ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,778 รายการ

          เศียรประติมากรรมบุรุษ หรือเศียรทวารบาล           แบบศิลปะ : ลพบุรี           ชนิด : หินทราย           ขนาด : สูง 33 เซนติเมตร           อายุสมัย : พุทธศตวรรษที่ 18           ลักษณะ : เศียรประติมากรรมบุรุษ สวมเทริดแบบกะบังหน้า ตรงกลางทำลายรูปขนมเปียกปูน มีแถวลายรูปสามเหลี่ยมและลูกประคำ ด้านบนเป็นมงกุฎยอดแหลมรูปกลีบบัวซ้อนกัน 3 ชั้น พักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม มีอุณาโลมหรือตาที่สามบริเวณกลางพระนลาฏ ขนงหนาเป็นปื้นและปลายชี้ขึ้นเล็กน้อย ขอบเนตรเป็นเส้นซ้อนกัน 2 ชั้น ปลายเฉียง นาสิกใหญ่ โอษฐ์หนา เหนือโอษฐ์มีเส้นมัสสุ แย้มสรวลเล็กน้อย           สภาพ : ค่อนข้างสมบูรณ์ มีรอยบากบริเวณปรางซ้าย นาสิกหักชำรุด           ประวัติ : พบจากการขุดแต่งโบราณสถานเนินทางพระ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ย้ายจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 1544           สถานที่จัดแสดง :ห้องศาสนศิลป์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี     แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi/360/model/13/   ที่มา: hhttp://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi


องค์ความรู้สุพรรณบุรี เรื่อง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี ผู้เรียบเรียง : นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ


พระบัวเข็มปรกมังกรวัสดุ : รักสมุก ปิดทองแบบศิลปะ/อายุสมัย : ศิลปะพม่า อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕ (๑๐๐-๒๐๐ ปีมาแล้ว)ประวัติ : ผู้ว่าราชการจังหวัดน่านรับมอบจากพระครูศิริคุณาทาน เจ้าอาวาสวัดท่าล้อ อำเภอภูเพียง จังหวัดน่านรูปลักษณะแบบเดียวกับพระพุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิราบบนขนดนาค พระพักตร์ใหญ่ พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่งเล็ก พระโอษฐ์แย้ม พระกรรณยาวจรดพระอังสา ครองจีวรห่มเฉียงจีบเป็นริ้ว เหนือศีรษะทำเป็นมังกรหรือนาคโผล่หัวง้ำหน้าออกมา หางนาคยาวอ้อมด้านหลังพันรอบฐาน ฝังตะกรุดหรือเข็มมนตร์ ๔ จุด หัวไหล่ ๒ และหัวเข่า ๒ ใต้ฐานมีรูปกอบัว หอย และรูปปลา เพราะเชื่อว่าท่านมาจากกลางมหาสมุทร หรือทะเลสาปพระบัวเข็มในตำนานเรียกว่า “พระทักษิณสาขา” (พระที่ทำจากกิ่งไม้โพธิ์แห้งร่วงจากทิศใต้) บางคนมักสับสนกับพระอุปคุต ถูกเคารพบูชาในฐานะ “พระโพธิสัตว์” หรือพระพุทธรูปรูปแบบหนึ่ง ที่พัฒนามาจากเทพพื้นเมืองในฝ่ายอินเดียและลังกา คือ แปลงจากท้าวกุเวรและคณะ ชาวมอญได้นำมาผสมกับพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทั้งพระอุปคุตและพระบัวเข็ม มีจุดกำเนิดจากวัฒนธรรมมอญ (สะเทิม) และปยู่ (ศรีเกษตร) พม่า มีรากฐานจากคติพุทธเถรวาท นิกายสรวาสติวาทิน ลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยมีใบบัวปรกผม ฝังตะกรุด เข็มมนตร์ หรือพระธาตุ ๕ - ๙ จุด ดังนี้ หน้าผาก ๑, หัวไหล่ ๒, ข้อศอก ๒, หัวเข่า ๒ และหลังมือ ๒ (ฝ่าเท้า,ด้านหลัง) บริเวณใต้ฐานประดับต้นดอกบัว กุ้งหอยปูปลาคนล้านนานิยมบูชาพระบัวเข็ม จากความเชื่อจะให้คุณในด้านปัญญาดี จิตใจผ่องใส ดำเนินชีวิตเป็นสุขด้วยปัญญาบารมี อภินิหารในทางชนะหมู่มาร ลาภสักการะ ความร่ำรวย นอกจากนี้พระบัวเข็มยังเป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับน้ำ และความอุดมสมบูรณ์ การบูชาจะตั้งองค์พระบนแท่นที่หล่อน้ำในพานหรือขันล้อมองค์พระไว้เสมอ เป็นสัญลักษณ์ของความชุ่มฉ่ำเย็น เพราะเชื่อว่าท่านมาจากกลางมหาสมุทร หรือทะเลสาปเอกสารอ้างอิงอรุณศักดิ์ กิ่งมณี. ทิพยประติมา ที่มา ความหมาย ๑๔ ทิพยเทพแห่งโชคลาภ-อุดมสมบูรณ์ของไทยและเอเชีย. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส. ๒๕๖๐.


ชื่อเรื่อง                     ปทุมน่าเที่ยว เล่มเดียว เที่ยวทั่วปทุมครั้งที่                       -ผู้แต่ง                       จังหวัดปทุมธานีประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                 -หมวดหมู่                   ภูมิศาสตร์และการท่องเที่ยวเลขหมู่                      915.93 ป154สถานที่พิมพ์               จังหวัดปทุมธานีสำนักพิมพ์                 ปทุมธานีปีที่พิมพ์                    ม.ป.ป.ลักษณะวัสดุ               84 หน้า : มีภาพประกอบ ; 21 ซม.หัวเรื่อง                     ปทุมธานี -- ภูมิศาสตร์และการท่องเที่ยวภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก        รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลประชาสัมพันธ์ และแหล่งท่องเที่ยงที่สำคัญของจังหวัดปทุมธานี



องค์ความรู้ เรื่อง วันข้าราชการพลเรือน ผู้เรียบเรียง : นางสาวทิพย์สุดา อาจดี เจ้าพนักงานห้องสมุดปฏิบัติงาน


          พระพุทธรูปประทับยืนเหนือเศียรพระอรุณาทิตย์           - ทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒– ๑๖)           - หิน           - ขนาด กว้าง ๓๔ ซม. สูง ๔๔ ซม.           พบในจังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปปางประทานธรรมประทับอยู่เหนือพระอรุณาทิตย์ เทพแห่งแสงสว่างในศาสนาพราหมณ์ตามความเห็นของ หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ ในขณะที่ ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ได้ประทานคำอธิบายว่าเป็นครุฑ ปรากฎูรูปบุคคลยืนเอียงกายบนดอกบัวอยู่ทั้งเบื้องขวา และซ้าย   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=40212   ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th


          หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ตรัง ขอเชิญชวนน้องๆ อายุระหว่าง 6 - 10 ปี เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ "ระบายสี สร้างจินตนาการไปกับสัตว์ตัวโปรด" พบกับกิจกรรม เล่านิทานกับหนังสือสัตว์เล่มโปรดของฉัน, ประดิษฐ์หมวกรูปสัตว์ตัวโปรด, เล่นบอร์ดเกม  พร้อมลุ้นรับของรางวัล ในวันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน 2567 เวลา 13.30 - 15.30 น. ณ ห้องรักการอ่าน ชั้น 1 หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ตรัง ร่วมกิจกรรมได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย รับจำนวนจำกัด สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 21 มิถุนายน 2567 ได้ที่เฟซบุ๊กเพจ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ตรัง  ติดต่อสอบถามได้ที่ 06 4229 2540 (พี่เชฟ), 08 5474 5150 (พี่ปุ๋ย)


ชื่อโบราณวัตถุ : ภาชนะดินเผาเขียนสีแบบศิลปะ : สมัยก่อนประวัติศาสตร์ชนิด :  ดินเผาขนาด : สูง 26 เซนติเมตร ปากกว้าง 14.5 เซนติเมตรอายุสมัย : วัฒนธรรมบ้านเชียงสมัยปลาย 2,300 - 1,800 ปีมาแล้วลักษณะ : ภาชนะดินเผามีเชิง เขียนสีแดงรูปเส้นโค้งบริเวณกลางลำตัวคล้ายงู และลายอื่น ๆ ทั่วทั้งใบสภาพ : ...ประวัติ : ...สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีคิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :(ท่านสามารถโหลดและนำไปใช้เพื่อการทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่อได้)แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่  http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang/360/model/27/ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang




ผู้แต่ง : ทศ คณนาพร ปีที่พิมพ์ : ม.ป.ป. สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์เอ็นสแควร์      เรื่องเล่า เวียงเจียงใหม่ เป็นการเล่าถึง ประวัติศาสตร์วีรกรรมของเหล่าบรรพชนล้านนา ที่ร่วมแรงร่วมใจกันก่อร่างสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้น รวมถึงเหตุการณ์นานา ทั้งภายนอกและภายใน ความเจริญรุ่งเรืองอย่างก้าวหน้าของเมืองเชียงใหม่ ด้านศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี การปกครอง เศรษฐกิจการค้าที่มีมาอย่างยาวนานกว่า 700 ปี จึงยังประโยชน์ และควรค่าแก่รับทราบถึงรากเหง้า และความเป็นมานี้ด้วยความภาคภูมิใจ และเป็นบทเรียนสอนใจในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดีอีกด้วย


                                   



กรมศิลปากรรับเป็นเจ้าภาพในกัณฑ์ที่ ๒ “กัณฑ์หิมพานต์” ซึ่งมีรองอธิบดี   นางประนอม  คลังทอง และนายสตวัน  ฮ่มซ้าย ผู้อำนวยการสำนักสถาปัตยกรรม เข้าร่วมในพิธีฟังเทศน์      เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๔.๐๐ น. – ๑๕.๐๐ น.


Messenger