ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,788 รายการ



๑.      ชื่อโครงการ การเยือนสาธารณรัฐตุรกีของคณะผู้แทนศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)   ๒.      วัตถุประสงค์ เพื่อร่วมพิธีรับมอบคัมภีร์อัลกุรอ่านโบราณจำนวน ๖ เล่ม ซึ่งประเทศตุรกีได้ส่งเจ้าหน้าที่มารับไปอนุรักษ์ซ่อมแซม ณ ประเทศตุรกี โดยรัฐบาลตุรกีสนับสนุนค่าใช่จ่ายทั้งหมด คืนกลับสู่ประเทศไทย   ๓.      กำหนดเวลา ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๓ มกราคม ๒๕๕๗    ๔.      สถานที่ Suleymaniye Library กระทรวงวัฒนธรรม กรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี  ๕.      หน่วยงานผู้จัด ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)   ๖.      หน่วยงานสนับสนุน ๑.      กระทรวงการต่างประเทศ ๒.      สมาคมนักธุรกิจไทย-ตุรกี   ๗.      กิจกรรม ๗.๑  การเข้าร่วมพิธีรับมอบคัมภีร์อัลกุรอ่านโบราณ ๗.๒  การพบปะนักศึกษาไทยในตุรกี ๗.๓  การพบมูลนิธิผู้สื่อข่าว สมาคมนักธุรกิจไทย-ตุรกี และการเข้าเยี่ยม Fatih College ๗.๓  การเยี่ยมชมแหล่งมรดกวัฒนธรรมของตุรกี   ๘.      คณะผู้แทนไทย ๘.๑   นายณรงค์ ศศิธร                       รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ            หัวหน้าคณะ ๘.๒   นายเอนก สีหามาตย์                  อธิบดีกรมศิลปากร  ๘.๓   นายมะรอนิง สาแลมิง                 รองเลขาธิการ ศอ.บต.(ต่างประเทศ) ๘.๔   นางอริสรา มะแซ                      ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. ๘.๕   นายเซ็ง  ใบหมัด                       รองประธานคณะกรรมการอิสลาม จ.ปัตตานี                                                           ผู้แทนสภาอุลามะห์  ประเทศไทย ๘.๖  นางสาวพรทิพย์  พันธุโกวิทย์      หัวหน้ากลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๓ สงขลา ๘.๗  นายเชาวลิต สุวรรณรัตน์               หัวหน้ากลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ ๑๓ สงขลา ๘.๘  นายมงคล  สินสมบูรณ์                 นักการทูตชำนาญการ กระทรวงการต่างประเทศ ๘.๙  นางสาวหัทยา สิริพัฒนากุล  ภูมิสถาปนิกชำนาญการ  กรมศิลปากร ๘.๑๐นายปฏิวัติ  ทุ่ยอ้น                      สถาปนิกชำนาญการ  กรมศิลปากร ๘.๑๑นายรอมดอน  หะยีอาแว               เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการ ศอ.บต. ๘.๑๒นายมาหามะลุตฟี หะยีสาแม ผู้แทนจากโรงเรียนสมานมิตรวิทยา ๘.๑๓นางฮาซามี สาและ                     ผู้แทนจากโรงเรียนสมานมิตรวิทยา ๘.๑๔นางสาวอวาตีฟ มานะห์                ผู้แทนจากโรงเรียนสมานมิตรวิทยา ๘.๑๕นายฟารุดดิน สะอะ                     ผู้แทนจากโรงเรียนสมานมิตรวิทยา ๘.๑๖นางไซนับ อับดุลรอแม                  ผู้แทนจากโรงเรียนสมานมิตรวิทยา ๘.๑๗นายมูฮัมหมัดซับรี มูซอดี               ช่างภาพ ศอ.บต. ๘.๑๘นางวริษา ศิริพฤกษานุกุล              ผู้สื่อข่าว ศอ.บต.   ๙.      สรุปสาระของกิจกรรม             การเดินทางไปเยือนตุรกีในครั้งนี้มีสาระสำคัญ คือ             ๙.๑  การเข้าร่วมพิธีรับมอบคัมภีร์อัลกุรอ่านโบราณจำนวน ๖ เล่ม ซึ่งประเทศตุรกีได้ส่ง                       เจ้าหน้าที่มารับไปอนุรักษ์ซ่อมแซม ณ ประเทศตุรกี โดยสนับสนุนค่าใช่จ่ายทั้งหมดคืนกลับสู่ประเทศไทย พิธีส่งมอบคืนคัมภีร์อัลกุรอ่านดังกล่าว ได้จัดขึ้น ณ Suleymaniye Library กระทรวงวัฒนธรรม กรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี                    ทั้งนี้ คัมภีร์อัลกุรอ่านโบราณทั้ง ๖ เล่ม เป็นเพียงส่วนหนึ่งของคัมภีร์เก่าแก่ที่เขียนด้วยลายมือจำนวนไม่น้อยกว่า ๗๐ เล่ม อายุราว ๑๕๐ – ๒,๐๐๐ ปี ซึ่งถูกเก็บรวบรวมไว้ที่โรงเรียนสมานมิตรวิทยา จังหวัดนราธิวาส โดยมีนายมาหามะลุตฟี หะยีสาแม ผู้ได้รับพระราชทานเข็มเกียรติคุณวันอนุรักษ์มรดกไทยจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ในปี ๒๕๕๗ เป็นผู้บริหารโรงเรียนและผู้ครอบครอง  ในการนี้ เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการอนุรักษ์คัมภีร์อัลกุรอ่านโบราณนี้ ได้บรรยายสรุปถึงหลักการ และกระบวนการอนุรักษ์คัมภีร์ดังกล่าวให้ผู้เข้าร่วมในพิธีรับฟัง ด้วย โดยมีการศึกษาวิเคราะห์วัสดุที่ใช้ทำกระดาษด้วยเนื่องจากประเทศตุรกีไม่มีวัสดกระดาษชนิดนี้ และจะไม่มีการนำสิ่งแปลกปลอมมาใช้ซ่อมกระดาษย ส่วนที่ชิ้นส่วนที่เหลือหลักจากการอนุรักษ์แล้วก็เก็บไว้ทั้งหมดและนำส่งคืนให้กับเจ้าของคัมภีร์              ๙.๒  การพบปะนักเรียนไทยในตุรกี ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศตุรกีเป็น เจ้าภาพ ได้มีการเชิญนักเรียนไทยมาร่วมรับประทานอาหาร            ๙.๓  การพบกับมูลนิธิผู้สื่อข่าว และนักธุรกิจ ซึ่งสนใจมาลงทุนในประเทศไทย รวมถึงการ เยี่ยมชม Fatih College ซึ่งเป็นโรงเรียนต้นแบบของโรงเรียนนานาชาติซึ่งดำเนินการโดยชาวตุรกีในประเทศไทย           ๙.๔   การเยี่ยมชมแหล่งมรดกวัฒนธรรมของประเทศตุรกี ได้แก่  มัสยิดสีน้ำเงิน (BlueMosque) มหาวิหารโซเฟีย  พระราชวังTopkapi  พิพิธภัณฑ์โบราณคดี   ๑๐.         ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม           ๑๐.๑  ควรมีการปรับปรุงสถานที่ในการเก็บรักษาคัมภีร์ดังกล่าว ณ โรงเรียนสมานมิตรวิทยา ให้มีความเหมาะสมต่อการเก็บรักษาเอกสารโบราณโดยกรมศิลปากรได้รับจัดสรรงบประมาณจากกระทรวงวัฒนธรรมในปี๒๕๕๗ ตามแผนงานแก้ไขปัญหาและพัฒนาชายแดนภาคใต้ โครงการวัฒนธรรมเชื่อมใจชายแดนใต้สันติสุข ของกระทรวง  วัฒนธรรม           ๑๐.๒  ขอจัดสรรงบประมาณสำหรับดำเนินการก่อสร้าง เพื่อจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มรดกวัฒนธรรมอิสลามและศูนย์การเรียนรู้อัลกุรอ่าน ในปีงบประมาณ ๒๕๕๘ – ๒๕๕๙           ๑๐.๓  ควรมีการประสาน และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการอนุรักษ์เอกสารโบราณระหว่างหน่วยงานของกรมศิลปากร และประเทศตุรกี เพื่อให้พัฒนาการอนุรักษ์ให้ได้มาตรฐาน  ในระดับสากล


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง                          วรรณกรรมพุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    24 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534



สาระสังเขป     :  รวมพระราชดำรัสตอบและสุนทรพจน์เป็นพุทธบูชาของผู้นำต่างๆ เช่น ประธานสภาผู้แทนราษฎร, นายกรัฐมนตรี, ประธานศาลฎีกา เป็นต้นผู้แต่ง             :  -โรงพิมพ์         :  รุ่งเรืองธรรมปีที่พิมพ์         :  2500ภาษา             :  ไทยรูปแบบ           :  PDFเลขทะเบียน    :  น.31บ.13436เลขหมู่           :  895.915                        น.881


เลขทะเบียน : นพ.บ.12/9ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  56 หน้า  ; 5.5 x 56 ซ.ม. : รักทึบ-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากชื่อชุด : มัดที่ 8 (83-99) ผูก 9หัวเรื่อง : โลกนยชาตก--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.42/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  48 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 24 (239-243) ผูก 2หัวเรื่อง :  อาทิกมฺมวณฺณน --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



คุณแม่เกิดเมื่อ วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2454 ตรงกับ วันศุกร์ ปีกุน ณ บ้าน ริมคลองผดุงกรึงเกษม อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย จังหวัดกรุงเทพมหานคร 



          กลองมโหระทึก (ในภาคเหนือมักเรียกว่า ฆ้องกบ, ฆ้องเขียด) เป็นสิ่งที่มีการสันนิษฐานว่าเกิดขึ้นในสมัยก่อนประวัติศาสตร์และต่อเนื่องมาถึงช่วงต้นประวัติศาสตร์ (ราว ๒,๐๐๐ - ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว) เชื่อว่ามีจุดกำเนิดมาจากวัฒนธรรมดงเซิน (Dong Son) ซึ่งปัจจุบันอยู่บริเวณจังหวัด Thanh Hoa ในประเทศเวียดนาม พบในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ พม่า ไทย เวียดนาม ลาว มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ฯลฯ           ปัจจุบันมีการสันนิษฐานว่ากลองมโหระทึกผลิตขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ ดังนี้ ๑. แสดงฐานะความมั่งคั่ง ๒. ใช้ประกอบพิธีกรรมความตาย ๓. ใช้ตีเป็นสัญญาณสงคราม ๔. ใช้ประกอบพิธีขอฝน ๕. ใช้ตีเพื่อบำบัดโรคทางไสยศาสตร์ กลองมโหระทึกที่พบในพื้นที่จังหวัดน่าน           ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๓๙ เวลาราว ๑๒.๐๐ น. พบกลองมโหระทึกจำนวน ๒ ใบ บริเวณเนินดินซึ่งเป็นป่าช้าเก่าที่บ้านบ่อหลวง ริมถนนหมายเลข ๑๐๘๑ ใกล้หลักกิโลเมตรที่ ๗๗ ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ร่วมกับโบราณวัตถุอื่นๆ ได้แก่ แหวนทองคำ แหวนสำริด แผ่นทองคำ ชิ้นส่วนกระดูกขนาดเล็ก ฯลฯ โดยผู้พบคือ เด็กหญิงนงเยาว์ กุลสุทธิ และเด็กหญิงนพมาศ ปรังกิจ ต่อมานายชัยนันท์ บุษยรัตน์ หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ขณะนั้น จึงได้ประสานงานนำมาเก็บรักษาและจัดแสดง กลองมโหระทึกที่พบในประเทศไทย           ไม่เพียงแต่จังหวัดน่าน กลองมโหระทึกยังพบในอีกหลายต่อหลายพื้นที่ซึ่งหากนับเฉพาะชิ้นที่สามารถระบุตำแหน่งที่พบได้อย่างชัดเจนมีมากกว่า ๔๐ ใบ แต่หากนับรวมชิ้นที่ไม่สามารถระบุตำแหน่งที่พบได้ชัดเจนก็จะมีถึงราว ๖๐ ใบเลยทีเดียว ทั้งนี้ นอกจากประเทศไทยแล้วยังพบกลองมโหระทึกที่เวียดนาม (เชื่อว่าเป็นเจ้าของวัฒนธรรม) ลาว จีน พม่า อินโดนีเซีย และติมอร์ เป็นต้น ทำให้อาจเป็นเครื่องบ่งชี้ได้ถึงการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม และอาจแสดงถึงการติดต่อของผู้คนก็เป็นได้ ย้อนมองเมืองน่าน : ชุมทางการค้าแห่งล้านนาตะวันออก (?)           ในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์เราไม่อาจยืนยันชัดเจนว่าผู้คนมีการติดต่อกันด้วยเส้นทางใดบ้าง แต่หากพิจารณาเส้นทางในสมัยหลังลงมาได้มีผู้กล่าวว่าเมืองน่านน่าจะเป็นชุมทางสำคัญด้านล้านนาตะวันออกที่เชื่อมโยงสินค้าประเภทของป่าจากตอนในของแผ่นดิน เช่น หลวงพระบาง ไปสู่สุโขทัยก่อนที่จะผ่านเมืองตากออกสู่เมืองท่าอย่างเมาะตะมะในพื้นที่ประเทศพม่าในปัจจุบัน มองเส้นทางการค้าแล้วย้อนมองการกระจายตัวของกลองมโหระทึก //หากเรากลับไปมองการกระจายตัวของกลองมโหระทึกซึ่งเป็นโบราณวัตถุที่มีอายุในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์-ต้นสมัยประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือและภาคเหนือตอนล่างจะพบว่ามีการพบกลองมโหระทึกทั้งที่น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย และตาก สอดรับกันดีกับเส้นทางการค้าสมัยโบราณดังที่กล่าวไปข้างต้น           ดังนั้น กลองมโหระทึกอาจเป็นหนึ่งในวัตถุทางวัฒนธรรมที่แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ทางตอนเหนือของจังหวัดน่านมีผู้คนอาศัยอยู่มาแล้วนับแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อีกทั้งคงจะมีการติดต่อสัมพันธ์กับชุมชนและบ้านเมืองโดยรอบ ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม คติความเชื่อ ตลอดจนสินค้า และงานศิลปกรรมในเวลาต่อมา นำไปสู่พัฒนาการของชุมชนสู่บ้านเมืองในเวลาต่อมา_________________________ ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านเอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. กองโบราณคดี. ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ กรณีศึกษา กลองมโหระทึก. กรุงเทพฯ: แกรนด์พ้อยท์, ๒๕๖๒. กรมศิลปากร. จารึกสมัยสุโขทัย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๒๗. กรมศิลปากร. สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. กลองมโหระทึกในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: อาทิตย์ โพรดักส์ กรุ๊ป, ๒๕๔๖. ชวิศา ศิริ. "การค้าของอาณาจักรล้านนา ตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒." ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๐. ธีระวัฒน์ แสนคำ. "เส้นทางความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสุโขทัยกับกลุ่มบ้านเมืองในลุ่มน้ำโขง." ใน สุโขทัยกับอาเซียน : มองปัจจุบันผ่านอดีตจากมิติประวัติศาสตร์ ศิลปะ โบราณคดี. ปทุมธานี: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. โยซิยูกิ มาซูฮารา. ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของราชอาณาจักรลาวล้านช้าง : สมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๗ จากรัฐการค้าภายในภาคพื้นทวีปไปสู่รัฐกึ่งเมืองท่า. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๖. วราภรณ์ เรืองศรี. คาราวานพ่อค้าทางไกล : การก่อเกิดรัญสมัยใหม่ในภาคเหนือของไทยและดินแดนตอนในของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. เชียงใหม่: ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๕๗. ศรีศักร วัลลิโภดม. สยามประเทศ ภูมิหลังของประเทศไทยตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาราชอาณาจักรสยาม. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๓๙. สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า. ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ. ๒๐๐๐. กรุงเทพฯ: บริษัทรุ่งเรืองการพิมพ์, ๒๕๓๕. สุจิตต์ วงษ์เทศ. มโหระทึก หรือกลองทอง. กลองกบ ใช้ตีขอน้ำฟ้าน้ำฝน ตามประเพณีดึกดำบรรพ์หลายพันปีมาแล้วของอุษาคเนย์. มติชนออนไลน์, เข้าถึงเมื่อ ๕ เม.ย. ๖๓ เข้าถึงได้จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_348099 สุจิตต์ วงษ์เทศ. ขวัญ หน้ากลองมโหระทึก. มติชนออนไลน์เข้าถึงเมื่อ ๕ เม.ย. ๖๓ เข้าถึงได้จาก https://www.matichon.co.th/entertainment/arts-culture/news_1390415


ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 8. พระนคร : กรมศิลปากร, 2507         ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 8 นี้ ประกอบด้วยเนื้อหา 5 เรื่อง คือ จดหมายเหตุโหร,  จดหมายเหตุ ของจมื่นก่งศิลป์, พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์เจ้ากรม, พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 4 เรื่องปฐมวงศ์, และเรื่องตำนานพระโกศ



THAI CULTURE, NEW SERIES NO. 25 DHARMACAKRA OR THE WHEEL OF THE LAW BY DHANIT YUPHO PUBLISHED BY THE FINE ARTS DEPARTMENT BANGKOK, THAILAND B.E. 2558


Messenger