ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,784 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.311/11ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 42 หน้า ; 4 x 54 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 126 (306-312) ผูก 11 (2565)หัวเรื่อง : ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา(ธรรมบท)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๓๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เข้าพบนายกฤษณ์ คงเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อหารือเรื่องที่ดินทำกินของชาวบ้านในเขตขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมืองโบราณศรีเทพ รวมไปถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ ภายในเขตโบราณสถาน โดยมีนางนงคราญ สุขสม ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี นางสาวมาลีภรณ์ คุ้มเกษม ผู้อำนวยการกลุ่มนิติการ นางเยาวภา โตสงวน วัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ และเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร เข้าร่วมหารือในครั้งนี้ ณ ศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์ จากนั้นเวลา ๑๔.๐๐ น. อธิบดีกรมศิลปากรพร้อมคณะ ลงพื้นที่ตรวจโครงการบูรณะเจดีย์ทรงปรางค์ วัดไตรภูมิ จังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมมอบแนวทางในการปรับปรุงการทำผนังดิน คันกั้นน้ำ ปรับปรุงระบบการระบายน้ำให้ดีขึ้น เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อตัวโบราณสถานในอนาคต
พระพุทธรูปประทับเหนือพนัสบดี
สมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔
ได้มาจากพิพิธภัณฑสถาน จังหวัดพิษณุโลก
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ ห้องทวารวดี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พระพุทธรูปศิลา ส่วนพระเศียรและพระกรชำรุดหักหายไป (สันนิษฐานว่าแต่เดิมยกพระหัตถ์ขึ้นจีบพระหัตถ์ในท่าแสดงธรรม) พระวรกายแสดงการครองจีวรห่มเฉียง ประทับขัดสมาธิราบเหนือพาหนะรูปสัตว์ผสม เรียกว่า “พนัสบดี” ด้านข้างของพระพุทธรูป มีบริวารแสดงการพนมมือขึ้นมาทั้งสองข้างแต่ชำรุดหักหายไปค่อนข้างมาก
พระพุทธรูปประทับเหนือพนัสบดีชิ้นนี้ตามประวัติ หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ (ป่วน อินทุวงศ์) เมื่อครั้งขึ้นมาตรวจราชการที่จังหวัดพิษณุโลก ได้ถ่ายรูปส่งถวายสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทอดพระเนตร และพระองค์มีลายพระหัตถ์ถึงมหาอำมาตย์ตรี พระยานครพระราม สมุหเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ความว่า
“...เปนของแปลกและยังไม่มีในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร ของชะนิดนี้ไม่ใช่เปนฝีมือช่างทางฝ่ายเหนืออันจำเปนจะต้องรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานจังหวัดพิษณุโลก ฉันจึงได้จดหมายฉะบับนี้มาขอให้เจ้าคุณจัดการส่งพระพุทธรูปองค์นี้ลงไปยังพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร...” และได้ดำเนินการส่งพระพุทธรูปประทับเหนือพนัสบดีองค์นี้มาถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ในปีเดียวกัน
พระพุทธรูปประทับเหนือพนัสบดีเป็นประติมากรรมที่พบอย่างแพร่หลายในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออกของประเทศไทย เช่น เมืองนครปฐม เมืองซับจำปา (จังหวัดลพบุรี) เมืองศรีเทพ (จังหวัดเพชรบูรณ์) เมืองพระรถ (จังหวัดชลบุรี) เป็นต้น แต่ส่วนมากนิยมทำพระพุทธรูปทรงยืนขนาบข้างด้วยบริวาร ในกรณีพระพุทธรูปประทับนั่งมีตัวอย่างน้อยมาก ขณะที่พาหนะหรือพนัสบดีนั้นมีรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งแบบสัตว์ผสมและแบบรูปบุคคลถือดอกบัว
ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับความหมายของพระพุทธรูปประทับเหนือพนัสบดี ปัจจุบันได้รับการตีความใหม่ว่าน่าจะหมายถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมอยู่เหนือเหล่าสรรพสัตว์ เนื่องจากคำว่า “พนัสบดี” (Vanaspati) หมายถึงเจ้าป่า ประกอบกับรูปแบบของสัตว์ผสมดังกล่าว มีลักษณะคล้ายกับครุฑ หรือ สิงห์ที่มีปีก* ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีสถานะเป็นเจ้าป่า นอกจากนี้พระพุทธรูปประทับเหนือพนัสบดีหลายชิ้นพบว่ามีการเจาะรูบริเวณกึ่งกลางและที่ด้านหลังมีเดือยยื่นออกมา ซึ่งมีข้อสันนิษฐานว่าเดือยและรูนี้ใช้สำหรับยึดติดกับดุมของธรรมจักร ซึ่งจักรเป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับพระสุริยะที่ให้แสงสว่าง เช่นเดียวกับการเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนทางพุทธศาสนา
*ประติมากรรมสิงห์มีปีก มีตัวอย่างเช่น ปูนปั้นสิงห์มีปีกประดับส่วนฐานอาคารที่เมืองโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์
อ้างอิง
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (๔)ศธ. ๒.๑.๑/๓๑๒. เอกสารกระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร เรื่อง ขอรับพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาศิลา สมัยทวารวดี จากพิพิธภัณฑสถาน จังหวัดพิษณุโลก (๔ กรกฎาคม - ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๕).
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมยุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. นนทบุรี: เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.
กรมศิลปากร กำหนดจัดการเสวนาทางวิชาการประกอบนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย : สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก” ในหัวข้อ “ไทย - ญี่ปุ่น : ความสัมพันธ์ในสายธารประวัติศาสตร์” ในวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ผู้สนใจลงทะเบียนร่วมกิจกรรมได้ทางลิงค์ https://docs.google.com/forms/d/1O9biIwmtaPpRf9mI8jKbdHx2aD0mv9mF4e4fzXeue54 ตามที่กรมศิลปากร จัดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย : สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก” ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ ๑๔ กันยายน – ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๕ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ และส่งเสริมความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างราชอาณาจักรไทยและประเทศญี่ปุ่น ในวาระครบรอบ ๑๓๕ ปี ความ สัมพันธ์ทางการทูตไทย – ญี่ปุ่น ได้กำหนดจัดกิจกรรมการเสวนาทางวิชาการประกอบนิทรรศการฯ จำนวน ๓ ครั้ง ในวันที่ ๑๙ , ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ และวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยครั้งที่ ๑ กำหนดจัดเสวนาหัวข้อ “ไทย - ญี่ปุ่น : ความสัมพันธ์ในสายธารประวัติศาสตร์” ในวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ผู้สนใจลงทะเบียนร่วมกิจกรรมได้ทาง
https://docs.google.com/forms/d/1O9biIwmtaPpRf9mI8jKbdHx2aD0mv9mF4e4fzXeue54
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มแผนงาน โครงการและวิเทศสัมพันธ์ สำนักบริหารกลาง โทร. ๐ ๒๑๖๔ ๒๕๐๑ - ๒ ต่อ ๔๐๔๘
ชื่อเรื่อง อาทิกมฺมปาลิ(ปาราชิกปาลิ)มหาวิยงฺคปาลิ(ปาราชิกัณฑ์)
สพ.บ. อย.บ.2/9กประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 20 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ลานดิบ ร่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : จ้างตำรวจคุ้มกัน -- เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 " ปลัดกะซวงกเสตราธิการ " มีหนังสือราชการถึง " ปลัดกะซวงมหาดไทย " เรื่อง " ขอจ้างตำหรวดสำหรับรักษาการน์ที่สถานีบำรุงพันธุ์ 2 " ในขณะนั้นเป็นที่ทราบกันว่า สถานีบำรุงพันธุ์ 1 คือบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ส่วนสถานีบำรุงพันธุ์ 2 จะเป็นที่อื่นไปไม่ได้นอกจาก กว๊านพะเยา สาเหตุที่กระทรวงเกษตราธิการต้องจ้างตำรวจมารักษาการณ์ เพราะมีคนขโมยปลาในกว๊านพะเยา และคงลักลอบจับหลายครั้ง จำนวนครั้งละไม่น้อยนั่นเอง จากเอกสารจดหมายเหตุลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2486 กระทรวงมหาดไทยสั่งการให้กรมตำรวจพิจารณาและไม่ขัดข้อง ทั้งนี้กระทรวงเกษตราธิการจะขอจ้างนายสิบตำรวจตรี 1 นาย พร้อมกับพลตำรวจ 4 นาย โดยคิดค่าจ้างต่อคนเดือนละ 20 บาท ค่าเครื่องแบบคนละ 2 บาท นายสิบตำรวจได้เบี้ยเลี้ยงอีกเดือนละ 7 บาท 50 สตางค์ อย่างไรก็ตาม ท้ายเอกสาร กรมตำรวจขอปรับแก้เบี้ยเลี้ยงนายสิบตำรวจเป็นวันละ 40 สตางค์ ตามระเบียบอัตราเบี้ยเลี้ยงปกติของนายสิบทั่วไป ส่วนค่าเครื่องแบบจะคิดเพียงเดือนละ 1 บาท 75 สตางค์ ต่อ 1 คนเท่านั้น ถัดมาเอกสารจดหมายเหตุลงวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2486 หัวหน้ากองบำรุงแจ้งรายละเอียดแก่หัวหน้าแผนกสถานีบำรุงพันธุ์ 2 (กว๊านพะเยา) ว่า " บัดนี้ กะซวงมหาดไทยได้อนุญาตมาแล้ว ฉะนั้นไห้ท่านติดต่อกับผู้กำกับการตำหรวดภูธรจังหวัดเชียงราย เพื่อทำสัญญาจ้างต่อไป . . . โดยถือแนวการปติบัติหย่างสถานีบำรุงพันธุ์ 1 (บึงบอระเพ็ด) แต่ . . . ไห้ท่านไช้ดุลยพินิจของท่านแก้ไขได้ . . . " จากข้อความทำให้เข้าใจด้วยว่า สถานีบำรุงพันธุ์ 1 (บึงบอระเพ็ด) น่าจะประสบปัญหาลักลอบขโมยสัตว์น้ำ จึงต้องทำสัญญาจ้างตำรวจรักษาการณ์เช่นกัน แล้วภายในเวลาไม่นาน ปรากฏเอกสารจดหมายเหตุลงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2486 หัวหน้าแผนกสถานีบำรุงพันธุ์ 2 (กว๊านพะเยา) แจ้งผู้บังคับกองตำรวจภูธรอำเภอพะเยาว่า " . . . แผนกสถานีฯ ต้องการจะทำสัญญาจ้างตั้งแต่วันที่ 10 เมสายน 86 เปนต้นไป พร้อมกับหนังสือฉบับนี้ได้แนบร่างสัญญาจ้างตำหรวจและระเบียบการของตำหรวดที่ไปรักสาการสถานีบำรุงพันธุ์ 2 (กว๊านพะเยา) จะต้องปติบัติตาม . . . " เราสามารถสรุปสาระสำคัญเรื่องทั้งหมดได้ว่า เมื่อกระทรวงเกษตราธิการต้องการป้องกันคนลักลอบขโมยปลาในกว๊านพะเยา จึงขอจ้างตำรวจรวม 5 นาย ทางกระทรวงมหาดไทยและกรมตำรวจไม่ขัดข้อง ให้ผู้รับผิดชอบติดต่อสถานีตำรวจในจังหวัดทำสัญญาจ้างได้ทันที สิ่งที่สะท้อนจากเนื้อหาข้างต้นนี้ เป็นการเอาใจใส่ดูแล เฝ้าระวังสถานที่ราชการกับกว๊านพะเยา ซึ่งสัตว์น้ำในกว๊านมีจำนวนมากเพื่อสาธารณะประโยชน์ ประชาชนสามารถจับไปบริโภคได้ แต่เมื่อมีการ " ลักจับปลา " อย่างผิดกฎหมาย โดยสันนิษฐานว่าเกี่ยวข้องกับการบุกรุกสถานีบำรุงพันธุ์ 2 ยามวิกาลรึไม่ หรือลอบจับในฤดูสัตว์น้ำวางไข่ จึงจำเป็นต้องป้องปราม กันไว้ดีกว่าแก้ กว๊านพะเยา สัตว์น้ำ และพันธุ์พืช คือทรัพยากรธรรมชาติของส่วนรวม การคำนึงถึงปัญหาข้างต้น ก็เพื่อรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้ให้แก่ลูกหลานในอนาคตข้างหน้า ลองพิจารณาเล่นๆ ว่า หากปี 2486 ไม่มีการเอาใจใส่แล้ว ปัจจุบันนี้เราคงไม่เหลืออะไรไว้อุปโภค-บริโภคแน่นอน.ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา (2) กษ 1.1.1.1/1 เรื่องการบันทึกการปฏิบัติงานตำหรวดรักสาการณ์ สถานีประมงกว๊านพะเยาและคดีความต่างๆ [ 29 ส.ค. 2485 - 18 ก.ค. 2528 ].#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
อิสิคิลิสุตฺต (อิสิคิลิสุตฺต) ชบ.บ 121/1
เอกสารโบราณ
(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 161/3 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
แผ่นดินเผารูปกินรี พบจากเจดีย์หมายเลข ๒ เมืองโบราณอู่ทอง
แผ่นดินเผารูปสัตว์ผสม พบจากเจดีย์หมายเลข ๒ เมืองโบราณอู่ทอง จัดแสดงห้องโบราณคดีเมืองอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
แผ่นดินเผาขนาดกว้าง ๒๓ เซนติเมตร สูง ๒๓.๕ เซนติเมตร ประติมากรรมมีสภาพชำรุด ชิ้นส่วนหักหายและรายละเอียดลบเลือนบางส่วน ด้านหน้าเป็นภาพนูนต่ำ นักวิชาการส่วนใหญ่ตีความว่า หมายถึงรูปกินรี ซึ่งเป็นอมนุษย์ที่มีลักษณะเป็นสัตว์ผสมระหว่างคนกับนก โดยมีใบหน้าเป็นคนสวมเครื่องประดับศีรษะ อยู่ในท่าเคลื่อนไหว เอียงศีรษะ แขนขวากางออกไปทางด้านหลัง มีผ้าคล้องคอและแขน ลำตัวโค้ง ยกขาซ้ายเหยียดไปด้านหลัง ส่วนหางหรืออาจเป็นปีกแผ่ไปทางด้านหลัง ด้านหลังของแผ่นดินเผาแบนเรียบ มีร่องรอยแกลบข้าวในเนื้อดิน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของอิฐ หรือประติมากรรมดินเผาที่สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๕ หรือประมาณ ๑,๑๐๐ – ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว
เนื่องจากประติมากรรมดินเผาชิ้นนี้มีรายละเอียดลบเลือนบางส่วน ทำให้นักวิชาการบางท่านเสนอว่า เมื่อพิจารณาจากส่วนล่าง ลำตัวและขา พบว่าน่าจะเป็นลักษณะของสิงห์มากกว่านก ดังนั้นแผ่นดินเผาชิ้นนี้อาจเป็นรูปนรสิงห์ ซึ่งมีลักษณะเป็นสิงห์ที่มีใบหน้าเป็นคน ก็เป็นได้
สันนิษฐานว่าแผ่นดินเผานี้ใช้สำหรับประดับส่วนฐานของเจดีย์ ในลักษณะเดียวกับประติมากรรมรูปคนแคระแบกที่พบทั่วไปตามศาสนสถานในเมืองโบราณสมัยทวารวดี ซึ่งอาจใช้ประกอบอยู่กับภาพเล่าเรื่อง หรือใช้ประดับฐานเจดีย์ก็เป็นได้
นอกจากแผ่นดินเผารูปกินรีชิ้นนี้แล้ว ยังพบประติมากรรมรูปกินรีและกินนร ทำจากดินเผาหรือปูนปั้นสำหรับประดับศาสนสถานตามเมืองโบราณอื่น ๆ สมัยทวารวดี ด้วย เช่น ประติมากรรมปูนปั้นรูปกินนรกำลังเล่นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายพิณเปี๊ยะ พบจากเจดีย์จุลประโทน จังหวัดนครปฐม ประติมากรรมปูนปั้นรูปกินรี พบจากเจดีย์หมายเลข ๓ บ้านโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ และยังพบเครื่องประดับทองคำรูปกินรีที่เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี อีกด้วย
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. สหมิตรพริ้นติ้ง : นนทบุรี, ๒๕๔๕.
ดวงกมล อนันต์วัชรกุล. “คติความเชื่อเรื่องสัตว์ที่ปรากฏในวัฒนธรรมทวารวดี.” เอกสารการศึกษาเฉพาะบุคคล ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๔.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.