ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,784 รายการ
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (วิภังค์-มหาปัฏฐาน)
สพ.บ. 307/4กประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 82 หน้า กว้าง 4.8 ซม. ยาว 56.8 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.199/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 30 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 109 (141-147) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : จันทกุมาร--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.311/9ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 42 หน้า ; 4 x 54 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 126 (306-312) ผูก 9 (2565)หัวเรื่อง : ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา(ธรรมบท)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
วันพุธที่ ๒๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๐๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร ลงพื้นที่ตรวจโครงการบูรณะปฏิสังขรณ์เขตพุทธาวาส วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร โดยมี นายอนันต์ ชูโชติ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ร่วมลงพื้นที่ในครั้งนี้ด้วย ในการนี้อธิบดีกรมศิลปากร ได้มอบหมายให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ดำเนินการตรวจสอบศาสนสถานภายในเขตพุทธาวาส เพื่อหาแนวทางในการบูรณะต่อไป
สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ขอเชิญชมการแสดงนาฏศิลป์และดนตรี ในงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๕ วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๗.๓๐ - ๑๙.๓๐ น. ณ เวทีกลางแจ้ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ชมการบรรเลงเพลงโหมโรงอนุรักษ์มรดกไทย และ ละครเสภา เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพระไวยแตกทัพ นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีต กำกับการแสดงโดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ ชมฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ โทร. ๐ ๒๒๒๑ ๐๑๗๑
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการ ไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “ข้าว ประเพณี-พิธีกรรม-วิถีชีวิตคู่คนไทย” วิทยากรโดย นางสาวธัชสร ตันติวงศ์ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย ดำเนินรายการโดย นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร และ Youtube Live : กรมศิลปากร
ไก่และสุ่มไก่สัมฤทธิ์
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ๑,๗๐๐ - ๒,๓๐๐ ปีมาแล้ว
พบจากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องก่อนประวัติศาสตร์ อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ประติมากรรมสัมฤทธิ์รูปไก่ตัวผู้ (มีลักษณะหงอนที่หัว แผงคอ และปลายขนหางยาว) ยืนเกาะอยู่บนเสาคาน มีเดือยสวมพอดีกับสุ่มไก่* บริเวณหางไก่ปรากฏร่องรอยของเศษผ้าที่ทอจากเส้นใยกัญชง (hemp) ติดอยู่ด้วย สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นผ้าที่ผู้วายชนม์สวมใส่หรือผ้าสำหรับห่อศพ
โบราณวัตถุชิ้นนี้คือตัวอย่างสำคัญที่สะท้อนถึงสภาพชุมชนของแหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร ซึ่งเป็นชุมชนที่ดำรงอยู่ในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายได้หลายประการ กล่าวคือ ประการแรก แสดงถึงวิทยาการการหล่อโลหะ ซึ่งจากการวิเคราะห์เนื้อโลหะพบว่ามีส่วนผสมของดีบุก ๒๓-๒๘ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทำให้วัตถุมีสีคล้ายทองจนถึงเงิน และยังพบเทคนิคเดียวกันนี้กับชิ้นส่วนภาชนะสัมฤทธิ์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชรด้วยเช่นกัน
ประการที่สอง ชุมชนก่อนประวัติศาสตร์แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชรมีแบบแผนของการฝังศพครั้งที่ ๒ ซึ่งพบโบราณวัตถุที่อยู่ภายในหลุมศพหลายชิ้น และยังแสดงถึงการติดต่อกับชุมชนอื่น ๆ ทางไกล เนื่องจากพบโบราณวัตถุประเภทลูกปัดแก้ว เครื่องประดับหินคาร์เนเลียน และหินอาเกต รวมถึงวัตถุสัมฤทธิ์รูปแบบพิเศษดังเช่นไก่และสุ่มไก่สัมฤทธิ์ชิ้นนี้ด้วย
ประการที่สาม ร่องรอยของเศษผ้าที่ทอจากเส้นใยกัญชง (hemp) ติดอยู่บนวัตถุ ยังเป็นหลักฐานว่าชุมชนแห่งนี้มีการใช้ผ้าซึ่งทอขึ้นจากวัสดุธรรมชาติ ด้วยเส้นใยของป่านกัญชา ประกอบกับบางหลุมศพพบเศษผ้าไหม (สันนิษฐานว่านำเข้ามาจากชุมชนทางประเทศจีน) และเส้นใยของปอมะนิลาแบบเดียวกับที่ทำเชือกเรือใบ ซึ่งเทคโนโลยีการทอผ้าด้วยวัสดุจากธรรมชาติดังกล่าว ปรากฏหลักฐานเด่นชัดในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ช่วงที่ผู้คนมีการใช้โลหะแล้ว
ประการสุดท้าย ประติมากรรมไก่และสุ่มไก่สัมฤทธิ์ เป็นหลักฐานหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในแหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร มีการเลี้ยงไก่ไว้ในพื้นที่ ซึ่งจากหลักฐานทางโบราณคดีในประเทศไทยพบว่าชุมชนในช่วงสมัยหินใหม่ (ประมาณ ๓,๓๐๐ - ๔,๓๐๐ ปีมาแล้ว) หลายแห่ง ก็ปรากฏกระดูกไก่ในพื้นที่แหล่งโบราณคดี เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง พบกระดูกไก่ในภาชนะที่ฝังอยู่ในหลุมศพ และที่แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ก็พบกระดูกไก่ในพื้นที่ด้วยเช่นกัน
*อย่างไรก็ตามจากการขุดค้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ - ๒๕๒๔ พบว่าไก่สัมฤทธิ์และสุ่มไก่สัมฤทธิ์ไม่ได้ติดอยู่ด้วยกัน แต่เป็นการขุดค้นเจอโบราณวัตถุทั้งสองชิ้นในบริเวณใกล้เคียงกันจึงสันนิษฐานว่าแต่เดิมทั้งสองชิ้นน่าจะติดกัน
อ้างอิง
กรมศิลปากร. คนแรกเริ่มบนแผ่นดินเรา. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๕๙.
กรมศิลปากร. วัฒนธรรมบ้านเก่า. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๖๕.
สมชาย ณ นครพนม. “ไก่ ๑,๐๐๐ ปี จากหลักฐานทางโบราณคดีในประเทศไทย”. พิพิธวิทยาการ รวมบทความทางวิชาการด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ และพิพิธภัณฑ์วิทยา ๒๕๕๓. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๕๓.
แนะนำหนังสือน่าอ่านเรื่อง ประวัติศาสตร์เมืองระยองเฉลียว ราชบุรี. ประวัติศาสตร์เมืองระยอง. ระยอง: ระยองกันเอง, 2549. 502 หน้า. ภาพประกอบ.เมืองระยองเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน มีสถานที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของชาติไทยเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ น่าบันทึก ไว้สำหรับคนรุ่นหลัง ได้เกิดความภาคภูมิใจ ผู้เรียบเรียงได้ค้นคว้าจากเอกสารหลักฐาน และได้สอบถามผู้รู้เป็นจำนวนมาก เพื่อเอาข้อมูลมาเรียบเรียงเป็นหนังสือโดยใช้เวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี เนื้อหาด้านในประกอบด้วย เรื่องราวของระยองตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน สมเด็จพระปิยมหาราชกับเมืองระยอง ประวัติความเป็นมาของศาลากลางจังหวัดระยอง ประเพณีการปกครองแบบกินเมือง สิ่งแรกของเมืองระยอง ที่สุดของเมืองระยอง ของดีเมืองระยอง การตั้งชื่อถนนในเขตเทศบาลนครระยอง ประวัติสถานที่สำคัญ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับสะพาน การอุตสาหกรรม(โรงสี) การต่อเรือ ตลาด สภากาแฟ ประภาคาร ภาษาระยอง พระราชพิธีสัจจปานกาล การสาธารณสุขในจังหวัดระยอง ที่เผาศพ ชาวจีนในจังหวัดระยอง สภาพเมืองระยองเมื่ออดีต การคมนาคมสมัยโบราณ วัดโขดเมืออดีต ประเพณีวัฒนธรรมจังหวัดระยอง ฯลฯท959.325ฉ449ป(ห้องจันทบุรี)
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน)อย.บ. 24/5ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 42 หน้า : กว้าง 5.2 ซม. ยาว 55.2 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดกบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ไดีรับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา