ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,775 รายการ

วันที่ 7 ธันวาคม 2566 นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ พร้อมเจ้าหน้าที่ ต้อนรับคณะเทศบาลตำบลวิชิต จังหวัดภูเก็ต โดยมีคณะผู้บริหาร จำนวน 2 คน สมาชิกสภาเทศบาลตำบลวิชิต จำนวน 8 คน ครู ผู้ดูแลเด็ก จำนวน 18 คน และบุคลากรกองการศึกษา จำนวน 16 คน รวมทั้งสิ้น 44 คน เข้าศึกษาดูงานเปิดโลกทัศน์ประสบการณ์ เพื่อปรับปรุง พัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานและประชาชนในท้องถิ่นต่อไป


           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ประกาศแจ้งปิดปรับปรุงพื้นที่ให้บริการบางส่วนเป็นการชั่วคราว ในพื้นที่จัดแสดงชั้นล่าง  เพื่อดำเนินการปรับปรุงส่วนจัดแสดงภายในอาคารบางส่วน ตามโครงการปรับปรุงการจัดแสดงและพื้นที่ภายในอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2567 ถึง วันที่ 8 ธันวาคม 2567 ขอภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้ ทั้งนี้ ประชาชนสามารถเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ได้ตามปกติ             พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เปิดให้บริการทุกวันพุธ - วันอาทิตย์ (ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 09.00 - 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ - วันอังคาร) ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมที่กล่องข้อความเฟซบุ๊กเพจ Nan national Museum พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน หรือ โทร. 0 54772777 และ 0 5471 0561


ชื่อโบราณวัตถุ : กำไลสำริดมีร่องรอยเศษผ้าแบบศิลปะ : สมัยก่อนประวัติศาสตร์ชนิด :  สำริดขนาด : เส้นผ่านศูนย์กลาง 8.5 เซนติเมตรอายุสมัย : สมัยก่อนประวัติศาสตร์ลักษณะ : กำไลสำริด มีร่องรอยเศษผ้า ตัวกำไลประดับด้วยดุมกลมขนาดใหญ่ ที่มีการตกแต่งด้วยลายก้นหอย จำนวน 9 ชิ้น มีการสันนิษฐานว่าเศษผ้าที่พบในวัฒนธรรมบ้านเชียง เป็นประเภทผ้าฝ้าย หรือป่านกัญชงสภาพ : ...ประวัติ : ขุดค้นที่หลุมขุดค้นวัดโพธิ์ศรีในเมื่อปี  2546สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีคิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :(ท่านสามารถโหลดและนำไปใช้เพื่อการทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่อได้)แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่  http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang/360/model/19/ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang



ชื่อเรื่อง                     ประเพณีเก่าของไทยผู้แต่ง                       เสฐียรโกเศศประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ประเพณี ขนบธรรมเนียม คติชนวิทยา เลขหมู่                     392.3 อ197ปชสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์บริษัททหารกองหนุน  ปีที่พิมพ์                    2493ลักษณะวัสดุ                24 หน้า หัวเรื่อง                     พิธีกรรมภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก  พิมพ์ในงานศพนายใช้  วันไชย  13 พฤษภาคม  2504




หนังสือทุ่งตึก เมืองท่าการค้าโบราณ เป็นหนังสือที่ว่าด้วยพัฒนาการของดินแดนภาคใต้ โดยเฉพาะระบบการค้าในสมัยศรีวิชัยที่มีแหล่งโบราณคดีทุ่งตึก เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นความเคลื่อนไหวของผู้คน ไม่เฉพาะในดินแดนภาคใต้ของประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังได้เชื่อมโยงความสัมพันธ์การติดต่อของผู้คนไปยังดินแดนที่เป็นแหล่งโบราณคดีที่คนไทยควรภาคภูมิใจ หนังสือเล่มนี้จะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้เกิดการศึกษาเรื่องการติดต่อทางการค้าทางทะเลระหว่างดินแดนในประเทศไทยกับดินแดนภายนอก ทั้งในทางกว้างและทางลึกให้มากยิ่งขึ้นในอนาคต   ติดต่อซื้อได้ที่กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๔๗๐๒, ๐ ๒๒๒๔ ๒๐๕๐



วันพุธที่ 22 มิถุนายน 2559 นางวัญญา ประคำทอง ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม เป็นประธานการประชุมคณะทำงานจัดการสัมมนาวิชาการ "เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานมรดกศิลปวัฒนธรรม" ครั้งที่ 1/2559 ณ ห้องประชุมสำนักสถาปัตยกรรม ซึ่งงานดังกล่าวจะจัดขึ้นวันอังคารที่ 28 มิถุนายน 2559 ณ โรงละครแห่งชาติ(โรงเล็ก) เวลา 9.00น.


                การจัดการความรู้: กระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายมรดกศิลปวัฒนธรรม ทำการถอดประสบการณ์เป็นบทเรียนจากผู้ปฏิบัติงานเสริมสร้างเครือข่ายมรดกศิลปวัฒนธรรมในแต่ละสำนักศิลปากรพื้นที่จำนวน 10 คน 14 โครงการ ที่ดำเนินงานอยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2550-2554 เพื่อเรียบเรียงเป็นองค์ความรู้หนึ่งของกรมศิลปากร ด้วยการตอบแนวคำถามประกอบการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งพบว่า              ผู้ปฏิบัติงานเริ่มต้นโครงการด้วยเห็นความสำคัญและอยากจะอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุหรือแหล่งโบราณคดีในพื้นที่เป็นสำคัญ ขณะเดียวกันก็มีกลุ่มคนในท้องถิ่นนั้น เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วัด ชาวบ้านและโรงเรียน เป็นต้น อยากจะร่วมอนุรักษ์และพัฒนามรดกศิลปวัฒนธรรมดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ในรูปแบบของแหล่งเรียนรู้หรือแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม แต่ยังขาดความรู้และทิศทางที่ชัดเจน               กิจกรรมสำคัญในโครงการจึงเริ่มด้วยการให้ความรู้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจึงเป็นการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ กำหนดแนวทางปฏิบัติงานเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนามรดกศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่นร่วมกัน การสามารถสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน การมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน การร่วมกันปฏิบัติและร่วมรับผลที่เกิดขึ้น ได้นำไปสู่ความเป็นเครือข่ายมรดกศิลปวัฒนธรรมระหว่างกรมศิลปากรและชุมชนท้องถิ่นนั้น            ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการอนุรักษ์และพัฒนามรดกศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น มักจะเห็นได้ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น และย่านประวัติศาสตร์โบราณคดี ซึ่งต้องมีการบริหารจัดการที่ดีและเป็นระบบโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นหลัก             ความเป็นเครือข่ายระหว่างกันจะดำรงอยู่ได้จากการมีปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องด้วยความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ทั้งนี้กรมศิลปากรควรมีนโยบายอย่างเป็นรูปธรรมในการสนับสนุนกลุ่มเครือข่ายมรดกศิลปวัฒนธรรมในชุมชนท้องถิ่นเพื่อการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นหรือย่านประวัติศาสตร์โบราณคดี และมีการติดตามประเมินผลความเป็นเครือข่ายมรดกศิลปวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง


ประวัติศาสตร์เมืองสุรินทร์(History of Surin)           เนื้อหาในส่วนนี้นำเสนอเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุรินทร์ โดยเริ่มจากชาวกวยช่วยกันจับช้างเผือกส่งกลับคืนสู่กรุงศรีอยุธยา และได้รับความดีความชอบตั้งเป็นบ้านเมือง การปฏิรูปการปกครองมาเป็นระบบเทศาภิบาลและระบอบประชาธิปไตยตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ สังคม ประชากร และการศึกษา ในการจัดแสดงได้จำลองภาพเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เมืองสุรินทร์ เช่น การจับช้างเผือก การเดินรถไฟมาถึงจังหวัดสุรินทร์ สภาพตลาดการค้าในยุคแรกๆ สภาพการศึกษาในอดีต เพื่อให้ผู้ชมสามารถซึมซับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเมืองสุรินทร์ในอดีตจนมาเป็นจังหวัดสุรินทร์ปัจจุบันได้อย่างชัดเจนขึ้น History of Surin           Displays in this section illustrate the history of Surin province. One story describes how the Kuay people caught a white elephant that had escaped from the Royal Palace in Ayutthaya – because of this feat, the village was promoted to town status. The town later became the seat of the lieutenant governor, as part of the country’s move to democracy. Exhibits also depict the history of local economics, social customs, population and education. Models of important events in the history of Surin are displayed: the catching of the white elephant, the train to Surin province, and the first market. These models give visitors a sense of the history of Surin province from ancient times to the present.




ช้างแฝดเพศผู้คู่แรกของโลก             เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา ข่าวใหญ่ที่ทำให้ชาวสุรินทร์และชาวไทยทั้งประเทศมีความสุขและปลาบปลื้มใจ เป็นที่สุดก็คงเป็นการให้กำเนิดช้างแฝดเพศผู้คู่แรกของโลก จากแม่ช้างชื่อพังทองคูณ อายุ ๒๖ ปี ซึ่งเป็นช้างของนายประไพ โมกหอม บ้านเลขที่ ๑๕๒ หมู่ ๓ บ้านท่าลาด ตำบลศรีณรงค์ อำเภอชุมพลบุรี ช้างแฝดเพศผู้คู่นี้เกิดเมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๓ แฝดพี่ชื่อพลายทองคำ เกิดเวลา ๐๓.๐๙ น. และแฝดน้องชื่อพลายทองแท่ง เกิดเวลา ๐๑.๐๙ น. โดยแฝดน้องคลอดออกมาก่อน ปัจจุบันได้มาอาศัยอยู่ที่ศูนย์คชศึกษา บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์             สำหรับจังหวัดสุรินทร์เคยมีช้างแฝดมาแล้วเมื่อ ๑๕ ปีที่ผ่านมา เป็นช้างเพศเมียชื่อ พังจุ๋ม และพังจิ๋ม เจ้าของชื่อป้าเหลือง (คนที่เดินทางไปกับรถบรรทุกช้างชื่อพังกำไลที่รถพลิกคว่ำจนป้าเหลืองเสีย ชีวิต และพังจุ๋มตาย ส่วนพังจิ๋มยังไม่ตาย ปัจจุบันอยู่ที่สวนสัตว์เขาเขียว และพังจิ๋มก็ตกลูกเมื่อเร็วๆ นี้   ข้อมูลที่น่ารู้เกี่ยวกับช้างไทย   ช้าง                         ช้างเป็นสัตว์บกเลี้ยงลูกด้วยนมที่ใหญ่ที่สุดในโลก   อายุช้าง                     ช้างมีอายุเฉลี่ยประมาณ ๘๐ ปี   น้ำหนักช้าง                 ช้างเมื่อโตเต็มที่จะมีน้ำหนักประมาณ ๓,๐๐๐ – ๔,๐๐๐ กิโลกรัม/เชือก   ส่วนสูงช้าง                  ช้างเมื่อโตเต็มที่จะมีความสูงเฉลี่ยประมาณ ๘ – ๙ ฟุต(ประมาณ ๒.๕ เมตร)   ช้างกินอาหาร              ช้างจะกินอาหารประมาณ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว/เชือก/วัน หรือประมาณวันละ ๒๐๐ – ๔๐๐ กิโลกรัมต่อเชือก   ช้างนอน                    ช้างจะหลับนอนเพียงวันละ ๓ – ๔ ชั่วโมงเท่านั้น อีก ๒๐ ชั่วโมงจะใช้เวลาในการออกหากินในเวลา ๑ วัน   ช้างต้องการน้ำ             ช้างจะกินน้ำวันละประมาณ ๖๐ แกลลอน หรือ ๑๕ ปี๊บ/วัน   เริ่มผสมพันธุ์                ช้างเริ่มผสมพันธุ์ เมื่ออายุประมาณ ๑๓ – ๑๕ ปี จนถึงอายุ ๕๐ ปี   ฤดูกาลผสมพันธุ์            ช้างจะผสมพันธุ์ไม่เป็นฤดูกาล สุดแท้แต่โอกาสและบรรยากาศแวดล้อม   การผสมพันธุ์               ช้างตัวผู้จะขึ้นทับตัวเมียครั้งหนึ่งใช้เวลา ๓๐ – ๖๐ วินาที และใช้เวลาในการผสมพันธุ์จริงๆ(สอดเครื่องเพศ) เพียง ๑๐ – ๑๕ วินาทีเท่านั้น   การเป็นสัด                 ช้างตัวเมียจะเป็นสัดปีละ ๓ – ๔ รอบ (ถ้าไม่มีการตั้งท้อง) เป็นสัดครั้งหนึ่งอยู่นาน ๒ – ๘ วัน (เฉลี่ย ๔ วัน)   ช้างตั้งท้อง                  ช้างจะตั้งท้องนานประมาณ ๑๘ – ๒๒ เดือน (ลูกช้างตัวผู้จะอยู่ในท้องนานกว่าลูกช้างตัวเมีย)   การตกลูก                  ปกติช้างจะตกคราวละ ๑ ตัว อาจมีแฝดได้   ระยะเวลาการมีลูก        เมื่อช้างออกลูกมาแล้วจะดูแลและอยู่ร่วมกันกับแม่ประมาณ ๓ ปี แล้วแม่ช้างจึงจะเริ่มผสมพันธุ์ อีกครั้งหนึ่ง รวมระยะเวลา ๕ ปี กว่าแม่                                  ช้างจะมีลูกแต่ละครั้ง ดังนั้น แม่ช้าง ๑ เชือกตลอดชีวิตจะตกลูกได้ ๔  - ๖ ตัว     ลึงค์                        ลึงค์หรืออวัยวะสืบพันธุ์ช้าง ช้างตัวผู้จะมีลึงค์ยาวประมาณ ๑ – ๒ เมตรในสภาพปกติ และยาว ๒ – ๒.๕ เมตร ขณะแข็งตัวเต็มที่ และจะ                                โค้งงอเป็นรูปตัว “ S”   ลูกอัณฑะช้าง              ช้างตัวผู้จะมีลูกอัณฑะอยู่ในช่องท้องใกล้ๆ กับไต เมื่อโตเต็มวัยลูกอัณฑะจะมีน้ำหนัก ๑ – ๔ กิโลกรัม   อากาศที่ช้างชอบ          ปกติช้างชอบอยู่ในป่าดงดิบทึบ มีอากาศร่มเย็น อุณหภูมิประมาณ ๑๘ – ๒๐ องศาเซลเซียส ไม่ชอบอากาศร้อนจัด   การตกมัน                 ช้างพลายและช้างพังที่โตเต็มวัยหรือเรียกว่าอยู่ในวัยฉกรรจ์ ซึ่งมีอายุระหว่าง ๑๕ – ๘๐ ปี ถ้า มีร่างกายอ้วนท้วนแข็งแรงสมบูรณ์มีโอกาส                                ตกมันได้ตลอด (บางเชือกขณะตกมันจะมีนิสัยดุร้ายและจำเจ้าของไม่ได้)   ระบบปราสาท             ช้างจะรับรู้ทางระบบประสาทตาประมาณ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ แต่จะมีระบบการรับรู้ จำเสียง จำกลิ่นได้เป็นอย่างดี   ผิวหนัง                     ช้างจะมีผิวหนังหนาประมาณ ๑.๙ – ๓.๒ เซนติเมตร   การเต้นของหัวใจ          ท่ายืน ๒๕ – ๓๐ ครั้งต่อนาที                                ท่านอนตะแคง ๗๒ – ๙๘ ครั้งต่อนาที                                ขณะออกกำลัง ๖๐ ครั้งต่อนาที   อัตราการหายใจ           ช้างหายใจ ๔ – ๖ ครั้งต่อนาที   อุณหภูมิในร่างกาย        ปกติอุณหภูมิในร่างกายช้างประมาณ ๓๖ – ๓๗ องศาเซลเซียส   ฟันช้าง                     ตลอดชีวิตของช้างจะมีฟันกรามถึง ๖ ชุด   ซี่โครงช้าง                  ช้างมีซีโครงจำนวน ๑๙ คู่   ข้อกระดูกหาง             ช้างมีข้อกระดูกหาง ประมาณ ๒๖ – ๓๓ ข้อ   เล็บเท้าช้าง                เท้าหน้าของช้างมี ๕ เล็บ                                เท้าหลังของช้างมี ๔ เล็บ   หมายเหตุ :                ศัพท์นิยม                                ลักษณะนามของช้างป่าใช้ ตัว                                ลักษณะนามของช้างบ้านใช้ เชือก                                ลักษณะนามของการรวมกลุ่มเป็นหมู่ของช้างป่าใช้ ฝูง                                ลักษณะนามของการรวมกลุ่มเป็นหมู่ของช้างบ้านใช้ โขลง


กิจกรรม "ลานวัฒนธรรม นำน้องน้อยย้อนรอยอดีต" ครั้งที่ ๖   ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  พระปฐมเจดีย์


Messenger