ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,776 รายการ

ชื่อเรื่อง                                สตฺตปฺปกรณภิธมฺมเทสนา (เทศนาสังคิณี-ปุคคลบัญัติ)สพ.บ.                                  132/2ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           20 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 ธรรมเทศนา  บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดกุฏีทอง ต.รั้วใหญ๋ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.71/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  64 หน้า ; 4.6 x 50 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 46 (35-51) ผูก 4 (2564)หัวเรื่อง : วินยฺกิจ (วิไนยกิจจะ) --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.103/1กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  32 หน้า ; 3.5 x 51 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 60 (170-178) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : แทนน้ำนมแม่ --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.132/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 5 x 58.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 78 (309-314) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : สิงฺคาลสุตฺต (สิงคาลสูตร)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.7/1-2 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : วินัยที่ได้ศึกษาดีแล้ว หนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็ก ชื่อผู้แต่ง : สมภพ จันทรประภา ปีที่พิมพ์ : 2510 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์ จำนวนหน้า : 108 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็ก ได้รับพระราชทานรางวัลที่ 1 ในการประกวดแต่งหนังสือแสดงพระพุทธศาสนาสำหรับสอนเด็กประจำ พ.ศ. 2510 มีเนื้อหากล่าวถึงเรื่องวินัย โดยมุ่งเน้นให้เด็กรักษาวินัย 10 ประการ ได้แก่ 1. ไม่ฆ่าหรือทรมานสัตว์ 2. ไม่ลักขโมยของ 3. ไม่ทำผิดในทางเพศ 4. ไม่พูดปด 5. ไม่พูดส่อเสียด 6. ไม่พูดคำหยาบ 7. ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล 8. ไม่มักได้ ไม่โลภ 9. ไม่พยาบาท 10. ไม่เห็นผิดเป็นชอบ หากปฏิบัติได้จะเป็นทางนำตนไปสู่ความสุขความเจริญ



ชื่อผู้แต่ง          สารนาถ ชื่อเรื่อง           ตามรอยบาทพระ พุทธองค์ เล่ม 1 ครั้งที่พิมพ์        ๓ สถานที่พิมพ์      พระนคร สำนักพิมพ์        ห้างหุ้นส่วนจำกัด บำรุงสาส์น ปีที่พิมพ์          ๒๕๐๘ จำนวนหน้า      ๕๑๒   หน้า               ตามรอยบาทพระ พุทธองค์ เล่ม ๑ เป็นหนังสือที่อธิบายโดยละเอียดเกี่ยวกับการเดินทางไปไหว้พระตามสถานที่ต่างๆ ของพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียและเนปาล รวมทั้งเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศอินเดียในหลายๆ ด้าน ได้แก่ ขนบธรรมเนียมประเพณี ลัทธิศาสนา ศิลปะวรรณคดี ประวัติศาสตร์ นิยาย ภูมิศาสตร์ ตลอดจนความเป็นอยู่ของพลเมือง ทำให้รู้จักและเข้าใจประเทศอินเดียมากยิ่งขึ้น      


สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของประชาชนในการบริหารราชการ โดยจัดให้มีการมอบรางวัลความเป็นเลิศด้านการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม เพื่อเชิดชูผลงานของหน่วยงานของรัฐที่มีการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับภาคประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีผลการดำเนินงานที่เป็นต้นแบบหรือแนวปฏิบัติที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ในปี พ.ศ. 2564 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ระดมสมองจากทุกภาคส่วนและได้นำข้อคิดเห็นต่าง ๆ เข้าคณะทำงาน ปรับปรุงเกณฑ์รางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม และคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการส่งเสริม การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพภาครัฐ เพื่อพัฒนาหลักเกณฑ์การพิจารณา รางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมให้สอดคล้องกับทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาระบบราชการ และส่งเสริม การเปิดระบบราชการให้ประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการที่สร้างความเชื่อมั่น ศรัทธาต่อระบบราชการ และสร้างการยอมรับจากภาคประชาชนในการเข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องและร่วมทำงานกับ ภาครัฐแบบหุ้นส่วนความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมและขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังหน่วยงานของรัฐให้ครอบคลุมมากขึ้น 


     เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จออกประพาสชายทะเลฝั่งตะวันออก โดยประทับแรมยังค่ายหลวงอ่างศิลา ในช่วงเวลาที่ประทับอยู่นั้นได้มีบุคคลมาทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญโบราณจำนวนหนึ่ง ดังปรากฏความในหลักฐานเอกสารว่า “...หลวงเพ็ชรสงคราม ปลัดเมืองบางละมุง นำนายวิงน้องชายมาทูลเกล้าฯ ถวายเงินเหรียญโบราณซึ่งขุดได้ที่ป่าทุ่งคราวในสวนกล้วยตำบลบ้านเหมือง แขวงเมืองบางละมุง ขุดได้เมื่อณวันอาทิตย์ เดือน ๘ แรมค่ำ ๑ ปีกุนสัปตศก จุลศักราช ๑๒๓๗ เมื่อจะขุดได้นั้น นายวิงไปทำไร่ยกหินขึ้นทุบออก เงินนั้นก็กระจายออกมา รวมได้เงิน ๔๐ เหรียญ แต่ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย ๑๔ เหรียญ เงินเหรียญนั้นไม่ทราบแน่ว่าจะเปนเงินแต่ครั้งไหน โตขนาดเงินรูเปียฤาอัฐทองแดงที่ใช้กันในกรุงเทพฯ แต่บางกว่า ข้างด้านหนึ่งมีตราหยาบๆ เปนพระอาทิตย์ครึ่งดวง ฤาพระจันทร์ครึ่งดวงฤาแก้วจักรพรรดิอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี แลมีรัศมีหยาบๆ รอบดวงกลางนั้นด้วย แต่อิกด้านหนึ่งนั้น คเนดูว่าจะเป็น รูปตัวอักษรเทวันนาครี ฤาเปนรูปครุฑเหยียบนาคก็ดี ยังไม่ทราบแน่ว่าเปนอะไรแปลยังไม่ออก เงินนั้นน้ำหนักบางอันหนักสองสลึงเฟื้องมีเศษบ้าง ย่อมอยู่บ้าง ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานไว้ในที่โรงมิวเซียม คือที่เก็บของประหลาดต่างๆ ในพระบรมมหาราชวังบ้าง...”     อย่างไรก็ตาม ในเวลาดังกล่าวยังไม่มีการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับเหรียญเงินที่มีการพบนี้มาก่อน ตามบันทึกจึงไม่ทราบรูปแบบศิลปะและอายุสมัยของเหรียญ กระทั่งภายหลังจึงมีการสันนิษฐานว่าเหรียญดังกล่าวคงจะเป็นเหรียญในสมัยทวารวดี (ราว ๑,๑๐๐ - ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว) รูปแบบหนึ่ง กล่าวคือ ด้านหนึ่งเป็นภาพ พระอาทิตย์ครึ่งดวงฉายแสง ส่วนอีกด้านหนึ่งซึ่งแต่เดิมมีการบันทึกว่า “...คเนดูว่าจะเป็นรูปตัวอักษรเทวันนาครี ฤาเปนรูปครุฑเหยียบนาคก็ดี...” ได้มีผู้ศึกษาและสันนิษฐานว่าเป็นภาพศรีวัตสะ (มีความหมายถึงความรุ่งเรือง ความอุดมสมบูรณ์)      เหรียญรูปแบบดังกล่าวนี้ปัจจุบันมีการพบกระจายตัวอยู่หลายแห่ง ได้แก่ เมืองอู่ทอง (สุพรรณบุรี) เมืองพรหมทิน (ลพบุรี) เมืองอู่ตะเภา เมืองดงคอน (ชัยนาท) เมืองศรีมโหสถ (ปราจีนบุรี) เมืองดงละคร (นครนายก) แหล่งโบราณคดีบ้านวังแดง (พิจิตร) แหล่งโบราณคดีทุ่งน้ำเค็ม (นครศรีธรรมราช) แหล่งโบราณคดีพงตึก (กาญจนบุรี) แหล่งโบราณคดีบ้านด่านลานหอย (สุโขทัย) แหล่งโบราณคดีบ้านชมภู (พิษณุโลก) แหล่งโบราณคดีเขาศรีวิชัย (สุราษฎร์ธานี) เขตอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก และอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังมีการพบที่เมืองออกแก้ว (Oc Eo) ประเทศเวียดนาม และเมืองโบราณหลายแห่งในวัฒนธรรมปยูในประเทศเมียนมา ได้แก่ เบคถาโน ศรีเกษตร ฮาลิน      จากการศึกษาที่ผ่านยังมีการพบเหรียญที่มีลวดลายมงคลและรูปแบบอื่นๆ ซึ่งสันนิษฐานว่าเหรียญเหล่านี้อาจใช้ทั้งในทางเศรษฐกิจการค้าโดยเป็นระบบเหรียญตราที่เหมือนกันและยอมรับสำหรับใช้ติดต่อแลกเปลี่ยนกันในวัฒนธรรมร่วมสมัยทวารวดี อีกทั้งยังอาจใช้ในทางความเชื่อดังพบว่ามีการพบเป็นของอุทิศร่วมกับศพ บรรจุภาชนะดินเผาและฝังใกล้บริเวณที่เป็นโบราณสถาน ทั้งนี้เหรียญเหล่านี้แสดงถึงการรับแรงบันดาลใจ ลวดลายมงคลจากอินเดีย      ดังนั้น หากเหรียญเงินตามบันทึกคือเหรียญเงินในสมัยทวารวดีอาจแสดงให้เห็นว่าพื้นที่อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี อาจมีการอยู่อาศัยมาแล้วอย่างน้อยตั้งแต่สมัยทวารวดีเช่นเดียวกับพื้นที่อำเภอพนัสนิคม  จังหวัดชลบุรี ซึ่งพบหลักฐานร่วมสมัยทวารวดี และคงมีการติดต่อสัมพันธ์กับผู้คนบ้านเมืองอื่นๆ ที่ร่วมสมัยในพื้นที่ใกล้เคียงก็เป็นได้ ___________________________________ อ้างอิง - สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ และคณะ. หนังสือ COURT ข่าวราชการ เจ้านาย ๑๑ พระองค์ทรงช่วยกันแต่ง. พระนคร: สำนักราชเลขาธิการ, ๒๕๓๙. - ผาสุข อินทราวุธ.  ทวารวดี : การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ: อักษรสมัย, ๒๕๔๒. - ผาสุข อินทราวุธ.  “เหรียญเงินไม่มีจารึกพบในแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดี,” ใน “มรดกวัฒนธรรม : ไทยกับเพื่อนบ้าน” : การประชุมทางวิชาการนานาชาติ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ: คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๙. - วิภาดา อ่อนวิมล. “เหรียญตราในประเทศไทยช่วงพุทธศตวรรษที่ ๙ - ๑๖” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๖๑. - วิภาดา อ่อนวิมล. เงินตราในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจสยาม. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย,  ๒๕๖๒. ___________________________________ (เผยแพร่ข้อมูลและเทคนิคภาพโดย นายอริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ)



พระสิบสอง สมัยหริภุญไชย พุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘  หรือประมาณ ๘๐๐ - ๙๐๐ ปีมาแล้ว สูง ๑๐ เซนติเมตร กว้าง ๖ เซนติเมตร ได้จากวัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย Terracotta Votive Tablet Depicting the Buddha Subduing Mara Beneath Arch Topped by Graduated Tiers With Form a Corn-cob Shaped Profile (Thai: prasat), (Thai Term: Phra Sip Song) Hariphunchai art, 12th - 13th century CE H: 10 cm; W: 6 cm Preserved at Wat Phra That Hariphunchai, Lamphun Province, and presented by the abbot to the National Museum The Hariphunchai National Museum, Lamphun Province


         สวนโมกขพลาราม หรือชื่อเรียกทางการว่า “วัดธารน้ำไหล”  จัดตั้งขึ้นโดยพระธรรมโกศาจารย์   (พุทธทาสภิกขุ) ตั้งอยู่ที่เขาพุทธทอง ริมทางหลวงหมายเลข 41 บริเวณกิโลเมตรที่ 134 อำเภอไชยา จังหวัด           สุราษฎร์ธานี เพื่อให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงในประเทศและไปทั่วโลก .  ตามประวัติการก่อตั้ง สวนโมกขพลาราม เดิมที่ได้สร้างขึ้นในวัดตระพังจิก ซึ่งเป็นวัดร้าง ณ หมู่บ้านพุมเรียง ต. พุมเรียง อ. ไชยา จ. สุราษฎร์ธานี ท่านเข้ามาอยู่ที่นี้เมื่อวันวิสาขบูชา วันที่ 12 พฤษภาคม 2548 ต่อมาได้ย้ายเข้ามาสร้างใหม่ที่เขาพุทธทอง (จุดที่ตั้งปัจจุบัน) มีเนื้อที่ประมาณ 375 ไร่ วัดแห่งนี้ผู้คนนิยมเรียกสั้น ๆ ว่าสวนโมกข์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า วัดธารน้ำไหล สวนโมกขพลารามตามความหมายที่ปรากฏบนแผ่นป้ายของวัด อธิบายว่า “ต้นโมก ต้นพลา มีชื่อพ้องกับสวนโมกขพลาราม โมกะ แปลว่าหลุดพ้น , พละ แปลว่า กำลัง , อาราม แปลว่า ที่ร่มรื่น ที่รื่นรมย์ สวนป่าอันเป็นกำลังหลุดพ้น”     จุดสำคัญที่อธิบายอยู่ในแผนที่บริเวณวัด ได้แก่  1. กุฎิอาจริยบูชาท่านพุทธทาส หรือเรียกว่ากุฎท่านอาจารย์ ปัจจุบันเป็นหลังที่ 3 มีรูปหล่อพุทธทาสภิกขุให้ผู้ศรัทธาได้เคารพระลึกถึงคุณงามความดีที่ท่านมีต่อพุทธศาสนา ถัดออกมาเป็นรูปปั้นพระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร ประดิษฐานหน้าลานหญ้า “พระพุทธทาสได้จัดสร้างจากต้นแบบที่เป็นรูปปั้นสัมฤทธิ์เก่าแก่  ซึ่งพบที่เมืองไชยา เป็นสัญลักษณ์ของสุทธิ ปัญญา เมตตาและขันติ     2. ลานหินโค้ง เป็นที่ประกอบศาสนกิจของพระสงฆ์และผู้มาปฏิบัติธรรม ซึ่งในแผนที่บริเวณวัดได้อธิบายเกี่ยวกับสถานที่แห่งนี้ไว้ว่า “เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของสวนโมกข์ ที่เอื้อต่อการศึกษาปฏิบัติธรรมมากที่สุด สะท้อนแนวคิดของพุทธทาสภิกขุว่า มาสวนโมกข์ต้องได้พูดคุยกับต้นไม้ ก้อนหิน และได้เรียนรู้เรื่องธรรมะที่ปรุงแต่งและไม่ปรุงแต่ง ปัจจุบันเป็นที่ตักบาตรสาธิต ทำวัตรสวดมนต์ แสดงธรรม นั่งวิปัสสนา กิจธรรมเริ่มตั้งแต่ตีสี่ครึ่ง”     3. โรงมหรสพทางวิญญาณ ภายในมีสองชั้น กว้างประมาณ 10 เมตร ยาว 100 เมตร ภายนอกอาคารเป็นภาพแกะสลักชุดพุทธประวัติรอบอาคาร บริเวณด้านข้างอาคารมีก้อนหินวางเป็นระยะ บนผนังและเสาของอาคารมีภาพปริศนาธรรมมากมาย และภาพของท่านพุทธทาสเมื่อครั้งเดินทางไปอินเดีย เมื่อ ปี พ.ศ. 2498     4. สระนาฬิเกร์ และธารน้ำไหล บนเกาะกลางสระน้ำภายในวัด ที่แห่งนี้เป็นสระน้ำขนาดสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ 100 เมตร ยาวประมาณ 200 เมตร กลางสระเป็นเกาะเล็กๆ เนื้อที่ประมาณ 5 ตารางเมตร มีต้นมะพร้าวเล็กๆ ปลูกอยู่หนึ่งต้น ท่านพุทธทาสตั้งใจให้สระนาฬิเกร์นี้ เป็นสื่อในการสอนธรรมะอีกอย่างหนึ่งว่า “นิพพนานนั้นอยู่ท่ามกลางวัฏฏะสงสาร”    5. โบสถ์บนเขาพุทธทอง ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่กลางแจ้งบนเขาพุทธทอง เป็นที่ตั้งอุโบสถแบบสวนโมกข์ เป็นโบสถ์พื้นดินตามธรรมชาติอย่างที่เคยมีในครั้งพุทธกาล ธรรมชาติที่มีอยู่โดยรอบบริเวณ เปรียบเสมือนอาคารของโบสถ์ มีเสาปักไว้โดยรอบกำหนดเขต เพื่อใช้เป็นที่ประกอบสังฆกรรม    6. อาคารสร้างคล้ายเรือสำเภาขนาดใหญ่ 2 ลำ ลำแรกชื่อว่า ธรรมวารีนาวาอิสรกุลนฤมิต เป็นอาคารอเนกประสงค์ “อุปมาเหมือนเป็นเรือข้ามฟากหรือข้ามวัฏสงสารให้พ้นจากความทุกข์ ข้ามฟากจากความมีทุกข์ไปสู่ความไม่มีทุกข์ จากความโง่ไปสู่ความฉลาดอิงกับพุทธปรัชญา นาวาแห่งธรรมนำสรรพสัตว์ข้ามห้วงแห่งทุกข์” ลำที่ 2 ชื่อว่า เรือใหญ่หรือธรรมวารีนาวา อธิบายว่า “ชั้นล่างเป็นที่เก็บน้ำฝน ชั้นบนเป็นศาลาอเนกประสงค์สำหรับประชุม ฟังเทศน์เวลาฝนตก ที่หัวเรือเป็นที่ตั้งของห้องสมุดโมกขบรรลัย”    “สวนโมกขพลาราม” นี้ ถือเป็นสถานปฏิบัติธรรมชั้นแนวหน้าของเมืองไทยเป็นแหล่งบ่มเพาะเรียนรู้พระพุทธศาสนา ที่มีผู้ศรัทธามากแห่งหนึ่ง ด้วยภายในอาณาบริเวณของสวนโมกข์ มีความร่มรื่น  สงบ เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรม กล่อมเกลาจิตใจและศึกษาพระพุทธศาสนา มีโรงมหรสพทางวิญญาณ ซึ่งประกอบด้วยภาพศิลป์ บทกวี คติธรรมคำสอนในพุทธศาสนานิกายต่างๆ รวมถึงพุทธประวัติ และภาพจำลองจากภาพหินสลักเกี่ยวกับพุทธประวัติในอินเดีย และบริเวณไม่ไกลจากสวนโมกข์ มีส่วนรุกขชาติเขาพุทธทอง ซึ่งเป็นสถานที่รวบรวมพันธ์ไม้ที่มีค่าไว้มากมาย   อ้างอิง - พระมหาสุรชัย ชยาภิวฑฺฒโน (พุดชู), พุทธปรัชญาเซนในสวนโมกขพลาราม (วิทยานิพนธ์ประจำหลักสูตรพุทธศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2563), หน้า 39-40. - Surat vans. (2564). สวนโมกขพลาราม, สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2564. จาก. https://www.suratvans.com/suan-mokh/




Messenger