ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ
ความรื่นรมย์เวียนมาบรรจบอีกครั้ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ร่วมกับภาคีเครือข่าย ขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมรับฟังดนตรีในพิพิธภัณฑ์ ตลอดจนชวนมาทอดน่องเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ยลพิพิธภัณฑ์ในยามค่ำคืน ฟรี !! ในงาน Music and Night at the Museum ครั้งที่ 2 ในวันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 17.00น. - 21.00น. โดยภายในงานจะได้พบกับกิจกรรมมากมาย ได้แก่
....................................................................................
Music in Museum ณ สนามหญ้าด้านหลังอาคาร
เวลา 17.30น. - 18.30น. การแสดง และบรรเลงดนตรี ขับเคลื่อนและสื่อสาร Soft Power โดยกลุ่มเยาวชน Youth In Charge
เวลา 18.30น. - 19.30น. การบรรเลงแซกโซโฟน โดยหลักสูตรดุริยางคศิลป์ตะวันตก มหาวิทยาลัยราชภัฏ สงขลา
เวลา 19.45น. - 20.30น. Mini Concert โดย Tinn (ติณณ์ นภาลัย) ....................................................................................
Craft & Workshop ณ สนามหญ้าด้านหลังอาคาร
ออกร้านสินค้าสร้างสรรค์จากทุนทางวัฒนธรรม โดยคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สงขลา ตลอดจน งานฝีมือ เครื่องดื่ม และกิจกรรม Workshop โดยเครือข่ายภาคประชาชน
....................................................................................
Museum Tour ประสบการณ์ใหม่ในการชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ที่ครบทั้ง “รูป รส กลิ่น เสียง” เล่าประวัติศาสตร์ ผ่าน Site Specific Dance โดยคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปลุกการแสดงที่หลับใหลในหน้าบันทึกและงานศิลปกรรมให้ออกมาร่ายรำ พร้อมเสิร์ฟสำรับ “เสน่ห์สงขลา” ที่บอกเล่าเรื่องราวชาวสงขลา โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานหาดใหญ่
จำนวน 2 รอบ รอบละ 30 คน (มีค่าใช้จ่าย)
รอบที่ 1 เวลา 17.00น.-18.00น.
รอบที่ 2 เวลา 18.00น.-19.00น.
วิทยากร : ธีรนาฎ มีนุ่น ภัณฑารักษ์ชำนาญการ และ ชนาธิป ไชยานุกิจ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา
ออกแบบการแสดง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์อรวรรณ โภชนาธาร ประธานสาขาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
สอบถามรายละเอียด และสำรองที่นั่ง โทร. 074311728 หรือ ทางกล่องข้อความ
**หมายเหตุ สำรองที่นั่ง ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฏาคม 2566 เวลา 9.00น. เป็นต้นไป
....................................................................................
Night at the Museum ยลพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน พร้อมเพลิดเพลินไปกับมุมบรรเลงดนตรีไทยโดยโรงเรียนมหาวชิราวุธ และดนตรีสากล โดยนักศึกษาหลักสูตรดุริยางคศิลป์ตะวันตก มหาวิทยาลัยราชภัฏ สงขลา ฟรี ตั้งแต่เวลา 19.00น.-21.00น.
....................................................................................
NARIT Public Night ชวนหนุ่มสาวดูดาว เล่าเรื่องราวจากระเบียงพิพิธภัณฑ์ ส่องดวงจันทร์ขึ้น 4 ค่ำ และกลุ่มดาวสิงโตที่อวดโฉมบนฟากฟ้าทิศตะวันตก โดยหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา ตั้งแต่เวลา 19.00น.-21.00น.
....................................................................................
** หมายเหตุ ลงทะเบียนเข้างาน โดยสแกน QR Code หรือ กดลิ้งนี้ https://docs.google.com/forms/d/1c54NiQcReGGXoObZTiHGvRFvMWDmtwAusx8-rlB4RWA/viewform?fbclid=IwAR0UklIYu1FPziZpwo3sTI7F35dwOnfimH3BqHy08tsZHYTSTY7EzWCti1I&edit_requested=true
หนังสือ : ธี่หยด...แว่วเสียงครวญคลั่ง
ผู้เขียน : กฤตานนท์
เรื่องย่อ : ไม่เคยมีที่ไหนเอากระทู้ดังจากพันทิพมาทำเป็นนิยายแบบนี้มาก่อน และเชื่อได้ว่าเป็นเรื่องจริงที่ผู้เขียนได้รับการถ่ายทอดจากคนที่ได้พบประสบการณ์นี้โดยตรง ท่ามกลางความหนาวและลมพัดหวีดหวิว แว่วเสียงครวญ “ธี่หยด...ธี่หยด...” โหยหวนชวนเขย่าขวัญ ลือกันว่าภัยร้ายกำลังจะคืบคลานเข้ามายังหมู่บ้านเล็กๆ ห่างไกลความเจริญแห่งนี้ แต่ใครเล่าจะรู้ว่ามันได้เริ่มขึ้นแล้ว...และมันไม่ใช่แค่ภัยร้ายธรรมดา ลางร้ายทั้งหลายบ่งชี้ว่า “สิ่งลี้ลับ” นั้นกำลังคุกคามครอบครัวหนึ่ง และประสบการณ์หลอนประสาทนี้คงไม่มีทางเลือนหายไปจากความทรงจำพวกเขาแน่นอน หยาด และครอบครัวอาศัยอยู่แถบชนบท บ้านของเธอทำไร่ทำสวน แต่ฐานะของพ่อเธอถือว่าดีกว่าชาวบ้านละแวกนั้นอยู่โข ช่วงหน้าหนาวน้องสาวของเธอคนหนึ่งที่ชื่อ แย้ม เกิดป่วย ประจวบเหมาะกับที่ช่วงนี้มีข่าวลือเกี่ยวกับภัยร้ายต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งลี้ลับทั้งหลาย นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของหายนะ หยาดได้รู้ได้เห็นเหตุการณ์ต่างๆ ที่คล้ายกับเป็นลางบอกเหตุบางอย่าง แต่เพราะยังเด็กเลยไม่ได้คิดอะไรมาก จนกระทั่งแย้มล้มป่วยหนักกว่าเดิม เธอจึงเริ่มปะติดปะต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่ได้พบเจอมา ทั้งเพื่อนร่วมชั้นที่เสียชีวิตอย่างผิดธรรมชาติ ทั้งการได้เจอหญิงสาวแปลกหน้าตรงศาลร้างระหว่างทางเดินกลับบ้าน ทั้งการได้ยินเสียงแปลกๆ ในตอนกลางคืน และการได้เจอกับ ยายช่วย หญิงชราผู้โดดเดี่ยวที่อาศัยอยู่คนเดียวท่ามกลางป่าเขา นอกจากนี้อาการของแย้มยังดูแปลกๆ บางครั้งดูเหมือนไม่ใช่แย้มผู้อ่อนโยนคนเดิม จนกระทั่งอาการของแย้มดูท่าจะไม่ไหว จ่ามหันต์ และลุงพุฒิ ผู้ได้ชื่อว่ามีวิชาอาคมก็เข้ามาช่วย แต่สายเกินไปเสียแล้ว ในเมื่อเจ้าสิ่งลี้ลับที่อาจจะเป็น “ปอบ” ตบะแก่กล้านี้ ได้กัดกินภายในตัวแย้มและครอบงำเธอเสียสิ้น แม้พี่ชายของหยาดทั้งสามคนจะช่วยกันตัดกอไผ่หลังบ้าน อันเป็นที่ซุกซ่อน “ของ” ของปอบตนนั้น และจัดการเผาให้เหี้ยนแล้วก็ตาม
พิกัด : ห้องบริการ 1 หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สตูล เทศบาลเมืองสตูล และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานจังหวัดสตูล ขอเชิญร่วมงานท่องเที่ยวโบราณสถานยามค่ำคืน ณ คฤหาสน์กูเด็น Kuden Night @ The Museum พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สตูล ในวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ เวลา 16.00 - 20.00 น. ตั้งแต่วันที่ 8 - 31 ธันวาคม 2566 โดยจะมีพิธีเปิดในวันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม 2566 กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย
- ชมนิทรรศการภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สตูล
- ฟังดนตรีจากวงกัวลาบารา
- ชมชุดการแสดงศิลปวัฒนธรรมพิธีเปิดงาน ชุดโนรีดัดตน จากโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองสตูล
- ชมชุดการแสดงศิลปวัฒนธรรมพิธีเปิดงาน ปักษ์ใต้บ้านเรา จากโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านศาลากันตง)
- ชมชุดการแสดงลิเกฮูลู จากโรงเรียนพัฒนาการศึกษามูลนิธิ
- ชมนิทรรศการ - จำหน่ายกาแฟโบราณ โกปี้ จังหวัดสตูล
- ชมการบรรเลงเพลงไทยภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สตูล จากโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดชนาธิปเฉลิม)
- ชมสินค้าตลาดกูเด็นไนท์มิวเซียม มีการเปิดจำหน่ายสินค้า ทุกวันศุกร์ เริ่มวันที่ 8 ธันวาคม 2566 เป็นต้นไป เวลา 15.00 - 21.00 น.
สอบถามเพิ่มเติมที่สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สตูล โทร 0 7472 3140
นิทรรศการหมุนเวียน
"Object of the Month" วัตถุจากคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี
ประจำเดือน "มิถุนายน" ระหว่าง
วันที่ ๑ - ๓๐ มิ.ย. ๒๕๖๖ เชิญพบกับ
"พระพุทธรูปปางมารวิชัย" ปางสัมผัสแผ่นดิน
องค์ความรู้สุพรรณบุรี เรื่อง ไวพจน์ เพชรสุพรรณ
ผู้เรียบเรียง :
นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : แหล่งน้ำในพะเยา -- เมื่อต้นปี พ.ศ. 2536 เกษตรจังหวัดพะเยาดำเนินการสำรวจแหล่งน้ำในแต่ละอำเภอ เพื่อป้องกันสถานการณ์ภัยแล้งที่มีแนวโน้มรุนแรงกว่าทุกปีที่ผ่านมา ซึ่งการสำรวจครั้งนี้ทำให้ทราบว่า จังหวัดพะเยาเมื่อ 31 ปีก่อนมีแหล่งน้ำอะไรบ้าง ตั้งอยู่พื้นที่ไหน และหน่วยงานใดจัดสร้างขึ้น. จากเอกสารจดหมายเหตุของสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา เรื่อง " การสำรวจแหล่งน้ำ " วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 ให้รายละเอียดในแบบฟอร์มการสำรวจดังสรุปได้ว่า 1. สำรวจแหล่งน้ำทั้งหมด 7 อำเภอ โดยบางส่วนเป็นแหล่งน้ำที่สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท และกรมชลประทานสร้างขึ้น 2. อำเภอเมืองพะเยามีแหล่งน้ำ 6 แห่ง คือ กว๊านพะเยา ลำน้ำอิง อ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำตามพระราชดำริ อ่างเก็บน้ำแม่ต๋อม อ่างเก็บน้ำแม่นาเรือ และอ่างเก็บน้ำห้วยลึก 3. อำเภอแม่ใจมีแหล่งน้ำ 2 แห่ง ได้แก่ หนองเล็งทรายกับอ่างเก็บน้ำแม่ปืม 4. อำเภอดอกคำใต้มีแหล่งน้ำ 3 แห่ง ตั้งแต่เขื่อนห้วยแม่ผง อ่างเก็บน้ำร่องลึก และสระเก็บน้ำบ้านสันทราย 5. อำเภอจุนมีแหล่งน้ำ 3 แห่ง ทั้งอ่างเก็บน้ำจุน อ่างเก็บน้ำห้วยข้าวก่ำ และอ่างเก็บน้ำห้วยเคียน 6. อำเภอปงมีแหล่งน้ำ 3 แห่ง คือ แม่น้ำยม อ่างเก็บน้ำห้วยแพะ และอ่างเก็บน้ำแม่กำลัง 7. อำเภอเชียงคำมีแหล่งน้ำ 3 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยไฟ อ่างเก็บน้ำห้วยบง และอ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ 8. อำเภอเชียงม่วนมีแหล่งน้ำ 2 แห่ง อย่างอ่างเก็บน้ำห้วยจรกับอ่างเก็บน้ำห้วยสระ. การสำรวจแหล่งน้ำนี้ ยังระบุชื่อบ้าน ตำบลที่ตั้งของแหล่งน้ำไว้ครบถ้วน เพียงแต่ไม่ได้แสดงรายละเอียดของความจุปริมาตรน้ำที่เก็บกักได้เต็มที่เท่าไหร่ หรือแต่ละแห่งสามารถบรรเทาสถานการณ์ภัยแล้งได้นานแค่ไหน. หากอย่างไรก็ดี การสำรวจแหล่งน้ำมีความน่าสนใจ นำไปต่อยอดงานสาธารณประโยชน์ของหน่วยงานอื่นๆ ง่ายขึ้น เช่น ประมงจังหวัดใช้วางแผนปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ การประปานำมาคำนวณปริมาณของน้ำดิบก่อนเข้ากระบวนการ และงานฝนหลวงจะทราบพื้นที่ แหล่ง หน้าหรือท้ายอ่างเก็บน้ำบริเวณใดเหมาะแก่การเพิ่มฝนเพื่อบรรเทาความแห้งแล้ง เป็นต้น. ดังนั้น เอกสารการสำรวจแหล่งน้ำจึงเป็นข้อมูลปฐมภูมิของการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เพราะอย่างน้อยเมื่อภัยธรรมชาติเกิดขึ้น การรับมือก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป..ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา).เอกสารอ้างอิง: หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา พย 1.13.1/24 เรื่อง การสำรวจแหล่งน้ำที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในฤดูแล้งปี 2536 [ 26 ม.ค. - 3 ก.พ. 2536 ].#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
สำนักการสังคีต ขอเชิญชมการแสดงโขน ประกอบแสง สี เรื่องรามเกียรติ์ ชุด พาลีสอนน้อง ในโครงการการแสดงนาฏศิลป์และดนตรีสัญจร วันอังคารที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๙.๐๐ น. ณ ปราสาทเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น นำแสดงโดย ศิลปินสำนักการสังคีตกำกับการแสดงโดย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ อำนวยการแสดงโดย ลสิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต ชมฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม (วันและเวลาราชการ) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๔๒ และ ๐ ๒๒๒๑ ๐๑๗๑
วันเสาร์ ที่ 25 พฤศจิกายน 2566 หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ จัดกิจกรรม Happy Library พี่ๆบรรณารักษ์ร่วมกันแต่งชุดไทย พร้อมสอนน้องๆ ทำกระทงจากวัสดุธรรมชาติ และขนมปังอบ สานต่อวัฒนธรรมที่ดีงามของไทย
ชื่อเรื่อง อุณฺหิสวิชย (อุณณหิสสวิไช)สพ.บ. 452/1ก หมวดหมู่ พุทธศาสนาหัวเรื่อง พุทธศาสนา--บทสวดมนต์ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 30 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 35.5 ซม.บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ขอเชิญชม Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “ศาลาไทยในต่างแดนที่ดำเนินการโดยกรมศิลปากร”
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “ศาลาไทยในต่างแดนที่ดำเนินการโดยกรมศิลปากร” วิทยากร นายอลงกรณ์ กาญจนะคูหะ ผู้อำนวยการกลุ่มสถาปัตยกรรม สำนักสถาปัตยกรรม และนายอาทิตย์ ลิ่มมั่น สถาปนิกชำนาญการ สำนักสถาปัตยกรรม ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (facebook live) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๑.๐๐ น. ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๖ - กันยายน ๒๕๖๗
ผู้เขียน: หอจดหมายเหตุเเห่งชาติ จันทบุรี
คำอธิบาย: สาระสังเขปเอกสารจดหมายเหตุชุดมณฑลจันทบุรีที่ให้บริการในหอจดหมายเหตุเเห่ง ชาติ จันทบุรี เป็นเนื้อเรื่องย่อในเเต่ละเเฟ้มเอกสาร ที่ให้บริการ เป็นคู่มือสืบค้นที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อหาในเเต่ละเเฟ้มเอกสาร
ครั้งที่พิมพ์ : 1, มกราคม 2555