ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,784 รายการ

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 เจ้าหน้าที่หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ แต่งกายชุดไทย เข้าร่วมโครงการส่งเสริมประเพณีลอยกระทง ประจำปี2566  ณ โบราณสถานวัดสนามชัย ต.สนามชัย อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี  “เที่ยวงานลอยกระทง สักการะองค์โบราณ ชมผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน ชิมอาหารพื้นถิ่น” โดยมีนายธีรยุทธ์ จันทร์ดิษฐวงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานในพิธีเปิด นอกจากนี้ นางภควรรณ คุณากรวงศ์ บรรณารักษ์ชำนาญการ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ได้รับเกียรติเป็นกรรมการตัดสินเวทีประกวดนางนพมาศสูงวัย ในครั้งนี้อีกด้วย


ชื่อเรื่อง                     เสียเคราะห์  (เสียเคราะห์)สพ.บ.                       458/1ก หมวดหมู่                   พุทธศาสนาหัวเรื่อง                     พุทธศาสนา--โหราศาสตร์ประเภทวัสดุ/มีเดีย       คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ               32 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 29 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก        เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี










วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน 2559 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรมอบรมการใช้งานโปรแกรม Sketch Up แก่เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร นับตั้งแต่วันที่ 13 - 17 มิถุนายน 2559 ณ ห้องอบรมคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม ตึกธนาลงกรณ์ ชั้น 8


ประวัติความเป็นมาของใบเสมา ประวัติความเป็นมาของใบเสมา   ใบเสมา หรือ สีมา เป็นประติมากรรมหินสลัก ซึ่งใช้เป็นสัญลักษณ์หรือเพื่อแสดงขอบเขตพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์เนื่องในพุทธศาสนา จากการศึกษาพบว่ามีการสร้างอย่างแพร่หลายมาก  ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยช่วงพุทธศตวรรษที่  ๑๒-๑๖  ซึ่งเป็นยุคที่วัฒนธรรมทวารวดีเจริญรุ่งเรื่องขึ้น  การปักใบเสมาดังกล่าวอาจสืบเนื่องมาจากระบบคติความเชื่อ สันนิษฐานว่าอาจจะเกี่ยวกับ -คติที่สืบทอดมาจากประเพณีการปักหินตั้ง (Megaliths) โดยเชื่อเรื่องการนับถือผีบรรพบุรุษของชนพื้นเมืองในเอเชียอาคเนย์ -คติการสร้างขึ้นเนื่องในพุทธศาสนา เพื่อเป็นหลักเขตกำหนดบริเวณศักดิ์สิทธิ์ หรือสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนา -เป็นตัวแทนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับเคารพบูชา  ทำหน้าที่คล้ายสถูปเจดีย์หรือพระพุทธรูปเพื่อให้ผู้คนได้กราบไหว้บูชา ลักษณะการปักใบเสมา           -ปักหลักเดียว เพื่อแสดงเขตหรือตำแหน่งของบริเวณพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์           -ปักเป็นกลุ่ม พบว่ามีการปักล้อมรอบเนินดินหรือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์โดยไม่มีการกำหนดทิศทางแน่นอน           -ปักประจำทิศ มีตั้งแต่การปัก ๔ ทิศ ๘ ทิศ ไปจนถึง ๑๖ ทิศ โดยปักล้อมรอบเนินดินหรือสิ่งก่อสร้างทางศาสนา เพื่อแสดงเขตของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น เจดีย์ พระธาตุ อุโบสถ พบว่ามีทั้งการปักใบเสมาเดี่ยว ปักเสมาคู่ หรือปักซ้อนกัน ๓ ใบ รูปแบบและการประดับตกแต่งลวดลาย           ใบเสมาที่พบในวัฒนธรรมทวารวดีทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีลักษณะเป็นแท่งหินขนาดใหญ่ อาจเป็นลักษณะแท่งหินธรรมชาติ หรือแผ่นหินที่ไม่มีการโกลนให้เป็นรูปร่าง แบบแผ่นหิน (Slab Type) ที่มีการถากโกลนให้เป็นแผ่น หรือแบบแท่งเสา (Pillar Type) ที่มีการถากโกลนให้เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม มีการตกแต่งลวดลายโดยการแกะสลักลงบนใบเสมา ลวดลายที่พบมาก เช่น           -แบบเรียบ -แกะสลักรูปสันนูนทรงสามเหลี่ยมคล้ายสถูปบริเวณกึ่งกลางใบ สถูปเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า -แกะสลักเป็นหม้อน้ำศักดิ์สิทธิ์ (หม้อปูรณฆฏะ) มีลักษณะเป็นภาชนะทรงกลม บางครั้งมีพวย หรือมีการประดับลายพรรณพฤกษาเรียงต่อเนื่องขึ้นเป็นรูปกรวยยอดแหลมหรือสันสถูป หม้อน้ำนี้เป็นสัญลักษณ์มงคลตามความเชื่อของอินเดียโบราณ แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ -แกะสลักเป็นภาพเล่าเรื่องทางพุทธศาสนา เช่น พุทธประวัติ และชาดกตอนสำคัญ -แกะสลักเป็นธรรมจักร พบทั้งที่สลักบริเวณกึ่งกลางใบและสลักบริเวณสันขอบของใบเสมา ธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาที่แสดงว่าพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่มายังดินแดนแห่งนี้แล้ว



ชาติพันธุ์วิทยา กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดสุรินทร์(Ethnic groups in Surin)           จะกล่าวถึงประชากรในจังหวัดสุรินทร์ที่ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ ๓ กลุ่มใหญ่ คือ           ๑. กลุ่มชาติพันธุ์กวย(Kuay)เป็นกลุ่มชนที่มีความสามารถในการจับและฝึกช้าง และพิธีกรรมการรักษาการเจ็บป่วย เรียกว่า แกลมอ (Healing ceremony)           ๒. กลุ่มชาติพันธุ์เขมร(Khmer)เป็นกลุ่มชนที่ปรากฏหลักฐานการอยู่อาศัยในจังหวัดสุรินทร์มาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๓ เป็นอย่างช้า มีการจัดแสดงพิธีการ์แซน(การแต่งงาน) Weddingแบบดั้งเดิม           ๓. กลุ่มชาติพันธุ์ลาว(Lao)เป็นกลุ่มชนที่อพยพเข้ามาในจังหวัดสุรินทร์ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ มีการจัดแสดงพิธีบายศรีสู่ขวัญ ซึ่งเป็นพิธีกรรมเด่นของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว           นอกจากนี้ ยังได้จำลองให้เห็นวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ โดยการจำลองบ้านเรือน เครื่องมือการประกอบอาชีพเกษตรกรรม อุปกรณ์การจับปลา อุปกรณ์การเลี้ยงสัตว์ หุ่นจำลองการประกอบพิธีแกลมอ (Healing ceremony) ของกลุ่มชาติพันธุ์กวย(Kuay)หุ่นจำลองการประกอบพิธีการ์แซน(การแต่งงาน) Wedding ของกลุ่มชาติพันธุ์เขมร(Khmer)และภาพถ่ายเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีบายศรีสู่ขวัญ สภาพความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว(Lao)ซึ่งจะสื่อถึงสภาพวิถีชีวิต ลักษณะเด่นทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ที่ประกอบกันเป็นคนสุรินทร์ในปัจจุบัน และยังมีข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องบรรจุอยู่ใน Computer Touch Screen ให้ศึกษาค้นคว้าได้โดยละเอียด Ethnology           Displays here focus on the population of Surin province, which can be divided into three groups: the Kuay, who excelled at catching and training elephants, the Khmer, the original inhabitants of Surin province, and the Laos, a later group who immigrated to Surin province. Models depict the houses, ceremonies, photographs and paintings, daily tools, and objects reflecting the lives and cultures of the three groups. A computer touch screen provides additional information.




วันศุกร์ที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ เวลา ๑๑.๐๐ น.นายขจร มุกมีค่า หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม และคณะ เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่นโดยมีนางสาวกรกช พาณิชย์ เป็นวิทยากรนำชม


ดาวน์โหลดเอกสาร


Messenger