ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.311/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 126  (306-312) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺมปทฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา(ธรรมบท)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม




องค์ความรู้สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่เรื่อง แหล่งโบราณคดีบ้านนาตุ้ม ตำบลบ่อเหล็ก อำเภอลอง จังหวัดแพร่ : การขุดค้นทางโบราณคดีระยะที่ ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๖๕เรียบเรียงโดย นายพลพยุหะ ไชยรส นักโบราณคดีปฏิบัติการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่.     เหล็ก ถือเป็นสินค้าสำคัญของพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยตั้งแต่มีการผลิตในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๓ จากหลักฐานที่พบในแหล่งถลุงเหล็กสันห้วยทกหิน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๕ จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในแหล่งถลุงเหล็กบ้านนาตุ้มของเมืองลองโบราณ จังหวัดแพร่ ในบทความนี้จะกล่าวถึงผลการศึกษาทางโบราณคดีของแหล่งโบราณคดีบ้านนาตุ้ม ซึ่งถือเป็นแหล่งโบราณคดีตัวแทน (Key Site) ของแหล่งถลุงเหล็กของภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๔ - ๒๕.     เอกสารทางประวัติศาสตร์ระบุว่าเมืองลองโบราณเป็นเมืองขึ้นของเมืองนครลำปาง (จังหวัดลำปาง)    มีพันธะที่จะต้องส่งส่วยเหล็กทุกๆปี ปีละ ๔๐ หาบ (๒,๖๐๐ กิโลกรัม) ดังปรากฎในเอกสารจดหมายเหตุความว่า “...ที่เมืองลองเสียส่วยแก่เมืองนคร (ลำปาง) มีแต่เหล็กสิ่งเดียว...เรียกส่วยปีละ ๔๐ หาบเท่านั้น...”   การถลุงเหล็กจะทำขึ้นที่แหล่งโบราณคดีบ้านนาตุ้ม บ้านนาตุ้ม ตำบลบ่อเหล็ก อำเภอลอง จังหวัดแพร่ อยู่ห่างจากแหล่งโบราณคดีดอยเหล็กซึ่งเป็นเหมืองแร่เหล็กประมาณ ๑ กิโลเมตร โดยปรากฏในเอกสารของชาวต่าวชาติกล่าวถึงเหล็กของดอยเหล็กว่าเป็นเหล็กที่มีคุณภาพ เช่น บันทึกของคาร์ล อัลเฟรด บ็อค (Carl Alfred Bock) พ.ศ. ๒๕๒๔ ความว่า “...เห็นได้ชัดว่าเมืองละครนี้ร่ำรวย ไม่เพียงแต่ร่ำรวยป่าไม้เท่านั้นแต่ยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุ ใกล้ตัวเมือง (เมืองลอง) มีเหมืองแร่เหล็กที่อุดมสมบูรณ์อย่างยิ่ง...”.     สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ กรมศิลปากร สำรวจพบแหล่งเนินตะกรันเหล็กแหล่งโบราณคดีบ้านนาตุ้ม ในปี พ.ศ.๒๕๖๑ จากการสำรวจทางโบราณคดีพบซากเตาถลุงเหล็ก ปลายหุ้มท่อลมดินเผา (tuyère) พะเนินหิน ทั่งหิน เศษแร่ และตะกรันก้นเตาจำนวนมาก ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๖๒ ได้ดำเนินงานขุดค้นทางโบราณคดี จากการขุดค้นพบเตาถลุงเหล็กจำนวน ๘ เตา เรียงตัวเป็นแนวเดียวกันในทิศเหนือ - ใต้ และการขุดค้นในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ พบเตาถลุงเหล็กเพิ่มเติมอีกจำนวน ๑๑ เตา เรียงตัวในแนวเดียวกันกับกลุ่มเตาที่ขุดค้นพบในระยะที่ ๒.     สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ ได้นำตัวอย่างถ่านภายในก้อนตะกรันก้นเตาไปหาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธี AMS ได้ค่าอายุได้ค่าอายุที่ ๒๐๒±๑๖ ปีมาแล้ว หรือราว พ.ศ. ๒๓๔๗ – ๒๓๗๙ ซึ่งค่าอายุมีความสอดคล้องกับเศษเครื่องถ้วยจีน เนื้อแกร่ง เขียนสีน้ำเงินใต้เคลือบจากแหล่งเตามณฑลฝู้เจี่ยนที่ขุดค้นพบโดยกำหนดอายุอยู่ในปลายรัชศกเจียฉิ้งถึงต้นรัชศกเต้ากวงแห่งราชวงศ์ชิง ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ และเมืองลองมีการถลุงเหล็กต่อเนื่องมาจนถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๕ จากเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวไปแล้วข้างต้น.     จากการศึกษาหลักฐานทางโบราณคดีที่พบและข้อมูลทางโบราณโลหวิทยา สันนิษฐานว่า เตาถลุงเหล็กบ้านนาตุ้มเป็นเตาถลุงเหล็กทรงสูง (Sharft Furnance) สูงประมาณ ๘๐ เซนติเมตร ใช้ระบบลมแบบสองลูกสูบ (เส่า) หรือ “Double piston bellow” โดยมีช่องสอดท่อลมและปลายหุ้มท่อลมดินเผาอยู่ทางด้านหลังเตาเพียงช่องเดียว สำหรับเทคนิคการถลุงเป็นการถลุงเหล็กทางตรง (Direct Process) ที่มีอุณหภูมิอยู่ประมาณ ๑,๑๐๐ – ๑,๒๐๐ องศาเซลเซียส เหล็กที่ได้จะถูกขนส่งไปยังราชสำนักเมืองนครลำปาง โดยในท้องตลาดถือว่าเหล็กเมืองลองเป็นเหล็กที่มีคุณภาพ ดังปรากฏในงานวรรณกรรม เช่น ค่าวฉลองคุ้มหลวงของเจ้าหลวงนครแพร่ของศรีวิไชยกวีในราชสำนักแพร่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ ความว่า “...ห้าสิบสอง เหล็กลองไหลดั้นข่ามคงกะพันมากนัก...”  หรือสำนวนของชาวล้านนาที่กล่าวว่า “เหล็กดีเมืองลอง ตองดีเมืองพะเยา” เป็นต้น


นานา...น่ารู้จากเอกสารจดหมายเหตุ เรื่อง ถ้ำเขาสาย จังหวัดกาญจนบุรี


          วันอาทิตย์ที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๐๘.๓๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากรเดินทางไปยังอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โดยมีนางสาวดวงกมล ยุทธเสวี ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย นายชินณวุฒิ วิลยาลัย ผู้อำนวยการกองโบราณคดี และข้าราชการเจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย ให้การต้อนรับและร่วมประชุมหารือแนวทางการบูรณะโบราณสถานและสรุปผลการดำเนินงานอุทยานประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ภายใต้การดูแลสำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย เวลา ๑๔.๓๐ น. อธิบดีกรมศิลปากรเดินทางไปยังอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตรวจเยี่ยมดูงานโครงการปรับปรุงระบบสายไฟลงดินและระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ตรวจพื้นที่โบราณสถานเขตในเมืองและเขตอรัญญิก อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และในเวลา ๑๖.๓๐ น. เดินทางไปยังอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร รับฟังการบรรยายสรุปของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร พร้อมตรวจเยี่ยมชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยเยี่ยมชมโบราณสถานวัดช้างรอบ ในโครงการอนุรักษ์ประติมากรรมปูนปั้นวัดช้างรอบ และตรวจงานโครงการขุดค้น ขุดแต่ง บูรณะและปรับภูมิทัศน์โบราณสถานวัดซุ้มกอ ตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร


          วันจันทร์ ที่ ๒๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๓๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานเปิดนิทรรศการแสดงผลงาน การอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านศิลปกรรมประจำปี ๒๕๖๕ เสริมทักษะความรู้แนวคิดในการสืบทอดงานศิลปกรรมสำนักช่างสิบหมู่ "ด้านเซรามิค” KAMATAKI : Ceramic Exhibition (ด้านการเขียนเซรามิค และด้านการปั้นเซรามิค) พร้อมทั้งมอบใบประกาศแก่บุคลากรของสำนักช่างสิบหมู่ ในการนี้ นายสุรัฐกิจ พีรพงศ์ศิลป ผู้อำนวยการสำนักช่างสิบหมู่ พร้อมด้วยข้าราชการ เจ้าหน้าที่สำนักช่างสิบหมู่ ร่วมในพิธีดังกล่าว ณ อาคารศูนย์ศิลปะและการช่างไทย สำนักช่างสิบหมู่ ถนนพุทธมลฑลสาย ๕ จังหวัดนครปฐม          สำหรับการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านศิลปกรรมประจำปี ๒๕๖๕ เสริมทักษะความรู้แนวคิดในการสืบทอดงานศิลปกรรมสำนักช่างสิบหมู่ "ด้านเซรามิค” KAMATAKI : Ceramic Exhibition (ด้านการเขียนเซรามิค และด้านการปั้นเซรามิค) เป็นการจัดแสดงผลงาน การเขียนสีใต้เคลือบบนเซรามิคและการสร้างสรรค์ผลงานเซรามิคด้วยเทคนิคการเผาโดยเตาฟืน และเทคนิคการเผาแบบรากุ ซึ่งเป็นผลงานที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว โดยบุคลากรสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร          ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจเข้าชมนิทรรศการดังกล่าว สามารถเข้าชมได้ตั้งแต่วันที่ ๒๖ กรกฎาคม - ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๕ (ในวันและเวลาราชการ) ณ อาคารศูนย์ศิลปะและการช่างไทย สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร และสามารถรับชมแบบออนไลน์ได้ทาง Facebook page : สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร่วมกับสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จัดกิจกรรมเสริมสร้างให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเป็นแหล่งเรียนรู้ ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย วันเสาร์ที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๕ เรื่อง "ลายรดน้ำ วิจิตรศิลปกรรมเรือพระราชพิธี" และการทำผลิตภัณฑ์ ของที่ระลึกจากลายรดน้ำ เรียนรู้ พัฒนา สร้างอาชีพ สร้างรายได้           ผู้สนใจสามารถร่วมกิจกรรมได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี สำรองที่นั่งหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร ๐ ๒๔๒๔ ๐๐๐๔


       พระพุทธรูปแก้วผลึก        ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๔        หม่อมเจ้าหญิงจงจิตรถนอม ดิศกุล ประทาน        ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ห้องล้านนา อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร        พระพุทธรูปหินผลึกใส หรือที่เรียกว่าพระพุทธรูปแก้วน้ำค้าง จำหลักเป็นรูปพระพุทธรูปสี่พระองค์ประทับขัดสมาธิราบหันพระปฤษฎางค์เข้าหากัน แสดงปางมารวิชัย มีพุทธลักษณะสำคัญคือ พระรัศมีเป็นเปลว พระพักตร์รูปไข่ พระวรกายค่อนข้างหนา ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิเป็นแผ่นเล็กยาวจรดพระนาภี ส่วนปลายแยกออกจากกันคล้ายเขี้ยวตะขาบ นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน และมีพระพุทธรูปยืนหนึ่งองค์ แสดงปางห้ามแก่นจันทน์ เบื้องล่างมีเดือยสวมลงกับเบ้ากลมที่อยู่เหนือพระพุทธรูปปางมารวิชัยทั้งสี่ ดังนั้นจึงหมายถึงอดีตพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ได้แก่ พระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมนพุทธเจ้า พระกัสสปพุทธเจ้า พระโคตมพุทธเจ้า และพระศรีอาริยเมตไตรย        หินผลึกใสที่นำมาสร้างพระพุทธรูปนี้เรียกว่า รัตนชาติ เป็นแร่หินในตระกูลควอตซ์ (Quartz) ประเภทหินกึ่งอัญมณี (Semi-Precious Stone) หรือ พลอยหินเนื้ออ่อนสีต่าง ๆ ทั้งเนื้อใส เนื้อขุ่น และหินสี (Colored Stone) ซึ่งเป็นเนื้อหินที่หายาก จึงถือเป็นของมีค่า ส่วนเหตุที่เรียกรัตนชาติที่มีลักษณะเป็นผลึกใสว่า “แก้วน้ำค้าง” นั้นเนื่องมาจากลักษณะความใสสะอาดบริสุทธิ์ของเนื้อหิน ไม่มีสิ่งเจือปน เปรียบได้กับน้ำค้างยามรุ่งอรุณ อีกทั้งยังมีความเชื่อว่าหินประเภทนี้จะนำมาซึ่งความร่มเย็นเป็นสุขอีกด้วย        ในวัฒนธรรมล้านนา มีความเชื่อเกี่ยวกับวัสดุที่นำมาสร้างพระพุทธรูปว่าจะได้ผลานิสงส์ หรือบุญกุศลที่แตกต่างกันออกไป ดังปรากฏใน “คัมภีร์อานิสงส์การสร้างพระพุทธรูป” จ.ศ. ๑๒๙๐ (พ.ศ. ๒๔๗๑) จากวัดควรค่าม้า อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อความระบุถึงบุญกุศลจากการสร้างพระพุทธรูปด้วยเนื้อชิน เงิน ทองคำ และแก้ว ต่างกันออกไป โดยที่การสร้างพระพุทธรูปด้วยแก้วนั้น จะได้รับบุญกุศลสูงที่สุด         หรือกล่าวได้ว่าหินผลึกที่มีลักษณะเหมือนแก้วเป็นวัสดุที่มีค่าสูง นอกจากนี้วัดสำคัญในเมืองเชียงใหม่ยังประดิษฐานพระแก้วเป็นพระประธาน อาทิ พระเสตังคมณี หรือ พระแก้วขาว ลักษณะเป็นพระแก้วขาวที่มีเนื้อใสดุจน้ำค้าง นับถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และมีตำนานเกี่ยวข้องกับพญามังราย ผู้สถาปนาอาณาจักร ประดิษฐาน ณ พระอุโบสถ วัดเชียงมั่น อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่   อ้างอิง กรมศิลปากร. พระพุทธรูป ณ วังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน นพปฏิมารัตนมารวิชัย. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๖๒.




          สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญชวนร่วมโครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ กิจกรรมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับชาติ ศาสนฺ กษัตริย์ พบกับการบรรยาย เรื่อง "ถอดรหัสธงไทย: ธงชาติไทย สัญลักษณ์ของความเป็นไทย" วิทยากรโดย นายพฤฒิพล ประชุมผล ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทยและผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย ในวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๓๐ น. - ๑๖.๓๐ น. ณ อาคารดำรงราชานุภาพ ถนนหน้าพระธาตุ เขตพระนคร กรุงเทพฯ            ทั้งนี้  ผู้สนใจสามารถรับชมการถ่ายทอดสดการบรรยายได้ผ่านทาง Facebook Live ของหอสมุดแห่งชาติ https://www.facebook.com/NationalLibraryThailand สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. ๐๘ ๖๘๙๑ ๒๕๔๘ (คุณเกษี)


ชื่อเรื่อง                               อาทิกมฺมปาลิ(ปาราชิกปาลิ)มหาวิยงฺคปาลิ(ปาราชิกัณฑ์) สพ.บ.                                  อย.บ.2/3ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           52 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา          บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ลานดิบ ร่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา



ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           54/3ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              22 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


Messenger