิงต้องไปข้ามที่สะพานอีกแห่งที่อยู่ห่างออกไป คือ สะพานนวรัฐ ทางราชการแก้ปัญหาด้วยการสร้างสะพานชั่วคราวทำด้วยไม้ไผ่สานขัดแตะ ชาวบ้านเรียกว่า ขัวแตะ แต่ถึงฤดูน้ำหลากก็จะถูกน้ำพัดพังไป จึงทำให้ต้องสร้างขัวแตะขึ้นใหม่ทุกปีต่อมาประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๗ มีพ่อค้าชาวอินเดียชื่อ โมตีราม หรือนายมนตรี โกสลาภิรมณ์ ได้บริจาคเงินให้เทศบาลเชียงใหม่ รวมทั้งมีการระดมทุนเพิ่มเติมสำหรับการก่อสร้างสะพานถาวร เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ชาวบ้านและเป็นอนุสรณ์แก่ภรรยาชื่อจันทร์สม เมื่อสร้างเสร็จได้ตั้งชื่อสะพานแห่งนี้ว่า “สะพานจันทร์สมอนุสรณ์” ชาวบ้านเรียกกันว่า ขัวแขกสะพานแห่งนี้เป็นสะพานข้ามแม่น้ำปิงสำหรับคนเดินข้าม มีการสัญจรไปมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ สะพานชำรุด เทศบาลนครเชียงใหม่จึงจัดสรรงบประมาณสร้างสะพานใหม่ทดแทน เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดความกว้าง ๓ เมตร ยาว ๑๑๐ เมตร และเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ ในวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นมาผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่ ภาพส่วนบุคคล ชุด นายบุญเสริม สาตราภัยอ้างอิง :๑. บุญเสริม สาตราภัย. ๒๕๕๔. เชียงใหม่ในความทรงจำ. เชียงใหม่: โรงพิมพ์แสงศิลป์.๒. นิพนธ์ ตุลานนท์. ๒๕๕๓. “เกาะทรายกับชีวิตจาวกาด.” ใน สุภาภรณ์ อาภาวัชรุตม์ และ ดวงจันทร์ อาภาวัชรุตม์ เจริญเมือง. (บรรณาธิการ). เรื่องเล่าจาวกาด เล่ม ๗. เชียงใหม่: โรงพิมพ์แสงศิลป์, ๓๒-๕๗.๓. นิตยสารศิลปวัฒนธรรม. ๒๕๖๔. สะพานวัดเกต สะพานไม้สักข้ามแม่น้ำปิงแห่งแรกที่เชียงใหม่ (Online). https://www.silpa-mag.com/history/article_65951 , สืบค้นเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕.๔. จักรพงษ์ คำบุญเรือง. ๒๕๖๒. รู้จัก “ขัวแขก” สะพานข้ามแม่น้ำปิงแห่งแรกของเชียงใหม่ (Online). https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/1048313/ , สืบค้นเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕.๕. เชียงใหม่นิวส์. ๒๕๕๙. สกู๊ปหน้า ๑...”ขัวแขก” สะพานจันทร์สมอนุสรณ์ (Online). https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/510839/ , สืบค้นเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕.


      พระพุทธรูปปางมารวิชัย       ศิลปะล้านนา พุทธศักราช ๒๐๔๖       พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงได้มาจากเมืองพะเยา คราวเสด็จเลียบมณฑลฝ่ายเหนือเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๙       ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ พระที่นั่งพรหมเมศธาดา (ชั้นบน) หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร       พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนา หล่อจากสำริดเมื่อพุทธศักราช ๒๐๔๖ มีพุทธลักษณะสำคัญคือ พระรัศมีเป็นเปลว พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์เล็ก พระวรกายครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิยาวลงมาจรดพระนาภี ส่วนปลายตัดตรงและมีการตกแต่งลวดลายตรงส่วนปลาย ประทับขัดสมาธิราบบนฐานบัวรองรับด้วยฐานหน้ากระดานหกเหลี่ยมเจาะช่องกระจกคล้ายลายเมฆ (ซึ่งน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากลายเมฆที่ปรากฏบนภาชนะเครื่องถ้วยในศิลปะจีน)      ที่ฐานของพระพุทธรูปมีจารึกอักษรธรรมล้านนา และอักษรฝักขาม ระบุประวัติในการสร้างว่า “ศักราชได้ ๘๖๕ ตัวมหาเถรเป็นเจ้าผ้าขาวทอตาสิบแก้วสร้างนักบุญทั้งหลายหื้อได้พระเป็นเจ้าตนนี้ พันญิบหมื่นเจ็ดพันทองขอเถิงนิพพาน”*      พระพุทธรูปองค์นี้แสดงถึงอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย อาทิ พระรัศมีเป็นเปลว ชายสังฆาฏิยาวลงมาจรดพระนาภี ประทับขัดสมาธิราบ ขณะเดียวกันก็แสดงถึงอิทธิพลของศิลปะอยุธยาด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะชายสังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใกล้เคียงกับพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับขัดสมาธิราบ ระบุศักราชที่ฐานตรงกับ พ.ศ.๒๐๔๐ ณ วัดพันเตา และพระเจ้าเก้าตื้อ (สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๐๕๙) พระพุทธรูป ณ วัดสวนดอก เมืองเชียงใหม่ พระพุทธรูปเหล่านี้มีประวัติว่าสร้างขึ้นในรัชกาลของพญาแก้ว (พ.ศ.๒๐๓๘ - ๒๐๖๘) ซึ่งในชินกาลมาลีปกรณ์กล่าวยกย่องว่าเป็นกษัตริย์ผู้ทรงธรรม ส่งเสริมพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ทรงบูรณะและสร้างวัดหลายแห่ง โดยเฉพาะวัดมหาโพธารามและวัดป่าแดงมหาวิหาร       อีกทั้งพระองค์ทรงให้การสนับสนุนนิกายสีหล อีกทั้งมีวรรณกรรมทางพุทธศาสนาเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้หลายเรื่อง อาทิ เรื่องจามเทวีวงศ์และสิหิงคนิทานของพระโพธิรังสี ชินกาลมาลีปกรณ์ของพระรัตนปัญญาเถระ และปัญญาสชาดก (ชาดก ๕๐เรื่อง) ซึ่งไม่ปรากฏนามผู้แต่ง      *คำอ่านจารึก      "พุทธศักราช ๒๐๔๖ มหาเถร ผ้าขาวทอ และตาสิบแก้ว สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ พร้อมกับ พันญิบ หมื่นเจ็ด พันทอง ขอให้ถึงนิพพาน"     อ้างอิง สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, ๒๕๕๑. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๖.




ปรากฏการณ์จันทรุปราคา เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวระนาบเดียวกัน โดยมีโลกอยู่ตรงกลางระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ เกิดขึ้นเฉพาะในวันดวงจันทร์เต็มดวง หรือ ช่วงข้างขึ้น 14-15 ค่ำ ขณะที่ดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในเงามืดของโลกที่ทอดไปในอวกาศ ผู้สังเกตบนโลกจะมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งไปเรื่อย ๆ จนดวงจันทร์เข้าไปอยู่ในเงามืดทั้งดวง และเริ่มมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งอีกครั้งหนึ่งเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ออกจากเงามืดของโลก คนไทยสมัยโบราณเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “ราหูอมจันทร์" สำหรับปรากฏการณ์จันทรุปราคาในวันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 คืนวันลอยกระทง เป็นปรากฏการณ์ “จันทรุปราคาเต็มดวง” เกิดขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 15.02 – 20.56 น. (ตามเวลาประเทศไทย) สังเกตได้จากหลายพื้นที่ทั่วโลก ในประเทศไทยจะเริ่มเห็นได้ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงพอดี มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าทุกภูมิภาคของประเทศไทย บริเวณขอบฟ้าทางทิศตะวันออก ตั้งแต่เวลา 17.44 น. เป็นต้นไป ช่วงที่เกิดคราสเต็มดวง ดวงจันทร์จะปรากฏเป็นสีแดงอิฐ จนถึงเวลา 18.41 น. รวมระยะเวลานาน 57 นาที และปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งถัดไป จะเกิดขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้า ในวันที่ 8 กันยายน 2568 เอกสารจดหมายเหตุที่จะนำเสนอเป็นรายการที่ 9 คือ เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 7 กระทรวงวัง รหัส ร.5 ว 30/1 เรื่อง คำนวนจันทรุปราคา [มี.ค. 103 - 2 ก.พ. 114] [81 แผ่น] ซึ่งเป็นเอกสารที่พระบรมวงศานุวงศ์และโหร มีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ กรมหลวงเทวะวงษวโรปการ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม กรมหมื่นสมมติอมรพันธ์ พระองค์เจ้าวรวรรณากร พระยาโหราธิบดี พระมหาราชครูพิธี พระสิทธิไชยบดี พระชลยุทธโยธินทร์ หลวงสโมสรพลการ หลวงโลกทีป หลวงวิชิตสรสาตร ขุนจันทราภรณ์ ขุนโชติพรหมา ขุนญาณจักษ์ (จักร) ขุนญาณทิศ ขุนญาณโยค ขุนเทพจักษุ์ ขุนเทพยากรณ์ ขุนทิพจักษุ์ (จักร) ขุนทิพไพชยนต์ ขุนพิไชยฤกษ ขุนพิทักษเทวา ขุนพินิจอักษร ขุนโลกากร ขุนโลกไนยนา ขุนโลกเนตร ขุนโลกพยากรณ์ ขุนโลกพรหมา ขุนวิจารณภักดี ขุนศรีสาคร ขุนสี (ษีร) สารวัด ขุนสุริยาภรณ์ ขุนอินทจักร หมื่นนาเวศ หมื่นรุต หมื่นวิจารณ์ภักดี หมื่นศรี หมื่นสนิท นายสอนมหาดเล็ก นายคุย นายแดง นายโพ และนายเล็ก คำนวณการเกิดจันทรุปราคา ในช่วงระหว่าง ร.ศ. 103 – 114 (พ.ศ. 2427 – 2438) เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รายละเอียดในเนื้อหาแสดงการคำนวณจันทรุปราคาพร้อมภาพประกอบโดยละเอียด ข้อความที่ใช้บรรยายปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นคำศัพท์เฉพาะทางด้านดาราศาสตร์ ซึ่งน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เช่น “...พระเคราะห์จันทร์เดินปัตลงใต้เกี่ยวทางฉายาเคราะห์ในราศรีกันร่มราหู กำหนดจันทรุปราคาครั้งหนึ่ง ครั้นเวลายามหนึ่งกับ 35 นาที พระเคราะห์จันทร์จะเดินถึงขอบมณฑลฉายาเคราะห์ขอบมณฑลพระเคราะห์จันทรจะขาดค่างทิศอาคเนย์เปนนาทีแรกจับ แล้วพระเคราะห์จันทรจะเดินเข้าในมณฑลฉายาเคราะห์ไปตามลำดับนาทีคราธ จนถึงเวลา 5 ทุ่มกับ 11 นาที พระเคราะห์จันทรจะเข้าอยู่ในฉายาพระเคราะห์ 9 ส่วน เหลือส่วนหนึ่งค่างเหนือเปนเตมคราธ รัศมีแดงอ่อน ครันเวลา 2 ยามกับ 48 นาที พระจันทรจะออกจากมณฑลฉายาพระเคราะห์เตมบริบูรณเปนเวลาโมคบริสุทธิ ฉายาพระเคราะห์ออกค่างทิศประจิม...” นอกจากนี้ ส่วนหนึ่งของเอกสารยังปรากฏว่ามีธรรมเนียมการสรงมุรธาภิเษกของพระมหากษัตริย์ ความว่า “...ถึงกำหนดจันทรุปราคาครั้งหนึ่ง ชาวพนักงานพระเครื่องต้น จะได้ตั้งเครื่องพระมุรธาภิเศกสนาน ชีพ่อพราหมณ์จะได้ถวายน้ำกรด น้ำสังข์ ขอเชิญพระบาทสมเด็จบรมนารถบพิตรพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นที่สรงชำระพระองค์ทรงเครื่องพระมุรธาภิเศกสนาน ตามจารีตแบบอย่างสมเด็จพระบรมมหาธรรมิกราชาธิราชสืบๆ มา เพื่อทรงพระเจริญพระราชศิริสวัสดิ์พิพัฒมงคล เมทนิยดลสกลสัตรูไกษย ขอเดชะ...” หมายเหตุ : การสะกดชื่อเรื่องรายการ คำศัพท์เฉพาะ ชื่อบุคคล หรือการคัดลอกข้อความ จะคงตามที่ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุ สืบค้นและเรียบเรียง : นางสาวดุษฎี ชัยเพชร นักจดหมายเหตุชำนาญการ และนางสาว พุธิตา ขำบุญลือ นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ ---------------------------------- อ้างอิงเพิ่มเติม สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน). ปรากฏารณ์จันทรุปราคาเต็มดวง. เข้าถึงได้จากhttps://www.narit.or.th/ สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2565.


ชื่อเรื่อง                                  สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                    24/6ประเภทวัสดุ/มีเดีย               คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           42 หน้า : กว้าง 5.2 ซม. ยาว 55.2 ซม.หัวเรื่อง                                    พุทธศาสนา                                                 ชาดกบทคัดย่อ/บันทึก                เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ประเพณียี่เป็งตอนที่ ๑ประเพณียี่เป็งสืบสานสายใยวิถีวัฒนธรรมล้านนา        ประเพณียี่เป็ง ตรงกับวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ เดือนยี่ (เดือนสิบสองของภาคกลาง) หนึ่งในประเพณีสิบสองเดือนของล้านนา เป็นวันพระและวันสุดท้ายของการทอดกฐิน หรือครบ ๓๐ วันหลังวันออกพรรษา ประเพณียี่เป็งเป็นประเพณีที่ผสมผสานระหว่างพุทธศาสนาและวิถีชีวิตของชาวล้านนาก่อนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่ ชาวล้านนาจะเตรียมอาหารทำบุญ ดอกไม้ธูปเทียน สำหรับไปวัดและทานขันข้าว แขวนโคมประดับประดาบ้านเรือน ทำซุ้มประตูป่า เพื่อเป็นเครื่องสักการะถวายการต้อนรับพระเวสสันดรครั้งเสด็จออกจากป่าเข้าสู่เมือง        เมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่ ช่วงเช้า ชาวล้านนาจะเข้าวัด ใส่บาตร ฟังเทศน์ ทานขันข้าวบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ปล่อยโคมควัน สำหรับในช่วงกลางคืน จะเข้าวัดอีกครั้ง เพื่อนำผางประทีปไปจุดที่วัด แล้วกลับมาจุดผางประทีปบริเวณต่าง ๆ ในบ้าน เพื่อบูชาพระเจ้าห้าพระองค์และรำลึกถึงบุญคุณของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว มีการเล่นดอกไม้ไฟบนฝั่งแม่น้ำหรือที่บ้าน และปล่อยโคมไฟ ถือเป็นประเพณีสนุกสนานรื่นเริงของชาวล้านนา ต่อมา ได้มีการนำวัฒนธรรมการลอยกระทงผนวกเข้าไปในประเพณียี่เป็งด้วย        ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มาจัดตั้งสำนักงานที่จังหวัดเชียงใหม่และสนับสนุนให้ประเพณียี่เป็งเป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยส่งเสริมการลอยกระทงแบบกรุงเทพฯ ที่จังหวัดเชียงใหม่อย่างจริงจังและร่วมกับเทศบาลนครเชียงใหม่ มีการจัดประกวดขบวนกระทงเล็ก ขบวนกระทงใหญ่ รวมทั้งการจัดประกวดขบวนโคมยี่เป็งของสมาคมผู้ประกอบการย่านไนท์บาร์ซาร่วมด้วยอีกหนึ่งวันผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่อ้างอิง :๑. ปลายอ้อ ทองสวัสดิ์. ๒๕๖๒. “ยี่เป็ง พุทธบูชา.” ใน วงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ (บรรณาธิการ). เชียงใหม่ นครแห่งอมต. เชียงใหม่: วิทอินดีไซน์, ๑๓๓-๑๓๗.๒. ศักดิ์นรินทร์ ชาวงิ้ว. ๒๕๕๗. “ประเพณียี่เป็งเชียงใหม่ จากการสักการะในเดือนยี่ สู่ประเพณีเพื่อการท่องเที่ยว.” เวียงเจ็ดลิน ๔ (๒): ๔-๘.


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           32/2ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              54 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


สตฺตปริตฺต (พฺรสตฺตปริตฺต) ชบ.บ 123/1 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


Messenger