ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,784 รายการ
วัสดุ สำริด
อายุสมัย สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (ประมาณ 2,500 – 1,800 ปีมาแล้ว)
สถานที่พบ พบที่แหล่งโบราณคดีบ้านดอกล้ำ อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด
ขวานสำริด ส่วนปลายแบนกลมมน ส่วนกลางคอดเรียว ตกแต่งลายเป็นเส้น 3 เส้น สันนิฐานว่าใช้เทคนิคการหล่อแบบไล่ขี้ผึ้ง (lost wax casting) โดยปั้นหุ่นรูปขวานแล้วหุ้มด้วยดินหุ่น เมื่อเทสำริดแทนขี้ผึ้ง แล้วปล่อยให้เย็นตัว จึงทุบดินหุ่นออก แล้วขัดแต่งผิวให้สวยงาม
กล่าวถึงประวัติบุคคลสำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรีในอดีตที่เคยสร้างชื่อเสียงและทำคุณประโยชน์นานัปการแก่ประเทศชาติและจังหวัดสุพรรณบุรี ประกอบด้วย
๑. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว)
๒. สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๑๗ (ปุ่น ปุณณสิริ)
๓. พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ)
๔. เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)
๕. พลโทพระยาเฉลิมอากาศ ( สุณี สุวรรณประทีป)
๖. นายมนตรี ตราโมท
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว)
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว) พระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๓ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงเป็นต้นราชวงศ์สุพรรณภูมิ และเคยเป็นเจ้าเมืองปกครองเมืองสุพรรณมาก่อน รวมถึงทรงมีสายสัมพันธ์ทางเครือญาติในฐานะพระเชษฐาของพระมเหสีในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ตลอดระยะเวลาแห่งการครองราชย์ (ระหว่าง พ.ศ. ๑๙๑๓ –๑๙๓๑) ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นพระมหากษัตริย์มีพระปรีชาสามารถในการรบ สามารถขยายดินแดนไปหัวเมืองทางเหนือ อาทิ เมืองพิษณุโลก กำแพงเพชร และเมืองเชียงใหม่ จนทำให้กรุงศรีอยุธยามีความมั่นคงเป็นปึกแผ่นเป็นอันมาก ในปี ๑๙๓๑ พระองค์เสด็จสวรรคตพระเจ้าทองลันพระราชโอรสเสด็จขึ้นครองราชย์แทนแต่อยู่ได้เพียง ๗ วัน พระราเมศวรครองเมืองลพบุรีทรงสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์แทน ซึ่งเป็นการกลับมาปกครองของราชวงศ์อู่ทองอีกครั้ง
วันที่ ๒๑-๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๑ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา จัดโครงการเครือข่ายเพื่อการอนุรักษ์เบื้องต้นเอกสารโบราณ ในพื้นที่อีสานตอนล่าง ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.นาฝาย อ.เมือง จ.ชัยภูมิและวัดธาตุ ต.บ้านเป้าอ.เกษตรสมบูรณ์จ.ชัยภูมิ
เศียรธรรมิกราช
จากวัดธรรมิกราช ควรมีอายุอยู่ในช่วงเวลาใด?
เศียรพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "เศียรธรรมิกราช" เพราะพบที่วัดธรรมิกราชพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา เป็นเศียรพระพุทธรูปสำริดที่มีขนาดใหญ่สุดและมีความสำคัญมากที่สุดองค์หนึ่งในประเทศไทย
เศียรพระธรรมิกราช สูงประมาณ ๒.๐๐ เมตร กรอบพระพักตร์สี่เหลี่ยม(กรามใหญ่) พระขนงเชื่อมต่อกันเป็นปีกกาและเป็นสันนูน พระเนตรเปิดกว้างเหลือบลงต่ำเล็กน้อย ไม่แสดงดวงพระเนตร พระนาสิกค่อนข้างใหญ่ พระโอษฐ์แบะกว้าง แนวเส้นพระโอษฐ์เกือยเป็นเส้นตรง ริมพระโอษฐ์หนา พระเศียรมีขมวดพระเกศาเป็นเม็ดเล็กอย่างมากและทรงสูงแบบหนามขนุน มีอุษณีษะไม่สูงมากนักและที่อุษณีษะแสดงเม็ดพระศกด้วยเช่นกัน ระหว่างพระนลาฏกับพระศกมีขอบที่เรียกว่าไรพระกปรากฎอยู่ด้วยแต่เป็นแนวเล็กๆ เท่านั้น
นักวิชาการหลายท่านให้ความเห็นว่าเศียรพระธรรมิกราชนี้มีมาก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และเชื่อว่ามีอายุอยู่ในราวครึ่งแรกพุทะศตวรรษที่ ๑๘ โดยเชือมโยงกับตำนานในพงศาวดารเหนือที่กล่าวถึงพระนามของกษัตริย์คือพระเจ้าธรรมิกราช(พ.ศ. ๑๗๐๘-๑๗๔๘) พระราชโอรสของพระเจ้าสายน้ำผึ้ง ผู้สร้างวัดมุขราช หรือ วัดธรรมิกราช นอกจากนี้อาจารย์ น. ณ ปากน้ำยังให้ความเห็นเกี่ยวกับเศียรธรรมิกราชไว้ด้วย ซึ่งเรียกเศียรพระดังกล่าวว่า "หลวงพ่อแก่" เพราะพระพักตร์นั้นดูเคร่งเครียด สูงอายุ แสดงอำนาจและพลังอันเข้มแข็ง เป็นสมัยการนับถือพุทธศาสนาแบบมหายานร่วมสมัยกับอาณาจักรนครหลวงของขอม จัดเป็นแบบอู่ทองทั่วไป ศิลปะช่วงก่อนสมัยอยุธยา
ข้อสังเกตประการสำคัญที่ว่าเศียรธรรมิกราชไม่ใช่ศิลปะแบบเขมรแต่เป็นศิลปะแบบไทยแล้วก็คือ ส่วนของพระเศียรที่ทำเป็นอุษณีษะและมีขมวดพระเกศาเป็นเม็ดเล็กทรงสูง ลักษณะดังกล่าวไม่มีปรากฎในศิลปะเขมร กล่าวคือในศิลปะสมัยนครวัดนิยมทำเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องที่มีเทริดหรือกระบังหน้าและมงกุฎทรงกรวยครอบอยู่ ส่วนในสมัยบายนไม่นิยมเทริดแล้ว แต่บางครั้งมีการทำเป็นมงกุฎซึ่งทำเป้นชั้นๆ ประดับด้วยลายกลีบบัว หรือไม่มีมงกุฎแต่ทำเป็นอุษณีษะทรงเตี้ยๆ พระพุทธรูปในศิลปะเขมรจนถึงสมัยบายนนั้นไม่พบว่ามีการทำพระรัศมี
อย่างไรก็ดี ศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ได้นำเสนอแนวคิดที่ต่างออกไป โดยเชื่อว่าเศียรธรรมิกราชจัดอยู่ในสมัยอยุธยาตอนต้น เป็นสายที่มีวิวัฒนาการมาจากศิลปะเขมรและศิลปะลพบุรี จัดเป็นศิลปะอู่ทองรุ่นที่ ๒ ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ทั้งนี้เทียบเคียงกับรูปแบบที่ใกล้เคียงกันมากที่สุดและมีหลักฐานการสร้างคือ พระพุทธรูปบุทองที่พบจากกรุวัดมหาธาตุ พระนครศรีอยุธยา อยู่ในช่วงต้นพุทะศตวรรษที่ ๒๐ ลงมาจนถึงกลุ่มพระพุทธรูปแบบอู่ทอง ๒ ที่พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะที่สร้างในสมัยสมเด็จเจ้าสามพระยา ที่พระพุทธรูปแบบอู่ทอง ๒ เริ่มพบน้อยลงแล้ว
ที่มา: หนังสือ พุทธปฏิมา งานช่างพลังแห่งศรัทธา ของ ศ.ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์
นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศ ฝรั่งเศส
๑. ชื่อโครงการ การประชุมคณะทำงานมรดกโลกของ ICOMOS ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๗
๒. วัตถุประสงค์ ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์โบราณสถาน ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับแหล่งมรดกโลก ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งของการพิจารณาแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่ขอนำเสนอเข้าสู่บัญชีมรดกโลก ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกในครั้งถัดไปในปี พ.ศ.๒๕๕๘ ณ ประเทศเยอรมนี โดยได้รับมอบหมายให้พิจารณาโดยละเอียด ๒ แหล่ง
๓. กำหนดเวลา วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน – ๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๗
๔. สถานที่ สำนักงานใหญ่ อิโคโมส กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
๕. หน่วยงานผู้จัด ICOMOS
๖. หน่วยงานสนับสนุน -
๗. กิจกรรม การเดินทางเพื่อการร่วมประชุมคณะทำงานมรดกโลกของ ICOMOS ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๗ ระหว่างวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน – ๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๗ มีรายละเอียดดังนี้
๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๗
เดินทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสู่ท่าอากาศยานชาร์ล เดอ โกล กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เข้าสู่โรงแรมที่พัก
๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
เริ่มการปฏิบัติงาน ประชุมชี้แจงภารกิจ กำหนดการ และศึกษาเอกสารต่างๆ ณ ที่ทำการอิโคโมส
๒ ธันวาคม ๒๕๕๗
การพิจารณาแหล่งประกอบด้วย
- The Ahwar of Southern Iraq: refuge of biodiversity and the relict landscape of the Mesopotemian Cities / Iraq
ต้องการเสนอเป็นแหล่งประเภทผสม ระหว่างเมืองโบราณ ๒ เมือง แหล่งโบราณคดี ๑ แหล่ง และแหล่งธรรมชาติที่มีการตั้งถิ่นฐานของคนในปัจจุบันด้วย เป็นแหล่งที่มีคุณค่ามีความน่าสนใจมากทั้งสองส่วน แต่พื้นที่ไม่ได้รวมต่อเนื่องกัน จึงเสนอให้แยกกันเป็นคนละแหล่งจะดีกว่า
- Susa / Iran
เป็นแหล่งโบราณคดีของเมืองโบราณที่ตั้งอยู่แยกกันสองฝั่งแม่น้ำ มี OUV ตามที่เสนอมาด้วยเกณฑ์ i ii iii และ iv มีเพียง iii ที่มีความชัดเจน รวมทั้งยังต้องปรับปรุงในเรื่องการจัดการ จึงเสนอให้ refer
- Ephesus / Turkey
เป็นแหล่งที่เคยมีมติให้ defer มาแล้วเมื่อ ๑๓ ปีก่อน โดยครั้งนี้ได้เพิ่มพื้นที่จากเดิมเป็น serial ๔ แหล่ง ที่ประชุมเห็นว่าพื้นที่ยังครอบคลุมถึงท่าเรือทั้งหมด ส่วนวิหาร Artemis เป็นงานบูรณะที่ไม่ถูกต้องไม่มีความแท้ House of Mary เป็นจินตนาการในศตวรรษที่ ๑๙ นี้เอง และไม่ถือว่าเป็นแหล่งจาริกแสวงบุญที่สำคัญของชาวคริสต์ เมื่อเป็น serial nomination ก็ควรที่จะมี serial management plan ส่วนที่มีปัญหาน่าจะตัดออก
- Bet She’arim Necropolis – A landmark of Jewish Renewal / Israel
จากการประเมินเห็นว่า OUV เกณฑ์ที่ vi ไม่ผ่าน ในขณะที่ vi ใช้ได้ การปกป้องคุ้มครองและการอนุรักษ์ยังมีปัญหา ที่ประชุมเห็นว่าควรให้ refer ไปก่อนเพื่อพิจารณาอีกครั้งในเดือนมีนาคม
- Viking age sites in Northern Europe / Iceland, Denmark, Germany, Latvia, Norway เป็นแหล่งประเภทข้ามพรมแดนที่รวมแหล่งที่เกี่ยวข้องกับไวกิ้ง ประกอบด้วยแหล่งโบราณคดี เนินดิน แหล่งฝังเรือ ท่าเรือ ความหลากหลายทำให้มีความยากที่จะกำหนด OUV ร่วมกัน ในจำนวนนี้ก็มีแหล่งที่เป็นมรดกโลกอยู่แล้วด้วย แต่เมื่อกล่าวถึงความครบถ้วนพบว่า ยังขาดกรีนแลนด์ที่ไม่มาร่วมด้วยและสวีเดนที่ตัดสินใจถอนตัว อาจมีปัญหาจากความหมายของคำว่าไวกิ้ง เรื่องนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปจะมีการประชุมกันต่อไป
- Baptism Site “Bethany Beyond the Jordan” / Jordan
เป็นที่ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสถานที่จริง จึงมีการมาจาริกแสวงบุญกัน แต่ความจริงจุดสำคัญคือที่แม่น้ำจอร์แดนซึ่งปัจจุบันอีกฝั่งหนึ่งอยู่ในการดูแลของอิสราเอล และเป็นเป็นได้ว่าอาจมีแหล่งโบราณคดีที่อยู่ในฝั่งตรงกันข้ามด้วย การนำเสนอแหล่งจึงไม่ได้รวมถึงแม่น้ำ ด้วยเหตุผลทางการเมืองระหว่างประเทศ ปัจจุบันยังมีการสร้างอาคารทางศาสนาใหม่ๆ จากศรัทธาที่เข้ามาในพื้นที่ที่จะเสนอเป็นมรดกโลกด้วย จึงเสนอให้แก้ไขขอบเขตรวมแม่น้ำที่อาจจะได้ถึงกึ่งกลางแม่น้ำ ขอความร่วมมือในการปกป้องแหล่งจากอิสราเอล และให้ตัดพื้นที่ที่มีการก่อสร้างอาคารใหม่ออกไปจากเขต property
- Thimlich Ohinga Cultural Landscape / Kenya
เป็นแหล่งที่มีกำแพงหินล้อมเป็นวงๆ เหมือนเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แต่ไม่แน่ชัดว่าคืออะไร ไม่ได้อ้างอิงดัดแปลงกับลักษณะทางธรรมชาติแต่อย่างใดการเรียกว่าเป็นภูมิทัศน์วัฒนธรรมจึงเป็นความเข้าใจผิด ผู้ประเมินเห็นว่ากำแพงหินดังกล่าวมีการซ่อมแซมมาแล้วจึงเห็นว่าไม่มีความแท้ การกำหนดเขตไม่เหมาะสมเพราะคาดว่าอาจจะยังมีหลักฐานเช่นนี้ต่อเนื่องออกไปนอกพื้นที่ได้อีก พื้นที่กันชนใช้เพียงเขตถนนที่อยู่โดยรอบเท่านั้นๆ น่าแปลกที่การกำหนดขอบเขตที่ไม่เหมาะสมแบบนี้เกิดขึ้นได้ทั้งที่ได้รับทุนในการจัดทำเอกสารจากกองทุนมรดกโลก สรุปเสนอให้เป็นชื่อให้เป็นแหล่งประเภทแหล่งโบราณคดี
- Tusi Sites / China
เป็นแหล่งที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้พิจารณาเอกสาร เป็นแหล่งโบราณคดีที่เป็นหลักฐานของระบบการปกครองที่เรียกว่า Tusi สำหรับเมืองที่เป็นชนเผ่าต่างๆของจีน ในการที่จะรวมประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวไว้ได้ สาระสำคัญจึงเกี่ยวข้องกับระบบการปกครองนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของชนเผ่าโดยตรง อีกทั้งระบบนี้ก็ได้ถูกยกเลิกไปแล้วไม่ได้ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน จึงควรตัดเกณฑ์ vi ออกไปจากเอกสารที่เสนอมา แต่โดยภาพรวมเป็นเอกสารที่มีความละเอียด เข้าใจง่าย ชัดเจน จึงมีมติเสนอให้ขึ้นบัญชี
- Baekje Historic Area / Republic of Korea
เป็นเอกสารอีกชุดที่ได้รับมอบหมายให้พิจารณาโดยละเอียด โดยเนื้อหาเป็น serial nomination ขององค์ประกอบต่างๆ ที่ส่วนใหญ่อยู่ในลักษณะของแหล่งโบราณคดีที่แสดงถึงยุคสมัย Baekje ของเกาหลี เนื่องจากไม่ได้กำหนดเขตพื้นที่คลุมทั้งเมือง การใช้เกณฑ์ iv จึงไม่เพียงพอ มีปัญหาเรื่องการกำหนดเขตทั้ง property และ buffer zone โดยที่คำบรรยายกำหนดว่าใช้เกณฑ์ ๕๐๐ เมตรจากเขต property เป็น buffer zone แต่ที่ปรากฏไม่ได้เป็นเช่นนั้น แต่การปกป้องคุ้มครองคงไม่มีปัญหาอะไรเนื่องจากพื้นที่ที่กฎหมายปกป้องใหญ่คลุมที่กำหนดมาทั้งหมดแล้ว ในขณะที่ยังมีประเด็นเรื่องความแท้และการอนุรักษ์ที่แหล่งที่เป็นสิ่งก่อสร้าง เช่น เจดีย์ Mireuksa ที่องค์หนึ่งเป็นการสร้างขึ้นมาใหม่ทั้งหมดจากข้อมูลของเจดีย์อีกองค์ที่อยู่ในสภาพที่หักพังไม่สมบูรณ์ และปัจจุบันอยู่ระหว่างการบูรณะองค์ที่ว่านี้โดยไม่รู้ว่าเมื่อบูรณะเสร็จแล้วจะเป็นอย่างไร กรณีเช่นนี้ที่ปรึกษากลับไม่ติดใจ เชื่อตามคำบรรยายว่าสร้างขึ้นมาตามหลักฐานดั้งเดิม เป็นมาตรฐานที่ต่างไปจากกรณีของเคนยาอย่างชัดเจน จึงเสนอให้มีการเพิ่มเติมเอกสารแบบวิเคราะห์ และแบบบูรณะของเจดีย์ทั้งสององค์นี้มาด้วย แต่ก็ให้ขึ้นบัญชีได้
๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
การพิจารณาแหล่งประกอบด้วย
- Aqueduct of Padre Tembleque, Renaissance Hydraulic Complex in America / Mexico
เป็น serial nomination ของ ๓ แหล่ง แต่โดยชื่อที่เป็นสะพานส่งน้ำ อยู่ในส่วนที่หนึ่งเท่านั้น อีกสองส่วนเช่น ส่วนที่เป็นปิรามิดของยุคโบราณไม่น่าจะเกี่ยวข้องอะไร เมื่อพิจารณาแหล่งโดยรวม OUV จึงไม่ชัดเจน ที่ประชุมจึงเสนอให้ตัดส่วนที่ ๒ และ ๓ ออกไป เพื่อให้ได้คุณค่าตามเกณฑ์ i
- Fray Bentos Cultural-Industrial Landscape / Uruguay
เป็นแหล่งด้านอุตสาหกรรมที่รวมโรงงานผลิตเนื้อกระป๋องส่งยุโรปและที่พัก รวมทั้งองค์ประกอบอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน ห้องสมุด สนามกอล์ฟ ที่ประชุมเห็นชอบเสนอให้ขึ้นบัญชีได้ด้วย ii iv และ vi แต่ขอให้เปลี่ยนชื่อไม่ใช้คำว่า Landscape เนื่องจากไม่ใช่ Cultural Landscape
- The Forth Bridge / UK
เป็นสะพานโครงสร้างเหล็กขนาดใหญ่ ใช้วิศวกรญี่ปุ่น ที่ประชุมเห็นชอบตามร่างมติที่เสนอให้ขึ้นบัญชีด้วยเกณฑ์ i และ iv แต่มีประเด็นเรื่องพื้นที่กันชนที่ไม่รวมส่วนที่เป็นน้ำ และเนื่องจากสะพานมีขนาดใหญ่ เห็นได้จากระยะไกล จึงเสนอให้มีการระบุ key view points พร้อมด้วยมาตรการในการปกป้อง
- Sites of Japan’s Meiji Industrial Revolution: Kyushu-Yamaguchi and related areas / Japan
เป็นเอกสารที่มีลายเซ็นของนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ส่ง เป็นครั้งแรกที่ส่งโดยผู้นำประเทศ มีการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เป็น serial nomination ของ ๒๓ องค์ประกอบจาก ๑๑ แหล่ง มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องประวัติศาสตร์ทางการเมืองในช่วงที่มีสงครามที่จะกระทบกับเกาหลี และจีน ปัญหาคือในเอกสารนำเสนอได้ยกย่องผู้นำญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้กดขี่ชาติอื่นในสมัยนั้น ผู้เชี่ยวชาญจีนจึงเห็นว่าไม่ควรให้ขึ้น ในขณะที่ร่างมติเห็นว่า refer จึงการตัดสินด้วยการ vote โดยเสียงส่วนใหญ่สนับสนุนให้ refer (8:5)
- Singapore Botanic Gardens / Singapore
จากที่เสนอมาไม่ได้รวมเขตของสวนทั้งหมด โดยกันบางส่วนที่เหลือเป็นพื้นที่กันชน จากร่างประเมินไม่เห็นว่ามีความแท้และบูรณภาพ comparative analysis ยังไม่ได้ ขอบเขตไม่เหมาะสม มีปัญหาเรื่องการจัดการ แต่ OUV ด้วยเกณฑ์ ii และ iv ใช้ได้ Singapore Botanical Gardens เพื่อให้ได้บูรณภาพ ก็ควรเพิ่มพื้นที่ให้ครบทั้งสวน โดยที่ประชุมเห็นต่างระหว่าง refer และ defer จึงตัดสินด้วยการ vote เสียงส่วนใหญ่สนับสนุน refer (10:5)
- The Par Force Hunting Landscape in North Zealand / Denmark
เป็นป่าที่ออกแบบมาสำหรับการล่าสัตว์ มีการวางผัง และหลักเขต มีความเชื่อมโยงกับพระราชวังที่มีความเกี่ยวข้องกับแหล่งล่าสัตว์แต่ไม่นำมารวมเพื่อเสนอเป็นมรดกโลกด้วยได้เสนอมาด้วยเกณฑ์ที่ ii ซึ่งไม่ได้ในกรณีนี้ จึงเสนอไม่ให้ขึ้นบัญชี ที่ประชุมเห็นว่าเป็นแหล่งที่ไม่เคยมีมาก่อน ควรเสนอให้ใช้เกณฑ์ iv มากกว่า ใน tentative list ที่กำลังจะมาขอให้ไปเปรียบเทียบกับแหล่งเหล่านั้นด้วย มติออกมาเป็น refer
- Great Burkhan Khaldun Mountain and its surrounding sacred landscape / Mongolia
เชื่อว่าเป็นที่ฝังพระศพของเจงกีสข่าน เป็นที่ซึ่งยังมีการเดินทางมาสักการะ และทำพิธีในศาสนาพุทธด้วย พร้อมด้วยส่วนซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดในนิกายธิเบต และที่ประกอบพิธีกรรมของ Shamanism ร่างมติเห็นว่ายังต้องการให้มีการประเมินใหม่โดยอ้างถึงหลักฐานเอกสารหรือทางโบราณคดีที่มากกว่านี้ เพราะไม่มีหลักฐานที่ยืนยันแน่ชัดจากเอกสารนี้ว่าเป็นที่ฝังศพเจงกีสข่านจริง แต่ที่สำคัญคือความศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของคนในปัจจุบัน โดยปกติแล้วการบูชาภูเขาศักดิ์สิทธิ์เป็นเรื่องปกติของวัฒนธรรมเร่ร่อน ให้จำกัดเรื่องของแหล่งให้เหลือเพียงการบูชาภูเขาศักดิ์สิทธิ และเจงกีสข่านเท่านั้น จากที่เสนอให้ deferเปลี่ยนมาเป็นให้ติดต่อกับมองโกเลียโดยตรง ในเงื่อนไขว่าถ้าเจรจาสำเร็จ ให้ขึ้น ถ้าไม่สำเร็จจะเป็น defer
- The Naumberg Cathedral and the landscape of the rivers Saale and Unstrut / Germany
ตอนแรกใน tentative list เสนอเพียงแค่ตัวมหาวิหาร ได้ขยายผลจากการศึกษาจนมารวมส่วนอื่นๆ แต่จากการประเมินเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากของดั้งเดิมในยุคกลางความแท้จึงมีปัญหา เรื่องราวไม่ชัดไม่สามารถแสดงถึง OUV ด้วยเกณฑ์ที่เสนอมาได้ ด้วยความที่ความเป็นไปได้ของการเสนอเฉพาะโบสถ์ยุคกลางเป็นมรดกโลกน้อยลงแล้วในปัจจุบันเลยหาทางเบี่ยงมาสู่ภูมิทัศน์วัฒนธรรมซึ่งในกรณีนี้ไม่ได้ผล มติไม่ให้ขึ้น
- Champagne hillsides, houses and cellars / France
เป็นแหล่งประเภทอุตสาหกรรมการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับการผลิตแชมเปญ ตั้งแต่สวนองุ่น ที่ผลิต ที่บ่มหมักแชมเปญใต้ดิน รวมถึงการวางผังเมืองของแรงงาน ที่มีภูเขาและแม่น้ำและเมืองเป็นองค์ประกอบ เสนอให้มี OUV ด้วยเกณฑ์ iii และ iv แต่ไม่ชัดในเกณฑ์ vi แต่ยังมีประเด็นเรื่องขอบเขตที่ขอให้ครอบคลุมส่วนใต้ดินให้ครบถ้วน ให้เป็น refer
- Les climats du vignoble de Bourgogne / France
Climat คือพื้นที่ที่มีความลาดเอียงมีการอภิปรายกันให้ถือว่าเป็นภูมิทัศน์วัฒนธรรมด้วย และมีประเด็นว่าจะมีการเสนอ
แหล่งประเภทที่ผลิตไวน์มากเกินไปหรือไม่ ไม่สามารถตกลงกันได้เลื่อนไปพิจารณาวันรุ่งขึ้น
๔ ธันวาคม ๒๕๕๗
จากที่ต่อเนื่องมาในกรณีของฝรั่งเศส ที่ประชุมมีมติให้ refer
การพิจารณาแหล่งประกอบด้วย
- La Rioja and Rioja Alavesa Wine and Vineyard Cultural Landscape / Spain
เป็นอีกแหล่งที่เป็นประเภทแหล่งผลิตไวน์ แต่อันนี้มีการใช้ลักษณะพิเศษของภูเขาที่เป็นหน้าผามาใช้ในการผลิตไวน์ด้วย รวมถึงปราสาทที่สร้างอยู่ ณ จุดสูงสุดของเมืองด้วย และมีความเชื่อมโยงกับเส้นทางจาริกแสวงบุญที่เป็นมรดกโลกแล้วอีกด้วยแต่มีอาคารของสถาปนิกที่มีชื่อเสียง เช่น แฟรง เกฮ์รี่ คาลาทราว่า อยู่ด้วย ที่ปรึกษาได้เสนอร่างมติว่ามีความไม่เหมาะสม ไม่ชัดเจนอยู่หลายประการ ธรรมดาเหมือนแหล่งอื่นๆโดยทั่วไป และยังไม่มีมาตรการในการปกป้องส่วนที่เป็น landscape ต่างจาก Mission Report ที่รายงานว่าใช้ได้ ซึ่งที่ปรึกษาออกตัวว่าเป็นปัญหาในการทำงานของเราเหมือนกัน เหมือนไม่ได้ไปถึงแหล่งจริงๆ จึงเสนอให้ defer แนะนำให้ชี้แจงว่าได้นำเสนอคุณค่าใดที่แหล่งประเภทเดียวกันไม่เคยนำเสนอมาก่อน
- Blue and John Crow Mountains / Jamaica
เป็นแหล่งแบบผสม เป็นพื้นที่ของเผ่ามารูนที่หนีจากการเป็นทาส มีการจัดการเป็นอุทยานแห่งชาติ เคยมีการนำเสนอมาแล้วในอดีตและครั้งนี้ได้เพิ่มพื้นที่กันชนให้มากขึ้น ดูสภาพเป็นป่าไม่ค่อยเห็นอะไรที่เป็นรูปธรรม สิ่งที่จำเป็นคือเรื่องการจัดการทางวัฒนธรรม อย่างไรก็ตามแม้ว่า IUCN จะไม่เห็นคุณค่าในฐานะแหล่งทางธรรมชาติ ก็สามารถเป็นแหล่งประเภทภูมิทัศน์วัฒนธรรมได้
- Rjukan – Notodden Industrial Heritage Site / Norway
เป็นโรงผลิตไฟฟ้าพลังน้ำที่รวมทางน้ำ เขื่อน อาคารต่างๆที่เกี่ยวข้อง โรงงาน นิคมอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานจากแหล่งนี้ รวมทั้งระบบการขนส่ง ทางรถไฟ ท่าเรือและเมือง มี OUV ด้วยเกณฑ์ ii และ iv ร่างเสนอ
- Hall in Tirol – The Mint / Austria
เป็นพิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณ์ ในอาคารที่เป็นหอคอย ซึ่งอ้างว่ามีความสำคัญกับประวัติศาสตร์ของเงินตราของยุโรป ที่ปรึกษาประเมินว่าไม่มีความแท้ ไม่มี OUV จึงเสนอให้ไม่ขึ้นบัญชีเพื่อให้ถอนเรื่องออกไป แล้วปรับปรุงเอกสารนำเสนอมาในชื่อใหม่ที่เหมาะสม
- Nyero and other hunter-gatherer geometric rock art sites in eastern Uganda / Uganda
เป็น serial nomination ๖ แหล่งของภาพเขียนสีบนเพิงหินที่เชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของชนเผ่าปิคมี่ ที่ปรึกษาเสนอว่ามี OUV เกณฑ์ iii และ vi เพราะยังมีการทำพิธีต่อเนื่องมาด้วย แต่รูปแบบนี้ก็พบในอีกหลายที่ในอัฟริกาด้วย ยากที่จะบอกว่าที่นี่สำคัญที่สุด และมีปัญหาเรื่องการดูแล ปกป้องอนุรักษ์ เพราะไม่มีการปกป้องใดใดเลยทางกฎหมาย จึงอภิปรายกันว่าควร defer หรือ ไม่ให้ขึ้น สรุปว่าให้ defer โดยระหว่างนี้ไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเรื่องภาพเขียนสีของอัฟริกาอีกครั้ง
- Rock Art in the Hail Region of Saudi Arabia / Saudi Arabia
เป็น serial nomination ของภาพสลักบนเพิงหินเป็นรูปบุคคล รูปสัตว์ และรูปอื่นๆในยุคหินใหม่ ที่ปรึกษาประเมินว่ามี OUV ด้วยเกณฑ์ ii และ iii มีการดูแลอนุรักษ์ที่ดี แต่ก็เสนอให้ขยายของเขตพื้นที่กันชน มติให้ refer ด้วยเกณฑ์ i iii และ v
- Arab-Norman Palermo and the Cathedral Churches of Cefalu and Monreale / Italy
กลุ่ม serial nomination ของโบสถ์สมัยนอร์มัน มีรูปแบบการประดับโมเสคสีทองแบบซานมาโก้ ร่างข้อเสนอให้มี OUV ด้วยเกณฑ์ ii และ iv โดยมติให้ refer
- Speicherstadt and Kontorhaus District with Chilehaus / Germany
กลุ่มอาคารพาณิชย์และโกดังสินค้า ที่นอกจากรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของศตวรรษที่ ๒๐ที่เป็นระดับ masterpiece ตามความเห็นของ Docomomo ยังมีระบบการป้องกันน้ำท่วมด้วย เป็น serial nomination ของ ๒ พื้นที่ แต่เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่ามีลักษณะที่แตกต่างกัน ในขณะที่ได้นำไปเปรียบเทียบกับลิเวอร์พูล ซึ่งเป็นมรดกโลกด้วยความเป็นเมืองท่าเรือ จึงทำให้เห็นว่าเรื่องราวที่นำเสนอนี้ไม่สอดคล้องด้วยเป็นคนละเรื่องกัน การพิจารณาเกณฑ์ที่นำมาซึ่ง OUV จึงไม่ได้ ในปัจจุบันในส่วนพื้นที่กันชนก็มีการเปลี่ยนแปลงสร้างอาคารขนาดใหญ่ และไม่มีแผนการจัดการแหล่งโดยรวม
- Gelati Monastery / Georgia
เป็นคำขอลดพื้นที่มรดกโลกลงจากเดิมที่เป็น serial ของสองแหล่งให้เหลือเฉพาะเขตของ Monastery นี้เท่านั้น ตัดส่วน Bagrati Cathedral ออกเนื่องด้วยหลังจากแหล่งนี้อยู่ใน list in Danger ได้มีการบูรณะ Cathedral ด้วยคอนกรีตจนหมดคุณค่าความเป็นมรดกโลกไป เพื่อการนี้จึงยังต้องย้อนมาวิเคราะห์ว่ายังมี OUV หรือไม่ ซึ่งออกมาได้ตามเกณฑ์ที่ iv ทั้งนี้โดยสภาพในปัจจุบันมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการอนุรักษ์ ทั้งส่วนอาคารและจิตรกรรมต้องให้มีการยืนยันว่าจะไม่ซ่อมแบบครั้งก่อนอีก
- Chemins de St-Jacques du nord de l’Espagne / Spain
เป็นการขอเพิ่มเติมพื้นที่มรดกโลกจากแหล่งเดิม St-Jacques de Compostella มีเส้นทางสัญจรเป็น property โดยตลอดไม่ใช่เฉพาะโบสถ์ที่จาริกแสวงบุญเป็นจุดๆ ที่ปรึกษาได้ประเมินว่าที่ขอเพิ่มนี้จะมีคุณค่าเทียบเท่าส่วนที่เป็นเป็นมรดกโลกแล้วหรือไม่ จึงเห็นว่าควร defer เพราะคุณค่าไม่เท่าส่วนหลักที่เป็นมรดกโลกไปแล้ว แต่ที่ประชุมเห็นว่านี่เป็นการเพิ่มขอบเขต ถ้าพิสูจน์ได้ว่าเป็นส่วนที่เกี่ยวเนื่องโดยเนื้อหาก็ควรจะให้เพิ่มได้
แหล่งที่เหลือได้พิจารณาในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๗ ได้แก่
- Delhi’s Imperial Capital Cities / India
- Christiansfeld a Moravian Settlement / Denmark
สรุปขั้นตอนในการพิจารณา Nomination Dossier (ข้อมูลจาก Gao Zhan)
- เมื่อส่งเอกสารที่ศูนย์มรดกโลกช่วงปลายเดือนมกราคม จะมีการตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งตามสถิติขั้นตอนนี้สามารถส่งกลับไปได้ก่อนถึง ๑ ใน ๓
- เอกสารที่ครบถ้วนจะส่งมาที่ ICOMOS (สำหรับแหล่งวัฒนธรรม) เดือนมีนาคม มีการพิจารณาเอกสารเบื้องต้นที่อาจมีการร้องขอให้รัฐภาคีส่งข้อมูลเพิ่มเติม ประมาณเดือนสิงหาคม
- ซึ่งทางอิโคโมสจะพิจารณาเรื่องการส่งผู้เชี่ยวชาญที่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับแหล่งและเป็นผู้ที่อยู่ในภูมิภาคของแหล่งไปตรวจสอบยังพื้นที่ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญที่จะพิจารณาเอกสารโดยไม่ได้เดินทาง รวมทั้งสิ้นไม่เกิน ๕ ท่าน (เมื่อก่อนไปดูที่ ๓ คนแต่ด้วยปัญหาด้านงบประมาณลดลงเหลือคนเดียวในปัจจุบัน) รายงานนี้จะจัดส่งให้อิโคโมสในเดือนตุลาคม
- ที่ปรึกษาของอิโคโมสจะทำหน้าที่จัดทำร่างสรุปผลการพิจารณาจาก mission report และ desk reviews (และความคิดเห็นของตัวเอง) นำมาเสนอในที่ประชุม คณะทำงานมรดกโลกของ ICOMOS ชุดนี้ ช่วงต้นเดือนธันวาคม
- มติ คำแนะนำ จากคณะทำงานมรดกโลกของอิโคโมส จะส่งให้รัฐภาคีส่งคำชี้แจงเพิ่มเติมในเดือนมีนาคม ร่างเดียวที่เสนอให้ขึ้นบัญชีได้ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงให้ลดระดับลงมา สามารถส่งเข้าวาระการประชุมได้เลย ในกรณีที่เป็น refer หากข้อมูลที่ส่งมาเป็นที่พอใจก็สามารถเล่นระดับเป็นให้ขึ้นบัญชีได้ ในขณะที่ defer รวมทั้ง ไม่ให้ขึ้นบัญชี ซึ่งต้องการให้มีการจัดทำเอกสารใหม่พร้อมด้วยการเดินทางไปตรวจสอบอีกครั้งไม่สามารถแก้ไขเลื่อนระดับอย่างไรได้ จะนำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกเช่นเดิม
- ผลสรุปจากการประชุมในเดือนมีนาคมจะนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกต่อไป
๘. ผู้แทนประเทศไทย นายวสุ โปษยะนันทน์
๙. สรุปสาระของกิจกรรม เป็นการเข้าร่วมการประชุมคณะทำงานมรดกโลกของอิโคโมส ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งในการพิจารณาข้อมูลของแหล่งทางวัฒนธรรมทั้งหมดที่ขอนำเสนอเข้าสู่บัญชีมรดกโลกสำหรับที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกในปี พ.ศ.๒๕๕๘ ที่ประเทศเยอรมนี
๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม ควรมีการวางแผนเตรียมการสำหรับการดำเนินการที่เกี่ยวกับการนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของไทยเข้าสู่บัญชีมรดกโลกและการวิเคราะห์สภาพปัญหาและการจัดการแหล่งมรดกโลกของไทยอย่างเป็นระบบ โดยจะได้นำข้อมูลและประสบการณ์จากการประชุมในครั้งนี้ซึ่งทำให้เห็นแนวทางในการทำงานของอิโคโมสมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ควรให้มีผู้แทนผู้เชี่ยวชาญชาวไทยเข้าร่วมกิจกรรมเช่นนี้ต่อไป และควรมีการประสานงานกับหน่วยงานอิโคโมส องค์กรที่ปรึกษาของคณะกรรมการมรดกโลกที่ให้ช่วยเหลือในการประเมิน โดยผ่านทางอิโคโมสไทย ตัวแทนของอิโคโมสในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องต่อไป
.....................................................ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ
(นายวสุ โปษยะนันทน์)
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง วรรณกรรมพุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 24 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56.5 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534
สาระสังเขป : พระราชกรณียกิจของพลเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นผู้มีพระอุปการคุณในวงการแพทย์และกระทรวงสาธารณสุข ได้ทรงปรับปรุงจัดการศึกษาวิชาการแพทย์ให้มีรากฐานอันมั่นคง และเจริญก้าวหน้าสืบต่อมาผู้แต่ง : กระทรวงสาธารณสุขโรงพิมพ์ : การพิมพ์พาณิชย์ปีที่พิมพ์ : 2495ภาษา : ไทยรูปแบบ : PDFเลขทะเบียน : น.30บ10832เลขหมู่ : 923.2593 ส639พ
สาระสังเขป : เป็นละครพูดองค์เดียวอย่างตลก ใช้สำหรับทหารเล่นผู้แต่ง : มงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จโรงพิมพ์ : ม.ป.พ.ปีที่พิมพ์ : ม.ป.ป.ภาษา : ไทยรูปแบบ : PDFเลขทะเบียน : น.31.บ.13368เลขหมู่ : 895.912 ม113จ
เลขทะเบียน : นพ.บ.42/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 24 (239-243) ผูก 3หัวเรื่อง : อาทิกมฺมวณฺณน --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง : หนังสือเล่มเล็ก ผลงานนักเรียนรางวัลชนะเลิศการแข่งขันกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในงานศิลป หัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ครั้งที่ ๖๖ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ (ชุดส่งเสริมการอ่านและการเขียน)
ผู้เขียน : สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักพิมพ์ : สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปีพิมพ์ : ๒๕๖๐
เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : ๙๗๘-๖๑๖-๓๙๕-๘๖๑-๗
เลขเรียกหนังสือ : ๐๗๐.๕๗๓ ค๑๒๑ห
ประเภทหนังสือ : หนังสือทั่วไป
ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป ๑
สาระสังเขป : งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนเริ่มตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๕ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแนะนำ จูงใจให้เด็กและเยาวชนได้เอาใจใส่ฝึกหัดงานศิลปหัตถกรรมให้เกิดความชำนาญ มีความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมวิชาการฝีมือ มุ่งส่งเสริมฝีมือเพื่อเป็นอาชีพแก่นักเรียนให้ใช้เวลาว่างเกิดประโยชน์ อีกทั้งเป็นการกระตุ้นให้ผู้ใหญ่เห็นความสำคัญของเด็กและเยาวชน ได้มีการจัดกิจกรรม การแข่งขันการทำหนังสือเล่มเล็กขึ้นเป็นหนึ่งในกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดย "หนังสือเล่มเล็ก ผลงานนักเรียนรางวัลชนะเลิศการแข่งขันกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ครั้งที่ ๖๖ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ (ชุดส่งเสริมการอ่านและการเขียน) เป็นหนังสือที่นำเสนอสาระเรื่องราวที่นักเรียนได้สร้างสรรค์ตามหัวข้อที่ได้รับ พร้อมทั้งภาพประกอบสี อีกทั้งมีรายละเอียดวิธีการทำหนังสือเล่มเล็กแก่ครู นักเรียน และผู้ที่สนใจในการจัดทำหนังสือเล่มเล็กด้วย ซึ่งเนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วยหนังสือเล่มเล็กที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ อันดับที่ ๑-๓ จาก ๔ ระดับชั้น รวมจำนวน ๑๒ เล่ม คือ (๑) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ได้แก่ จ๋อรู้คุณ ของขวัญล้ำค่า และ หาบหนังสือร่ำลือเรื่องราว (๒) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ได้แก่ บุญรักษา จิตใต้สำนึก และ รู้รักกตัญญู (๓) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ สังกัดสำนักงานเขตพท้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ได้แก่ ธรรมดีที่พ่อทำ กลับใจ และ การกระทำของแก่น (๔) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ได้แก่ ต้องมนต์สงกรานต์ ภาพวันนั้น และ ของดีที่บ้านฉัน พร้อมกันนี้ยังได้จัดทำเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ใช้เป็นช่องทางให้ผู้อ่านได้หาอ่านอย่างสะดวกมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีเกณฑ์การแข่งขันการทำหนังสือเล่มเล็ก และผลการแข่งขันกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนการแข่งขันการทำหนังสือเล่มเล็ก เพื่อเป็นข้อมูลที่นำไปใช้ประโยชน์แก่ครู นักเรียนและผู้ที่สนใจในการฝึกทักษะการจัดทำหนังสือเล่มเล็ก อีกทั้งเพื่อใช้ในการเป็นสื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและการเขียนได้เป็นอย่างดี