ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,784 รายการ
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.6/1-7
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง : ซุยถัง เล่ม 3 ชื่อผู้แต่ง :-ปีที่พิมพ์ : 2509 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : องค์การค้าของคุรุสภาจำนวนหน้า : 336 หน้าสาระสังเขป : ซุยถัง เป็นพงศาวดารจีนที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย โดยเรื่องราวเกิดในสมัยกษัตริย์จีนราชวงศ์ซุย และราชวงศ์ถังตอนต้น (พ.ศ. 1132-1161) เรื่องราวบอกเล่าเหตุการณ์ช่วงราชวงศ์ซุยแผ่นดินเกิดการจลาจล เหล่าผู้กล้าต่างรวมตัวต่อต้านราชวงศ์ซุย โดยในเล่มนี้เป็นเรื่องราวซุยถังในตอนที่ 3
กำไลกระพรวนสำริด แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ จังหวัดลำพูน
+++กำไลกระพรวน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๐.๕ ซ.ม.มีลักษณะเป็นวงกลม ล้อมรอบด้วยลูกกระพรวนขนาดเล็ก มีลูกกลิ้งด้านในที่ทำให้เกิดเสียง มีลูกกระพรวนที่มีลวดลายเป็นลายขูดเป็นวงซ้อนกันเส้นเล็ก ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ ตำบลเวียงยอง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน พบในหลุมฝังศพผู้ใหญ่ฝังในลักษณะนอนเหยียดยาว กำไลสวมอยู่ที่แขนซ้าย นอกจากกำไลแล้วยังพบตุ้มหูแก้ววางที่ข้างศีรษะ เป็นที่น่าเสียดายว่าสภาพโครงกระดูกเสื่อมไปทำให้ไม่สามารถศึกษาถึงเพศของผู้ตายได้
+++กำไลกระพรวน พบได้ทั่วไปในแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ช่วงปลาย เช่น ในวัฒนธรรมบ้านเชียง ที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นกำไลทรงกระบอกที่ตกแต่งด้วยกระพรวนโดยรอบ กรรรมวีการผลิตนั้น คงเป็นวิธีที่ใช้ในการหล่อสำริดทั่วไปคือวิธีการหล่อแบบขับขี้ผึ้ง (lost wax) หมายถึงวิธีการหล่อโลหะชนิดหนึ่งโดยให้ของเหลวไหลตามแม่พิมพ์ที่มีรูปร่างซับซ้อน มีวิธีการและเทคโนโลยีที่ต้องอาศัยความสามารถขั้นสูง ซึ่งเครื่องประดับสำริดที่พบในแหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮอาจใช้วิธีเดียวกัน จากการศึกษารายงานการขุดค้นทางโบราณคดีถึงแม้จะพบเครื่องประดับสำริด และเครื่องมือเหล็ก กลับไม่พบโบราณวัตถุที่เกี่ยวกับการหล่อโลหะอื่นใดเลย นอกจากขี้แร่ (slag) เท่านั้น ซึ่งไม่อาจบอกได้ถึงกระบวนการผลิตเครื่องใช้ดังกล่าว
+++นอกจากแหล่งโบราณดดีบ้านวังไฮ ยังพบกำไลกระพรวน สำริดลักษณะนี้ จากแหล่งโบราณคดีบ้านยางทองใต้ ต.สันปูเลย อ.ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีที่อยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำกวง อาจมีคสามสัมพันธ์กันกับชุมชนบ้านวังไฮที่อยู่บริเวณลุ่มน้ำกวงตอนปลาย อันเป็นชุมชนโบราณก่อนการตั้งเมืองหริภุญไชย
เอกสารอ้างอิง
วิชัย ตันกิตติกร. แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ. กรุงเทพฯ : กองโบราณคดี กรมศิลปากร, ๒๕๓๒.
สุรพล นาถะพินธุ. "โบราณวิทยาเรื่องโลหะสำริดในยุคก่อนประวัติศาสตร์ของประเทศไทย." ดำรงวิชาการ ปีที่ ๑๓, ฉบับที่ ๑ (๒๐๑๔) มกราคม-มิถุนายน ๒๕๕๗: ๑๐๗-๑๓๒.
ท่านพุทธทาสภิกขุ ผู้มีสมญานาม "นักโบราณคดีสมัครเล่น" ท่านพุทธทาสภิกขุ ท่านเป็นบุคคลสำคัญของอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ถ้าพูดถึงท่าน ทุกคนต้องเคยคุ้นหูกันอย่างแน่นอน ด้วยอัจฉริยภาพในด้านการสอนธรรมะในรูปแบบต่างๆ ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่ว จนได้รับประกาศจาก UNESCO ยกให้ท่านเป็นบุคคลสำคัญของโลก และอีกหนึ่งผลงานที่ท่านสนใจ จนทำให้ผู้คนในแวดวงด้านโบราณคดีให้ขนานนามท่านว่าเป็นนักโบราณคดีสมัครเล่น
----------------------------
เรียบเรียงข้อมูล /กราฟิก
นายกิตติ ชินเจริญธรรม ภัณฑารักษ์ชำนาญการ
นายเกียรติศักดิ์ ลบลาย นักวิชาการวัฒนธรรม
----------------------------------------
อ้างอิง
1. ทำไมจึงอุตริเป็นนักโบราณคดี? เอกสารจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ, โบราณคดี ไชยา ศรีวิชัย. (2493-2514).
2. เรียบเรียงจาก พิพัฒน์ กระแจะจันทร์, พุทธทาสอยากเป็นนักโบราณคดีสมัครเล่น, ศิลปวัฒนธรรม, 16 กรกฎาคม พ.ศ.2560.
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร.ต.ต.สิทธิ์ การสุทธิ์ ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง วันที่ ๑๙ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๑
"สถูปดินเผา" ซึ่งเป็นโบราณวัตถุที่พบได้ตามแหล่งโบราณคดีหรือโบราณสถานสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ และแหล่งโบราณคดีสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์เพียงแห่งเดียวในจังหวัดสตูล นั่นก็คือแหล่งโบราณคดีเขาขาว เขาขาว ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๑ บ้านหาญ ตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล มีลักษณะ เป็นภูเขาหินปูนขนาดใหญ่ที่วางตัวยาวตามแนวแกนทิศเหนือ – ทิศใต้ และมีคลองละงูไหลผ่านทางด้านทิศตะวันออก บริเวณด้านทิศใต้ของเขาขาวเป็นที่ตั้งของเพิงผาขนาดใหญ่ ด้านหน้าเพิงผาเดิมที่ทางเดินแคบๆสำหรับสัญจรผ่านไปมาได้ จนกระทั่งพ.ศ.๒๕๕๑ จึงมีการขยายทางหลวงสายบ้านโกตา-บ้านหาญ ส่งผลให้พื้นที่เพิงผาสูญหายไปส่วนหนึ่งยอดสถูปดินเผาที่เขาขาว การสำรวจทางโบราณคดีในพ.ศ.๒๕๕๑ ทำให้ได้พบหลักฐานสำคัญคือ “ยอดสถูปดินเผา” เนื้อดินสีเทา-สีส้ม สถูปเหล่านี้ในสภาพสมบูรณ์สามารถถอดประกอบได้เป็นหลายส่วน โดยส่วนประกอบหลักได้แก่ ฐาน ลำตัว ฉัตรวลี(ปล้องไฉน) และส่วนยอด ทั้งนี้สถูปดินเผาในลักษณะนี้มีการค้นพบในโบราณสถานสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์หลายแห่งเช่น เมืองโบราณยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ถ้ำศิลป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา โคกทอง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา นาพละ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง เขาคุรำ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง บ้านพญาขันธ์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง และเขาศรีวิชัย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยอาจกำหนดอายุย้อนกลับไปได้ถึงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๘ สถูปดินเผาสร้างเพื่ออะไร การสร้างสถูปเป็นรูปแบบหนึ่งของการทำบุญทำกุศลตามความนิยมในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน โดยเชื่อว่าผลบุญที่เกิดขึ้นอาจส่งผลให้เกิดใหม่ในแดนสุขาวดีไปจนถึงการมีอายุวัฒนะและเข้าถึงการรู้แจ้ง ดังคัมภีร์สัทธรรมปุณฑริกสูตรระบุไว้ตอนหนึ่งว่า "...ผู้ใดสร้างสถูป แม้แต่เด็กชายเล็กๆ ผู้เพียงช่วยขนทรายด้วยจิตใจมุ่งมั่นที่จะอุทิศถวายแด่พระชินพุทธเจ้า ผู้นั้นย่อมบรรลุความรู้แจ้ง..." นอกจากนี้การสร้างสถูปยังนับเข้าอยู่ในการสร้าง “อุเทสิกเจดีย์” เพื่อถวายในพุทธศาสนา แต่ที่ปรากฏการสร้างในลักษณะของสถูปซึ่งมีขนาดเล็กนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประทานข้อสังเกตไว้ในพระนิพนธ์ "ตำนานพระพุทธเจดีย์" ตอนหนึ่งว่า "...แต่สังเกตพระสถูปที่สร้างกันตามนานาประเทศภายนอกอินเดีย ยังถือเป็นคติต่างกัน ประเทศที่ถือลัทธิหินยาน เช่นลังกา พม่า มอญ ไทย มักสร้างพระสถูปเป็นธาตุเจดีย์ บางทีใหญ่โต แต่ฝ่ายประเทศที่ถือลัทธิมหายาน เช่นทิเบต จีน ญี่ปุ่น (แม้ชวาและขอมโบราณ) มักสร้างพระสถูปเป็นอุเทสิกะเจดีย์อย่างเป็นเครื่องหมายของพระพุทธศาสนา ไม่ขวนขวายในข้อที่จะทำให้ใหญ่โต...” ---------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1372851239719702&id=461661324172036
องค์ความรู้ : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
เรื่อง : เจ้าพ่อปราสาททอง ศูนย์รวมศรัทธา ณ เชิงเขาพนมรุ้ง
ณ ภูเขาพนมรุ้ง อันเป็นที่ตั้งของปราสาทพนมรุ้ง ศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดูอันศักดิ์สิทธิ์ ที่สร้างขึ้นตามรูปแบบวัฒนธรรมเขมรโบราณ ซึ่งผู้คนจากทั่วทุกสารทิศเดินทางมาสักการะขอพรอยู่เสมอ โดยเฉพาะในช่วงต้นเดือนเมษายนจะมีพิธีบวงสรวงและจัดงานประจำปีประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งอย่างยิ่งใหญ่อลังการ และอีกสถานที่หนึ่งซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชุมชนโดยรอบเขาพนมรุ้งก็คือ “ศาลเจ้าพ่อปราสาททอง” ตั้งอยู่เชิงเขาฝั่งตะวันตกในท้องที่ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ริมถนนทางขึ้นสู่อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เป็นศาลที่มีความสำคัญและผู้คนให้ความนับถืออย่างมาก ดังปรากฏในคำขวัญของอำเภอเฉลิมพระเกียรติว่า “เมืองพนมรุ้ง ทุ่งฝ้ายคำ นามพระราชทาน ตำนานทับหลัง ที่ตั้งเจ้าพ่อปราสาททอง ของดีผ้าภูอัคนี”
ศาลเจ้าพ่อปราสาททองแห่งนี้ ไม่พบการกล่าวถึงในเอกสารหรือตำนานนิทานท้องถิ่นใดๆ แต่จากการสอบถามผู้สูงอายุในชุมชนที่มีอายุ ๗๐ – ๘๐ ปีในปัจจุบัน เล่าว่าตั้งแต่เด็กมีศาลไม้มุงสังกะสีที่เชิงเขา เรียกว่าศาลเจ้าพ่อปราสาททอง ชาวบ้านต่างเคารพยำเกรง มีเรื่องเล่าปาฏิหาริย์ต่างๆ ส่วนนาม “ปราสาททอง” เดิมคงเรียกขานจากการประทับทรงตามความเชื่อและอาจเกี่ยวเนื่องกับภูเขาพนมรุ้งที่มีปราสาทโบราณตั้งอยู่ โดยเชื่อว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่ จึงได้แสดงออกถึงความเคารพด้วยบุคลาธิษฐานผสมผสานกับความเชื่อท้องถิ่น เรียกกันในนาม “เจ้าพ่อปราสาททอง” ต่อมาได้สร้างศาลใหม่ขึ้นในพื้นที่เดิมเป็นศาลปูนมุงกระเบื้องจำนวนสองศาลตั้งลดหลั่นกันที่เชิงเขา โดยศาลด้านหน้าเป็นจุดที่ตั้งศาลเดิม ภายในมีก้อนหินธรรมชาติแทนรูปเคารพ มีผู้คนมากราบไหว้ขอพรบนบานเสมอ ปกตินิยมไหว้ด้วยดอกไม้ธูปเทียน เหล้าบุหรี่ หมากพลู หัวหมู ไก่ต้มหรือรูปปั้นช้างโดยเชื่อว่าช้างเป็นพาหนะขององค์เจ้าพ่อ มีพิธีไหว้ประจำปีในช่วงเดือนหกหรือราวเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงต้นฤดูทำนา ผู้นำชุมชนและชาวบ้านร่วมกันจัดพิธีบวงสรวงและประทับทรงตามความเชื่อเพื่อขอให้ฝนตกตามฤดูกาล ต่อมามีการสร้างประติมากรรมเจ้าพ่อปราสาททองขึ้นเป็นครั้งแรก ด้วยวัสดุปูนปั้นทาสีเสมือนคนจริง เป็นชายสูงวัย ผมขาว นั่งบนตั่งทอง มือจับไม้ตะพดวางราบบนเข่าทั้งสองข้าง มีพิธีอัญเชิญขึ้นประดิษฐานภายในศาล เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ด้วยเหตุนี้ทางคณะผู้ศรัทธาจึงได้ตกลงกำหนดเอาวันที่ ๒๖ กรกฎาคม เป็นวันบวงสรวงสมโภชประจำปีต่อไป
คติการสร้างศาลประจำชุมชน ในจังหวัดบุรีรัมย์มักจะพบได้ทั่วไป ตามหมู่บ้านต่างๆ เรียกว่า ศาลปู่ตา ศาลตาปู่หรือศาลพ่อเฒ่า แล้วแต่การเรียกในกลุ่มชนชาติพันธุ์ต่างๆ โดยในจังหวัดบุรีรัมย์พบทั้งกลุ่มคนไทย- ลาว ไทย-เขมร ไทย-โคราช และชาวไทย-กวย โดยเชื่อว่าในแต่ละหมู่บ้านจะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองอยู่ มักจะสร้างบริเวณทางเข้าหมู่บ้าน เนินดิน เชิงเขา หรือริมหนองน้ำในเขตชุมชน ซึ่งป่าเขาพนมรุ้งเป็นพื้นที่กว้างมีชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อาศัยอยู่โดยรอบภูเขา จึงทำให้ศาลเจ้าพ่อปราสาททองเป็นอีกหนึ่งสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ศูนย์รวมศรัทธา เป็นที่เคารพบูชาของชาวบ้านทุกชุมชนในพื้นที่แถบนี้
เรียบเรียงโดย: นายสุทธินันท์ พรหมชัย ผู้ช่วยนักโบราณคดี อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
ชื่อเรื่อง ธชโถมนานิสํสกถา (อานิสงส์สร้างธุงบูชา)
สพ.บ. 255/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 36 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.153/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 93 (1-16) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : สทฺทสารตฺชาลินี(ศัพท์สัททสารัตถชาลินี)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เงี้ยวปล้นเมืองเชียงแสนในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริปรับปรุงการปกครองทั่วพระราชอาณาจักร เพื่อดึงอำนาจรัฐเข้าสู่ศูนย์กลางมากขึ้น ซึ่งการปฏิรูปการปกครองดังกล่าว ทำให้ราษฎรในดินแดนล้านนาหรือมณฑลพายัพเกิดความไม่พอใจ เนื่องจากการถูกเกณฑ์แรงงานและการจัดเก็บภาษีระบบใหม่ รวมถึงบรรดาเจ้านายที่สูญเสียอำนาจไปเรื่อย ๆ ได้สนับสนุนพวกเงี้ยวให้ก่อกบฏ และในส่วนของพวกเงี้ยวเองก็มีความไม่พอใจสยามจากสนธิสัญญาเบาว์ริงที่ห้ามคนในบังคับของอังกฤษมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย รวมถึงการตัดไม้เพื่อสร้างบ้านหรือวัดในราชอาณาจักรสยาม หากเงี้ยวคนใดไม่มีหนังสือรับรองว่าเป็นคนในบังคับของอังกฤษก็ถือว่าเป็นคนของสยามและต้องเสียภาษีแทนการเกณฑ์แรงงาน ๔ บาทต่อปี เงี้ยวบางพวกอาศัยอยู่ในสยามมานานแต่ต้องการได้สิทธิพิเศษบางประการจากอังกฤษ จึงเข้าไปเป็นคนในบังคับของอังกฤษ เมื่อสยามบังคับใช้กฎหมายตามสนธิสัญญาดังกล่าวอย่างเคร่งครัด พวกเงี้ยวเหล่านี้จึงต้องเสียสิทธิสภาพจากสยามไปโดยปริยาย จึงก่อให้เกิดความไม่พอใจขึ้นโดยเฉพาะเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน จนนำไปสู่เหตุการณ์กบฏเงี้ยวเมืองแพร่ พ.ศ. ๒๔๔๕ และได้ลุกลามไปในพื้นที่อื่น ๆ ด้วย เมืองเชียงแสนเป็นอีกเมืองหนึ่งที่ถูกพวกเงี้ยวก่อการจลาจล เอกสารจดหมายเหตุที่กล่าวถึงเหตุการณ์ดังกล่าว พบได้จากเอกสารรายงานสถานการณ์ของพระยาอุตรกิจพิจารณ์ ข้าหลวงประจำเมืองเชียงใหม่ ได้แก่ ใบบอก โทรเลข ร่างจดหมาย ซึ่งส่งถึงเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าพระยาสุรสีห์วิศิษฐ์ศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) ข้าหลวงใหญ่ มณฑลพายัพ เสนาบดีมหาดไทย กรุงเทพ และเจ้าคุณยอดเมืองขวาง โดยในระยะนั้นมีโจรกลุ่มของพระยาศรีสองเมือง กับสล่าทุ เมืองอ๊อต นำกองกำลังเข้าตีเมืองเชียงแสน วางเพลิงที่ว่าการแขวงและบ้านเรือนราษฎร และมีแผนบุกเมืองเชียงราย แต่พระยาราชเดชดำรง (น้อย ไชยวงศ์) ญาติพี่น้อง แคว่น (กำนัน) แก่บ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน) และราษฎร ออกมาป้องกันเมืองไว้ได้ ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ หัวหน้าพวกเงี้ยว คือ สล่าทุ เมืองอ๊อตและสล่าป๊อกถูกยิงตาย พวกเงี้ยวที่เหลือจึงถูกขับไล่ไปหมด พระยาอุตรกิจพิจารณ์จึงขอประทานรางวัลให้แก่บุคคลที่ช่วยเหลือการปราบปรามพวกเงี้ยวเพื่อเป็นบำเหน็จรางวัลแห่งความกล้าหาญผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการอ้างอิง :๑. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. เอกสารรายงานการก่อจลาจลของเงี้ยวเมืองเชียงราย.๒. นิตยสารศิลปวัฒนธรรม. ๒๕๖๔. การปฏิรูปมณฑลพายัพของสยาม บีบบังคับให้เงี้ยวก่อกบฏ เมื่อ พ.ศ. 2445? (Online). https://www.silpa-mag.com/history/article_28848, สืบค้นเมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๔.๓. เชียงใหม่นิวส์. ๒๕๖๑. “พระยารัตนาณาเขตร์” (น้อยเมืองไชย) เจ้าเมืองเชียงรายองค์สุดท้ายที่ถูกลืม (Online). https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/870910/, สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๔๔. สิริเดชะกุล. ๒๕๕๗. ย้อนรอยอาณาจักรเมืองเชียงแสน (Online). https://m.facebook.com/.../a.450220515.../548206211962945..., สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๔.
เลขทะเบียน : นพ.บ.201/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 14 หน้า ; 5 x 59 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 109 (141-147) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : ฉลองกระดูก --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม