ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,776 รายการ

      เฉลวและขุนเพ็ด จิตรกรรมสีฝุ่นบนตู้พระธรรม       สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓       สมบัติเดิมของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร       ปัจจุบันจัดแสดงอยู่บนพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร       ภาพวิถีชีวิตบนตู้พระธรรมเขียนด้วยสีฝุ่นเรื่องรามเกียรติ์ ตอนหนุมานสืบข่าวนางสีดาที่กรุงลงกา ตอนล่างของเป็นภาพชุมชนนอกกำแพงเมืองกรุงลงกา มีภาพเด็กชายห้อยขุนเพ็ดที่เอวสองคน และมีการประดับเฉลวที่ชานหลังคา        เฉลว (ตะเหลว ตะแหลว ตำแหลว) เป็นเครื่องจักสานชนิดหนึ่งทำด้วยตอก นำมาขัดเป็นมุม ๆ ตั้งแต่ ๕ มุมขึ้นไป มีทั้งแบบ “เฉลวขนาดเล็ก” สำหรับปักใบตองที่ปิดปากหม้อยา ซึ่งเชื่อว่าสามารถปัดเป่าผีร้ายหรือป้องกันนักสิทธิ์ วิทยาธรมิให้มาแย่งเอาฤทธิ์ของว่านยาในหม้อนั้น รวมทั้งเป็นเครื่องหมายแสดงว่าหม้อยาใบนี้ปรุงไว้อย่างเฉพาะกรรมวิธีไม่ต้องการให้ใครมายุ่งเกี่ยว และ “เฉลวขนาดใหญ่” ใช้ปักไว้บนเสาหรือแขวนไว้อยู่ชานหลังคา เป็นเครื่องหมายป้องกันสิ่งชั่วร้ายหรือผีปีศาจ มิให้เข้ามากล้ำกราย      อีกทั้งเฉลวยังเป็นเครื่องหมายเกี่ยวข้องกับด่านเก็บภาษีดังปรากฏในนิราศนรินทร์ ของนายนรินทร์ธิเบศร์ (อิน) ช่วงที่เดินทางผ่านย่านคลองด่าน (ปัจจุบันคือบริเวณปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ) ไปยังวัดนางนอง ความว่า   ๏ มาด่านด่านบ่ร้อง เรียกพัก พลเลย ตาหลิ่งตาเหลวปัก ปิดไว้         นอกจากนี้ในบางกลุ่มชาติพันธุ์ทางภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือยังเชื่อว่าเฉลวเป็นเครื่องหมายที่แบ่งแยกระหว่างพื้นที่ของคนเป็นกับผู้วายชนม์ ซึ่งพระยาอนุมานราชธนได้กล่าวไว้ในจดหมายถึงสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ความตอนหนึ่งกล่าวว่า “...ที่ประเพณีชาวพายัพและอีศานมีปักเฉลว ในเมื่อยกศพออกจากบ้านไปแล้ว ก็คงเป็นกั้นรั้วกันไม่ให้ผีกลับเข้ามาได้...”       ส่วน “ขุนเพ็ด” คือรูปจำลองของลับเพศชายขนาดต่าง ๆ ส่วนใหญ่แกะสลักจากไม้ (กรณีใช้เป็นของแก้บนที่ศาลเจ้า จะเรียกว่า “ดอกไม้เจ้า”) การห้อยขุนเพ็ดทำโดยเจาะรูที่โคน และร้อยเชือก หรือสายสร้อยผูกไว้ที่เอว เชื่อกันว่าเป็นเครื่องรางที่ป้องกันเสนียดจัญไรสำหรับเด็กชาย บางครั้งก็เรียกปลัดขิก หรือทองระอา หากเป็นเครื่องแต่งกายของเจ้านายจะเรียกว่า “ทองพระขุน” การประดับขุนเพ็ดมีหลักฐานกล่าวถึงชัดเจนตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ปรากฏในเอกสารคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม กล่าวว่าในงานย่านป่าขันเงินที่นิยมขายเครื่องโลหะต่าง ๆ มีขุนเพ็ดจำหน่ายด้วยเช่นกัน       ทั้งนี้การที่เด็กห้อยขุนเพ็ดนั้น ประการหนึ่งอาจมาจากความเชื่อที่ต้องการทำให้ผีเกลียดชังเพื่อไม่ให้มายุ่งเกี่ยวกับเด็ก ดังที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายไว้ว่า “...เด็กผูกขุนเพ็ดก็ดี ฤๅที่คนทำขุนเพ็ดไปถวายเจ้าก็ดี ก็น่าจะมาโดยคติอันเดียวกัน โดยประสงค์จะให้ผีชังเด็กนั้น แลให้เจ้าชังคนที่เอาขุนเพ็ดถวาย ไม่ต้องการเอาไปเมืองผี มิใช่ถวายเพราะเจ้าจะชอบพอขุนเพ็ดอย่างใด...”     ทั้งเฉลวและขุนเพ็ด เป็นตัวอย่างของเครื่องรางหรือวัตถุที่ป้องกันสิ่งชั่วร้ายหรือโรคภัยไข้เจ็บ ตามความเชื่อของคนไทยว่าผีร้ายเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคภัยแก่มนุษย์ เช่น ผีห่า-อหิวาตกโรค และโรคแม่ซื้อที่เกิดกับเด็กเล็ก เป็นต้น สามารถชมตัวอย่างเครื่องรางเหล่านี้กับเรื่องราวของการรักษาโรคด้วยผีหรือสิ่งเหนือธรรมชาติ ได้ในนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย พ.ศ. ๒๕๖๕ เรื่อง อาโรคยปณิธาน ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ถึง วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๕   อ้างอิง กรมศิลปากร. อาโรคยปณิธาน. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๖๕. นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมพระยา, บันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ เล่ม ๕. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเสถียรโกเศศ-นาคะประทีป, ๒๕๕๒.




ชื่อเรื่อง                               อาทิกมฺมปาลิ(ปาราชิกปาลิ)มหาวิยงฺคปาลิ(ปาราชิกัณฑ์) สพ.บ.                                  อย.บ.2/10กประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           48 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา          บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ลานดิบ ร่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ลองแม่ข่า          คลองแม่ข่า น้ำแม่ข่า หรือ แม่น้ำข่า เป็นเส้นทางน้ำโบราณของจังหวัดเชียงใหม่ หนึ่งในชัยภูมิที่พญามังรายทรงเลือกที่จะสร้างเมืองเชียงใหม่เมื่อกว่า ๗๐๐ ปีก่อน มีความยาวประมาณ ๓๐ กิโลเมตร ทำหน้าที่เป็นคูเวียงชั้นนอกที่โอบล้อมเมือง และเป็นทางระบายน้ำล้นลงสู่แม่น้ำปิงช่วยการป้องกันน้ำท่วม          สายน้ำแห่งนี้เป็น ๑ ใน ๗ ศุภนิมิตรมงคล ในการเลือกพื้นที่สร้างเมืองเชียงใหม่ ปรากฏในพงศาวดารโยนก ความว่า “มีกวางเผือกสองตัวแม่ลูกมาแต่ป่าใหญ่หนเหนือเข้าอาศัยอยู่ในที่ชัยภูมิ นี้มีคนเป็นอันมากมากระทำสักการบูชาเป็นชัยมงคลประการหนึ่ง อนึ่งมีฟานเผือกสองตัวแม่ลูกเข้าอาศัยในชัยภูมิ ที่นี้ต่อสู้ฝูงสุนัขทั้งหลายของนายพรานทั้งหลายได้สุนัขพ่ายไปเป็นชัยมงคลประการที่สอง อนึ่งเราทั้งหลายได้เห็นมหาเศวตมุสิกะหนูเผือกตัวใหญ่กับบริวาร ๔ ตัวออกจากชัยภูมินี้เป็นชัยมงคลประการที่สาม อนึ่งพื้นภูมิสถานที่อันจะตั้งพระนครนี้สูงเบื้องตะวันตกเอียงหาตะวันออกเป็นชัยมงคลประการที่สี่ อนึ่งอยู่ที่นี่เห็นน้ำตกและเขาอุสุจบรรพตคือดอยสุเทพไหลลงมาเป็นลำน้ำไหลขึ้นไปหนเหนือแล้วเลี้ยวไปหนตะวันออก แล้ววนลงไปทิศใต้ แล้วไปทิศตะวันตกโอบล้อมเวียงกุมกาม ลำน้ำนี้เป็นนครคุณเกี้ยวกอดเมืองอันนี้ไว้เป็นชัยมงคลประการที่ห้า อนึ่งแม่น้ำนี้ไหลแต่ดอยลงมาที่ขุนน้ำได้ชื่อว่าแม่ขานไหลไปตะวันออกแล้วจึงไปทิศใต้เทียบข้างแม่พิงค์ไปได้ชื่อว่าแม่โท อนึ่งหนองใหญ่มีอยู่หนตะวันออกเฉียงเหนือแห่งชัยภูมิคือหนอีสานดังนี้ ท้าวพระยานานาประเทศจักมาบูชาเป็นชัยมงคลประการที่หก อนึ่งแม่น้ำระมิงค์อันเป็นแม่น้ำใหญ่ไหลมาแต่มหาสระซึ่งพระพุทธเจ้าได้มาอาบยังดอยสลุง ไหลมาเป็นขุนน้ำแม่ระมิงค์กรายไปตะวันออกเวียงเป็นชัยมงคลประการที่เจ็ดรวมเป็นชัยมงคล ๗ ประการ”         อีกทั้งปรากฏ ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ความว่า “...อยู่ที่นี่ หันน้ำตกแต่อุชุปัตตาดอยสุเทพ มาเป็น แม่น้ำไหลไปหนเหนือ แล้วไหลดะไปหนวันออก แล้วไหลไปใต้ แล้วไหลไปวันตกเกี้ยวเวียงกุมกาม แม่น้ำนี้เป็นนครคุณเกี้ยวเมืองอันนี้...”         แต่จากการขยายตัวของชุมชนเมือง ทำให้เกิดปัญหาด้านสภาพแวดล้อม คุณภาพน้ำต่ำเกินค่ามาตรฐาน ความทรงจำด้านประวัติศาสตร์ของสายน้ำถูกกลืนหายไปกับความเจริญที่รุกคืบเข้ามาอย่างรวดเร็ว ระบบนิเวศเสื่อมโทรม จนในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ แนวคิดในการฟื้นฟูคลองแม่ข่าจึงเกิดขึ้น โดยอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ขุดลอกคลอง รณรงค์สร้างความร่วมมือของภาคประชาชนในการดูแลรักษาแหล่งน้ำ การจัดการระบบบัดน้ำเสียในเขตพื้นที่เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์เปิดพื้นที่เพื่อสาธารณประโยชน์ของชุมชน รวมทั้งเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยว อันเป็นการปลุกสายน้ำแห่งนี้ให้มีชีวิตเช่นครั้งอดีต#คลองแม่ข่า#เอกสารจดหมายเหตุ#หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถเชียงใหม่#สำนักศิลปากรที่๗ผู้เรียบเรียง : นายวีระยุทธ ไตรสูงเนิน นักจดหมายเหตุชำนาญการ ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. ภาพส่วนบุคคล ชุด นายบุญเสริม สาตราภัย.อ้างอิงพลโท ดำรงค์ คงเดช.  ๒๕๖๔.  การบูรณาการความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูสภาพลำน้ำคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่.  วารสารทหารพัฒนา  ปีที่ ๔๕ (ฉบับที่ ๓ กันยายน - ธันวาคม ๒๕๖๔) : หน้า ๑.สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่.  ๒๕๖๑.  แผนแม่บทคลองแม่ข่า (๒๕๖๑ - ๒๕๖๕). เชียงใหม่.อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และ เดวิด เค. วัยอาจ.  ๒๕๔๗.  ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่.  เชียงใหม่ : สำนักพิมพ์ซิลค์เวอร์มกรมศิลปากร.  ๒๕๐๔.  พงศาวดารโยนก ฉบับหอสมุดแห่งชาติ.  กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์. สรัสวดี อ๋องสกุล. ๒๕๕๗.  ประวัติศาสตร์ล้านนา.  กรุงเทพมหานคร  : อมรินทร์.


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           32/1ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              82 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


กฎหมาย (ปทพฺรอายการ) ชบ.บ 122/1 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 161/5 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


      พระพิมพ์ดินเผาภาพพระพุทธเจ้าขนาบข้างด้วยรูปบุคคล สมัยทวารวดี       พระพิมพ์ดินเผาภาพพระพุทธเจ้าขนาบข้างด้วยรูปบุคคล จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง       พระพิมพ์ดินเผา ขนาดกว้าง ๓ เซนติเมตร ยาว ๔.๓ เซนติเมตร ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านบนโค้งมน ด้านหน้าค่อนข้างลบเลือนมาก จากการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบกับพระพิมพ์ที่มีสภาพสมบูรณ์ สันนิษฐานว่ามีภาพพระพุทธเจ้าแสดงวิตรรกมุทรา (ปางแสดงธรรม) นั่งห้อยพระบาทอยู่ตรงกึ่งกลาง ขนาบข้างด้วยรูปบุคคลยืนตริภังค์ (ยืนเอียงสะโพก) ที่อาจเป็นพระโพธิสัตว์หรือเทวดา ด้านล่างมีรูปธรรมจักรหันด้านสันออกมาด้านหน้าขนาบข้างด้วยรูปสถูป ด้านบนมีภาพพระพุทธเจ้าแสดงปางสมาธิเรียงกัน ๓ องค์ กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๕ (ประมาณ ๑,๑๐๐ – ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว)        พระพิมพ์รูปแบบคล้ายคลึงกันนี้พบจากแหล่งโบราณสมัยทวารวดีหลายแห่ง เช่น วัดพระเมรุ พระปฐมเจดีย์ และที่ตำบลพระประโทน จังหวัดนครปฐม โดยเฉพาะที่เจดีย์หมายเลข ๓ เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ยังพบพระพิมพ์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมาก แตกต่างเพียงพระพุทธเจ้านั่งขัดสมาธิราบแทนนั่งห้อยพระบาท นอกจากนี้ยังพบพระพิมพ์ดินดิบศิลปะศรีวิชัยรูปแบบคล้ายคลึงกันนี้ตามแหล่งโบราณคดีที่ตั้งอยู่บริเวณภาคใต้ของประเทศไทยอีกด้วย เช่น ถ้ำเขาอกทะลุ และถ้ำคูหาสวรรค์ จังหวัดพัทลุง และควนสราญรมย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นต้น แสดงถึงความสัมพันธ์และการติดต่อแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกันระหว่างศิลปะทวารวดีและศรีวิชัย ซึ่งเจริญขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน      นักวิชาการสันนิษฐานคติการสร้างออกเป็น ๒ แนวทาง คืออาจสร้างขึ้นเพื่อแสดงถึงเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง “สัทธรรมปุณฑริกสูตร” แก่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายบนเขาคิชฌกูฏ หรือยอดเขาแร้ง ใกล้กรุงราชคฤห์ ตามคัมภีร์สัทธรรมปุณฑริกสูตรของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน หรืออาจแสดงถึงเหตุการณ์ในพุทธประวัติตอนแสดงมหาปาฏิหาริย์ที่เมืองสาวัตถี ตามคัมภีร์ชาดกอรรถกถาภาษาบาลี ของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทก็เป็นได้   เอกสารอ้างอิง  ธนกฤต ลออสุวรรณ. “การศึกษาคติความเชื่อของชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในลุ่มแม่น้ำแม่กลองและท่า จีน: กรณีศึกษาจากพระพิมพ์ดินเผา”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขา โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๖. นิติพันธุ์ ศิริทรัพย์. “พระพิมพ์ดินเผาสมัยทวารวดีที่นครปฐม”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๔. สุรสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์, ม.ล. “การศึกษาพระพิมพ์ภาคใต้ของประเทศไทย”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหา บัณฑิต  สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๘.


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           15/7ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                42 หน้า : กว้าง 4.7 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อผู้แต่ง           ชาดก ชื่อเรื่อง             จันทกุมารชาดกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระจันทบุรีนฤนาถ ทรงแปล จากภาษาบาลี ครั้งที่พิมพ์         พิมพ์ครั้งที่สี่ สถานที่พิมพ์       กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์         โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์ ปีที่พิมพ์             ๒๕๓๐ จำนวนหน้า         ๖๖  หน้า                          พระบามสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พิมพ์พระราชทานในงานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ นายแพทย์หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์  กิติยากร ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์วัดเทพศิรินทราวาส  หนังสือเรื่อง “จันทกุมารชาดก” พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระจันทบุรีนฤนาถ ทรงแปล จากภาษาบาลี แล้วประทานแก่บัณฑิตยสภาให้พิมพ์ไว้ในหนังสือนิบาตชาดก เล่ม ๒๑


ชื่อผู้แต่ง            พระธรรมโสภณ ชื่อเรื่อง              สันโดษทำให้ไทยล้าหลังหรือ? ครั้งที่พิมพ์           - สถานที่พิมพ์        กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์          โรงพิมพ์ไทยเขษม ปีที่พิมพ์              ๒๕๑๙ จำนวนหน้า          ๑๖๑  หน้า                          เจ้าภาพได้จัดพิมพ์หนังสือ อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์ตรี ชัย  เรืองศิลป์ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม กล่าวถึง ประวัติผู้วายชนต์ คุณความดี  บทความเรื่อง สันโดษทำให้ไทยล้าหลังหรือ ซึ่งมีการเขียนตามสำเนาความแห่งพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้ มีอยู่ สันโดษ ทำคนผู้มีสันโดษนั้นให้ต้องเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้าในกรณีนั้น สันโดษตามพระพุทธเจ้าตรัสไว้นี้เป็นสันโดษในทรัพย์สินหน้าที่การงาน ปศุสัตว์และบุคคล เรื่องสังคมไทยในศตวรรษที่ ๒๔ ที่คุณชัย  เรืองศิลป์ ได้แต่งไว้นี้ เป็นเรื่องที่ให้ความรู้ในประวัติศาสตร์แห่งชาติไทยในตอนนั้นเป็นอย่างดี


เลขทะเบียน : นพ.บ.431/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 5 x 57 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 156  (131-140) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : พระวินัยย่อ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.578/1                             ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4 x 50 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 187  (357-364) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : สวดมนต์น้อย--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


กิจกรรมเสวนา เนื่องในสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย เรื่อง การค้าทางทะเลและเส้นทางข้ามคาบสมุทรไทย ในช่วงต้นประวัติศาสตร์ ในวันที่ 5 เมษายน 2566 เวลา 15.00 - 17.00 น. โดย กองโบราณคดีใต้น้ำ สศก.ที่ ๑๑ สงขลา สศก.ที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช  วิทยากร 1. นายวงศกร ระโหฐาน นักโบราณคดีชำนาญการ กองโบราณคดีใต้น้ำ  2. นางสาวเพลงเมธา ขาวหนูนา นักโบราณคดีชำนาญการ สศก.ที่ ๑๑ สงขลา  3. นางสาวนภัคมน ทองเผือ นักโบราณคดีชำนาญการ สศก.ที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช  ผู้ดำเนินรายการ  นายวสันต์ เทพสุริยานนท์  ผุ้อำนวยการกองโบราณคดีใต้น้ำ  สามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=h7bCnF0CV9I


Messenger