ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,784 รายการ
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : แผนที่ตั้งสถานีประมงย่อยหนองหลวง -- วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 เจ้าหน้าที่กรมประมงเขียนแผนที่ตั้งสถานีประมงย่อย หนองหลวง จังหวัดเชียงราย ขนาดมาตราส่วน 1 : 1,000 ขึ้น นี่คือจุดเริ่มต้นการจัดตั้งสถานีประมงย่อยดังกล่าว 1 ปีก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่งานบูรณะแหล่งน้ำและก่อสร้าง กองประมงน้ำจืด สำรวจและออกแบบ การฝังท่อระบายน้ำกับเสริมคันดินตามแนวเขตหนองหลวงไว้ นอกจากเป็นงานสร้างความแข็งแรงให้กับ แหล่งน้ำแล้ว ยังเสมือนเตรียมการก่อนจัดตั้งสถานีประมงย่อย ณ ที่แห่งนี้ แผนที่ตั้งสถานีประมงย่อย หนองหลวง ที่นำมาเสนอ แสดงให้ทราบว่า กำหนดการก่อสร้างให้ติดพื้นที่หนองหลวง มีเพียงถนนลูกรังขั้นเท่านั้น แล้วที่สำคัญแผนที่ฉายออกมาว่า เป็นการกะเกณฑ์พื้นที่ไว้ "ใหญ่มาก" ใหญ่อย่างไร ??? พื้นที่ด้านซ้ายจรดหนองหลวง มีผืนนาข้าวต่อเนื่อง ด้านขวาจรดลำห้วยสกึ๊นและนาข้าวเช่นกัน ภายในบริเวณมีเนินดินร่วมกับที่ว่าง ที่ลุ่ม กล่าวง่ายๆว่า เป็นพื้นที่ "ชุ่มน้ำ" คล้ายกับบริเวณสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยานั่นเอง ส่วนแนวลำห้วยสกึ๊นตอนต้น (ขวามือด้านล่าง) มีการสร้างฝายน้ำล้นไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นระบบชลประทานร่วมกับงานประมง ส่งเสริมการประกอบอาชีพของเกษตรกร หากฤดูฝนหรือช่วงมรสุมมาเยือน บริเวณดังกล่าวก็กลายเป็นท้องทุ่งผืนใหญ่ หนองน้ำขยายเป็น "บึง" ธรรมชาติดั่งกว๊านได้ง่ายๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อเจ้าหน้าที่เขียนแผนที่ ได้ระบุค่าระดับของพื้นที่ร่วมด้วย หมายถึงค่าระดับความสูง-ต่ำของที่ดินที่เห็นเป็นตารางมีเลขกำกับบวก-ลบ ตามมุมช่องไปตลอด หลังจากเขียนเสร็จ เจ้าหน้าที่น่าจะนำเข้าที่ประชุมวางแผนจัดตั้งหรือก่อสร้างสถานีประมงต่อไป ความสำคัญจึงอยู่ที่เป็นข้อมูลชั้นต้นเชิงประจักษ์ (Primary Source) อีกทั้งเผยภาพเบื้องบนลงสู่เบื้องล่าง (Bird Eye View) ซึ่งทำออกมาได้ครบถ้วน. . . ครบถ้วนในขณะ 45 ปีที่แล้วไม่มีโดรน (Drone) ใช้แต่อย่างใด.ผู้เขียน : นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา)เอกสารอ้างอิง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา ผจ (2) กษ 1/3 แผนที่ตั้งสถานีประมงย่อย หนองหลวง จังหวัดเชียงราย [ 30 พ.ย. 2520 ]#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 54/6ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 38 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ปาฎิโมกฺข (พฺรปาฎิโมกฺข) ชบ.บ 119/1ฆ
เอกสารโบราณ
(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 161/1เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
โบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ ตั้งอยู่บนยอดเขารางกะปิด พื้นที่บ้านเขาพระ ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ห่างจากเมืองโบราณอู่ทองไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
หลักฐานจากการดำเนินงานทางโบราณคดีพบว่า โบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ เป็นสิ่งก่อสร้างประเภท เจดีย์ ที่ก่อสร้างจากหินธรรมชาติ ศิลาแลง และอิฐ แต่ปัจจุบันเสื่อมสภาพไม่สามารถทราบรูปแบบได้ สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้สำรวจทางโบราณคดีเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๔ และดำเนินงานขุดศึกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๙ เสริมความมั่นคงเพิ่มเติม
โบราณวัตถุที่สำคัญซึ่งพบจากโบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ ได้แก่ พระพิมพ์ดินเผาอิทธิพลปาละพิมพ์เดียวกันหลายองค์ซึ่งบรรจุอยู่ในภาชนะดินเผา โดยฝังอยู่ใต้ฐานโครงสร้างโบราณสถาน จึงสามารถกำหนดอายุโบราณสถานว่าสร้างในสมัยทวารวดี
ภาชนะดินเผา
เป็นภาชนะมีคอปากผาย ขนาดค่อนข้างใหญ่ หรือที่เรียกว่า ทรงไห ส่วนลำตัวตกแต่งด้วยการนำเส้นดินบิดมาแปะติดคล้ายเกลียวเชือก ส่วนบ่ากดลายเป็นรูปสามเหลี่ยมเรียงเป็นแถวแนวนอน และเส้นลวดอีก ๒ เส้น ภายในบรรจุพระพิมพ์ดินเผาหลายองค์ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕ (ประมาณ ๑,๑๐๐ - ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว)
พระพิมพ์ดินเผา (มีจารึก)
เป็นพระพิมพ์รูปพระพุทธรูปปางสมาธิ มีประภามณฑล ประทับบนบัลลังก์เหลี่ยมแวดล้อมด้วยเครื่องสูง ๕ ตำแหน่ง คือ เหนือพระเศียรมีฉัตร ๑ คัน ข้างพระวรกาย ในระดับพระเศียรมีบังแทรกหรือบังสูรย์ ๒ คัน ถัดลงมามีจามร ๒ คัน ด้านหลังพระพิมพ์มีจารึกอักษรหลังปัลลวะ ภาษามอญโบราณ กล่าวว่า “บุญนี้(เป็นของ)กษัตริย์มะระตา(ผู้สร้าง)พระพุทธรูป จึงสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นโดยกษัตริย์หรือชนชั้นปกครองในสมัยทวารวดี
เอกสารอ้างอิง
ปรัชญา รุ่งแสงทอง. ผลการขุดแต่งโบราณสถานพุหางนาคหมายเลข ๒ กับการตอบคำถามเรื่อง “หินตั้ง”ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. พุหางนาคและคอกช้างดินร่องรอยพุทธและพราหมณ์บนเขาศักดิ์สิทธิ์. สมุทรสาคร:บางกอกอินเฮ้าส์, ๒๕๖๑.
ผาสุข อินทราวุธ. ดรรชนีภาชนะดินเผาสมัยทวารวดี. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ, ๒๕๒๘.
สุภมาศ ดวงสกุล และคณะ. ศาสนสถานและสิ่งก่อสร้างบนเทือกเขาศักดิ์สิทธิ์เมืองอู่ทอง : ผลการสำรวจทางโบราณคดีบนเขตภูเขานอกเมืองอู่ทอง พ.ศ.๒๕๖๒. สุพรรณบุรี : สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี กรมศิลปากร, ๒๕๖๒.
ชื่อเรื่อง คำบรรยายประมวลกฎหมายที่ดินผู้แต่ง หลวงศรีราชบุรุษประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ กฎหมายเลขหมู่ 346.043 ศ242ลสถานที่พิมพ์ ธนบุรีสำนักพิมพ์ นิติบรรณการปีที่พิมพ์ 2514ลักษณะวัสดุ 204 หน้า หัวเรื่อง ที่ดิน-- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกรวบรวมกฎหมายเกี่ยวกับที่ดิน
แนะนำ E-book หนังสือหายาก จำนวน 3 เรื่อง
1.เรื่อง สุโขทัย เนื่องในงานอนุสรณ์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประจำปี 2504
สุโขทัย เนื่องในงานอนุสรณ์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประจำปี 2504. พระนคร: สงวนการพิมพ์, 2504.
2.เรื่อง วรรณกรรม เรื่อง แม่
สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ. วรรณกรรม เรื่อง แม่. พระนคร: โรงพิมพ์ศรีหงส์, 2493.
3.เรื่อง เฉลิมพระเกียรติพลเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
กระทรวงสาธารณสุข. เฉลิมพระเกียรติพลเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร. พระนคร: โรงพิมพ์ไทยเขษม, 2509.
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมรายการแสดงงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๖ ระหว่างวันที่ ๒ - ๗ เมษายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๘.๐๐ น. ณ เวทีกลางแจ้ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มีรายการแสดง ดังนี้
วันอาทิตย์ที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๖
๑. การบรรเลง - ขับร้องดนตรีสากล
๒. รำถวายพระพร “กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ พระบารมีศรีแผ่นดิน”
๓. ระบำไดโนเสาร์
๔. ละครพันทาง เรื่องพระลอ ตอน “พ่อขุนแมนสรวง”
วันจันทร์ที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๖
๑. การบรรเลงวงปี่พาทย์ไม้นวม เพลงโหมโรงเทิด ส.ธ.
๒. โขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดกลขุนสวา ชายาหวงหึง
วันอังคารที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๖
รายการประลองเพลงบรรเลงประชัน
วันพุธที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๖
๑. การบรรเลง - ขับร้องวงปี่พาทย์ไม้แข็ง เพลงเทพสมภพ เถา
๒. ละคร เรื่องโกมินทร์ ตอนโกมินทร์คะนอง
วันพฤหัสบดีที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๖
๑. การบรรเลงวงปี่พาทย์ไม้นวม เพลงโหมโรงมหาฤกษ์
๒. รำอาศิรวาทราชสดุดี ชุด “เทิดพระเกียรติวงศ์พงศ์จักรี”
๓. ละครนิทานพื้นบ้าน เรื่อง “นางสร้อยดอกหมาก”
วันศุกร์ที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๖
๑. การบรรเลง - ขับร้องวงมโหรี เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง
๒. ละคร เรื่องไกรทอง ตอนไกรทองปราบชาลวัน
* ชมฟรี * นำแสดงโดยศิลปินสำนักการสังคีต / อำนวยการแสดงโดยนายลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ โทร. ๐๒๒๒๑ ๐๑๗๑
เลขทะเบียน : นพ.บ.428/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4 x 50 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 155 (129-130) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : อภิธรรมรวม--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.574/1 ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 30 หน้า ; 4.5 x 55 ซ.ม. : ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 187 (357-364) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : วินัยรวม--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลแห่เทียนเข้าพรรษาอันยิ่งใหญ่ของเมืองอุบล ประจำปี 2566 ภายใต้ชื่องาน 122 ปี ทวยราษฎร์ ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา โดยจัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี 2566 ที่จะบอกเล่าเรื่องราว “ใบเสมากับเครื่องบูชาเมืองอุบล” เปิดให้เข้าชมในวันที่ 1 สิงหาคม 2566 เวลา 09.30 น. เป็นต้นไป
พบกับกิจกรรม
- ใบเสมากับเครื่องบูชาเมืองอุบล
- การบรรยาย เรื่อง ใบเสมา
- การสาธิตเชิงปฏิบัติการ เครื่องบูชาในฮีตคอม การทอธุง และทำพาขวัญ ขันหมากเบ็ง
ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าชมนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “ใบเสมากับเครื่องบูชาเมืองอุบล” และร่วมกิจกรรม ได้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี สอบถามเพิ่มเติมได้ทางเฟสบุ๊ก : Ubon Ratchathani National Museum : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอเชิญผู้สนใจร่วมกิจกรรม Museum Talk ในงานมหกรรมพิพิธภัณฑ์ไทย 2566 รับฟังการเสวนา เรื่อง "สหวิทยาการกับการอนุรักษ์เรือพระที่นั่งศรีประภัศรไชย"
วิทยากร นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ (โบราณวัตถุศิลปวัตถุ)
นายณัฐพงศ์ ปิยมาภรณ์ นักวิชาการช่างศิลป์เชี่ยวชาญ (ช่างศิลปกรรม)
นางพวงพร ศรีสมบูรณ์ ผู้อำนวยการกลุ่มสิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์
นายสาโรจน์ แสงสี นายช่างศิลปกรรมอาวุโส
นางสาวปิยนุช กุศล นายช่างศิลปกรรมอาวุโส
นายชนะโยธิน อุปลักษณ์ นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน
ดำเนินรายการ นางสาวดวงใจ พิชิตณรงค์ชัย ภัณฑารักษ์ชำนาญการ
จัดขึ้นในวันที่ 19 กันยายน 2566 เวลา 13.30 - 15.00 น. ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
สามารถรับชมผ่านทาง Facebook Live : Office of National Museums, Thailand
นิทรรศการหมุนเวียน
"Object of the Month" วัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี
ประจำเดือน "กรกฎาคม" ระหว่าง
วันที่ ๑ - ๓๑ ก.ค. ๒๕๖๖ เชิญพบกับ
"รำลึกวันภาษาไทยแห่งชาติ : สมุดไทยภูมิปัญญาไทย"
ณ ห้องโถงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี
องค์ความรู้สุพรรณบุรี เรื่อง กำแพงเมืองสุพรรณบุรี
ผู้เรียบเรียง :
นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ