ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,776 รายการ
สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญรับชมการถ่ายทอดสดกิจกรรมสร้างแรงบันดาลใจเพื่อสร้างสังคมแห่งการอ่าน NLT Edutainment ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๐ ในหัวข้อเรื่อง "อ่านทวน: กลับไปอ่านวรรณกรรมไทยยุค ๒๔๘๐ จากสายตาของปัจจุบัน" วิทยากรโดย จิรัฏฐ์ เฉลิมแสนยากร, อาทิตย์ ศรีจันทร์ และอาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการโดย บารมี สมาธิปัญญา สามารถรับชมได้ผ่านทาง Facebook Live และ YouTube Live ของหอสมุดแห่งชาติ ในวันอาทิตย์ที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๕.๐๐ น.
ปราสาทบ้านโคกปราสาท ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทบ้านโคกปราสาท เป็นปราสาทในวัฒนธรรมเขมร มีลักษณะเป็นเนินโบราณสถานขนาดเล็ก มีต้นไม้ขึ้นคลุมค่อนข้างหนาแน่น จากร่องรอยที่ปรากฏ สันนิษฐานองค์ประกอบได้ดังนี้ 1. ปราสาท บริเวณปราสาท ปัจจุบันมีลักษณะเป็นเนินโบราณสถานขนาดเล็ก กว้างประมาณ 60 เมตร ยาวประมาณ 70 เมตร บนเนินปรากฏแท่งหินทรายและศิลาแลงกระจายตัวอยู่ทั่วทั้งเนิน จากการสัมภาษณ์ชาวบ้านทราบว่า โบราณสถานหลังนี้ถูกลักลอบขุดหาโบราณวัตถุและรื้อย้ายชิ้นส่วนต่าง ๆ หลายครั้ง ทำให้ปราสาทพังทลาย และชิ้นส่วนประกอบอาคารอยู่ในลักษณะกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป การดำเนินงานขุดลอกบารายซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของปราสาท มีการนำดินมาถมบริเวณโดยรอบปราสาท ซึ่งทำให้ไม่ปรากฏคูน้ำโดยรอบปราสาทที่ชัดเจน แต่จากร่องรอยของพื้นที่ที่เป็นร่องน้ำที่เหลืออยู่ ทำให้สันนิษฐานได้ว่า เดิมมีคูน้ำล้อมรอบปราสาทอยู่ด้วย คูน้ำมีความกว้างประมาณ 10-15 เมตร บริเวณเนินดินปรากฏแท่งหินทราย ศิลาแลง และอิฐ ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของอาคาร ได้แก่ หน้าบัน ที่ส่วนกรอบหน้าบันสลักลายก้านต่อดอกชี้ลงด้านล่าง ชิ้นส่วนกรอบประตู กรอบหน้าต่าง บัวเชิงผนัง บัวเชิงชายหลังคา ส่วนผนังอาคาร เสาประดับกรอบประตูแบบเสาแปดเหลี่ยม โบราณวัตถุส่วนหนึ่งถูกเคลื่อนย้ายไปไว้ที่โรงเรียนบ้านจรเข้มาก ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย เป็นชิ้นส่วนปลายกรอบหน้าบันสลักลายนาคห้าเศียร นาคหัวโล้นไม่มีกระบังหน้า ซึ่งเป็นลักษณะนาคในศิลปะเขมรแบบบาปวน เสาประดับผนัง บัวเชิงผนังสลักลายกลีบบัว บัวยอดปราสาท 2. บาราย ถัดจากตัวปราสาทไปทางตะวันออกประมาณ 200 เมตร มีบารายตั้งอยู่ บารายมีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้างประมาณ 270 เมตร ยาวประมาณ 500 เมตร คันดินขอบบารายมีขนาดกว้างประมาณ 10 เมตร สูงจากพื้นนาโดยรอบ 2-3 เมตร บารายแห่งนี้ชาวบ้านในพื้นที่เรียกว่า หนองบ้านเก่า หรืออ่างเก็บน้ำโคกปราสาท ซึ่งได้รับการขุดลอกแล้ว ปัจจุบันมีน้ำอยู่ในพื้นที่บางส่วน บารายนี้สร้างคร่อมห้วยบ้านเก่า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิธีการกักเก็บน้ำไว้ในบาราย โดยการสร้างคร่อมลำน้ำธรรมชาติ ปัจจุบันได้มีการขุดลอกบารายไปแล้วเมื่อปี 2543 โดยสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท จากหลักฐานที่พบ สันนิษฐานได้ว่า ปราสาทบ้านโคกปราสาท เป็นปราสาทในวัฒนธรรมเขมร สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ในศิลปะเขมรแบบบาปวน เป็นศาสนสถานของชุมชนในวัฒนธรรมเขมรบริเวณนี้ในอดีต ก่อสร้างโดยใช้ใช้หินทราย แท่งศิลาแลง และอิฐเป็นวัสดุ มีคูน้ำรูปตัวยูล้อมรอบ และมีบารายตั้งอยู่ทางด้านตะวันออก-----------------------------------------------------------//ข้อมูลโดย นายนภสินธุ์ บุญล้อม นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา
ชื่อเรื่อง ถวายพรพระ (ถวายพอนพระ)
สพ.บ. 253/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 18 หน้า กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 58 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.153/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 93 (1-16) ผูก 5 (2565)หัวเรื่อง : สทฺทสารตฺชาลินี(ศัพท์สัททสารัตถชาลินี)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
หมอเจ้าฟ้า (ตอนที่ ๑)สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระราชโอรสองค์ที่ ๖๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระองค์ที่ ๗ ในสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประสูติเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๔ มีพระนามเดิมว่าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช หลังพระราชพิธีโสกันต์ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าต่างกรม มีพระนามตามพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาเสด็จไปทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนมัธยม Harrow ประเทศอังกฤษ ก่อนเสด็จไปทรงศึกษาวิชาทหารในประเทศเยอรมนี พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาได้รับพระยศเป็นนายเรือตรีและนายเรือโทในกองทัพเรือเยอรมนี เสด็จกลับสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวและเข้ารับราชการในกองทัพเรือสยาม จากนั้นได้กราบถวายบังคมทูลลาออกจากราชการกองทัพเรือ แล้วเสด็จไปทรงศึกษาวิชาแพทย์และสาธารณสุขศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมืองบอสตัน มลรัฐแมสซาชูเซตส์ และสถาบันเทคนิควิทยาแห่งแมสซาชูเซตส์ ด้วยทรงเห็นว่าการแพทย์และการสาธารณสุขของไทยในเวลานั้นยังล้าหลังอยู่มากระหว่างที่ทรงศึกษา พระองค์ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจเกี่ยวกับการพัฒนากิจการแพทย์สยามควบคู่กันไป ได้แก่ การส่งนักเรียนแพทย์ไทยไปศึกษาวิชาการแพทย์สมัยใหม่ในต่างประเทศ จัดหาอาคารเรียน อาคารรับผู้ป่วย อาคารปฏิบัติงานทางการแพทย์ อุปกรณ์ที่จำเป็นทางการแพทย์ แต่งบประมาณที่รัฐบาลจัดให้ไม่เพียงพอ พระองค์จึงทรงประทานทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งยังทรงขอร้องพระบรมวงศานุวงศ์ร่วมบริจาคทุนทรัพย์ให้เป็นทุนการศึกษาหรือทุนสร้างอาคารสถานที่ นอกจากนี้ ยังทรงเจรจาติดต่อขอความร่วมมือและความช่วยเหลือในกิจการแพทย์กับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ซึ่งผลสำเร็จในครั้งนั้นนับได้ว่าเป็นประโยชน์ต่อกิจการแพทย์สยามอย่างมากและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตเกียรตินิยมและวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ในพ.ศ. ๒๔๗๑ จึงเสด็จกลับสยาม เพื่อนำความรู้ทั้งทางการแพทย์และสาธารณสุขมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่อ้างอิง : ๑. รุ่งทิพย์ สุวรรณอภิชน. ๒๕๕๙. เจ้าดารารัศมี: พระศรีมิ่งเมืองเชียงใหม่. กรุงเทพมหานคร: เม็ดทรายพริ้นติ้ง.๒. ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. ๒๕๕๙. เจ้าฟ้า เจ้าชายในพระพุทธเจ้าหลวง. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน.
นิพฺพานสุตฺต (นิพฺพานสูตร)
ชบ.บ.75/1-1ฑ
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
อุโปสถกมฺมกถา (อุโปสถกรรมกถา)
ชบ.บ.97/1-2
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
**รายการบรรณานุกรม***
หนังสือหายาก
กรมศิลปากร. ละคอน เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน พลายเพ็ชรพลายบัว ออกศึก. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๔๙๖.
ชื่อผู้แต่ง คณะกรรมการประชาสัมพันธ์งานพิธีพระราชทานปริญญาบัตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อเรื่อง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา ฯ
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์พิฆเณศ
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๙
จำนวนหน้า ๑ เล่ม (ไม่ปรากฏหมายเลขหน้า)
รายละเอียด
หนังสือประมวลพระฉายาลักษณ์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดากิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ตั้งแต่เริ่มต้นสอบคัดเลือกเพื่อเข้าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กิจกรรมรับน้อง กิจกรรมระหว่างทรงศึกษา ทั้งเล่นดนตรีไทย ขับร้องเพลงลูกทุ่ง เล่นลิเก พิธีบายศรีสู่ขวัญ เล่นกีฬาในคณะ จนสำเร็จการศึกษาและรับปริญญาบัตร
กรมศิลปากร ขอเชิญพุทธศาสนิกชนและผู้สนใจร่วมกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุและเทวดา นพเคราะห์ เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี ๒๕๖๕ ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๔ เมษายน ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ จัดกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์เป็นประจำทุกปี เพื่อความเป็นสิริมงคลในปีใหม่ไทย เนื่องด้วยในสมัยโบราณ คนไทยมักไม่นิยมนับอายุตามวันเกิด แต่จะนับตามการเถลิงศักราชใหม่ในช่วงปีใหม่ไทยคือ สงกรานต์ หากปีใดมีความป่วยไข้ หรือทราบว่าถึงเวลาเปลี่ยนทักษา โดยเฉพาะเจ้านายก็จะขึ้นเกยส่งเทวดาเก่ารับเทวดาใหม่ ด้วยเชื่อว่าจะนำพาสิริมงคลมาพร้อมกับศักราชใหม่ จึงได้อัญเชิญพระธาตุในพระกรัณฑ์ ซึ่งเดิมทีประดิษฐานในก้านพระรัศมีของพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปองค์สำคัญ ซึ่งประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล มาเป็นประธานในพิธี และเทวดานพเคราะห์ทั้ง ๙ องค์ ผู้เป็นเจ้าเรือนชะตามนุษย์ทุกคนตั้งแต่เกิดจนตาย ตามความเชื่อโบราณ มาให้ประชาชนได้สักการะและสรงน้ำขอพร ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์ ระหว่างวันที่ ๑๒ - ๑๔ เมษายน ๒๕๖๕ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนชาวไทยได้สักการะบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต อันเป็นวาระแห่งการเริ่มต้นศักราชใหม่ของไทย และเป็นการสืบสานประเพณีที่ดีงาม ตลอดจนสืบทอด องค์ความรู้ในอดีตจากรุ่นสู่รุ่น ทั้งนี้ เทวดานพเคราะห์มีต้นกำเนิดมาจากโหราศาสตร์ฮินดูที่นับถือพระสุริยเทพ (พระอาทิตย์) ซึ่งมีเทพบริวารอีก ๘ องค์ รวมเป็น ๙ องค์ ถือว่าเป็นเทพที่ปกปักรักษาชีวิตของประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย ประกอบด้วย พระอาทิตย์ ทรงราชสีห์ เป็นเทพนพเคราะห์ที่มีอำนาจเหนือกว่าเทพนพเคราะห์ทั้งปวง พระจันทร์ ทรงม้า พระอังคาร ทรงมหิงสา พระพุธ ทรงคชสาร พระพฤหัสบดี ทรงกวาง พระศุกร์ ทรงโค พระเสาร์ ทรงพยัคฆ์ พระราหู ทรงพญาครุฑ และ พระเกตุ ทรงนาคพระจันทร์ ทรงม้า พระอังคาร ทรงมหิงสาพระพุธ ทรงคชสาร พระพฤหัสบดี ทรงกวาง พระศุกร์ ทรงโค พระเสาร์ ทรงพยัคฆ์ พระราหู ทรงพญาครุฑ พระเกตุ ทรงนาค พุทธศาสนิกชนและประชาชนที่สนใจสามารถร่วมกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุและเทวดานพเคราะห์ เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี ๒๕๖๕ ซึ่งกรมศิลปากรได้จัดกิจกรรมภายใต้มาตรการป้องกันโรคตามแผนมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยและมาตรการที่ทางราชการกำหนด มีจุดคัดกรองบริเวณทางเข้า – ออก ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ผู้ร่วมกิจกรรมต้องแสดงผลการรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อย่างน้อย ๒ เข็ม หรือแสดงผลการตรวจหาเชื้อไม่เกิน ๒๔ ชั่วโมง สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-19) สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓, ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒
เครื่องมือเครื่องใช้ในพิธีกรรมตอน พับสา พับสา หรือ ปั๊บสา เป็นสมุดที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นเพื่อบันทึกเรื่องราวจนกลายเป็นเอกสารของชาวล้านนา ที่มีความสำคัญรองจากคัมภีร์ใบลาน พับสา ทำขึ้นจากต้นปอสา หากทำจากต้นข่อย จะเรียกชื่อว่า สมุดข่อย ในการทำสมุดมักทำความหนาและความกว้างให้เพียงพอต่อการบันทึกข้อความ พับสา แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด ได้แก่ ๑. พับสาลั่น มีลักษณะเป็นกระดาษสาแบบยาว พับซ้อนกันไปมาเป็นขั้น ๆ วิธีใช้ คือ เปิดพับขึ้นไปทีละด้าน สามารถบันทึกข้อความได้ทั้งสองด้าน มักทาเคลือบปกด้วยยางรักสีดำทั้งด้านหน้าปกและด้านหลังตัวเล่ม ขนาดตัวเล่ม ความกว้างไม่ต่ำกว่า ๔ นิ้ว ความยาวไม่ต่ำกว่า ๘ นิ้ว ทำให้สามารถบันทึกข้อความได้ประมาณ ๕ - ๘ บรรทัด ๒. พับสาก้อม มีลักษณะไม่ต่างจากพับสาลั่นนัก แต่สามารถพกพาไปตามที่ต่าง ๆ ได้ เนื่องจากพับสาก้อมมีขนาดเล็กกะทัดรัดกว่าพับสาลั่น โดยมีความกว้างประมาณ ๓ นิ้ว ยาวไม่เกิน ๖ นิ้ว แต่ละหน้าสามารถบันทึกได้ สูงสุด ๕ บรรทัด ๓. พับหัว ใช้การเย็บหน้ากระดาษด้วยเชือกปอหรือฝ้ายในส่วนหัวของตัวเล่ม ทำให้มีลักษณะคล้ายสมุดฉีกในปัจจุบัน สามารถเปิดอ่านได้ทั้งสองหน้าพร้อมกัน คือ เปิดขึ้นไปด้านบนโดยตลอด พับหัวมีหลายขนาด ส่วนมากมักมีความกว้าง ๕ นิ้วหรือความยาวมากกว่า ๕ นิ้ว พับหัวจึงบันทึกได้หลายบรรทัดขึ้นอยู่กับความกว้างของตัวเล่ม การใช้ประโยชน์จากพับสานั้น ส่วนใหญ่จะเป็นบันทึกของชาวบ้าน ซึ่งบันทึกข้อความที่เป็นตำนานความเชื่อ ไสยศาสตร์ ยันต์ คาถา ตำรา และมีเพียงส่วนน้อยที่บันทึกเรื่องเกี่ยวกับศาสนา เช่น คำถวายทานต่าง ๆ หรือกรรมฐาน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการใช้งานในพิธีกรรมทางศาสนาของชาวบ้าน ผู้เรียบเรียง : นางสาวอริสรา คงประเสริฐ นักจดหมายเหตุภาพ :๑. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. ภาพพิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดเกตการาม๒. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. ๒๕๖๓. สมุดไทย : บันทึกภูมิปัญญาและวัฒนธรรมสยาม.กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.อ้างอิง : ๑. พงศธร บัวคำปัน. ๒๕๕๙. การศึกษาวิเคราะห์คำสอนในพับสาคำขับไทลื้อ ฉบับน้อยพรหม เมืองยอง.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.๒. ก่องแก้ว วีระประจักษ์. ๒๕๕๓. การทำสมุดไทยและการเตรียมใบลาน. กรุงเทพฯ: สหประชาพานิชย์.๓. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. ๒๕๖๓. สมุดไทย : บันทึกภูมิปัญญาและวัฒนธรรมสยาม.กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.๔. Tipitaka (DTP). ๒๕๕๙. “สมุดไทย...ทรงไว้ซึ่งสรรพศาสตร์และอัจฉริยภาพเชิงศิลป์” อยู่ในบุญ. ๑๕ (๑๖๙) : ๖๒ - ๖๖.
แหล่งเรือจมบางกะไชย ๒ เป็นแหล่งเรือจมสำเภาโบราณในสมัยอยุธยา ที่กองโบราณคดีใต้น้ำในดำเนินการขุดค้นศึกษามาอย่างต่อเนื่องถึง ๕ ครั้ง (ปีงบประมาณ ๒๕๓๗, ๒๕๔๒, ๒๕๔๓, ๒๕๔๔ และ ๒๕๔๕) ทั้งยังพบหลักฐานโบราณวัตถุสำคัญมากมายหลากหลายประเภท กองโบราณคดีใต้น้ำจึงขอนำเสนอความรู้จากหลักฐานสำคัญประเภทหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวเรือ ซึ่งก็คือ สมอไม้ ของเรือบางกะไชย ๒ ที่มาของข้อมูล : กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร https://www.facebook.com/100069197290106/posts/291975493119025/?d=n