ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา กรมศิลปากร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานพระนครศรีอยุธยา และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนกำหนดจัดงาน “ยอยศยิ่งฟ้า อยุธยามรดกโลก ประจำปี 2558..ระหว่างวันที่ 18-27 ธันวาคม 2558 (รวม 10 วัน) ณ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองที่คณะกรรมการมรดกโลกแห่งองค์การสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศขึ้นทะเบียนอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ตั้งแต่ปี 2534
ชมการแสดง แสง สี เสียง ในชื่อชุด “ยอยศอโยธยา สถิตฟ้าก้องปฐพี” จัดขึ้นบริเวณวัดมหาธาตุ สามารถจองบัตรเข้าชมล่วงหน้าได้ที่ เสมียนตราจังหวัด โทร. 0-3533-6563
กิจกรรม “เครื่องทองอยุธยามรดกโลก มรดกของแผ่นดิน” (จัดตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2558 – 9 ธันวาคม 2559) ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ตั้งแต่เวลา 09.00 น. – 16.00 น. เปิดให้เข้าชมทุกวัน
กิจกรรมเปิดประตูสู่อยุธยา จัดขึ้นบริเวณศูนย์ท่องเที่ยวอยุธยา (อาคารศาลากลางหลังเก่า)
การออกร้านกาชาด ให้ทุกท่านได้ร่วมลุ้นของรางวัลจากกาชาดจังหวัดทุกคืน ซึ่งอยู่บริเวณสนาม วัดพระราม (ด้านหลังพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา)
กิจกรรมเวทีกลาง ประกอบไปด้วยการแสดงพื้นบ้าน การประกวดร้องเพลง ฯลฯ จัดขึ้นบริเวณสนามวัดพระราม (ด้านหลังพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา)
ถนนกินเส้น รวบรวมอาหารที่มีเส้นเป็นส่วนประกอบ คัดเลือกมาจากร้านอาหารชื่อดังของทุกอำเภอในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ลานวัฒนธรรม นำเสนอศิลปะพื้นบ้านต่างๆของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กิจกรรมสักการะศาลหลักเมืองพระนครศรีอยุธยา
การออกบูธของพาณิชย์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
นิทรรศการผู้สนับสนุนการจัดงาน ยอยศยิ่งฟ้า อยุธยามรดกโลกประจำปี 2558
กิจกรรมจัดแสดง และจำหน่ายสินค้าภูมิปัญญาชาวบ้าน “ผลิตภัณฑ์ชุมชน”
มหกรรมคาราวานสินค้าทั่วไป พบกับคาราวานร้านค้ากว่า 200 ร้านค้าซึ่งทุกๆท่านจะได้เลือกซื้อ ของกิน ของใช้ ฯลฯ ได้อย่างจุใจ จัดขึ้นบริเวณถนนป่าโทน (หน้าโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย)..และภายในสวนสาธารณะบึงพระราม
สถานีรถไฟเล็ก ซึ่งจัดไว้บริการให้กับทุกๆท่าน รอบอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา --------------------------------------------------------------------------------------------------------
กิจกรรมการแสดงทางวัฒนธรรมและตลาดย้อนยุค
“ วิถีไทย วิถีอโยธยา “
ในงานยอยศยิ่งฟ้า อยุธยามรดกโลก ประจำปี 2558
วัน : 18 – 27 ธันวาคม 2558
เวลา : 16.00 – 21.00 น.
สถานที่ : อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา (วัดหลังคาขาว) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กิจกรรม :
ตลาดย้อนยุค จำลองตลาดชาวบ้านสมัยกรุงศรีอยุธยา ทั้งการแต่งกาย อาหารหวานคาว ที่คัดสรรของอร่อยในจังหวัดฯ มานำเสนอ อาทิ ก๋วยจั๊บ ผัดไทย ข้าวแกง ก๋วยเตี๋ยว ขนมเบื้องไทย เป็นต้น โดยซื้อขายผ่าน “เบี้ย” (จำลอง)
การแสดงบนเวที แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่
ช่วงแรกเวลา 17.00 – 17.30 น. พบกับ การแสดงพื้นบ้านหลากหลาย อาทิ เพลงฉ่อย เพลงเรือ ลำตัด เพลงทรงเครื่อง การแสดงสี่ภาค เป็นต้น
ช่วงที่สองเวลา 17.30 – 19.00 น. พบกับ การแสดง “ละครนอก” พบกับเรื่องราวละครพื้นบ้านที่เป็นที่รู้จักกันอย่างดี อันได้แก่
วันที่ 18 ธันวาคม เรื่อง สังข์ทอง ตอน หนีนางพันธุรัต – รจนาเลือกคู่
วันที่ 19 ธันวาคม เรื่อง สังข์ทอง ตอน หาปลา – มณฑาลงกระท่อม
วันที่ 20 ธันวาคม เรื่อง สุวรรณหงส์ ตอน เสี่ยงว่าว – ชุบฟื้น
วันที่ 21 ธันวาคม เรื่อง สุวรรณหงส์ ตอน ชมถ้ำ – กุมพลถวายม้า
วันที่ 22 ธันวาคม เรื่อง ไกรทอง ตอน พ้อบน
วันที่ 23 ธันวาคม เรื่อง ไกรทอง ตอน พ้อล่าง
วันที่ 24 ธันวาคม เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนแผนล่องทัพ – ขึ้นเรือนขุนช้าง
วันที่ 25 ธันวาคม เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน ละเลงขนมเบื้อง – สร้อยฟ้าทำเสน่ห์
วันที่ 26 ธันวาคม เรื่อง แก้วหน้าม้า ตอน เสี่ยงว่าว – ถวายลูก
วันที่ 27 ธันวาคม เรื่อง แก้วหน้าม้า ตอน ทัศมาลีขี้หึง – ถอดรูป รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถรับชมได้ที่ => http:// www.tiewpakklang.com/news/ayutthaya/20450/
ศาลมณฑลราชบุรี ศาลจังหวัดราชบุรีหรือศาลแขวงราชบุรี ตั้งอยู่ที่ถนนวิชิตสงคราม ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี สร้างขึ้นในร.ศ.๑๒๕ หรือพ.ศ.๒๔๔๙ ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๔๗๖ ได้มีการยกเลิกศาลมณฑลราชบุรี จัดตั้งเป็นศาลจังหวัดราชบุรี อาคารหลังนี้จึงเป็นที่ทำการศาลจังหวัดราชบุรี จนกระทั่งพ.ศ. ๒๕๐๐ มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศาลแขวงขึ้น ๑๗ ศาล ศาลแขวงราชบุรีจัดตั้งขึ้นโดยอาศัย “พระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวนเขตอำนาจและวันเปิดทำการของศาลแขวงในบางจังหวัด พ.ศ.๒๕๐๐ มาตรา ๑๕” ในจังหวัดราชบุรีมีศาลแขวง ๑ ศาล มีเขตอำนาจในอำเภอเมืองราชบุรี และเปิดทำการตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๐๐ เป็นต้นไป ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๕๑๗ ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลแขวง พ.ศ.๒๕๑๗ มาตรา ๑๕ ให้ศาลแขวงราชบุรี ในจังหวัดราชบุรีซึ่งมีเขตอำนาจในอำเภอเมืองราชบุรี มีเขตอำนาจในอำเภอจอมบึง อำเภอดำเนินสะดวก อำเภอบางแพ อำเภอบ้านโป่ง อำเภอปากท่อ อำเภอโพธาราม และอำเภอวัดเพลงด้วย มีผลให้ศาลแขวงราชบุรีมีเขตอำนาจครอบคลุมทั่วทุกอำเภอในเขตปกครองจังหวัดราชบุรี เป็นที่ทำการศาลแขวงราชบุรีจวบจนถึงปัจจุบัน ประวัติของศาลก่อนมีการปฏิรูปในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น แต่ละกรมต่างมีอำนาจทั้งด้านบริหารและตุลาการทำการชำระคดีความที่เกี่ยวข้องกับกิจการที่ตนเป็นผู้บริหาร ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความจำเป็นในการรวบรวมศาลที่อยู่ในกรมกองต่างๆให้เป็นหมวดหมู่สังกัดอยู่ในกระทรวงเดียวกัน จึงประกาศตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น เมื่อปี ๒๔๓๔ (ร.ศ. ๑๑๐) ให้คดีทั้งปวงตามศาลกระทรวงกรมต่างๆ มารวมอยู่ในกระทรวงยุติธรรมที่ตั้งขึ้นใหม่ทั้งหมด หลังจากนั้นได้ขยายวิธีจัดราชการศาลระบบใหม่ออกไปยังหัวเมือง เริ่มด้วยการประกาศใช้ธรรมนูญศาลหัวเมือง ร.ศ.๑๑๔ (พ.ศ.๒๔๓๘) การปกครองหัวเมือง ในขณะนั้นแบ่งออกเป็นมณฑลโดยรวมหัวเมืองหลายๆหัวเมืองเข้าเป็นมณฑล การจัดศาลหัวเมืองจึงจัดให้สอดคล้องกับการปกครองมณฑล มณฑลราชบุรีเป็นมณฑลหนึ่ง ซึ่งมีการจัดตั้งศาลมณฑลราชบุรีขึ้นตามประกาศ ลงวันที่ ๓๐ เมษายน ร.ศ.๑๑๗ โดยโปรดเกล้าฯให้หลวงศรีสัตยารักษ์ กับมิสเตอร์สะเลคเชอร์ ข้าหลวงพิเศษประจำการ ๒ นาย หลวงนรเนตร บัญชากิจ ผู้พิพากษาศาลมณฑลราชบุรี เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) ข้าหลวงเทศาภิบาล และพระยาอมรินทร์ฤาไชย ผู้ว่าราชการเมืองราชบุรี เป็นผู้จัดการศาลมณฑลราชบุรี หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ได้มีการปรับปรุงและจัดระเบียบศาลหลายครั้ง ศาลมณฑลซึ่งทำหน้าที่ศาลอุทธรณ์หัวเมืองจึงยกเลิกไปในพ.ศ.๒๔๗๖ มีการกำหนดให้จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ โดยให้เลิกศาลมณฑลและให้มีฐานะเป็นศาลจังหวัดแทน ต่อมาพ.ศ. ๒๕๐๑ มีการสร้างอาคารศาลจังหวัดราชบุรีขึ้นใหม่ อาคารหลังนี้จึงได้ใช้เป็นที่ทำการศาลแขวงจนกระทั่งถึงปัจจุบัน อาคารศาลแขวงราชบุรี (ศาลจังหวัดราชบุรีเดิม) ตั้งอยู่ในที่ดินราชพัสดุ เป็นอาคารตึก ๒ ชั้นแบบโบราณ รูปทรงสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกรุ่นเก่า การก่อสร้างแล้วเสร็จเปิดทำการได้เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ร.ศ.๑๒๗ ลักษณะอาคารเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ๒ ชั้น โครงสร้างผนังรับน้ำหนัก สถาปัตยกรรมเรเนซองส์ รีไววัลผสมวิคตอเรียน โครงหลังคา บานประตูและหน้าต่างเป็นไม้ หลังคาทรงจั่วมีคอสองยกสูง มุงกระเบื้อง ด้านข้างมีปีกนกคลุม หน้าบันเป็นลวดลายปูนปั้นตราประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และอักษรคำว่า “ศาลรัตนโกสินทร์ศก ๑๒๕” ภายในมีบันไดเวียนขึ้นชั้นบนทั้งสองชั้น มีห้องโถงอยู่ตรงกลางและมีห้องปีกทั้งสองข้าง ลักษณะเด่นของอาคาร คือ หลังคาจั่วมีความชันมากกว่าหน้าจั่วแบบคลาสสิค หน้าต่างเป็นซุ้มโค้ง ประตูทางเข้าชั้นล่างและช่องหน้าต่างด้านหน้าเป็นช่องสี่เหลี่ยม ผนังภายในด้านบนมีแผงประดับเป็นไม้ฉลุลวดลายแบบเรือนขนมปังขิง เมื่อเปรียบเทียบภาพถ่ายอาคารศาลที่ถ่ายไว้ก่อนพ.ศ.๒๔๖๐ กับตัวอาคารปัจจุบันจะเห็นว่าด้านหน้าอาคาร โดยเฉพาะแผงปิดหน้าจั่วมีความแตกต่างกัน สันนิษฐานได้ว่าเป็นเพราะตัวอาคารได้รับความเสียหายหลายส่วนจากแรงระเบิดในสงครามมหาเอเชียบูรพา และตัวอาคารได้ทำการซ่อมใหญ่ถึง ๒ ครั้ง เมื่อปี ๒๔๖๐ และปี ๒๔๙๐ ปัจจุบันศาลแขวงราชบุรีซึ่งตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ใกล้ตลาดสนามหญ้าหลังนี้ ได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๓๙ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๒๐ แล้ว จึงถือเป็นอาคารทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์อีกหลังหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการศึกษา เพื่อที่จะได้เข้าใจประวัติศาสตร์การสร้าง องค์ประกอบและรูปแบบ รวมถึงอิทธิพลต่างๆที่มีต่อการออกแบบอาคารศาลในยุคนั้นรวมทั้งควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้เพื่อบอกเล่าถึงประวัติศาสตร์ของชาติและจังหวัดราชบุรีให้ชนรุ่นหลังได้ทราบต่อไป ภาพ : ศาลแขวงราชบุรีในอดีตภาพ ศาลแขวงราชบุรีในปัจจุบันข้อมูลโดย นางสาวปราจิน เครือจันทร์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี อ้างอิง เธียร เจริญวัฒนา,การจัดการศาลยุติธรรมหัวเมือง,ที่ระลึกในการเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดอาคารศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา,กรุงเทพฯ โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม,๒๕๒๒. เลอสม สถาปิตานนท์.สถานที่ราชการสมัยรัชกาลที่๑ ถึงรัชกาลที่ ๙.กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิจิตร เจริญภักตร์,ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมตะวันตก: คริสเตียนตอนต้นถึงสมัยใหม่.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,๒๕๔๓. วัฒนา ชิตวารี,กระทรวงยุติธรรมและระบบการศาลไทย.มหาวิทยาลัยรามคำแหง,ศาลคดีเด็กและเยาวชน,๒๕๑๖. ประวัติและวิวัฒนาการศาลและกระทรวงยุติธรรม,หนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปีกระทรงยุติธรรม ฉบับภาษาไทย (กรุงเทพฯ:เพอเฟคท์ กราฟฟิค กรุ๊ป),๒๕๓๕.
๗ กันยายน ๒๕๕๘ นางสาวธารทิพย์ ภิรมย์อนุกูล หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี นำคณะเจ้าหน้าที่เข้าร่วมงานเสวนา เรื่อง "การบันทึกเหตุการณ์พระราชพิธี" จัดโดยสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ณ โรงแรมรัตนโกสินทร์ พร้อมทั้งเข้าเยี่ยมชมนิทรรศการในศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ ภายในบริเวณพระบรมมหาราชวัง
***บรรณานุกรม***
หนังสือหายาก
ที่ระลึกครบรอบ 20 ปี วันสถาปนา ร.ส.พ. : 1 กุมภาพันธ์ 2510. พระนคร : โรงพิมพ์ ร.ส.พ., ๒๕๑๐.
๑. ชื่อโครงการ โครงการมหกรรมการแสดงด้านนาฏดุริยางค์และดนตรีแบบบูรณาการ การแสดง
และสาธิตนาฏศิลป์และดนตรีไทย และศึกษาดูงานการบริหารจัดการงานด้านพิพิธภัณฑ์และมรดกศิลปวัฒนธรรม ณ ประเทศญี่ปุ่น
๒. วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมงานมรดกศิลปวัฒนธรรมไปสู่สาธารณชนอย่างกว้างขวาง
๓. กำหนดเวลา ระหว่างวันที่ ๑๘ – ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๗
๔. สถานที่ ๑) เมือง Tsukuba
๒) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงโตเกียว
๓) นิกโก้ เมืองมรดกโลก
๔) พระราชวังอิมพีเรียล
๕) พิพิธภัณฑ์เอโดะ – โตเกียว
๕. หน่วยงานผู้จัด สำนักการสังคีต
๖. หน่วยงานสนับสนุน สำนักบริหารกลาง กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
๗. กิจกรรม
วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๗
เวลา ๐๖.๐๐ น. พร้อมกัน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ
เวลา ๐๗.๓๕ น. คณะผู้ศึกษาดูงานออกเดินทางโดยเครื่องบินสายการบินไทย จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ
เวลา ๑๕.๔๕ น. เดินทางถึงสนามบินนาริตะ ประเทศญี่ปุ่น และออกเดินทางสู่นครโตเกียว
เข้าที่พัก ณ โรงแรม Shinagawa Prince Hote
วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๗
เวลา ๑๐.๐๐ น. นายเอนก สีหามาตย์ อธิบดีกรมศิลปากร ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน เกี่ยวกับภารกิจในการเดินทางครั้งนี้ โดยได้ปฏิบัติภารกิจต่างๆ ดังนี้
- อธิบดีกรมศิลปากรและคณะ ได้เดินทางไปยังเมือง Himeji จังหวัด Hyogo ประเทศญี่ปุ่น ตามคำเชิญของ นาย Takamasa Fujioka ผู้อำนวยการ และหัวหน้าหลักสูตรบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้ประสานโครงการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมระหว่างไทยและญี่ปุ่น เพื่อลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างกรมศิลปากรและคณะกรรมการแห่งภูมิภาค Harima โดยบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ มีสาระสำคัญในเรื่องความร่วมมือในการปกป้อง คุ้มครองมรดกวัฒนธรรมที่มีความสำคัญในด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปะ ในขณะเดียวกันก็จะร่วมกันส่งเสริมการท่องเที่ยวในแหล่งประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เช่น แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม สมบัติทางวัฒนธรรมของชาติ และแหล่งวัฒนธรรมสาเกในภูมิภาค Harima โดยจะมีการจัดทำแผนปฏิบัติการภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ต่อไป นอกจากนี้ ยังได้สำรวจความเป็นไปได้ในการนำคณะนาฏศิลป์ของกรมศิลปากรมาจัดการแสดง ณ เมืองฮิเมจิ อีกด้วย
- อธิบดีกรมศิลปากรและคณะ ได้เข้าประชุมหารือ และเยี่ยมชมการอนุรักษ์บานไม้ประดับมุกวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร ซึ่งนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อประดับวัดประจำรัชกาล ณ สถาบันวิจัยสมบัติทางวัฒนธรรมแห่งชาติกรุงโตเกียว ( National Research Institute for Cultural Property, Tokyo) โดยวัดราชประดิษฐ์ฯ ได้ส่งตัวอย่างบานไม้จำนวน ๒ ชิ้น จากจำนวนทั้งหมดที่มีประมาณ ๑๐๐ บานมายังสถาบันวิจัยฯ เพื่อศึกษาวัสดุ และกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิม ซึ่งจะช่วยในการกำหนดแนวทางการอนุรักษ์ที่เหมาะสมต่อไป
สำหรับการดำเนินงานอนุรักษ์บานไม้ประดับมุกวัดราชประดิษฐ์ฯ ในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยสมบัติทางวัฒนธรรมแห่งชาติ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และกรมศิลปากร โดยได้รับการสนับสนุนจากสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศญี่ปุ่น ในราวเดือนกันยายน ๒๕๕๗ วัดราชประดิษฐ์ฯ จะมอบทุนสนับสนุนให้นักวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ และผู้เชี่ยวชาญด้านงานรักประดับมุกจากกรมศิลปากร รวมทั้งเจ้าหน้าที่จากวิทยาลัยในวังชาย เข้ารับการอบรมการอนุรักษ์ ณ สถาบันวิจัยฯ เป็นระยะเวลา ๒ สัปดาห์
- วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๗ อธิบดีกรมศิลปากร และคณะ จะนำสื่อมวลชนเดินทางไป
ยังเมืองทสึคุบะ (Tsukuba) เพื่อเข้าร่วมพิธีเปิดการแสดงนาฏศิลป์ของคณะนักแสดงจากกรมศิลปากรร่วมกับศิลปินจากประเทศญี่ปุ่น
เวลา ๑๓.๐๐ น. คณะศึกษาดูงานได้เดินทางไปยัง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติโตเกียว ซึ่งมีการจัดแสดงนิทรรศการชั่วคราว โดยสาธารณรัฐประชาชนจีนได้นำโบราณวัตถุมาจัดแสดง ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง คือ พระสุพรรณบัฏ ที่สันนิษฐานว่าเป็นบรรณาการจากพระเจ้าตากสินมหาราช
ที่ส่งไปยังกรุงปักกิ่งในสมัยกรุงธนบุรี
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติโตเกียว ญี่ปุ่น : Tokyo National Museum หรือ TNM ตั้งอยู่
ภายในสวนอุเอโนะ ในเขตไทโต กรุงโตเกียว เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก่าแก่ที่สุดและใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. ๑๘๗๒ เป็นสถานที่เก็บรักษาศิลปวัตถุและโบราณวัตถุที่สำคัญจากทั่วทวีปเอเชีย โดยเฉพาะจากในญี่ปุ่น
มีโบราณวัตถุจัดแสดงกว่า ๑๑๐,๐๐๐ ชิ้น วัตถุประสงค์หลักในการสร้างเพื่อแนะนำประเทศญี่ปุ่นให้ชาว
ต่างชาติรู้จักผ่านการจัดแสดงนิทรรศการ ประกอบไปด้วยอาคาร ๕ อาคาร ได้แก่ อาคารหลักอาคาร Heiseikan อาคาร Hyokei อาคาร Heisei อาคาร Toyo และอาคารเก็บสมบัติวัด Horyu
นอกจากนี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติโตเกียว ยังมีส่วนงานสำหรับค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับโบราณวัตถุ และจัดกิจกรรมต่างๆ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์และช่วงเทศกาลปีใหม่เท่านั้น ตั้งแต่เวลา ๐๙.๓๐ – ๑๕.๐๐ น. (วันเสาร์ อาทิตย์หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ ระหว่างเมษายน - กันยายน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ไม่ตกเร็วเกินไปจะเปิดให้เข้าชมถึง ๑๘.๐๐ น.) หรือในกรณีมีนิทรรศการพิเศษเฉพาะวันศุกร์ก็จะเปิดให้เข้าชมได้ถึงเวลา ๒๐.๐๐ น.
วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๗
เวลา ๐๙.๐๐ น. นายเอนก สีหามาตย์ อธิบดีกรมศิลปากรและคณะ พร้อมด้วยสื่อมวลชน เดินทางไปยัง
เมืองทสึคุบะ (Tsukuba) เพื่อเข้าร่วมพิธีเปิดการแสดงและสาธิตนาฏศิลป์และดนตรีไทย
จากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ร่วมกับศิลปินจากญี่ปุ่น ณ ห้องประชุม ธนาคารทสึคุบะ
เมืองทสึคุบะ (Tsukuba) ตั้งอยู่ในจังหวัดอิบารากิ เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคคันโต หนึ่งใน
เขตการปกครองของประเทศญี่ปุ่น ห่างจากกรุงโตเกียวไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๖๐ กิโลเมตร เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกว่า "เมืองแห่งวิทยาศาสตร์" (Science City)
กิจกรรมการแสดงและสาธิตนาฏศิลป์และดนตรีไทย ณ เมืองทสึคุบะ ประเทศญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในโครงการมหกรรมการแสดงด้านนาฏดุริยางค์และดนตรีแบบบูรณาการ ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยใช้วัฒนธรรมด้านนาฏศิลป์และดนตรีชั้นสูง เป็นสื่อกลางในการกระชับสัมพันธ์และเสริมสร้างพันธมิตรทางวัฒนธรรมอันดีงามระหว่างประเทศ การแสดงในครั้งนี้ประกอบด้วย การสาธิตการแสดงโขน การเปรียบเทียบท่ารำระหว่างนาฏศิลปินชาวไทย และชาวญี่ปุ่น การแสดงระบำพื้นบ้านของญี่ปุ่น การแสดงระบำ ๔ ภาคของไทย การแสดงโขนและการต่อสู้ด้วยพลอง - ไม้สั้น
อธิบดีกรมศิลปากร ร่วมด้วยนายกเทศมนตรีเมืองทสึคุบะ และผู้ว่าการธนาคารทสึคุบะ เข้าร่วมในพิธีเปิดการแสดงนาฏศิลป์และดนตรี โดยสำนักการสังคีต กรมศิลปากร และนักแสดงจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีผู้เข้าชมทั้งชาวเมืองทสึคุบะ และชาวไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น เข้าชมการแสดงกว่า ๑,๐๐๐ คน
โขน ชุด ทศกัณฐ์รบพระราม (ยกรบ)
โขน เป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงอย่างหนึ่งของไทยซึ่งมีมาแต่โบราณมีกำเนิดมาจากการเล่นหลายประเภท เช่น ชักนาคดึกดำบรรพ์ การเล่นกระบี่กระบองและหนังใหญ่ ครั้นต่อมาได้แก้ไขปรับปรุงให้ประณีตขึ้นตามลำดับ แต่เดิมนั้นผู้แสดงโขนจะต้องสวมหัวโขนปิดหน้าและใช้ผู้ชายแสดงทั้งหมด จึงต้องมีผู้พูดแทน เรียกว่า ผู้พากย์ - เจรจา และขับร้อง ผู้แสดงต้องแสดงท่าเต้นและรำไปตามคำพากย์ - เจรจา และบทร้องนั้น ต่อมาได้วิวัฒนาการให้ผู้แสดงซึ่งสมมติเป็นเทพบุตร เทพธิดา และมนุษย์ ชาย หญิง สวมแต่เครื่องประดับศีรษะ ไม่ต้องปิดหน้าทั้งหมด และใช้ผู้หญิงเข้าร่วมแสดงด้วย แต่ก็ยังคงรักษาประเพณีเดิมไว้ คือ มีผู้พากย์ - เจรจา และขับร้องแทน ทั้งนี้เว้นแต่ฤษีบางองค์และตัวตลกจึงจะเจรจาเอง
การแสดงโขนชุดทศกัณฐ์รบพระรามอยู่ในตอนหนึ่งของเรื่องรามเกียรติ์ เป็นการทำสงครามระหว่างพระราม พระลักษมณ์ และพลวานร กับทศกัณฐ์ พญายักษ์แห่งกรุงลงกา การรบของทั้งสองฝ่ายเต็มไปด้วยชั้นเชิงของลีลาท่ารำกระบวนการรบและความสามารถที่มีเอกลักษณ์ประณีตงดงามในการแสดงโขน
ระบำช่อราชพฤกษ์
ระบำช่อราชพฤษ์ เป็นระบำที่มีความสวยงามอีกชุดหนึ่ง ผู้แสดงถือดอกราชพฤษ์ ออกมารำ โดยใช้เพลงนางนาคแปลง ซึ่งเป็นเพลงไทยโบราณ ผู้แสดงแต่งกายเป็นสาวชาววัง ในสมัยอยุธยา ประดิษฐ์ท่ารำโดยนางพัชรา บัวทอง นาฏศิลปินอาวุโส สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
การต่อสู้ด้วยพลอง-ไม้สั้น
การเล่นกระบี่กระบองเป็นศิลปะการต่อสู้และป้องกันตัวอย่างหนึ่งของไทย ในที่นี้เป็นการใช้พลองและไม้สั้น ศิลปะแห่งการใช้ไม้สั้นอยู่ที่ความคล่องแคล่วว่องไวของผู้ใช้และจะต้องเป็นฝ่ายรุกเข้าประชิดตัวคู่ต่อสู้ ตรงกันข้ามกับผู้ใช้พลอง ซึ่งเป็นอาวุธยาวจะต้องถอยออกห่างจึงจะมีโอกาสทำอันตราย
คู่ต่อสู้ได้สะดวก
ระบำสี่ภาค
ระบำสี่ภาค เป็นระบำชุดหนึ่งที่กรมศิลปากรปรับปรุงขึ้นในสมัยปัจจุบัน โดยนำศิลปะการแสดงทั้งสี่ภาคในประเทศไทย คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคใต้ มาแสดงติดต่ออยู่ในชุดเดียวกัน นับเป็นการแสดงที่สวยงาม น่าชม และน่าสนใจอย่างยิ่ง
วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗
เวลา ๐๘.๐๐ น. คณะผู้ศึกษาดูงานออกเดินทางจากที่พักไปยังนิกโก้ เมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรม
นิกโก้ จังหวัดโทะจิงิ ตั้งอยู่ทางเหนือของโตเกียว มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่
สมัยเอโดะ มีวัดและศาลเจ้าสำคัญที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ภายใต้ชื่อ "ศาลเจ้า
และวัดแห่งนิกโก" ได้แก่
ศาลเจ้านิกโกโทโชกุ
เป็นศาลเจ้าชินโตที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แด่โชกุนโทกุกาวะ อิเอะยะซุ โชกุนคนแรกของตระกูลโทกุกาวะ เริ่มสร้างในปี พ.ศ. ๒๑๖๐ ในช่วงสมัยเอโดะ ระหว่างที่ฮิเดะตะ บุตรชายของโทกุกาวะดำรงตำแหน่งเป็นโชกุน และได้รับการต่อเติมขยายพื้นที่ในสมัยของอิเอะมิสึ โชกุนคนที่สามของตระกูล
ศาลเจ้าแห่งนี้เป็นที่ตั้งรูปเคารพและป้ายวิญญาณของอิเอะยะซุ
ศาลเจ้าฟุตะระซัง
เป็นศาลเจ้าชินโตในเมืองนิกโก้ เป็นสถานที่สักการะเทพเจ้า ๓ องค์ คือ โอคุนินุชิ ทาโกริฮิเมะ และอาจิสุกิตะคาฮิโคเนะ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๑๓๑๐ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในรายชื่อเดียวกับศาลเจ้านิกโก้โทโชกุและวัดรินโน ภายในศาลเจ้าเป็นสถานที่เก็บรักษาดาบสองเล่ม ซึ่งจัดว่าเป็นสมบัติประจำชาติญี่ปุ่น
วัดรินโนจิ
วัดรินโนจิ เป็นวัดพุทธที่สำคัญที่สุดในนิกโก้ สร้างขึ้นโดยพระโชโด โชนิน (Shodo Shonin) ผู้ที่นำศาสนาพุทธมาเผยแพร่ในนิกโก้ ในช่วงปี ค.ศ. ๘๐๐ ภายในมีวิหารชั้น ซันบุตสึ (Sanbutsudo) สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๑๙๑ ตามพระบัญชาของจักรพรรดินินเมอิ (Ninmei Emperor) เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปไม้แกะสลักปิดทองสูงองค์ละ ๘ เมตร อันเป็นที่เคารพกราบไหว้ของชาวเมืองนิกโก้ ๓ องค์คือ เจ้าแม่กวนอิมพันกร (Thousandhanded Kannon) พระอมิตพุทธ (Amida Buddha) และพุทธรูปม้าอยู่กลางพระนลาต (Horse – headed Kannon)
วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗
เวลา ๐๙.๐๐ น. คณะผู้ศึกษาดูงานออกเดินทางจากที่พักไปยังพระราชวังอิมพีเรียล และพิพิธภัณฑ์
เอโดะ-โตเกียว
พระราชวังอิมพีเรียล ( Imperial Palace )
พระราชวังอิมพีเรียล (โคเคียว) เป็นที่ประทับของสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งราชวงศ์เมจิแห่งประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ใจกลางกรุงโตเกียวท่ามกลางคูน้ำล้อมรอบมาตั้งแต่สมัยเอโดะ ภายในอุทยานชั้นในอันเป็นเขตพระราชฐาน เป็นอาคารคอนกรีตทรงเตี้ย หลังคาสีเขียว สร้างเสร็จในปี ค.ศ. ๑๙๗๐ แทนพระตำหนักไม้หลังเดิมที่ถูกระเบิดในช่วงสงครามโลกในปี ค.ศ.๑๙๔๕ ตัวปราสาทสร้างตามรูปแบบในสมัยเอโดะ ล้อมรอบด้วยคูน้ำและกำแพงหิน ทางเข้าหลักจะเป็นสะพานคู่หรือเรียกว่า นิจูบาชิ (Nijubashi)
พิพิธภัณฑ์เอโดะ-โตเกียว
พิพิธภัณฑ์เอโดะ – โตเกียว เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่สร้างในรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมตั้งแต่ยุคเอโดะ สมัยโชกุนจนถึงยุคหลังฟื้นฟูจากสงครามโลก ตั้งแต่วันที่โชกุนโทกุงาวะ อิเอยะซึ ได้สร้างเมืองเอโดะ และนำพาญี่ปุ่นเข้าสู่ยุคปิดประเทศซึ่งเป็นยุคที่มีความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมและการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมาก ก่อนถูกชาติตะวันตกบังคับให้เปิดประเทศก่อนเปลี่ยนชื่อเมืองมาเป็นโตเกียวในที่สุด พิพิธภัณฑ์บอกเล่าเรื่องราวย้อนหลังไปกว่า ๔๐๐ ปี ทั้งสภาพสังคม การเมือง ชีวิตความเป็นอยู่ และความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ภายในมีการจำลองอาคารและสถานที่ต่างๆ รวมถึงสะพานนิฮอนบาชิ ‘สะพานแห่งญี่ปุ่น’ ซึ่งคนสมัยก่อนใช้สัญจรไปมา ตลอดจนจำลองรูปแบบวิถีชีวิตและประเพณีวัฒนธรรมของผู้คนในยุคนั้น
วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๗
เวลา ๑๐.๐๐ น. คณะผู้ศึกษาดูงานออกเดินทางออกเดินทางจากที่พักไปยังสนามบินนาริตะ
เวลา ๑๗.๒๕ น. ออกเดินทางจากสนามบินนาริตะสู่กรุงเทพฯ โดยสายการบินไทย เที่ยวบินที่ TG 677
เวลา ๒๑.๕๕ น. เดินทางถึงสนามบินสุวรรณภูมิโดยสวัสดิภาพ
๙. สรุปสาระของกิจกรรม
การเดินทางไปราชการ ณ ประเทศญี่ปุ่น ตามโครงการมหกรรมการแสดงด้านนาฏดุริยางค์
และดนตรีแบบบูรณาการ การแสดงและสาธิตนาฏศิลป์และดนตรีไทย และศึกษาดูงานการบริหารจัดการงานด้านพิพิธภัณฑ์และมรดกศิลปวัฒนธรรม ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ ๑๘ – ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เป็นการใช้มิติทางวัฒนธรรมเป็นสื่อกลางในการกระชับความสัมพันธ์และเสริมสร้างพันธมิตรทางวัฒนธรรมอันดีงามระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ตลอดจนเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมงานมรดกศิลปวัฒนธรรมไปสู่สาธารณชนอย่างกว้างขวาง อีกทั้งยังสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศไทย และส่งผลให้เกิดความร่วมมือในการปกป้องคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมที่มีความสำคัญในด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปะร่วมกัน นอกจากนี้ การเรียนรู้สภาพเศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่น ยังช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจในอัตลักษณ์ของชนชาติญี่ปุ่น เสริมสร้างประสบการณ์ความประทับใจในการเข้าชมแหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรม เกิดประโยชน์ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานอนุรักษ์และสร้างสรรค์มรดกศิลปวัฒนธรรมของไทยต่อไป
๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม
๑) ควรใช้มิติทางวัฒนธรรมเป็นสื่อกลางในการกระชับความสัมพันธ์และเสริมสร้างพันธมิตรทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศ
๒) ควรมีการจัดกิจกรรมในลักษณะดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
และส่งเสริมงานมรดกศิลปวัฒนธรรมไปสู่สาธารณชนอย่างกว้างขวาง
๓) ควรพัฒนาเรื่องการอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของไทย ด้วยการรวมเรื่องการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมทุกสาขาเข้าด้วยกันเป็นสถาบันเพื่อการศึกษาวิจัย และหาแนวทางในการอนุรักษ์ หรือสงวนรักษาโบราณวัตถุและโบราณสถาน โดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินงานอนุรักษ์และสร้างสรรค์มรดกศิลปวัฒนธรรมของไทย
๔) ควรพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรม ปรับปรุงการจัดแสดงให้ทันสมัย และเสริมสร้างประสบการณ์ความประทับใจในการเข้าชมแหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรมให้กับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง วรรณกรรมพุทธศาสนา พุทธศาสนา—เทศนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 22 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534
ชื่อเรื่อง : ฮีตฮอยเฮา
ผู้แต่ง : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
ปีที่พิมพ์ : 2538
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว
ภาคเหนือนับตั้งแต่จังหวัดอุทัยธานีขึ้นไป พบว่ามีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ และขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมที่สั่งสมมา และทับซ้อนกันมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรม และความเชื่อ อันเสมือนทรัพย์สมบัติของปู่ย่าตายาย แต่อยู่ในรูปของวัฒนธรรม ประเพณี การบอกเล่า ความเชื่อ และถูกบันทึกอยู่ในเอกสารโบราณที่มีอยู่มากมายทั่วทั้งภาคเหนือ ซึ่งผู้เขียนได้ลงพื้นที่เสาะแสวงหาข้อมูลทั้งปฐมภูมิ และทุติยภูมิทั่วทั้งภาคเหนือ อาทิ ความเชื่อเรื่องผีปู่ย่า พิธีสืบชะตา ประเพณีบูชาเสาอินทขีล หลักเมืองเชียงใหม่ ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ กระบวนการผลิตและพิธีกรรมเกี่ยวกับเหล็กน้ำพี้ เป็นต้น
จัดทำโดยฝ่ายวิชาการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย
เลขทะเบียน : นพ.บ.12/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 5.5 x 56 ซ.ม. : รักทึบ-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากชื่อชุด : มัดที่ 8 (83-99) ผูก 5หัวเรื่อง : โลกนยชาตก--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.41/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 44 หน้า ; 4.5 x 59 ซ.ม. : ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 23 (234-238) ผูก 4หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม