ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,784 รายการ
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณภิธมฺมเทสนา (เทศนาสังคิณี-มหาปัฏฐาน)สพ.บ. 130/7ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 48 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง ธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.71/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 58 หน้า ; 4.6 x 50 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 46 (35-51) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : วินยฺกิจ (วิไนยกิจจะ) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ป้อมปราการเมืองลพบุรี ที่ตั้ง ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี สิ่งสำคัญ ๑. ประตูชัยและป้อม ๒. ป้อมชัยชนะสงคราม ๓. ป้อมท่าโพธิ์ ๔. แนวกำแพงเมืองลพบุรี ๕. ป้อมหิน ๖. ป้อมท่าหิน ประวัติและความสำคัญ : กำแพงเมือง ป้อมค่าย ประตูหอรบ ของเดิมแข็งแรงมากทั้ง ๔ ด้าน สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยลพบุรี และสร้างเพิ่มเติมอีกครั้งในสมัยพระราเมศวรเสด็จไปครองเมืองลพบุรี ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้โปรดฯให้รื้อกำแพงเมืองเดิม เพราะเกรงข้าศึกจะยึดเป็นที่มั่น และมาสร้างเพิ่มเติมใหม่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เฉพาะบริเวณพระราชวัง ป้อมมุมเมือง และสร้างประตูใหม่ ลักษณะรูปแบบศิลปกรรม : สมัยอยุธยา ลักษณะการถือครองที่ดินหรือผู้ดูแล : กรมศิลปากร การขึ้นทะเบียน : ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๒๔ วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๔๗๙ (ที่มา : ทะเบียนโบราณสถานในเขตสำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี)
เลขทะเบียน : นพ.บ.131/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 42 หน้า ; 5.5 x 56 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 77 (302-308) ผูก 5 (2564)หัวเรื่อง : พิมฺพาเถรีวตฺถุ (พิมฺพาเถรี)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.6/1-6
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง : บันทึกผลงานของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ระหว่าง พ.ศ. 2491-2499
ชื่อผู้แต่ง : กรมศิลปากร. กองจดหมายเหตุแห่งชาติ
ปีที่พิมพ์ : 2510
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
จำนวนหน้า : 400 หน้า
สาระสังเขป : กล่าวถึงผลงานของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ระหว่าง พ.ศ. 2491 - 2499 ในลักษณะบันทึกเหตุการณ์โดยกองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร มีเนื้อหาเกี่ยวกับ คณะรัฐบาลชุดที่ 1 - 6 คำแถลงนโยบายของรัฐบาล และผลงานด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย ด้านการคลัง ด้านการต่างประเทศ ด้านการศึกษา ด้านการเกษตร ด้านการคมนาคม ด้านประชาสงเคราะห์ ด้านวัฒนธรรม ด้านสหกรณ์ ด้านสาธารณสุข และด้านอุตสาหกรรม
การอบรมพิพิธภัณฑสถานวิทยาแก่บุคคลภายนอก (ปีที่ 17)
หัวข้อ : พิพิธภัณฑ์ในอาคารเก่า
กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (สพช.) จะจัดโครงการอบรมพิพิธภัณฑสถานวิทยาแก่บุคคลภายนอก ปีที่ 17 หัวข้อ “พิพิธภัณฑ์ในอาคารเก่า” หลักสูตร 10 วัน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ระหว่างวันที่ 7 – 18 มิถุนายน 2564 (เว้นวันหยุดราชการ) ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
วัตถุประสงค์ของการอบรมครั้งนี้ก็เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิชาการพิพิธภัณฑ์ โดยเน้นเรื่องการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ในอาคารโบราณสถานหรืออาคารเก่า ซึ่งต้องบูรณาการศาสตร์หลายแขนงร่วมกันอนุรักษ์อาคารสถาปัตยกรรมเก่าให้คงคุณค่าพร้อมทั้งการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ให้มีความทันสมัยให้ควบคู่กันไปได้อย่างลงตัว
โครงการอบรมพิพิธภัณฑสถานวิทยาแก่บุคคลภายนอก โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (สพช.) เริ่มดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านพิพิธภัณฑสถานวิทยามาตั้งแต่พุทธศักราช 2547 ต่อเนื่องมาจนถึงปีที่ 16 ในพุทธศักราช 2563 แต่เนื่องจากเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย ทำให้การอบรมที่วางแผนดำเนินการมาต้องระงับไปชั่วคราว อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในปี พ.ศ.2564 นี้ การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จะยังคงมีอยู่ แต่สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเล็งเห็นถึงความสำคัญของการเผยแพร่องค์ความรู้ดังกล่าว จึงจัดการอบรมพิพิธภัณฑสถานวิทยา ปีที่ 17 ในช่วงเดือนมิถุนายน 2564 โดยระหว่างการอบรมได้กำหนดข้อปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid 19) ตามแนวทางของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) และประกาศของกรุงเทพมหานครเพื่อสร้างความมั่นใจและความปลอดภัยแก่ผู้เข้าร่วมอบรม
ติดตามข่าวสารการโครงการอบรมพิพิธภัณฑสถานวิทยาแก่บุคคลภายนอก ปีที่ 17หัวข้อ “พิพิธภัณฑ์ในอาคารเก่า” ของสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้ทาง https://www.facebook.com/onmthailand
ม้าเงินทรงเครื่องจำลอง
ศิลปะล้านนา พ.ศ.๒๔๖๗
สูง ๑๙ เซนติเมตร
ไม้บุเงิน
ย้ายมาจากพิพิธภัณฑ์มณฑลพายัพ วัดพระธาตุหริภุญชัย พ.ศ. ๒๕๑๘
ม้าจำลองตัวนี้สร้างขึ้นโดยแม่เจ้าบัวทิพย์สร้างถวายวัดพราตุหริภุญชัย พ.ศ. ๒๔๖๗ โครงภายในเป็นไม้ บุด้วยเงิน วิธีการบุนี้ เป็นวิธีการตกแต่งสิ่งของให้สวยงามโดดยการนำโลหะไปทำการหุ้มวัสดุนั้นๆ เช่น ไม้ หรือแกนดินผสมรักสมุก แล้วตกแต่งลวดลายให้มีความงดงาม เช่นการบุพระพุทธรูป เครื่องอาวุธต่างๆ เช่นด้ามของดาบ เป็นต้น
ที่ฐานของม้ามีจารึกความว่า
“จุลศักราชได้ ๑๒๘๖ ตั๋ว ปี๋กาบไจ้ เดือน ๖ เหนือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เม็งวันไตยรวงเหม้า ตรงกับวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๕๔๖๗ปะถะมะมูล ศรัทธาแม่เจ้าบัวติ๊บเป๋นเค้า พร้อมกับด้วยลูกและหลานจุผู้จุคนก็ได้สร้างยังรูปม้าเงินตั๋ว ๑ มาถวาย เปนตาน กับพระวิหารหลวงลำพูน ตราบ ๕,๐๐๐ พระวรรษาดีหลี ขอจงจักเป๋นปัจจัย ค้ำชูยังผู้ข้าทั้งหลายตราบเถิงยังยอดแก้วพระนิปปานเจ้าจิ่มแต้เต๊อะ”
ม้าจำลองนี้ สร้างถวายโดยแม่เจ้าบัวทิพย์พร้อมด้วยลูกหลาน ซึ่งเจ้าบัวทิพย์นี้ยังไม่สามารถสืบทราบได้ว่าเป็นผู้ใด ส่วนจารึในฐานม้ายังสะท้อนแนวคิดต่ออายุพระพุทธศาสนาในยุคของพระสมณโคดมที่เชื่อว่ามีอายุ ๕,๐๐๐ ปี และปรารถนาไปยังซึ่งนิพพาน ซึ่งจารึกในลักษณะนี้ยังพบในฐานพระพุทธรูปที่ปรากฏทั่วไปในภาคเหนือด้วย
เอกสารอ้างอิง
ณัฏฐภัทร จันทวิช (บรรณาธิการ). โบราณวัตถุและศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย . กรุงเทพฯ :ส.พิจิตรการพิมพ์, ๒๕๔๘.
ศิรพงศ์ ศักดิ์สิทธิ์. “คติการสร้างพระพุทธรูปไม้ล้านนา,” ดำรงวิชาการ ปีที่ ๑๘, ๑ (ม.ค. - มิ.ย. ๖๒), ๘๖-๑๐๙.
ไหลาว ภาชนะรูปแบบเด่นที่พบในภูมิภาคอีสานใต้ ซึ่งแม้จะไม่ได้มีแหล่งผลิตในภูมิภาคอีสานใต้ แต่จากการขุดศึกษาโบราณสถานพระธาตุกุดจอด ตำบลบ้านยาง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งกำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22-24 และธาตุลาวอีกหลายแห่ง เราพบไหลาว ซึ่งมีรูปแบบภาชนะที่โดดเด่นด้วยเช่นกัน ไหลาว เป็นภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งในกลุ่มวัฒนธรรมล้านช้าง ที่มักจะสร้างความสับสนให้กับนักโบราณคดีมือใหม่ที่มักจะตีความว่าเป็นไหเขมร เนื่องจากมีลักษณะสีน้ำเคลือบที่ใกล้เคียงกันและมักพบในแหล่งโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเช่นเดียวกัน ภาชนะแบบนี้มีแหล่งผลิตอยู่ในบริเวณลุ่มน้ำสงคราม ในพื้นที่จังหวัดสกลนครและจังหวัดนครพนม และกลุ่มเตาในกรุงเวียงจันทน์ สปป.ลาว เทคนิคการผลิตในแต่ละกลุ่มเตาค่อนข้างจะเหมือนกัน แตกต่างที่การทำสีเคลือบ ภาชนะแบบไหที่เป็นรูปแบบที่พบมากจากลุ่มเตาลุ่มแม่น้ำสงคราม ทำเป็นภาชนะขนาดใหญ่ทรงสูง ขอบปากสูง มีส่วนคอแคบ ส่วนลำตัวป่องออก แล้วเรียวลงสู่ฐานที่แคบและไม่มีเชิง มีทั้งรูปทรงที่ส่วนคอสั้น และส่วนคอจนถึงขอบปาก สูง รัศมีขอบปากมีทั้งที่แคบกว่าและใกล้เคียงเส้นผ่าศูนย์กลางลำตัวของภาชนะเคลือบน้ำเคลือบสีน้ำตาลที่อาจมีโทนสีต่างกันไปบ้างในแต่ละแห่งและแบบไม่เคลือบ เนื้อภาชนะมีสีเทา มีการตกแต่งบริเวณไหล่ ด้วยหูหลอก หรือที่เรียกว่า “จีบแปะ”, ลวดลายขด, ลวดลายต่าง ๆ ด้วยเทคนิคอื่น ๆ อีกหลายแบบ สีของน้ำเคลือบภาชนะจากกลุ่มเตาลุ่มน้ำสงคราม พบเพียงสีเดียวคือ สีน้ำตาล ในแต่ละกุล่มเตามีลักษณะเฉพาะของสีน้ำเคลือบต่างกันไป เช่น สีน้ำตาลอ่อน, สีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลไหม้, สีน้ำตาลอมแดง, สีน้ำตาลอมเขียว การทำเคลือบสีน้ำตาล น่าจะเป็นเพราะ การใช้สารประกอบออกไซด์ของเหล็กหรือตะกรันเหล็กหาได้ง่าย และเทคนิควิธีการเคลือบไม่ยุ่งยากซับซ้อน เหมาะที่จะใช้สำหรับภาชนะขนาดใหญ่ การเคลือบไห มักจะเคลือบเฉพาะด้านนอกจนถึงขอบปากด้านใน น้ำเคลือบไหลหยดเป็นทางและเกาะตัวกับผิวภาชนะได้ไม่ดี, ส่วนชามจะเคลือบเฉพาะด้านใน ซึ่งน่าจะมีความสัมพันธ์กับเครื่องถ้วยกลุ่มล้านนา-สุโขทัย มากกว่าเครื่องถ้วยเขมร ผลิตภัณฑ์จากแม่น้ำสงคราม ส่วนใหญ่ ทำขึ้นเพื่อใช้ในพิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย เป็นภาชนะที่มีค่า สำหรับใส่กระดูกแล้วฝัง ในชุมชนที่พบภาชนะใส่กระดูกลักษณะนี้ จึงเป็นชุมชนที่ร่วมสมัยกับระยะที่อาณาจักรลาวเข้มแข็ง ในพุทธศตวรรษที่ 20-21 ซึ่งสามารถดูการกระจายตัวของชุมชนในระยะนี้ได้จาก การกระจายตัวของวัฒนธรรมไหใส่กระดูก ที่เป็นผลิตภัณฑ์จากเตาลุ่มน้ำสงคราม และพบแพร่กระจายในกลุ่มชนที่รับวัฒนธรรมล้านช้าง ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานทั่วทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างด้วย การที่น้ำเคลือบเกาะผิวไม่ดีจึงมักหลุดล่อนได้ง่าย มีไม่สม่ำเสมอ และมีหยดน้ำเคลือบปรากฏให้เห็นอยู่เสมอก็พอทำให้สามารถแยกไหลาวออกจากไหเขมรได้ นอกจากนี้เนื้อดินของไหเขมรมักจะมีเม็ดกรวดเล็กๆปนอยู่เสมอแต่ไหลาวมักจะมีเนื้อดินเนียนละเอียดกว่า นอกจากไหแล้ว กลุ่มเตาในวัฒนธรรมล้านช้างยังผลิตภาชนะเคลือบสีเขียวขนาดเล็ก จำพวก ถ้วย-ชาม , กล้องยาสูบดินเผา, ตุ้มถ่วงแห ฯลฯ ชาม กระปุก อีกด้วย------------------------------------------------------------ข้อมูลโดย นายกิตติพงษ์ สนเล็ก นักโบราณคดีชำนาญการพิเศษ สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา------------------------------------------------------------แหล่งอ้างอิงข้อมูล สำนักงานศิลปากรที่ 12 นครราชสีมา. รายงานการขุดแต่งโบราณสถานพระธาตุกุดจอก บ้านยางน้อย ตำบลบ้านยาง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ. นครราชสีมา: สำนักงานศิลปากรที่ 12 นครราชสีมา. 2546. ปริวรรต ธรรมาปรีชากร และคณะ. ศิลปะเครื่องถ้วยในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โอสถสภา. 2539. น.77-79.
องค์ความรู้ : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
เรื่อง : ประติมากรรมรูปสตรี พบจากการขุดแต่งปราสาทเมืองต่ำ
ปราสาทเมืองต่ำ ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเขาพนมรุ้งประมาณ ๗ กิโลเมตร เป็นปราสาทบนที่ราบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบริเวณเขาพนมรุ้ง - เขาปลายบัด ปราสาทแห่งนี้ได้รับการขุดค้น ขุดแต่ง จากกรมศิลปากรเมื่อปี ๒๕๓๑ - ๒๕๓๒ และดำเนินการบูรณะด้วยวิธีอนัสติโลซิสจนแล้วเสร็จในปี ๒๕๓๙
จากการขุดค้น ขุดแต่งครั้งนั้น ได้พบโบราณวัตถุชิ้นสำคัญหลายรายการ เช่น ศิวลึงค์หินทราย แผ่นทองคำรูปดอกบัวแปดกลีบ ประติมากรรมรูปบุรุษ และประติมากรรมรูปสตรี เป็นต้น ในบรรดารูปเคารพที่พบ ประติมากรรมรูปสตรีมีความน่าสนใจอย่างยิ่ง เนื่องจากประติมากรรมชิ้นนี้ พบชิ้นส่วนกระจายอยู่ต่างที่กัน กล่าวคือ ขุดพบพระกรซ้ายบริเวณด้านหน้าปราสาทอิฐด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จากนั้นขุดพบส่วนพระอุระบริเวณด้านหน้าของปราสาทประธานฝั่งซ้าย และพบท่อนพระวรกายจรดข้อพระบาทรวมถึงส่วนฐานบริเวณด้านหน้าปราสาทประธานฝั่งขวา เมื่อนำชิ้นส่วนต่าง ๆ มาประกอบเข้าด้วยกัน ปรากฏว่าเข้ากันได้สนิท เป็นประติมากรรมชิ้นเดียวกัน อย่างไรก็ตามประติมากรรมชิ้นนี้ยังไม่สมบูรณ์ ขาดในส่วนของพระเศียร พระกรด้านขวา และข้อพระบาทด้านซ้ายซึ่งสูญหายไป
จากชิ้นส่วนที่เหลืออยู่มีลักษณะเป็นรูปสตรียืนในท่าสมภังค์ (ยืนตรง) สูง ๕๘ เซนติเมตร พระหัตถ์ซ้ายจีบนิ้วชี้จรดหัวแม่มือ พระวรกายส่วนพระอุระเปลือยเปล่าไม่มีเครื่องประดับ ในส่วนของผ้านุ่งมีลักษณะยาวเป็นริ้วขอบผ้าด้านบนเว้าลง มีชายพกทางด้านซ้าย ด้านหน้ามีชายผ้าห้อยลงเป็นรูปคล้ายหางปลา และมีเข็มขัดคาดทับ ๑ เส้น มัดปลายเข็มขัดเป็นเงื่อนที่ด้านหน้า เป็นลักษณะของศิลปะขอมแบบบาปวน อายุพุทธศตวรรษที่ ๑๖ หรือประมาณ ๑,๐๐๐ ปีมาแล้ว ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกันกับ ประติมากรรมรูปสตรีพบที่ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ และนางอัปสรคู่พบที่ศาลพระกาฬ จังหวัดลพบุรี
สันนิษฐานว่ารูปเคารพดังกล่าวอาจเป็นพระอุมาชายาของพระศิวะ เนื่องจากที่ปราสาทประธาน ปราสาทเมืองต่ำได้ขุดพบศิวลึงค์หินทรายองค์ใหญ่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นเนื่องในลัทธิ ไศวนิกาย และประติมากรรมรูปสตรีองค์นี้เดิมก็น่าจะเคยประดิษฐานบริเวณปราสาทประธานด้วยเช่นกัน ปัจจุบันประติมากรรมรูปสตรีเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย จังหวัดนครราชสีมา
เรียบเรียงโดย: นายกฤษณพงศ์ พูนสวัสดิ์ นักโบราณคดี อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
เอกสารอ้างอิง:
กรมศิลปากร, สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๙ นครราชสีมา. ปราสาทเมืองต่ำ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๐.
สามารถ ทรัพย์เย็น และคณะ. รายงานการขุดแต่งโบราณสถานปราสาทเมืองต่ำ และการขุดตรวจเพื่อค้นหาแหล่งชุมชนโบราณบริเวณโดยรอบปราสาทเมืองต่ำ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๓๖.
สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า. ประติมากรรมขอม. กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์, ๒๕๑๕.
สัมภาษณ์
นัยนา มั่นปาน, ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย. สัมภาษณ์ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๔.
วิเชียร อริยเดช, ข้าราชการบำนาญ อดีตนายช่างศิลปกรรม ๖ ทีมงานบูรณะปราสาทเมืองต่ำ. สัมภาษณ์ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๔.
พระนครคีรี เป็นพระราชวังในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช รัชกาลที่ ๔ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในพุทธศักราช ๒๔๐๒ ด้วยทรงเห็นภูมิสถานของเมือง เพชรบุรีเป็นที่เหมาะสมในการจะสร้างพระราชฐานที่ประทับ โดยให้สร้างขึ้นบนเขาสมณะ ภายหลังพระราชทานนามว่า เขามหาสวรรค์ นับเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีการสร้างพระราชวังขึ้นบนเขา เป็นพระราชฐานในหัวเมืองที่สำคัญที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาประทับอยู่เสมอตลอดรัชสมัย
พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ พระที่นั่งองค์แรกของพระราชวังพระนครคีรี ก่อพระฤกษ์เมื่อ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนแปด ปีมะแม เอกศก จุลศักราช ๑๒๒๑ (ตรงกับวันที่ ๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๐๒) เป็นพระที่นั่งองค์ใหญ่ที่สุด และเป็นพระที่นั่งองค์ประธาน
ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบยุโรปผสมไทย และจีน ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีมุขยื่นออกไปด้านข้างสองด้านทั้งซ้ายและขวา ภายในแบ่งเป็นห้องต่างๆ
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ปรับเปลี่ยนเป็นห้องรับรองการประทับสำหรับพระราชอาคันตุกะจากต่างประเทศ ดังนี้ ท้องพระโรงหน้าดัดแปลงเป็นห้องเสวยพระกระยาหาร และห้อง ท้องพระโรงหลังเป็นห้องพักผ่อนพระอิริยาบถ และห้องพระบรรทม มุขด้านทิศตะวันออกดัดแปลงเป็นห้องทรงพระสำราญ และมุขด้านทิศตะวันตกดัดแปลงเป็นห้องสรง ห้องแต่งพระองค์ของพระราชอาคันตุกะ
ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและเครื่องเรือนต่างๆ และพระที่นั่งองค์นี้ยังเคยเป็นสถานที่ที่ใช้รับรองพระราชอาคันตุกะ คือ ดยุคโยฮัน อัลเบิร์ต ผู้สำเร็จราชการแห่งราชรัฐบรันชวิก และเจ้าหญิงอลิซาเบธ แห่งสโตลเบิร์ก-รอซซาล่า พระชายา ในคราวเสด็จฯ ประพาสเมืองเพชรบุรี