ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ
พระครูคณานัมสมณาจารย์ (บี๊). ตำรากงเต็กและตำรากฐิน ของพระสงฆ์อนัมนิกาย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2528. พิธีกงเต๊ก คือการทำบุญให้แก่ผู้ตายตามพิธีของนักบวชนิกายจีน และญวน มีการสวดและเผากระดาษที่ทำเป็นรูปต่าง ๆ มี บ้านเรือน คนใช้ เป็นต้น เพื่อส่งบุญไปเพิ่มให้แก่ผู้ตายในเมืองนรก เพื่อผ่อนหนักเป็นเบาในผลบาปที่ได้ทำไว้
//แม่โถ ร่องรอยแหล่งโลหกรรมของเมืองเชียงใหม่ ใจกลางเทือกเขาสูง//
#บ่อเหล็กแม่โถ #โบราณโลหะวิทยาดินแดนล้านนา
.
โดย: นายยอดดนัย สุขเกษม นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่
.
- ในห้วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ดอยแม่โถ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ เป็นที่รู้จักในฐานะแหล่งท่องเที่ยวบนยอดดอยสูงที่มีทุ่งหญ้าสะวันนา และวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม แต่รู้หรือไม่ว่าดอยแม่โถแห่งนี้ยังซ่อนหลักฐานความรุ่งเรืองทางภูมิปัญญาของอดีต ในฐานะแหล่งผลิตเหล็กโบราณที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของอาณาจักรล้านนาเอาไว้อีกด้วย
.
- การค้นพบดังกล่าว เริ่มต้นราวปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา เมื่อสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ได้เบาะแสจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ จึงได้เข้าไปสำรวจในพื้นที่บ้านแม่โถ จนพบกลุ่มแหล่งโลหกรรมโบราณขนาดใหญ่ ประกอบด้วย 1. แหล่งถลุงเหล็ก 2. ร่องรอยเหมืองแร่ และ 3. ร่องรอยชุมชนผลิตเหล็ก จำนวนรวมไม่ต่ำกว่า 15 แหล่ง กระจายตัวอยู่ตามสันเขา ครอบคลุมพื้นที่กว่า 3 ตารางกิโลเมตร
.
- ในเบื้องต้น ผู้ศึกษาได้นำตัวอย่างถ่านที่ตกค้างในก้อนตะกรันไปศึกษาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ ด้วยวิธี AMS Dating พบว่า มีอายุกิจกรรมอยู่ในช่วงครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 22 ทั้งนี้เมื่อวิเคราะห์ร่วมกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์จะพบว่า ตรงกับช่วงที่กองทัพพม่าเข้ายึดเมืองเชียงใหม่ครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. 2157 โดย อนอคเปตลุน กษัตริย์ราชวงศ์ตองอูตอนปลาย หรือที่เอกสารล้านนาจดบันทึกในนาม "พระเจ้าสุทโธธรรมราชา" (แท้จริงนามของ อนอคเปตลุน คือ มหาธรรมราชา)
.
- จากขนาดและจำนวนของแหล่งโบราณคดี ที่สะท้อนถึงกิจกรรมการผลิตเหล็กในปริมาณมหาศาล ประกอบกับค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทางประวัติศาสตร์ สามารถตั้งข้อสันนิษฐานเบื้องต้นได้ว่า บริเวณบ้านแม่โถ น่าจะเป็นแหล่งผลิตทรัพยากรเหล็กให้กับเมืองเชียงใหม่มาแล้วแต่เดิม ต่อมาเมื่อพม่าเข้ายึดครองเมืองเชียงใหม่ ในครั้งที่ 2 สมัยกษัตริย์อนอคเปตลุน ซึ่งมีนโยบายสร้างจักรวรรดิพม่าให้ยิ่งใหญ่เช่นเดียวกับบุเรงนอง น่าจะมีความต้องการทรัพยากรเหล็กอย่างมหาศาล ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของกลุ่มชุมชนถลุงเหล็กขนาดใหญ่ กระจายตัวทั่วพื้นที่สันเขาล้อมรอบบ่อเหล็กแม่โถ มีการผลิตเหล็กอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นชั้นตะกรันทับถมหนาหลายเมตร อย่างไรก็ตามบ่อเหล็กแม่โถน่าจะมีการเข้าไปใช้สอยหาทรัพยากรแร่เหล็กต่อมาอีกหลายยุคสมัย จนกระทั้งสิ้นสุดเมื่อราว 100 ปีที่ผ่านมา ตามความทรงจำของกลุ่มคนลัวะบ้านบ่อหลวง
.
- ทั้งนี้ ข้อมูลข้างต้นยังไม่ถือเป็นข้อสรุป จำเป็นต้องมีการขุดค้นทางโบราณคดีต่อไปในอนาคต
.
- ท้ายที่สุดนี้ ในนามของสำนักศิลปากรที่ 7เชียงใหม่ ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแม่โถทุกท่าน กำนันตำบลบ่อหลวง กำนันตำบลบ่อสลี และองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อสลี ที่กรุณาให้ความอนุเคราะห์และสนับสนุนการศึกษาทางโบราณคดีในครั้งนี้ จนเริ่มเห็นภาพประวัติศาสตร์ที่สำคัญของดินแดนล้านนาชัดเจนมากยิ่งขึ้น และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้ร่วมกันสร้างสรรค์องค์ความรู้ในโอกาสต่อไป
สุวคนธ์ ผดุงอรรถ. บรรณานุกรมเกี่ยวกับวิวัฒนาการและนโยบายทางวัฒนธรรมของไทย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2524. เนื้อหาแบ่งออกเป็น 2 ภาค ภาคที่ 1 คือ A selection and annotated bibliography on the evolution of cultural policies in Thailand เป็นภาษาอังกฤษมีทั้งหมด 52 รายการ และภาคที่ 2 คือ บรรณานุกรมเกี่ยวกับวิวัฒนาการและนโยบายทางวัฒนธรรมของไทยเป็นภาคภาษาไทยมีทั้งหมด 49 รายการ
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก หลวงสถิตยุทธการ ม.ป.ช., ม.ว.ม., ต.จ.ว. (สถิต สถิตยุทธการ) ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๑๔
พระนครคีรี เป็นพระราชวังในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช รัชกาลที่ ๔ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในพุทธศักราช ๒๔๐๒ ด้วยทรงเห็นภูมิสถานของเมือง เพชรบุรีเป็นที่เหมาะสมในการจะสร้างพระราชฐานที่ประทับ โดยให้สร้างขึ้นบนเขาสมณะ ภายหลังพระราชทานนามว่า เขามหาสวรรค์ นับเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีการสร้างพระราชวังขึ้นบนเขา เป็นพระราชฐานในหัวเมืองที่สำคัญที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาประทับอยู่เสมอตลอดรัชสมัย
พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ พระที่นั่งองค์แรกของพระราชวังพระนครคีรี ก่อพระฤกษ์เมื่อ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนแปด ปีมะแม เอกศก จุลศักราช ๑๒๒๑ (ตรงกับวันที่ ๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๐๒) เป็นพระที่นั่งองค์ใหญ่ที่สุด และเป็นพระที่นั่งองค์ประธาน
ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบยุโรปผสมไทย และจีน ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีมุขยื่นออกไปด้านข้างสองด้านทั้งซ้ายและขวา ภายในแบ่งเป็นห้องต่างๆ
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ปรับเปลี่ยนเป็นห้องรับรองการประทับสำหรับพระราชอาคันตุกะจากต่างประเทศ ดังนี้ ท้องพระโรงหน้าดัดแปลงเป็นห้องเสวยพระกระยาหาร และห้อง ท้องพระโรงหลังเป็นห้องพักผ่อนพระอิริยาบถ และห้องพระบรรทม มุขด้านทิศตะวันออกดัดแปลงเป็นห้องทรงพระสำราญ และมุขด้านทิศตะวันตกดัดแปลงเป็นห้องสรง ห้องแต่งพระองค์ของพระราชอาคันตุกะ
ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและเครื่องเรือนต่างๆ และพระที่นั่งองค์นี้ยังเคยเป็นสถานที่ที่ใช้รับรองพระราชอาคันตุกะ คือ ดยุคโยฮัน อัลเบิร์ต ผู้สำเร็จราชการแห่งราชรัฐบรันชวิก และเจ้าหญิงอลิซาเบธ แห่งสโตลเบิร์ก-รอซซาล่า พระชายา ในคราวเสด็จฯ ประพาสเมืองเพชรบุรี
องค์ความรู้ : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
เรื่อง : เรื่องราวการอุทิศสิ่งของถวายแด่เทวาลัยพนมรุ้ง
ปราสาทพนมรุ้ง สร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๘ เป็นศาสนสถานบูชาพระศิวะ เทพเจ้าสูงสุดในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย การสร้างปราสาทพนมรุ้งบนยอดภูเขาเป็นการจำลองวิมานที่ประทับของศิวะบนเขาไกรลาส นอกจากการสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระศิวะแล้ว ปราสาทแห่งนี้ยังถูกใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมตามประเพณีของศาสนาฮินดูอีกด้วย เช่น การบูชาเทพเจ้าด้วยการสังเวยเครื่องบัตรพลีต่าง ๆ การสรงน้ำศิวลึงค์ซึ่งเป็นรูปเคารพแทนองค์พระศิวะในห้องครรภคฤหะของปราสาทประธาน เป็นต้น
ในการสร้างศาสนสถานถวายแด่เทพเจ้าในวัฒนธรรมเขมรโบราณ ผู้สร้างจะอุทิศทรัพย์สิน และสิ่งของต่าง ๆ เป็นเครื่องบูชาแด่เทวสถานนั้น ๆ ในส่วนของปราสาทพนมรุ้ง “นเรนทราทิตย์” เจ้านายเชื้อสายราชวงศ์มหิธรปุระองค์สำคัญผู้สร้างปราสาทแห่งนี้ ได้ทำนุบำรุงศาสนาฮินดู โดยปฏิบัติตามความเชื่อของลัทธิไศวนิกายแบบปาศุปตะ ท่านได้อุปถัมภ์ พราหมณ์ ดาบส โยคี ถวายทรัพย์สิน ที่ดิน ข้าทาส รวมถึงสิ่งของมีค่าเป็นเครื่องบูชาแด่ปราสาทพนมรุ้งจำนวนมาก
เรื่องราวในจารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง กล่าวถึงสิ่งของที่กลุ่มชนชั้นสูงได้อุทิศถวายแด่เทวาลัยพนมรุ้งเป็นจำนวนมาก สำหรับเลี้ยงข้าพระประจำเทวาลัยซึ่งทำหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยต่าง ๆ เช่น จารึกพนมรุ้ง ๓ กล่าวถึงการถวายน้ำนม จารึกพนมรุ้ง ๔ กล่าวถึงการถวายข้าวสุก จารึกพนมรุ้ง ๘ กล่าวถึงสิ่งของสำหรับบริโภค เช่น กองข้าว ข้าวเปลือก น้ำผึ้ง วัว (ให้น้ำนม) เครื่องเทศ เช่น จันทร์แดง กานพลู ของหอมสำหรับพิธีกรรม เช่น การบูร ไม้จันทร์ จารึกพนมรุ้ง ๙ กล่าวถึงการถวายราชยานขนาดใหญ่แด่เทพเจ้า (พระศิวะ) แห่งภูเขาใหญ่ (พนมรุ้ง หมายถึง ภูเขาใหญ่)
นอกจากสิ่งของแล้วยังปรากฏการกัลปนาถวายที่ดินด้วย โดยบริเวณรอบเขาพนมรุ้งพบหลักหินกระจายเป็นจำนวนมากอยู่ทุกทิศ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นขอบเขตที่ดินที่ถูกถวายแด่ศาสนสถาน ซึ่งที่กล่าวมาเหล่านี้ล้วนถวายแด่ “พระกมรเตงชคตวนัมรุง” หรือ “เทพแห่งปราสาทพนมรุ้ง” นั่นเอง
เป็นที่น่าสนใจว่าการถวายสิ่งของแด่ปราสาทพนมรุ้ง สามารถสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชุมชนโบราณรอบเขาพนมรุ้ง ซึ่งมีลักษณะเป็นสังคมเกษตรกรรมเพาะปลูก-เลี้ยงสัตว์ มีระบบการจัดการบริหารคนสำหรับดูแลศาสนสถาน มีหลักเขตบอกอาณาเขตที่ดิน รวมไปถึงมีการแลกเปลี่ยนทรัพยากรกับชุมชนโบราณอื่น ๆ โดยเฉพาะเครื่องหอมสำหรับพิธีกรรม ซึ่งไม่ได้เป็นสิ่งของที่ถูกผลิตขึ้นในท้องถิ่น ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่าบทบาทของชุมชนโบราณในบริเวณนี้คือการผลิตทรัพยากรเพื่อถวายแด่ปราสาทพนมรุ้ง ซึ่งเป็นหน้าที่และหลักปฏิบัติสำคัญของผู้ปกครองรวมไปถึงประชาชนที่มีความเลื่อมใสศรัทธาต่อ “พระกมรเตงชคตวนัมรุง”
เรียบเรียงโดย : นายพงศธร ดาวกระจาย ผู้ช่วยนักโบราณคดี อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
เอกสารอ้างอิง :
เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. “จารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๑.
พิสิฐ เจริญวงศ์ และคณะ. ปราสาทพนมรุ้ง. พิมพ์ครั้งที่ ๖. บุรีรัมย์: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, ๒๕๕๑.
อนุรักษ์ ดีพิมาย. “การศึกษารูปแบบและหน้าที่ของหลักหินในวัฒนธรรมเขมรที่พบบริเวณรอบเขาพนมรุ้ง.” เอกสารการศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (โบราณคดี) คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๒.
องค์ความรู้ : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
เรื่อง : ภูเขาไฟพนมรุ้ง
จังหวัดบุรีรัมย์นับเป็นดินแดนแห่ง “ภูเขาไฟ” ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศที่ราบสูงเกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟเมื่อประมาณ ๙ แสนถึง ๑ ล้านปีมาแล้ว โดยเป็นจังหวัดที่มีภูเขาไฟมากที่สุดถึง ๖ ลูกด้วยกัน ได้แก่ เขาพนมรุ้ง เขาอังคาร เขาไปรบัด เขาหลุบ เขากระโดง และเขาคอก
ในบรรดาภูเขาไฟทั้ง ๖ ลูก “เขาพนมรุ้ง” เป็นภูเขาไฟที่มีขนาดสูงใหญ่ที่สุด ตั้งอยู่ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ ประมาณ ๖๐ กิโลเมตร เป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว เช่นเดียวกับเขาอังคารและเขาไปรบัด วางตัวยาวตามแนวทิศเหนือ-ทิศใต้ ประมาณ ๕ กิโลเมตร และกว้างตามแนวทิศตะวันออก - ทิศตะวันตก ประมาณ ๓.๕ กิโลเมตร บริเวณไหล่เขามีความลาดชันประมาณ ๖ - ๑๕ องศา ส่วนยอดเขาสูงสุดจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ ๓๘๖ เมตร มีส่วนของปล่องปะทุภูเขาไฟครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ๑๖๐ ไร่ หรือประมาณ ๒๕๖,๐๐๐ ตารางเมตร โดยขอบปากปล่องด้านทิศเหนือเป็นสถานที่ตั้งสถานีรายงานเขาพนมรุ้ง กองทัพอากาศ ส่วนด้านทิศใต้เป็นที่ตั้งของปราสาทพนมรุ้งศาสนสถานในวัฒนธรรมขอมที่สวยงามมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย
ด้วยความอุดมสมบูรณ์จากแร่ธาตุของเถ้าภูเขาไฟทำให้ผู้คนเข้ามาอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์โดยปรากฏหลักฐานแหล่งโบราณคดีโดยรอบ เช่น แหล่งโบราณคดีโคกฝรั่ง แหล่งโบราณคดีโคกเขว้า-ห้วยตะแบง และต่อมาในสมัยวัฒนธรรมเขมรได้สถาปนาให้ภูเขาลูกนี้เป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์สร้างปราสาทพนมรุ้งเพื่อให้เป็นเขาไกลาส ที่ประทับของพระศิวะตามความเชื่อแบบไศวนิกาย
อีกทั้งคนโบราณได้ดัดแปลงบริเวณปากปล่องภูเขาไฟทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาทพนมรุ้งให้เป็นสระสำหรับกักเก็บน้ำ มีทั้งหมด ๗ สระ เพื่อใช้ในการอุปโภค-บริโภค นอกจากนี้ยังมีการนำเอาหินบะซอลต์ที่ได้จากภูเขาไฟมาใช้ในการก่อสร้างด้วย เช่น กำแพงแก้วของพลับพลาเปลื้องเครื่อง กำแพงแก้วของสระน้ำโบราณ และพื้นระเบียงคตด้านทิศเหนือของปราสาทพนมรุ้ง โดยสันนิษฐานว่าแหล่งตัดหินน่าจะเป็นบริเวณขอบสระน้ำหมายเลข ๖ ที่เคยเป็นปากปล่องภูเขาไฟมาก่อนเนื่องจากพบร่องรอยการสกัดหิน
ภูเขาไฟพนมรุ้งแห่งนี้ มีความอุดมสมบูรณ์ ด้วยแร่ธาตุ และแหล่งอาหาร ทำให้ผู้คนเข้ามาอยู่อาศัยใช้งานต่อเนื่องหลายยุคสมัย โดยมีปราสาทพนมรุ้งที่สร้างอยู่บนยอดเขา เป็นศูนย์กลางทางความเชื่อของผู้คนแถบนี้มาตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน
เรียบเรียงโดย: นายวิธาน ศรีขจรวุฒิศักดิ์ นักโบราณคดี อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
เอกสารอ้างอิง:
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดบุรีรัมย์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๔๔.
จรรยา มาณะวิท และคณะ. อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ. พิมพ์ครั้งที่ ๔. นครราชสีมา: สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา กรมศิลปากร, ๒๕๕๗.
พิสิฐ เจริญวงศ์ และคณะ. ปราสาทพนมรุ้ง. พิมพ์ครั้งที่ ๖. บุรีรัมย์: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง กรมศิลปากร, ๒๕๕๑.
วสันต์ เทพสุริยานนท์. รายงานการขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดี สระน้ำโบราณประจำปราสาทพนมรุ้ง. บุรีรัมย์: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง, ๒๕๖๐.
สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, หม่อมราชวงศ์. ปราสาทเขาพนมรุ้ง ศาสนบรรพตที่งดงามที่สุดในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๕. สมุทรปราการ: เรือนบุญ, ๒๕๔๙.
ชื่อเรื่อง การอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานวัดพระธาตุ ตำบลศาลาขาว อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีผู้แต่ง สุภมาศ ดวงสกุลผู้แต่งเพิ่ม อนันต์ กลิ่นโพธิ์กลับประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN 978-974-417-948-7หมวดหมู่ ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ เลขหมู่ 959.373 ส833กสถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ กรมศิลปากรปีที่พิมพ์ 2551ลักษณะวัสดุ 98 หน้า : ภาพประกอบ ; 29 ซม.หัวเรื่อง วัดพระธาตุ สุพรรณบุรี – โบราณสถาน – การบำรุงรักษาและการซ่อมแซมภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก ประวัติความเป็นมาและที่ตั้งของวัดพระธาตุ การขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดีบริเวณพระปรางค์ พร้อมทั้งเจดีย์ราย อุโบสถเก่าและแนวกำแพงแก้ว โบราณวัตถุต่าง ๆ ที่พบภายในวัด รวมถึงร่องรอยหลักฐานสิ่งก่อสร้างเดิมที่ร่วมสมัยกับการสร้างพระปรางค์ด้วย ตลอดจนวิวัฒนาการทางสถาปัตยกรรมของโบราณสถานประเภทปรางค์ การบูรณะโบราณสถานและการศึกษาเพื่อสรุปผลการดำเนินงานทางโบราณคดี
ชื่อเรื่อง ศัพท์ไชย (สับไช)
สพ.บ. 259/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 26หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง ดาหลังครั้งที่พิมพ์ 3ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ วรรณกรรมเลขหมู่ 895.9112 อ939ดสถานที่พิมพ์ พระนคร สำนักพิมพ์ แพร่พิทยาปีที่พิมพ์ 2514ลักษณะวัสดุ 602 หน้าหัวเรื่อง อิเหนา บทละครไทยภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึกดาหลัง เป็นกลอนบทละครนิยายอิงประวัติศาสตร์ชวา (หรืออินโนีเซียในปัจจุบัน) มีหน้าพาทย์กำหนดดนตรีประจำบท โดยเนื้อหากล่าวถึงประเทศชวาในสมัยกาลก่อน มีราชธานีอยู่ 4 เมือง คือ กุเรปัน, ดาหา, กาหลัง และสิงหัดส่าหรี (สิงหสารี) ซึ่งผู้แต่งจะสะท้อนให้เห็นภาพบ้านเมือง พระราชวัง ร้านค้า รวมทั้งวัฒนธรรมอิสลามจากการดำรงชีวิตของชาวชวาด้วย
เลขทะเบียน : นพ.บ.152/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 93 (1-16) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : สทฺทสารตฺชาลินี(ศัพท์สัททสารัตถชาลินี)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เสด็จพระราชดำเนินทรงงานในพื้นที่ภาคเหนือ : ตอนที่ ๒ เชียงรายตลอดระยะเวลา ๗๐ ปี ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติ พระองค์เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อรับทราบปัญหาและทรงหาแนวทางการแก้ไขปัญหาของประเทศชาติและประชาชน ทรงอุทิศพระวรกายบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการในการพัฒนาประเทศเพื่อความผาสุก ความเจริญรุ่งเรือง และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของพสกนิกรชาวไทย๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๔ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในโอกาสนี้ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญพระบรมฉายาลักษณ์พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่เสด็จพระราชดำเนินทรงงานในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดไม่ได้ ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (วิภังค์-มหาปัฏฐาน)
สพ.บ. 307/3ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 26 หน้า กว้าง 4.8 ซม. ยาว 54.2 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.198/23ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 98 หน้า ; 4.5 x 54 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 109 (141-147) ผูก 23 (2565)หัวเรื่อง : มงฺคลตฺถทีปนี(พระมงคลทีปนีอรรถกถามงคลสูตร)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม