ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,783 รายการ
ชื่อเรื่อง นิทานธาตุพนม (นิทานพระมหาธาตุ)
สพ.บ. 254/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 12 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.153/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 93 (1-16) ผูก 4 (2565)หัวเรื่อง : สทฺทสารตฺชาลินี(ศัพท์สัททสารัตถชาลินี)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
หมอเจ้าฟ้า (ตอนที่ ๒)เมื่อสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรและวิชาสาธารณสุขศาสตร์แล้ว ทรงตั้งพระทัยที่จะนำความรู้มาใช้ประโยชน์ด้วยการเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาล การวิจัยเรื่องเชื้อโรค การสำรวจความเป็นอยู่ของประชาชนในแง่สุขาภิบาล ซึ่งทรงปฏิบัติให้สอดคล้องกับงานพัฒนากิจการแพทย์สยามของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ผู้บัญชาการโรงเรียนแพทยาลัย ทั้งยังทรงช่วยจัดการเรื่องการศึกษาวิชาแพทย์ให้เจริญขึ้น การยกฐานะพื้นความรู้ของนักเรียนแพทย์จากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ขึ้นเป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๘ และทรงสอนนักเรียนแพทย์ด้วยพระองค์เองในวิชากายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบ (Comparative Vertebrate Anatomy)อย่างไรก็ตาม ด้วยฐานันดรศักดิ์ของพระองค์ทำให้เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติงานทางการแพทย์ เนื่องจากประเพณีปฏิบัติบางประการของราชสำนัก จึงแจ้งพระประสงค์ที่จะเสด็จไปทำงานในหน้าที่แพทย์ประจำโรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว นายแพทย์เอ็ดวิน ซี.คอร์ท ผู้อำนวยการโรงพยาบาลก็ตอบรับด้วยความยินดี วันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๒ เสด็จไปทรงงานเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลแมคคอร์มิค ทรงปฏิบัติหน้าที่แพทย์อย่างเต็มพระกำลัง พระจริยวัตรที่ทรงปฏิบัติกับคนไข้ โดยทรงแสดงออกถึงความเอาพระทัยใส่ ดูแลและให้ความเห็นใจในความทุกข์ร้อนของผู้ป่วยและญาติ ทำให้ทรงเป็นที่ประทับใจของชาวเชียงใหม่ในสมัยนั้น และเรียกพระองค์ว่า “หมอเจ้าฟ้า”วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ เสด็จกลับกรุงเทพมหานคร ในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงษาภิมุข เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช ทรงประชวรด้วยโรคฝีเป็นพิษและโรคพระวักกะ (ไต) พิการ และสิ้นพระชนม์ ในวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒ด้วยทรงปฏิบัติพระภารกิจในการวางรากฐานและสร้างคุณูปการแก่วงการแพทย์ให้เจริญก้าวหน้า บุคลากรทางการแพทย์จึงถวายพระสมัญญาว่า “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย” นอกจากนี้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ร่วมใจกันสร้างพระราชานุสาวรีย์ขึ้น ณ โรงพยาบาลศิริราช โดยมอบให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการสร้าง ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี เป็นผู้ควบคุม เพื่อน้อมเกล้าถวายและเฉลิมพระเกียรติคุณ ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินในพิธีเปิดพระราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ และในวันที่ ๒๔ กันยายน ปีเดียวกันนี้ นักศึกษาแพทย์ได้ริเริ่มจัดงานเนื่องในวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ โดยมีพิธีวางพวงมาลา ถวายบังคมพระรูป อ่านคำสดุดีพระเกียรติ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ คณะแพทยศาสตร์พร้อมด้วยศิริราชพยาบาล ได้มีความเห็นว่าควรยึดถือวันที่ ๒๔ กันยายนของทุกปี เป็นวันที่น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ที่มีต่อการแพทย์และสาธารณสุขไทย โดยใช้ชื่อว่า “วันมหิดล” ซึ่งงานวันมหิดลได้จัดขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรก ในวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๙ โดยจัดพิธีสงฆ์ ทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารเช้า และการนำพวงมาลาสักการะพระราชานุสาวรีย์ผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุ ชำนาญการภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่อ้างอิง : ๑. รุ่งทิพย์ สุวรรณอภิชน. ๒๕๕๙. เจ้าดารารัศมี: พระศรีมิ่งเมืองเชียงใหม่. กรุงเทพมหานคร: เม็ดทรายพริ้นติ้ง.๒. ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. ๒๕๕๙. เจ้าฟ้า เจ้าชายในพระพุทธเจ้าหลวง. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน.
นิพฺพานสุตฺต (นิพฺพานสูตร)
ชบ.บ.75/1-1ฐ
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
อุโปสถกมฺมกถา (อุโปสถกรรมกถา)
ชบ.บ.97/1-1
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.311/13ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 38 หน้า ; 4 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 126 (306-312) ผูก 13 (2565)หัวเรื่อง : ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา(ธรรมบท)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.333/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 4 x 54.5 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 133 (359-369) ผูก 5 (2565)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา(ทศชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา ภูริทัตต์--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันสงกรานต์ 13 เมษายน”
วันสงกรานต์ ตรงกับวันที่ 13 เมษายนของทุกปี คำว่า "สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า การเคลื่อนที่ หรือการ เคลื่อนย้าย หมายถึงการเคลื่อนย้ายของพระอาทิตย์จากราศีหนึ่งสู่อีกราศีหนึ่ง คือวันขึ้นปีใหม่นั่นเองตามความหมายในภาษาสันสกฤตสงกรานต์จึงเกิดขึ้นทุกเดือน ส่วนระยะเวลาที่คนไทยเรียก "สงกรานต์” นั้น เป็นช่วงที่พระอาทิตย์เคลื่อนย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ นับว่าเป็นมหาสงกรานต์ เพราะเป็นวันและเวลาตั้งต้นปีใหม่ตามสรุยคติ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ คือ วันที่ 13-14-15 เมษายน โดยเรียกวันที่ 13 เมษายน ว่าวันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 เมษายน เป็นวันเนา วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก
สมัยก่อนถือวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย ตรงกับช่วงหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ธัญญาหาร คนสมัยโบราณจึงคิดทำกิจกรรมเพื่อเป็นการพักผ่อนหลังจากทำงาน และเปิดโอกาสให้หนุ่มสาวได้พบกันและเล่นสาดน้ำกัน เพื่อคลายความร้อนในเดือนเมษายน
ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงให้พิธีสงกรานต์นั้นเป็นเทศกาลสงกรานต์ ในพิธีสงกรานต์จะใช้ น้ำ เป็นสัญลักษณ์ที่เป็นองค์ประกอบหลักของพิธี แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ในวันนี้จะใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ มีการรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ต่อมาในสังคมไทยสมัยใหม่เกิดเป็นประเพณีกลับบ้านในช่วงเทศกาลสงกรานต์ นับว่าวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว อีกทั้งยังมีประเพณีที่สืบทอดมาตั้งแต่ดั้งเดิม อย่าง การสรงน้ำพระที่นำมาซึ่งความเป็นสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข
การสรงน้ำพระ การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ การเล่นสาดน้ำในคนรุ่นราวคราวเดียวกัน หรือเยาว์กว่า เป็นความงดงามของประเพณี การสืบทอดจรรโลงประเพณีสงกรานต์จึงน่าจะช่วยกันรักษาคุณค่าทางใจ ความมีน้ำใจ การมีสัมมาคารวะและกตัญญู การช่วยเหลือเกื้อกูลต่อธรรมชาติต่อสิ่งแวดล้อม
เชื่อว่า คนไทยทุกคนรู้จัก "นางสงกรานต์" แต่เราอาจจะยังไม่รู้ว่า นางสงกรานต์ มีที่มาจากไหน
โดยตำนานเกี่ยวกับนางสงกรานต์นั้น ได้มีปรากฏในศิลาจารึกที่ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือ วัดโพธิ์ ท่าเตียน โดยย่อว่า เมื่อวันสงกรานต์ตรงกับวันใดในแต่ละปี ก็จะมีนางสงกรานต์ประจำวันนั้นๆ
เมื่อวันสงกรานต์ตรงกับวันใดในแต่ละปี ก็จะมีนางสงกรานต์ประจำวันนั้นๆ ตรงกับวันอาทิตย์ จะชื่อ “ทุงษเทวี” ตรงกับจันทร์ ชื่อ “โคราดเทวี” ตรงกับวันอังคาร ชื่อ”รากษสเทวี” ” ตรงกับวันพุธ ชื่อ”มัณฑาเทวี” ตรงกับวันพฤหัสบดีชื่อ “กิริณีเทวี” ตรงกับวันศุกร์ ชื่อ “กิมิทาเทวี” ตรงกับวันเสาร์ ชื่อ”มโหทรเทวี”
ธรรมบาลกุมาร เป็นเทพบุตรที่พระอินทร์ประทานให้ลงไปเกิดในครรภ์ภรรยาเศรษฐี เมื่อโตขึ้นก็ได้เรียนรู้ภาษานก และเรียนไตรเภทจบเมื่ออายุได้เพียง 7 ขวบ จึงได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่างๆ แก่คนทั้งหลาย จนวันหนึ่ง ท้าวกบิลพรหม ได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ โดยถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสียเอง โดยธรรมบาลกุมารได้ขอตอบคำถามใน 7 วัน
เมื่อถึงเวลา ท้าวกบิลพรหม ก็มาตามสัญญาที่ให้ไว้ ธรรมบาลกุมารจึงนำคำตอบที่ได้ยินจากนกไปตอบกับท้าวกบิลพรหม ทำให้ท้าวกบิลพรหมแพ้ในการตอบคำถามครั้งนี้ และก่อนจะตัดเศียร ท้าวกบิลพรหม ได้เรียก ธิดาทั้ง 7 องค์ ซึ่งเป็นนางฟ้า ให้เอาพานมารองรับ เนื่องจากเศียรของท้าวกบิลพรหมเป็นที่รวมแห่งความไม่ดีทั้งปวง ถ้าวางไว้บนแผ่นดินไฟจะไหม้โลก ถ้าโยนขึ้นไปบนอากาศฝนจะแล้ง ถ้าทิ้งลงในมหาสมุทรน้ำจะแห้ง
ธิดาทั้ง 7 จึงมีหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันดูแลเศียรของท้าวกบิลพรหม และในทุกๆ ปี ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหม แห่ไปรอบเขาพระสุเมรุ เป็นเวลา 60 นาที แล้วประดิษฐานไว้ในถ้ำคันธุลี ในเขาไกรลาศ จึงเป็นที่มาของ นางสงกรานต์ โดยแต่ละนางจะทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์นั่นเอง
คติความเชื่อของไทยถือว่าในวันสงกรานต์ถ้าหากได้มีการปล่อยนกปล่อยปลาแล้ว จะเป็นการล้างบาปที่ทำไว้ และเป็นการสะเดาะเคราะห์ร้าย ให้คงไว้แต่ความสุขความเจริญในวันขึ้นปีใหม่ การปล่อยนกปล่อยปลาที่ทำเป็นพิธีและติดต่อกันทุกๆปี จะเห็นได้ที่ปากลัดที่มีขบวนแห่ที่สวยงาม และเอกเกริกในตอนเย็น ตอนกลางคืนจะมีการละเล่นต่างๆ เช่น การเล่นสะบ้า คนหนุ่มสาวจะมีโอก่าสได้ใกล้ชิดกัน
วันที่เกี่ยวข้องกับวันสงกรานต์คือวันตรุษไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ซึ่งถือว่าเป็นวันสิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่ของไทยในสมัยโบราณคู่กับวันสงกรานต์ ที่เรียกว่า “ตรุษสงกรานต์” ตรุษ แปลว่า ยินดี หมายถึงยินดีที่มีชีวิตยั่งยืนจนถึงวันนี้ จึงจัดพิธีแสดงความยินดี โดยการทำบุญ ไม่ให้ประมาทในชีวิต ปกติจะจัด 3 วัน วันแรก คือแรม 14 ค่ำ เป็นวันจ่าย วันกลาง คือแรม 15 ค่ำ เป็นวันทำบุญ มีการละเล่นจนถึงวันที่ 3 คือขึ่น 1 ค่ำ เดือน 5 ปัจจุบันนิยมรวบยอดมาทำบุญและเล่นสนุกสนานในวันสงกรานต์ช่วงเดียว
อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์, อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549.
บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541.
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้
นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
ดาวน์โหลดหรืออ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1Xto-vfYABofQX48A5qVyaFoARgEIbDT0/view?fbclid=IwAR0deQJerNprL8BTILcMYJJQZzTvdRN3ZencJqujbIUtUBTwMCtpIYluuSI
กรมศิลปากรเริ่มดำเนินการสำรวจและขึ้นทะเบียนโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเป็นครั้งแรก โดยประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม พุทธศักราช 2478 ครั้งนั้นเป็นจำนวน 75 แห่ง แล้วจึงดำเนินการสำรวจเพื่อขุดแต่งบูรณะตั้งแต่พุทธศักราช 2496 เรื่อยมา จนในพุทธศักราช 2519 กรมศิลปากรริเริ่มจัดทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเมืองโบราณสุโขทัยให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและผลจากการดำเนินงานมีการสำรวจพบโบราณสถานรวมทั้งหมด 193 แห่งพร้อมทั้งจัดพิมพ์เป็นหนังสือ “ทำเนียบโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย” เมื่อพุทธศักราช 2531 ช่วงเวลาที่ผ่านมากว่า 30 ปีมีการอนุรักษ์และพัฒนาทางโบราณคดีในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยอย่างต่อเนื่อง ทั้งการสำรวจ ศึกษาค้นคว้า และขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดี เป็นผลให้มีการค้นพบโบราณสถาน และข้อมูลความรู้ใหม่ๆ มากมาย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยทบทวนข้อมูลทำเนียบโบราณสถานขึ้น ซึ่งผลการดำเนินงานที่ผ่านมามีการค้นพบโบราณสถานทั้งสิ้น 218 แห่ง เพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 25 แห่ง จึงเห็นสมควรปรับปรุงหนังสือ ทำเนียบโบราณสถานฉบับเดิมให้เป็นปัจจุบันพุทธศักราช 2561 โดยมอบหมายให้ฝ่ายวิชาการของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยดำเนินการสำรวจโบราณสถานทั้งหมด พร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไขข้อมูล และหลักฐานทางโบราณคดีที่มีการค้นพบใหม่ โดยมีนางสาวนุชจรี ผ่องใสศรี เป็นผู้เรียบเรียง กรมศิลปากรหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ศึกษาค้นคว้า ประวัติศาสตร์โบราณคดีโบราณสถานเมืองโบราณสุโขทัยสืบต่อไป...................................................................................................... ทั้งนี้สามารถดาวน์โหลดหรืออ่านรายงานทางโบราณคดีของอุทยานระวัติศาสตร์สุโขทัย เล่มอื่นๆ ได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้
1. รายงานการดําเนินงานทางโบราณคดีแหล่งเตาทุเรียงเมืองเก่าสุโขทัย ตําบลเมืองเก่า อําเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณพุทธศักราช 2559-2560 : ดาวน์โหลดและอ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1ZD-1vyJ470F9UFZrUl_5J-rVopdN5o1k/view?fbclid=IwAR3T8mO0yPXn2macRSffAqkSZ8YuWokrvC1jdTnRwmLSnj9-KqejhoN4-HM
2. รายงานการดำเนินงานทางโบราณคดีโครงการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งน้ำโบราณเมืองสุโขทัย ทำนบ 7 อ. (บารายเมืองสุโขทัย) ปี 2560-2561 : ดาวน์โหลดและอ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1MP-IpELV04s9MLDW-4bwVCSuGS2iwcSa/view?fbclid=IwAR2_2ZGtDrdZETawza9A2SyXafx0beVeSZ9I7K5jTVgAwoY9AZ5BCJA2IkQ
3. รายงานการบูรณะเตาทุเรียงเมืองเก่าสุโขทัย ตําบลเมืองเก่า อําเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณ 2561 : ดาวน์โหลดและอ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1PzxCFznNifILdcfpslw4sGgtTYEX0XqC/view?fbclid=IwAR0li4nEt2Rt28dyecx0b7UskLPSp6wxEb-j6IBwBwnJ1mek1X9V_qLm4aU
4. รายงานการวิเคราะห์โบราณวัตถุที่พบจากการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งน้ำโบราณเมืองสุโขทัย ทำนบ 7 อ. (บาราย) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 : ดาวน์โหลดและอ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1jh2EwIfUHjD-znhaheoB-NwMQrksPIY-/view?fbclid=IwAR3o2NVW9lnQVoVIbR6Fq1i8M-QNP0TQDXgiU-OUOEUGxnXl-FE1ydAnIwQ
5. การศึกษาทางโบราณคดีเพื่อจัดลำดับอายุสมัยของแหล่งศิลปกรรมเมืองสุโขทัย ปีงบประมาณ 2561 : ดาวน์โหลดและอ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1EoIqbl9qQ8z4ieqBF_2c8jmTd16nJ8vC/view?fbclid=IwAR0ep8psjPsGjhUqmPCAcbMHvgZlFLx42tdCzLuPc-gdbVkLiQH5lKCOthg
6. รายงานโครงการขุดแต่งทางโบราณคดีเพื่อออกแบบบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์วัดจระเข้ร้อง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณ พ.ศ.2562 : ดาวน์โหลดและอ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1RqrotlUUKsDu1tnUra-1sMKVJOODoIuO/view?fbclid=IwAR2lIsUHTjbL7tCDy2tS6M_PmuE23CTaYrMbCnbDZq6lUNfxuGUbSKbub8s
7. รายงานการขุดแต่งโครงการ ขุดแต่งทางโบราณคดี เพื่อออกแบบบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์วัดป่ามะม่วงตะวันตก วัดตระพังกระดาน และวัดร้างตต.26/1 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 : ดาวน์โหลดและอ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1T40fgFzYaYaIfHWJnLHBktj1O5UwqaY_/view?fbclid=IwAR11frHmh5RiKIJK15E5PNz2_rPwJ2EKGwpVXWIucsqzVr63kiNG38NEkc8
8. โครงการขุดแต่งทางโบราณคดีเพื่อออกแบบบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์โบราณสถานวัดตระพังช้างเผือกและวัดป่าขวาง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณ พุทธศักราช 2562 : ดาวน์โหลดและอ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1Gq02yClJys7ULyeRpXBuT_skrlBs3H5z/view?fbclid=IwAR3AnbZEnkuUg8hUQ6MzBgJedDGga5P42aO8TFv_w-cj0mt6BbljMXPPmBo
9. รายงานการดำเนินงานทางโบราณคดีโครงการขุดแต่งทางโบราณคดี เพื่อออกแบบบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์กลุ่มโบราณสถานเขตอรัญญิก อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณ พุทธศักราช 2563 : ดาวน์โหลดและอ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1CFQnNsep2xqmoFLxZudMEFdf7oVKfQbu/view?fbclid=IwAR049v2iQOzvHY9pS5E0jlusfpws6RsNGtXc057h3n4jJCU0XpwEOQ7jL9o
10. รายงานการดำเนินงานทางโบราณคดีโครงการขุดแต่งทางโบราณคดี เพื่อออกแบบบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์ กลุ่มโบราณสถานเขาพระบาทใหญ่ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัยปีงบประมาณ พุทธศักราช 2563 : ดาวน์โหลดและอ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/10l0fRTLev_pxuUtiL6XPsh3NwF9owgZJ/view?fbclid=IwAR3P9MyqjtaiNa5DbPS147wgAjIVFc09CURfLTjzwU8LSIhdVF36dI9ceng
11. รายงานการดำเนินงานทางโบราณคดีโครงการขุดแต่งทางโบราณคดี เพื่อออกแบบบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์กลุ่มโบราณสถานวัดไผ่ยายลิ้ม-วัดหินตั้ง อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ปีงบประมาณ พุทธศักราช 2563 : ดาวน์โหลดและอ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1HRNJtldkTXlHnWGonqVgx8ROwzxqhGjI/view?fbclid=IwAR1WWlkoFb85vlgMR7zRCL0GaGUSTxvyjyUh9fcVhleTJxNgW_qhX41kBlM
12. รายงานการขุดค้นทางโบราณคดีวัดศรีสวาย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ปีพุทธศักราช 2553 : ดาวน์โหลดหรืออ่านได้ที่ : https://drive.google.com/file/d/1uVVaNhkkLCslnEN0SRV6BS7Y4DX-lwP-/view?fbclid=IwAR1qnHOnxeUXpmgIkEwXfMGPL8mQ55YGp1qQe2B0bariBUAYrqOtGR7J46M
----------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล :อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย https://www.facebook.com/skt.his.park/photos/a.460716740647506/5689804991071962
พระพุทธรูปยืนแสดงปางถวายเนตร
สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช ๒๔๕๒
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริให้สร้างขึ้นไว้เป็นต้นแบบ
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ ห้องรัตนโกสินทร์ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พระพุทธรูปยืนแสดงปางถวายเนตร เป็นงานประติมากรรมปูนปั้นลงสี พุทธลักษณะมีความเสมือนจริงซึ่งเลียนแบบมาจากพระพุทธรูปในศิลปะอินเดียแบบคันธาระ อาทิ พระเกศารวบขึ้นเป็นมวย ครองจีวรแบบห่มคลุม จีวรแสดงรอยยับของผ้า นิ้วพระหัตถ์และพระบาทมีลักษณะเหมือนจริง ทรงยืนเหนือฐานบัวมีเกสร ซึ่งการแสดงปางถวายเนตรนั้น มีที่มาจากเรื่องราวในพุทธประวัติกล่าวว่า สัปดาห์ที่สองหลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ พระองค์เสด็จประทับ ณ อนิมิสเจดีย์ โดยทรงยืนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทรงลืมพระเนตรโดยไม่กะพริบ (ปัจจุบันพระพุทธรูปปางนี้ เป็นพระพุทธรูปประจำวันอาทิตย์)
การสร้างพระพุทธรูปอินเดียแบบศิลปะคันธาระ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เกิดขึ้นเนื่องจากพระองค์ทรงมีพระประสงค์ให้สร้างพระพุทธรูปที่มีลักษณะเสมือนมนุษย์จริง อาทิ พระเศียรไม่ปรากฏพระรัศมีและอุษณีษะ แต่แสดงการเกล้าผมขึ้นเป็นมวย พระวรกายแสดงกล้ามเนื้อ และครองจีวรหนา ริ้วจีวรแบบธรรมชาติ ซึ่งต่างจากการสร้างพระพุทธรูปตามแบบมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการในงานศิลปะไทยประเพณี โดย นายอัลฟอนโซ ทอร์นาเรลลี (Alfonso Tornarelli) ประติมากรชาวอิตาลีเป็นผู้ปั้น นอกจากนี้มีตัวอย่างประติมากรรมสำคัญชิ้นอื่น อาทิ พระพุทธรูปปางขอฝน ซึ่งมีพุทธศิลป์เช่นเดียวกับพระพุทธรูปปางถวายเนตรองค์นี้
พระพุทธรูปปางถวายเนตรองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงเป็นผู้ดำริแบบอย่างไว้ด้วยพระราชประสงค์ที่จะให้ประดิษฐานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระศรีมหาโพธิ์ วัดเบญจมบพิตร อีกทั้งมีพระราชประสงค์จัดสร้างขึ้นเพื่อทรงพระราชอุทิศให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภชที่สิ้นพระชนม์ไปเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๒
ส่วนพุทธลักษณะของพระพุทธรูปองค์นี้เป็นไปตามพระราชประสงค์ดังปรากฏลายพระหัตถ์ความตอนหนึ่งว่า “...อยากเห็นพระเป็นคน อยากให้เห็นหน้าเป็นคน ฉลาด อดทนมีความคิดมาก ไม่ใช่ทำหน้าบึ้ง ไม่ใช่นั่งยิ้มกริ่ม ไม่ใช่นั่งหลับเผลอไผล ให้เต็มอยู่ด้วยสติสัมปชัญญะ...” ซึ่งนายอัลฟอนโซ ทอร์นาเรลลี (Alfonso Tornarelli) สามารถปั้นพระพุทธรูปปางถวายเนตรองค์นี้ได้ถูกพระทัยแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒
ต่อมาในเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ ๒๔๕๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานจัดพิธีหล่อพระพุทธรูปปางถวายเนตรองค์ใหญ่ ๑ องค์ และองค์เล็กอีก ๒ องค์* ณ พระที่นั่งอภิเษกดุสิต (ในพระราชวังดุสิต)
หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ (ป่วน อินทุวงศ์) กล่าวถึงประวัติพระพุทธรูปต้นแบบองค์นี้ว่า เดิมอยู่ในบริเวณบ้านพระยาบรรหาร ถนนดินสอ พระยาไชยวิชิต อธิบดีกรมราชทัณฑ์ให้ขุนอภิบาลไปเชิญมาไว้กองลหุโทษ การย้ายคราวนั้นปรากฏว่าฐานแตกชำรุดเสียหาย พระยานนทิเสนปฏิสังขรณ์ก่อฐานใหม่ด้วยปูนซีเมนต์ ปิดทองที่พระบาทและพระเศียร และทาสีแดงเลือดหมูที่จีวร จากนั้นประดิษฐานไว้ที่อาคารโถงแห่งหนึ่งในกองลหุโทษ สำหรับให้นักโทษได้กราบไหว้สักการะบูชา
ภายหลังสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีพระประสงค์ให้ย้ายมาเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถาน พระองค์ให้หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ (ป่วน อินทุวงศ์) เป็นผู้ดำเนินการติดต่อไปยังกรมกองลหุโทษ กระทั่งเมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๑ พระยาสุรทัณคณิศร เจ้ากรมกองลหุโทษ ได้ส่งพระพุทธรูปองค์นี้ให้กับพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร
อ้างอิง
กรมศิลปากร. พระพุทธรูปปางต่าง ๆ. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลปการพิมพ์, ๒๕๕๒.
กรมศิลปากร. ศิลปวิทยาการจากสาส์นสมเด็จ. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลปการพิมพ์, ๒๕๖๓.
ชลธีร์ ธรรมวรางกูร บรรณาธิการ. ประมวลเอกสารสำคัญเนื่องในการสถาปนาวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เล่ม ๓. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก, ๒๕๕๐. (พิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในงานออกเมรุพระราชทานเพลิงศพ พระพรหมจริยาจารย์ (สมุท รชตวณฺโณ) ป. ๗, พธ. ด. อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม, เจ้าคณะใหญ่หนใต้ เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐).
เด่นดาว ศิลปานนท์. “พระพุทธรูปต้นแบบฝีมือนายอันฟอนโซ ทอร์นาเรลลี.” ศิลปากร. ๔๙, ๖ (พฤษจิกายน ๒๕๔๙): ๑๑๔-๑๑๗.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์ : พัฒนาการของงานช่างและแนวคิดที่ปรับเปลี่ยน. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๕๖.
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (๔) ศธ.๒.๑.๑/๔. เอกสารกระทรวงศึกษาธิการ กรมศิลปากร เรื่อง พระพุทธรูปปางถวายเนตร กองลหุโทษ (๒ มิ.ย. - ๑๔ ธ.ค. ๒๔๗๑).
ๅ“การหล่อพระพุทธรูปถวายเนตร.” ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๒๖. ตอน ๐ง. (๒๓ มกราคม ๑๒๘): ๒๓๘๘-๒๓๙๐.