ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ



ชื่อเรื่อง                           เทศนาสังคิณี-มหาปัฎฐานสพ.บ.                                  197/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           26 หน้า กว้าง 4.9 ซ.ม. ยาว 57 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                          บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดพยัคฆาราม อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี 


ชื่อเรื่อง                                สตฺตปฺปกรณภิธมฺมเทสนา (เทศนาสังคิณี-มหาปัฏฐาน)สพ.บ.                                  130/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           38 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 ธรรมเทศนา  บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดประสพสุข    ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.69/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  54 หน้า ; 5 x 57.5 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 45 (29-34) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : ชาลิกกณฺหาภิเสก (ชาลีภิเสก) --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เมืองโบราณฟ้าแดดสงยาง (ตอนที่ ๓) พัฒนาการทางวัฒนธรรมของเมืองโบราณฟ้าแดดสงยาง           ๑) ความเป็นมาก่อนพัฒนาการสู่ความเป็นเมืองทวารวดี จากการขุดค้นเมืองโบราณฟ้าแดดสงยาง ของคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ช่วงเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนมิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๓๔ ทำให้ทราบว่าพื้นที่บริเวณเมืองโบราณฟ้าแดดสงยาง แรกเริ่มมีคนสมัยโบราณเข้ามาอยู่อาศัยและทำกิจกรรมต่างๆ เมื่อประมาณ ๒,๒๐๐ - ๑,๘๐๐ ปีมาแล้ว (ราวพุทธศตวรรษที่ ๓ - ๗) โดยปรากฏร่องรอยการอยู่อาศัยเฉพาะบริเวณโนนเมืองเก่า ที่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือภายในเมืองโบราณฟ้าแดดสงยางเท่านั้น ลักษณะเป็นชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ก่อนที่จะมีการสร้างคูน้ำคันดินล้อมรอบ จากการขุดค้นในหลุมขุดค้นที่ ๑ - ๓ (FD 1 FD 2 และ FD 3) พบหลักฐานการทำศพครั้งที่ ๑ แบบฝังนอนหงายเหยียดยาว ร่วมกับเศษภาชนะดินเผาเนื้อดินเขียนสีแดงบนพื้นสีขาวนวล ซึ่งเป็นรูปแบบภาชนะประเภทเด่นของวัฒนธรรมบ้านเชียง (สมัยสุดท้าย) กำหนดอายุราว ๒,๓๐๐ - ๑,๘๐๐ ปีมาแล้ว จึงสันนิษฐานว่า ชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ ที่เมืองฟ้าแดดสงยางแห่งนี้ น่าจะมีความสัมพันธ์กับชุมชนโบราณในวัฒนธรรมบ้านเชียง           ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๗ เป็นต้นมา (ตั้งแต่ ๑,๘๐๐ ปีมาแล้ว) พบหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่สูงขึ้นของชุมชนโบราณแห่งนี้ ได้แก่ การรู้จักผลิตภาชนะดินเผาจากเตาเผา ประเภทระบายความร้อนในแนวระนาบ (cross – draft kiln) โดยใช้ไม้ไผ่สานเป็นโครงของเตาก่อนใช้ดินพอกทับเป็นผนังเตา นอกจากนี้ยังพบหลักฐานการถลุงเหล็ก โดยการพบตะกรันเหล็ก และท่อดินเผาที่มีคราบของตะกรันเหล็กติดอยู่ ในช่วงเวลานี้พิธีกรรมการฝังศพจะนิยมบรรจุศพลงในภาชนะดินเผา (jar burials)           ๒) พัฒนาการเมืองทวารวดี เมืองโบราณฟ้าแดดสงยาง ตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ เป็นต้นมา (ประมาณ ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว) เป็นช่วงที่เมืองฟ้าแดดสงยางมีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่สำคัญ โดยเฉพาะการพบหลักฐานการนับถือพุทธศาสนา มีการสร้างศาสนสถาน ตลอดจนประติมากรรมรูปเคารพ และ ใบเสมาขึ้นมากมาย ขณะเดียวกันพิธีกรรมการฝังศพที่เคยปฏิบัติกันมาในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ก็ยังคงมีปรากฏให้เห็นอยู่           ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖ (๑,๓๐๐ - ๙๐๐ ปีมาแล้ว) เกิดการสร้างเมืองขึ้นอย่างเป็นระบบ มีการขุดคูน้ำคันดินทำให้เมืองโบราณฟ้าแดดสงยางมีผังคล้ายรูปใบเสมาดังที่เห็นได้ในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมเกิดขึ้นจากการแพร่หลายเข้ามาของวัฒนธรรมทวารวดี ซึ่งเชื่อกันว่า มีศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่ภาคกลางของประเทศไทย หลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงการติดต่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับชุมชนโบราณในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา คือ พระพิมพ์ที่พบจากการขุดแต่งโบราณสถานภายในเมืองโบราณฟ้าแดดสงยาง ที่มีลายพิมพ์เหมือนกับพระพิมพ์ที่พบจากเมืองโบราณนครปฐม และยังเป็นพิมพ์ที่แพร่หลายอยู่ในลุ่มแม่น้ำมูล ที่บ้านโตนด อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา นอกจากพระพิมพ์แล้ว เครื่องใช้ประเภทต่างๆ โดยเฉพาะภาชนะดินเผาที่เป็นแบบนิยม ในวัฒนธรรมทวารวดีลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก็มีปรากฏที่เมืองโบราณแห่งนี้ด้วย เช่น หม้อน้ำมีพวย (กาน้ำ) ตะคัน และ หม้อมีสัน เป็นต้น           ๓) พัฒนาการหลังเมืองทวารวดี ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๗ – ๑๘ (ประมาณ ๘๐๐ - ๗๐๐ ปีมาแล้ว ตรงกับสมัยนครวัด – บายน ของประวัติศาสตร์แห่งอาณาจักรกัมพูชาโบราณ) เมืองฟ้าแดดสงยางได้เริ่มปรากฏร่องรอยหลักฐานของวัฒนธรรมเขมรโบราณขึ้น จากการขุดค้นบริเวณโนนเมืองเก่า โนนวัดสูง และโนนฟ้าแดด ได้พบชั้นกิจกรรมการอยู่อาศัย และการก่อสร้างศาสนสถาน โดยเฉพาะการค้นพบกระเบื้องมุงหลังคา และเครื่องเคลือบ ซึ่งสันนิษฐานว่าผลิตจากเตาเผาในจังหวัดบุรีรัมย์ (แหล่งเตาบ้านกรวด) วัฒนธรรมเขมรโบราณที่แพร่เข้ามาได้ปรับเปลี่ยนแบบแผนการใช้ภาชนะจากภาชนะเนื้อดินธรรมดาในสมัยทวารวดีมาเป็นเครื่องเคลือบที่มีคุณภาพดีกว่า และได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการน้ำของเมืองโบราณแห่งนี้ โดยการสร้างบารายเพิ่มเติมจากระบบการจัดการน้ำในสมัยก่อนหน้าที่มีเฉพาะแค่คูน้ำคันดิน โดยสร้างบารายขนาดใหญ่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ของเมืองฟ้าแดดสงยาง (ปัจจุบันเป็นที่นา) นอกจากนี้รูปแบบการปลงศพภายในชุมชนได้เปลี่ยนความนิยมไป กลายเป็นนิยมเผาก่อนแล้วจึงเก็บอัฐิใส่โกศดินเผาไปฝังไว้ใต้ศาสนสถาน ดังหลักฐานที่ปรากฏในหลุมขุดค้นบริเวณโนนฟ้าแดด           ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๓ (ประมาณ ๖๐๐ - ๒๐๐ ปีมาแล้ว) เมืองฟ้าแดดสงยาง ยังพบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างหนาแน่น และจากการขุดค้นที่เมืองฟ้าแดดสงยางบริเวณโนนเมืองเก่า และโนนวัดสูง ได้พบชิ้นส่วนเครื่องถ้วยพื้นเมืองและเครื่องถ้วยจีนที่กำหนดอายุอยู่ในสมัยอยุธยา ร่วมสมัยกับวัฒนธรรมล้านช้าง (ลาว) และจากการขุดแต่งโบราณสถาน ทำให้ทราบว่ามีการสร้างศาสนสถานแบบอยุธยาซ้อนทับฐานศาสนสถานแบบทวารวดีเกือบทุกแห่ง โดยเฉพาะฐานล่างของพระธาตุยาคูที่ปรากฏร่องรอยให้เห็นอย่างเด่นชัดในปัจจุบัน--------------------------------------------------------- เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวศุภภัสสร หิรัญเตียรณกุล นักโบราณคดีชำนาญการ สํานักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี ---------------------------------------------------------อ้างอิงจากจังหวัดกาฬสินธุ์. แผนแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองฟ้าแดดสงยาง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๔. ผาสุข อินทราวุธ และคณะ. รายงานการขุดค้นเมืองโบราณฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. ม.ป.ท. : ม.ป.ป., ๒๕๓๔. (เอกสารอัดสำเนา) หวัน แจ่มวิมล. รายงานการสำรวจและขุดแต่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ เมืองโบราณฟ้าแดดสงยาง บ้านเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. กรมศิลปากร : หน่วยศิลปากรที่ ๗ ขอนแก่น, ๒๕๑๑. (เอกสารอัดสำเนา)


เลขทะเบียน : นพ.บ.130/9กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า ; 4.7 x 54.6 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 76 (288-301) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนสุตฺตฎีกา (ฎีกาธมฺมจกฺก)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


--- ผู้ศึกษา นายยอดดนัย สุขเกษม นักโบราณคดีปฏิบัติการ --- ตามที่ในปี พ.ศ.๒๕๖๑ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ ได้สำรวจพบร่องรอยแหล่งถลุงเหล็กโบราณในพื้นที่อำเภอลี้ไม่ต่ำกว่า ๓๐ แหล่ง และมีแนวโน้มว่าจะมีการค้นพบมากขึ้นเรื่อยๆ จึงได้ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างถ่านภายในก้อน  Slag จากแหล่งถลุงเหล็กโบราณสิบดร ไปศึกษาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธี  Accelerator mass spectrometry (AMS) dating พบว่ากิจกรรมการถลุงเหล็กที่แหล่งสิบดร มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในช่วงราว ๒,๕๐๐-๒,๗๐๐ปีมาแล้ว ซึ่งถือเป็นค่าอายุแหล่งถลุงโบราณที่มีความเก่าแก่มากที่สุดในดินแดนล้านนา นั้น --- เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มแหล่งถลุงเหล็กโบราณในพื้นที่อำเภอลี้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในปีงบประมาณ ๒๕๖๒ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ จึงได้กำหนดแผนงานขุดค้นศึกษาทางโบราณคดี แหล่งถลุงเหล็กโบราณในพื้นที่บ้านแม่ลาน ตำบลแม่ลาน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ  ๑) ศึกษาอายุสมัยของเตาถลุงเหล็กโบราณ  ๒) ศึกษากรรมวิธี เทคนิค และรูปแบบเตาถลุงเหล็กโบราณ และ  ๓) ตีความถึงระดับการผลิตของแหล่งถลุงเหล็กโบราณ --- จากการขุดค้นทางโบราณคดี พบหลักฐานที่สำคัญดังนี้  ๑) ฐานเตาถลุงเหล็กโบราณ พบในบริบทดั้งเดิม (in situ) ปรากฏลักษณะเป็นผนังเตาถลุง วัสดุดินเหนียวปั้นเผาไฟ ตั้งแต่ส่วนฐานที่มีช่องระบายตะกรัน จนถึงส่วนช่องเติมอากาศ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๙๐ เซนติเมตร  ๒) ก้อนแร่เหล็กวัตถุดิบ (iron ore) เป็นแร่เหล็กชนิด Magnetite ที่ผ่านกระบวนการย่อยให้มีขนาด๒-๓ เซนติเมตร  ๓) ตะกรันจากการถลุงเหล็ก มีทั้งรูปแบบก้อน slag ขนาดใหญ่ที่ค้างอยู่ภายในเตา และรูปแบบน้ำตาเทียนที่ถูกเจาะระบายออกมานอกเตา และ  ๔) ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อดิน (Earthen Ware) เนื้อหยาบ ซึ่งมักพบในแหล่งโบราณโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ --- การวิเคราะห์หลักฐานเบื้องต้น มีข้อสันนิษฐาน ดังนี้ ---๑)ประเด็นอายุสมัย จากโบราณวัตถุร่วมที่พบ สันนิษฐานว่าแหล่งถลุงเหล็กโบราณแห่งนี้ น่าจะมีอายุอยู่ในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ (ไม่ต่ำกว่า ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว) แต่ทั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ทำการเก็บตัวอย่างถ่านตกค้างอยู่ภายในก้อนตะกรัน ที่พบจากการขุดค้น เพื่อส่งไปศึกษาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธี Accelerator mass spectrometry (AMS) dating เพื่อให้ได้คำตอบเกี่ยวกับอายุสมัยของแหล่งที่ชัดเจนต่อไป ---๒) ประเด็นกรรมวิธี เทคนิค และรูปแบบเตาถลุงเหล็กโบราณ พบว่าเป็นการถลุงเหล็กตามกระบวนการทางตรง (Direct Iron Smelting Process) คือ การถลุงโดยใช้ถ่านและอากาศเติมความร้อนให้กับแร่เหล็ก ทำให้ธาตุเหล็กแยกจากธาตุอื่นๆ และจับตัวเป็นกลุ่มก้อนเหล็ก (Iron Bloom) บริเวณก้นเตาถลุง โดยรูปแบบสันนิษฐานของเตาถลุงมีลักษณะ เป็นเตาถลุงรูปแบบทรงกระบอกตรงมีผนังสูง (Shaft Furnace) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๙๐ เซนติเมตร ---๓) ประเด็นการตีความถึงระดับการผลิต จากการขุดค้น พบร่องรอยของเตาถลุงเหล็กขนาดใหญ่ทับซ้อนอยู่ในหลุมขุดค้นไม่ต่ำกว่า ๘ เตา โดยเตาถลุงมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ๗๐-๙๐ เซนติเมตร เบื้องต้นจึงสันนิษนิษฐานว่าการถลุงเหล็กในพื้นที่ดังกล่าว น่าจะสร้างผลผลิตเป็นเหล็กในปริมาณค่อนข้างมากเพื่อแลกเปลี่ยนกับดินแเนภายนอก แต่อย่างไรก็ตามในประเด็นนี้ ผู้ศึกษาจะวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อคำอธิบายที่ชัดเจนต่อไป --- ปล. การศึกษาครั้งนี้ ถือเป็นค้นพบและสร้างองค์ความรู้ครั้งสำคัญ เกี่ยวกับพัฒนาทางวัฒนธรรมของผู้คนในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย จากยุคสมัยโลหะสู่สมัยการสร้างบ้านแปงเมืองในดินแดนล้านนา ทั้งนี้ทีมงานกลุ่มโบราณคดี จะมุ่งมั่นศึกษาค้นคว้าอย่างละเอียด เพื่อสร้างความกระจ่างต่อไปในอนาคต


                                                           สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช                                                                               จิตรกรรมฝาผนังในพระราชวังเดิม แสดงการรบที่จันทบุรี    กรุงธนบุรีศรีมหาสมุท (๑) ชื่อเดิมว่า เมืองบางกอก เป็นเมืองที่เคยเป็นตลาดการค้าขนาดใหญ่และมีความเจริญ รุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา  ภายหลังจากที่กรุงศรีอยุธยาล่มสลายเมื่อพ.ศ.๒๓๑๐ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนากรุงธนศรีมหาสมุทรแห่งนี้เป็นราชธานีแห่งใหม่  กรุงธนบุรีมีอายุครบรอบ ๒๕๐ ปีแห่งการสถาปนาเป็นราชธานีของไทย เมื่อพ.ศ.๒๕๖๐ มีความสำคัญและเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยไม่แพ้ราชธานีใด  เพราะการก่อกำเนิดของราชธานีแห่งนี้เกิดขึ้นจากความเสียสละและจิตใจอันกล้าหาญเด็ดเดี่ยวยิ่งของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ผู้ทรงอุทิศทั้งแรงกายและแรงใจของพระองค์ด้วยความวิริยะอุตสาหะ  พระองค์ทรงตรากตรำทั้งพระวรกายและทรงทุ่มเทแรงใจเพื่อนำพาเหล่าบรรพชนผู้กล้าหาญเข้ากรำศึกกับข้าศึกศัตรูทั้งจากภายในและภายนอก  เพื่อให้ได้มาซึ่งการดำรงอยู่ของคนไทยจนนำไปสู่การตั้งราชธานีแห่งใหม่และกอบกู้เสถียรภาพของชาติไทยให้กลับคืนมาได้อีกครั้ง             พระมหากรุณาธิคุณอันเป็นที่ประจักษ์ชัดของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก็คือการสถาปนาศูนย์กลางอำนาจของราชอาณาจักรไทยขึ้นสืบต่อจากกรุงศรีอยุธยาที่ถูกพม่าทำลายจนพินาศย่อยยับได้สำเร็จ  และกลายเป็นหลักแหล่งมั่นคงที่เป็นรากฐานให้กรุงเทพมหานครได้เติบโตตามมาจนมีอายุสองร้อยกว่าปีในปัจจุบัน  ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่นี้ต้องแลกมาด้วยการสูญเสียเลือดเนื้ออันเกิดจากความรักชาติและความเสียสละของพระยาตากอย่างแท้จริง  ดังนั้นคงไม่ใช่เรื่องที่จะพูดกันแต่เพียงว่าท่านคือผู้กอบกู้เอกราช  เพราะพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ที่นอกเหนือกว่านั้นคือพระราชปณิธานและวีรกรรมอันมุ่งมั่นที่สร้างชาติบ้านเมืองให้กลับมาหยัดยืนสืบแทนอยุธยาให้ได้อีกครั้ง  หากปราศจากพระองค์ท่าน ประเทศไทยในวันนี้จะเป็นเช่นไรก็คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการได้              ภายหลังจากที่ทรงปราบดาภิเษก  พระราชภารกิจสำคัญลำดับแรกของพระเจ้าตากสินมหาราชก็คือการสร้างชาติบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่น  แต่การกอบกู้ชาติบ้านเมืองของพระองค์ในระยะแรกเริ่มเต็มไปด้วยความยาก ลำบากแสนสาหัส  ท่ามกลางบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวของประชาชนและสภาพบ้านเมืองที่ถูกข้าศึกทำลายจนย่อยยับจนเกิดสภาวะจลาจลไปทั่วทุกหนแห่งในขณะนั้น   การที่จะทำให้บ้านเมืองมีเสถียรภาพเพื่อให้ผู้คนเกิดความเชื่อมั่นที่จะกลับเข้ามาดำเนินชีวิตตามปกติอีกครั้งจึงไม่ใช่เรื่องง่าย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่บ้านเมืองยังเต็มไปด้วยปัญหาภายในซับซ้อนหลายด้าน   ประกอบกับภาวะศึกสงครามก็ยังไม่ได้สงบลงอย่างแท้จริง  ยังคงมีทั้งศึกภายนอกและศึกภายในมาจากทุกภูมิภาค  มีการตั้งตนเป็นใหญ่ของผู้นำชุมนุมต่างๆ ได้แก่  ชุมนุมเจ้าพระฝาง (เรือน) ชุมนุมเจ้าเมืองพิษณุโลก (เรือง) ชุมนุมเจ้าพิมาย (กรมหมื่นเทพพิพิธ) และชุมนุมเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช (หนู)  ดังนั้นการจะสร้างชาติบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง  ในลำดับแรกพระองค์จึงทรงต้องปราบปรามชุมนุมที่ต่างฝ่ายก็พยายามจะแก่งแย่งช่วงชิงอำนาจเพื่อตั้งตนขึ้นมาเป็นใหญ่เสียก่อน  ซึ่งต้องใช้ทั้งสรรพกำลังและต้องสูญเสียเลือดเนื้อมิใช่น้อย                สิ่งที่สร้างความยากลำบากเพิ่มมากขึ้นก็คือเหตุแห่งทุพภิกขภัย หรือภัยแห่งการขาดแคลนอาหารภายในบ้านเมืองที่เกิดขึ้นจากภาวะสงคราม   เกิดข้าวยากหมากแพงและขาดแคลนอาหารอย่างหนัก เพราะราษฎรพากันทิ้งไร่ทิ้งนาในระหว่างศึกสงคราม  ดังนั้นในยามที่ว่างเว้นจากการกรำศึกเพื่อกอบกู้เอกราช  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ยังทรงต้องแก้ปัญหาปากท้องทั้งของราษฎรและกองทัพ  พระองค์ทรงเริ่มชักจูงให้ราษฎรค่อยๆ อพยพกลับสู่กรุงธนบุรีเพื่อกลับมาเป็นกำลังสำคัญในการสร้างชาติ  เหตุผลหนึ่งที่ทรงเลือกเมืองธนบุรีนั้น  เพราะแต่เดิมเมืองธนบุรีเป็นชุมชนที่มีความสำคัญทั้งทางด้านยุทธศาสตร์และการค้า และเป็นชุมชนขนาดใหญ่มาตั้งแต่ก่อนสมัยอยุธยาตอนต้น  เป็นเมืองเกษตรกรรมและอาชีพหลักของประชาชนคือการทำสวนผลไม้ หมู่บ้านส่วนใหญ่ที่อยู่ริมน้ำปลูกเป็นกระท่อมไม้ไผ่เรือนยกสูงเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม  โดยปลูกบ้านเป็นแนวยาวไปตามแนวทางน้ำ ถัดเข้าไปตอนในจึงเป็นที่นาหรือป่าละเมาะ  ลักษณะการทำสวนของเมืองธนบุรีซึ่งเป็นแบบยกท้องร่อง  เป็นลักษณะการทำสวนแบบชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งและมณฑลกวางสี  จึงมีความเป็นไปได้ว่าชาวจีนตอนใต้ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานตามปากแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่สมัยนั้นแล้ว               ในเมืองธนบุรีมีการทำเกษตรกรรมที่ให้ผลผลิตดี  สินค้าสำคัญของธนบุรีที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นประเภทผลไม้และหมาก(๒) แต่ในขณะนั้นการทำไร่ทำนาก็ยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรเพราะฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล  สภาวะการขาดแคลนดังกล่าวนี้ปรากฏตรงกันอยู่ในบันทึกของชาวต่างชาติหลายฉบับ  เช่นที่ปรากฏข้อความในบันทึกของคณะบาทหลวงฝรั่งเศส ว่า“..เมื่อข้าพเจ้าได้ไปในเมืองไทยได้เห็นราษฎรพลเมืองซึ่งได้รอดพ้นมือพม่าไปได้นั้น ยากจนเดือดร้อนอย่างที่สุด ในเวลานี้ดูเหมือนดินฟ้าอากาศจะช่วยกันทำโทษพวกเขา ฝนก็ไม่ตกตามฤดูกาล ชาวนาได้หว่านข้าวถึง ๓ ครั้งก็มีตัวแมลงคอยกินรากต้นข้าวและรากทุกอย่าง โจรผู้ร้ายก็ชุกชุมมีทั่วไปทุกหนแห่ง เพราะฉะนั้นถ้าจะไปไหนก็ต้องมีอาวุธติดตัวไปด้วยเสมอ..”(๓)               สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงใช้วิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อรับซื้อข้าวสารจากเรือสำเภาของชาวต่างชาติในราคาสูงเพื่อนำมาแจกจ่ายแก่ราษฎร  ชาวบ้านที่เคยหลบหนีออกไปอยู่ตามป่าเขาจึงเริ่มอพยพกลับเข้ามาในกรุงธนบุรีเพิ่มมากขึ้น  แม้แต่ชาวต่างชาติที่ได้ร่วมรู้เห็นเหตุการณ์ในช่วงนี้ก็ยังได้บันทึกไว้เช่นกันว่า “..ภายใต้สถานการณ์ที่เลวร้ายนี้ พระยาตากได้แสดงให้เห็นถึงพระเมตตากรุณาของพระองค์ ความขัดสนไม่ได้ทำให้อดอยากต่อไปอีกนานนัก  เพราะพระองค์ทรงเปิดพระคลังหลวงเพื่อเป็นการบรรเทาทุกข์ ชาวต่างชาติได้ขายผลิตผลซึ่งไม่มีในประเทศสยามให้โดยต้องใช้เงินสดซื้อ ทรงใช้พระเมตตากรุณาของพระองค์เพื่อพิสูจน์ให้เห็นถึงความถูกต้องในการเข้ายึดครองอำนาจ  ทรงลบล้างเรื่องการกดขี่  ความปลอดภัยทั้งในเรื่องชีวิตและทรัพย์สินได้ฟื้นคืนกลับมา..”(๔)             ส่วนในพระราชพงศาวดารก็ได้บันทึกไว้เมื่อวันอาทิตย์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๓ ว่า “ข้าวสารเป็นเกวียนละ ๒ ชั่ง  อาณาประชาราษฎรขัดสน  จึงทรงพระกรุณาให้ข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยทำนาปรัง”(๕) แม้กระทั่งระดับเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์(๖) ซึ่งเป็นแม่ทัพก็ยังต้องมาคุมทำนาพื้นที่ฝั่งซ้ายขวา  กินเนื้อที่กว้างให้เป็นทะเลตมเพื่อป้องกันข้าศึก  และในเวลาต่อมาเมื่อบ้านเมืองได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ  กรุงธนบุรีจึงได้เริ่มมีการติดต่อค้าขายทั้งกับชาติตะวันออกและตะวันตก  ทางตะวันออกพระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้ส่งเรือสำเภาไปค้าขายถึงเมืองจีนตลอดจนอินเดียใต้  แต่กว่าที่จะเปิดการค้ากับราชสำนักจีนได้นั้นพระเจ้าตากต้องส่งพระราชสาสน์ไปเมืองจีนถึง ๔ ครั้ง(๗) เพื่อให้จีนรับรับรองฐานะความเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่ของสยาม พระราชสาสน์ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินส่งไปถวายจักรพรรดิจีน                         รายการเครื่องราชบรรณาการที่ส่งไปยังราชสำนักจีน จักรพรรดิเฉียนหลง                              หลังจากตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทรแล้ว  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ส่งพระราชสาสน์ไปเมืองจีนเพื่อถวายพระเจ้าเฉียนหลงจักรพรรดิจีนเพื่อให้รับรองฐานะกษัตริย์พระองค์ใหม่  โดยส่งพระราชสาสน์ไปกับเรือสินค้าของพ่อค้าจีน ชื่อ หยังจิ้นจง เนื้อความในพระราชสาสน์อธิบายการขึ้นครองราชย์ของพระองค์  พร้อมทั้งขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตซื้อเหล็กและปืนใหญ่มาทำสงครามกับพม่า  แต่ในปีเดียวกันหัวหน้าชุมนุมต่างๆ ที่ตั้งตัวเป็นอิสระก็ได้ส่งพระราชสาสน์ไปถวายพระเจ้าเฉียนหลงเพื่อให้ทรงรับรองฐานะการเป็นกษัตริย์ของสยามด้วยเช่นกัน  ครั้งนั้น พระเจ้าเฉียนหลงจึงได้ตอบปฏิเสธการรับรองฐานะของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  รวมทั้งปฏิเสธการขอซื้อเหล็กและปืนใหญ่ด้วย(๘)               การเจริญไมตรีทางการทูตกับจีนในอีก ๓ ครั้งต่อมาเมื่อพ.ศ.๒๓๑๘ พ.ศ.๒๓๒๐ และพ.ศ.๒๓๒๑  ทำให้กรุงธนบุรีได้รับการตอบรับด้วยไมตรีจากจักรพรรดิจีนมากยิ่งขึ้น  ในที่สุดสมเด็จพระจักรพรรดิจีนก็ทรงพระราชทานสิทธิให้กรุงธนบุรีสามารถทำการค้ากับจีนได้เต็มที่เช่นเดียวกับสมัยอยุธยา โดยไม่ต้องจำกัดอยู่แค่เมืองกวางตุ้งเช่นในระยะแรกๆ(๙) สินค้าที่กรุงธนบุรีซื้อจากจีนนั้น  ได้แก่ กำมะถัน กระทะเหล็ก แผ่นทองแดง เหล็ก เป็นต้น ส่วนสินค้าส่งออกมากที่สุดของกรุงธนบุรีจะเป็นพวกของป่า ได้แก่ ไม้ฝาง ไม้แดง ไม้ดำ รวมทั้งการค้าพริกไทยซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่เกิดจากความชำนาญด้านการเพาะปลูกของชาวจีนอพยพซึ่งส่วนใหญ่เป็นจีนแต้จิ๋ว  และมีแหล่งเพาะปลูกสำคัญอยู่ตามเมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันออก  รวมทั้งที่เมืองสงขลาซึ่งมีชาวจีนฮกเกี้ยนอยู่เป็นจำนวนมาก  สำหรับไม้ฝางนั้นนอกจากจะใช้ส่งออกแล้ว ยังเป็นสินค้าที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่นด้วย(๑๐) จะเห็นได้ว่าเวลาที่ประเทศจีนได้เปิดสัมพันธไมตรีการค้าอย่างเต็มที่กับกรุงธนบุรีเป็นยามที่บ้านเมืองเริ่มมีความมั่นคง  แม้ในระยะแรกจีนจะปฏิเสธความสัมพันธ์กับกรุงธนบุรีมาโดยตลอด เพราะมองว่าพระองค์เป็นคนธรรมดาสามัญ   แต่ท้ายที่สุดจีนก็ยอมรับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมากขึ้น  สังเกตได้จากหลักฐานบันทึกที่มีการออกพระนามพระองค์ว่า “เจิ้งเจา” ในช่วงปลายรัชสมัย  นอกจากนั้นเมื่อมีการส่งคณะทูตเพื่อถวายพระราชสาสน์อย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๔   ราชสำนักจีนได้ออกพระนามพระองค์ว่า “เจิ้งเจา พระเจ้าแผ่นดินสยาม” อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงการยอมรับของจีน  แต่กว่าที่จะได้มีการส่งราชทูตมาเจริญทางพระราชไมตรีอย่างเป็นทางการนั้นก็เป็นปีสุดท้ายในรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีพอดี(๑๑)   และจากการที่มีการเปลี่ยนรัชกาลเสียก่อน  ดังนั้นผลพลอยได้จึงตกอยู่ที่กรุงรัตนโกสินทร์แทนในเวลาต่อมา(๑๒)                สำหรับกลุ่มชาวจีนที่เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของธนบุรีในขณะนั้น ก็คือชาวจีนที่หลั่งไหลเข้ามาตั้งรกรากอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นจำนวนมาก บ้างก็ทำการค้าขายจนได้เข้ารับราชการในตำแหน่งสำคัญและมีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นอย่างยิ่ง อาทิ ชาวจีนกวางตุ้งชื่อ หยังจิ้นจง รับราชการจนได้บรรดาศักดิ์เป็นโกษาธิบดี ซึ่งทำหน้าที่ดูแลซื้อขายสินค้า  ชาวจีนแต้จิ๋วชื่อ จีนมั่วเส็ง  ต่อมาโปรดฯให้เป็นหลวงอภัยพานิช หรือจีนเรือง ซึ่งต่อมาได้เป็นพระพิชัยวารี  จีนฮกเกี้ยนมีขุนนางคนสำคัญคือ เฮาเหยี่ยง หรือ วูหยาง เป็นพ่อค้าจีนฮกเกี้ยนที่เดินทางมายังสงขลาและปลูกยาสูบขายจนร่ำรวย  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดให้เป็นเจ้าภาษีรังนกของสงขลา  ต่อเมื่อมีความดีความชอบทำอากรรังนกถวายเงินปีละ ๕๐ ชั่ง จึงแต่งตั้งให้มีบรรดาศักดิ์เป็น หลวงอินทรคีรีสมบัติ(๑๓) เป็นต้น  จนอาจกล่าวได้ว่าปัจจัยหนึ่งที่ทำให้กรุงธนบุรีก้าวสู่ระบบการค้าจีนในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ได้นั้นก็เพราะมีกลุ่มชาวจีนอพยพเป็นกำลังสำคัญ ด้วยการเป็นทั้งผู้ผลิตสินค้า ผู้จัดหา  เป็นทั้งขุนนางและลูกจ้างที่สร้างความเชื่อมโยงจนเกิดเป็นเครือข่ายการค้าในแต่ละเมืองขึ้น เครื่องราชบรรณาการที่ส่งไปถวายพระเจ้ากรุงจีน ปัจจุบันอยู่ที่ไทเป (ที่มา:kingthonburi.myreadyweb.com)                  นอกจากจะเปิดการค้ากับจีนแล้ว กรุงธนบุรีก็ยังได้ติดต่อการค้ากับชาวญวนและแขก เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเรียนรู้ภาษาทั้งสามจนทรงสามารถพูดได้อย่างชำนาญมาตั้งแต่เมื่อครั้งทรงเริ่มรับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา  นอกจากนั้นก็ยังมีการทำการค้ากับญี่ปุ่นและชาติอื่นๆด้วย  แต่เป็นการค้าที่ไม่ได้สร้างรายได้ให้กรุงธนบุรีมากเท่าการค้ากับจีน  และการได้ทำการค้าที่ผ่านพ่อค้าจีนนั้นก็ยังส่งผลดีที่ทำให้การค้าเริ่มขยายตัวออกสู่วงกว้างมากขึ้นด้วย(๑๔)                 สำหรับความสัมพันธ์ที่มีกับชาติตะวันตกนั้น  มีหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในเอกสารสำคัญของฝ่ายไทยและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ของกรุงธนบุรี นั่นก็คือ เรื่องจดหมายเหตุของพวกบาทหลวงฝรั่งเศส(๑๕) พวกเขาได้บันทึกเรื่องราวครั้งกรุงธนบุรีไว้  เริ่มตั้งแต่ช่วงแรกที่เดินทางเข้ามาในช่วงต้นรัชสมัย  อย่างเช่นที่มองซิเออร์คอร์บันทึกไว้ว่า “เมื่อข้าพเจ้าได้มาถึงบางกอก พระยาตากพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ ได้ทรงต้อนรับข้าพเจ้าอย่างดี และโปรดให้ข้าพเจ้าเลือกหาที่ดินตามใจชอบ ข้าพเจ้าได้เลือกที่ไว้แห่ง ๑ เหนือหมู่บ้านพวกเข้ารีต..”(๑๖) แต่ในส่วนประเด็นสำคัญคงเป็นเรื่องชะตากรรมของชาวยุโรป  ที่ทำให้ได้รับรู้เรื่องราวของพวกคริสตังโปรตุเกสที่ต้องหนีตายจากการถูกควบคุมตัวของทหารพม่า  ตลอดจนการบันทึกในช่วงหลังการเสียกรุงที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการค้าขายทั้งกับชาวอังกฤษ โปรตุเกส และฮอลันดา   หลักฐานเรื่องสินค้าสำคัญตามที่ปรากฏในบันทึก  นอกจากจะเป็นการค้าข้าวซึ่งเป็นสินค้าบริโภคที่จำเป็นยิ่งสำหรับการเสริมสร้างกำลังแก่กองทัพแล้ว  ในภาวะที่บ้านเมืองยังอยู่ในช่วงมีศึกสงครามติดพันเช่นนั้น  สินค้าอาวุธยุทโธปกรณ์ก็จะมีความสำคัญและจำเป็นไม่แพ้กัน  ดังที่ปรากฏเรื่องของการติดต่อซื้อดินปืนและปืนนานาชนิด ที่เรือสินค้าต่างชาติตามหัวเมืองชายทะเลได้บรรทุกเข้ามาจำหน่าย  การที่บาทหลวงฝรั่งเศสได้บันทึกถึงเรื่องการอาศัยเรือแขกมัวร์ไปยังบางกอก (พ.ศ.๒๓๑๓) แสดงให้เห็นว่ามีการนำเรือสินค้าเข้ามาค้าขายที่เมืองบางกอกแล้วตั้งแต่ตอน ต้นรัชสมัย  นอกจากนั้น ยังมีข้อความที่บันทึกไว้ในเวลาต่อมาว่า “ในปี พ.ศ.๒๓๒๒ แขกมัวร์จากเมืองสุราตในประเทศอินเดีย ได้นำสินค้าเข้ามาขายในกรุงธนบุรี และฝ่ายไทยก็ได้ส่งสำเภาหลวงไปค้าขายถึงอินเดีย”(๑๗)                  การค้าที่สำคัญอีกด้านหนึ่งนั้นก็คือการค้ากับฮาเตียน(๑๘) สินค้าที่นำเข้าจำนวนมากคือข้าว  นอกจากนั้นก็ยังปรากฏหลักฐานการค้ากับบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา (V.O.C.) ว่า “ในปีพ.ศ.๒๓๑๒ ออกญาพิพัทธโกศาได้ส่งจดหมายไปถึงข้าหลวงใหญ่ของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาในเมืองปัตตาเวีย เพื่อชักชวนให้กลับมาตั้งสถานีการค้าในกรุงธนบุรี และติดต่อขอซื้ออาวุธปืนจำนวน ๑,๐๐๐ กระบอก บริษัทอินเดีย ตะวันออกของฮอลันดาได้ตกลงขายปืนให้ ๕๐๐ กระบอก โดยแลกกับไม้ฝาง หากมีไม้ฝางไม่พอก็สามารถจ่ายเป็นขี้ผึ้งได้”(๑๙)  ถึงแม้บริษัทอินเดียตะวัน ออกของฮอลันดาจะไม่ได้กลับมาตั้งสถานีการค้าในธนบุรี  แต่ก็ยังมีการติดต่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าอีกหลายครั้ง เช่นในพ.ศ.๒๓๑๗  ธนบุรีได้ซื้อปืนอีก ๓,๐๐๐ กระบอก  และการซื้อขายแต่ละครั้งก็ยังดำเนินการผ่านชาวจีนที่เดินเรืออยู่ระหว่างสยามและปัตตาเวีย  โดยส่วนมากเป็นการซื้ออาวุธ  รองลงมาคือข้าวและม้า(๒๐)               จากการได้ติดต่อการค้าระหว่างกรุงธนบุรีกับชาติตะวันตกในช่วงเวลาดังกล่าว ทำให้เราได้รู้จักพ่อค้าชาวอังกฤษ ชื่อ ฟรานซิส ไลต์ (Francis Light) ตลอดจนได้รับรู้เรื่องราวที่เขาที่ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับกรุงธนบุรีอีกด้วย  เขาเป็นผู้ที่ทำให้กรุงธนบุรีได้ทำการซื้ออาวุธปืนกับชาติตะวันตกอีกครั้ง  และมีคุณงามความดีจนกระทั่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ พระยาราชกปิตัน แก่เขาในภายหลัง(๒๑)              ฟรานซิส ไลต์ เกิดเมื่อ พ.ศ.๒๒๘๘ ที่เมืองดัลลิงฮู (Dallinghoo) ซัฟฟอล์ก (Suffolk) ประเทศอังกฤษ หลังสำเร็จการศึกษาได้เข้ารับราชการกับราชนาวีอังกฤษเป็นเวลา ๕ ปี ตั้งแต่พ.ศ.๒๓๐๒ ถึงพ.ศ.๒๓๐๖ ตำแหน่งสุดท้ายในการรับราชการคือนายเรือโท  จากนั้นจึงได้ลาออกจากราชการมาเป็นนายเรือพาณิชย์สังกัดบริษัทบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ (British East India Company) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เบงกอลซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย  และเดินเรือทำการค้าอยู่ระหว่างท่าเรือตามชายฝั่งอินเดียกับคาบสมุทรมลายู  นายจอห์น ครอเฟิร์ด (John Crawfurd) ให้ข้อมูลไว้ว่า ฟรานซิส ไลต์ ได้สมรสกับสาวลูกครึ่งไทย-โปรตุเกสชาวเมืองถลาง ชื่อ มาร์ตินา โรเซล และตั้งรกรากอยู่ที่เมืองถลางมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๑๕  และต่อมาได้ย้ายศูนย์กลางการค้าไปอยู่ที่ปีนังหรือเกาะหมาก  สินค้าสำคัญที่ค้าขายอยู่ในเวลานั้นก็คือ ข้าว  ซึ่งมีลักษณะการค้าขายที่ใช้ดีบุกในการชำระอัตราค่าซื้อขายแทนการใช้เงิน  แต่สิ่งที่ทำให้การค้าของฟรานซิส ไลต์กับสยามประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งและกลายเป็นบุคคลสำคัญของภูมิภาคนี้  ก็คือการค้าอาวุธปืนนานาชนิด  โดยเฉพาะปืนใหญ่ประเภทต่างๆ รวมทั้งการค้าดินปืนให้กับเมืองถลางและเมืองชายทะเลอื่น ๆทางภาคใต้ของสยาม  เพราะขณะนั้นสยามยังขาดแคลนทั้งอาวุธและยุทธปัจจัยใหม่ๆที่มีประสิทธิภาพเพื่อใช้ในการต่อสู้ป้องกันประเทศในระหว่างการศึกกับพม่า  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงโปรดให้ฟรานซิส ไลต์เป็นธุระในการติดต่อขอซื้ออาวุธ  ซึ่งปรากฏหลักฐานในบันทึกว่า กรมการเมืองถลางซื้อปืนคาบศิลา ๙๖๒ กระบอก ปืนชาติเจะระมัด ๙๐๐ กระบอก โดยมีกปิตันมังกูเป็นผู้นำส่งมายังกรุงธนบุรี และเป็นการซื้อขายแลกเปลี่ยนกับดีบุก(๒๒) ซึ่งเรื่องการค้าขายกับชาติตะวันตกในช่วงดังกล่าวนี้ก็ปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ปีวอกอัฐศก (พ.ศ.๒๓๑๙) เป็นข้อความเพียงสั้น ๆว่า  “เจ้ากรุงปัญยีจัดซื้อปืนถวายเข้ามา ๑๔๐๐ และสิ่งของเครื่อบรรณาการต่างๆ”(๒๓) เพื่อมอบเป็นบรรณาการแก่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  นอกจากนี้ก็มีเอกสารต่างประเทศฉบับอื่นๆ บันทึกเหตุการณ์เดียวกันนี้ไว้ และบางฉบับ(๒๔)ยังกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า กรุงธนบุรีได้สั่งซื้อปืนจากอังกฤษ  โดยมีจดหมาย โต้ตอบระหว่างกัน และในการจัดซื้อครั้งหนึ่ง ฟรานซิส ไลต์ได้เขียนจดหมายไปถึงนายยอร์ช สแตรตตัน(๒๕) ฉบับลงวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๐ ข้อความตอนหนึ่งว่า  พระเจ้าแผ่นดินสยามได้สดับว่าพม่ากำลังให้ความสนใจฝรั่งเศสมาก ลำพังพม่าพวกเดียวแล้วพระองค์ไม่กลัว แต่ทรงวิตกว่าพม่าจะเข้ารวมกับพวกฝรั่งเศสซึ่งมีอยู่มากในหงสาวดีและอังวะ จึงทรงเห็นภัยที่จะมีมาถึงประเทศ(๒๖)                ในเวลาต่อมาพระยาราชกปิตันได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการเกาะปรินซ์ ออฟ เวลส์ (Governor of Prince of Wales) หรือเจ้าเมืองปีนังคนแรก  แต่เขาก็ยังคงมีบทบาทพ่อค้าอาวุธกับราชอาณาจักรไทยอยู่อย่างต่อเนื่องนับจากสมัยกรุงธนบุรีเรื่อยมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  ดังปรากฏอยู่ในเอกสารเมืองถลาง หรือจดหมายของพระยาถลางและคุณหญิงจันที่มีไปถึงฟรานซิส ไลต์  เจ้าเมืองปีนัง เอกสารประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญนี้เป็นจดหมายอักษรไทยจำนวนกว่า ๖๐ ฉบับซึ่งได้ถูกเก็บรักษาไว้ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน  มีสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่องการติดต่อการค้าระหว่างพระยาราชกปิตันกับเมืองถลางในระหว่าง พ.ศ.๒๓๒๘ ถึง ๒๓๓๓  เนื้อความส่วนใหญ่บอกเล่าถึงสถานการณ์ในช่วงวิกฤตของเมืองถลาง  เมืองตะกั่วป่า และเมืองตะกั่วทุ่งภายหลังการศึกสงครามกับพม่า  สภาพบ้านเมืองที่ได้รับความเสียหาย  ยุ้งฉางข้าวที่ถูกพม่าเผาทำลายเพื่อมิให้หลงเหลือเป็นเสบียงอาหาร  จนทำให้ประชาชนต้องอดอยากขาดแคลนและการต้องใช้ดีบุกในการแลกเปลี่ยนกับสินค้าต่างๆ  เป็นต้น                  แม้ยามนั้นบ้านเมืองจะตกอยู่ในภาวะศึกสงคราม  แต่ต้องยอมรับว่าการขับเคลื่อนของกลุ่มชาวจีนที่อพยพเข้ามาคือกลไกสำคัญที่ช่วยผลักดันให้กรุงธนบุรีมีการค้าที่เจริญรุ่งเรือง  ทั้งยังทำให้การติดต่อค้าขายสามารถเชื่อมโยงไปสู่อาณาจักรอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อีกด้วย  การค้าในสมัยกรุงธนบุรีทั้งการค้าภายในและภายนอกนั้นมีแต่ชาวจีนที่เป็นคนดำเนินการ  แม้แต่ชาวตะวันตกที่เดินทางเข้ามาในช่วงนั้นก็ยังได้บันทึกว่า การค้าสำคัญของที่นี่อยู่ในมือชาวจีนทั้งหมด และพระมหากษัตริย์เองก็พอใจจะให้เป็นเช่นนั้น(๒๗)                                                                                                                                                                                                                     เรียบเรียงโดย เสาวลักษณ์ กีชานนท์                                                                                                                    นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ                                                                                                                             กลุ่มแปลและเรียบเรียง เชิงอรรถ   ๑  ปรากฏชื่ออยู่ในกฎหมายตราสามดวงว่า “เมืองธนบุรียศรีมหาสมุทร”ซึ่งแปลว่า“เมืองแห่งทรัพย์อันเป็นศรีแห่งสมุทร”    ๒  จุมพฎ ชวลิตานนท์. การค้าส่งออกของอยุธยาระหว่างพ.ศ.๒๑๕๐-๒๓๑๐.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์           คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.๒๕๓๑. หน้า๔๓.    ๓  ศิลปากร,กรม. ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๙. หน้า ๘๗    ๔ สมศรี เอี่ยมธรรม. ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ฉบับตุรแปง. (กรุงเทพฯ : หจก.อรุณการพิมพ์) ๒๕๕๙. น. ๒๒๓.    ๕ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม).(กรุงเทพ : มปท. มปป.) ๒๕๐๖. น. ๔๐.     ๖ ภายหลังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาเป็น สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท หรือวังหน้าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ        พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช    ๗ ณัฏฐภัทร จันทวิช. ข้อเท็จจริงบางประการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนปลายและธนบุรีจากจดหมายเหตุจีน.        วารสารศิลปากร ๒๕ (พค.-กค.๒๕๒๓) น.๕๕.    ๘  จิราธร ชาติศิริ เศรษฐกิจธนบุรีในศตวรรษแห่งจีน.หน้า.๒๔๒. อ้างจาก สืบแสง พรหมบุญ เรื่อง ความสัมพันธ์ในระบบ        บรรณาการระหว่างจีนกับไทยในค.ศ.๑๒๘๒-๑๘๕๓.   ๙  จิราธร ชาติศิริ. อ้างแล้ว. หน้า๒๔๓.  ๑๐  อ้างแล้ว. หน้า๒๔๗.  ๑๑  กรมศิลปากร. ทศภาค : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช.(๒๕๕๙). หน้า ๒๔๑.  ๑๒  สุดารา สุจฉายา. พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จากหนังสือ ทศภาค : สมเด็จพระเจ้าตากสิน        มหาราช, กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.๒๕๕๙. น.๔๕.   ๑๓  จิราธร ชาติศิริ. อ้างแล้ว. หน้า๒๕๒.   ๑๔  จิราธร ชาติศิริ. อ้างแล้ว. หน้า ๒๔๘.   ๑๕ ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๙ จดหมายเหตุบาทหลวงฝรั่งเศสในแผ่นดินพระเจ้าเอกทัศ กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น   ๑๖  ศิลปากร, กรม.ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๓๙. หน้า ๘๘.   ๑๗  http://wikipedia.org. ความสัมพันธ์กับต่างชาติในสมัยกรุงธนบุรี. (เข้าถึงเมื่อ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๐).   ๑๘ หมายถึงเมืองพุทไธมาศ หรือบันทายมาศ ปัจจุบันตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเวียดนามติดกับกัมพูชา   ๑๙ จิราธร ชาติศิริ. เศรษฐกิจกรุงธนบุรีในศตวรรษแห่งจีน. กรุงเทพฯ : หจก.สามลดา. หน้า ๒๔๙  อ้างอิงจาก ธีรวัติ ณ ป้อม         เพชร จดหมายจากพิพัทธโกศา ถึงบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา หน้า๓๓-๔๐.    ๒๐ จิราธร ชาติศิริ. อ้างแล้ว. หน้า ๒๔๙.   ๒๑   จากเอกสารและจดหมายหลายฉบับที่ข้าราชการและชาวเมืองถลางเขียนถึงฟรานซิส ไลต์ ลงวันที่เดือนปี ในพ.ศ.๒๓๒๒ ได้          เรียกเขาตามบรรดาศักดิ์อย่างชัดเจนว่า พระยาราชกปิตัน ซึ่งยังอยู่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  อย่างไรก็ดี  บาง         หลักฐาน เช่น หนังสือชุมนุมประกาศรัชกาลที่ ๔ ได้อ้างว่า กัปตันฟรานซิส ไลต์ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาราช          กปิตันในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช   ๒๒   จิราธร ชาติศิริ. เศรษฐกิจกรุงธนบุรีในศตวรรษแห่งจีน.อ้างแล้ว. หน้า ๒๔๙.    ๒๓  กรมศิลปากร, พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี. (กรุงเทพฯ : มปป. มปท.) น. ๙๒   ในพระราชพงศาวดารฉบับพระ           ราชหัตถเลขาและเอกสารต่างประเทศหลายฉบับกล่าวตรงกันว่า หมายถึงกปิตันเหล็ก เจ้าเมืองเกาะหมาก    ๒๔  หนังสือ Taksin the Great by History World  Published: Lulu.com on May 15,          2013    ๒๕ George Stratton ชาวอังกฤษซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งไวซ์รอยหรือผู้สำเร็จราชการแห่งมัทราส  (Viceroy of Madras)    ๒๖  อาณัติ อนันตภาค. สองมหาราชกู้แผ่นดิน. น.๑๔.     ๒๗  จิราธร ชาติศิริ. อ้างแล้ว. หน้า๒๕๔ อ้างอิงจาก Sarasin Viraphol. Tribute and Profit:Sino-Siamese trade 1652-          1853. Cambridge: Harward U.Press,1977.p.172.


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.5/1-7 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)



สุไหงบารู             สุไหงบารู หรือคลองใหม่ (สุไหง=คลอง, บารู=ใหม่) เป็นชื่อคลองในแขวงเมืองปัตตานี ซึ่งขุดขึ้นตามบัญชาของพระยาวิชิตภักดีศรีสุรวังษารัตนาเขตประเทศราช (สุลต่านสุไลมานชารีฟุดดินหรือตนกูบอสู) ผู้ปกครองเมืองปัตตานีระหว่างพ.ศ.๒๔๓๓-๒๔๔๒ เพื่อใช้เป็นคลองลัดในการเดินทางในแม่น้ำปัตตานี มีจุดเริ่มต้นแยกจากแม่น้ำปัตตานีบริเวณบ้านปรีกี ตำบลกระโด อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี และไปบรรจบกับแม่น้ำปัตตานีอีกครั้งในบริเวณรอยต่อตำบลยะรังและตำบลประจัน อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี สามารถย่นระยะทางจากเดิมราว ๒๑ กิโลเมตร ให้เหลือเพียงประมาณ ๗ กิโลเมตร และแนวคลองขุดลัดแม่น้ำปัตตานีทั้งหมดอยู่ในดินแดนแขวงเมืองปัตตานี .........................................................................................  การขุดคลองด้วยเหตุประหลาด            สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เสด็จตรวจราชการหัวเมืองปักษ์ใต้ พ.ศ.๒๔๓๙ เมื่อเสด็จมาถึงเมืองปัตตานีทรงบันทึกเรื่องราวของคลองแห่งนี้ไว้ว่า “...มีคลองลัดซึ่งพระยาตานีได้ขุดด้วยเหตุอันปลาดแห่งหนึ่ง ด้วยแม่น้ำนี้ปลายน้ำมาแต่เมืองยะลา ไหลไปในเขตรแดนหนองจิก ก่อนแล้วจึงวกมาออกปากน้ำเมืองตานี สินค้าที่ล่องลงมาตามลำน้ำถึงพรมแดนเมืองหนองจิกๆ ตั้งเก็บภาษีผ่านเมืองตรงนั้น ครั้นเรือล่องเข้าพรมแดนเมืองตานีๆ เก็บอิกซ้ำ ๑ เปนที่ย่อท้อของพ่อค้าภากันไป ออกทางปากน้ำเมืองหนองจิกเปนอันมาก เพื่อเหตุที่จะหนีภาษีสองซ้ำ พระยาตานีจึงคิดขุดคลองลัดขึ้นในพรมแดนเมืองตานีไปทะลุออก ลำน้ำใหญ่เหนือพรมแดนเมืองหนองจิก กันให้เรือหลีกลงมาทางนี้ได้ แต่คลองนี้ยังตื้นเดินได้แต่ระดูน้ำ…” ............................................................................................... ผลจากการขุดคลอง         ๑.การขุดคลองสุไหงบารูทำให้พ่อค้าสามารถเดินทางตามลำน้ำปัตตานีโดยไม่ต้องวกเข้าไปในดินแดนของเมืองหนองจิก ทำให้เมืองปัตตานีมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีขาเข้าขาออกมากขึ้น แต่ก็ทำให้รายได้จากการจัดเก็บภาษีขาเข้าขาออกของเมืองหนองจิกลดลง         ๒.ทางราชการต้องวางแผนเปลี่ยนลักษณะการจัดเก็บภาษีขาเข้าขาออกใหม่เพื่อลดความซ้ำซ้อน และเหตุขัดแย้งระหว่างเมืองต่างๆ โดยวางแผนให้มีการจัดเก็บภาษีขาเข้าขาออกที่ปากน้ำหลัก ๔ แห่ง คือปากน้ำเมืองหนองจิก ปากน้ำเมืองตานี ปากน้ำเมืองสายบุรี และปากน้ำเมืองยะหริ่ง โดยให้ยกเลิกด่านตรวจเก็บภาษีตามพรมแดนรอยต่อเมืองต่างๆให้หมด         ๓.การขุดคลองสุไหงบารูซึ่งเป็นคลองลัดส่งผลให้แม่น้ำปัตตานีเดิมที่ไหลผ่านเข้าไปในแดนเมืองหนองจิกแห้งขอด จนมีน้ำไม่พอหล่อเลี้ยงนาข้าวซึ่งเป็นผลผลิตหลักของเมืองหนองจิก นอกจากนี้ปริมาณน้ำจืดและตะกอนดินที่แม่น้ำปัตตานีเคยพัดพามามีปริมาณลดลงมากส่งผลให้เมืองหนองจิกเกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งและการลุกล้ำเข้ามาของน้ำเค็มมาก ขึ้นด้วย เรียบเรียงโดย นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ กราฟฟิค นางสาวนันธ์ทิกา นิชรานนท์  เจ้าหน้าที่ทั่วไปกลุ่มโบราณคดี



สิงห์ : ผู้คุ้มครองศาสนสถานเมืองกำแพงเพชร องค์ความรู้จากอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ทวารบาล หมายถึง นายประตูหรือผู้ปกปักรักษาประตู ไม่ให้สิ่งที่เป็นอันตรายหรือสิ่งชั่วร้ายผ่านไปสู่พื้นที่ด้านหลังบานประตูนั้นได้ ศาสนสถานเปรียบเสมือนที่ประทับแห่งเทพหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นจึงต้องมีการสร้างรูปทวารบาลของศาสนสถานที่ดูน่าเกรงขามหรือทำให้เชื่อว่าป้องกันสิ่งที่ชั่วร้ายได้เพื่อเอาไว้คุ้มครองและอำนวยพรแก่ผู้มาสักการะให้รู้สึกปลอดภัยจากสิ่งชั่วร้าย จึงปรากฏการสร้างประติมากรรมรูปบุคคล และรูปสัตว์ชั้นสูงหรือสัตว์ที่เป็นมงคล บริเวณทางเข้าหรือประตูเพื่อเป็นทวารบาลในการปกป้องและคุ้มครองศาสนสถานแห่งต่าง ๆ  สิงห์ ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานพุทธศักราช ๒๕๕๔ หมายถึง สัตว์ในนิยาย ถือว่ามีความดุร้ายและมีกำลังมาก และมีที่มาจากสิงโตซึ่งเป็นสัตว์ในท้องถิ่นของประเทศอินเดีย เป็นตัวแทนของราชาแห่งสรรพสัตว์ทั้งหลาย สิงห์จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งกษัตริย์ เมื่อพระพุทธเจ้านั้นเคยเป็นบุคคลในวรรณะกษัตริย์ สิงห์จึงถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ในทางพระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่ง ดังนั้นจึงปรากฏประติมากรรมรูปสิงห์ในฐานะทวารบาลบริเวณทางเข้าของศาสนสถาน ก่อนจะส่งต่อคติดังกล่าวไปยังจีนและเขมรในเวลาต่อมา ในพื้นที่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามลักษณะทางสัตวภูมิศาสตร์ไม่ปรากฏสิงโตตามธรรมชาติ แต่รูปสิงห์นี้ก็ปรากฏอยู่ในลวดลายเครื่องประดับของเขมรตามแบบที่ได้รับมาจากอินเดีย ต่อมาประติมากรรมรูปสิงห์ลอยตัวของเขมรก็ปรากฏขึ้น และตั้งอยู่หน้าบันไดทางเข้า ณ ศาสนสถานหลายแห่ง เช่น ปราสาทหมู่กลางหลังที่ ๑ ที่สมโบร์ไพรกุก และปราสาทถมอดอบ รวมถึงทางเข้าของปราสาทหินพิมายในประเทศไทย ที่เมืองกำแพงเพชรปรากฏประติมากรรมสิงห์ในฐานะทวารบาลบริเวณทางเข้าโบราณสถานหลายแห่ง เช่น โบราณสถานวัดช้างรอบ พบโกลนศิลาแลงประติมากรรมรูปสิงห์และด้านหลังสิงห์เป็นโกลนประติมากรรมรูปบุคคลบริเวณเชิงบันไดทางขึ้นลานประทักษิณของเจดีย์ประธาน  โบราณสถานวัดสิงห์ พบร่องรอยประติมากรรมรูปสิงห์และด้านหลังเป็นโกลนประติมากรรมรูปบุคคลตั้งเป็นคู่กัน บริเวณด้านหน้าชานชาลาของอุโบสถ และโบราณวัดพระนอนพบร่องรอยประติมากรรมรูปสิงห์จำนวน ๑ คู่ บริเวณบันไดต่อจากทางเข้าวัดด้านทิศใต้ แต่ไม่ปรากฏร่องรอยประติมากรรมของรูปบุคคลด้านหลังแบบที่พบในวัดช้างรอบและวัดสิงห์ แม้ว่าร่องรอยประติมากรรมสิงห์ที่พบที่วัดสิงห์และวัดพระนอนปรากฏสภาพที่ไม่สมบูรณ์นัก แต่พบหลักฐานจากภาพถ่ายเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรเมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๙ ปรากฏประติมากรรมรูปสิงห์ที่บริเวณดังกล่าวอย่างชัดเจน นอกจากการพบประติมากรรมรูปสิงห์ในฐานะทวารบาลบริเวณทางเข้าของศาสนสถานแล้ว ที่เมืองกำแพงเพชรยังพบเจดีย์ทรงระฆังที่มีประติมากรรมสิงห์ล้อมที่ฐานเจดีย์พบที่วัดพระแก้ว ซึ่งเจดีย์รูปแบบดังกล่าวเป็นเจดีย์รูปแบบพิเศษพบที่กรุงศรีอยุธยา ๒ แห่ง คือเจดีย์ประธานวัดแม่นางปลื้มและเจดีย์ประธานวัดธรรมิกราช การประดับประติมากรรมรูปสิงห์ล้อมฐานเจดีย์ดังกล่าวนี้คงเทียบได้กับการทำรูปช้างล้อม กล่าวคือระเบียบในการประดับประติมากรรมรูปสัตว์ที่ฐานได้รับรูปแบบมาจากเจดีย์ช้างล้อมในศิลปะสุโขทัย แต่การประดับรูปสิงห์นั้นคงดัดแปลงเอามาจากศิลปะอยุธยาซึ่งได้รับอิทธิพลดังกล่าวมาจากศิลปะเขมร นอกจากนี้ที่โบราณสถานวัดอาวาสใหญ่ บริเวณฐานไพทีรูปตัวแอล (L) ที่รองรับเจดีย์บริวารจำนวน ๘ องค์ด้านบน ส่วนด้านทิศเหนือของวิหาร พบโกลนประติมากรรมรูปสิงห์ สันนิษฐานจากร่องรอยของสลักศิลาแลงที่ยื่นต่อออกมาจากฐานไพทีดังกล่าวน่าจะเป็นส่วนที่เคยรองรับประติมากรรมรูปสิงห์มาก่อน ซึ่งพบหลักฐานเฉพาะส่วนด้านทิศเหนือเท่านั้น และไม่พบสลักหรือโกลนประติมากรรมรูปสิงห์ที่ส่วนอื่นและฐานไพทีด้านทิศใต้แต่อย่างใด นอกจากนี้จากภาพถ่ายเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๙ ยังคงปรากฏประติมากรรมรูปสิงห์บริเวณชานชาลาหน้าวิหารในฐานะของทวารบาลอีกด้วย จากรูปแบบการพบประติมากรรมรูปสิงห์ที่เมืองกำแพงเพชรทั้งส่วนที่เป็นประติมากรรมในฐานะทวารบาลและส่วนที่เป็นประติมากรรมล้อมฐานเจดีย์ จึงเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าที่เมืองกำแพงเพชรมีคติความเชื่อเรื่องการสร้างทวารบาลเพื่อปกป้องศาสนสถาน โดยใช้สิงห์เพื่อแสดงให้เห็นถึงสัญลักษณ์ของความมีพลังอำนาจและความดุร้ายเพื่อคุ้มครองดูแลศาสนสถาน เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. ทวารบาลผู้รักษาศาสนสถาน. พิมพ์ครั้งที่ ๒ .กรุงเทพฯ : บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง), ๒๕๔๖. สุรพล ดำริห์กุล. “เจดีย์ช้างล้อมและเจดีย์สิงห์ล้อมในกรุงศรีอยุธยา” .วารสารวิจิตรศิลป์. ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๒ (กรกฎาคม – ธันวาคม ๒๕๕๗) หน้าที่ ๑๐๑ – ๑๓๑. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพุทธศักราช ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, ๒๕๕๔. หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล. ศิลปะขอม.กรุงเทพฯ : บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๔๗.


พุทธเจดีย์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2519.         หนังสือเรื่องพระพุทธเจดีย์ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างนี้ เป็นหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับวัตถุสถานต่าง ๆ เช่น วัด พระราชวัง พระที่นั่ง และสถานที่สำคัญอื่น ๆ


พ.ต.อ.สำราญ กลัดศิริ จัดพิมพ์ถวายในงานฉลองสมณศักดิ์ พระเทพเมธาจารย์ เจ้าอาวาศวัดโพธาราม นครสวรรค์ ๗ มีนาคม ๒๕๐๓ 


Messenger