ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,805 รายการ

"เซี่ยวกาง" เมืองน่าน ณ บานประตูทิศตะวันออกวิหารวัดภูมินทร์"เซี้ยวกาง, เสี้ยวกาง, เขี้ยวกาง, เซี่ยวกาง" สันนิษฐานว่ามาจากภาษาจีนแต้จิ๋ว จากคำว่า "เซ่ากัง" แปลว่า ยืนยาม ตู้ยาม หรือซุ้มยาม ทางจีนมีการทำรูปไว้ตามประตูเช่นกัน เรียก "มึ่งซิ้น" แปลว่า เทวดารักษาประตู"ทวารบาล" มาจากคำว่า "ทวาร" แปลว่า ประตู หรือช่อง "บาล" แปลว่า เลี้ยง รักษา ปกครอง ทวารบาลจึงมีความหมายว่า ผู้รักษาประตู หรือผู้รักษาช่องเอกสารอ้างอิง จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน  ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๓๓. http://legacy.orst.go.th/?knowledges=เซี่ยวกางพัชนะ  บุญประดิษฐ์. ผู้รักษาประตู. http://legacy.orst.go.th/?knowledges=ผู้รักษาประตู-๑-กรกฎาคม


ชื่อโบราณวัตถุ : ภาชนะดินเผาสีแดงขัดมันแบบศิลปะ : สมัยก่อนประวัติศาสตร์ชนิด : ดินเผาขนาด : สูง 9.8 เซนติเมตร ปากกว้าง 14.7 เซนติเมตรอายุสมัย : วัฒนธรรมบ้านเชียงสมัยปลาย 2,300 - 1,800 ปีมาแล้วลักษณะ : ภาชนะดินเผา มีเชิง ตกแต่งด้วยการชุบสีแดง และขัดมันทั้งใบสภาพ : ...ประวัติ : พระครูนันสมณาจารย์ (โผเรียนเป้า) เจ้าคณะใหญ่ อนันนิกาย วัดชัยภูมิการาม มอบให้เมื่อ 17 กรกฎาคม 2518 ได้มาจากบ้านเชียง อำเภอหนองหาน ตำบลบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีสถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีแสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่  http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang/360/model/26/ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang


         วันพืชมงคล หรือ พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ          10 พฤษภาคม 2567          “. . . พอย่างเข้าเดือนหก ฝนก็ตกพรำพรำ กบมันก็ร้องงึมงำ ระงมไปทั่วท้องนา . . .” บทเพลงที่คุ้นหูกันในหมู่ชาวไทยที่ทำการเกษตร ทำให้ทุกคนทราบได้ว่า เป็นสัญญาณแห่งการทำนาของเกษตรกรไทยได้เริ่มขึ้นแล้ว           “วันพืชมงคล” หรือ “พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ” จัดขึ้นเพื่อบำรุงขวัญและกำลังใจในการประกอบอาชีพทำการเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพหลักของประชาชนในท้องถิ่น เป็นพระราชพิธีสำคัญของไทยมาแต่โบราณและยังคงถือปฏิบัติสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน และเพื่อตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของอาชีพทำการเกษตร อันเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของประเทศไทย ทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี จึงได้รวบรวมและเรียบเรียงเรื่องราวเกี่ยวกับ “วันพืชมงคล” หรือ “พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ” ไว้ ณ โอกาสนี้ และหวังไว้อย่างยิ่งว่าเรื่องราวนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกท่าน อีกทั้งเพื่อกระตุ้นให้เกิดความสนใจและการสืบค้นข้อมูลขนบธรรมเนียมประเพณีไทยอื่น ๆ ต่อไป          วันพืชมงคล หรือ พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธี 2 พิธีที่กระทำร่วมกัน คือ “พระราชพิธีพืชมงคล” ซึ่งเป็นพิธีทำขวัญเมล็ดพืชต่าง ๆ เช่น ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่ว งา เผือก มัน เป็นต้น ฯลฯ มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เมล็ดพันธุ์เหล่านั้น ปราศจากโรคภัยและให้อุดมสมบูรณ์เจริญงอกงาม และ “พระราชพิธีแรกนาขวัญ” เป็นพิธีเริ่มต้นการไถนาเพื่อหว่านเมล็ดข้าว มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นอาณัติสัญญาณว่า บัดนี้ฤดูกาลแห่งการทำนาและเพาะปลูกได้เริ่มขึ้นแล้ว           คำว่า “แรกนาขวัญ” ตามความหมายเมื่อแยกออกจากกัน “แรก” หมายถึง ครั้งแรก เริ่มต้น ส่วน “นา” คือ การทำนา เมื่อรวมทั้งสองคำไว้ด้วยกัน ก็คือ “การทำนาในครั้งแรก” เมื่อนำคำว่า “ขวัญ” ที่ให้ความหมายว่า มิ่งขวัญ ดีงาม ประเสริฐ แล้ว ก็จะสื่อความหมายว่าการเริ่มต้นทำนาที่เป็นของดีของงามของประเสริฐ อันเป็นมิ่งขวัญของชาวเกษตรที่พืชพันธุ์ธัญญาหารจะอุดมสมบูรณ์ งอกงาม ปราศจากศัตรูพืช  สำหรับประวัติของพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญของชาวไทยนี้ได้ปฏิบัติมาตั้งแต่โบราณ มีประเด็นความเกี่ยวข้องที่น่าสนใจอยู่มากมาย ทั้งความเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ การเมือง สังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถสรุปประเด็นดังกล่าวได้ดังนี้            สถาบันพระมหากษัตริย์ กับ การเกษตรไทย          เนื่องด้วยเป็นพระราชพิธีที่สะท้อนให้เห็นถึงคติ ความเชื่อ พิธีกรรมเกี่ยวกับการเพาะปลูก ซึ่งเป็นภาพสะท้อนของสังคมการเกษตร กับการมีส่วนร่วมของประชาชน และความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ นำไปสู่การเข้าไปมีบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์กับการพัฒนาการเกษตร โดยรูปแบบพระราชพิธีจะมีการปรับเปลี่ยนไปในแต่ละยุคสมัย          ซึ่งการประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ นอกจากเป็นภาพสะท้อนถึงความเป็นอยู่ในสังคม คติ ความเชื่อ และความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์และราษฎร ภายใต้ภาพสะท้อนที่พระราชพิธีได้แสดงออกมานั้น ได้แฝงนัยสำคัญที่แสดงถึงสภาพการปกครอง สภาพเศรษฐกิจ และสภาพสังคมในยุคสมัยนั้นด้วย             สมัยสุโขทัย          สมัยสุโขทัย สถาบันกษัตริย์ได้เข้ามามีส่วนในขั้นตอนของพระราชพิธี โดยขั้นตอนและพิธีการจะมีพราหมณ์เป็นผู้ดำเนินการ ตามความเชื่อในศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู และความเชื่อเรื่องผี ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมในท้องถิ่นผสมผสานกัน ในหนังสือนพมาศ ได้กล่าวถึงพิธีแรกนาว่า           “ . . . ในเดือนหก พระพิธีไพศาข จรดพระนังคัล พราหมณ์ประชุมกันผูกพรตเชิญเทวรูปเข้าโรงพิธี ณ ท้องทุ่งละหานหลวงหน้าพระตำหนักห้างเขา กำหนดฤกษ์แรกนาว่าใช้วันอาทิตย์ พระเจ้าแผ่นดินทรงเครื่องต้นอย่างเทศ ทรงม้าพระที่นั่งพยุหยาตราเป็นกระบวนเพชรพวง พระอัครชายา และพระบรมวงศานุวงศ์ พระสนม กำนัลเลือกแต่ที่ต้องพระราชหฤทัยขึ้นรถประเทียบตามเสด็จไปในกระบวนหลัง ประทับที่พระตำหนักห้าง จึงโปรดให้ออกญาพลเทพธิบดีแต่งตัวอย่างลูกหลวง มีกระบวนแห่ประดับด้วย กรรชิงบังสูรย์ พราหมณ์เป่าสังข์ โปรยข้าวตอกนำหน้า . . . ในขณะนั้นมีการมหรสพ ระเบง ระบำ โมงครุ่ม หกคะเมนไต่ลวด ลอดบ่วงรำแพน แทงวิสัย ไก่ป่าช้าหงส์รายรอบปริมณฑลทีแรกนาขวัญ แล้วจึงปล่อยพระโคทั้งสามอย่างออกกินเลี้ยงเสี่ยงทายของห้าสิ่ง แล้วโหรพราหมณ์ ทำนายตามตำรับไตรเพท ในขณะนั้นพระอัครชายาดำรัสสั่งพระสนมให้เชิญเครื่องพระสุพรรณภาชน์ธูปยาสขึ้นถวายพระเจ้าอยู่หัว  . . .”          คำกล่าวถึงพระราชพิธีแสดงให้เห็นว่า “พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ” เป็นงานที่ยิ่งใหญ่งานหนึ่งในสมัยก่อนที่สถาบันพระกษัตริย์ สถาบันศาสนา และภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วม นอกจากเป็นงานพระราชพิธีของทางการที่จัดขึ้นเพื่อบำรุงขวัญและกำลังใจในการประกอบอาชีพทำการเกษตร ยังเป็นงานรื่นเริงงานหนึ่งที่ชนชั้นไม่ว่าจะสูงหรือต่ำ ต่างน้อมรับและเข้าร่วม ซึ่งทุกชนชั้นต่างได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน โดยคติความเชื่อ รูปแบบ และขั้นตอนการดำเนินการของพระราชพิธีในแต่ละยุคสมัยจะมีการปรับเปลี่ยนไปบ้าง เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยนั้น ๆ แต่พื้นฐานความสำคัญก็ยังคงเหมือนดังเดิมไม่เปลี่ยนแปลง            สมัยอยุธยา          สมัยอยุธยา ในสมัยอยุธยาพระมหากษัตริย์ไม่ได้เสด็จไปในพิธีด้วยพระองค์เอง ทรงมอบพระราชอำนาจให้กับผู้แทนพระองค์ ดังที่ปรากฏในกฎมณเฑียรบาล ไว้ว่า          “. . . พระเจ้าแผ่นดินไม่ได้เสด็จไปในพิธี โปรดให้เจ้าพระยาจันทกุมาร เป็นผู้แทนพระองค์โดยมอบพระแสงอาญาสิทธิ์ให้ ส่วนพระยาพลเทพคงเป็นตำแหน่งเสนาบดี สำหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงทำเสมือนหนึ่งออกจากจากพระราชอำนาจ ทรงจำศีลเสียสามวัน . . ”           การมอบพระราชอำนาจนี้แสดงถึงการที่พระมหากษัตริย์ทรงให้ความสำคัญกับพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เนื่องจากพระองค์จะไม่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจใด ๆ เป็นเวลา 3 วัน เพื่อทรงปรึกษาหารือข้อราชการต่าง ๆ ในช่วงเวลา 3 วันที่มีการประกอบพระราชพิธีนี้  แม้พระมหากษัตริย์ไม่ได้เสด็จยังพิธีด้วยพระองค์เอง แต่พิธีที่ให้ผู้แทนพระองค์ปฏิบัติแทนยังคงรูปแบบและขนบธรรมเนียมเดิม ตามที่ปรากฏในหนังสือคำให้การของชาวกรุงเก่า กล่าวไว้ว่า          “. . . พระราชพิธีจรดพระนังคัลพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาโปรดให้พระจันทกุมารแรกนาต่างพระองค์ ส่วนพระมเหสีก็จัดนางเทพีต่างพระองค์เหมือนกัน นั่งเสลี่ยงเงิน มีกระบวนแห่เป็นเกียรติยศไปยังโรงพิธี ซึ่งตั้งที่ตำบลวัดผ้าขาว ครั้นถึงเวลามงคลฤกษ์พระจันทกุมารถือคันไถเทียมด้วยโคอุสุภราช ออกญาพลเทพจูงโคโถ 3 รอบ นางเทพีหว่านข้าวเสร็จแล้วจึงปลดโคอุสุภราชให้กินน้ำ ถั่ว งา ข้าวเปลือก ถ้ากินสิ่งใดก็มีคำทำนายต่าง ๆ  . . .”          อีกทั้งเมื่อพิจารณาจากเอกสารต่าง ๆ การที่พระมหากษัตริย์ไม่ได้ลงมือไถนาหรือเข้าร่วมพระราชพิธีได้ด้วยพระองค์เอง แต่โปรดทรงมอบพระราชอำนาจให้กับผู้แทนพระองค์ อาจจะเป็นเพราะอิทธิพลจากแนวคิด “เทวราชา” เนื่องจาก พระองค์มีความศักดิ์สิทธิ์และไม่อาจใกล้ชิดกับสามัญชนได้ อีกทั้ง หากผลจากการพระราชพิธีนี้ เกิดไม่ดี การเกษตรกรรมไม่อุดมสมบูรณ์ เกิดโรคระบาด ก็อาจจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ก็เป็นไปได้            สมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 4          สมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 4 ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 พระราชพิธีจรดพระนังคัลก็ได้จัดขึ้นโดยไม่มีการยกเว้น โดยช่วงแรกคติความเชื่อและแบบแผนการปฏิบัติพระราชพิธียังคงมาจากศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ในพระราชพิธีสมัยรัตนโกสินทร์พระมหากษัตริย์ก็ยังคงไม่สามารถเสด็จไปในพิธีด้วยพระองค์เองได้ และทรงมอบพระราชอำนาจให้กับผู้แทนพระองค์ทำหน้าที่แทน          ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เพิ่มเติม “พระราชพิธีพืชมงคล” เข้ามา อันเป็นพิธีสงฆ์เพื่อความเป็นสิริมงคล มีการเจริญพระพุทธมนต์ก่อนวันประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 1 วัน จึงมีชื่อเรียกรวมกันว่า “พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ” ผู้ทำหน้าที่ แรกนาจะต้องฟังสวดพระพุทธมนต์ในวันประกอบพระราชพิธีพืชมงคลด้วย           หากพิจารณาจากเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับพระราชพิธี จะเห็นว่าประชาชนมีส่วนร่วมในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญมากขึ้น การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาชมมหรสพต่างๆ ซึ่งเป็นการละเล่นของหลวง เช่น ระเบ็ง โมงครุ่ม แทงวิสัย และช้าหงส์ เป็นต้น เมื่อพิจารณาดูแล้วแสดงถึงจุดมุ่งหมายบางประการของราชสำนักที่ต้องการให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในพระราชพิธีนี้ ซึ่งจะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์สำคัญของพระราชพิธีนี้คือ การที่พระมหากษัตริย์ทรงประกอบพระราชพิธีเพื่อบำรุงขวัญและเป็นกำลังใจ ให้เกษตรกรในการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม เพื่อให้มีผลผลิตเพียงพอสำหรับราษฎรทั่วทั้งพระราชอาณาจักร ซึ่งการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากประชาชน            สมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 5 - รัชกาลที่ 10          สมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 5 - รัชกาลที่ 10 ยังคงรับคติความเชื่อ และแบบแผนปฏิบัติการพระราชพิธีมาจากศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู และศาสนาพุทธ โดยมีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประธานในพระราชพิธี นอกจากนี้ พระมหากษัตริย์ได้นำองค์ความรู้และวิทยาการสมัยใหม่เข้ามาสนับสนุนในการทำเกษตรกรรม และนำองค์ความรู้สมัยใหม่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในพระราชพิธี อันแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายมากขึ้น หากแต่สามารถผสมผสาน ได้อย่างลงตัว ทำให้พระราชพิธียังคงดำรงอยู่ได้          ยกตัวอย่าง พระมหากษัตริย์ทรงนำองค์ความรู้เกี่ยวกับการเพาะปลูกแบบใหม่เข้ามาใช้ ในการเกษตรกรรมด้วยการทำให้ราษฎรอยู่ดีกินดี เป็นพระราชกรณียกิจที่พระมหากษัตริย์ทรงให้ความสำคัญอย่างมาก ดังเช่นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพัฒนาการเกษตรในด้านต่าง ๆ ควบคู่กับการประกอบ พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ได้แก่ การชลประทาน การส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะการทำนาข้าว เป็นต้น           “พระราชพิธีมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ” เริ่มเรียกกันในรัชกาลที่ 7 โดยเป็นการรวมกันของพระราชพิธีที่กระทำร่วมกัน คือ พระราชพิธีพืชมงคล และพระราชพิธีแรกนาขวัญ โดยชื่อเรียกพระราชพิธีนี้มีการปรับเปลี่ยนอยู่บ้าง อย่างในปีพุทธศักราช 2480 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ปฏิบัติพระราชพิธีเฉพาะพิธีสงฆ์ ได้มีการยกเลิกส่วนที่เป็นพิธีพราหมณ์ คือการจรดพระนังคัล เปลี่ยนไปให้กระทรวงเกษตราธิการแสดงการไถนาให้ประชาชนชม จึงได้กำหนดเรียกแทนว่า "พระราชพิธีพืชมงคล" เท่านั้น ต่อมาในปีพุทธศักราช 2484 ก็ได้ปรับเปลี่ยนเป็น “รัฐพิธีพืชมงคล” ซึ่งไม่ว่าชื่อเรียกพระราชพิธีนี้จะเรียกว่าอย่างไร เป้าหมายก็ยังคงเป็นเช่นเดิม          โดยสรุป “พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ” ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคกี่สมัย เป้าหมายและการให้ความสำคัญกับเหล่า “เกษตรกร” ผู้เป็นดั่งกระดูกสันหลังของชนชาวไทยก็ยังคงเป็นเช่นเดิม และเพื่อให้พระราชพิธีนี้ยังคงเป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์อันดีระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชน ดังสมัยโบราณที่เชื่อกันว่า           “แว่นแคว้นใดที่องค์พระประมุขจัดพระราชพิธีแรกนาขึ้นได้นั้น หมายความว่าทรงบริหารบ้านเมืองประสบผลสำเร็จ บ้านเมืองสงบสุข ร่มเย็น มั่นคง เป็นปึกแผ่น และมีความอุดมสมบูรณ์ทั้งทรัพยากรและพืชพันธุ์ธัญญาหาร”      เอกสารสำหรับการค้นคว้า       1. กรมศิลปากร,  (2565),  พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ: การเปลี่ยนผ่านจากอดีตสู่ปัจจุบัน,  กรุงเทพมหานคร : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.       2. สุนันท์ อยู่คงดี.  (2553).  “พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ”. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี.  ปีที่ 2553 (มิถุนายน – พฤศจิกายน 2553)       3. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, “พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ”, [ออนไลน์], แหล่งที่มา : https://www.moac.go.th/royal_ploughing-kingagri .


วันที่ 17 ตุลาคม 2566 นางภควรรณ คุณากรวงส์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ และนางสาวณัฐพร เพ็ชรกลับ บรรณารักษ์ชำนาญการ เข้าร่วมพิธีบวงสรวง ณ ด้านหน้าพระวิหารหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์วรวิการ และประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ณ ศาลาสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วัดป่าเลไลยก์วรกวิหาร


ชื่อเรื่อง                     ภิกฺขุปาติโมกฺข (ปาติโมกข์)สพ.บ.                       455/1หมวดหมู่                   พุทธศาสนาหัวเรื่อง                     พุทธศาสนา—พระปาติโมกข์ประเภทวัสดุ/มีเดีย       คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ               90 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 35.5 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก        เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ พระอัฏฐารส วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่รูปแบบ :  ศิลปะล้านนา ปลายพุทธศตวรรษที่ 20วัสดุ :  สำริด, ไม้ ปิดทอง ประวัติ :   สร้างโดยพระนางติโลกจุฑาราชเทวี ซึ่งเป็นพระมเหสีของพระเจ้าแสนเมืองมา พระราชมารดาของพระเจ้าสามฝั่งแกน ในปีพุทธศักราช 1955สถานที่ :  ประดิษฐานภายในวิหารหลวงวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเขียงใหม่ ลักษณะ :  พระพุทธรูปปางประทานอภัย ประทับยืน พระพักตร์กลม พระเนตรเหลือบต่ำ พระโอษฐ์แย้ม พระหนุเป็นปม ขมวดพระเกศาใหญ่ พระรัศมีเป็นเปลว พระวรกายค่อนข้างอวบอ้วน ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิยาวลงมาจรดพระนาภี มีสายรัดประคดและจีบหน้านาง  --------------------------------------------------------คำว่า อัฏฐารส ตามรากศัพท์ภาษาบาลี มาจากคำว่า อัฏฐ หมายถึง 8 และ ทศ หมายถึง 10 เมื่อนำมารวมกันจึงกลายเป็นจำนวน 18 .ความหมายของชื่อ พระอัฏฐารส มีการตีความไว้เป็น 2 แนวคิด คือ แปลว่า พระสูง 18 ศอก และ พระผู้เปี่ยมไปด้วยพุทธคุณ 18 ประการ โดยแนวคิดแรกมาจากคัมภีร์อรรถกถาพุทธวงศ์ ที่กล่าวถึงความสูงของพระพุทธเจ้า ส่วนแนวคิดที่สองมาจากการตีความหมายลักษณะดังกล่าวที่เป็นนามธรรมให้ออกมาเป็นรูปธรรมผ่านงานประติมากรรม .พระอัฏฐารสองค์นี้ สร้างติดกับผนังของวิหารให้เป็นพระประธานในวิหารหลวง โดยส่วนขององค์พระหล่อด้วยสำริด แต่ส่วนพระหัตถ์ที่ยื่นออกมาแสดงปางประทานอภัยทำจากไม้ มีพระสาวกยืนขนาบอยู่ทั้งสองข้าง คือ พระโมคคัลลานะและพระสารีบุตร .จากลักษณะรูปแบบแสดงให้เห็นถึงงานศิลปกรรมในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของพระพุทธรูปที่ได้รับอิทธิพลสุโขทัยช่วงสุดท้ายก่อนที่จะเข้าสู่ยุคทองของล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 โดยมีการผสมผสานรูปแบบระหว่าง พระพุทธรูปแบบสิงห์หนึ่ง กับ อิทธิพลสุโขทัย ซึ่งเห็นได้จากลักษณะ พระพักตร์กลม พระหนุเป็นปม พระวรกายอวบอ้วน แบบเชียงแสนสิงห์หนึ่ง แต่ว่ามีการทำพระรัศมีเป็นเปลว ชายสังฆาฏิยาวลงมาจรดพระนาภี มีสายรัดประคดและจีบหน้านาง ซึ่งได้รับอิทธิพลสุโขทัย นอกจากนี้การสร้างพระพุทธรูปประทับยืนขนาดใหญ่ก็เป็นที่นิยมสร้างในสมัยสุโขทัยด้วย --------------------------------------------------------อ้างอิง- บุณยกร วชิระเธียรชัย. “อฏฺฐารส คติความเชื่อ และการสร้างสรรค์งานพุทธปฏิมา”. วารสารหน้าจั่ว : ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย. ฉบับที่ 8 (กันยายน 2554 – สิงหาคม 2555). หน้า 56-64.- ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. กรุงเทพฯ : มติชน,  2556. หน้า 216-217.


           หอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญชมภาพยนตร์เพื่อการอนุรักษ์ “หนังดี14นาฬิกา” ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากหอภาพยนตร์ (องค์กรมหาชน) ทุกวันพุธสัปดาห์ที่ 2 และ 4 ของเดือน เวลา 14.00 น. ณ ห้อง NLT mini theatre อาคาร 1 ชั้น 1 (จำกัดที่นั่ง 20 ท่าน) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2281 3634            ในวันพุธที่ 14 สิงหาคม 2567 จัดฉายภาพยนตร์ เรื่อง แพรดำ (พ.ศ. 2504) ความยาว 118 นาที แพรดำ เป็นภาพยนตร์หนังอาชญากรรมที่ รัตน์ เปสตันยี ต้องการสร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ภาพยนตร์ไทยให้เป็นที่รู้จักในต่างประเทศ โดยได้ส่งเข้าร่วมประกวดในงานเทศกาลภาพยนตร์ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี แม้ว่าจะไม่ได้รับรางวัลใด ๆ กลับมา แต่ก็ได้รับการตอบรับที่ดีจากสื่อมวลชนที่ไปร่วมงาน  เนื้อเรื่อง, บทภาพยนตร์, ลำดับภาพ, ผู้อำนวยการสร้าง, ผู้กำกับ: รัตน์ เปสตันยี บริษัทสร้าง: หนุมานภาพยนตร์ ออกแบบฉาก: สวัสดิ์ แก่สำราญ บันทึกเสียง: ปง อัศวินิกุล ผู้กำกับภาพ: รัตน์ เปสตันยี และเอเดิ้ล เปสตันยี นักแสดง: รัตนาวดี รัตนาพันธ์, ทม วิศวชาติ, เสณี อุษณีษาณฑ์ และศรินทิพย์ ศิริวรรณ อนุรักษ์ภาพยนตร์โดย: หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)    




ชื่อเรื่อง                    97 ปีแห่งความทรงจำ มนัส โอภากุล 2457-2554ผู้แต่ง                       -ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือท้องถิ่นหมวดหมู่                   ชีวประวัติ เลขหมู่                      928.95911สถานที่พิมพ์               ม.ป.ท.สำนักพิมพ์                 ม.ป.พ.ปีที่พิมพ์                    2554ลักษณะวัสดุ               240 หน้า หัวเรื่อง                     ชีวประวัติ -- มนัส โอภากุลภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายมนัส โอภากุล  ณ ฌาปนสถาน วัดพระรูป อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554  






สมาคมอิโคโมสไทย ขอเชิญร่วมการเสวนาทางวิชาการ หัวข้อ "(หยุด) รื้อ โบราณสถาน ศาลฎีกา (....)" โดยวิทยากร ประกอบด้วย นายสหวัฒน์ แน่นหนา อธิบดีกรมศิลปากร นายบวรเวท รุ่งรุจี ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม นางภารนี สวัสดิรักษ์ สมาคมนักผังเมืองไทย นางปองขวัญ สุขวัฒนา ลาซูส สมาคมสถาปนิกสยามฯ นางสาวมาลีภรณ์ คุ้มเกษม หัวหน้ากลุ่มนิติการ กรมศิลปากร ผศ.ดร.พีรศรี โพวาทอง คณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันเสาร์ที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๓๐ น. ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร   ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมฟังได้ ติดต่อสำรองที่นั่งได้ที่ ฝ่ายเลขานุการ สมาคมอิโคโสไทย โทร. ๐ ๒๒๘๐ ๑๗๗๐


ขั้นตอนและวิธีการขออนุญาตนำโบราณวัตถุเข้ามาในราชอาณาจักร   โบราณวัตถุที่จะขออนุญาตนำเข้ามาในราชอาณาจักร มีหลักเกณฑ์ ดังนี้   ๑. ประเภทของโบราณวัตถุ   โบราณวัตถุที่ต้องขออนุญาตในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ได้แก่ โบราณวัตถุที่มีแหล่งกำเนิดในต่างประเทศ ประเภทพระพุทธรูป เทวรูป หรือรูปเคารพในศาสนา และชิ้นส่วนหรือองค์ประกอบของโบราณสถานตามพิกัดอัตราอากรขาเข้า ประเภทที่ ๙๗๐๓.๐๐๙ แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ   ๑. พระพุทธรูป   ๒. เทวรูปหรือรูปเคารพในศาสนา   ๓. ชิ้นส่วนหรือองค์ประกอบของโบราณสถาน   ๒. วัตถุประสงค์ในการขอนำเข้ามาในราชอาณาจักร   ๑. นำมาจัดแสดงเพื่อการศึกษาและเผยแพร่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว โดยมีกำหนดระยะเวลาในการจัดแสดง และส่งกลับไว้แน่นอน   ๒. เพื่อการสักการบูชา ในปริมาณไม่เกิน ๒ ชิ้น   ๓. เพื่อบริจาคให้แก่ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ   ๓. ระยะเวลาที่ขอนำเข้ามาในราชอาณาจักร   กรมศิลปากรจะได้พิจารณาอนุญาตเป็นกรณี ๆ ไป   ๔. ผู้ขออนุญาตนำโบราณวัตถุเข้ามาในราชอาณาจักรจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้   (๑) ผู้ขออนุญาตจะต้องไปซื้อแบบฟอร์มในการขออนุญาตนำเข้า (แบบ ข.๑ ข.๒ หรือ ข.๓ แล้วแต่กรณี) ที่กระทรวงพาณิชย์ สนามบินน้ำ จังหวัดนนทบุรี พร้อมกรอกรายละเอียดต่าง ๆ ตามแบบฟอร์ม   (๒) ผู้ขออนุญาตทำหนังสือถึงอธิบดีกรมศิลปากร โดยแจ้ง เรื่อง ขออนุญาตนำพระพุทธรูป หรือ เทวรูปหรือรูปเคารพในศาสนา หรือชิ้นส่วนหรือองค์ประกอบของโบราณสถาน หรือทั้งหมด เข้ามาในราชอาณาจักร โดยแจ้งรายละเอียด จำนวน ชนิด ขนาด (กว้าง, ยาว, สูง เป็นเซนติเมตร) ของโบราณวัตถุ และระบุสถานที่เก็บโบราณวัตถุที่นำเข้าพร้อมหมายเลข   โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้   (๓) เอกสารแนบการขออนุญาตนำเข้าประกอบด้วย   ๑. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน   ๒. สำเนาทะเบียนบ้าน   ๓. หลักฐานการซื้อขาย   ๔. ใบขนส่งสินค้า หรือ Invoice   ๕. ถ้าเป็นโบราณวัตถุจะต้องขอใบอนุญาตนำของออกจากประเทศนั้นๆ ด้วย   (๔) ภาพถ่ายโบราณวัตถุที่ขออนุญาตนำเข้าเฉพาะด้านหน้า โดยถ่ายภาพ ๑ ครั้ง อัดพร้อมกันจำนวน ๒ ใบ ขนาด ๓ x ๕ นิ้ว   (๕) ผู้ขออนุญาตจะต้องทำหนังสือขออนุญาตด่านศุลกากรเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร เข้าตรวจพิสูจน์โบราณวัตถุในคลังตามระเบียบกรมศุลกากร   (๖) ผู้นำเข้าจะต้องจัดพาหนะ รับ – ส่ง พนักงานเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ไปตรวจพิสูจน์โบราณวัตถุนั้น ๆ   ๕. สถานที่ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม   • สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เลขที่ ๘๑/๑ ถนนศรีอยุธยา แขวงวชิระ เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทรศัพท์ , โทรสาร ๐ ๒๖๒๘ ๕๐๓๓, ๐ ๒๒๘๑ ๖๗๖๖   • สำนักงานเลขานุการกรม กลุ่มนิติการ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๒ ๔๕๖๖, ๐ ๒๒๒๕ ๘๙๕๘ โทรสาร ๐ ๒๒๒๖ ๑๗๕๑      


Messenger