ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ

นายทศพร ศรีสมาน ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานขุดค้นทางโบราณคดี ภายใต้โครงการ "ศึกษาและกำหนดอายุแหล่งโบราณคดี ประเภทใบเสมาในวัฒนธรรมทวารวดี พื้นที่ลุ่มแม่น้ำมูลตอนกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗" ณ แหล่งโบราณคดีโนนสำโรง ภายในชุมชนโบราณบ้านปะเคียบ ตำบลปะเคียบ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดอายุสมัยและศึกษารูปแบบการปักใบเสมา ในวัฒนธรรมทวารวดี ระหว่างวันที่ ๘-๑๗ มีนาคม ๒๕๖๗ ซึ่งดำเนินโครงการโดยกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา


         คนจากไหน ไทยทรงดำ           พระนครคีรี สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2402 ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ รัชกาลที่ 4 โดยมีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้ซึ่งเคยออกแบบหมู่พระอภิเนาว์นิเวศ ในพระบรมหาราชวัง มาเป็นแม่กองในการก่อสร้าง ด้วยพระมหากรุณาธิคุณและพระอัจฉริยภาพขององค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกทั้งความปรีชาสามารถของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) จึงก่อให้เกิดพระราชวังนาม “พระนครคีรี” พระราชวังคู่บ้านคู่เมืองเพชรบุรีขึ้นมา          แต่ถึงอย่างนั้น “แรงงาน” ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดพระราชวัง “พระนครคีรี” โดยผู้ที่เป็นแรงงานสำคัญในการก่อสร้างพระราชวังในขณะนั้น คือ “ลาวทรงดำ” หรือ “ลาวโซ่ง” ในปัจจุบันก็คือกลุ่มชาติพันธุ์ “ไทยทรงดำ” “ไทดำ” หรือ “ไทยโซ่ง” และเพื่อเป็นการให้เกียรติและแสดงความขอบคุณที่ร่วมก่อสร้างพระราชวัง “พระนครคีรี” นี้ขึ้นมา ทางผู้จัดทำจึงได้รวบรวมข้อมูลและเรียบเรียงบทความนี้ขึ้นมา ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์ ความเป็นมา และวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำเท่านั้น เพราะหากศึกษาเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำอย่างจริงจังแล้ว จะพบว่ามีเรื่องราวที่น่าสนใจและควรค่าแก่การศึกษาเป็นอย่างมาก สำหรับบทความครั้งนี้สรุปความได้ ดังนี้            ใคร?          ไทยทรงดำ ไทดำ ไทยโซ่ง ไตดำ ผู้ไตซงดำ ผู้ไทยดำ ลาวโซ่ง ลาวซ่ง ลาวซ่งดำ จะเรียกด้วยชื่ออะไรก็ตามในบทความนี้หมายถึงกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน โดยชื่อเรียกว่า ไทยทรงดำ ไทดำ ไทยโซ่ง ฯลฯ สันนิษฐานว่าน่าจะเรียกตามเนื้อผ้าที่นุ่งห่มเพราะชอบแต่งกายด้วยผ้าสีดำ เนื่องด้วยคำว่า “โซ่ง” แผลงมาจากคำว่า “ส้วง” ซึ่งมีความหมายว่า กางเกง อีกทั้งยังพบว่าทาง ไทยเวียง หรือ ลาวเวียง กลุ่มชาติพันธุ์ชาวลาวที่ย้ายถิ่นฐานจากเมืองเวียงจันทน์ มาบริเวณลุ่มน้ำภาคกลางของไทย บริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม ก็เคยเรียกไทยทรงดำนี้ว่า “ลาวกุงเกง” หรือ “ลาวกางเกง” ดังนั้น ไทยทรงดำ ไทดำ ไทยโซ่ง ฯลฯ น่าจะมีความหมายว่า ชาวที่นุ่งกางเกงสีดำ          ตามข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารการเรียกชื่อว่า “ไทยทรงดำ” จะเป็นที่ยอมรับจากกลุ่มชาติพันธุ์นี้มากกว่าที่จะเรียกพวกเขาว่า “ลาวทรงดำ” หรือ “ลาวโซ่ง” เพราะโดยส่วนใหญ่ในชุมชนมีความรู้สึกยินดีและยอมรับด้วยความภูมิใจว่าเขาเป็นไทยทรงดำมากกว่าชื่ออื่น หากมีการเรียกด้วยชื่ออื่นพวกเขาเหล่านั้นอาจจะมีความรู้สึกเขินอาย หรือไม่พอใจยอมรับได้นั้นเอง          กลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยทรงดำ นิยมแต่งกายด้วยชุดสีดำ หรือสีครามเข้มเกือบดำ ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายที่ผลิตใช้กันเองในชุมชน โดยอาชีพหลักของชาวไทยทรงดำ คือ ทำนา มีทั้งทำนาข้าวเหนียว ข้าวเจ้า นอกจากนี้ก็มีทำไร่ หาของป่า และเลี้ยงสัตว์ โดยมีอาชีพจักสานเป็นอาชีพรองอีกอย่างหนึ่งที่แพร่หลายมากในหมู่กลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยทรงดำ          เมืองเพชรบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งที่กลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยทรงดำ ย้ายเข้ามาอาศัยหนาแน่นและเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยในอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี เนื่องด้วยลักษณะภูมิประเทศของอำเภอเขาย้อยในอดีตมีลักษณะเหมือนกับบ้านเมืองเดิม ที่อาศัยตามป่าเขา ส่วนอำเภออื่น ๆ ก็มีอยู่บ้างประปราย เช่น อำเภอเมือง แถบหนองพลับ เวียงคอย อำเภอบ้านแหลม ตำบลบางครก อำเภอบ้านลาด ตำบลห้วยข้อง เป็นต้น            มาจากไหน?           ชาวไทยทรงดำเดิมตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณเมืองแถงหรือเดียนเบียนฟูของประเทศเวียดนาม ในปัจจุบันบริเวณดังกล่าวในอดีต เรียกว่า แคว้นสิบสองจุไทย นอกจากนั้นยังกระจายตัวอยู่ตั้งแต่มณฑลกวางสี มณฑลยูนนาน มณฑลตังเกี๋ย ลุ่มแม่น้ำดำ และลุ่มแม่น้ำแดง            เข้ามาอย่างไร?          ชาวไทยทรงดำที่ย้ายเข้าในดินแดนของประเทศไทย ตามเอกสารพบว่ามีมาตั้งแต่ก่อนสมัยรัตนโกสินทร์ โดยเข้ามาสร้างชุมชนอยู่ในหัวเมืองชั้นใน ทั้งโดยการอพยพเข้ามาเอง ถูกกวาดต้อน และถูกเกลี้ยกล่อมให้เข้ามา โดยสรุปสาเหตุสำคัญไว้ ดังนี้           1. ผลจากสงคราม กล่าวคือ ในบริเวณแคว้นสิบสองจุไทย เคยถูกพวกจีนฮ่อย กลุ่มชาติพันธุ์ชาวจีน บุกรุก ปล้นฆ่า และเผาบ้านเผาเรือน อีกทั้งแคว้นสิบสองจุไทยเป็นพื้นที่ที่ทัพจีนและญวนปะทะกัน จึงทำให้ชาวบ้านที่นั้นพลอยเดือดร้อนไปด้วย และเป็นเหตุทำให้ชาวบ้านที่นั่นต้องอพยพ           2. การกวาดต้อนของสยาม จากหลักฐานที่ปรากฏในเอกสารได้อธิบายถึงการเข้ามาอาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยทรงดำในจังหวัดเพชรบุรีอยู่ 3 ช่วงสำคัญด้วยกัน คือ          ช่วงที่ 1 ชาวไทยทรงดำ หรือลาวทรงดำ ถูกกวาดต้อนเป็นจำนวนมากมายังจังหวัดเพชรบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2322 ในสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดให้กองทัพสมเด็จพระมหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณวาธิชาชเข้าตีเวียงจันทน์ได้สำเร็จแล้ว ได้สั่งให้กองทัพเมืองหลวงพระบางไปตีเมืองทันต์ (เวียดนามเรียกว่า เมืองซือหงี) และเมืองม่วย โดยประชาชนสองเมืองนี้เป็นลาวทรงดำซึ่งอาศัยอยู่บริเวณริมเขตแดนเวียดนาม ซึ่งปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 1 ความว่า          “. . . ในจุลศักราช 1141 ปีกุน เอกศก (พ.ศ. 2322) . . . และให้กองทัพหลวงพระบางไปตีเมืองทันต์ ญวนเรียกว่าเมืองซือหงี เมืองม่วย สองเมืองนี้เป็นลาวทรงดำ (ผู้ไทยดำ) อยู่ริมเขตแดนเมืองญวน ได้ครอบครัวลาวทรงดำลงมาเป็นอันมาก พาครอบครัวลาวเวียง ลาวทรงดำลงมาถึงกรุง ในเดือนยี่ ปีกุน เอกศก (พ.ศ. 2322) นั้น ลาวทรงดำนั้นโปรดให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่เพชรบุรี ลาวเวียง ลาวหัวเมืองฟากโขง ตะวันตกก็โปรดให้ไปตั้งบ้านเมืองอยู่สระบุรี เมืองราชบุรีบ้าง ตามหัวเมืองตะวันตกบ้าง อยู่จันทบุรีบ้าง ก็มีเชื้อสายมาจนทุกวันนี้ . . .”          ช่วงที่ 2 สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้กวาดต้อนชาวลาวทรงดำ (ไทยทรงดำ) มาจากเมืองแถง หรือเมืองเดียนเบียนฟู ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเวียดนาม ใน พ.ศ. 2335 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อไม่ให้ชาวลาวทรงดำ (ไทยทรงดำ) กลายไปเป็นกำลังคนของเวียดนาม จึงโปรดให้ไปอยู่ที่เมืองเพชรบุรีกับพวกที่อยู่ก่อนแล้ว          ช่วงที่ 3 สมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2373 พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ไปชำระรับครัวลาวที่เมืองหลวงพระบาง กวาดต้อนรวบรวมมาจากหัวเมืองลาวต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก โดยประมาณหนึ่งหมื่นหกพันคนเศษ และทรงโปรดให้ไปอยู่ตามพวกที่เคยอยู่มาก่อน           ต่อมาใน พ.ศ. 2379 เมื่อหัวเมืองลาวต่าง ๆ เริ่มพากันอ่อนน้อมขอขึ้นกับกองทัพไทย โดยทางกรุงเทพฯ ได้ให้เมืองเหล่านั้นอยู่ภายใต้การดูแลของเมืองหลวงพระบาง และในบางคราวที่เมืองบางเมืองคิดต่อต้านเมืองหลวงพระบาง เจ้าอุปราชเจ้าราชวงศ์เมืองหลวงพระบาง จึงสั่งยกทัพไปตีเมืองเหล่านั้น และกวาดต้อนเหล่าชาวลาวทรงดำมายังที่กรุงเทพ โดยในคราวนี้ปรากฏหลักฐานในพงศาวดารเมืองหลวงพระบาง ความว่า          “. . . ศักราช 1198 ปีวอก อัฐศก (พ.ศ. 2379) เจ้าอุปราชเจ้าราชวงศ์มี  ศุภอักษรแต่งให้เจ้าอุ่นแก้วคุมดอกไม้เงินดอกไม้ทองลงมา ณ กรุงเทพฯ  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่า เจ้าอุปราชหรือเจ้าราชวงศ์  คงจะตั้งเป็นเจ้าเมืองหลวงพระบางคนหนึ่งจึงโปรดตั้งเจ้าอุ่นแก้วบุตรเจ้านครหลวงพระบางอนุรุธที่ 5 เป็นเจ้าน้องอุปราชราชไภยเป็นที่ราชวงศ์ขึ้นไปรักษาบ้านเมือง  ครั้นเจ้าอุปราชเจ้าราชวงศ์ปลงศพเจ้าเมืองหลวงพระบางเสร็จแล้ว พวกเมืองหึม  เมืองคอย เมืองควร ตั้งขัดแข็งต่อเมืองหลวงพระบาง เจ้าอุปราชเจ้าราชวงศ์แต่งให้ท้าวพระยาคุมกองทัพขึ้นไปตีจับได้ลาวทรงดำ (ผู้ไทยดำ) แต่งให้พระยาศรีมหานามคุมลงมา ณ กรุงเทพฯ ครั้งหนึ่งฯ . . .”          และอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2381 เจ้าอุปราชวิวาทกับเจ้าราชวงศ์ เจ้าราชวงศ์จึงคุมชาวลาวทรงดำลงมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารที่กรุงเทพฯ ตามที่ปรากฏหลักฐานในพงศาวดารเมืองหลวงพระบาง ความว่า “. . . ศักราช 1200 ปีจอ สัมฤทธิศก (พ.ศ. 2381) เจ้าอุปราชเจ้าราชวงศ์ มีความวิวาทกันลงมา ณ กรุงเทพฯ . . .”           เป็นอีกครั้งที่ลาวทรงดำ (ไทยทรงดำ) ที่ถูกกวาดต้อนอพยพลงมาที่กรุงเทพฯ ซึ่งทั้งสามคราวดังที่กล่าวมานี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ไปตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองเพชรบุรี ซึ่งเป็นเมืองที่มีการอพยพชาวลาวทรงดำ หรือ ไทยทรงดำ อยู่ก่อนแล้ว             ทำไมต้องเป็นเพชรบุรี          เมืองเพชรบุรี เป็นเมืองเก่าแก่และมีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในฐานะหัวเมืองชั้นในที่มีความสำคัญ ซึ่งการที่ชาวลาวถูกกวาดต้อนและอพยพเข้ามา โดยทางการได้ส่งไปอยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ นั้น จุดมุ่งหมาย คือ ต้องการให้ชาวลาวได้อยู่รวม ๆ กันและมีแหล่งที่อยู่อาศัยตามลักษณะภูมิประเทศเดิม เพื่อความสะดวกในการควบคุมดูแลและเพื่อสร้างบรรยากาศความสบายใจให้แก่ชาวลาว เช่น ลาวทรงดำ (ไทยทรงดำ) ที่เข้ามาอยู่ที่เมืองเพชรบุรีที่มีป่าเขาเหมือนบริเวณที่ราบสูงถิ่นเดิมของชาวลาวทรงดำ (ไทยทรงดำ)          นอกจากนั้นในเชิงยุทธศาสตร์การที่กวาดต้อนชาวลาวไปยังหัวเมืองต่าง ๆ โดยเฉพาะหัวเมืองชั้นใน เช่น เมืองกาญจนบุรี  เมืองฉะเชิงเทรา หรือเมืองเพชรบุรี ก็เพราะว่า          1. เมืองเหล่านี้อยู่ไกลจากแหล่งที่อาศัยเดิมของชาวลาว เพื่อป้องกันการหลบหนีกลับไปบ้านเมืองลาว          2. เมืองเหล่านี้เป็นเมืองหน้าด่านป้องกันราชธานี เหมาะเป็นที่ระดมคนและเพิ่มพูนกำลังรบ เป็นเมืองชุมทาง เมืองศูนย์กลางที่กองทัพจากหัวเมืองต่าง ๆ ถูกเกณฑ์ให้ไปสมทบในราชการสงคราม หรือเป็นเมืองทางผ่านเมื่อมีข้าศึกยกทัพมา            วัตถุประสงค์ในการกวาดต้อนเข้ามา          โดยวัตถุประสงค์ในการกวาดต้อนชาวลาวเข้ามา ตามเอกสารอธิบายเกี่ยวกับประเด็นนี้ไว้ 2 ประเด็นสำคัญ คือ ต้องการกำลังคน และต้องการแรงงาน           1. ต้องการกำลังคน แม้ว่าการป้องกันบ้านเมืองเป็นหน้าที่สำคัญของเหล่ามูลนายและไพร่ไทย แต่เนื่องจากกำลังคนไม่เพียงพอ ดังนั้นชาวต่างด้าวที่ตั้งหลักแหล่งในราชอาณาจักรสยาม เช่น ชาวเขมร มอญ และลาว เป็นต้น จึงมีหน้าที่ต้องรับใช้ประเทศป้องกันข้าศึกศัตรูด้วย           “ไทยทรงดำ” ชาวลาวจะถูกเกณฑ์เพื่อใช้เป็นกำลังรบสมทบให้กับกองทัพจากราชธานีหรือหัวเมืองอื่นตามแต่โอกาสและเหตุการณ์ ยกตัวอย่างในปี พ.ศ. 2394 ช่วงต้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ราชอาณาจักรสยามกำลังเผชิญภัยจากการคุกคามของลัทธิจักรวรรดินิยมจากชาวตะวันตก เพื่อเตรียมความพร้อมพระองค์ทรงโปรดให้มีการฝึกหัดชายรุ่นหนุ่ม ทั้งชาวไทยและชาวต่างด้าวในด้านการรบ โดยเฉพาะฝึกหัดวิชาการอาวุธ และหนึ่งในชาวต่างด้าวที่ถูกเกณฑ์ให้ไปเป็นกำลังรบ เพื่อทำหน้าที่ป้องกันประเทศนั้น คือ กลุ่มชาติพันธุ์ “ไทยทรงดำ” ที่อาศัยอยู่ที่เมืองเพชรบุรี ตามที่ปรากฏในสารตราว่าด้วยเกณฑ์ลูกหมู่เมืองราชบุรี เพชรบุรี ไว้ว่า          “. . . โปรดเกล้าฯ จะให้ฝึกหัดวิชาการอาวุธขึ้นไว้ให้ชำนิชำนาญในการยุทธสำหรับจะได้ป้องกันขอบขันฑเสมา และทั้งจะได้เป็นที่เฉลิมพระเกียรติ . . ."           2. ต้องการแรงงาน เพื่อทดแทนพลเมืองที่เสียชีวิตเนื่องจากสงครามให้เพียงพอต่อการพัฒนาประเทศในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ เมื่อบ้านเมืองตกสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ข้าวยากหมากแพง พลเมืองบางส่วนต้องอดตายเพราะอดอาหาร เนื่องจากขาดแคลนแรงงานในการผลิต ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงแก้ปัญหาเรื่องนี้ โดยการเพิ่มกำลังการผลิตทางการเกษตรให้มากขึ้นเพียงพอต่อการบริโภค รวบรวมผู้คนมาเพิ่มเติมทดแทนเพื่อให้มีจำนวนมากพอ แม้จะเป็นพลเมืองชาวลาวหรือการกวาดต้อนเชลยศึก          นอกจากจะเกณฑ์ชาวลาว หรือชาวไทยทรงดำ ใช้เป็นแรงงานเพื่อการเกษตร เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในการผลิตแล้ว ชาวลาว หรือชาวไทยทรงดำยังถูกเกณฑ์เป็นแรงงานเพื่อใช้งานในกรณีพิเศษอีกด้วย อย่างการเกณฑ์แรงงานเพื่อทางราชการ นั้นคือ แรงงานเพื่อการก่อสร้าง ซึ่งงานดังต่อไปนี้นับได้ว่าเป็นคุณประโยชน์และมีความสำคัญอย่างยิ่งตลอดจนถึงปัจจุบัน          ยกตัวอย่าง การก่อสร้างพระราชวังที่เมืองเพชรบุรี “พระนครคีรี” พระราชวังในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2402 โดยแรงงานสำคัญในการสร้างพระนครคีรีนั้นเป็นแรงงานจาก “ลาวทรงดำ” หรือ “ลาวโซ่ง” ในปัจจุบันก็คือกลุ่มชาติพันธุ์ “ไทยทรงดำ” “ไทดำ” หรือ “ไทยโซ่ง” ซึ่งเป็นกำลังแรงงานหลักของราชการในช่วงเวลานั้น โดยชาวไทยทรงดำและกลุ่มชาติพันธุ์ลาวอื่น ๆ ได้ถูกอพยพกวาดต้อนเข้ามาในสยามในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี และสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะที่เมืองเพชรบุรีเป็นที่ตั้งถิ่นฐานสำคัญของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ (ลาวทรงดำ) ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้เป็นทั้งแรงงานในการก่อสร้างและเป็นผู้รับใช้บนพระนครคีรีอีกด้วย          บทความข้างต้นแม้ว่าในอดีตของชาวไทยทรงดำจะถูกเรียกว่าเป็น “ชาวต่างด้าว” ซึ่งถูกกวาดต้อนให้อพยพออกจากถิ่นฐานเดิมบ้าง เป็น “เชลยศึก” จากสงครามบ้าง หรือแม้แต่คำว่า “แรงงาน” ก็ตาม แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปสิ่งเหล่านี้ก็เป็นเพียงแค่กลไกทางสังคมที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น เพราะในปัจจุบันสิทธิและศักดิ์ศรีของเป็นชาวไทยทรงดำ ก็มีเท่าเทียบไม่ต่างอะไรกับคนไทย ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นคนที่มีพ่อแม่เป็นคนเชื้อสายใด หากเกิดในเมืองไทย เรียนหนังสือไทย อ่าน พูด และใช้ภาษาไทย ก็ย่อมต้องมีศักดิ์ศรีของความเป็นคนไทยเหมือนกัน และที่สำคัญทุกคนต่างมีศูนย์รวมดวงใจ ณ ที่แห่งเดียวกัน คือ ความเป็นพสนิกรของในหลวงองค์เดียวกันนั้นเอง             เอกสารสำหรับการค้นคว้า 1. บังอร ปิยะพันธุ์.  (2541).  ลาวในกรุงรัตนโกสินทร์.  กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. 2. ถวิล เกษรราช.  (2548).  เรื่องราวจาวไตโซ่งในดินแดนสยาม.  นครปฐม : หนังสือมูลนิธิไทยทรงดำประเทศไทย. 3. สุนันท์ อุดมเวช.  (๒๕34).  “ไทยทรงดำ ชนเผ่าไทยในเพชรบุรี”, บทความทางวิชาการวารสารเมืองโบราณ, ปีที่ 17 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม – ธันวาคม). 4. ณรงค์ อาจสมิติ.  (๒๕55).  “รัฐชาติ ชาติพันธุ์ และอัตลักษณ์ไทดำ”, บทความทางวิชาการวารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา, ปีที่ 31 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม).


วันที่ 12 ตุลาคม 2566 เวลา 08.09 น. ร้อยเอก บุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี หัวหน้าส่วน และเจ้าหน้าที่หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ  ร่วมพิธีบวงสรวงถวายทองคำปิดพระรัศมีองค์พระพุทธปฏิมากรหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร และพิธีถวายทองพระเกตุมาลา ณ พระวิหารหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีพระธรรมพุทธิมงคล ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 14 เป็นประธานนำจุดเทียนเปิดพิธี  นายธีรยุทธ์ จันทร์ดิษฐวงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี  นายสรชัด สุจิตต์ สมาชิกผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี เขต1 พรรคชาติไทยพัฒนา เข้าร่วมพิธีดังกล่าวด้วย


ชื่อเรื่อง                     มหาสมยสุตฺต (มหาสมัยสูตร)สพ.บ.                       454/1หมวดหมู่                   พุทธศาสนาหัวเรื่อง                     พุทธศาสนา--บทสวดมนต์ประเภทวัสดุ/มีเดีย       คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ               28 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 37 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก       เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี เส้นจาร ฉบับลานดิบ  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี



            สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ขอเชิญชมการแสดงละคร เรื่อง "เลือดสุพรรณ" บทประพันธ์ของพลตรี หลวงวิจิตรวาทการ วันพุธที่ 4 กันยายน 2567 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมพะนอมแก้วกำเนิด อาคารสุเมธตันติเวชกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีต, กำกับการแสดงโดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์, อำนวยการแสดงโดย ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต              ผู้สนใจสามารถเข้าชมการแสดงได้ฟรี สำรองที่นั่งด้วยการสแกน QR Code ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โทร. 0 3270 8608





ผู้แต่ง : บริษัทศิวกรการช่าง ปีที่พิมพ์ : 2536 สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : ม.ป.พ.      พระเจดีย์หลวงเป็นสถานที่นับได้ว่ามีความสำคัญที่สุดอีกแห่งของภาคเหนือหรือดินแดนล้านนาในอดีต มีประวัติการก่อสร้างที่ยาวนานเกือบ 600 ปี เป็นที่เคารพนับถือของบรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จนในปีพ.ศ. 2533 รัฐบาลภายใต้การนำของอดีตนายกรัฐมนตรี พลเอกชาติชาย ชุณหะวัน บรรดานักวิชาการ พุทธศาสนิกชนชาวเชียงใหม่และใกล้เคียง ร่วมแรงร่วมใจกัน รณรงค์ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์หลวง รัฐบาลได้มอบหมายให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการศึกษาและออกแบบเพื่อบูรณปฏิสังขรณ์



ผู้เขียน:  หอจดหมายเหตุเเห่งชาติ จันทบุรี คำอธิบาย: บัญชีสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุชุดมณฑลจันทบุรี เอกสารต้นฉบับเก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุเเห่งชาติ จันทบุรี เพื่อให้บริการเเก่ผู้ค้นคว้าทั่วไป ครั้งที่พิมพ์ : 1, ธันวาคม 2554 ,



ดาวน์โหลดเอกสาร


วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน 2559 นางวิรยาร์ ชำนาญพล หัวหน้ากลุ่มระบบสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม กล่าวเปิดการอบรม "ระบบคลังข้อมูลดิจิทัล กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม" แก่เจ้าหน้าที่สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์และหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ณ ห้องอบรมคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม ตึกธนาลงกรณ์ ชั้น 8 ในการนี้บริษัทบุ๊คโดส จำกัด จัดส่งวิทยากรเพื่อให้ความรู้ พร้อมด้วยนางสาวสรินยา ร่างสม นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ นายต่อพงศ์ เหลืองชัยวัฒนา นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ นางสาวตรีชฏา แสนศรีชัย นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ นายณัฐภัทร สุขวิลัย นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ และนายอภิญญา รุ่งพิทักษ์มานะ นักจัดการงานทั่วไป ร่วมอบรมในครั้งนี้


Messenger