ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,784 รายการ

พระพุทธรูปนาคปรกวัสดุ : ไม้ ลงรักปิดทองแบบศิลปะ/อายุสมัย : ศิลปะล้านนา พื้นเมืองน่าน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕ (๑๐๐-๒๐๐ ปีมาแล้ว)ประวัติ : กรมศิลปากรผาติกรรมจากวัดชนะไพรี อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่านพระพุทธรูปนาคปรกปางสมาธิ พระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานบัวหงาย หงายพระหัตถ์ทั้งสองวางบนพระเพลา มีนาคแผ่พังพานเหนือพระเศียรซ้อนกัน ๒ เศียร ขนดนาคทำเป็นพุทธบังลังก์สัตตมหาสถาน ที่ซึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่หลังการตรัสรู้ ๗ แห่ง คือ ปฐมสมโพธิบัลลังกะ ทุติยอนิมิสสกะ ตติยจงกมเสฏฐะ จตุถรัตนาฆระ ปัญจมอัชชุปาสัญจะ ฉัฏฐมมุจรินเทนะ และสัตตมราชายตุพระพุทธรูปนาคปรกสื่อถึงพุทธประวัติหลังการตรัสรู้ในสัปดาห์ที่ ๖ หลังตรัสรู้ พระพุทธองค์เสด็จไปประทับบำเพ็ญสมาธิ ณ มุจรินทพฤกษ์หรือต้นจิก อันอยู่ทางปราจีน (ตะวันออก) แห่งพระมหาโพธิ์ ขณะนั้นบังเกิดฝนตกลงมามิได้ขาดตลอด ๗ วัน จึงมีพญานาคมุจลินท์ ซึ่งอยู่ในสระใกล้มุจรินทพฤกษ์นั้น มาขดขนดกายวนรอบพระพุทธเจ้า ๗ รอบ แล้วแผ่พังพานปกป้องเบื้องบนพระเศียร โดยจะมิให้มูลดินและสัตว์ร้ายทั้งปวงมาต้องพระองค์ได้ เมื่อฝนหยุดตกแล้วก็คลายขนดกายออกถวายสักการะเอกสารอ้างอิงกรมศิลปากร. พระพุทธรูปปางต่างๆ. กรมศิลปากร : กรุงเทพฯ. ๒๕๕๘.




องค์ความรู้ เรื่อง เส้นทางวัดและโบราณสถานสำคัญในอดีต ที่ยังเหลือความทรงจำ ผู้เรียบเรียง : นางสาวกาญจนา ศรีเหรา บรรณารักษ์



วันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม 2566 นางภควรรณ คุณากรวงศ์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ พร้อมด้วย นางสาวลักษมณ ประจวบมูล บรรณารักษ์ปฏิบัติการ ,นางสาวกาญจนา ศรีเหรา,นางสาววารุณี วิริยะชูศรี บรรณารักษ์ เข้าร่วมศึกษาวิธีการจารใบลาน โดยมีนายจุง ดิบประโคน ผู้อำนวยการกลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก ต้อนรับ  วิทยากรโดยนายวัฒนา พึ่งชื่น และนายวินัย เภาเสน นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ


ตราประทับดินเผาแบบศิลปะ : สมัยก่อนประวัติศาสตร์ชนิด : ดินเผาขนาด : เส้นผ่านศูนย์กลาง 7.3 เซนติเมตรสูง 4.5 เซนติเมตรอายุสมัย : วัฒนธรรมบ้านเชียงสมัยปลาย 2,300 - 1,800 ปีมาแล้วลักษณะ : ตราประทับดินเผา ทรงครึ่งวงรี ลวดลายคล้ายกับรูปหัวใจคว่ำสภาพ : ...ประวัติ : อาจารย์ พะนอ  กำเนิดกาญจน์  ทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2530สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีคิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล : (ท่านสามารถโหลดและนำไปใช้เพื่อการทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่อได้)แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่  http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang/360/model/21/ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang


บวนพยุหยาตราทางสถลมารค




พระปฏิมาที่เรียกกันโดยสามัญว่า "พระล้อม" คือพระพุทธรูปแวดล้อมด้วยพระสาวกเรียงบนฐานซ้อนเป็นชั้น องค์พระปฏิมาลอยองค์มีขนาดใหญ่ เป็นประธานท่ามกลางพระสาวก ซึ่งทำเป็นภาพนูนต่ำ อยู่ในลักษณะสมาธิ หรือถวายอัญชลีต่อพระพุทธองค์ มีขนาดเล็กจิ๋ว เรียงเป็นแถวตามแนวชั้นฐาน ส่วนฐานมักทำเป็นรูปสามเหลี่ยมหลังมนซ้อนลดหลั่นกันหลายชั้น เรียวสอบขึ้นด้านบนตอนบนสุดของฐานเป็นฐานรองรับพระพุทธรูป มักทำเป็นฐานสิงห์ ประกอบด้วย.........อ่านต่อในเอกสารที่แนบ (คอลัมน์ของชิ้นเอกในกรมศิลปากร นิตยสารศิลปากร ปีที่ ๕๖ ฉบับที่ ๖ ประจำเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๖)


พิพิธิภัณฑสถานแห่งชาติเสมือนจริง ชาวนาไทย: www.virtualmuseum.finearts.go.th/thaifarmersnational พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย      เดิมตั้งอยู่ที่ถนนพระพันวษา ตำบลท่าพี่เลี้ยง ปัจจุบันได้ย้ายไปตั้งอยู่บริเวณศูนย์ราชการแห่งใหม่ริมถนนสายสุพรรณ - ชัยนาท (340) เป็นอาคารคอนกรีตออกแบบผสมผสานระหว่างเรือนไทยและยุ้งฉางของชาวนาเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการทำนาโดยไม่ได้จัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุชั้นล่างจัดแสดงเรื่องราวความเป็นมาของการทำนาเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำนา ประเพณีวิถีชีวิตของชาวนาเรื่องราวของข้าวในอดีต        ในปีพุทธศักราช 2528 - 5229 สมเด็จพระบรมโอรสสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมารได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีทำปุ๋ยหมักธรรมชาติที่บ้านแหลมสะแก อำเภอบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี และหลังจากนั้นไม่นาน ได้เสด็จพระราชดำเนินลงนาโดยหว่านข้าวและปุ๋ยหมักลงในแปลงนาสาธิต ณ บึงไผ่แขก อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีครั้งถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวต้นข้าวสุกเหลืองอร่ามเต็มท้องนาจังหวัดสุพรรณบุรีได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระบรมโอรสสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมารอีกวาระหนึ่งโดยได้เสด็จพระราชดำเนินทางเกี่ยวข้าวที่ได้ทรงปลูกไว้เป็นปฐมฤกษ์ซึ่งพระจริยาวัตรที่งดงามนี้ยังความปลาบปลื้มปีติโสมนัสแก่บรรดาเหล่าเกษตรกรและพสกนิกรชาวไทยเป็นยิ่งนักเหตุการณ์ทั้งหมดนี้นับเป็นพระราชกรณียกิจที่ใหญ่สมควรจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ของไทย        พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย ได้จัดแสดงสิ่งสำคัญ อาทิ รวงข้าวจำนวน 9 รวงแรก ที่สมเด็จพระบรมโอรสสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมารทรงเกี่ยวเป็นปฐมฤกษ์รวมทั้งเคียวเกี่ยวข้าวด้ามทองคำที่จังหวัดสุพรรณบุรี จัดทำขึ้นน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพิเศษ และยังรวมภาพเหตุการณ์อุปกรณ์เครื่องมือที่ทรงใช้ในการทำนาประวัติศาสตร์ครั้งนี้มาจัดแสดงด้วย      นอกจากนี้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย ยังได้จัดแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของพระมหากษัตริย์ไทยกับชาวนาร่องรอยของข้าวในอดีตวิวัฒนาการของการทำนาในประเทศไทยตลอดจนประเพณีวิถีชีวิตของผู้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นกระดูกสันหลังของชาติ นั่นคือ "ชาวนา" พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย ตั้งอยู่ที่ถนนพระพันวษา ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ภายในบริเวณเดียวกันกับศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี มีเนื้อที่บริเวณรวมทั้งสิ้นประมาณ 200 ตารางวา กระทรวงศึกษาธิการประกาศจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2533   ความเป็นมาในการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย (หลังใหม่)        ตามที่จังหวัดสุพรรณบุรีได้จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย บริเวณศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรีหลังเดิมถนนพระพันวษาเพื่อเป็นอนุสรณ์แสดงเหตุการณ์สำคัญที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราช ดำเนินมาเป็นองค์ประธานในการทำปุ๋ยหมักสาธิตการทำนาและเกี่ยวข้าวในจังหวัดสุพรรณบุรีถึง 3 ครั้ง และเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2537 นั้น      เนื่องจากปัจจุบันศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรีได้ย้ายไปอยู่ในศูนย์ราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ถนนสุพรรณบุรี - ชัยนาท (ทางหลวงหมายเลข 340) ตำบลสนามชัย อำเภอเมืองสุพรรณบุรี และศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรีหลังเดิม ใช้เป็นที่ว่าการอำเภอเมืองสุพรรณบุรี ซึ่งปัจจุบันบริเวณสถานที่ตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย มีสภาพภูมิทัศน์ไม่สวยงามดังเดิม      จังหวัดสุพรรณบุรีพิจารณาเห็นว่า เพื่อให้สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย มีความเหมาะสม สง่างาม และสมพระเกียรติ จังหวัดสุพรรณบุรีได้ขอพระราชทานพระราชานุญาตย้ายและก่อสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย จึงใคร่ขอเสนอกรมศิลปากรพิจารณาและสนับสนุนจังหวัดสุพรรณบุรี ในการย้ายพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย ไปตั้งอยู่ในศูนย์ราชการจังหวัดสุพรรณบุรี บริเวณด้านข้างศาลากลางจังหวัด ด้านทิศใต้ ซึ่งมีพื้นที่กว้างขวาง สามารถจัดสภาพภูมิทัศน์ให้สวยงามและสมพระเกียรติได้ดีกว่าที่เดิม      ซึ่งหากจากสถานที่เดิมประมาณ 4.5 กิโลเมตร โดยให้กรมศิลปากรและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผู้ออกแบบอาคารและการจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย โดยอาศัยรูปแบบอาคารเดิมเป็นฐานในการคิด และได้สรุปรูปแบบเป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ 2 ชั้น มีใต้ถุนล่าง มีพื้นที่ ใช้สอยทั้งหมด 1,890 ตารางเมตร      ลักษณะทางสถาปัตยกรรมนำความคิดมาจากยุ้งข้าวทางภาคกลาง ประดับตกแต่งด้วยลายรวงข้าว มีพื้นที่โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก มุงหลังคาด้วยกระเบื้องซีเมนต์ หันด้านหน้าอาคารไปทางทิศเหนือ      ระยะเวลาในการดำเนินการออกแบบและก่อสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทยแล้วเสร็จเดือนกันยายน พุทธศักราช 2551 ดำเนินการจัดแสดงภายในอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทย โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัด สุพรรณบุรี แล้วเสร็จในเดือนกันยายน พุทธศักราช 2552 และดำเนินการย้ายการปฏิบัติงานที่อาคารหลังใหม่ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พุทธศักราช 2552




กรมศิลปากรได้เข้าร่วมขบวนรถแห่เทียนพรรษาตามตารางกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเนื่องในเทศกาลอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษาเฉลิมพระเกียรติฯ ในวันพุธที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๑ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น. ณ บริเวณท้องสนามหลวง และนำเทียนพรรษาไปถวายยังวัดปรินายก กรุงเทพมหานครฯ ต่อไป โดยมีท่านอธิบดีกรมศิลปากรเป็นประธานและผู้อำนวยการสำนักบริหารกลางพร้อมคณะเจ้าหน้าที่ข้าราชการเข้าร่วมพิธีดังกล่าว


มรดกดีเด่น(Significant heritage)           เนื้อหาจะกล่าวถึงมรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดสุรินทร์ที่โดดเด่นและเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ งานศิลปหัตถกรรม ได้แก่ การทำเครื่องประดับเงินและการทอผ้าไหม ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ได้แก่ การแสดงเรือมอันเร(การรำสาก) การละเล่นเจรียง รวมถึงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงกันตรึม วงมโหรี และการเลี้ยงช้าง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก ในส่วนการจัดแสดงจะใช้โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ หุ่นจำลอง ภาพถ่าย วีดิทัศน์ และเครื่องเล่นแผ่นเสียง เป็นสื่อให้เห็นถึงการแสดงพื้นบ้าน การผลิตและใช้ประโยชน์จากงานหัตถกรรม มีหุ่นจำลองและวีดิทัศน์เรื่องการจัดแสดงศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ฉากจำลองบรรยากาศหมู่บ้านเลี้ยงช้างและวีดิทัศน์เกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนเลี้ยงช้าง ให้ผู้เข้าชมได้ทราบถึงมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นสุรินทร์ที่มีมาในอดีตและยังคงรับใช้ชุมชนอยู่จนกระทั่งปัจจุบัน Significant heritage           Exhibits highlight the well – known cultural heritage of Surin province: handicrafts, such as silver ornaments and silk weaving; folk performances such as “Ruam”, or local dancing, “Jariang”, or local singing, and local music such as “Kantruem”; and elephant training, for which Surin is famous throughout the world. Models, photographs and audio – visual displays illustrate handicraft production, and samples of silk cloth and silver are on display. A model of an elephant training village, as well as audio – visual displays, help visitors to learn about the heritage of local wisdom from ancient times to the present.     ำลองการประกอบพิธีแกลมอ (Healing ceremony) ของกลุ่มชาติพันธุ์กวย(Kuay)หุ่นจำลองการประกอบพิธีการ์แซน(การแต่งงาน) Wedding ของกลุ่มชาติพันธุ์เขมร(Khmer)และภาพถ่ายเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีบายศรีสู่ขวัญ สภาพความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว(Lao)ซึ่งจะสื่อถึงสภาพวิถีชีวิต ลักษณะเด่นทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ที่ประกอบกันเป็นคนสุรินทร์ในปัจจุบัน และยังมีข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องบรรจุอยู่ใน Computer Touch Screen ให้ศึกษาค้นคว้าได้โดยละเอียด   Ethnology           Displays here focus on the population of Surin province, which can be divided into three groups: the Kuay, who excelled at catching and training elephants, the Khmer, the original inhabitants of Surin province, and the Laos, a later group who immigrated to Surin province. Models depict the houses, ceremonies, photographs and paintings, daily tools, and objects reflecting the lives and cultures of the three groups. A computer touch screen provides additional information.


Messenger