ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ

ชื่อเรื่อง                     การอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานวัดชมภูเวก อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรีผู้แต่ง                       อรุณศักดิ์ กิ่งมณีประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                 978-974-417-850-3หมวดหมู่                   ศาสนา เลขหมู่                      294.3135 อ417กสถานที่พิมพ์               กรุงเทพฯสำนักพิมพ์                 กรมศิลปากรปีที่พิมพ์                    2550ลักษณะวัสดุ               202 หน้า : ภาพประกอบ ; 29 ซม.หัวเรื่อง                     วัดชมภูเวก                               นนทบุรี – โบราณสถาน – การบำรุงรักษาและการซ่อมแซมภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก            รวบรวมและประมวลองค์ความรู้เกี่ยวกับวัดชมพูเวกทั้งในด้านสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ศิลปกรรม ตลอดจนวิธีการดำเนินการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานภายในวัดชมภูเวก พ.ศ. ๒๕๔๙ – ๒๕๕๐


ชื่อเรื่อง                                ศัพท์โพธิสัตว์ (สับโพธิสัด) สพ.บ.                                  260/2ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           38หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           ชาดก                                           เทศน์มหาชาติ                                           คาถาพัน บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดทุ่งอุทุมพร ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี



เสด็จพระราชดำเนินทรงงานในพื้นที่ภาคเหนือ : ตอนที่ ๓ แม่ฮ่องสอนตลอดระยะเวลา ๗๐ ปี ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติ พระองค์เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อรับทราบปัญหาและทรงหาแนวทางการแก้ไขปัญหาของประเทศชาติและประชาชน ทรงอุทิศพระวรกายบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการในการพัฒนาประเทศเพื่อความผาสุก ความเจริญรุ่งเรือง และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของพสกนิกรชาวไทย๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๔ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในโอกาสนี้ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญพระบรมฉายาลักษณ์พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่เสด็จพระราชดำเนินทรงงานในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดไม่ได้ ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช


ชื่อเรื่อง                                สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (วิภังค์-มหาปัฏฐาน) สพ.บ.                                  307/2กประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           26 หน้า กว้าง 4.8 ซม. ยาว 54.6 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


วินยธรสิกฺขาปทวินิจฺฉย (วินยสิกฺขาปทวินิจฺเฉยฺย)  ชบ.บ.96/1-9  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.310/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 48 หน้า ; 4 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 125  (302-305) ผูก 4 (2565)หัวเรื่อง : เทวทูตสุตฺต(เทวทูตสูตร)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม




ชื่อผู้แต่ง          จำนงค์ ทองประเสริฐ ชื่อเรื่อง           ปรัชญาตะวันตก : สมัยโบราณ ครั้งที่พิมพ์        พิมพ์ครั้งที่ ๓ สถานที่พิมพ์      พระนคร สำนักพิมพ์        แพร่พิทยา ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๔ จำนวนหน้า      ๗๓๐  หน้า              หนังสือ ปรัชญาตะวันตก : สมัยโบราณ เล่มนี้ กล่าวถึงวิชาปรัชญาเริ่มตั้งแต่สมัยก่อนโสคราเตส ยุคของโสคราเตสเป็นต้นมา มีจุดมุ่งหมายที่จะให้นักศึกษาได้ทราบถึงแนวทฤษฎีของความคิดในปัญหาต่างๆ ที่จะวิเคราะห์ด้วยวิธีการของปรัชญา เนื่องจากวิชาปรัชญาเป็นวิชาที่สอนให้คนเรามีเหตุผล ใจกว้าง พร้อมที่ จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและพร้อมนำเอาความคิดเห็นต่าง ๆ เหล่านั้นมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน ได้ตามความเหมาะสม  


พระแสงราชศัสตราประจำเมือง พระแสงราชศัสตรา เป็นสัญลักษณ์แทนพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หากพระมหากษัตริย์พระราชทานพระแสงราชศัสตราแก่ผู้ใดหมายความว่าพระองค์มีพระประสงค์ให้ผู้นั้นมีอำนาจเด็ดขาดในการปฏิบัติราชกิจแทนพระองค์ในวาระสำคัญต่าง ๆ เปรียบเสมือนเป็นผู้แทนพระองค์ในการใช้อำนาจราชสิทธิ์ มีความชอบธรรมในฐานะผู้มีอำนาจเต็ม สามารถออกคำสั่งได้เด็ดขาดทุกเรื่อง ไม่เว้นแม้แต่เรื่องการตัดสินพิพากษาลงโทษด้วยการสั่งประหารชีวิตได้ โดยไม่ต้องกราบบังคมทูลให้ทราบก่อน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างพระแสงราชศัสตราสำหรับพระราชทานไว้ประจำหัวเมือง เพื่อเป็นที่ระลึกในคราวเสด็จพระราชดำเนินถึงและประทับค้างแรม ณ เมืองนั้น ๆ โดยมีพระราชประสงค์หลักที่จะให้พระแสงราชศัสตราเป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์และใช้สำหรับแทงน้ำในการพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาในหัวเมือง และมีพระราชกำหนดว่าเมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จไปประทับในจังหวัดใด ให้ถวายพระแสงราชศัสตรามาไว้ประจำพระองค์ตลอดเวลาที่เสด็จประทับอยู่ในจังหวัดนั้น การพระราชทานพระแสงราชศัสตราดังกล่าวจึงไม่ได้หมายถึงการให้อำนาจเฉพาะบุคคลเหมือนในกาลก่อน ธรรมเนียมการพระราชทานพระแสงราชศัสตราประจำเมืองได้สืบทอดมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีการพระราชทานพระแสงราชศัสตราประจำหัวเมืองต่าง ๆ รวม ๓๒ องค์ ได้แก่ ๑. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทาน จำนวน ๑๓ องค์ แก่หัวเมืองต่าง ๆ ได้แก่ มณฑลกรุงเก่า เมืองอ่างทอง เมืองสิงห์บุรี เมืองชัยนาท เมืองอุทัยธานี มณฑลนครสวรรค์ เมืองพิจิตร มณฑลพิษณุโลก เมืองพิชัย เมืองกำแพงเพชร เมืองตราด มณฑลจันทบุรี และมณฑลปราจีน๒. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทาน จำนวน ๑๓ องค์ แก่หัวเมืองต่าง ๆ ได้แก่ เมืองนราธิวาส เมืองสายบุรี มณฑลปัตตานี มณฑลนครศรีธรรมราช เมืองตรัง เมืองนครศรีธรรมราช มณฑลชุมพร มณฑลราชบุรี เมืองเพชรบุรี เมืองประจวบคีรีขันธ์ เมืองระนอง มณฑลภูเก็ต และมณฑลนครชัยศรี๓. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทาน จำนวน ๖ องค์ แก่หัวเมืองต่าง ๆ ได้แก่ เมืองแพร่ เมืองลำปาง เมืองเชียงราย เมืองเชียงใหม่ เมืองลำพูน และเมืองพังงาพระแสงราชศัสตราดังกล่าวเก็บรักษาไว้ประจำเมืองที่ได้รับพระราชทาน ยกเว้นพระแสงราชศัสตราประจำเมืองพิชัยและเมืองสายบุรี เก็บรักษาไว้ที่สำนักพระราชวัง เนื่องจากเมืองถูกยุบเป็นอำเภอในจังหวัดอุตรดิตถ์และปัตตานี ตามลำดับ ปัจจุบัน แม้ว่าไม่มีการพระราชทานพระแสงราชศัสตราประจำเมืองต่าง ๆ เพิ่มอีก แต่ยังคงมีการสืบทอดธรรมเนียมโบราณราชประเพณีของการถวายพระแสงราชศัสตราแก่พระมหากษัตริย์อยู่ โดยจังหวัดใดที่เคยได้รับพระราชทานพระแสงราชศัสตราประจำเมือง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอัญเชิญพระแสงราชศัสตราประจำเมืองทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายคืนไว้ประจำพระองค์ ในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานหรือประกอบพระราชพิธีสำคัญ ณ จังหวัดนั้น ๆ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับจึงพระราชทานคืนไว้แก่จังหวัดนั้นดังเดิม โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แทนในการรับพระราชทานคืนตามธรรมเนียมเดิมผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่๑. กรมศิลปากร. ๒๕๓๙. พระแสงราชศัสตราประจำเมือง. กรุงเทพฯ: เกรท โปร กราฟฟิค.๒. สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ และ สถาบันพระปกเกล้า. ๒๕๕๘. จดหมายเหตุเสด็จพระราชดำเนิรเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ พระพุทธศักราช ๒๔๖๙. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.๓. สถาบันดำรงราชานุภาพ. ๒๕๕๐. โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง “การเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของผู้ว่าราชการจังหวัด”. ม.ป.ท.๔. ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์. ม.ป.ป. “สิ่งศักดิ์สิทธิ์อันเป็นมงคลยิ่งประจำเมือง.” สกุลไทย (Online). http://www.sakulthai.com/magazine/reader/14871, สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๕.


นานา...น่ารู้จากเอกสารจดหมายเหตุ เรื่อง พิธีพระราชทานเพลิงศพ นายไวพจน์ สกุลนี (ไวพจน์ เพชรสุพรรณ) ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (นักร้องเพลงลูกทุ่ง) พุทธศักราช 2540


วันที่ 6 – 11 กรกฎาคม 2565 National Museum of China จัดงาน Treasure Hunt Relay: Global Museum Director’s Choice ภายใต้แนวคิด “Hand in Hand: Share the Splendor of World Civilizations” บนแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้บริหารพิพิธภัณฑ์จีนและพิพิธภัณฑ์ทั่วโลกจาก 5 ทวีป จำนวน 24 คน ติดตามรับชมการนำเสนอผลงานหัวข้อ “Museum in Facilitating Dialogue of Civilizations” จาก นางสาวนิตยา     กนกมงคล ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ได้ในวันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม 2565 เวลา 14.00 น. ผ่านทางเว็บไซต์ https://www.chnmuseum.cn/portals/0/web/zt/gmdc2022/indexen.html หรือสแกน QR code


          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติปราจีนบุรี เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำภูมิภาคตะวันออกของไทย ได้ปรับปรุงการจัดแสดงนิทรรศการด้วยระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย ปรับปรุงภูมิทัศน์ และสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับผู้พิการและผู้สูงอายุ ตามแผนพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติของกรมศิลปากร ขณะนี้เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบแล้ว            ส่วนการจัดแสดงนิทรรศการใหม่ นำเสนอเรื่องราวประวัติศาสตร์และโบราณคดีภาคตะวันออก ที่สมบูรณ์ที่สุด มีโบราณวัตถุชิ้นสำคัญจัดแสดงกว่า ๒๐๐ ชิ้น แบ่งส่วนจัดแสดงเป็น ๕ ห้อง ได้แก่ ๑. ห้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์และโบราณคดีในภาคตะวันออก ๒. ห้องชุมชนโบราณในภาคตะวันออก ๓. ห้องพัฒนาการของชุมชนและเมืองโบราณ ๔. ห้องวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำบางปะกง และ ๕. ห้องเมืองศรีมโหสถ นครรัฐแรกเริ่มแห่งลุ่มน้ำบางปะกง จัดแสดงพระคเณศ พระวิษณุจตุรภุช พระพุทธรูปปางสมาธิ รวมถึงเครื่องสำริดประกอบพิธีกรรมที่มีจารึกภาษาเขมร กล่าวถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗            ขอเชิญชวนผู้สนใจเรียนรู้ประวัติศาสตร์อารยธรรมในภูมิภาคตะวันออกของไทย ชมโฉมใหม่ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี เปิดทุกวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดชดเชย สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๓๗๒๑ ๑๕๘๖


      พระพิมพ์พระพุทธรูปปางมารวิชัยในซุ้มปราสาท (พระสิบสอง)       ศิลปะหริภุญไชย พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๙ (๗๐๐ – ๙๐๐ ปีมาแล้ว)       พบที่กู่แดง เดิมเป็นวัดร้าง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน พระภิกษุบุญทึม พรหมเสโน วัดจามเทวี อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน มอบให้เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๖        ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องล้านนา อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร        พระพิมพ์กรอบสามเหลี่ยม กึ่งกลางเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องอาภรณ์อย่างกษัตริย์ ประทับขัดสมาธิเพชรบนฐานบัว แสดงปางมารวิชัย ขนาบข้างด้วยพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิเพชรบนฐานบัว พระเศียรแสดงประภามณฑล มีรูปบุคคลนั่งอยู่ด้านข้าง ทั้งหมดนี้ประดิษฐานอยู่บนฐานปัทม์ยกเก็จภายใต้ปราสาท ส่วนเรือนชั้นซ้อนแต่ละชั้นประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับขัดสมาธิเพชร ด้านบนสุดประดับยอดดอกบัวตูม กรอบซุ้มของพระประธานมีลักษณะหยักโค้งประดับใบระกา ส่วนปลายซุ้มทำเป็นเศียรนาค ด้านข้างปราสาทประดับก้านดอกบัวทั้งสองข้างรองรับพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร       จากรูปแบบดังกล่าวที่ปรากฏพระพุทธรูปและรูปบุคคลรวมจำนวน ๑๒ คน จึงมีคำเรียกพระพิมพ์รูปแบบนี้ว่า “พระสิบสอง” และพบแพร่หลายทั้งในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางของประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดลำพูนและเชียงใหม่ ส่วนมากจะเป็นพระพิมพ์ดินเผา บางแห่งเช่นที่ทุ่งกู่ล้าน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน พบแม่พิมพ์พระพิมพ์พระพุทธรูปปางมารวิชัยในซุ้มปราสาท (พระสิบสอง) อีกด้วย นอกจากนี้ยังพบพระพิมพ์พระพุทธรูปปางมารวิชัยในซุ้มปราสาท (พระสิบสอง) แบบเนื้อชินที่วัดพระพายหลวง จังหวัดสุโขทัย ซึ่งเป็นตัวอย่างพระพิมพ์เนื้อชินที่พบเป็นจำนวนน้อย      อ้างอิง กรมศิลปากร. พระพิมพ์ : พระเครื่องเมืองไทย. นครปฐม: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๖๔.


Messenger