ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,788 รายการ
วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน 2559 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม จัดอบรม "ระบบคลังข้อมูลดิจิทัล กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม" แก่เจ้าหน้าที่หอสมุดแห่งชาติทั่วประเทศ ณ ห้องอบรมคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม ตึกธนาลงกรณ์ ชั้น 8 ในการนี้บริษัทบุ๊คโดส จำกัด จัดส่งวิทยากรเพื่อให้ความรู้ ในการนี้นายอภิญญา รุ่งพิทักษ์มานะ นักจัดการงานทั่วไป รับหน้าที่ประสานงานและอำนวยความสะดวก
ขั้นตอนและวิธีการขออนุญาตนำโบราณวัตถุเข้ามาในราชอาณาจักร
โบราณวัตถุที่จะขออนุญาตนำเข้ามาในราชอาณาจักร มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
๑. ประเภทของโบราณวัตถุ
โบราณวัตถุที่ต้องขออนุญาตในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ได้แก่ โบราณวัตถุที่มีแหล่งกำเนิดในต่างประเทศ ประเภทพระพุทธรูป เทวรูป หรือรูปเคารพในศาสนา และชิ้นส่วนหรือองค์ประกอบของโบราณสถานตามพิกัดอัตราอากรขาเข้า ประเภทที่ ๙๗๐๓.๐๐๙ แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ
๑. พระพุทธรูป
๒. เทวรูปหรือรูปเคารพในศาสนา
๓. ชิ้นส่วนหรือองค์ประกอบของโบราณสถาน
๒. วัตถุประสงค์ในการขอนำเข้ามาในราชอาณาจักร
๑. นำมาจัดแสดงเพื่อการศึกษาและเผยแพร่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว โดยมีกำหนดระยะเวลาในการจัดแสดง และส่งกลับไว้แน่นอน
๒. เพื่อการสักการบูชา ในปริมาณไม่เกิน ๒ ชิ้น
๓. เพื่อบริจาคให้แก่ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ
๓. ระยะเวลาที่ขอนำเข้ามาในราชอาณาจักร
กรมศิลปากรจะได้พิจารณาอนุญาตเป็นกรณี ๆ ไป
๔. ผู้ขออนุญาตนำโบราณวัตถุเข้ามาในราชอาณาจักรจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้
(๑) ผู้ขออนุญาตจะต้องไปซื้อแบบฟอร์มในการขออนุญาตนำเข้า (แบบ ข.๑ ข.๒ หรือ ข.๓ แล้วแต่กรณี) ที่กระทรวงพาณิชย์ สนามบินน้ำ จังหวัดนนทบุรี พร้อมกรอกรายละเอียดต่าง ๆ ตามแบบฟอร์ม
(๒) ผู้ขออนุญาตทำหนังสือถึงอธิบดีกรมศิลปากร โดยแจ้ง เรื่อง ขออนุญาตนำพระพุทธรูป หรือ เทวรูปหรือรูปเคารพในศาสนา หรือชิ้นส่วนหรือองค์ประกอบของโบราณสถาน หรือทั้งหมด เข้ามาในราชอาณาจักร โดยแจ้งรายละเอียด จำนวน ชนิด ขนาด (กว้าง, ยาว, สูง เป็นเซนติเมตร) ของโบราณวัตถุ และระบุสถานที่เก็บโบราณวัตถุที่นำเข้าพร้อมหมายเลข
โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้
(๓) เอกสารแนบการขออนุญาตนำเข้าประกอบด้วย
๑. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
๒. สำเนาทะเบียนบ้าน
๓. หลักฐานการซื้อขาย
๔. ใบขนส่งสินค้า หรือ Invoice
๕. ถ้าเป็นโบราณวัตถุจะต้องขอใบอนุญาตนำของออกจากประเทศนั้นๆ ด้วย
(๔) ภาพถ่ายโบราณวัตถุที่ขออนุญาตนำเข้าเฉพาะด้านหน้า โดยถ่ายภาพ ๑ ครั้ง อัดพร้อมกันจำนวน ๒ ใบ ขนาด ๓ x ๕ นิ้ว
(๕) ผู้ขออนุญาตจะต้องทำหนังสือขออนุญาตด่านศุลกากรเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร เข้าตรวจพิสูจน์โบราณวัตถุในคลังตามระเบียบกรมศุลกากร
(๖) ผู้นำเข้าจะต้องจัดพาหนะ รับ – ส่ง พนักงานเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ไปตรวจพิสูจน์โบราณวัตถุนั้น ๆ
๕. สถานที่ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
• สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เลขที่ ๘๑/๑ ถนนศรีอยุธยา แขวงวชิระ เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทรศัพท์ , โทรสาร ๐ ๒๖๒๘ ๕๐๓๓, ๐ ๒๒๘๑ ๖๗๖๖
• สำนักงานเลขานุการกรม กลุ่มนิติการ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๒ ๔๕๖๖, ๐ ๒๒๒๕ ๘๙๕๘
โทรสาร ๐ ๒๒๒๖ ๑๗๕๑
การอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานวัดเขาดิน ต.สระแก้ว อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี เป็นผลการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานวัดเขาดินซึ่งสร้างขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 ตามรูปแบบศิลปสุพรรณภูมิ ตามคติความเชื่อในเรื่อง "ไตรภูมิ" โดยองค์เจดีย์สร้างขึ้นบนเนินดินที่ถมพูนขึ้นเป็นเสมือนเขาพระสุเมรุ องค์เจดีย์เปรียบประดุจพระเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ริมลำน้ำท่าคอยที่อาจเปรียบเหมือนมหานทีสีทันดร ตามความเชื่อในช่วงเวลาดังกล่าว
ภาชนะดินเผาในวัฒนธรรมเขมร
ความเป็นมาของภาชนะดินเผา
ภาชนะดินเผา (Pottery) เป็นภาชนะสำหรับบรรจุของเหลวหรือของแข็ง สำหรับใช้บริโภคหรือเก็บสะสมอาหาร เช่น หม้อ ไห จาน ชาม ถ้วย ผลิตขึ้นโดยนำดิน หรือ ดิน หิน ทราย แร่ธาตุต่างๆ มาผสมกับน้ำ ปั้นตามรูปร่างที่ต้องการแล้วเผาให้แข็งตัวคงรูปร่างอยู่ได้
ความสำคัญของภาชนะดินเผา
ภาชนะดินเผาเป็นหลักฐานที่มีประโยชน์มากสำหรับการศึกษาทางด้านโบราณคดี เพราะเราสามารถศึกษารูปร่าง รูปแบบและการตกแต่ง วัสดุที่ใช้ทำ ทำให้ทราบถึงความนิยม วิวัฒนาการของเทคนิคการทำ พิธีกรรมทางศาสนา เส้นทางการติดต่อค้าขายของพ่อค้า อาณาเขตการติดต่อในสมัยโบราณ ฯลฯ
ประเภทของภาชนะดินเผา
๑. วัตถุดินเผา (Terra Cotta) เป็นการเผาที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า ๑,๐๐๐ องศาเซลเซียส ส่วนผสมของดินปั้นที่มีดินเหนียวผสม
๒. ภาชนะดินเผาเนื้อดิน (Earthen Ware) เป็นการเผาที่มีอุณหภูมิประมาณ ๑,๐๐๐ – ๑,๒๐๐ องศาเซลเซียสเป็นส่วนผสมของดินกับหินฟันม้า ควอทซ์
๓. ภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งหรือเนื้อหิน (Stone Ware) เป็นการเผาที่มีอุณหภูมิประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๓๐๐ องศาเซลเซียส เป็นส่วนผสมดินที่มีหินปนอยู่ราว ๕๐%
๔. เครื่องกระเบื้อง (Porcelain) เป็นการเผาที่มีอุณหภูมิประมาณ ๑,๓๐๐ – ๑,๔๕๐ องศาเซลเซียส เป็นส่วนผสมของดินขาว (Koalin) หินฟันม้า หินควอทซ์
หากแบ่งตามการเคลือบผิว ภาชนะดินเผาแบ่งได้เป็น ๒ ชนิด คือ
๑. ชนิดเคลือบ (Glaze) ส่วนมากจะทำกับภาชนะดินเผาชนิดที่ใช้ไฟแรงสูง เช่น Stoneware หรือ Porcelain
๒. ชนิดไม่เคลือบ (Unglaze) มีตั้งแต่ชนิด Terra Cotta, Earthen Ware และ Stone Ware
วัตถุดินเผา ภาชนะดินเผาเนื้อดิน ภาชนะดินเผาเนื้อแกร่ง เครื่องกระเบื้อง
ภาชนะดินเผาที่พบในประเทศไทย
ในประเทศไทยได้พบหลักฐานจำพวกภาชนะดินเผาเป็นจำนวนมาก มีทั้งแบบเรียบง่ายสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน แบบที่มีการตกแต่งอย่างสวยงามเพื่อใช้ในพิธีกรรมหรือเป็นเครื่องใช้สำหรับบุคคลชั้นสูง โดยสามารถแบ่งออกเป็นยุคสมัยต่างๆ ได้ดังนี้
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดี สมัยศรีวิชัย สมัยวัฒนธรรมเขมร
สมัยสุโขทัย สมัยล้านนา สมัยอยุธยา สมัยรัตนโกสินทร์
ภาชนะดินเผาในวัฒนธรรมเขมร
ผลิตขึ้นในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๘ นับเป็นภาชนะดินเผาที่มีอายุการผลิตเก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีความสัมพันธ์กับเครื่องปั้นดินเผาจีนสมัยห้าราชวงศ์และสมัยราชวงศ์ซ่ง เชื่อกันว่า แหล่งผลิตในระยะแรกอยู่ในบริเวณที่ราบสูงพนมกุเลนในประเทศกัมพูชา ผลิตเครื่องถ้วยประเภทเคลือบสีเขียวใส เรียกว่า เครื่องถ้วยแบบกุเลน
ภาชนะดินเผาวัฒนธรรมเขมรสามารถจำแนกตามลักษณะของการเคลือบและน้ำยาเคลือบออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
๑. ประเภทเคลือบสีเขียว เป็นเครื่องปั้นดินเผาแบบแรกสุดที่ผลิตขึ้นในอาณาจักรเขมร มีอายุอยู่ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๕ อาจผลิตจากแหล่งเตาเผาที่พนมกุเลน
๒. ประเภทเคลือบสีน้ำตาล มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ส่วนใหญ่ผลิตจากแหล่งเตาเผาที่อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์
๓. ประเภทเคลือบสองสี เกิดขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ทำขึ้นจำนวนไม่มากนัก โดยปากภาชนะจะเคลือบสีเขียวอ่อน ส่วนคอและตัวภาชนะเคลือบสีน้ำตาล น่าจะได้รับแบบอย่างจากจีน
๔. ประเภทไม่เคลือบ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖ ได้เกิดภาชนะเนื้อแกร่งที่ไม่เคลือบผิว เรียกว่า ลีเดอแวง (Lie de vin) แปลว่า “ตะกอนของไวน์” ภาชนะมีสีน้ำตาลคล้ายไวน์เก่าในขวด
เคลือบสีเขียว เคลือบสีน้ำตาล เคลือบสองสี
รูปทรงอันหลากหลาย
ภาชนะดินเผาในวัฒนธรรมเขมรมีลักษณะ รูปทรง และลวดลายประดับตกแต่งที่มีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ แต่หน้าที่ใช้สอยของภาชนะเหล่านี้ยังไม่ทราบแน่ชัด จึงอาศัยเทียบเคียงการใช้งานกับภาชนะดินเผาในปัจจุบัน โดยสามารถจำแนกภาชนะจากรูปทรงได้ดังนี้
ตลับ กระปุก ชามหรือถ้วย โถ ขวด
คนโท ไหเท้าช้าง ไห ภาชนะทรงพาน ภาชนะรูปสัตว์
ประโยชน์ใช้สอย
ภาชนะดินเผาในวัฒนธรรมเขมรผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและเพื่อใช้ในพิธีกรรมความเชื่อต่างๆ รวมถึงเป็นเครื่องแสดงฐานะทางสังคม
ภาชนะดินเผาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น หุงต้มอาหาร บรรจุน้ำดื่มน้ำใช้ มักเป็นภาชนะดินเผาเนื้อหยาบหรือเนื้อแกร่งแบบไม่เคลือบ แต่สำหรับเก็บกักอาหารหรือของเหลวบางอย่างจำเป็นต้องใช้ภาชนะดินเผาแบบเคลือบเพื่อป้องกันการรั่วซึมของของเหลวและแก็สได้ เช่น ไหสีน้ำตาลใช้บรรจุปลาร้า เกลือ น้ำผึ้ง น้ำตาล น้ำมัน ข้าว พริกไทย ฯลฯ ขวดดินเผาเคลือบอาจใส่น้ำดื่มไว้พกพาหรือใส่สุรา กระปุกขนาดเล็กและตลับ อาจใช้บรรจุเครื่องหอมหรือเครื่องสำอาง ภาชนะรูปสัตว์ต่างๆ เช่น นก ช้าง กระต่าย พบว่าภายในบรรจุปูน อาจใช้เป็นเต้าปูนกินหมาก
ภาชนะที่ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ภาชนะทรงพานอาจใช้ใส่ดอกไม้หรือเครื่องหอม คนโทใช้ในการหลั่งน้ำทำพิธีกรรม โถใช้ใส่เถ้าอัฐิ
ทับหลังสลักภาพพิธีอัศวเมธและภาพสลักบุคคลชายหญิงแสดงภาพภาชนะดินเผาในวัฒนธรรมเขมร
แหล่งเตาเผา
ภาชนะดินเผาในวัฒนธรรมเขมรส่วนใหญ่คงผลิตจากแหล่งเตาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เนื่องจากมีการค้นพบแหล่งเตาเผาขนาดใหญ่ เช่น แหล่งเตาโคกลิ้นฟ้า อำเภอละหานทราย แหล่งเตานายเจียน แหล่งเตาสวาย อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ แหล่งเตาบ้านสวาย อำเภอเมือง แหล่งเตาบ้านปราสาท บ้านพลวง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ส่วนแหล่งเตาผลิตภาชนะดินเผาในประเทศกัมพูชาพบอยู่หลายแห่ง เช่น บริเวณที่ราบสูงพนมกุเลนและที่พระขรรค์แห่งกำปงสวาย เป็นต้น
แหล่งเตาสวาย อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์
แหล่งเตานายเจียน อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์
สู่ความนิยม
นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๖ (พ.ศ.๑๕๐๑ – ๑๖๐๐) เป็นต้นมา อาณาจักรเขมรได้แผ่อำนาจการปกครองมายังดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยได้นำความรู้เรื่องการผลิตภาชนะดินเผาเข้ามาเผยแพร่ในดินแดนแถบนี้ด้วย ดังจะเห็นได้จากการค้นพบแหล่งเตาเผากระจายตัวในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ นครราชสีมา และสุรินทร์
ภาชนะดินเผาในวัฒนธรรมเขมรได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีเทคโนโลยีการผลิตที่ก้าวหน้า สามารถควบคุมอุณหภูมิความร้อนในเตาเผาได้อย่างชำนาญ ทำให้ภาชนะดินเผามีความสวยงามและหลากหลาย
กระทั่งในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ (ประมาณ พ.ศ.๑๗๕๑ – ๑๘๐๐) การผลิตและการใช้งานภาชนะดินเผาในวัฒนธรรมเขมรเสื่อมความนิยมลง อันเนื่องมาจาก
๑. อาณาจักรเขมรได้เริ่มเสื่อมอำนาจการปกครอง
๒ ภาชนะดินเผาแบบจีน (สมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ) ได้รับความนิยมมากขึ้น
ภาพสลักบริเวณระเบียงปราสาทบายนแสดงการผลิตภาชนะดินเผา ภาชนะดินเผาแบบจีน (ราชวงศ์ซ่งเหนือ)
กระบวนการผลิตภาชนะดินเผา
๑. วัตถุดิบ ในส่วนผสมของเนื้อดินปั้นจะประกอบไปด้วย ดิน (Clay) หินเขี้ยวหนุมาน(Quartz) และหินฟันม้า (Feldspar) นอกจากวัตถุดิบหลักทั้ง ๓ อย่างแล้ว ยังมีส่วนผสมอื่นๆ อีก เช่น ทราย แร่เหล็ก ศิลาแลง และดินขาว
๒. การปั้น เทคนิคการปั้นแบบดั้งเดิมมี ๕ วิธี ได้แก่ การปั้นด้วยมือแบบอิสระ การขึ้นรูปทรงแบบขด การขึ้นรูปทรงแบบแผ่น การกดหรืออัดบนพิมพ์ และการขึ้นรูปทรงโดยใช้แป้นหมุนโดยสังเกตได้จากผิวด้านในของภาชนะดินเผาจะเป็นรอยที่มีลักษณะหมุนเวียนขวาซึ่งเกิดจากการใช้แป้นหมุนนั้นเอง
๓. การตกแต่งผิวภาชนะดินเผา
- การทำลวดลายบนผิวภาชนะ เช่น การตีประทับหรือกดลาย การขูดขีด การแต่งเติมดิน
- การตกแต่งภาชนะผิวเรียบ เช่น การขัดผิว เช็ดหรือลูบผิว ทาผิวด้วยน้ำดินข้น การรมควัน
- การตกแต่งด้วยการเคลือบ เช่น เคลือบสีเขียวใส เคลือบสีน้ำตาลจนถึงสีดำ และการเคลือบสองสีในภาชนะใบเดียวกัน
๔. การเคลือบ
- ภาชนะดินเผาที่เคลือบสีเหลืองนวล น้ำตาลอ่อนจนไปถึงน้ำตาลแก่ เกิดจากส่วนผสมของเหล็กที่มีอยู่ในขี้เถ้า และเหล็กจากวัตถุดิบอื่นที่ผสมในสูตรเคลือบ โดยผ่านการเผาแบบออกซิเดชั่น (Oxidation)คือการเผาไหม้แบบสมบูรณ์
- ภาชนะดินเผาที่เคลือบสีเทา เทาอมเขียว เขียวมะกอก หรือเทาอมฟ้า เกิดจากการเผาแบบ รีดักชั่น (Reduction) คือการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ซึ่งจะเกิดก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO)
๕. การเผา เตาเผามีลักษณะโค้งเป็นรูปไข่ ขนาดความกว้างประมาณ ๑.๕ เมตร ยาวประมาณ ๑๕ เมตร พื้นที่ภายในเตาเผาจะแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ ช่องใส่ไฟ ห้องวางภาชนะ และปล่องไฟ
ตัวอย่างชื่อเรียกส่วนต่างๆ ของภาชนะดินเผา
ลวดลายตกแต่งบนภาชนะดินเผา
ลายขูดขีดเป็นร่องตื้นๆ เช่น ขีดเป็นเส้นตรงหรือเส้นขนานในแนวนอน ลายกากบาทชั้นเดียว ลายกากบาทสองชั้น ลายซิกแซ็ก ลายเส้นคดโค้ง ลายคลื่น ลายโค้งแบบระย้า ลายรูปสัตว์ เป็นต้น
การปั้นแปะเป็นรูปต่างๆ มักตกแต่งบริเวณไหล่ของภาชนะ เช่น ลายเม็ดพริก
การทำเป็นเส้นนูนขึ้นมาเป็นชั้นๆ มักตกแต่งในบริเวณฐานของภาชนะ
การอนุรักษ์มรดกของชาติ
พื้นที่ของจังหวัดสุรินทร์มีการขุดพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุจำนวนมาก เนื่องจากเมื่อครั้งอดีตพื้นที่แห่งนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนมาถึงยุคประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดี สมัยลพบุรี(เขมร) สมัยล้านช้าง(ลาว) และปัจจุบันในสมัยรัตนโกสินทร์ ในแต่ละปีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ กรมศิลปากร ได้รับแจ้งจากประชาชนทั้งชาวจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดใกล้เคียงว่ามีการขุดพบหลักฐานทางโบราณคดี ไม่ว่าจะเป็น หม้อ ไห ภาชนะดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ หรือแม้กระทั่งกระดูกมนุษย์โบราณเป็นจำนวนมาก ดังนั้นประชาชนจึงมีความจำเป็นที่จะต้องรู้ระเบียบกฎหมายเบื้องต้นในการปฏิบัติเมื่อพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่มิใช่ทรัพย์สินของตนเอง
ข้อควรปฏิบัติเมื่อพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
๑. ระงับการขุดหรือเคลื่อนย้ายโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ โดยทันที
๒. แจ้งเจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากรที่ใกล้ที่สุดหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ภายใน ๓๖ ชั่วโมง ประชาชนในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์และใกล้เคียงสามารถแจ้งได้ที่
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
ถ.สุรินทร์-ปราสาท ต.เฉนียง อ.เมือง จ.สุรินทร์ ๓๒๐๐๐
โทรศัพท์/โทรสาร ๐๔๔ ๑๕๓๐๕๔
๓. ให้ข้อมูลเบื้องต้นในการพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ แก่เจ้าหน้าที่ เช่น วัน/เวลา/สถานที่ที่พบ วัตถุสิ่งของที่พบในบริเวณใกล้เคียง ระดับความลึกที่ขุดพบ สภาพทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ที่ขุดพบเป็นต้น
ที่มาและภาพประกอบ
กฤษฎา พิณศรี. การศึกษารูปแบบศิลปะและคติความเชื่อในงานเครื่องปั้นดินเผาวัฒนธรรมเขมรใน
ประเทศไทย. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
พัชรี สาริกบุตร. เทคโนโลยีสมัยโบราณ: เครื่องมือหิน งานโลหะ เครื่องปั้นดินเผา แก้ว และลูกปัดแก้ว.
กรุงเทพฯ:ภาควิชาโบราณคดี, คณะโบราณคดี, มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๓
ศิลปากร, กรม. คู่มือพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
พ.ศ.๒๕๐๔ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕. พิมพ์ครั้งที่ ๑๐, กรุงเทพ: บริษัท สำนักพิมพ์
สมาพันธ์ จำกัด, ๒๕๔๘
ศิลปากร, กรม. เครื่องถ้วยจากแหล่งเตาเผาจังหวัดบุรีรัมย์. กรุงเทพ: บริษัท หิรัญพัฒน์ จำกัด, ๒๕๓๒
ศิลปากร, กรม. เซระมิคส์ในประเทศไทย ชุดที่ ๔ : เตาบ้านกรวด บุรีรัมย์. กรุงเทพ:
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, ๒๕๓๒
ศิลปากร, กรม. โบราณคดีวิเคราะห์ ๒ : เครื่องถ้วยบุรีรัมย์และเครื่องถ้วยสุโขทัย. กรุงเทพ:
โรงพิมพ์ดอกเบี้ย, ๒๕๓๙
คุณกมลวรรณ นิธินันทน์ นักโบราณคดีปฏิบัติการ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เอื้อเฟื้อภาพประกอบ
http://www.oknation.net/blog/voranai/2011/12/11/entry-1
http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=22&chap=2&page=t22-2-
infodetail11.html
http://hoainiemtayninh.blogspot.com/2015/07/en-bayon-campuchia.htmlhttps://www.backstreetacademy.com/blog/5-national-geographic-documentaries-we-would-
love-to-see-in-southeast-asia/
http://www.chinaonlinemuseum.com/ceramics-song.php
***บรรณานุกรม***
สุนทรภู่ อนุสณ์งานฌาปนกิจศพนางเชือบวรสิน
โคลงนิราศสุพรรณฉบับสมบูรณ์และนิราศสุพรรณ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางเชื้อ บวรสิน ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ 22 กรกฎาคมพุทธศักราช 2521
กรุงเทพฯ
ห้างหุ้นส่วนจำกัดนนทชัย
2521
วันพุธที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๑
เวลา ๐๙.๓๐ น.
โรงเรียนมนตรีศึกษา
อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น
จำนวน ๙๐ คน
เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น
โดยมีนางแพรว ธนภัทรพรชัย และนักศึกษาฝึกประสบการณ์ ๖ คน คือ นายเจษฎาภรณ์ บุญสัตย์ นางสาวรมินทร์กร พูนนาม นายสัมฤทธิ์ ภูดวง นางสาวพาทินธิดา สุขเสริม นายวัชรวิทย์ ปัญญะพงษ์ และนางสาวบุศรา ถามณีศรี เป็นวิทยากรนำชม
วันที่ 24 เมษายน 2561 นางกันยา แต้เจริญวิริยะกุล ผู้อำนวยการ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา ร่วมพิธีเปิดกิจกรรมส่งเสริมความรู้พัฒนาเครือข่ายเอกสารโบราณ จังหวัดนครราชสีมา จัดโดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ ณ วัดบึง(พระอารามหลวง) โดยมี นางประนอม คลังทอง รองอธิบดีกรมศิลปากรเป็นประธานในพิธีเปิด