ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ
กรมศิลปากร ขอเชิญชมครอบพระเศียรทองคำสมัยล้านนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20 - 21 ที่ได้รับมอบจากครอบครัวชาวอเมริกัน จัดแสดงที่ห้องประวัติศาสตร์โบราณคดีล้านนา อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ทุกวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา 09.00 น. – 16.00 น. ปิดวันจันทร์ - วันอังคาร
ครอบครัว Cornell ชาวอเมริกัน มีความประสงค์ส่งมอบครอบพระเศียรพระพุทธรูป ทองคำ ที่บรรพบุรุษได้เก็บสะสมไว้กลับคืนสู่ประเทศไทย โดยประสานผ่านทาง ศ.ดร.ม.ล. ภัทรธร จิรประวัติ หนึ่งในคณะกรรมการติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นำเสนอที่ประชุมคณะอนุกรรมการด้านวิชาการและมีมติยืนยันขอรับมอบครอบพระเศียรดังกล่าว โดยมีสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา เป็นผู้แทนรับมอบและส่งกลับคืนประเทศไทยผ่านกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ถึงกรมศิลปากร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม 2565
ครอบพระเศียรพระพุทธรูปล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21 ขนาดกว้าง 14 เซนติเมตร สูง 30 เซนติเมตร น้ำหนัก 202.10 กรัม ผลการตรวจพิสูจน์ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ พบว่ามีส่วนประกอบคือ ทองคำ 85-95 % เงิน 8-11 % ทองแดง 1-2 % โลหะชนิดอื่น น้อยกว่า 1%
กรรมวิธีในการสร้างครอบพระเศียร ใช้การขึ้นรูปโดยการตี บุ ดุน แผ่นทองให้เป็นรูปร่างตามที่ต้องการ โดยรูปแบบที่ปรากฏ เป็นครอบพระเศียรที่มีรัศมีเป็นเปลวเพลิง เม็ดพระศกกลม เล็ก มีร่องรอยการฝังอัญมณีที่บริเวณเหนือพระนลาฏ พระรัศมีและขอบพระเศียรแสดงให้เห็นถึงความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนที่ตกแต่งพระพุทธรูปให้งดงามด้วยอัญมณี และโลหะมีค่าถวายเป็นพุทธบูชา
กรมศิลปากรได้นำครอบพระเศียรทองคำสมัยล้านนา มาจัดแสดงให้ประชาชนทั่วไปชม ณ จัดแสดงที่ห้องประวัติศาสตร์โบราณคดีล้านนา อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
วันศุกร์ที่ ๒๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๔๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากรมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีกับ นายพนมบุตร จันทรโชติ รองอธิบดีกรมศิลปากร เนื่องในโอกาสดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร
ภาชนะรูปหมูป่า (เต้าปูน)
ภาชนะจากแหล่งเตาพนมดงเร็ก จังหวัดบุรีรัมย์ พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘
นายโยธิน-นางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ มอบให้เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องลพบุรี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ภาชนะดินเผาเคลือบสีน้ำตาล รูปหมูป่ายืน ลักษณะลำตัวอ้วน หูสั้น จมูกยื่น ที่มุมปากมีเขี้ยวขนาดเล็ก ปรากฏร่องรอยการทาน้ำเคลือบสีน้ำตาล (brown-glazed) เฉพาะส่วนใบหน้ากับลำตัว บริเวณส่วนคอและลำตัวตกแต่งด้วยลายขูดขีดคล้ายลายเชือกทาบ ส่วนหลังหมูป่าเจาะเป็นช่องสำหรับบรรจุของไว้ภายใน สันนิษฐานว่าใช้สำหรับบรรจุปูนขาว
แรงบันดาลใจการทำภาชนะรูปหมูป่านั้น นอกจากหมูป่าเป็นสัตว์ที่อยู่ในพื้นที่และพบได้ทั่วไป หมูป่ายังเป็นสัตว์สัญลักษณ์ตามคติทางศาสนาพราหมณ์และพุทธ กล่าวคือ ในศาสนาพราหมณ์ หมูป่าเกี่ยวข้องกับพระนารายณ์โดยตรงกล่าวคือในการอวตารครั้งที่สาม (วราหาวตาร) เพื่อปราบยักษ์หิรัญ ส่วนในทางพุทธศาสนามหายาน หมูป่ายังเป็นสัญลักษณ์แทน “โมหะ” คือ ความเขลา ความดื้อดึง ทั้งนี้ศิลปกรรมวัฒนธรรมเขมรในประเทศไทยประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ พบภาพสลักหมูป่าด้วยเช่นกัน อาทิ ทับหลังกรอบประตูทางทิศเหนือปรางค์หินแดง (ในระเบียงคดของปราสาทพิมาย) จังหวัดนครราชสีมา และทับหลังปราสาทศีรขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
ภาชนะรูปสัตว์ (zoomorphic pot) เป็นหนึ่งในรูปแบบของภาชนะที่ผลิตขึ้นจากแหล่งเตาในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ จากการสำรวจทางโบราณคดีพบว่ามีกลุ่มเตาเผามากกว่า ๔๐ แห่ง พบในเขตพื้นที่อำเภอบ้านกรวด อำเภอกระสัง อำเภอละหานทราย อำเภอลำปลายมาศ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ อำเภอหนองกี่ และอำเภอสะตึก บางกลุ่มมีเตาเผา ๒-๓ เตา ซึ่งภาชนะรูปสัตว์นั้นทำขึ้นโดยเลียนแบบจากสัตว์ในธรรมชาติ อาทิ กบ กระต่าย ช้าง แมว กวาง จระเข้ เป็ด ปลา เต่า สุนัข ลิงและนกฮูก โดยปรับรูปร่างของสัตว์ให้เข้ากับลักษณะของภาชนะคือ ส่วนลำตัวพอง เจาะช่องที่ด้านบน แม้ว่าบางชิ้นจะแสดงถึงสัตว์ในนิยาย เช่น กินรี (ลักษณะเป็นภาชนะดินเผาเคลือบสีน้ำตาล มีรูปทรงส่วนศีรษะและอกเหมือนมนุษย์ ในขณะที่ปีกและเท้าเหมือนนก) หรือบางชิ้นทำขึ้นตามรูปแบบของเทวรูปในศาสนาพรามหณ์ เช่น พระพิฆเนศ พระศิวะ เป็นต้น
ส่วนน้ำเคลือบสีน้ำตาลที่ปรากฏบนภาชนะของแหล่งเตาพนมดงเร็กนั้น มีข้อสันนิษฐานว่า น้ำเคลือบน่าจะมีการผสมขี้เถ้าจากพืช* กับสนิมหรือออกไซต์ของแร่เหล็กเข้าด้วยกัน เมื่อทาน้ำเคลือบลงบนผิวภาชนะแล้วนำไปเข้าเตาเผา จะปรากฏสีน้ำเคลือบเป็นสีน้ำตาล
*มาจากต้นไม้รกฟ้า ลักษณะไม้ยืนต้นผลัดใบ เปลือกไม้มีลักษณะขรุขระสีเทาดำ เป็นต้นไม้ที่มีอยู่ทั่วไปในพื้นที่แหล่งเตาพนมดงเร็ก
อ้างอิง
ปริวรรต ธรรมาปรีชากร. พัฒนาการเครื่องถ้วยเขมรสมัยเมืองพระนคร. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ภาควิชาโบราณคดี). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๒.
Dawn F. Rooney. Khmer Ceramics Beauty and Meaning. Bangkok: Riverbook, 2010.
พระบารมีปกเกล้าชาวอุบล ๒
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเสด็จเยี่ยมพสกนิกรชาวอุบลฯ ครั้งแรก ระหว่างวันที่ ๑๖ - ๑๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๘ นั้น
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงฉลองพระองค์ด้วยซิ่นยกไหมเงินลายดอกพิกุล ที่ชาวอุบลฯ ทอถวาย ทรงตรัสกับชาวอุบลฯ ที่เฝ้ารับเสด็จว่า "นุ่งผ้าซิ่นของชาวอุบลฯ ให้คนอุบลฯ เขาดู"
โดยการทอผ้าซิ่นยกไหมเงินไหมคำ คงมีการทอต่อเนื่องมาตั้งแต่รัซกาลที่ ๕ จนกระทั่งถึงมีเหตุการณ์สำคัญ คือ เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ ชาวอุบลฯ ได้ร่วมใจทูลเกล้าฯ ถวายผ้ายกไหมเงินลายดอกแก้ว (ดอกพิกุล) สีเม็ดมะปราง เชิงรูปนกยูงรำแพนสีขาวนวล เนื่องในพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ผ้าซิ่นผืนนี้ทอที่บ้านของหมี่นวิชิตอักษร โดยคุณยายสงวนศักดิ์ คูณผล เป็นผู้เริ่มต้นทอ และยังมีช่างทอฝีมือดีอีกหลายคน มาร่วมกันทอ คุณพ่อสุวิชช คูณผล (๒๕๔๗) บุตรของคุณยายสงวนศักดิ์ คูณผล เล่าว่า "ช่างทอผ้าที่มาร่วมกันทอครั้งนั้น เท่าที่จำได้มี นางอรพินท์ ไชยกาล ส.ส.อุบลฯ นางรักษ์ ทรัพยานนท์ ภรรยาพระพรพิทักษ์
สาธารณสุขมณฑลอุบลฯ ในอดีต นางปรียา ถิระกิจ ครูใหญ่โรงเรียนวิไลวัฒนา นางกสิน ศรีทานันท์ ภรรยาครูเฉลิม ศรีทานันท์ ครูโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช นางทองเมี้ยน โมฬีชาติ ภรรยานายสุเมธ โมฬีชาติ ครูใหญ่
โรงเรียนอุบลวิทยาคม, นางคำหมั้น สันฑมาศ และนางบุญมี สุขประสงค์ และได้มีช่างถ่ายรูปจากร้านโปกวงไปถ่ายภาพไว้เป็นหลักฐาน และส่งไปลงหนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทยรายวันด้วย"
ต่อมาภายหลังเมื่อการทอผ้าในเขตตัวเมืองอุบลราชธานีหมดไปตามความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย จึงทำให้ผ้ายกเมืองอุบลฯ ขาดช่วงการสืบทอดไปอย่างน่าเสียดาย คงเหลือไว้แต่ผ้าโบราณบางผืน ที่เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี สำหรับการศึกษาค้นคว้าและฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ในอนาคต
อ้างอิง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี, กรมศิลปากร. ผ้าทอเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัย.กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๖๑.
ชื่อเรื่อง อาทิกมฺมปาลิ(ปาราชิกปาลิ)มหาวิยงฺคปาลิ(ปาราชิกัณฑ์)
สพ.บ. อย.บ.2/2ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 46 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 54 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ลานดิบ ร่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 54/1ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 34 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
มหาสมยสุตฺต (มหาสมยสูตร) ชบ.บ 118/1ก
เอกสารโบราณ
(คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 160/3เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง ข้าแผ่นดินผู้แต่ง สุพีร์พัฒน์ จองพานิชประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN -หมวดหมู่ ชีวประวัติ เครื่องราชอิสริยาภรณ์เลขหมู่ 923.2593 ส833ขสถานที่พิมพ์ เพชรบุรีสำนักพิมพ์ เพชรภูมิการพิมพ์ปีที่พิมพ์ 2560ลักษณะวัสดุ 248 หน้า : ภาพประกอบ ; 21 ซม.หัวเรื่อง ชีวประวัติ – รวมเรื่อง ชีวประวัติบุคคลภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก หนังสือที่ระลึกงานเกษียณอายุราชการของนายสุพีร์พัฒน์ จองพานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี
ชื่อผู้แต่ง เสถียร โพธินันทะ
ชื่อเรื่อง เมธีตะวันออก
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๔
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ บรรณาคาร
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๒
จำนวนหน้า ๔๑๐ หน้า
รายละเอียด
หนังสือเรื่องนี้ เขียนขึ้นจากการค้นคว้าตำราที่เป็นภาษาจีนส่วนใหญ่ สำนวนการเขียนไพเราะ เข้าใจง่ายและที่สำคัญคือ ให้ความรู้เรื่องปรัชญาเมธีของจีนที่สำคัญเอาไว้ครบถ้วน คือ ขงจื๊อ เหลาจื๊อ บัคจื๊อ เม่งจื๊อ จังจื๊อ เอี้ยงจื๊อ และชุ่นจื๊อ รวมทั้งสรุปท้ายชี้ให้เห็นถึงการเปรียบเทียบ ของปรัชญาจีนเหล่านี้กับทางพระพุทธศาสนาไว้ด้วย ย่อมเป็นประโยชน์แก่การศึกษาค้นคว้า รวมทั้งเป็นประโยชน์ในการบริหารความคิดด้วย
เลขวัตถุ
ชื่อวัตถุ
ขนาด (ซม.)
ชนิด
สมัยหรือฝีมือช่าง
ประวัติการได้มา
ภาพวัตถุจัดแสดง
49/2553
(2/2549)
ชิ้นส่วนฐานของไหเท้าช้าง สีน้ำตาลเข้ม สภาพช้ำรุด น้ำยาเคลือบเสื่อมสภาพ
ส.11.2
ก.13
ดินเผาเคลือบ
ลพบุรี
ได้จากแหล่งโบราณคดีบ้านดงละคร จ.นครนายก นายจำเนียร ทองจันทร์ มอบให้เมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2549