ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ
พลเอก กิจพันธ์ ธัญชวนิช รองผู้อำนวยการใหญ่สายงานบริหารสถานีวิทยุโทรทัศน์ กองทัพบก ช่อง ๕ รับมอบหนังสือที่ระลึกจากกรมศิลปากร เนื่องในวันสถาปนา ครบรอบ ๕๕ ปี เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๖ ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์ กองทัพบก ช่อง ๕ สนามเป้า
วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ เวลา ๑๒.๐๐ น. นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ ๑ - ๓ โรงเรียนบ้านกรวดนาฮัง(เข็มแก้วบำรุง) ตำบลหนองขวาว อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ นักเรียนจำนวน ๔๓ คน คุณครูจำนวน ๑๐ คน เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยมีนายแก่นแก้ว หอมนวล พนักงานประจำห้อง ให้การต้อนรับและบรรยายนำชม
อยากทราบว่ารับนักศึกษาฝึกงานหรือเปล่าครับ ผมเรียน วัฒนธรรม สาขา ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณดคี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ครับ
วันที่ 24 มีนาคม 2561 นางประนอม คลังทอง รองอธิบดีกรมศิลปากร ได้ตรวจเยี่ยม หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา
ดาวโหลดได้ที่ http://www.thaigov.go.th/pdf/Infographics.pdf
สมุดภาพ Infographics รัฐบาลเพื่อประชาชน การดำเนินงานรัฐบาลรอบ 1 ปี เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2558 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
สมัยอยุธยาแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ (สมเด็จหน่อพุทธางกูร) เกิดไข้ทรพิษระบาดครั้งนั้นทำให้ประชาชนทั้งในและนอกพระนครติดไข้ทรพิษล้มตายเป็นจำนวนมาก การเกิดโรคระบาดครั้งนั้นถือว่าหนักหนาสาหัสมาก ชาวบ้านเชื่อว่าการระบาดของโรคเกิดจากน้ำมือของผีห่า เพราะการแพทย์สมัยนั้นยังไม่ทันสมัย คงมีการรักษาด้วยสมุนไพรกันไปตามอาการ บางคนอาการหนักมากก็เสียชีวิตลง และเหตุการณ์โรคระบาดในครั้งนั้นทำให้สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ ทรงประชวรด้วยไข้ทรพิษ ถึงแม้ว่าหมอหลวงจะถวายพระโอสถรักษาอย่างสุดความสามารถ และมีการนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ พระองค์ก็เสด็จสวรรคตในที่สุด ภาพจากภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท เรียบเรียงโดย นายวรัญญู จันทร์สว่าง นักวิชาการวัฒนธรรม อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาที่มาของข้อมูลhttps://web.facebook.com/AY.HI.PARK/photos/a.306805456334966/1092584714423699/?type=3&theater
วันที่ ๑ กันยายน ของทุกปีถือเป็นวันครบรอบการเปิดให้บริการหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี อย่างเป็นทางการ
การจัดตั้งหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี เริ่มขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๓๖ โดยรัฐบาลขณะนั้นสนับสนุนให้มีโครงการจัดตั้งหอจดหมายเหตุในส่วนภูมิภาคขึ้น เพื่อรวบรวม จัดเก็บ รักษา และให้บริการค้นคว้าวิจัยเอกสารสำคัญของชาติ พร้อมทั้งกำหนดให้หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นศูนย์กลางการปฏิบัติงานจดหมายเหตุในภูมิภาคตะวันตก ต่อมาในปลายปี พ.ศ.๒๕๓๘ จึงได้เริ่มก่อสร้างอาคารสำนักงานขึ้นจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๕๔๑ และในปีถัดมาจึงได้เริ่มปฏิบัติงานตามระบบงานจดหมายเหตุ
กระทั่งในวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๖ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี พร้อมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ในสังกัดกรมศิลปากร คือ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรรบุรี เฉลิมพระเกียรติ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี อย่างเป็นทางการ
ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ นี้ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ดำเนินงานจดหมายเหตุอย่างเป็นทางการครบรอบปีที่ ๑๒ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา หน่วยงานได้รวบรวม อนุรักษ์ และให้บริการค้นคว้าเอกสารจดหมายเหตุที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ตลอดจนให้บริการคำปรึกษาด้านการทำลายและส่งมอบเอกสารสำคัญให้แก่หน่วยงานราชการใน ๖ จังหวัด คือ สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ทั้งนี้ หากท่านสนใจเข้าใช้บริการ หน่วยงานยินดีให้บริการทุกวันจันทร์-ศุกร์ ระหว่างเวลา ๐๘,๓๐น.-๑๖.๓๐น. ยกเว้นวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดราชการ และสามารถโทรศัพท์สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ ๐๓๕ ๕๓๕ ๕๐๑-๒
ผู้รายงาน นางสาวณฐมน อยู่ดี
นายช่างศิลปกรรม ปฏิบัติงาน กลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร
วัตถุประสงค์ เพื่อเข้ารับการอบรมเรื่อง International Course on Conservation of Japanese
Paper 2014
สถานที่ National Research Institute for Cultural Properties, International Centre for
The Study Preservation and Restoration of Cultural Property (NRICP)
ณ. กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
ระยะเวลา ๒๐ วัน ( ๒๕ สิงหาคม - ๑๓ กันยายน ๒๕๕๗ )
ผู้เข้ารับการอบรม ๑๐ คน ประกอบด้วย
๑. ผู้แทนจากประเทศต่างๆ ประเทศละ ๑ คนดังนี้
๑.๑ ประเทศนิวซีแลนด์
Ms. Jennifer CAUCHI (Museum of New Zealand Te Papa Tongarewa)
๑.๒ ประเทศไต้หวัน
Mr. Ting Fu fan (San Jian Art Conservation Co., Ltd.
๑.๓ ประเทศเดนมาร์ก
Ms. Pia HANSEN (Odense City Museums)
๑.๔ ประเทศสกอตแลนด์
Ms. Elizabeth HEPHER (The Royal Commission on the Ancient and Historical
Monuments of Scotland)
๑.๕ ประเทศเซอร์เบีย
Mr. Milos JELENIC (Central Institute For Conservation in Belgrade)
๑.๖ ประเทศฝรั่งเศส
Ms. Ludivine LEROY – BENTI (National Archives)
๑.๗ ประเทศคิวบา
Ms. Hilda PEREZ DE PENAMIL RODRIGUEZ (Office of the Historian of the City)
๑.๘ ประเทศสหรัฐอเมริกา
Ms. Emily RAMOS (University of California, Berkeley)
๑.๙ ประเทศออสเตรเลีย
Ms. Louise WILSON (National Gallery of Victoria)
๑.๑๐ ประเทศไทย
Ms. Nathamon YUDEE (Office of National Museum, The Fine Arts Department)
๒. วิทยากรและทีมงาน
๒..๑ Mrs. Katrina SIMILA
ICCROM, Rome. Italy
๒.๒ Noriko HAYAKAWA
Senior Researcher, Center for Conservation Science and Restoration Techniques,
National Research Institute for cultural Properties, Tokyo
๒.๓ Masato KATO
Head of Resource and Systems Research Section, Japan Center for international
Cooperation in Conservation, National Research Institute for cultural Properties,
Tokyo
๒.๔ Makoto KAWABATA
Senior Conservator, Qualified Conservation Specialist (documents) The
Association for Conservation of National Treasures
๒.๕ Atsushi OGASAWARA
Chief Conservator, Qualified Conservation Specialist (documents)
The Association for Conservation of National Treasures
๒.๖ Haruhiko SUZUKI
Chief Conservator, Qualified Conservation Specialist (documents)
The Association for Conservation of National Treasures
๒.๗ Kohei TANAKA
KOBAYASHI Brush Shop
Tradition Brush Craftsman (Chiba Prefecture)
๒.๘ Shigemi TANAKA
KOBAYASHI Brush Shop
Holder of Selected Conservation Techniques (Agency for Cultural Affairs)
๒.๙ Keigo UTSUNOMIYA
Professor, Department of Literature, Osaka Ohtani University Visiting fellow,
Kyoto National Museum
๒.๑๐ Noriko YAMAMOTO
Vice – director, Executive Director, The Association for Conservation of National
Treasures
๒.๑๑ Atsuko AOKI
Part-time Lecturer, Department of English, University of the Sacred Heart
๒.๑๒ Michiko MATSUBARA
President Yesterday, Today and Tomorrow
Part-time Lecturer, Department of English, University of the Sacred Heart
and others
๒.๑๓ Yoko YAMADA
National Research Institute for Cultural Properties, Tokyo
๒.๑๔ Nana KIHARAYAMA
National Research Institute for Cultural Properties, Tokyo
กำหนดการอบรม
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๗
๑๐.๒๕ น. ออกเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ
๑๘.๔๕ น. ถึงสนามบินนาริตะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
และเข้าพักอยู่ที่โรงแรมมารูทานิ กรุงโตเกียว
๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๗
๑๐.๐๐-๑๐.๓๐ น. พิธีเปิด
๑๐.๓๐–๑๑.๐๐ น. ปฐมนิเทศ
๑๑.๐๐-๑๒.๐๐ น. ฟังบรรยาย เรื่อง การอนุรักษ์กระดาษ
๑๓.๓๐-๑๖.๓๐ น. แนะนำตัวเอง และนำเสนอเกี่ยวกับหน่วยงาน
๑๗.๐๐-๑๙.๐๐ น. งานเลี้ยงต้อนรับ
๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๗
๑๐.๐๐-๑๒.๐๐ น. ฟังการบรรยายเรื่องกาวที่ใช้ในการอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมของญี่ปุ่น
๑๓.๐๐-๑๕.๐๐ น. ดูการสาธิต และวิธีการ การเตรียมการทำความสะอาด “ภาพจิตรกรรมบนกระดาษ”
๑๕.๐๐-๑๗.๑๕ น. ฝึกปฎิบัติการทำความสะอาด ภาพจิตรกรรมบนกระดาษ
๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๗
๑๐.๐๐-๑๒.๐๐ น. ฟังการบรรยาย เรื่อง พื้นฐานของกระดาษ
๑๓.๐๐-๑๕.๐๐ น. Infilling
๑๕.๑๕-๑๗.๑๕ น. Infilling
๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๗
๑๐.๐๐-๑๒.๐๐ น. ฝึกปฏิบัติการ Applying the first lining
๑๓.๐๐-๑๕.๐๐ น. ฝึกปฏิบัติการ 1 Second lining
๑๕.๑๕-๑๗.๑๕ น. ฝึกปฏิบัติการ 2 Second lining
๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๗
๑๐.๐๐-๑๒.๐๐ น. ฝึกปฏิบัติการตัดแต่งขอบ
๑๓.๐๐-๑๕.๐๐ น. เสร็จสิ้น การซับในชิ้นงาน
๑๕.๑๕-๑๗.๑๕ น. เยี่ยมชมสถาบัน National Research Institute for Cultural Properties, Tokyo
วันที่ ๓๐-๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๗ (วันหยุดเสาร์- อาทิตย์)
๑ กันยายน ๒๕๕๗
๐๘.๔๕–๑๗.๐๐ น. เยี่ยมชม Hasegawa Washi Kobo (Traditional paper making studio), Mino - Kyoto
๒ กันยายน ๒๕๕๗
๐๘.๔๕–๑๒.๐๐ น. เยี่ยมชม Kami no Ondo (Paper shop)
๑๓.๐๐-๑๗.๐๐ น. เยี่ยมชม Nagoya Castle.
๓ กันยายน ๒๕๕๗
๐๘.๔๕–๑๒.๐๐ น. เยี่ยมชม Mino museum – The old Imai family residence
๑๓.๐๐-๑๗.๐๐ น. เยี่ยมชม MINO-WASHI Museum
๔ กันยายน ๒๕๕๗
๐๘.๔๕–๑๒.๐๐ น. เยี่ยมชม Hokobo (material of Japanese paintings shop)
๑๓.๑๐–๑๔.๒๕ น. เยี่ยมชม Kanetaka hamono shinise (Knife shop)
๑๕.๑๐-๑๗.๐๐ น. เยี่ยมชม Mizokawa Shoten (material and tool shop)
๕ กันยายน ๒๕๕๗
๙.๐๐-๑๑.๐๐ น. เยี่ยมชม Oka Bokkodo Ltd. (restoration studio)
๑๓.๐๐ น. เดินทางกลับเกียวโต
๖-๗ กันยายน ๒๕๕๗ วันหยุดเสาร์อาทิตย์
๘ กันยายน ๒๕๕๗
๑๐.๐๐-๑๒.๐๐ น. ฝึกปฏิบัติการเชื่อมปะติดกันในแนวระยะขอบกระดาษ
๑๓.๐๐-๑๕.๐๐ น. ฝึกปฏิบัติการทำปลายม้วนกระดาษ
๑๕.๑๕-๑๗.๑๕ น. ฝึกปฎิบัติการเตรียมไม้สำหรับการม้วนภาพ
๙ กันยายน ๒๕๕๗
๑๐.๐๐-๑๒.๐๐ น. ฟังบรรยาย เรื่อง Sutra Transcription and Diacritics โดย Keigo UTSUNOMIYA
๑๓.๐๐-๑๕.๐๐ น. ฝึกปฏิบัติ Cutting the honshi
๑๕.๑๕-๑๗.๑๕ น. ฝึกปฏิบัติ Attaching the Jiku (roller rod with knobs)
๑๐ กันยายน ๒๕๕๗
๑๐.๐๐-๑๒.๐๐ น. ฝึกปฏิบัติ Attaching the wrapping cord to the cover
๑๓.๐๐-๑๕.๐๐ น. เสร็จสิ้นการฝึกปฏิบัติ
๑๕.๑๕-๑๗.๑๕ น. เรียนการห่อจัดเก็บไว้ในกล่อง
๑๑ กันยายน ๒๕๕๗
๑๐.๐๐-๑๒.๐๐ น. ฟังบรรยาย เรื่อง Brushes โดย Shigemi TANAKA, Kohei TANAKA
๑๓.๐๐-๑๗.๑๕ น. ดูการสาธิตวิธี Byo (folding screen) และ Kakejiku (hanging scroll)
๑๒ กันยายน ๒๕๕๗
๑๐.๐๐-๑๒.๐๐ น. Discussion/Questionnaire
๑๓.๐๐ น. - พิธีปิด
๑๓ กันยายน ๒๕๕๗ เดินทางกลับประเทศไทย จากสนามบิน Haneda Tokyo เวลา 10.50 น. ถึง สนามบินสุวรรณภูมิ เวลา 15.25 น.
ค่าใช้จ่าย ผู้จัดอบรม (NRICPT และ ICCROM) เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆในระหว่างการฝึกอบรม
สรุปผลการอบรม การอบรมในครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อนักอนุรักษ์ และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านศิลปะบนกระดาษ
หนังสือ เอกสารโบราณ และเอกสารสำคัญ ทั้งในพิพิธภัณฑ์ หอสมุดแห่งชาติ และหอจดหมายเหตุ
จากประเทศต่างๆทั่วโลกเป็นอย่างมากเช่น
๑. ทำให้รู้ และเข้าใจในแนวทางการอนุรักษ์ศิลปบนกระดาษ ของญี่ปุ่น
๒. ทักษะด้านวิธีการอนุรักษ์ศิลปะบนกระดาษของญี่ปุน
๓. ทำให้รู้และเข้าใจ เกี่ยวกับการใช้ วัสดุอุปกรณ์ อย่างเหมาะสม
๔. เรียนรู้การทำกระดาษสาของญี่ปุ่น
๕. ทักษะ และเรียนรู้หลักการหยิบยก เคลื่อนย้าย จัดเก็บศิลปวัตถุ โบราณวัตถุประเภทกระดาษ
๖. เรียนรู้การจัดแสดงของ Japanese scroll และ Japanese painting
๗. ทำให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ทั้งวิทยากร และ ผู้เข้าร่วมอบรมนานาชาติ เกี่ยวกับการอนุรักษ์กระดาษของแต่ละประเทศ ๘. ทำให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาการอนุรักษ์โบราณศิลปวัตถุประเภทกระดาษ ของนักอนุรักษ์นานาประเทศ ๙. ทำให้บุคลากร ในแต่ละประเทศที่เข้าร่วมอบรม เก็บเกี่ยวประสบการณ์ และความรู้ในการอบรมครั้งนี้ มาปรับใช้และปรังปรุงพัฒนา กับงานในหน้าที่และส่วนที่รับผิดชอบของแต่ละประเทศ
ข้อเสนอแนะ
๑.หลังจากการอบรมครั้งนี้ สิ่งที่ได้รับคือ ทักษะ แนวทาง และเทคนิคในการอนุรักษ์ศิลปะบนกระดาษ หนังสือ เอกสารโบราณ ตามหลักอนุรักษ์ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการ นำมาปรับใช้ ปรับปรุง และพัฒนา ในงานที่รับผิดชอบ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
๒. ควรมีการจัดอบรมในประเทศไทย โดยขอความร่วมมือกับนักอนุรักษ์กระดาษจากต่างประเทศ เป็นวิทยากร เพื่อให้ความรู้และเป็นประโยชน์ต่อ บุคลากร และผู้ที่ทำงานด้านนี้