ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,789 รายการ
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์ตรี มนู นาคามดี ณ เมรุวัดมกกุฏกษัตริยาราม วันที่ ๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๑๒
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการ ไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยไทย” วิทยากรโดย นายจิตกร วงษ์มาตร์ นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน, นายอภิศักดิ์ ทองอินทร์ ประติมากรปฏิบัติการ สำนักช่างสิบหมู่ และนางสาวปัทมา ก่อทอง ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ดำเนินรายการโดย นางกมลชนก พรภาสกร นักวิชาการโสตทัศนศึกษา กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร และ Youtube Live : กรมศิลปากร
องค์ความรู้ : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
เรื่อง : นาคปักสองสมัย ณ ปราสาทพนมรุ้ง
นาคปัก เป็นส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรม สำหรับประดับที่มุมประธานของชั้นหลังคาปราสาทในวัฒนธรรมเขมรโบราณ “นาคปัก” ถูกพัฒนามาจาก “ปราสาทจำลอง” ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยเมืองพระนครยุคแรกหรือช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๖ ก่อนจะปรับเปลี่ยนมาเป็น นาคปัก ตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๑๖ จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ เช่น นาคปักที่ปราสาทแม่บุญตะวันตก นาคปักที่ปราสาทบากอง นาคปักที่ปราสาทนครวัด ประเทศกัมพูชา นาคปักที่ปรางค์น้อย นาคปักที่ปราสาทประธานพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์
จากการศึกษาเรื่อง “การกลายรูปจากอาคารจำลอง-นาคปัก-บรรพแถลง ของปราสาทในศิลปะขอมมาเป็นกลีบขนุนของปรางค์ในศิลปะไทย” ของ สรศักดิ์ จันทร์วัฒนกุล สันนิษฐานว่าการปรับเปลี่ยนจากปราสาทจำลองไปเป็นนาคปัก เป็นการเปลี่ยนแปลงจากแรงบันดาลใจของช่าง โดยอาจเป็นข้อจำกัดทางด้านเทคนิคการสร้างและรูปทรงของปราสาท ช่างจึงจำเป็นต้องคิดหารายละเอียดของส่วนประดับมาช่วยให้มีความงาม ความสมส่วนลงตัว เพื่อลบพื้นที่ว่างระหว่างชั้นหลังคา และนาคปักยังสื่อความหมายถึงสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ได้เช่นเดิม
สำหรับที่ปราสาทพนมรุ้งซึ่งมีอายุสมัยการสร้างและใช้พื้นที่ประมาณ ๔๐๐ ปี ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๘ พบรูปแบบนาคปักถึงสองสมัยด้วยกัน ได้แก่
๑) นาคปักศิลปะแบบบาปวน ที่ ปรางค์น้อย อายุพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ลักษณะเป็นพญานาคห้าเศียรในกรอบสามเหลี่ยม ส่วนเศียรโล้น นาคตัวกลางคายพวงอุบะ ตัวนาคปักเอนสอบไปทางด้านหลังเข้าหาตัวปราสาทเล็กน้อย
๒) นาคปักศิลปะแบบนครวัด ที่ ปราสาทประธาน อายุพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ลักษณะเป็นพญานาคห้าเศียรอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมมีมงกุฎครอบทับอีกชั้นหนึ่ง ตัวนาคไม่ได้ตั้งฉากกับตัวอาคาร แต่ทำมุมเอียงลาดไปด้านหลังเข้าหาตัวปราสาท ทำให้เส้นโครงกรอบของชั้นหลังคาเป็นวงโค้งทรงพุ่ม
ล่าสุดจากการขุดค้นโบราณคดีปราสาทพนมรุ้ง ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ๒๕๖๔ ที่ผ่านมา บริเวณหลุมขุดค้นที่ ๔ (TP.4) ซึ่งเป็นพื้นที่โล่งทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของปราสาทประธาน พบชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมประเภท นาคปัก ด้านบนชำรุดหักหาย มีการสลักลวดลายเหมือนลำตัวพญานาค จึงสันนิษฐานว่าเป็น “โกลนนาคปักที่ยังสลักไม่เสร็จ” เมื่อเปรียบเทียบพบว่าโกลนนาคปักชิ้นนี้มีลักษณะคล้ายกับนาคปักที่ปรางค์น้อย คือ มีฐานสองชั้นไม่มีลวดลาย มุมด้านหนึ่งมีรอยแตกซึ่งเป็นร่องรอยการคายพวงอุบะของนาค
จึงสันนิษฐานว่า โกลนนาคปักชิ้นนี้ ช่างในสมัยโบราณคงมีเจตนาทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนประกอบชั้นหลังคาของปรางค์น้อย โดยอาจจะสลักไม่เสร็จหรือหรือเกิดความเสียหายในระหว่างการทำจึงไม่ได้นำขึ้นไปประดับไว้ด้านบนของปรางค์น้อย ปัจจุบันโกลนนาคปักชิ้นนี้เก็บรักษาอยู่ที่บริเวณปรางค์น้อยนั่นเอง
เรียบเรียงโดย : นายพงศธร ดาวกระจาย ผู้ช่วยนักโบราณคดี อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
เอกสารอ้างอิง :
สรศักดิ์ จันทร์วัฒนกุล. “การกลายรูปจากอาคารจำลอง-นาคปัก-บรรพแถลงของปราสาทในศิลปะขอมมาเป็นกลีบขนุนของปรางค์ในศิลปะไทย.” สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๖.
ชื่อเรื่อง มาเลยฺยสุตฺต (มาลัยหมื่น-มาลัยแสน)
สพ.บ. 257/2ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 32 หน้า กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ-ล่องรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.152/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 24 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 93 (1-16) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : สทฺทสารตฺชาลินี(ศัพท์สัททสารัตถชาลินี)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
#เครื่องมือเครื่องใช้ในภาคเหนือเปี้ยด เปี้ยด ในภาษาล้านนา หมายถึง ตะกร้า ภาคกลางเรียกว่า กระบุง เป็นภาชนะใส่สิ่งของและพืชพรรณต่าง ๆ ทำจากไม้ไผ่สาน รูปทรงกลมสูง ปากกว้าง ส่วนก้นสอบเป็นสี่เหลี่ยม มีขอบปากใช้หวายผูกเสริมตามมุมเพื่อเพิ่มความคงทน มีหู ๔ หู สำหรับร้อยเชือกหาบหรือสาแหรก เปี้ยดของชาวเหนือจะมีรูปทรงแตกต่างกับกระบุงของภาคกลางเล็กน้อย โดยมีขนาดที่เล็ก และป้อมกลมมากกว่า ในบางพื้นที่สานอย่างประณีตเพื่อความคงทนแล้วจึงทาด้วยน้ำมันยางเพิ่มความสวยงามภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. ภาพชุด การประกวดภาพเก่าเกี่ยวกับจังหวัดลำพูนอ้างอิง : ๑. มณี พยอมยงค์. ๒๕๔๖. สารพจนานุกรมล้านนา. เชียงใหม่: ดาวคอมพิวกราฟิก.๒. พิชชา ทองขลิบ. ๒๕๖๔. กระบุง. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (Online)
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (วิภังค์-มหาปัฏฐาน)
สพ.บ. 307/4ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 28 หน้า กว้าง 4.8 ซม. ยาว 57.3 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
วินยธรสิกฺขาปทวินิจฺฉย (วินยสิกฺขาปทวินิจฺเฉยฺย)
ชบ.บ.96/1-10
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.311/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 126 (306-312) ผูก 4 (2565)หัวเรื่อง : ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา(ธรรมบท)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม