ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,775 รายการ

วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๑ ข้าราชการหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์สมโภชพระพุทธรูปสำคัญประจำจังหวัดนครราชสีมา เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๖๖ พรรษา ณ พระวิหารหลวง วัดพระนารายณ์มหาราช อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา






          วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสุพรรณบุรี ด้านทิศตะวันตก บริเวณศูนย์กลางของเมืองโบราณสุพรรณบุรี ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี วัดพระศรีรัตนมหาธาตุไม่มีหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด จากรูปแบบศิลปกรรมสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ. ๑๘๙๓ – ๑๙๙๑)ภายในวัดประกอบด้วยโบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ พระปรางค์ ซึ่งเป็นเจดีย์ประธานของวัด เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม จำนวน ๒ องค์ อุโบสถ วิหารน้อย และซากเจดีย์รายจำนวน ๒ องค์          ภายในพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุได้มีการค้นพบพระพิมพ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของจังหวัดสุพรรณบุรี พระพิมพ์ที่มีชื่อเสียงและได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในชุด “พระเบญจภาคี” คือ พระผงสุพรรณ ทำด้วยดินเผา สามารถแบ่งพิมพ์ได้เป็น ๓ พิมพ์ ซึ่งนักสะสมพระพิมพ์นิยมเรียกกันตามลักษณ์ของพระพักตร์ว่า “พระผงสุพรรณพิมพ์หน้าแก่” “พระผงสุพรรณพิมพ์หน้ากลาง” และ “พระผงสุพรรณพิมพ์หน้าหนุ่ม” พระผงสุพรรณเป็นพระพิมพ์แสดงปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานเชียงเตี้ยๆ ประดิษฐานภายในซุ้มเรือนแก้ว พระพักตร์ยาว สวมเครื่องประดับพระเศียร พระขนงโก่งโค้ง พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์แย้มพระสรวล พระอุระนูน เป็นที่น่าสังเกตว่า ด้านหลังของพระผงสุพรรณทุกองค์ มักปรากฎรอยนิ้วมืออย่างชัดเจน ซึ่งอาจเป็นวิธีการกดพิมพ์พระ เพื่อเน้นย้ำให้ติดรายละเอียดชัดเจนยิ่งขึ้น           นอกจากนี้ยังมี “พระมเหศวร” ซึ่งเป็นพระพิมพ์ปางมารวิชัย มีสองด้าน หันพระเศียรขึ้น – ลง สลับทางกัน “พระขุนแผนหลังผาน” เป็นพระพิมพ์ปางมารวิชัยอยู่ในกรอบพิมพ์สามเหลี่ยม ด้านหลังปรากฏองค์พระพุทธรูปเล็กๆ อยู่ในเส้นกรอบสามเหลี่ยมลักษณะคล้ายผานไถนา พระพิมพ์ลีลาเรียกกันว่า “พระกำแพงนิ้ว” และ “พระกำแพงศอก” แบบเดียวกับที่พบภายในเจดีย์ทรงระฆังของวัดชุมนุมสงฆ์ โดยเฉพาะพระพิมพ์ที่เรียกว่า “พระปทุมมาศ” เป็นพระพิมพ์ปางสมาธิ ประทับบนฐานบัวและปรากฏเส้นรัศมีคล้ายกลีบดอกไม้รอบองค์พระนั้น เป็นที่นิยมและยกย่องในด้านศิลปะการแกะแม่พิมพ์ที่สวยงาม  ข้อมูลอ้างอิง นิภา สังคนาคินทร์. (๒๕๕๘). หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี. หน้า ๙๐ – ๙๒ สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี. สืบค้นเมื่อ ๒ เมษายน ๒๕๖๓, จาก http://www.finearts.go.th/fad2/parameters/km/item/วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ%20สุพรรณบุรี% 20%20.html สยามรัฐ. แยกพิมพ์พระผงสุพรรณ (๒). สืบค้นเมื่อ ๒ เมษายน ๒๕๖๓, จาก https://siamrath.co.th/n/44668 ภาพวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ.สืบค้นเมื่อ ๒ เมษายน ๒๕๖๓, จาก http://www.suphan.biz/WatPraSri.htm ภาพพระเบญจภาคี.สืบค้นเมื่อ ๒ เมษายน ๒๕๖๓, จากhttps://palungjit.org/threads/ชุดพระเบญจภาคี. 634178/เรียบเรียงข้อมูล โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี



หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง                          วรรณกรรมพุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    38 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 54.5 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534


สาระสังเขป     :  บันทึกการไปเยี่ยมชาวพุทธในแคนาดาของผู้เขียน ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2510 ระยะทางที่ไปคือ มนิลา โตเกียว โซล ซีแอตเทิ้ล โทรอนโท มอนตรีออล ดับลิน เอดินเบรอะ บรัซเซล แฟรงค์เฟิต กรีซ อิสตันบูล เทหะราน ซึ่งใช้เวลาทั้งหมด 1 เดือนเต็มผู้แต่ง             :  พูนพิศมัย ดิศกุล, หม่อมเจ้าหญิงโรงพิมพ์         :  ชุมนุมช่างปีที่พิมพ์         :  2511ภาษาไทย      :  ไทยรูปแบบ          :  PDFเลขทะเบียน   :  น.32บ.2636จบเลขหมู่          :  917.1                      พ851ป


เลขทะเบียน : นพ.บ.12/12ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า  ; 5.5 x 56 ซ.ม. : รักทึบ-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากชื่อชุด : มัดที่ 8 (83-99) ผูก 12หัวเรื่อง : โลกนยชาตก--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.43/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 4.5 x 53.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 25 (244-253) ผูก 2หัวเรื่อง :  อรรถกถาบาลี --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


     ชื่อเรื่อง : บาตรเดียวท่องโลก       ผู้เขียน : พระพิทยา ฐานิสฺสโร      สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ (1987)      ปีพิมพ์ : ๒๕๕๙      เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : ๙๘๗-๖๑๖-๔๐๖-๕๖๓-๕      เลขเรียกหนังสือ : ๒๙๔.๓๑๔๔ พ๓๔๙บ      ประเภทหนังสือ : หนังสือทั่วไป      ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป ๑ สาระสังเขป : บาตรเดียวท่องโลก เป็นบันทึกการเดินทางของทั้งภายในและภายนอกของพระพิทยา ฐานิสฺสโร ที่บอกเล่าเรื่องราวในสถานการณ์จริงจากการจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ นำมาเสนอผ่านมุมมองของพระภิกษุซึ่งจะทำให้ผู้อ่านสามารถคิดตามได้และรู้สึกได้ถึงความหมายที่ต้องการสื่อสาร โดยเป็นการสอนธรรมให้ข้อคิดที่ผู้อ่านจะมีความรู้สึกเหมือนตัวเองอยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ ทั้งตัวบุคคล สถานที่ เรื่องเล่าแต่ละเรื่องเป็นตัวอย่างที่จะทำให้เห็นและเข้าใจทุกสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในทุกช่วงขณะแห่งชีวิต มีการเขียนเป็นเรื่องสั้นๆ จบเป็นเรื่องๆ หลากหลาย โดยแบ่งออกเป็น ๔ ภาค ประกอบด้วย (๑) ก้าวด้วยใจไปกับสติ เช่น เธอคือของขวัญของโลก ผู้ขออันทรงเกียรติ รักหรือหลง สงบ สยบ หนาว ตะวันในหิมะ เป็นต้น (๒) ทุกพื้นที่มีวิถีแห่งพุทธะ เช่น รุ่งอรุณแห่งการให้ ไม่มีสงครามใดทำให้ชีวิตดีขึ้น บ้านสำน้ำตาล อาหารทุกมื้อคือยา คนสุก พุทธะในมือโจร เป็นต้น (๓) โลกใบใหญ่ในใจเรา เช่น กุญแจใจไขสุขภาพ เราต่างอยู่ในทุกสิ่ง วันนี้เธอมีความสุขหรือยัง สัจธรรมจาก "แวนโก๊ะ" ขอบคุณที่เคารพหน้าที่ เป็นต้น (๔) มิตรภาพคือทุกสิ่งของชีวิต เช่น เหตุผลของการอยู่ร่วมกัน โรงเรียนความจริง แต่งงานเป็นเพียงการเริ่มต้น บ้านแห่งบุญ บุญใหญ่ พลังภายใน บ้านคือที่นี่และขณะนี้ เป็นต้น ซึ่งในทุกๆ บทจะเขียนเริ่มต้นด้วยการนำผู้อ่านไปท่องโลกอันกว้างข้างนอกด้วยเรื่องราวที่เร้าใจให้ครุ่นคิด พิจารณาจนรู้สึกได้ถึงความหมายที่แตกต่างระหว่างอกุศลธรรมและกุศลธรรม หรือสิ่งไม่ดีและสิ่งดี ที่เกิดปรากฎขึ้นภายในจิตใจคนเรา และสุดท้ายก็จะกล่าวด้วยบทภาวนาที่จะทำให้ได้เข้าใจตอนจบอย่างสงบ  นับได้ว่าเป็นหนังสือที่ควรอ่านทั้งเพื่อการบ่มเพาะจินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญา อันจะทำให้เกิดความสมดุลในใจทั้งเมตตา ปัญญา และศรัทธาต่อตนเองและเพื่อนร่วมโลก   


การจัดเตรียมสถานที่เพื่อร่วมต้อนรับและอำนวยความสะดวกสำหรับการศึกษาดูงานคุณสิริกิตติยา เจนเซน และคณะ โครงการอนุรักษ์โบราณสถาน เส้นทางวัฒนธรรมพิมาย-พนมรุ้ง ระหว่างวันที่ ๑๔-๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙


  ชื่อผู้แต่ง            ชื่อเรื่อง           กฎหมายในรัชกาลที่ ๕ ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์      กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์        บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน) ปีที่พิมพ์                 ๒5๔๑                     จำนวนหน้า          ๓๙๒ หน้า หมายเหตุ         -                                 กฎหมายมรัชกาลที่ ๕ เล่ม ๔ นี้ อธิบดีกรมอัยการในกระทรวงยุติธรรม เป็นผู้รวบรวมเอามาลงพิมพ์ไว้เป็นสมุดเล่มเดียวกันเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง


เรียนรู้เรื่องพลอย...ที่บ้านร้อยสิบเก้า   คุณพันธ์รัตน์ ชินอุดมพงศ์(ป้าเกี๊ยว).เรียนรู้เรื่องพลอย...ที่บ้านร้อยสิบเก้า.จันท์ยิ้ม.11:สิงหาคม 2559(18) ป้าเกี้ยว - พันธ์รัตน์ ชินอุดมพงศ์ ชาวชุมชนริมน้ำจันทบูร นั่งรอเราในบ้านเลขที่ 119 ด้วยอัธยาศัยยิ้มแย้ม ก่อนจะเริ่มเล่า ให้เราฟังว่า ที่บ้าน 119 หลังนี้เริ่มทำพลอยมาตั้งแต่ พ.ศ.2509 และตอนนี้ได้เปิดเป็นบ้านเรียนรู้และร้านจิวเวลรีที่ให้นักท่องเที่ยว ได้เข้าเที่ยวชม เรียนรู้การเจียระไนพลอยด้วยการลงมือทำด้วยตัวเอง แล้วนำกลับไปเป็นที่ระลึกในราคาที่ใครก็สามารถลองทําได้ “พลอยส่วนใหญ่ที่ให้นักท่องเที่ยวลองทําจะเป็นพลอยเยลโล่ ซับไฟร์หรือคอรันดัม เป็นพลอยเนื้อแข็งจากทางแอฟริกาพลอยเนื้อแข็งนั้น จะมีหลายอย่างมาก เช่น รูบี้, เยลโล่ซัฟไฟร์, กรีนซัฟไฟร์, บลูซัฟไฟร์, ทิ้งค์ซัฟไฟร์ ตระกูลซัฟไฟร์น้ำเงินทั้งหลายซึ่งจะมีความแข็งอยู่ที่ระดับ 9 ส่วนเพชรจะมีความแข็งที่ระดับ 10 คือแข็งมาก ส่วนพลอยเนื้ออ่อน เช่น โกเมน มีความแข็งที่ระดับ 7 แต่เราจะไม่ค่อยให้นักท่องเที่ยว ทำพลอยชนิดเนื้ออ่อนเท่าไหร่ ซึ่งเราจะสอนให้เขาเจียระไนแบบหลังเต่า เพราะหลังเต่ามันเจียรง่าย โดยไม่ต้องมานั่งจัดเหลี่ยม เพราะแบบเหลี่ยม มันยากในการเจียรให้เหลี่ยมเท่ากันทุกเหลี่ยม จะต้องใช้เวลาและต้องอาศัย ความชำนาญ “ขั้นตอนและวิธีการทำพลอยหลัก ๆ ขั้นแรกเราต้องนำพลอย ไปเผาก่อน จากนั้นมาเข้าเครื่องในส่วนของการขึ้นรูปโกน) โดยนำพลอยดิบที่ขุดได้มาตกแต่งขึ้นรูปร่างตามลักษณะสภาพของก้อนพลอย โดยใช้หินเพชรหมุนด้วยพลังไฟฟ้าช่วยในการตกแต่งเรียกว่าการโกนพลอย ขั้นตอนต่อไปคือการแต่งพลอย การนำพลอยที่โกนเรียบร้อยแล้ว มาติด ที่ไม้(ทวน)มาหมุนด้วยมือ ให้พลอยเกิดเหลี่ยมมุม เพื่อให้เป็นรูปร่าง ที่ชัดเจนขึ้น จากนั้นก็นำมาเจียระไนกลิ้งเงา โดยนำพลอยที่แต่ง เรียบร้อยแล้วไปเจียรที่จักรสำหรับเจียระไน ทำให้พลอยเกิดเหลี่ยม และ เงางามมากขึ้น พร้อมที่นำไปประดิษฐ์เข้ารูปเป็นเครื่องประดับชนิดต่าง ๆ ” “ที่เราเปิดให้คนได้มาเรียนรู้ได้เห็นวิธีการได้ลงมือทำจริง ๆ คนส่วนมากที่เข้ามาลองทำก็จะมาทำกันเล่น ๆ ไม่ได้จะเอาไปประกอบ อาชีพอะไร แต่อย่างน้อยทุกคนที่ได้มาก็จะได้ความรู้เรื่องพลอยมากมาย เผื่อใครสนใจก็ไปศึกษาต่อยอดกันได้” - สนใจเข้ามาลองทำพลอย ติดต่อ คุณพันธ์รัตน์ ชินอุดมพงศ์ (ป้าเกี่ยว) โทร. 08-1864-7792


Messenger