ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ

ชื่อวัตถุ ครกบด ทะเบียน ๒๗/๓๒/๒๕๓๖ อายุสมัย รัตนโกสินทร์ วัสดุ(ชนิด) หิน ขนาด ส่วนบน กว้าง .๓๓เซนติเมตรสูง ๑๔เซนติเมตร ส่วนล่าง กว้าง ๖๖เซนติเมตร สูง ๑๗.๕เซนติเมตร สูงรวมฐาน ๓๑.๕เซนติเมตร ประวัติ เป็นของมาดารสำหรับโม่แป้งทำขนมจีนอายุประมาณ๗๐ กว่าปีมาแล้ว เป็นของสะสมมาแต่เดิม เก็บรักษา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง “ครกบด” แป้ง เป็นส่วนประกอบหลักของอาหารไทยทั้งคาวหวานหลายชนิด เช่น ขนมจีน ลอดช่อง และบัวลอย เป็นต้น ในอดีตไม่มีแป้งสำเร็จรูปขายหากต้องการใช้แป้งจะต้อง โม่เอง อุปกรณ์ที่ใช้โม่แป้งเรียกว่า “ครกบด” ครกบดทำมาจากหินหรือซีเมนต์ มีหลายขนาดทั้งเล็กและใหญ่ ครกบดประกอบด้วย ๒ ส่วน คือ ตัวครกและฝาครก“ตัวครก” อยู่ด้านล่าง ขอบยกสูงและมีแอ่งล้อมรอบ ตรงกลางเรียกว่า “ฟันครก” มีหน้าตัดเซาะเป็นร่อง กึ่งกลางตัวครกเป็นรูสำหรับใส่เดือยยึดฝาครก “ฝาครก” ด้านล่างตรงกลางมีรูสำหรับสวมเดือย หน้าตัดเซาะร่องเป็นฟันครก ด้านบนมีรูใช้ใส่ข้าวสารที่จะโม่ ด้านข้างมีช่องสี่เหลี่ยมใช้ใส่มือครก ครกขนาดเล็กมีมือครก ๑ มือ เรียก “ครกมือเดียว” ครกขนาดใหญ่มี ๒ มือ เรียก “ครกสองมือ” วิธีการใช้ครกบด ต้องนำข้าวสารมาแช่น้ำให้พอง แล้วจึงค่อยๆ หยอดข้าวสารลงรูซึ่งอยู่ที่ปากครกและหมุดครก ข้าวสารที่ถูกบดแล้วจะค่อยๆ ลงมาที่แอ่งของตัวครก การหยอดข้าวสารต้องหยอดในบริมาณที่เหมาะสม เพราะถ้ามีข้าวมากแต่น้ำน้อยจำให้ข้นหนืดต้องหยอดน้ำช่วย แต่ถ้ามีน้ำมากกว่าข้าวแป้งก็จะเหลว และฟันครกจะเสียดสีกันทำให้ทรายหรือซีเมนต์หลุดติดมากับแป้งได้ เมื่อใช้ครกบดเสร็จแล้วจะต้องล้างให้สะอาดไม่ให้มีเศษแป้งติดอยู่ หากมีแป้งติดอยู่จะทำให้ครกบูดเน่าได้ “ครกบด” เป็นของใช้คู่ครัวไทยในอดีตซึ่งใช้ในทุกภูมิภาค ในภาคใต้แถบจังหวัดพังงา เรียกว่า “ครกสีหิน” ในปัจจุบันคนเลิกใช้ครกบดแล้วเพราะมีแป้งสำเร็จรูปขาย แต่หลายบ้านยังคงเก็บครกบดไว้ ซึ่งทำให้คนรุ่นใหม่ได้รู้จักและเรียนรู้วิถีชิวีตของคนในสมัยก่อนผ่านข้าวของเครื่องใช้ในอดีตอย่าง “ครกบด” เอกสารอ้างอิง - อุดม หนูทอง. “ครกบด.” สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ พ.ศ.๒๕๔๒ เล่ม ๒.กรุงเทพ : บริษัท สยามเพรส แมเนจเมนท์ จำกัด,๒๕๔๒.


วันที่ 2 มีนาคม 2561 หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา ร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ในโครงการพัฒนาสัมพันธ์เครือข่ายมวลชนเพื่อความมั่นคงภายใน ประจำปี 2561 ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดนครราชสีมา ณ โรงเรียนบ้านหิ่งห้อย ตำบลหนองแวง อำเภอเทพารักษ์ จ.นครราชสีมา



(เมืองราชบุรี ปี พ.ศ.2500)     แหล่งที่มาของภาพ : http://www.skyscrapercity.com/           จังหวัดราชบุรีมีชื่ออันเป็นมงคลยิ่ง หมายถึง ” เมืองพระราชาราชบุรีเป็นเมืองเก่าแก่ เมืองหนึ่งของประเทศไทย จากการศึกษาและขุดค้นของ นักประวัติศาสตร์  นักโบราณคดี  พบว่าดินแดนแถบลุ่ม  แม่น้ำแม่กลองแห่งนี้เป็น ถิ่นฐานที่อยู่อาศัยของคนหลายยุคหลายสมัย  และมีความรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีต จากหลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุมาก ทำให้เชื่อได้ว่ามีผู้คนตั้งถิ่นฐานอยู่ ใน  บริเวณนี้ตั้งแต่ยุคหินกลาง  ตลอดจนได้ค้นพบเมืองโบราณสมัยทราวดีที่ตำบลคูบัว  อำเภอเมืองราชบุรี  พระบาทสมเด็จพระยุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ได้เคยดำรงตำแหน่งหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรีในสมัยกรุง ศรีอยุธยา  ตอนปลาย  ซึ่งในช่วงปลายสมัย กรุงศรีอยุธยาและตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์  ปรากฎหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า  เมืองราชบุรีเป็นเมือง    หน้าด่านที่สำคัญ  และ  เป็นสมรภูมิการรบหลายสมัย    โดยเฉพาะในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ยกทัพมาตั้งรับศึกพม่าในเขต ราชบุรีหลายครั้ง   ครั้งสำคัญที่สุดคือสงครามเก้าทัพ    ต่อมา พ.ศ. 2360  ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้าฯ  ให้สร้างกำแพงเมืองใหม่ทาง ฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่กลองตลอดมาจนถึงปัจจุบัน  ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน   พ.ศ. 2437  ได้ทรงเปลี่ยนการปกครองส่วนภูมิภาคโดยรวมหัวเมืองต่างๆ  ที่อยู่ใกล้ชิดกัน  ตั้งขึ้นเป็นมณฑล  และได้รวมเมืองราชบุรี  เมืองกาญจนบุรี  เมืองสมุทรสงคราม   เมืองเพชรบุรี  เมืองปราณบุรี  เมืองประจวบคีรีขันธ์     รวม 6 เมือง  ตั้งขึ้นเป็นมณฑลราชบุรี  ตั้งที่บัญชาการมณฑล  ณ  ที่เมืองราชบุรี ทางฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง     (ปัจจุบันคือศาลากลางจังหวัดราชบุรีหลังเก่า)  ต่อมาใน  พ.ศ.  2440  ได้ย้ายที่บัญชาการเมืองราชบุรี  จากฝั่งซ้าย กลับมาตั้งรวมอยู่แห่งเดียวกับศาลาว่าการมณฑลราชุบรี  ทางฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง  จนถึง พ.ศ. 2476    เมื่อได้มีการยกเลิกการปกครองแบบมณฑลทั้งหมด  มณฑลราชบุรีจึงถูกยกเลิกและคงฐานะเป็นจังหวัดราชุบรีจนถึงปัจจุบัน ตราประจำจังหวัดราชบุรี           ตราประจำจังหวัดแต่เดิมเป็นอาร์ม (Arm) วงกลม ใช้สัญลักษณ์รูปน้ำหลากทุ่ง มีภูเขาเป็นฉากหลัง ล้อมรอบด้วยงูใหญ่   ส่วนท้องฟ้าเหนือภูเขานั้นมีตราครุฑซึ่งใช้เป็นตราแผ่นดินและเครื่องหมายของ ทางราชการ กำกับด้วยข้อความว่า “จังหวัดราชบุรี”   ที่ตอนล่างภายในกรอบอาร์ม หมายความถึง “เขางู” อันเป็นสถานที่สำคัญและรู้จักกันอย่างแพร่หลายทั้งในหมู่ชาวราชบุรีเองและ ชาวจังหวัดใกล้เคียง          ตราประจำจังหวัดดังกล่าวเริ่มปรากฏใช้ครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๐   สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นคราวเดียวกับที่กระทรวงศึกษาธิการได้ฟื้นฟูกิจการลูก เสือแห่งชาติโดยขอความร่วมมือให้แต่ละจังหวัดกำหนดตราสัญลักษณ์ขึ้น   เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายสำหรับติดผ้าพันคอแสดงภูมิลำเนาของกองลูกเสือซึ่ง ตั้งอยู่ในจังหวัดนั้นๆ          จังหวัดราชบุรีได้ใช้สัญลักษณ์ “เขางู” เป็นตราประจำจังหวัดตั้งแต่นั้นมา   จนกระทั่งถึงปีพุทธศักราช ๒๕๐๙ จึงเห็นว่า  “เขางู” นั้นสื่อความหมายไปในแง่ของโบราณสถาน มิได้มีความหมายเกี่ยวพันกับชื่อของ จังหวัดว่า “ราชบุรี”(บาลี,ราช + ปรุ  หมายถึง เมืองแห่งพระราชา)   แต่ประการใดจึงเป็นการสมควรที่จะกำหนดสัญลักษณ์ประจำจังหวัดแทนตราเดิมที่ ใช้อยู่   โดยได้มีหนังสือแจ้งความประสงค์ไปยังกรมการปกครองขอให้กรมศิลปากรพิจารณาออก แบบให้ต่อไป ตราประจำจังหวัดราชบุรี (ปัจจุบัน)           สำหรับดวง ตราใหม่นั้นทางกรมศิลปากรได้มอบหมายให้งานศิลปประยุกต์กองหัตถศิลปะ (ปัจจุบันเป็นสถาบันศิลปกรรม) โดยนายพินิจ   สุวรรณบุณย์ เป็นผู้คิดค้นออกแบบ  ลักษณะของดวงตราเป็นอาร์มวงกลมใช้สัญลักษณ์รูปเครื่องราชกกุธภัณฑ์ของพระมหา กษัตริย์ ๒ สิ่งคือ   พระแสงขรรค์ชัยศรีประดิษฐานอยู่บนบันไดแก้ว  และฉลองพระบาทคู่ประดิษฐานอยู่บนพานรองขอบอาร์มเป็นลายชื่อกนกประกอบพื้น ช่องไฟใช้สีตามความเหมาะสมสวยงามด้านศิลปะ   ทั้งนี้ได้แนวความคิดมาจากหลักฐาน  “รูปฉลองพระบาทคู่ประดิษฐานอยู่บนพานรอง” ที่ปรากฏบนผืนธงซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว   ได้พระราชทานให้แก่กองเสือป่ามณฑลราชบุรี เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๖๗   ซึ่งปัจจุบันธงข้างต้นเก็บรักษาไว้ที่ห้องพิพิธภัณฑ์ของโรงเรียนเบญจมราชู ทิศ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี          จังหวัดราชบุรีโดยสภาจังหวัดได้มีมติเห็นชอบและอนุมัติให้ใช้ตราสัญลักษณ์ ใหม่นี้เป็นตราประจำจังหวัดเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๐๙   เป็นต้นมาตราบจนปัจจุบันนี้*ที่มา : http://www.paktho.ac.th/ratchaburi/ratchaburi1/the-brand-is-provincial.htmlความหมายของตราประจำจังหวัดราชบุรี          เครื่อง ราชกกุธภัณฑ์ 2 อย่างคือ          1. ภาพฉลองพระบาทอยู่บนพานทอง          2. ภาพพระแสงขรรค์ชัยศรี ซึ่งวางอยู่บนพระที่ เพราะชื่อจังหวัดราชบุรี มีความหมายว่า เมืองของพระราชาธงประจำกองลูกเสือมณฑลราชบุรี          มณฑลราชบุรี พื้นธงสีน้ำเงินแก่ กลางธงมีรูปรองพระบาทวางบนพานทอง เพื่อให้ลูกเสือทุกคนระลึกว่า มณฑลนี้เป็นมณฑลสำคัญทางทิศตะวันตกของกรุงเทพฯ เช่นเดียวกับมณฑลปราจีนซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก และลูกเสือทุกคนก็มีความจงรักภักดีเพื่อทำการฉลองพระเดชพระคุณ จึงพระราชทานเครื่องหมายนี้เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงพระองค์อยู่เสมอ ธงนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๗ เนื่องในการเสด็จทอดพระเนตรการประลองยุทธเสือป่าและลูกเสือคำขวัญจังหวัดราชบุรี          คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง เมืองโอ่งมังกร วัดขนอนหนังใหญ่ ตื่นใจถ้ำงาม ตลาดน้ำดำเนิน เพลินค้างคาวร้อยล้าน ย่านยี่สกปลาดีที่มาของคำขวัญ            คำขวัญจังหวัดราชบุรีนี้เริ่มใช้เมื่อจังหวัดราชบุรีเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน กีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 5 และงานมหกรรมของดีเมืองราชบุรี พ.ศ. 2532 ซึ่งในความหมายของคำขวัญนั้นสามารถนำมากล่าวได้ดังนี้คนสวยโพธาราม           สันนิษฐานว่าคงมีที่มาจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวในคราวเสด็จพระราชดำเนินกลับจากประพาสไทรโยคทางชลมารคครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ.2431แล้วได้ประทับพักร้อนบนพลับพลาและเสด็จประพาสตลาดโพธาราม ซึ่งราษฎรทั้งชาวไทย จีน มอญ และลาวเฝ้ารับเสด็จด้วยเครื่องแต่งกาย และเครื่องประดับสวยงสมจนมีพระราชดำรัสชมว่า “คนโพธารามนี้สวย” หรืออีกนัยหนึ่งหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้อธิบายไว้ว่าเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จ พระราชดำเนินนำกองเสือป่าไปซ้อมรบที่ค่ายหลวงบ้านไร่อำเภอโพธาราม ได้มีราษฎรชาวโพธารามรับเสด็จถวายการรับใช้อย่างใกล้ขิด จึงมีพระราชดำรัสชมว่า “คนสวยโพธารามสวยมีน้ำใจดี”ดอกไม้ประจำจังหวัดราชบุรีคนงามบ้านโป่ง           สันนิษฐาน ว่าคงมีที่มาจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในคราว เสด็จพระราชดำเนินกลับจากประพาสไทรโยคทางชลมารคครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2431 ขณะพระราชดำเนินถึงบ้านโป่งนายอำเภอนำราษฎรไปเฝ้ารอรับเสด็จเป็นจำนวนมาก เมื่อเสด็จขึ้นฝั่งทรงเห็นราษฎรที่มาเฝ้าแต่งกายเรียบร้อบและหมอบกราบกัน อย่างพร้อมเพรียงสวยงามจึงมีพระราชดำรัสชมว่า”คนบ้านโป่งนี้งาม” ทั้งนี้คำขวัญที่ว่า “คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง” นั้นเป็นคำขวัญที่บ่งบอกถึงจริยธรรมอันดีงามของชาวโพธารามและชาวบ้านโป่งที่ สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นผู้มีน้ำใจไมตรีอันดีงาม พูดจาไพเราะ และงามพร้อมด้วยกิริยามารยาทเมืองโอ่งมังกร           ที่มามาจากการที่ราชบุรีเป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงด้านอุตสาหกรรมผลิต เครื่องเคลือบดินเผาที่มีคุณภาพโดยเฉพาะโอ่งมังกรซึ่งมีประวัติการผลิตที่ ยาวนานและเป็นที่รู้จักกันดีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดราชบุรีในปัจจุบันวัดขนอนหนังใหญ่           มีที่มาจากการที่หนังใหญ่วัดขนอน ตำบลสร้อยฟ้า อำเภอโพธาราม นับเป็นหนังใหญ่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่ามีการสืบทอดกัน มายาวนานนับเป็นร้อยปีและมีการอนุรักษ์กันอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ตลอดจนเป็นหนังใหญ่ที่หลงเหลืออยู่เพียงไม่กี่คณะในประเทศไทยที่ยังคงมีการ สืบทอดอยู่ในปัจจุบันตื่นใจถ้ำงาม           มีถ้ำที่งดงามมาก ๆ อยู่หลายแห่ง แต่ที่ขึ้นชื่อคือถ้ำเขาบิน และถ้ำจอมพลตลาดน้ำดำเนิน          ตลาด น้ำดำเนินสะดวก หรือ ตลาดน้ำคลองลัดพลี ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอดำเนินสะดวกไปประมาณ 400 ม. เป็นตลาดค้าขายทางน้ำที่ยังคงวิถีชีวิตไทยดั้งเดิมไว้ มีสิ่งของให้เลือกมากมาย โดยเฉพาะผลิตผลทางการเกษตรเพลินค้างคาวร้อยล้าน          ค้างคาวเขาช่องพราน เวลาเย็นที่ค้างคาวจะบินออกจากถ้ำมาให้ชม นับจำนวนไม่ได้ ใช้เวลาบินออกจากถ้ำเป็นชั่วโมงกว่าจะหมด ประมาณกันว่ามีจำนวนเป็นร้อยล้านตัวย่านยี่สกปลาดี          ปลายี่สก เป็นปลาที่ขึ้นชื่อของลุ่มน้ำแม่กลอง แต่ว่ากันว่ารสชาติของปลาจะดีที่สุดเมื่อมาเจริญเติบโตในแถบจังหวัดราชบุรี*ที่มา : http://www.paktho.ac.th/ratchaburi/ratchaburi1/province%20slogan.htmlดอกไม้ประจำจังหวัดราชบุรี ดอกกัลปพฤกษ์ ดอกไม้ประจำจังหวัด :  ราชบุรีชื่อดอกไม้ :  ดอกกัลปพฤกษ์ชื่อสามัญ :  Pink Cassia, Pink Shower, Wishing Treeชื่อวิทยาศาสตร์ :  Cassia bakeriana Craib.วงศ์ :  LEGUMINOSAEชื่ออื่น :  กัลปพฤกษ์ (ภาคกลาง, ภาคเหนือ), กานล์ (เขมร-สุรินทร์), เปลือกขม (ปราจีนบุรี) “เปลือกกวม”ลักษณะทั่วไป :  กัลปพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 5–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหรือรูปร่ม แผ่กว้าง ใบประกอบขนนก ใบย่อย 5–8 คู่ ใบรูปไข่แกมขอบขนาน หรือแกมใบหอก โคนใบเบี้ยว ใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ออกดอกเป็นช่อพร้อมใบอ่อนตามกิ่ง มี 5 กลีบ สีชมพู แล้วซีดจนเป็นสีขาวเมื่อใกล้โรย  ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์–เมษายน ผลเป็นฝักกลมยาวมีขนนุ่ม สีเทา เมล็ด จำนวนมากการขยายพันธุ์ :  เพาะเมล็ดสภาพที่เหมาะสม :  เติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ทนแล้งได้ดีถิ่นกำเนิด :  ไทย ลาว พม่า และเวียดนาม ต้นไม้ประจำจังหวัดราชบุรี ชื่อทั่วไป : ต้นโมกมัน บางครั้งอาจเรียกว่า “โมกน้อย” หรือ “มูกน้อย” และ “มูกมัน”ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wrightia tometosa Roem.& Schulyชื่อสามัญ : Ivory, Darabela วงศ์ APOCYNACEAE หรือ วงศ์ลั่นทมถิ่นกำเนิด : เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ป่าเบญจพรรณ และป่าโปร่งทั่วไปประเภท : ไม้ยืนต้นรูปร่างลักษณะ ต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 8-20 เมตร ต้นปลายตรง เปลือกขาวหรือเท่าอ่อนนิ่ม ใบ ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ปลายใบแหลมเรียวโคนใบสอบ มีขนนุ่มทั้งสองด้าน มีมากด้านท้องใบ ยาว 7-18 ซม. ดอก ดอกออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามปลายกิ่ง มีกลิ่นหอม กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนกลีบติดกันเป็นหลอดสีขาวอมเหลือง จนถึงม่วงแกมเหลืองหรือม่วงแดง เมื่อแก่เต็มที่ดอกบานเกสรเพศมี 5อัน ออกดอกระหว่างเดือน มกราคม ถึง มีนาคม ผล ผลเป็นฝัก ยาว 9-35 ซม. มีร่องระหว่างกลางตามยาวของฝัก เมื่อแก่จะแตกตามแนวร่อง ผิวฝักแข็งขรุขระผลแก่ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคมเมล็ด เมล็ดรูปรี ปลายข้างหนึ่งมีขนสีขาวเป็นพู่ปลิวไปตามลมได้ไกล การขยายพันธ์ : เพาะเมล็ด ใช้รากหรือกิ่งปักชำ ตอนกิ่งสภาพที่เหมาะสม : ดินทุกชนิด กลางแจ้ง ทนแสงแดดจัด พบในป่าเบญจพรรณทั่ว ๆ ไปตั้งแต่ระดับน้ำทะเลถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,600 เมตรประโยชน์ : เนื้อ ไม้สีขาวนวลถึงขาวอ่อน เสี้ยนตรง เนื้อละเอียดมากเหนียว ใช้ทำเครื่องกลึง เครื่องเล่นสำหรับเด็กเครื่องเขียน ตะเกียบ ไม้บุผนังห้อง เปลือก ต้น รักษาโรคไต รักษาธาตุให้ปกติ ทำให้ประจำเดือนปกติ แก้พิษ แมลงสัตว์กัดต่อย ฆ่าเชื้อรำมะนาด คุดทะราด ยางจากต้น แก้บิดมูกเลือด ใบ ขับน้ำเหลือง แก้ท้องมาน ดอกเป็นยาระบาย กระพี้แก้ดีพิการ เนื้อไม้สีขาวนวลถึงขาวอ่อน เสี้ยนตรง เนื้อละเอียดเหนียว ใช้แกะสลัก ดอก เป็นยาระบาย แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.rb-update.com/ประวัติจังหวัดราชบุรี/ , https://sites.google.com/site/canghwadrachburikhxngrea/prawati-canghwad-rachburi                             




    ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ เจ้าหน้าที่ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี เข้าร่วมโครงการเสวนาจดหมายเหตุ เรื่อง "เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนางานจดหมายเหตุ" จัดโดยสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ณ ห้องประชุมสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร           โครงการเสวนาจดหมายเหตุครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อให้นักจดหมายเหตุ เจ้าหน้าที่จดหมายเหตุ ผู้ปฏิบัติงานจดหมายเหตุได้รับความรู้ ความเข้าใจในทิศทางเดียวกันเกี่ยวกับการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนางานจดหมายเหตุ และการให้บริการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้บริการ ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานในอนาคต



๑. ชื่อโครงการ  งานเทศกาลไทย ณ มณฑลส่านซี ปี 2014 ๒. วัตถุประสงค์           ๒.๑ เพื่อประชาสัมพันธ์ประเทศไทยให้รู้จักมากขึ้น ผ่านการแสดงทางวัฒนธรรม           ๒.๒ เพื่อเป็นพื้นฐานในการส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนไทยและประชาชนจีน           ๒.๓ เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ๓. กำหนดเวลา           ระหว่างระหว่างวันที่ ๖ – ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๗ ๔. สถานที่           นครซีอาน เมืองเสียนหยางและเมืองเว่ยหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ๕. หน่วยงานผู้จัด           สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซีอาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ๖. หน่วยงานสนับสนุน           สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ๗. กิจกรรม   วันศุกร์ที่  ๖  มิถุนายน  ๒๕๕๗       เวลา ๑๓.๐๐  น.       เข้าเช็ดอินที่สนามบินดอนเมือง เคาน์เตอรฺแอร์เอเชีย เที่ยวบินที่ FD 588       เวลา ๑๕.๐๐  น.        เครื่องบินออกเดินทางไปนครซีอาน       เวลา ๒๑.๐๐  น.        เดินทางถึงนครซีอาน       เวลา ๒๒.๐๐  น.         เข้าพักที่โรงแรม Grand Mercure พักผ่อนตามอัธยาศัย  วันเสาร์ที่  ๗  มิถุนายน  ๒๕๕๗       เวลา ๐๘.๐๐  น.       รับประทานอาหารเช้า ณ ที่พัก       เวลา ๐๙.๐๐  น.       เที่ยวชมสุสานจิ๊นซี       เวลา ๑๓.๐๐  น.       รับประทานอาหารเที่ยง ที่บ้านพักท่านกงสุลใหญ่นครซีอาน      เวลา ๑๕.๐๐  น.        เที่ยวชมวัดพระถังซั่มจั๋ง (วัดห่านป่าใหญ่)      เวลา ๑๘.๐๐  น.       รับประทานอาหารเย็น ที่บ้านพักท่านกงสุลใหญ่นครซีอาน      เวลา ๒๑.๐๐  น.        เดินทางกลับโรงแรม Grand Mercure พักผ่อนตามอัธยาศัย วันอาทิตย์ที่  ๘  มิถุนายน  ๒๕๕๗       เวลา ๐๘.๐๐  น.       รับประทานอาหารเช้า ณ ที่พัก       เวลา ๐๙.๐๐  น.       เที่ยวชมสินค้าในย่านตลาดสินค้าพื้นเมือง (ตลาดมุสลิม)       เวลา ๑๒.๐๐  น.       รับประทานอาหารเที่ยง ที่บ้านพักท่านกงสุลใหญ่นครซีอาน       เวลา ๑๓.๐๐  น.        เตรียมการแสดงรอบแรก       เวลา ๑๕.๐๐  น.        เดินทางไปซ้อมการแสดง ณ เขตฉวี่เจียง เขตวัฒนธรรม นครซีอาน      เวลา ๒๐.๐๐  น.        การแสดงรอบแรก ( เวลา ๔๕ นาที )      เวลา ๒๑.๐๐  น.       รับประทานอาหารเย็น ที่บ้านพักท่านกงสุลใหญ่นครซีอาน      เวลา ๒๒.๐๐  น.        เดินทางกลับโรงแรม Grand Mercure พักผ่อนตามอัธยาศัย วันจันทร์ที่  ๙  มิถุนายน  ๒๕๕๗       เวลา ๐๘.๐๐  น.       รับประทานอาหารเช้า ณ ที่พัก       เวลา ๐๙.๐๐  น.       เที่ยวชมสินค้าตึกค้าส่ง       เวลา ๑๒.๐๐  น.       รับประทานอาหารเที่ยง ที่บ้านพักท่านกงสุลใหญ่นครซีอาน       เวลา ๑๓.๐๐  น.        เดินทางไปนครเสียนหยาง       เวลา ๑๕.๐๐  น.        ซ้อมการแสดง ณ โรงละคร  นครเสียนหยางร่วมกับคณะนาฎศิลป์ของนคร                                   เสียนหยาง      เวลา ๑๘.๐๐  น.       รับประทานอาหารเย็น (บุปเฟ่ต์) ณ ห้องพักของโรงละครเสียนหยาง      เวลา ๑๙.๐๐  น.        การแสดง ( เวลา ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที )      เวลา ๒๒.๐๐  น.        เดินทางกลับนครซีอาน โรงแรม Grand Mercure พักผ่อนตามอัธยาศัย วันอังคารที่  ๑๐  มิถุนายน  ๒๕๕๗       เวลา ๐๘.๐๐  น.       รับประทานอาหารเช้า ณ ที่พัก       เวลา ๐๙.๐๐  น.       เที่ยวชมซุเปอร์มาเก็ต ย่านวัฒนธรรมของนครซีอาน       เวลา ๑๒.๐๐  น.       รับประทานอาหารเที่ยง ที่บ้านพักท่านกงสุลใหญ่นครซีอาน       เวลา ๑๓.๐๐  น.        เดินทางไปนครเว่ยนหยาน       เวลา ๑๕.๐๐  น.        ซ้อมการแสดง ณ โรงละคร  นครเว่ยนหยานร่วมกับคณะนาฎศิลป์ของนคร                                   เว่ยนหยาน      เวลา ๑๘.๐๐  น.       รับประทานอาหารเย็น (บุปเฟ่ต์) ณ ห้องพักของโรงละครเว่ยนหยาน      เวลา ๑๙.๐๐  น.        การแสดง ( เวลา ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที )      เวลา ๒๒.๐๐  น.        เดินทางกลับนครซีอาน โรงแรม Grand Mercure พักผ่อนตามอัธยาศัย วันพุธที่  ๑๑  มิถุนายน  ๒๕๕๗       เวลา ๐๘.๐๐  น.       รับประทานอาหารเช้า ณ ที่พัก       เวลา ๐๙.๐๐  น.       เที่ยวชมสินค้าในย่านตลาดสินค้าข้างวิทยาลัยดนตรี       เวลา ๑๒.๐๐  น.       รับประทานอาหารเที่ยง ที่บ้านพักท่านกงสุลใหญ่นครซีอาน       เวลา ๑๓.๐๐  น.        เตรียมการแสดง       เวลา ๑๕.๐๐  น.        เดินทางไปซ้อมการแสดง ณ Xian Conservatory Of Music       เวลา ๑๘.๐๐  น.       รับประทานอาหารเย็น (บุปเฟ่ต์) ณ ห้องพักของโรงละครวิทยาลัยดนตรี       เวลา ๒๐.๐๐  น.        การแสดง ( เวลา ๔๕ นาที )       เวลา ๒๒.๐๐  น.        เดินทางกลับโรงแรม Grand Mercure พักผ่อนตามอัธยาศัย วันพฤหัสบดีที่  ๑๒  มิถุนายน  ๒๕๕๗       เวลา ๐๘.๐๐  น.       รับประทานอาหารเช้า ณ ที่พัก       เวลา ๐๙.๐๐  น.       เที่ยวชมสินค้าในย่านการค้าของนครซีอาน       เวลา ๑๒.๐๐  น.       รับประทานอาหารเที่ยง ที่บ้านพักท่านกงสุลใหญ่นครซีอาน       เวลา ๑๓.๐๐  น.        เที่ยวชมซุเปอร์มาเก็ต ย่านวัฒนธรรมของนครซีอาน       เวลา ๑๔.๐๐  น.        เตรียมการแสดง       เวลา ๑๖.๐๐  น.        เดินทางไปซ้อมการแสดง ณ โรงแรมเวสติ้ง ซีอาน       เวลา ๑๙.๐๐  น.        การแสดง ( เวลา ๓๐ นาที )         เวลา ๒๐.๐๐  น.       รับประทานอาหารเย็น (บุปเฟ่ต์) ณ ห้องอาหารนานาชาติ โรงแรมเวสติ้ง ซีอาน       เวลา ๒๒.๐๐  น.        เดินทางกลับโรงแรม Grand Mercure พักผ่อนตามอัธยาศัย วันศุกร์ที่  ๑๓  มิถุนายน  ๒๕๕๗       เวลา ๐๘.๐๐  น.       รับประทานอาหารเช้า ณ ที่พัก       เวลา ๐๙.๐๐  น.      เที่ยวชมซุเปอร์มาเก็ต ย่านวัฒนธรรมของนครซีอาน       เวลา ๑๒.๐๐  น.       รับประทานอาหารเที่ยง ที่บ้านพักท่านกงสุลใหญ่นครซีอาน       เวลา ๑๔.๐๐  น.        เที่ยวชมสินค้าในย่านตลาดสินค้าพื้นเมือง (ตลาดมุสลิม)       เวลา ๑๗.๓๐  น.       รับประทานอาหารเย็น ที่บ้านพักท่านกงสุลใหญ่นครซีอาน       เวลา ๑๙.๐๐  น.        เดินทางไปสนามบินซีอาน เสียนหยาง       เวลา ๒๐.๐๐  น.       เข้าเช็ดอินที่สนามบินซีอาน เสียนหยาง เคาน์เตอรฺแอร์เอเชีย เที่ยวบินที่ FD 589       เวลา ๒๒.๔๕  น.        เครื่องบินออกเดินทางไปสนามบินดอนเมือง วันเสาร์ที่  ๑๔  มิถุนายน  ๒๕๕๗        เวลา ๐๑.๒๕  น.        เดินทางถึงสนามบินดอนเมือง โดยสวัสดิภาพ


หมวดหมู่                        พุทธศาสนาภาษา                            บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง                          วรรณกรรมพุทธศาสนา                                    พุทธศาสนา—เทศนาประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    26 หน้า : กว้าง 5.5 ซม. ยาว 57 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534


ชื่อเรื่อง : ฮีตคนเมือง ผู้แต่ง : ทองทวี ยศพิมสาร ปีที่พิมพ์ : 2530 สถานที่พิมพ์ : ลำพูน สำนักพิมพ์ : สำนักงานศึกษาธิการอำเภอแม่ทา           ฮีตประเพณีของคนเมือง ซึ่งบรรพชนได้ปฏิบัติ และจรรโลงไว้มีคุณค่ามหาศาล ผู้เขียนได้ใช้เวลาในการเขียน และค้นคว้าจากผู้เฒ่าผู้แก่หลายท่าน โดยเฉพาะเรื่องฮดน้ำ-ดำหัวปี๋ใหม่ ปอยหลวง หลอนผ้าต้อด และก๋องปู่จา ที่อยู่ในเล่มนี้ นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้นำเสนอ เพื่อนำร่องให้ผู้อ่าน และผู้ศึกษาช่วยกันอภิปรายสืบต่อเนื้อหาภายใต้กรอบแนวคิดเรื่อง ฮีตประเพณีดั้งเดิมของเมืองล้านนาไทย ซึ่งมีอยู่อย่างมากมาย เช่น ฟ้อนเจิง ก๋องสะบัดใจ ฟังธรรมขอฝน ฯลฯ เป็นต้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์ และสานต่อวัฒนธรรมเมืองล้านนาไทยให้ยั่งยืน


          ในภาคใต้ได้พบเครื่องประดับที่แกะลายลึกลงไปในเนื้อหินแบบที่เรียกว่า Intaglio ทั้งในฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทย ยกตัวอย่างเช่น ฝั่งอันดามันที่แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง จังหวัดระนอง เมืองท่าที่เจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖ – ๙ พบเครื่องประดับทำจากหินคาร์เนเลียนและอาเกต แกะสลักรูปบุคคลโรมัน รูปคนขี่ม้า และรูปม้า ที่แหล่งโบราณคดีคลองท่อม (ควนลูกปัด) จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นเมืองท่าที่เจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖ – ๙ เครื่องประดับที่พบทำจากหินคาร์เนเลียนและหินตระกูลควอร์ทซ์ แกะเป็นรูปบุคคลเลียนแบบศิลปะโรมัน และรูปสัตว์ คือ ไก่คู่ และโค           สำหรับในฝั่งอ่าวไทยพบที่แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร เมืองท่าที่เจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๓– ๙ แกะเป็นรูปสัตว์และสัญลักษณ์มงคล อาทิ สิงห์ ตรีรัตนะหรือนนทิบาท และศรีวัตสะ เป็นต้น และที่แหล่งโบราณคดีโคกทอง ซึ่งเป็นเมืองท่าที่เจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖– ๙ แกะเป็นรูปสัตว์และสัญลักษณ์มงคล คือ โคหมอบ และสวัสดิกะ           ส่วนเครื่องประดับที่แกะเป็นลายนูนต่ำ หรือ Cameo พบเพียงชิ้นเดียวที่แหล่งโบราณคดีนางย่อน อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ทำจากหินอาเกตแกะรูปช้าง           จากที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่าเครื่องประดับหินแกะสลักที่พบทั้งทางฝั่งอันดามันและอ่าวไทย ในแหล่งโบราณคดีซึ่งเป็นเมืองท่าที่เจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๖ – ๙ เป็นหลักฐานที่แสดงว่าคนในสมัยนั้นมีความนิยมเครื่องประดับที่แกะสลักลงบนหิน หินที่นิยมนำมาทำเครื่องประดับรูปแบบนี้ คือ หินคาร์เนเลียน และหินอาเกต ลวดลายที่แกะมีทั้งลายบุคคล สัตว์ และสัญลักษณ์มงคล           การค้นพบเครื่องประดับหินแกะสลักในแหล่งโบราณคดีคลองท่อม ภูเขาทอง นางย่อนเขาสามแก้ว และโคกทองยังแสดงให้เห็นว่าแหล่งโบราณคดีเหล่านี้เป็นเมืองท่าของทั้งสองชายฝั่งทะเลที่เจริญอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันอีกด้วย เรียบเรียงข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ที่มาข้อมูล- บุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ. ทุ่งตึก เมืองท่าการค้าโบราณ. กรุงเทพ : บริษัท สำนักพิมพ์สมาพันธ์ จำกัด, ๒๕๕๐. - พรทิพย์ พันธุโกวิท และคณะ. โครงการเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์และแรกเริ่มประวัติศาสตร์ในเขตพื้นที่จังหวัดสงขลาและสตูล. กรุงเทพฯ : บริษัท บางกอกอินเฮ้า จำกัด, ๒๕๕๗.


เลขทะเบียน : นพ.บ.12/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  54 หน้า  ; 5.5 x 56 ซ.ม. : รักทึบ-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากชื่อชุด : มัดที่ 8 (83-99) ผูก 4หัวเรื่อง : โลกนยชาตก--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม




Messenger