ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,783 รายการ

ชื่อเรื่อง                                สตฺตปฺปกรณภิธมฺมเทสนา (เทศนาสังคิณี-ปุคคลบัญัติ)สพ.บ.                                  132/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           22 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 ธรรมเทศนา  บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ไม่มีไม้ประกับ ได้รับบริจาคมาจากวัดกุฏีทอง ต.รั้วใหญ๋ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี  


เลขทะเบียน : นพ.บ.71/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  64 หน้า ; 4.6 x 50 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 46 (35-51) ผูก 3 (2564)หัวเรื่อง : วินยฺกิจ (วิไนยกิจจะ) --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.103/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  34 หน้า ; 4 x 50 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 60 (170-178) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : แทนน้ำนมแม่ --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.131/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  28 หน้า ; 5.5 x 56 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 77 (302-308) ผูก 7 (2564)หัวเรื่อง : พิมฺพาเถรีวตฺถุ (พิมฺพาเถรี)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.7/1-1 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : ลัทธิเอาอย่าง เปรียบนามสกุลกับชื่อแซ่ ชื่อผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ ปีที่พิมพ์ : 2509 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์ไทยแบบเรียน จำนวนหน้า : 140 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 เรื่อง ได้แก่ 1. เรื่องลัทธิเอาอย่าง บทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงชี้ให้เห็นโทษของการเอาอย่างหรือการประพฤติเลียนแบบในทางที่ผิดว่าเป็นเครื่องถ่วงความเจริญก้าวหน้าของชาติ 2. เรื่องเปรียบนามสกุลกับชื่อแซ่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2456 ซึ่งเป็นปีแรกที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติขนานนามสกุล มีเนื้อหาบอกเล่าที่มาของนามสกุล โดยเปรียบเทียบกับชื่อแซ่ 3. เรื่องพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พระพุทธศักราช 2456 มีเนื้อหาสำคัญระบุว่า ชื่อคนไทยทุกคนต้องประกอบด้วยชื่อตัวและชื่อสกุล โดยชื่อตัวคือชื่อที่ตั้งขึ้นตั้งแก่เกิด และชื่อสกุลคือชื่อประจำวงศ์สกุล ซึ่งสืบเนื่องมาจากบิดาถึงบุตร



      เสาชิงช้าเป็นเครื่องประกอบพิธียืนชิงช้า (โล้ชิงช้า) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพิธีตรียัมปวาย ตรีปวาย (พิธีต้อนรับพระอิศวรและพระนารายณ์ที่เสด็จลงมายังโลกมนุษย์ช่วงเทศกาลปีใหม่ของพราหมณ์) คติการโล้ชิงช้าสันนิษฐานว่าเกี่ยวข้องกับการบูชาพระสุริยะมาแต่เดิม เนื่องจากในคัมภีร์ฤคเวทกล่าวว่าพระอาทิตย์เปรียบดั่งชิงช้าสีทองที่ลอยอยู่บนฟ้า เหมือนกับการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ ต่อมาปรับเปลี่ยนและแทนที่ด้วยเทพสำคัญในยุคหลังอย่างพระศิวะ (อิศวร) เทพแห่งการทำลายล้างและสร้างขึ้นใหม่ ทั้งการแกว่งชิงช้ายังแกว่งไปตามแกนทิศตะวันออก-ตะวันตก สอดคล้องกับพระบรมราชอรรถาธิบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสรุปได้ว่า พิธีตรียัมปวาย ตรีปวาย เดิมจัดขึ้นในเดือนอ้ายคงเป็นเพราะพราหมณ์นับช่วงต้นฤดูหนาวเป็นช่วงผลัดเปลี่ยนปี เพราะฤดูหนาวเป็นเวลาพ้นจากมืดฝนจึงเปรียบดั่งเวลาเช้าและถือเป็นต้นปี ฤดูร้อนเป็นเวลาสว่างและร้อนดั่งกลางวันจึงถือเป็นกลางปี และฤดูฝนมืดครึ้มดั่งกลางคืนจึงถือเป็นปลายปี นอกจากนี้ ยังว่ากันว่าสีแดงของเสาชิงช้าคือสีแดงแห่งรุ่งอรุณ         ลักษณะของเสาชิงช้าช่างโบราณเรียกว่า “ประตูยอดเกี้ยว” ซึ่งลักษณะประตูเช่นนี้ปัจจุบันเหลือเพียงหลักฐานเอกสาร และงานจิตรกรรมฝาผนัง ที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวว่า “...ได้ยินมาว่าประตูพระนครชั้นเดิม ซึ่งสร้างในรัชกาลที่ ๑ เป็นประตูไม้ทาดินแดงมียอดเกี้ยว เหมือนเช่นที่เขียนไว้ที่ผนังด้านหน้าข้างในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง...” เรื่องราวและหลักฐานดังกล่าวยังสอดรับกันดีกับการที่เสาชิงช้าเปรียบดังประตูต้อนรับพระอิศวรอีกด้วย         ย้อนกลับมาที่ตัววัตถุ เดิมแอดมินสันนิษฐานว่าเสาชิงช้าจำลองชิ้นนี้คงจะเป็นของที่ระลึกในงานฉลองเสาชิงช้า เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งเป็นหนึ่งในงานเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙) โดยครั้งนั้นเป็นการนำไม้สักทองที่เหลือจากการบูรณปฏิสังขรณ์เสาชิงช้า ปีพุทธศักราช ๒๕๔๙ มาผลิตชิ้นงาน โดยย่อส่วน ๑ : ๕๐ จากขนาดจริง (สูงราว ๔๒ เซนติเมตร) และแกะสลักส่วนกระจัง หูช้าง และตราสัญลักษณ์กรุงเทพมหานคร ด้วยเลเซอร์ อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบรูปแบบกับวัตถุในคลังกลางฯ มีความต่างทั้งส่วนฐานที่อยู่ในผังสี่เหลี่ยมและมีลิ้นชักขนาดเล็ก และไม่ปรากฎตราสัญลักษณ์กรุงเทพมหานคร ตลอดจนความละเอียดในการสลักลวดลายก็ไม่ประณีตเท่า    จากการสืบค้นแอดมินพบว่าเสาชิงช้าจำลองของคลังกลางฯ คล้ายกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท สยามเทวา จำกัด อันเป็นบริษัทชั้นนำที่ผลิตนาฬิกาไม้โบราณมาตั้งแต่ราวพุทธศักราช ๒๕๒๖ ภายใต้ชื่อแบรนด์ คาเมลอท (Camelot) ที่ได้แรงบันดาลใจจากนิยายกรีก และต้องการขายชาวต่างชาติจึงตั้งชื่อด้วยภาษาต่างประเทศ โดยหนึ่งในผลิตภัณฑ์ของบริษัท คือ นาฬิกาไม้รูปทรงเสาชิงช้า ซึ่งมีรูปทรงคล้ายกับวัตถุในคลังกลางฯ ทั้งนี้จากบทสัมภาษณ์ คุณก่อเกียรติ สุวรรณบุณย์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ในวารสารเทคโนโลยีวัสดุ ทำให้เราทราบว่า นาฬิกาไม้ดังกล่าวคงจะผลิตขึ้นจากไม้สัก และภาพรวมแนวคิดในการผลิตชิ้นงานของบริษัท คือ เน้นรูปแบบวิกตอเรียน แต่บางผลิตภัณฑ์มีรูปแบบไทย ๆ เช่นกัน และตกแต่งให้ดูเก่าโบราณเหมือนถูกใช้งานมาแล้ว ดังนั้นเทคนิคสำคัญคือการตกแต่งผิวนาฬิกาไม้ของบริษัทด้วยการลงสีด้วยผงสีจากเยอรมัน โดยสีหลัก ๆ จะมีสีวอลนัท สีมะฮอกกานี และสีแอนทีกบราวน์ เมื่อลงสีแล้วก็นำไปขัด ทำอย่างนี้ซ้ำไปมาด้วยมือทุกขั้นตอน นอกจากนี้การออกแบบชิ้นงานส่วนใหญ่คุณก่อเกียรติก็เป็นผู้ออกแบบเอง โดยมองถึงความต้องการของตลาด และความยากง่ายในการผลิตซึ่งจะสัมพันธ์กับเรื่องของต้นทุน         จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมด ทำให้ได้รับรู้ข้อมูลทั้งในด้านวัสดุที่ใช้ผลิตชิ้นงาน เทคนิคขั้นตอนในการผลิต และที่สำคัญคือทราบว่าวัตถุชิ้นนี้แท้จริงคือนาฬิกาตั้งโต๊ะ ที่ผลิตขึ้นในช่วงพุทธศักราช ๒๕๒๖ (ปีก่อตั้งบริษัท) จนถึงพุทธศักราช ๒๕๔๙ (พิจารณาจากรูปแบบหัวเม็ดของเสาตะเกียบที่มีรูปแบบก่อนการบูรณปฏิสังขรณ์ในพุทธศักราช ๒๕๔๙) มากไปกว่านั้นยังได้รับรู้ความเป็นมาและแนวคิดเบื้องหลังในการสรรสร้างชิ้นงานอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ด้วยวัตถุชิ้นนี้เป็นวัตถุรับมอบจากเอกชน เมื่อครั้งรับมอบมานั้นคงจะมีสภาพชำรุดเหลือเพียงเสาชิงช้า จึงทำให้ผู้บันทึกข้อมูลระบุเป็น “เสาชิงช้าจำลอง” แต่เมื่ออ่านมาจนถึงตรงนี้ แอดมินก็อยากชวนท่านผู้อ่านทุกท่านคิดเห็นต่อไปว่าวัตถุชิ้นนี้ควรเรียกเสียใหม่ว่าอย่างไร จะเป็น “โครงนาฬิการูปเสาชิงช้า” “นาฬิกาตั้งโต๊ะรูปเสาชิงช้า” หรือยังคงเรียก “เสาชิงช้าจำลอง” ได้เช่นเดิม ท่านผู้อ่านเห็นว่าอย่างไรกันบ้างครับ ? __________________________ สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร. จดหมายเหตุการบูรณปฏิสังขรณ์เสาชิงช้า          พุทธศักราช ๒๕๔๙. กรุงเทพฯ : สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร,          ๒๕๕๑. __________. เทวสถาน (โบสถ์พราหมณ์) - เสาชิงช้า.          กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้งท์, ๒๕๕๑. สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. สาส์นสมเด็จ เล่มที่ ๒๔.          กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา, ๒๕๐๕. พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.          พระราชพิธีสิบสองเดือน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทย, ๒๔๖๓.          งานพระศพ พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าเจริญศรี. กุลจิรา สุจิโรจน์ และคณะ. “นาฬิกาไม้โบราณ : ศิลปะแห่งชีวิต.”          เทคโนโลยีวัสดุ. ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๒๗ (เมษายน - มิถุนายน ๒๕๔๕),         ๗๑ - ๗๔.         เรียบเรียงและเทคนิคภาพโดย อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร


จารึกสมัยล้านนา  ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย  ที่อายุมากที่สุด และน้อยที่สุด  ....พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีการเก็บรวรวมศิลาจารึกไว้เป็นจำนวนมาก แบ่งเป็นจารึกอักษรมอญโบราณสมัยหริภุญไชย และจารึกอักษรฝักขามสมัยล้านนา ที่มีประวัติการพบในจังหวัดลำพูน จำนวนทั้งสิ้น ๒๐ หลัก นอกจากนี้แล้วจังหวัดลำพูนยังเป็นที่พบจารึกวัดพระยืน ที่เป็นจารึกอักษรไทย ภาษาไทยที่เก่าแก่ที่สุดในล้านนา ซึ่งเป็นต้นแบบให้อักษรฝักขามในจารึกล้านนาต่อมา  ....จารึกสมัยล้านนที่อยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย มีประวัติการพบในพื้นที่จังหวัดลำพูน มีจำนวนทั้งสิ้น ๑๐ หลัก ทำจากหินทราย ลักษณะเป็นแผ่นทรงใบเสมาคล้ายกับจารึกอักษรมอญโบราณสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ ที่พบในเมืองลำพูน แต่มีขนาดที่บางและเล็กกว่า ตัวอักษรที่จารึกเป็นอักษรฝักขาม หรืออักษรไทยล้านนา ที่มีพัฒนาการมาจากตัวอักษไทยสมัยสุโขทัย รัชกาลพระมหาธรรมราชาที่ ๑ ที่ปรากฏในจารึกวัดพระยืน พ.ศ. ๑๙๑๓ ซึ่งจารึกอักษไทยล้านนา หรือจารึกอักษรฝักขามที่เก่าแก่ที่สุดในสมัยล้านนาคือจารึกกษัตริย์ราชวงศ์มังราย พ.ศ. ๑๙๕๔ (ลพ.๙) ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน สำหรับจารึกสมัยล้านนาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ที่มีระบุศักราชมีอายุมากที่สุดคือศิลาจารึก จ.ศ. ๘๒๙ ตรงกับ พ.ศ. ๒๐๑๐ ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช แต่น่าเสียดายที่จารึกพบเพียงส่วนบน ไม่พบเนื้อหาอื่นๆ ที่จะบอกเรื่องราวได้ ส่วนจารึกสมัยล้านนา อักษรไทยล้านนา (ฝักขาม) ที่มีอายุน้อยที่สุดคือจารึกวัดต้นผึ้ง (ลพ.๘) ระบุจุลศักราช ๑๙๘๗ ตรงกับปีพุทธศักราช ๒๐๕๙ ตอนปลายรัชสมัยพระเมืองแก้ว  ...จารึกสมัยล้านนา ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย มีอายุตั้งแต่รัชกาลของพระเจ้าติโลกราช พระยอดเชียงราย สิ้นสุดที่สมัยพระเมืองแก้ว มีเนื้อหากล่าวถึงการกัลปนาสิ่งของ การสร้างอาราม การถวายข้าคน เงินทองสำหรับอาราม พร้อมทั้งปรากฏชื่อพระภิกษุสงฆ์ บุคคล แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองในสมัยพระเจ้าติโลกราช ที่เป็นยุคทองของล้านนา มีการปฏิสังขรณ์และสร้างพระอาราม รวมถึงศาสนวัตถุต่างๆขึ้นมามากมาย โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูนที่เป็นศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรล้านนา ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยพระเมืองแก้ว หลังจากนั้นไม่พบจารึกสมัยล้านนาในบริเวณจังหวัดลำพูน คาดว่าอาจเสื่อมความนิยมไปแทนที่ด้วยการใช้อักษรประเภทอื่นๆที่เข้ามาแทนที่ รวมไปถึงการสร้างงานศิลปกรรมในช่วงปลายสมัยราชวงศ์มังรายที่น้อยลงทั้งในตัวเมืองเชียงใหม่และลำพูน อันเป็นผลมาจากความวุ่นวายภายในราชสำนัก จนตกอยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าบุเรงนองในที่สุด  อ้างอิง กรมศิลปากร. แบบเรียนหนังสือภาษาโบราณ.  กรุงเทพฯ: สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, ๒๕๕๓. จำปา เยื้องเจริญ. วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๓๓. สรัสวดี อ๋องสกุล. กษัตริย์ล้านนาเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ศูนย์ล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๖๐.


      พระบรมธาตุไชยาเป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอดแบบที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่าศิลปะศรีวิชัย  เรือนธาตุมีผังเป็นรูปกากบาท มีมุขทั้ง ๔ ด้าน ลักษณะเป็นมุขตัน ยื่นออกมาจากกลางผนังเรือนธาตุ  ยกเว้นด้านทิศตะวันออกมีบันไดทางขึ้นเข้าสู่ห้องโถงกลาง มุขทั้งสี่ด้านที่ยื่นออกมาจากผนังเรือนธาตุนี้ทำให้ดูคล้ายย่อมุมไม้สิบสอง แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วมิได้เป็นการย่อมุมไม้แต่เป็นการเพิ่มมุข มุขที่เพิ่มขึ้นมาคือมุมของจัตุรมุขนั่นเอง     ความสูงของพระบรมธาตุจากฐานถึงยอดประมาณ ๒๔  เมตร ประกอบด้วยฐานบัวลูกแก้วสี่เหลี่ยมจัตุรัสตกแต่งด้วยเสาติดผนังลดเหลี่ยม ๑ ชั้น วางอยู่บนบานเขียงซ้อนกัน  ๒  ชั้น ขนาดฐานวัดจากทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตกยาวประมาณ  ๑๓  เมตร ( ของเดิมยาว  ๑๐  เมตร สร้างพอกขึ้นใหม่ทางด้านหน้าอีก  ๓ เมตร )  จากทิศเหนือถึงทิศใต้ยาวประมาณ  ๑๐  เมตร ส่วนฐานอยู่ต่ำกว่าผิวดินปัจจุบัน  เนื่องจากพบว่าเดิมมีดินทับถมอยู่  ทางวัดจึงได้ขุดบริเวณโดยรอบฐานเป็นสระกว้างประมาณ  ๒.๓๐-๒.๕๐  เมตร  ลึกประมาณ  ๑  เมตร เพื่อให้เห็นฐานเดิม ปัจจุบันมีน้ำขังอยู่รอบฐานตลอดปี ด้านหน้าฐานบัวลูกแก้วด้านทิศตะวันออกมีซุ้มพระพุทธรูปอยู่ข้างบันไดจำนวน  ๒  ซุ้ม เป็นของที่สร้างต่อเติมสมัยหลัง สามารถเห็นร่องรอยฐานเก่าที่เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพราะมีฐานบัวเดิมโผล่ออกมาให้เห็นชัดเจน         ฐานบนของบัวลูกแก้วสี่เหลี่ยม  มีลักษณะเป็นฐานทักษิณ  ที่มุมทั้งสี่ประดับด้วยสถูปจำลอง  ตรงกลางฐานเป็นฐานบัวลูกแก้วอีกชั้นหนึ่งรองรับเรือนธาตุเจดีย์ทรงจตุรมุข  ที่มุมเรือนธาตุทำเป็นรูปเสาหลอกติดผนังตรงกลางเสาเซาะตลอดโคนถึงปลายเสา มุขด้านทิศตะวันออกมีบันไดทางขึ้นสามารถเดินขึ้นไปนมัสการพระพุทธรูปภายในองค์เจดีย์ได้  ห้องภายในมีขนาดประมาณ  ๒X ๒  เมตร    ผนังเรือนธาตุก่ออิฐไม่สอปูนลดหลั่นกันขึ้นไปถึงยอด  ( ปัจจุบันฉาบปูนปิดทับหมดแล้ว)  มุขอีกสามด้านทึบ  ที่มุขของมุขแต่ละด้านทำเป็นเสาติดผนังอาคาร  เหนือมุขเป็นซุ้มหน้าบันประดับลายปูนปั้นรูปวงโค้งคล้ายเกือกม้า  หรือเรียกว่า “กุฑุ”  เหนือเรือนธาตุมีลักษณะเป็นหลังคาซ้อนกันขึ้นไป  ๓ ชั้น  โดยการจำลองย่อส่วนอาคารเบื้องล่างลดหลั่นขึ้นไป  แต่ละชั้นประดับด้วยสถูปจำลองที่มุขทั้งสี่และตรงกลางด้านเหนือซุ้มหน้าบัน  รวมจำนวนสถูปจำลองชั้นละ ๓ องค์  ทั้งหมดสามชั้นรวมทั้งสิ้น ๒๔ องค์    ถัดขึ้นไปเป็นส่วนยอดซึ่งซ่อมแซมครั้งใหญ่ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยขยายส่วนยอดให้สูงขึ้น เริ่มตั้งแต่บัวปากระฆังซึ่งเป็นดอกบัวบานขนาดใหญ่ องค์ระฆังรูปแปดเหลี่ยม ถัดขึ้นไปเป็นฐานเขียงแปดเหลี่ยมขนาดเล็กรองรับก้านฉัตร  ต่อด้วยปล้องไฉนแปดเหลี่ยมจำนวนห้าชั้น เหนือปล้องไฉนเป็นบัวกลุ่มหุ้มทองคำรองรับปลียอดหุ้มทองคำ  ซึ่งเข้าใจว่าได้ต้นแบบมาจากยอดพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช  เหนือปลียอดประดับฉัตรหุ้มทองคำ   โครงสร้างพระบรมธาตุไชยาเป็นเจดีย์ก่ออิฐไม่สอปูน  อิฐเนื้อแกร่งเผาด้วยไฟแรง  เมื่อก่ออิฐแล้วคงขัดถูแต่งรอยให้เรียบเสมอกัน พระบรมธาตุไชยาได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์หลายครั้ง  จึงมีลวดลายเครื่องประดับเป็นลวดลายเก่าใหม่ผสมกัน  ลวดลายเก่าที่น่าสนใจคือ  ลวดลายที่ซุ้มหน้าบันหรือ กุฑุ  เดิมใช้วิธีแกะสลักอิฐเป็นรูปวงโค้ง  เมื่อมีการซ่อมครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๕  จึงมีการซ่อมแปลงหน้าบันด้วยปูนปั้น  เติมลวดลายใหม่ ๆ ได้แก่  รูปตราแผ่นดินสมัยรัชกาลที่ ๕ ภายในเป็นพระพุทธรูป  รูปเทพพนม  ด้านข้างเป็นช้างสามเศียรและนกยูง  รูปสิงห์  รูปเหรา  รูปผีเสื้อ  เป็นต้น    รูปแบบแผนผังโครงสร้างของสถาปัตยกรรมที่เรียกว่าพระบรมธาตุไชยานี้ได้รับการตีความอย่างกว้างขวาง  บ้างก็ว่าคล้ายคลึงกับสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า  จันทิ  ในศิลปะชวาภาคกลาง  เช่น  จันทิปะวน จันทิเซวู จันทิเมนดุต  อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕  ซึ่งมีลักษณะโดยรวมคล้ายคลึงกับสถาปัตยกรรมแบบอินเดียใต้  แต่เปลี่ยนรูปจำลองอาคารขนาดเล็กบนชั้นหลังคาซึ่งเป็นเทวาลัยในศาสนาพราหมณ์  ให้กลายเป็นลักษณะสำคัญของสถาปัตยกรรมในพุทธศาสนา บ้างก็ว่ามีเค้าของการคลี่คลายมาจากปราสาท ๒ หลัง ที่วัดแก้วและวัดหลง  ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานอีกอย่างหนึ่งว่าอายุของพระบรมธาตุไชยาอาจจะหลังลงมาจากโบราณสถานที่วัดแก้วและวัดหลง  เป็นสถาปัตยกรรมในยุคครหิ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘   อย่างไรก็ดีรูปแบบศิลปกรรมของพระบรมธาตุไชยาก็ได้แพร่อิทธิพลให้แก่สถาปัตยกรรมในสมัยต่อมาอย่างแพร่หลาย  เช่น เจดีย์วัดเขาพระอานนท์  อำเภอพุนพิน  เจดีย์ถ้ำสิงขร  อำเภอคีรีรัฐนิคม   เจดีย์บนเขาสายสมอ  และวัดโบราณต่าง ๆ ในเขตอำเภอไชยา  




          โบราณสถานปราสาทภูฝ้าย อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ บริเวณสันเขาด้านทิศเหนือ ภูฝ้าย เป็นภูเขาลูกโดด สูงจากพื้นที่ราบโดยรอบ ประมาณ 50-120 เมตร เเละห่างจากเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งเป็นพรมแดนเเละระหว่างไทยกับกัมพูชา มาทางทิศเหนือ ระยะทางเพียง 30 กิโลเมตร เท่านั้น ทั้งนี้โบราณสถานปราสาทภูฝ้าย คงเป็นศาสนสถานประจำชุมชน ผลจากการขุดเเต่งศึกษาปราสาทภูฝ้าย ในปี 2556 สามารถกำหนดอายุสมัย เเละรูปแบบการใช้งานโบราณสถานปราสาทภูฝ้าย ได้ดังนี้           ปราสาทประธาน สร้างด้วยอิฐ และศิลาเเลง อยู่ในผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพิ่มมุม มีขนาดด้านละ 7.20 เมตร สร้างบนลานหินธรรมชาติของภูฝ้าย ปัจจุบันหลงเหลือเฉพาะส่วนฐานรองรับเรือนธาตุ ซึ่งก่อด้วยศิลาเเลง สูงจากพื้นดิน ประมาณ 1.75 เมตร มีศึกษาเปรียบเทียบกับปราสาทหลังอื่นๆ พบว่า แผนผังเรือนธาตุของปราสาทภูฝ้าย มีลักษณะคล้ายกับปราสาทเนียงเขมา กลุ่มโบราณสถานเกาะเเกร์ ปราสาทมีชัย อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ (ศิลปะเขมรเเบบแปรรูป พ.ศ.1487- 1511) และปราสาทเบง อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ (ศิลปะเขมรแบบบันทายสรี พ.ศ.1511-1544) จากรายงานฉบับดังกล่าว จึงกำหนดให้ ปราสาทภูฝ้าย น่าจะมีอายุอยู่ในช่วง กลางพุทธศตวรรษที่ 15 - กลางพุทธศตวรรษที่ 16           อีกไฮไลต์ สำคัญ ของปราสาทภูฝ้าย คือ ภาพสลักทับหลังพระวิษณุอนันศายินปัทมนาภะ (นารายณ์บรรทมสินธุ์) ปัจจุบันไม่ได้ติดกับตัวปราสาท เเต่เก็บรักษาไว้ ณ วัดสุพรรณรัตน์ (วัดบ้านพราน) ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ           แม้ว่าร่องรอยหลักฐานของภูฝ้าย จะหลงเหลือไม่มากนัก เเต่ด้วยทำเลที่ตั้ง ซึ่งสร้างปราสาทอยู่บนเขาลูกโดด ในฐานะ ศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน เเละเป็นสถาปนาภูเขานี้เป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ในลักษณะเดียวกันนี้ ยังปรากฏให้เห็นในหลายแห่ง อาทิ ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทปลายบัด 1 ปราสาทปลายบัด 2 และปราสาทเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาลูกโดด ด้วยเช่นกัน----------------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล :  นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ----------------------------------------------------------แหล่งข้อมูลอ้างอิง - ห้างหุ้นส่วนจำกัดศรีกุรุเกษตร. รายงานผลการปฏิบัติงาน โครงการขุดแต่งเเละจัดทำผังรูปแบบเพื่อการบูรณะโบราณสถานปราสาทภูฝ้าย ตำบลภูฝ้าย อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. ม.ป.พ. . 2556.



องค์ความรู้ทางวิชาการ เรื่อง ๑๔ เมืองโบราณ ในจังหวัดขอนแก่น หลักฐานจากภาพถ่ายทางอากาศ โดย นางสาวทิพย์วรรณ วงศ์อัสสไพบูลย์ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น


Messenger