ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.70/ก/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  46 หน้า ; 5 x 57.5 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 45 (29-34) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฎฐกถา (ชนก-สุวณฺณสาม) --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


          ใบเสมาที่อยู่รอบล้อมอุโบสถ เป็นหลักที่สมมติขึ้นมาให้เห็นขอบเขตพื้นที่การทำสังฆกรรมของหมู่คณะสงฆ์ ซึ่งการกำหนดหลักเขตโดยใบเสมานี้ได้กำหนดไว้ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาอย่างเป็นทางการ การสร้างเสมาของแต่ละวัดไม่เพียงสร้างเพื่อกำหนดหลักเขตเท่านั้น แต่รูปแบบศิลปกรรมของเสมายังสะท้อนให้เห็นอายุสมัยทางศิลปะ โดยมีกรณีศึกษาที่น่าสนใจจากใบเสมาวัดอภัยทายาราม วัดอภัยทายาราม (วัดมะกอก) (ภาพที่ ๑) สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ทราบประวัติ แต่เมื่อพ.ศ. ๒๓๔๐ มีการปฏิสังขรณ์วัดครั้งใหญ่ โดยเริ่มพระราชพิธีวางศิลาฤกษ์อุโบสถวันพฤหัสบดี เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๔๐ โดยปรากฏหลักฐานการปฏิสังขรณ์อุโบสถ คือ เพลงยาวเจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิต ปฏิสังขรณ์วัดอภัยทาราม ที่จารึกด้วยอักษรธนบุรี - รัตนโกสินทร์ (พ.ศ.๒๓๔๑ - ๒๓๔๙) (ภาพที่ ๒) ของเจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิตซึ่งทรงปฏิสังขรณ์วัดอภัยทาราม           การปฏิสังขรณ์วัดในสมัยดังกล่าว น่าจะเกิดขึ้นพร้อมกับใบเสมาของวัดที่มีสองหน้า ปักเดี่ยว ลักษณะคล้ายเสมาพื้นบ้านทั่วไปมากกว่าจะเป็นเสมาของวัดที่พระบรมวงศานุวงศ์ทรงสร้างหรือปฏิสังขรณ์ (ภาพที่ ๓) เพราะวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสร้าง หรือ แม้กระทั่งที่เหล่าพระบรมวงศานุวงศ์ทรงร่วมสร้าง จะเป็นใบเสมาคู่หน้าเดียว โคนแผ่นขนาบด้วยนาคเบือน และหากสังเกตใบเสมาของวัดอภัยทายารามทุกแผ่นแล้วจะพบอีกว่า ใบเสมาแผ่นที่ตั้งอยู่ขนาบข้างอุโบสถวัด มีลักษณะที่ต่างไปจากเสมาแผ่นอื่น ๆ แม้ว่าเมื่อดูแบบผิวเผินใบเสมาทั้งสองแผ่นนี้จะมีลักษณะคล้ายกับเสมาแผ่นอื่น ๆ แต่แท้จริงแล้วมีลักษณะต่างออกไป โดยพิทยา บุนนาค ได้พิจารณาและจัดประเภทของใบเสมาทั้ง ๒ แผ่นนี้ไว้ว่า เสมาทั้ง ๒ แผ่นมีลักษณะเป็นสายโค้งกิ่ว (ถือเป็นเสมาที่กษัตริย์สร้าง) ซ้อนอยู่กับเสมาสายอยุธยา (เสมาระดับสามัญชนของสังคมลุ่มเจ้าพระยา) สายโค้งกิ่วที่ทับซ้อนเป็นสัญลักษณ์ที่พิทยา (ภาพที่ ๔) ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ผู้ปฏิสังขรณ์วัดทรงต้องการสื่อให้เห็นว่าฐานะของพระองค์เทียบเท่ากับกรมพระราชวังบวร หรือ วังหน้า เพราะก่อนหน้าทรงเป็นถึงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ พระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และในขณะที่ปฏิสังขรณ์วัดทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ กรมขุนกษัตรานุชิต พระเจ้าหลานเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช การสื่อนัยยะเช่นนี้ยังสอดคล้องกับรัดเกล้าเกี้ยวสองชั้นบนใบเสมา เยี่ยงวังหน้าด้วย และลักษณะการแสดงฐานะของพระองค์กับรัชทายาทสืบราชบัลลังก์ ยังสะท้อนได้จากส่วนหนึ่งของข้อความบนจารึกการปฏิสังขรณ์วัดความว่า “ขอเป็นพระชนะมารได้บัลลังก์” หมายถึงขอให้ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งตามคติไทยถือว่าผู้ที่อยู่ในสถานะดังกล่าวมีแต่พระเจ้าแผ่นดินเท่านั้นด้วยภาพที่ ๑ อุโบสถวัดอภัยทายาราม ภาพที่ ๒ เพลงยาวเจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิต ปฏิสังขรณ์วัดอภัยทาราม จารึกบนแผ่นไม้ ตั้งอยู่ในอุโบสถวัดอภัยทายาราม ภาพที่ ๓ เสมาวัดอภัยทายาราม ภาพที่ ๔ หนึ่งในสอง ใบเสมาวัดอภัยทายาราม ที่ถูกจัดประเภทให้เป็นแบบโค้งกิ่วซ้อนกับเสมาสายอยุธยา---------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : สุวิมล เงินชัยโรจน์ นักวิชาการวัฒนธรรม กลุ่มวิจัยและพัฒนางานโบราณคดี กองโบราณคดี กรมศิลปากร---------------------------------------------------บรรณานุกรมบุญเตือน ศรีวรพจน์ ศิลปวัฒนธรรม. “เพลงยาว “อนุสรณ์สถาน” เจ้าฟ้าเหม็น” . [ออนไลน์]. เว็บไซต์ : https://www.silpa-mag.com/history/article_8223 .(สืบค้นข้อมูล: ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๓) พิทยา บุนนาค. เสมา สีมา เล่ม ๒ ใบสีมาสมัยกรุงเทพ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ เอ็ม แอนด์ เอ็ม เลเซอร์พ ริ้นต์, ๒๕๖๐. กรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๒. กรุงเทพฯ: การศาสนา, ๒๕๒๕.


เลขทะเบียน : นพ.บ.131/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  48 หน้า ; 5.5 x 56 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 77 (302-308) ผูก 2 (2564)หัวเรื่อง : พิมฺพาเถรีวตฺถุ (พิมฺพาเถรี)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.6/1-3 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เมืองพัทลุงที่เขาชัยบุรี        เมืองพัทลุงได้ย้ายมาตั้งที่เขาชัยบุรีหรือเขาเมืองตั้งแต่พ.ศ. ๒๑๗๒ - พ.ศ.๒๓๑๐  ตัวเมืองตั้งอยู่ในที่ราบด้านทิศเหนือของเขาชัยบุรีและมีการสร้างกำแพงเป็นระเนียดไม้ปิดช่องเขาด้านตะวันตกระหว่างเขาเมืองกับเขาบ่อฬา แล้วทำกำแพงด้านทิศเหนือต่อจากเขาบ่อฬามาจนถึงเขาเจดีย์ จากนั้นทำกำแพงด้านทิศตะวันออกจากเขาเจดีย์ไปถึงเขาพลู และทำกำแพงปิดช่องเขาระหว่างเขาพลูกับเขาเมือง โดยใช้เขาเมืองซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นกำแพงเมืองด้านทิศใต้ รวมระยะเวลาที่เมืองพัทลุงตั้งอยู่ ณ ที่แห่งนี้เป็นเวลา ๑๓๘ ปี มีเจ้าเมืองปกครองตามที่ปรากฏในพงศาวดารเมืองพัทลุงทั้งสิ้น ๙ ท่าน  การดำเนินงานทางโบราณคดี       สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ โดยได้ดำเนินการขุดค้นต่อจากการขุดค้นของสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราชที่ได้ดำเนินการไว้ในปีงบประมาณ ๒๕๕๙ โดยได้กำหนดหลุมขุดค้นขนาด ๔ x ๔ เมตร ทั้งนี้ได้ดำเนินการขุดค้นเป็นจำนวน ๙๑ กริดคิดเป็นพื้นที่ ๑,๔๕๖ ตารางเมตร  ป้อมรูปดาว (Star Fort) คืออะไร?        ป้อมรูปดาว (Star Fort) เป็นระบบป้อมปราการที่ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในคาบสมุทรอิตาลี ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อต่อสู้กับปืนใหญ่แบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพร้ายแรงขึ้น  จนส่งผลให้ป้อมแบบเดิมไม่อาจต้านทานพลังการทำลายได้ โดยป้อมลักษณะนี้ได้รับความนิยมไปทั่วยุโรปเป็นระยะเวลาประมาณ ๓๐๐ ปี  ทั้งนี้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๓ เซบาสเตียง เลอ เพรส์เทรอ เดอ โวบอง และเม็นโน ฟาน โคฮูร์น สถาปนิกทางสถาปัตยกรรมทหารในราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส ได้พัฒนารูปแบบของป้อมรูปดาว จนกลายเป็นระบบป้องกันอันซับซ้อน ป้อมรูปดาว (Star Fort) ที่เขาชัยบุรี        ป้อมรูปดาวที่ขุดพบนี้เป็นป้อมประจำมุมเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเป็นแนวกำแพงป้อมที่มีการหักมุมกำแพงเป็นดาว ๕ แฉก โดยมีจุดเริ่มของแนวกำแพงป้อมบริเวณด้านตะวันตกค่อนไปทางทิศเหนือก่อแนวต่อเนื่องไปจนถึงมุมภูเขาด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ โดยแนวกำแพงป้อมมีความยาวรวมกัน ๑๒๖.๗๒ เมตร และมีความกว้างเฉลี่ยอยู่ที่ ๑๔๐-๑๕๐ เซนติเมตร         การวางฐานรากของป้อมรูปดาวที่ขุดพบนั้น เป็นการวางฐานรากบนพื้นธรรมชาติ โดยในส่วนของพื้นที่ปกติจะพบการวางอิฐชั้นแรกอยู่บนผิวดินในระดับที่เป็นพื้นปูนมาร์ล ในขณะที่ในอีกหลายบริเวณซึ่งพบหินขนาดใหญ่ตั้งอยู่ ฐานรากในส่วนดังกล่าวจะวางบนหินเหล่านั้น โดยบางส่วนวางคร่อมหินทั้งหมดโดยใช้ปูนสอประสาน ในขณะที่บางส่วนมีการตัดแต่งยอดหินก่อนที่จะวางอิฐคร่อมหินในส่วนที่เหลือ        ตัวกำแพงป้อมนั้น วัดระดับสูงจากพื้นดินได้ ๕.๖๘ เมตร ลักษณะของกำแพงก่อด้วยอิฐสอปูน กำแพงตันไปตลอดแนวไม่มีการสอดไส้กำแพง โดยอิฐก่อกำแพงมีขนาดกว้าง ๑๓ เซนติเมตร ยาว ๒๖ เซนติเมตร หนา ๕ เซนติเมตร อย่างไรก็ตามพบว่าตัวกำแพงไม่ได้ตั้งตรง หรือตั้งฉากกับพื้นดิน แต่กลับเอียงเข้าด้านในเล็กน้อย ซึ่งลักษณะนี้ก็พบที่กำแพงเมืองนครศรีธรรมราชและแบบแปลนป้อมเมืองบางกอกและเมืองมะริดซึ่ง เดอ ลามาร์เป็นผู้ออกแบบเช่นเดียวกัน        ส่วนบนของป้อมก่อเป็นใบบังและจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับใบบังของป้อมกำแพงเมืองนครศรีธรรมราชที่ออกแบบโดยวิศวกรคนเดียวกันแล้วสามารถกำหนดความสูงของใบบัง ๑๔๘ เซนติเมตร และความยาวของใบบังเท่ากับ ๓.๒๐ เมตร  ส่วนแนวช่องประตูหรือบันไดสำหรับขึ้นป้อมนั้น พบแนวอิฐที่แสดงลักษณะของช่องบันไดในพื้นที่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของภูเขา ใครคือวิศวกรผู้ออกแบบ?        ผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างป้อมแห่งนี้คือวิศวกรชาวฝรั่งเศส       ชื่อมองสิเออร์ เดอ ลามาร์  ซึ่งเดินทางมาพร้อมกับคณะราชทูตฝรั่งเศสเชอวาเลีย เดอ โชมองต์ ในพ.ศ.๒๒๒๘ ซึ่งในครั้งนั้นสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ขอตัววิศวกรคนนี้เพื่อดำเนินการปรับปรุงป้อมและกำแพงเมืองสำคัญคือ อยุธยา ลพบุรี บางกอก มะริด นครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุง        ลาร์มา ออกเดินทางจากเมืองบางกอกเพื่อไปยังเมืองพัทลุง เมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๒๒๙ จากและปรากฏหลักฐานว่าแผนผังเมืองพัทลุงที่เขียนโดยลามาร์ แล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ.๑๖๘๗ (พ.ศ.๒๒๓๐) ได้ปรากฏข้อความภาษาฝรั่งเศส ในคำบรรยายท้ายแผนผังกำแพงเมืองพัทลุงความว่า         "...ภูเขาทุกแนวสูงชันปีนขึ้นไปไม่ได้ ด้านนอกมีโขดหินแข็งแรง เมืองนี้มีพลเมืองพอประมาณ เส้นประเป็นเครื่องหมายของกำแพงเดิมที่เป็นไม้ ส่วนเส้นทึบเป็นเครื่องหมายที่จะสร้างขึ้นมาใหม่ เป็นกำแพงอิฐไว้ป้องกันเมือง ผังนี้เขียนขึ้นตามคำสั่งของกษัตริย์สยาม ค.ศ.๑๖๘๗..." วิไชยเยนทร์ตะวันออกคือป้อมต้นแบบ?        จากแผนผังที่ลาร์มาออกแบบไว้ พบว่าเดิมได้กำหนดให้ป้อมแห่งนี้มีลักษณะเป็นป้อมหัวลูกศร ดังเช่นป้อมที่ลาร์มาสร้างไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช แต่การขุดค้นทางโบราณคดีกลับแสดงให้เห็นว่ามีการแก้ไขแผนผังของป้อมแห่งนี้ให้กลายเป็นป้อมรูปดาวห้าแฉก   และเมื่อนำแผนผังของป้อมวิไชยเยนทร์ตะวันออก(ป้อมเมืองบางกอก)  มาซ้อนทับกันก็จะพบว่าป้อมที่เขาชัยบุรีนี้เกือบจะซ้อนทับกับเส้นโครงร่างของป้อมวิไชยเยนทร์ตะวันออกได้เลยทีเดียว นอกจากนี้ยังตรวจสอบพบว่าป้อมทั้งสองแห่งนี้ใช้อิฐขนาดเดียวกันคือ ขนาดกว้าง ๑๓ เซนติเมตร ยาว ๒๖ เซนติเมตร หนา ๕ เซนติเมตร ในการก่อสร้างป้อมด้วย ปืนใหญ่ประจำเมือง        ปรากฏหลักฐานว่าเมืองแห่งนี้มีการติดตั้งปืนใหญ่เหล็กของฮอลันดา (Finbanker of Dutch Pattern)  ซึ่งโรงหล่อปืนที่ Finspang เมือง Ostergotland ประเทศสวีเดน ส่งมาจำหน่ายให้บริษัท V.O.C. และมักพบจารึกรูปตัว F ที่เพลาปืนด้านซ้ายและขวาเป็นสัญลักษณ์ของโรงงาน       ในปัจจุบันยังคงปรากฏปืนใหญ่ประจำเมืองชัยบุรีให้เห็นอยู่ ๒ กระบอก     ตั้งอยูที่หน้าเสาธงโรงเรียนพัทลุง ปืนใหญ่ทั้งสองกระบอกนี้ได้ผ่านการยิงทดสอบ(proof firing) แล้ว โดยได้รับการจารึกสัญลักษณ์รูปประภาคารหรือ     ที่เรียกว่า Amsterdam light house เพื่อเป็นการรับรองไว้บนกระบอกปืน นอกจากนี้ยังมีการจารึกน้ำหนักของปืนไว้ที่ท้ายกระบอกปืนด้วย โดยปืกระบอกหนึ่งหนัก 2322 Amsterdam Pound  และอีกกระบอกหนึ่งหนัก 2306 Amsterdam Pound เทียบเป็นน้ำหนักปัจจุบันราว ๒ ตันเศษ การบูรณะป้อมรูปดาว (Star Fort) ที่เขาชัยบุรี        กรมศิลปากรได้อนุมัติงบประมาณสำหรับบูรณะป้อมแห่งนี้ในปีงบประมาณ ๒๕๖๑ และ ๒๕๖๒   โดยสามารถดำเนินการบูรณะป้อมได้ถึงแฉกดาวที่ ๔ และยังคงเหลืองานบูรณะป้อมในส่วนของแฉกดาวที่ ๕ กำแพงเมืองด้านทิศเหนือที่ติดกับป้อม และงานปรับปรุงภูมิทัศน์ ซึ่งจะได้ดำเนินการต่อไปในอนาคต เรียบเรียงเนื้อหาวิชาการ โดย สารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการสำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา ลิงค์สำหรับฟังการบรรยาย "การขุดค้นทางโบราณคดีกำแพงเมืองพัทลุงที่เขาชัยบุรี ตำบลชัยบุรี อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง" โดย นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา : https://bit.ly/3bUkSBR



พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์.  ชุมนุมพระนิพนธ์.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2522.         รวบรวมพระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ โดยแยกเป็นบันทึกส่วนพระองค์ กวีนิพนธ์ คำขวัญ คำนำและคำนิยม คำไว้อาลัย คำกราบบังคมทูล พระราชดำรัสและสุนทรพจน์ สื่อสารมวลชน การเมือง การปกครอง การต่างประเทศและสหประชาชาติ ปรัชญา หลักภาษา และวรรณคดี ซึ่งเป็นประมวลเฉพาะพระนิพนธ์ที่เป็นภาษาไทย


องค์ความรู้ทางโบราณคดี เรื่อง : เมืองโบราณในแอ่งที่ราบเชียงราย โดย : สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่            แอ่งที่ราบเชียงรายเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวโยนหรือชาวยวน​​ และเป็นถิ่นกำเนิดของพญามังราย​ ปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรล้านนา​ ซึ่งในบริเวณนี้มีการตั้งถิ่นฐานมาก่อนพุทธศตวรรษที่​ 19​ แล้ว            ในตำนานพื้นเมืองต่าง ๆ ของล้านนากล่าวถึงการตั้งถิ่นฐานของผู้คนในแอ่งที่ราบแห่งนี้​ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่​ 12​ รวมทั้งในตำนานท้าวฮุ่ง - ท้าวเจือง​ ก็ทำให้เห็นภาพของกลุ่มบ้านเมืองบริเวณนี้ในช่วงพุทธศตวรรษที่​ 17            จากการศึกษาภาพถ่ายดาวเทียมของ​ อาจารย์ทิวา​ ศุภจรรยา​ และจากการสำรวจทางโบราณคดีของกรมศิลปากร​ พบเมืองโบราณในแอ่งแอ่งเชียงรายมากกว่า​ 120​ เมือง​ และบริเวณที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นเมืองโบราณอีกประมาณ​ 40​ แห่ง             เมืองเหล่านี้กระจายตัวอยู่ตามแนวขอบของแอ่งที่ราบ​ หรือบริเวณที่เป็นเชิงเขา​ แต่ไม่ห่างจากแม่น้ำสายหลักมากนัก​ โดยพื้นที่เหล่านี้จะไม่ได้รับผลกระทบในฤดูน้ำหลาก​ และยังสะดวกต่อการติดต่อคมนาคมและการค้ากับเมืองอื่น ๆ             เมืองใหญ่/เมืองสำคัญแต่ละแห่ง​ มักมีระยะห่างจากเมืองใหญ่อีกแห่งที่ใกล้ที่สุด​ ค่อนข้างเป็นระยะแน่นอน​ คือ​ 30​ หรือ​ 60​ กิโลเมตร​ โดยมีชุมชนเล็กๆ​ (ที่เรียกในตำนานต่าง ๆ ว่า​ บ้าน)​ กระจายตัวอยู่ตามเส้นทางสัญจร              ดังนั้น​ จึงกล่าวได้ว่าบ้านเมืองในแอ่งที่ราบเชียงรายนี้​ มีพัฒนาการ​ ความเจริญ​ ความมั่งคั่ง ในระดับที่ทำให้พญามังรายสามารถรวบรวมกำลังคน ข้ามไปยังแอ่งที่ราบเชียงใหม่เพื่อขยายบ้านเมือง​ และก่อร่างสร้างอาณาจักรล้านนาขึ้นมาได้              ซึ่งในปัจจุบัน​ เมืองโบราณเหล่านี้ยังไม่ได้รับการศึกษาทางโบราณคดีอย่างเป็นระบบ​ ซึ่งจะทำให้ทราบถึงความสำคัญและอายุสมัย​ อันจะสนับสนุนเรื่องราวในตำนานต่าง ๆ ได้ ** ที่มาของชื่อชาวโยน หรือชาวโยนก ติดตามได้จากลิงค์นี้ https://www.facebook.com/1440813319503278/posts/2980207115563883/?d=n - เรียบเรียงโดย - นางสาวนงไฉน  ทะรักษา นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่


อารยธรรมวิวัฒน์ ลพบุรี – ศรีรามเทพนครEvolving Civilization : From Lopburi to Ayutthaya Periods------------------------------------------------------------------------------------------------------ ระยะเวลา  : ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน จนถึง 30 มิถุนายน 2564 (ขยายเวลาจัดแสดงถึง 30 กันยายน 2564)สถานที่     : พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)                 เวลา 09.00 – 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ – อังคาร) เรื่องย่อ     : สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้กำหนดจัดแสดงนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “อารยธรรมวิวัฒน์ ลพบุรี-ศรีรามเทพนคร”                 แสดงให้เห็นอิทธิพลของศิลปะลพบุรี (เขมรในประเทศไทย) ที่ส่งผลต่อบ้านเมืองไทยในสมัยต่อมาโดยเฉพาะศิลปะอยุธยา และยังคง                ตกทอดมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์  โดยนิทรรศการนี้ได้เลือกนำโบราณวัตถุชิ้นสำคัญมาจัดแสดง คือ ชิ้นส่วนประติมากรรมพระโพธิสัตว์               สำริดจากบ้านโตนด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นประติมากรรมที่จัดอยู่ในกลุ่มประโคนชัย (ศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลเขมร                พบมากบริเวณที่ราบสูงโคราช) โดยการประกอบชิ้นส่วนประติมากรรมที่พบ ติดตั้งบนหุ่นจำลองขนาดเท่าจริงตามรูปแบบการสันนิษฐาน                และการบูรณาการทางด้านวิชาการระหว่างนักวิชาการหลายแขนง ทั้งภัณฑารักษ์ นักวิทยาศาสตร์ นายช่างศิลปกรรม และนักวิชาการ                ช่างศิลป์ เป็นการนำเสนอความรู้เกี่ยวกับรูปแบบของศิลปกรรมในพื้นที่ราบสูงโคราช ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผลการศึกษาในการจัดทำข้อมูล                เพื่อการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย ที่ได้เริ่มอย่างเป็นทางการตั้งแต่พุทธศักราช 2560 เป็นต้นมา                 หนึ่งในภารกิจคือ การติดตามทวงคืนประติมากรรมในกลุ่มประโคนชัย จำนวน 18 รายการจากพิพิธภัณฑสถานในประเทศสหรัฐอเมริกา                 ประกอบกับพุทธศักราช 2564 ห้องจัดแสดงศิลปะลพบุรี ในอาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครอยู่ระหว่างการ                ปรับปรุงการจัดแสดง ทำให้โบราณวัตถุศิลปะลพบุรีถูกจัดเก็บไม่สามารถให้คนเข้าชมได้ แต่มักมีนักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ และ                ผู้สนใจ แสดงความประสงค์ที่จะเข้าชมโบราณวัตถุเหล่านั้นอยู่เสมอ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจึงนำโบราณวัตถุดังกล่าว                มาจัดนิทรรศการหมุนเวียนให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้ศึกษาหาความรู้ได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมยิ่งขึ้น



มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศล ซึ่งสมเด็จพระเจ้าภคีนีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพรรณวดี ทรงบำเพ็ญในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๗ ครบ ๔๙ ปี


          นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ ได้รายงาน ผลการขุดแต่งทางโบราณคดีโบราณสถานวัดส้มสุก ตำบลมะลิกา อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็น แหล่งโบราณสถานขนาดใหญ่ที่สุดในแอ่งที่ราบฝาง พบหลักฐานยืนยันอิทธิพลวัฒนธรรมสุโขทัย ที่แพร่หลายเข้าสู่ดินแดนล้านนาโบราณเมื่อกว่า ๖๐๐ ปีมาแล้ว          อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่าในปีงบประมาณ ๒๕๖๔ กรมศิลปากรได้ดำเนินโครงการขุดแต่งโบราณสถานวัดส้มสุก ตำบลมะลิกา อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ต่อจากระยะแรกเมื่อปี ๒๕๕๘ ในขณะนี้ มีโบราณสถานที่ดำเนินการขุดค้นแล้ว ได้แก่ เจดีย์ประธานทรงระฆังมีช้างล้อมรอบฐาน วิหารขนาดใหญ่ ซึ่งพบร่องรอยการปฏิสังขรณ์ ๓ ครั้ง ซุ้มประตูโขงและอาคารใหญ่น้อยอีกประมาณ ๑๐ หลัง พบโบราณวัตถุสำคัญ ได้แก่ พระพิมพ์เนื้อชินมีจารึกคาถา “จะภะกะสะ” ซึ่งเป็นคาถาที่ปรากฏในคัมภีร์วิชรสารัตนสังคหะ รจนาโดย พระรัตนปัญญาเถระภิกษุในนิกายวัดสวนดอกเมื่อ พ.ศ. ๒๐๗๘ นอกจากนั้นยังพบจารึกอักษรฝักขามบนแผ่นอิฐหน้าวัวและอิฐรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีทั้งที่จารเป็นอักษร ๑ – ๒ ตัว และเป็นข้อความหรือภาพลายเส้นเป็นลวดลายต่าง ๆ มากกว่า ๒๐๐ ก้อน จนอาจกล่าวได้ว่าวัดส้มสุกเป็นวัดที่มีจารึกมากที่สุดในประเทศไทย เบื้องต้น นักโบราณคดีได้จำแนกจารึกบนก้อนอิฐที่พบออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่เขียนเป็นข้อความ ส่วนใหญ่ระบุชื่อบุคคลที่อาจหมายถึงผู้ปั้นหรือผู้บริจาคอิฐก้อนนั้น ๆ และกลุ่มที่เขียนเป็นตัวอักษร ๑ - ๒ ตัว ซึ่งส่วนใหญ่พบบนอิฐหน้าวัว ที่ประกอบกันเป็นเสาอาคาร มีข้อสังเกตว่าในเสาต้นเดียวกันส่วนใหญ่จะเป็นการจารึกตัวอักษรตัวเดียวกัน เบื้องต้นนักโบราณคดีสันนิษฐานว่าอาจเกี่ยวข้องกับการให้รหัสสำหรับการก่อสร้าง หรือเทคนิคการผลิต หรืออาจหมายถึงกลุ่มบุคคล กลุ่มข้าวัด หัววัด หรือศรัทธาวัดแต่ละหมู่บ้าน ที่ร่วมแรงร่วมใจกันซ่อมสร้างวัดโบราณแห่งนี้ขึ้น อย่างไร ก็ตามจารึกทั้งหมดยังอยู่ระหว่างการศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณ ซึ่งจะมีสรุปรายงานผลการศึกษาทั้งหมดอย่างเป็นทางการต่อไป           การขุดแต่งโบราณสถานวัดส้มสุก เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากรและชุมชน ในตำบลมะลิกา ที่ต้องการอนุรักษ์และพัฒนามรดกทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าของท้องถิ่น โดยในปีงบประมาณเดียวกันนี้ กรมศิลปากรยังได้อนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมอีก ๑.๑ ล้านบาท สำหรับการขุดค้นและดำเนินการทางโบราณคดีให้ครบถ้วน เพื่อขยายผลการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์และโบราณคดีให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น อีกทั้งจะนำไปสู่การต่อยอดสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ชาวอำเภอแม่อายได้ต่อไปในอนาคต



องค์ความรู้ : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เรื่อง : แผ่นทองคำรูปดอกบัวแปดกลีบ สัญลักษณ์มงคล ณ ปราสาทเมืองต่ำ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑ - ๒๕๓๒ กรมศิลปากรทำการขุดแต่งปราสาทเมืองต่ำ ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ได้พบโบราณวัตถุสำคัญหลายรายการ ที่น่าสนใจคือ “แผ่นทองคำรูปดอกบัวแปดกลีบ” โดยแผ่นทองคำนี้พบอยู่ในตำแหน่งเดิมยังไม่ถูกเคลื่อนย้าย (In situ) บริเวณห้องโถงกลางค่อนไปทางมุขหลังด้านทิศตะวันตกของโคปุระหรือซุ้มประตูกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออก โบราณวัตถุดังกล่าวพบอยู่ใต้แผ่นหินทรายปูพื้น สกัดเป็นหลุมสี่เหลี่ยมขนาด ๑๐ x ๑๐ เซนติเมตร ใช้หินทรายขนาดพอดีกันปิดทับไว้ จากการขุดค้นเมื่อเปิดแผ่นหินทรายที่ปิดไว้ออก พบแผ่นทองคำรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด ๗.๗ x ๗.๗ เซนติเมตร ดุนลายเป็นรูปดอกบัวแปดกลีบ ตรงกึ่งกลางเกสรทำเป็นวงกลมซ้อนกัน ๒ วง ใต้แผ่นทองแผ่นใหญ่มีแผ่นทองขนาดเล็กกว้าง ๑.๘ เซนติเมตร น้ำหนัก ๐.๔ กรัม ไม่มีลวดลาย และพบเศษโลหะชำรุดสนิมกัดผุกร่อนอีก ๒ ชิ้นด้วย ลักษณะแผ่นทองที่พบมีความคล้ายคลึงกับแผ่นทองจากพลับพลาเปลื้องเครื่องปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ แผ่นทองคำพบที่ปราสาทพิมาย จังหวัดนครราชสีมา และแผ่นทองคำพบที่ปราสาทตาเมือนธม จังหวัดสุรินทร์ โดยดุนลายเป็นรูปดอกบัวแปดกลีบ แต่แตกต่างกันที่ขนาดและการตกแต่งในรายละเอียด สันนิษฐานว่าแผ่นทองคำเหล่านี้เป็นของที่บรรจุไว้เพื่อความเป็นมงคล ซึ่งจะอยู่ตามตำแหน่งต่าง ๆ ของอาคาร นอกจากนี้ยังพบว่าในวัฒนธรรมเขมรโบราณยังมีการทำแท่งหินรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ เจาะช่องสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดใหญ่ตรงกลางรายรอบด้วยช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ ตื้นๆ เรียงกันเป็นระยะ สำหรับบรรจุวัตถุมงคลไว้ใต้ฐานรูปเคารพ หรือในส่วนของยอดปราสาทลักษณะคล้ายการวางศิลาฤกษ์ในปัจจุบันอีกด้วย การสลักดุนลวดลายเป็นดอกบัวแปดกลีบ สันนิษฐานว่าหมายถึงการจำลองผังของจักรวาล อันประกอบด้วยทิศสำคัญทั้ง ๘ ทิศ หรืออาจบ่งบอกถึงความสะอาดบริสุทธิ์ ที่มีความเป็นสิริมงคลของดอกบัว โดยบริเวณกลางห้องโถงใกล้ที่พบแผ่นทอง ณ ปราสาทเมืองต่ำ มีภาพสลักดอกบัวแปดกลีบบนแผ่นหินทราย ปูพื้นอีกเช่นกัน นอกจากนี้ที่สะพานนาคราชช่วงที่ ๑ และช่วงที่ ๒ ของปราสาทพนมรุ้ง ก็พบภาพดอกบัวแปดกลีบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าศาสนสถานทั้ง ๒ แห่งนี้ให้ความสำคัญกับดอกบัว ซึ่งเป็นตัวแทนของความบริสุทธิ์ เมื่อผู้มาสักการะเทพเจ้าได้เดินผ่านดอกบัวนี้ก็เปรียบเสมือนการได้ชำระล้าง ได้รับความเป็นมงคล และได้สักการะเทพประจำทิศทั้ง ๘ ไปในคราวเดียวกันด้วย แผ่นทองคำที่พบ ณ ปราสาทเมืองต่ำคงทำขึ้นและถูกบรรจุไว้ตั้งแต่เมื่อครั้งสร้างปราสาท ซึ่งคงมีอายุร่วมสมัยกันในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ หรือเมื่อ ๑,๐๐๐ ปีมาแล้ว ปัจจุบันแผ่นทองคำดังกล่าวเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย จังหวัดนครราชสีมา เรียบเรียงโดย: นายกฤษณพงศ์ พูนสวัสดิ์ นักโบราณคดี อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เอกสารอ้างอิง: กรมศิลปากร, สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๙ นครราชสีมา. ปราสาทเมืองต่ำ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๐. พิสิฐ เจริญวงศ์ และคณะ. ปราสาทพนมรุ้ง. พิมพ์ครั้งที่ ๖. บุรีรัมย์: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง กรมศิลปากร, ๒๕๕๑. สามารถ ทรัพย์เย็น และคณะ. รายงานการขุดแต่งโบราณสถานปราสาทเมืองต่ำ และการขุดตรวจเพื่อค้นหาแหล่งชุมชนโบราณบริเวณโดยรอบปราสาทเมืองต่ำ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๓๖.


Messenger