ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,784 รายการ

ชื่อผู้แต่ง             กิ่งแก้ว  อัตถากร ชื่อเรื่อง              วัดศรีประวัติ ครั้งที่พิมพ์           - สถานที่พิมพ์        กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์          โรงพิมพ์พระจันทร์ ปีที่พิมพ์              ๒๕๒๑ จำนวนหน้า          ๑๒๙  หน้า                          ในการจัดทำหนังสือที่ระลึกงานผูกพัทธสีมาครั้งนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายา เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีตัดลูกนิมิตเอก บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และเททองหล่อพระพุทธศรีสวัสดิ์มงคลจำลอง  วัดศรีประวัติ ตั้งอยู่ริมคลองมหาสวัสดิ์ แขวงบางคูเวียง จังหวัดนนทบุรี เดิมเรียกว่า “วัดช่องลม” และบ้างเรียกว่า “วัดกลางทุ่ง” ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดนี้ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดศรีประวัตยาราม หรือเรียกสั้นๆ ว่า “วัดศรีประวัติ”


          กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญชมนิทรรศการพิเศษ “สืบ สร้าง สาน ศาสตร์ศิลป์”   จัดแสดงผลงานศิลปกรรมที่สร้างสรรค์โดยบุคลากรสำนักช่างสิบหมู่ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากงานศิลปกรรมชั้นครู  มาสืบต่อศาสตร์งานศิลปะแขนงต่างๆ สืบทอดภูมิปัญญาด้านงานช่างสิบหมู่อันเป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๖    นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า สำนักช่างสิบหมู่ มีภารกิจสำคัญในการอนุรักษ์ สืบสาน สร้างสรรค์ มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ โดยศึกษาศาสตร์งานศิลป์ อันมีศิลปกรรมชั้นครูที่ยังคงเหลือให้เห็นตามโบราณสถานและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ด้วยการฟื้นฟูศาสตร์ความรู้วิชาช่างศิลปกรรม สืบสานด้วยการสร้างสรรค์งานช่างศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ ส่งต่อด้วยการเผยแพร่องค์ความรู้ศาสตร์วิชางานช่าง ให้เห็นถึงกระบวนการสร้างสรรค์งาน นำไปสู่การพัฒนาทักษะเชิงช่างให้คงอยู่สืบไป ในโอกาส ๑๑๒ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากรจึงได้จัดนิทรรศการพิเศษ “สืบ สร้าง สาน ศาสตร์ศิลป์” เป็นการ สืบ สร้าง สาน ศาสตร์ศิลป์ ผ่านศิลปินศิลปากร จัดแสดงผลงานศิลปกรรมที่สร้างสรรค์โดยบุคลากรสำนักช่างสิบหมู่ ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากงานศิลปกรรมชั้นครูมาสืบต่อศาสตร์งานศิลปะแขนงต่างๆ ประกอบด้วย งานช่างเขียน: ปฐมบทแห่งการช่างไทย งานช่างรัก: ประณีตศิลป์แห่งรัก งานช่างศิราภรณ์: หลากวิชาช่างชำนาญศิลป์ งานช่างมุก: เลื่อมพรายลายฉลุศิลป์ งานช่างแกะ ช่างสลัก: วิจิตรแห่งภูมิปัญญาในงานจำหลักไม้ งานช่างบุ ช่างสลักดุน: วิจิตรแห่งโลหะศิลป์ งานช่างปิดทอง ช่างประดับกระจก: ประกายแห่งอัญมณี งานช่างปั้น ช่างหล่อ: ประติมากรรมแห่งศรัทธาศิลป์ งานช่างกระเบื้อง: วิวัฒน์ศิลป์ไทย โดยผลงานที่นำมาจัดแสดง อาทิบุษบกเกริน (จำลอง) หัวโขนจำลอง หัวโขนพระพิฆเนศประดับมุกเจดีย์ ฉัตร บังแทรกงานลายกำมะลอ เขียนภาพ “รามเกียรติ์ ตอนทศกัณฐ์ลักนางสีดา”แบบร่างประติมากรรมพระจันทร์ทรงราชรถโถน้ำพระพุทธมนต์ประดับมุก            กรมศิลปากร จึงขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการพิเศษ “สืบ สร้าง สาน ศาสตร์ศิลป์” ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๖ ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – อังคาร) ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร 


หลักเกณฑ์และแนวทางที่เกี่ยวข้องกับการให้คุณให้โทษและการสร้างขวัญกำลังใจแก่บุคลากร


เลขทะเบียน : นพ.บ.575/1                             ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 5.5 x 50.5 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 187  (357-364) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : สองสิม--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อเรื่อง                         สํยุตฺตนิกายกถา (สํยุตฺตนิกาย)ลบ.บ.                            35/12หมวดหมู่                       พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                  60 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง                         พระไตรปิฎก                                                                         บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน ฉบับล่องรัก ไม้ประกับธรรมดา




องค์ความรู้สุพรรณบุรี เรื่อง จังหวัดสุพรรณบุรีในศิลาจารึกสุโขทัย : ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงผู้เรียบเรียง : นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ


อธิบดีกรมศิลปากรกำชับสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช กำกับดูแลโครงการอนุรักษ์โบราณสถานวัดพระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมส่งนักวิทยาศาสตร์ฯ ดำเนินการอนุรักษ์ปืนใหญ่โบราณก่อนนำจัดแสดงตามหลักวิชาการต่อไป           นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ตามที่ปรากฏข่าวผู้รับเหมาทุบรื้อปืนใหญ่โบราณในวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช อ้างเพื่อการเป็นมรดกโลกนั้น สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช ได้เข้าตรวจสอบและรายงานว่า วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช มีหนังสือลงวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๖ ขออนุญาตซ่อมแซมปรับปรุงวิหารในวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร จำนวน ๕ หลัง  ได้แก่ วิหารพระม้า วิหารโพธิ์ลังกา วิหารพระแอด และวิหารสามจอม (วิหารพระเจ้าศรีธรรมโศกราช) โดยแจ้งว่างานจัดทำเอกสารนำเสนอการเป็นมรดกโลกฉบับสมบูรณ์ (Nomination Dossier) ใกล้แล้วเสร็จ คงเหลือเฉพาะงานแก้ไขซ่อมแซมปรับปรุงวิหาร ๕ หลัง ที่อยู่ในสภาพชำรุด และมีวัสดุแปลกปลอมติดตั้งอยู่ โดยรายการรื้อย้ายแท่นปืนใหญ่ ๙ ชุด เพื่อปรับพื้นปูหินอ่อนตามเดิม บริเวณรอบวิหารพระแอด อยู่ในรายการขออนุญาตในครั้งนี้ ซึ่งกรมศิลปากรได้อนุญาตให้ดำเนินการซ่อมแซมปรับปรุงตามแบบรูปรายการได้ โดยใช้ช่างฝีมือที่มีความชำนาญและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลร่วมกันระหว่างสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช และวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร แต่เมื่อสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช เสนอขอความเห็นชอบโครงการฯ ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช และดำเนินการจัดจ้างรวมทั้งการขอเข้าทำงานของผู้รับจ้าง ไม่ได้มีการแจ้งให้สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช ทราบแต่อย่างใด สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช จึงได้สั่งให้ผู้รับจ้างหยุดงานไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับอนุญาต และได้นัดประชุมร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ผู้แทนวัดที่ได้รับแต่งตั้ง ผู้ควบคุมงาน สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช และผู้รับจ้าง ได้ข้อสรุปดังนี้            ๑. มอบหมายให้ผู้แทนสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช  ควบคุมการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง โดยจะต้องดำเนินการติดตั้งป้ายโครงการฯ เพื่อชี้แจงการปฏิบัติงานต่อสาธารณชนให้เรียบร้อยโดยด่วน รวมทั้งให้ผู้รับจ้างเสนอแผนการทำงานเสนอคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ และผู้ควบคุมงานพิจารณาก่อนดำเนินการ            ๒. พระธรรมวชิรากร เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร สั่งการให้เคลื่อนย้ายปืนใหญ่ที่รื้อถอนแท่นฐานจากบริเวณวิหารพระแอด ไปจัดเก็บรักษาภายในพิพิธภัณฑ์วัด ซึ่งกรมศิลปากรจะส่งนักวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ดำเนินการอนุรักษ์ปืนใหญ่ ก่อนการติดตั้งแท่นฐานและจัดแสดงตามหลักวิชาการต่อไป            ๓. การเข้าปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง ตามสัญญาจ้างจะต้องแจ้งต่อวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช และสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช ทราบล่วงหน้าทุกครั้ง รวมทั้งจะต้องไต้รับอนุญาตจากวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร ก่อนการเข้าปฏิบัติงานภายในวิหารแต่ละหลัง           ทั้งนี้ ได้สั่งการให้สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช ติดตาม กำกับดูแลการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด และรายงานให้ทราบเป็นระยะต่อไป


            ย้อนหลังไป 149 ปี เมื่อวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เปิดพิพิธภัณฑ์หลวง ณ หอคองคอเดีย ภายในพระบรมมหาราชวังให้ประชาชนเข้าชมเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา นับเป็นวันกำเนิดพิพิธภัณฑ์สำหรับประชาชนแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมา พ.ศ.2538 คณะรัฐมนตรีได้มีมติ กำหนดให้วันที่ 19 กันยายน เป็นวันพิพิธภัณฑ์ไทย เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและเป็นโอกาสให้องค์กรด้านพิพิธภัณฑ์ ได้จัดกิจกรรมเผยแพร่ภารกิจแก่สังคม ในฐานะแหล่งเรียนรู้สำคัญของชาติ             ในปี พ.ศ.2566 กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จึงได้ร่วมมือกับเครือข่าย พิพิธภัณฑ์ 20 แห่งจัดกิจกรรมมหกรรมพิพิธภัณฑ์ไทย ระหว่างวันที่ 16 -19 กันยายน ภายใต้แนวคิด “การจัดการคลังและวัตถุพิพิธภัณฑ์สู่ความยั่งยืน” ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน และอาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร           นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากรกล่าวถึงแนวคิดการจัดงานมหกรรมพิพิธภัณฑ์ไทยประจำปี พ.ศ. 2566 ว่ากรมศิลปากรให้ความสำคัญกับการดูแลรักษา Collection หรือวัตถุพิพิธภัณฑ์ และการจัดการองค์ความรู้ ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของพิพิธภัณฑ์ทุกแห่งในโลก เพื่อการนำเสนอและเผยแพร่สรรพวิทยาการความรู้แก่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพ กรมศิลปากรเองก็ได้มีพิธีเปิดคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อันเป็นสถานที่จัดเก็บ อนุรักษ์โบราณวัตถุตามมาตรฐานพิพิธภัณฑ์สากล และกำหนดวิธีการให้บริการศึกษาค้นคว้าโบราณวัตถุที่เหมาะสมกับภารกิจหลักในการปกป้องคุ้มครองโบราณวัตถุอันเป็นทรัพย์ของแผ่นดิน ตามแนวพระราชดำริในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตน์ฯ ราชสุดา สยามบรมราชกุมารี โดยจะเปิดให้บริการศึกษาค้นคว้าเสมือนห้องสมุดโบราณวัตถุ ในวันพิพิธภัณฑ์ไทยปีนี้ คือวันที่ 19 กันยายน 2566             ในการจัดงานมหกรรมพิพิธภัณฑ์ไทยครั้งนี้ อธิบดีพนมบุตร จึงมอบหมายให้สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชิญชวนเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ต่างๆ มาร่วมกันเผยแพร่ความรู้ ภารกิจการอนุรักษ์ ดูแลรักษาวัตถุพิพิธภัณฑ์ และการจัดการความรู้ของแต่ละพิพิธภัณฑ์ ผ่านกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ 16 -19 กันยายน 2566             กิจกรรมในมหกรรมพิพิธภัณฑ์ไทยในปีนี้ จึงประกอบด้วย นิทรรศการพิเศษในพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน เป็นการจัดแสดงสิ่งของสำคัญ สิ่งของแปลกจากคลังพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ที่มิได้เผยแพร่มาก่อน ได้แก่             - กาน้ำไข่นกกระจอกเทศ เขี้ยวปลาวาฬ            - ชุดแสตมป์ดวงแรกของประเทศไทย             - โทรศัพท์รุ่นแรกที่นำเข้ามาใช้ในประเทศไทย            - เครื่องตัดต่อภาพยนตร์โบราณ เครื่องส่งโทรเลข จากคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ             - เขาสมัน งาช้างแปลก จากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร             - ตุ๊กตาทองตัวแรกของประเทศไทย จากหอภาพยนตร์             - เครื่องพิมพ์ดีดของ ป อินทรปาลิต จากพิพิธภัณฑ์หนังสือพิมพ์ไทย             - ชุดตลับงาช้าง 20 ขนาด จากพิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด             - ตราประทับชาดงาดำ เป็นตราประจำตำแหน่งเจ้ากรมตำรวจภูธร เมื่อแรกก่อตั้งหน่วยงานตำรวจภูธร ซึ่งพัฒนาต่อมาเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติในปัจจุบัน จากคลังพิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน             - ตั๋วรถราง ป้ายรถราง จากคลังพิพิธภัณฑ์การไฟฟ้าไทย             - ปืนพระรามหก จากคลังอนุสรณ์สถานแห่งชาติ             - รูปยาซิกาแรตชุดเจ้านายไทย บริษัทยาสูบชำมุ้ยจำกัด พ.ศ.2468 จากคลังพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว - อัณฑะผู้ป่วยโรคเท้าช้าง จากคลังพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน             - รูปพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญสมัยกรุงศรีอยุธยาบนภาชนะดินเผา จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย              - เหรียญเงินจีนจากแหล่งเรือจมในทะเลไทย จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี เป็นต้น            ในบริเวณนิทรรศการ ยังเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้ร่วมกิจกรรมปฏิบัติการอนุรักษ์โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และสิ่งสะสมประเภทวัสดุกระดาษ โลหะ เช่น เหรียญเงิน เอกสารโบราณ ภาพถ่ายเก่า ภาพจิตรกรรมสีน้ำ เป็นต้น โดยประชาชนสามารถนำสิ่งสะสมของตนมาปฏิบัติการอนุรักษ์ด้วยตนเอง โดยมีวิทยากรเชี่ยวชาญอบรมให้ความรู้จากพิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์ มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ทั้งนี้สามารถสำรองที่นั่งได้ทาง เฟสบุ๊คเพจ Thai Museum Day นอกจากนี้ยังมีเวทีบรรยายความรู้ เผยแพร่ภารกิจพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในบริเวณงานโดยวิทยากรจาก พิพิธภัณฑ์ต่างๆ มากกว่า ๒๐ พิพิธภัณฑ์             นอกจากนี้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ยังได้เปิดให้ชมพิพิธภัณฑ์ ณ วังหน้าในยามค่ำ หรือ Night Museum ไปจนถึงเวลา 20.00 น. โดยบริการรอบนำชม เวลา 17.00 น. และ 18.00 น. ตลอดวันที่ 17 - 19 กันยายน และจัดกิจกรรมพิเศษ “มหาคณปติบูชา” และตลาดอาร์ตทอยสร้างสรรค์พระคเณศ “ภัทรบูชา” ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน ณ อาคารมหาสุรสิงหนาท ติดตามรายละเอียดใน เฟสบุ๊คเพจ Education.National Museum Bangkok


          รูปพระภิกษุอุ้มบาตรยืนเรียงกัน 3 องค์           แบบศิลปะ : อยุธยา           ชนิด : ดินเผา           ขนาด : สูง 21.5 เซนติเมตร กว้าง 25.5 เซนติเมตร           ลักษณะ : แผ่นดินเผารูปพระภิกษุ 3 องค์ ประทับยืนบนฐานสิงห์  องค์กลางมีขนาดใหญ่กว่า อีก 2 องค์ที่ขนาบข้างซ้ายและขวา ครองจีวรห่มคลุม ชายจีวรเป็นริ้ววงโค้งพาดผ่านด้านหน้าพระเพลา พระหัตถ์ทั้งสองอยู่ในท่าประคองบาตร ท่าประทับยืนแยกพระบาท            สภาพ : ชำรุด ส่วนพระเศียรหักหายไปทั้งองค์ที่ตรงกลางและองค์ทางขวา, ภิกษุองค์กลางมีรอยร้าวคาดขวางพระวรกาย           ประวัติ : นายมนัส โอภากุล มอบให้เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2533 ย้ายจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2541           สถานที่จัดแสดง : ห้องศาสนศิลป์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี     แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi/360/model/20/   ที่มา: hhttp://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi


องค์ความรู้สุพรรณบุรี เรื่อง พุหางนาค อุทยานสวนหินพุทธสถานทวารวดีอู่ทองนิเวศ ผู้เรียบเรียง : นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ


แท่นแก้ว/สัตภัณฑ์/ฐานชุกชีวัสดุ : ไม้ ลงรัก ปิดทอง ล่องชาด ประดับกระจกแบบศิลปะ/อายุสมัย : ศิลปะล้านนา พื้นเมืองน่าน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๔-๒๕ (๑๐๐-๒๐๐ ปีมาแล้ว)ประวัติ : เป็นของที่อยู่คู่หอคำน่านมาแต่เดิมแท่นแก้ว หมายถึง ฐานชุกชีที่อยู่ใกล้ผนังวิหาร ใช้เป็นที่วางพระพุทธรูป สัตตภัณฑ์ ในบริบททางวัฒนธรรมล้านนาหมายถึง เชิงเทียนที่ใช้ในการบูชาพระประธานในวิหาร แบบแรกมีลักษณะคล้ายขั้นบันไดซึ่งมีที่สำหรับปักเทียนลดหลั่นกันลงมาได้ ๗-๙ ขั้น และแบบที่เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วซึ่งจะมีที่สำหรับปักเทียนไล่จากยอดถึงฐานทั้งสองด้านรวม ๗ ที่ลักษณะของแท่นฐานที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่านในปัจจุบัน เป็นลักษณะแท่นไม้ ๒ ชั้น แบบขั้นบันได ประดับตกแต่งด้วยไม้แกะสลัก ทาสี ติดกระจก ด้านข้างตกแต่งด้วยพญานาคขนาบทั้ง ๒ ข้าง ส่วนกลางลำตัวถึงหางหายไป โดยจากภาพถ่ายเก่าสูงขึ้นไปเป็น ๕ ชั้นจากเอกสารลายพระหัตถ์พระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา คราวเสด็จตรวจราชการมณฑลพายัพ และได้ประทับแรมที่หอคำนครน่าน วันที่ ๑๒-๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ ได้บรรยายห้องโถงไว้ ความว่า “...ต่อเข้าไปเป็นห้องรับแขกใหญ่กว้างมาก ตั้งเก้าอี้จัดเป็นที่รับแขก มีโต๊ะเก้าอี้ล้อมเป็นหย่อมๆ ไป ๔ หย่อม ทางฝาผนังด้านหุ้มกลองมีบุษบกรูปอย่างชาวเหนือตั้งพระพุทธรูปมีเครื่องบูชา...”ภาพถ่ายที่แสดงแท่นฐานในอดีต คือ ภาพงานพระศพเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ปรากฏภาพแท่นฐานอยู่เบื้องหลังพระโกศโถของเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เป็นแท่นฐานขนาดใหญ่ มีฉัตรประดับอยู่เหนือสุดปลายฉัตรจรดเพดาน ตั้งพระบรมรูปพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี พร้อมพระพุทธรูปและรูปเคารพต่างๆ โดยมีขนาดความสูงของแท่นประมาณขอบประตูจากคำบอกเล่าของเจ้าลัดดา (หมัดคำ) ณ น่าน ธิดาคนสุดท้องของเจ้ามหาพรหมสุรธาดา ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ในนิตยสาร Hello! ฉบับที่ ๑๐ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗ โดยความตอนหนึ่งว่า “...มีบัลลังก์อยู่อย่างตอนนี้ ก็วางพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่แล้ว เวลามีงานวันปิยมหาราช ๒๓ ตุลาคม ก็เชิญพระบรมรูปรัชกาลที่ ๕ ออกมาตั้ง..”เอกสารอ้างอิงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน. แท่นบัลลังก์หรือแท่นประดิษฐานพระพุทธรูป. เอกสารอัดสำเนา."สัตตภัณฑ์ (เชิงเทียนรูปเขาสัตตภัณฑ์) ." สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม ๑๓. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, ๒๕๔๒: ๖๗๕๘-๖๗๖๑.


14 กุมภาพันธ์สุขสันต์วันแห่งความรัก “วันวาเลนไทน์”คำฮักน้องกูปี้จักเอาไว้ในน้ำก็กลัวหนาวจักเอาไว้พื้นอากาศกลางหาวก็กลัวหมอกเหมยซอนดาวลงมาคะลุมจักเอาไปใส่ในวังข่วงคุ้มก็กลัวเจ้าปะใส่แล้วลู่เอาไปก็เลยเอาไว้ในอกในใจตัวชายปี้นี้จักหื้อมันไห้อะฮิอะฮี้ยามปี้นอนสะดุ้งตื่นเววาแปลว่า ความรักของพี่จะเอาฝากไว้ในน้ำก็กลัวน้องจะเหน็บหนาว จะฝากไว้กลางท้องฟ้าก็กลัวเมฆหมอกมาปกคลุมความรักของพี่ จะเอาไปฝากไว้ในวังในคุ้มเจ้าหลวง ก็กลัวเจ้านายมาเจอะเจอก็จะชิงเอาไป ก็เลยฝากไว้ในอกในใจของพี่ ให้มันร้องไห้กระซิกกระซี้ถึงน้องไม่ว่ายามพี่นอนหลับหรือสะดุ้งตื่นก็ตาม เมื่อทุกท่านมาเยี่ยมชมวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน พลาดไม่ได้จะต้องไปเยียมชม และถ่ายภาพ “กระซิบรัก” ที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ หรือจุดเน้นที่สำคัญมามาเยือน โดยภาพดังกล่าวมีอักษรธรรมล้านนา หรือตัวเมืองสีขาว ระบุที่ด้านบนของภาพว่า “ปู่ม่าน ย่าม่าน” โดยคำว่าปู่ ย่า หมายถึง ผู้ชาย ผู้หญิง /พ่อ แม่ ส่วนคำว่า ม่าน หมายถึง พม่า เป็นภาพชายหนุ่มกับหญิงสาวกำลังทำท่าทาง “กระซิบกระซาบ” กัน จนเป็นที่มาของคำว่า #กระซิบรัก #กระซิบรักน่าน #กระซิบรักบันลือโลก ภาพจิตรกรรมสันนิษฐานว่าเขียนขึ้นเมื่อครั้งการบูรณะใหญ่ใสมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน เมื่อปี พ.ศ. 2410-2417 หรือหลังจากนี้เล็กน้อย โดย “หนานบัวผัน” โดยลักษณะของภาพวาดอยู่ด้านทิศตะวันตกของวิหาร ด้านซ้ายมือของประตูเมื่อมองจากมุมมองด้านใน ซึ่งผนังด้านทิศตะวันตกด้านบนสุดเล่าเรื่อง “พุทธประวัติ ตอน ปริพนิพพาน” ล่างลงมาเล่าเรื่อง “เนมิราชชาดก” โดยพระเจ้าเนมิราชเสด็จไปยัง “สวรรค์” และ “นรก” ส่วนภาพ “ปู่ม่าน ย่าม่าน” นั้นเป็นภาพประกอบเสริม หรือ “ภาพกาก” ที่ประกอบเรื่องราวเล่าเรื่องวิถีชีวิต สภาพบ้านเมือง ลักษณะการแต่งกายของ “ปู่ม่าน ย่าม่าน” ผู้หญิงไว้ผมยาว เก้ามวยผม ปลายผมทิ้งชาย ที่มวยปักปิ่นผม ใส่ลานหู หรือ ด็อกหู แสดงฐานะทางสังคม รัดอกด้วยผ้าคาดอก เสื้อนอกสวม “เสื้อปั๊ด” หรือ “เสื้อป้าย” นักวิชาการบางท่านเสนอว่าเป็นอิทธิพล “ไทลื้อ” สวมกำไล แหวน นุ่งซิ่น “ลุนตยา” ยาวคลุมเท้าเปิดด้านหน้า “ลุนตยา” เป็นชื่อผ้าทอโบราณพื้นเมืองของประเทศ “พม่า” หรือเมียนมาในปัจจุบัน ส่วนผู้ชายไม่สวมเสื้อ คาดผ้าเคียนหัว หรือคาดผ้าคาดหัว เรียก “เก้าเบ้า” หรือ “ก้องบ้อง” การโพกผ้าไว้เพื่อเก็บผมให้ดูเรียบร้อย ผมเป็นมวยไว้ได้บน ไว้หนวดตกแต่งหนวดแหลม เจาะหู สำหรับใส่ลานหู ที่ผิวหนังส่วนตัวมีรอยสักสีแดง หรือสักครั่ง เป็นรูปบุคคล ตั้งแต่เอวไปจนถึงหัวเข่าสักดำ เป็นรูป หนุมาน สัตว์มงคล และคลายคลื่น นุ่งผ้าลุนตยาถกร่นขึ้นสูง คล้ายนุ่งหยักรั้งของไทย เพื่อโชว์หรือแสดงให้เห็นรอยสัก ล้านนาเรียกการนุ่งแบบนี้ว่า นุ่งผ้าต้อย นุ่งเก็นม่าน (นุ่งแบบพม่า)คำพูดข้างต้นมาจาก “โวหารคำเจรจาของหนุ่มสาว” หรือ “คำอู้บ่าว อู้สาว” โดย “คำช้อย” คือ บทขับ (ที่มีสำนวนอารมณ์) ปกติแล้วหนุ่มๆ มักจะขับบทประพันธ์ประเภทคร่าวด้วยลีลาที่เรียกว่า ช้อย เพื่อบ่งบอกความรู้สึกเชิงถวิลหวังให้ได้ยินไปถึงหญิงสาวที่ตนหมายปอง โดยเฉพาะเมื่อเข้าไปใกล้บ้านของหญิงสาวที่มาดหมาย “ช้อยเชียงแสน” เป็นทำนองเชียงแสนโบราณ อันมีลีลาพิเศษโดยสำนวนที่ปรากฏในปัจจุบันเกิดจาก อาจารย์สมเจตน์ วิมลเกษม ได้นำมาบรรยาย พรรณนา ประกอบภาพกระซิบรัก ปู่ม่าน ญ่าม่าน จนโด่งดังไปทั้งประเทศ โดยนำมาจากช้อยเชียงแสนที่ว่าคํารักคูพี่นี้ จักเอาไว้ในน้ำก็กลัวหนาว จักเอาไว้พื้นอากาศกลางหาว  ก็กลัวเดือนดาว ลงมาแวดอุ้ม จักเอาไว้กลางปราสาทข่วงคุ้ม  ก็กลัวเจ้ามาปะใส่ แล้วลู่เอาไพ จึงเอาเก็บไว้ในอกในใจคูพี่นี้ หื้อมันให้อะฮิอะฮิ้ ยามเมื่อคูพี่นอนสะดุ้งตื่น เววาเอกสารอ้างอิงอุดม รุ่งเรืองศรี. โวหารโบราณ (เพลงละอ่อน, ปริศนา-คำทาย, คำอู้บ่าว-อู้สาว, สุภาษิต). เชียงใหม่ : มิ่งเมือง 2795. 2554.


#องค์ความรู้ : หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา เรื่อง : คุณค่าที่ไม่ควรฆ่า เอกสารโบราณ : หนังสือใบลาน   "คัมภีร์ใบลาน" จัดเป็นเอกสารโบราณประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาโดยเฉพาะเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนา ตำรา โหราศาสตร์ วรรณกรรม และเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่คนในอดีตได้บันทึกไว้ โดยแสดงถึงสรรพวิทยาการความรู้และภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าของคนในอดีต เราจึงควรตะหนักถึงควาสำคัญของการอนุรักษ์ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาสรรพวิชาการต่าง ๆ ของชาติต่อไปในอนาคต   จัดทำโดย นางสาวกุลริศา รัชตะวุฒิ นักภาษาโบราณ


ส่องอักษรดูสาระ นำเสนอและเผยแพร่เกร็ดความรู้ต่าง ๆ จากคำศัพท์และองค์ความรู้ที่น่าสนใจในเอกสารโบราณที่มีอยู่ ณ ห้องอีสานศึกษา ของหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา พี่นักภาษาโบราณขอนำเสนอคำศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับโรคพยาธิชนิดหนึ่งชื่อว่า “ตะมอย”  จัดทำโดย นางสาวกุลริศา รัชตะวุฒิ นักภาษาโบราณ


Messenger