ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ
องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช ชุดความรู้ทางวิชาการ เรื่อง หลักฐานศาสนาพราหมณ์-ฮินดูในภาคใต้ของประเทศไทย ตอน นฤตตมูรติ : พระศิวนาฏราช
เสด็จพระราชดำเนินทรงงานในพื้นที่ภาคเหนือ : ตอนที่ ๕ ลำปางตลอดระยะเวลา ๗๐ ปี ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติ พระองค์เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อรับทราบปัญหาและทรงหาแนวทางการแก้ไขปัญหาของประเทศชาติและประชาชน ทรงอุทิศพระวรกายบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการในการพัฒนาประเทศเพื่อความผาสุก ความเจริญรุ่งเรือง และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของพสกนิกรชาวไทย๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๔ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในโอกาสนี้ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญพระบรมฉายาลักษณ์พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่เสด็จพระราชดำเนินทรงงานในพื้นที่จังหวัดลำปาง เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดไม่ได้ ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
นิพฺพานสุตฺต (นิพฺพานสูตร)
ชบ.บ.75/1-1ญ
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.197/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 48 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 109 (141-147) ผูก 2 (2565)หัวเรื่อง : ปญฺญาพลชาดก(ปัญญาพลชาดก)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.310/2ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4 x 51 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 125 (302-305) ผูก 2 (2565)หัวเรื่อง : เทวทูตสุตฺต(เทวทูตสูตร)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผู้แต่ง ธนิต อยู่โพธิ์
ชื่อเรื่อง เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ พระประวัติ และพระรานิพนธ์ บทร้อยกรอง
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๕
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ เจริญรัตน์การพิมพ์
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๖
จำนวนหน้า ๓๑๒ หน้า
รายละเอียด หนังสือที่ขออนุญาตจัดพิมพ์เพื่อจำหน่ายและเป็นการพิมพ์ครั้งที่ ๕ โดยครั้งแรกจัดพิมพ์ ในงานพระราทานเพลิงศพพระยาเลขวณิช ธรรมวิทักษ์ฯ (เยี่ยม เลขะวณิช) เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕ โดยพิมพ์รวมกับบทร้อยกรองพระนิพนธ์ของพระองค์ท่านต่อมากรมศิลปากรได้ทำการตรวจชำระพระนิพนธ์บทร้อยกรองใหม่ ตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งที่ ๒
เจดีย์กู่กุดในวัดจามเทวีวัดจามเทวี เดิมชื่อวัดสังฆาราม แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่าวัดกู่กุด หลังรัชสมัยของพระเจ้ามหันตยศ วัดกู่กุดได้ร้างลงจนถึง พ.ศ. ๒๔๖๙ เมื่อกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จมาภาคเหนือ ได้สำรวจวัดกู่กุดและสืบถามความเป็นมาของผู้สร้างจนทราบนาม จึงได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่ว่า วัดจามเทวีวงศ์ ต่อมาคำว่าวงศ์ได้หายไปกลายเป็นวัดจามเทวี ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๐วัดจามเทวี เป็นวัดที่มีความสำคัญทั้งทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี มีความเก่าแก่มากวัดหนึ่งในจังหวัดลำพูน ตั้งอยู่ถนนจามเทวี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๑๒ ไร่ ๑ งาน ๕ ตารางวา ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างตั้งแต่สมัยใด ส่วนใหญ่เป็นการสันนิษฐานจากเอกสารชั้นหลัง ประกอบกับตำนานและนิยาย บางหลักฐานกล่าวว่าสร้างขึ้นสมัยพระนางจามเทวี บางหลักฐานกล่าวว่าพระโอรสของพระนางจามเทวี คือ พระเจ้ามหันตยศและพระเจ้าอนันตยศ โปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเพื่อถวายพระเพลิงพระศพพระนางจามเทวีแล้วโปรดให้สร้างเจดีย์เหลี่ยมมียอดหุ้มด้วยทอง เรียกว่า พระเจดีย์สุวรรณจังโกฏิ หลังจากพระโอรสทั้งสองถวายพระเพลิงพระศพพระนางจามเทวีแล้ว ได้นำพระอัฐิมาบรรจุลงในพระเจดีย์ ต่อมายอดพระเจดีย์ได้หักหายไป ชาวบ้านจึงเรียกว่าพระเจดีย์กู่กุด ซึ่งมีความโดดเด่นด้วยรูปทรงปราสาทยอดที่มีเรือนธาตุซ้อนลดหลั่นกัน ๕ ชั้น ในแต่ละชั้นประดับด้วยพระพุทธรูปประทับยืนในซุ้มจระนำ ชั้นละ ๑๒ องค์ รวม ๕ ชั้น เป็น ๖๐ องค์การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่ ๑ พระมณี (พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๔๘๐) รูปที่ ๒ เจ้าคุณราชสุตาจารย์ (พ.ศ.๒๔๘๐-๒๕๒๕) รูปที่ ๓ พระครูปลัดประดิษฐ์ ปภสฺสโร (พ.ศ. ๒๕๒๖ ถึงปีใดไม่แน่ชัด) ปัจจุบันเจ้าอาวาสวัดจามเทวี คือ ท่านพระครูนิวิฐธรรมโชติ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะตำบลในเมือง เขต ๑ นอกจากนี้ ยังมีโรงเรียนเทศบาลวัดจามเทวีตั้งอยู่ภายในวัด เป็นศูนย์กลางการประชุมกิจการงานของหมู่บ้านด้วยผู้เรียบเรียง : นางสาวภาคินีย์ ศรีคำ นักศึกษาฝึกงาน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. ภาพชุดการประกวดภาพถ่ายเก่าเกี่ยวกับจังหวัดลำพูน.อ้างอิง :๑. กองพุทธศาสนสถาน กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๓๓. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๙. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.๒. ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี พระครูประวิตรวรานุยุต และรัครูพิพิธสุตาทร. ๒๕๖๑. การตรวจสอบรูปแบบพระพุทธรูปมีไรพระมัสสุในวรรณกรรมพุทธประวัติ. วารสารวิจิตรศิลป์. ๙ (๒): ๑-๓๔๘.๓. ราชกิจจานุเบกษา. ๒๔๘๐. เล่มที่ ๕๔ ตอนที่ ๓๒, หน้า ๑๐๔๕. ๔. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน.วัดจามเทวี. (Online).https://www.m-culture.go.th/lamphun/ewt_news.php?nid=502... , สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๕.๕. จังหวัดลำพูน. ๒๕๖๒. วัดจามเทวี. https://www.lamphun.go.th/.../%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94... , สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๕.
วันอาทิตย์ที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๐๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในกิจกรรมปลูกต้นไม้ เนื่องในวันต้นไม้แห่งชาติ ณ บาราย อุทยานประวัติศาสตร์ สด๊กก๊อกธม จังหวัดสระแก้ว โดยมีผู้บริหาร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ร่วมปลูกต้นไม้ จากนั้นได้เดินทางไปศึกษาดูงานการบริหารจัดการปราสาทเขาโล้น อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว
พระพุทธรูปยืนปางประทานพร
ศิลปะคุปตะ สกุลช่างสารนาถ รัฐอุตตรประเทศ อินเดีย (พุทธศตวรรษที่ ๑๐)
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้มาจากมฤคทายวัน ทางตอนเหนือของเมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ ห้องเอเชีย อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พระพุทธรูปยืน สลักจากศิลาสีเหลือง แสดงปางประทานพร (วรทมุทรา) พระอุษณีณะนูน ขมวดพระเกศาเป็นก้นหอย พระพักตร์แสดงอาการสงบ พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระวรกายครองจีวรแบบห่มคลุม ลักษณะจีวรบางอันเป็นเอกลักษณ์ของสกุลช่างสารนาถ (ต่างจากประติมากรรมพระพุทธรูปสกุลช่างมถุราที่แสดงถึงผ้าจีวรที่หนาและเป็นริ้ว) พระกรขวาแนบพระวรกาย แบฝ่าพระหัตถ์ออกด้านหน้า พระหัตถ์ซ้ายชำรุดหักหาย ทรงยืนตริภังค์*
สำหรับพระพุทธรูปศิลปะอินเดีย สมัยคุปตะ สกุลช่างสารนาถ เริ่มมีการสร้างพระพุทธรูปแสดงปางประทานพรกับตอนพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ กระทั่งศิลปะอินเดียแบบวกาฎกะ (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๓) ปางประทานพรจึงใช้เป็นอิริยาบถที่เจาะจงถึงเหตุการณ์พุทธประวัติตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีตัวอย่างคือ จิตรกรรมในถ้ำอชันตาที่ ๑๗ เป็นต้น
พระพุทธรูปองค์นี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือ “นิทานโบราณคดี” ตอนนิทานที่ ๗ เรื่องสืบพระศาสนาในอินเดีย กล่าวว่าพระองค์ทรงได้พระพุทธรูปองค์นี้จากประเทศอินเดีย และน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดให้ประดิษฐานไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภายหลังพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมาเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถาน
“...ฉันได้พระพุทธรูปปางลีลาแบบสมัยคุปตะ ราว พ.ศ. ๑๐๐๐ มาจากมฤคทายวันองค์หนึ่ง และมาได้รอยพระพุทธบาทที่กล่าวมาแล้ว กับทั้งพระพุทธรูปและพระสถูปขนาดน้อยที่พุทธคยาอีกหลายสิ่ง ของเหล่านั้นฉันเอามาถวายพระเจ้าอยู่หัว เดิมโปรดให้ไว้ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภายหลังย้ายเอาไปไว้ในพิพิธภัณฑสถาน ยังอยู่ที่นั่นทั้งนั้น…”
กระทั่งเมื่อครั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ได้เปิดนิทรรศการ ณ อาคารมหาสุรสิงหนาท เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ ในปีเดียวกันนี้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งทรงพระราชอิสริยยศที่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ โดยมีศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ถวายการบรรยาย
*การยืนตริภังค์หมายถึงการยืนด้วยการหัก ๓ ส่วน ได้แก่ ส่วนลำตัวคือพระโสณี (สะโพก) พระเพลา (ขาท่อนบน) และพระชงฆ์(ขาท่องล่าง) ซึ่งเป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นตั้งแต่ศิลปะคันธาระ (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๖-๙) เพียงแต่ยังไม่แสดงการเอียงพระโสณี
อ้างอิง
กรมศิลปากร. พระมหากษัตริย์ไทย กับการพิพิธภัณฑ์. กรุงเทพฯ: กราฟิคฟอร์แมท, (จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกเนื่องในมหามงคลสมัยฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๓๙ โดยคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี), ๒๕๓๙.
เชษฐ์ ติงสัญชลี. ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รูปแบบ พัฒนาการ ความหมาย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. นนทบุรี: มิวเซียมเพรส, ๒๕๕๘.
เชษฐ์ ติงสัญชลี. มุทรา ท่าทาง เครื่องทรง สิ่งของ รูปเคารพในศาสนาพุทธ เชน ฮินดู. นนทบุรี: มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๕.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. นิทานโบราณคดี. พิมพ์ครั้งที่ ๑๕. กรุงเทพฯ: บรรณาคาร,๒๕๔๓.
พระบารมีปกเกล้าฯชาวอุบลฯ ๓
ตามรอยเสด็จเมืองอุบล ครั้งที่ ๒
เมื่อวันพุธที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๘ เวลา ๐๘.๓๕ น. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง พร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี จากที่ประทับแรมเขื่อนน้ำอูน ไปทรงเยี่ยมราษฎร ทหาร ตำรวจ และอาสาสมัครรักษาแผ่นดินในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและนครพนม
เวลา ๑๑.๐๐ น. เสด็จฯ ถึงสนามหญ้าโรงเรียนบ้านนาแวง ตำบลนาแวง อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี แล้วเสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งไปยังกองบังคับการกองร้อยทหารราบที่ ๖๐๑๑ ตำบลนาแวง อำเภอเขมราฐ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชทานถุงของขวัญ เวชภัณฑ์ และพระเครื่องแก่ผู้แทนหน่วยทหาร หน่วยปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง หน่วยตำรวจตระเวนชายแดน หน่วยอาสาสมัครรักษาแผ่นดิน และครูโรงเรียนบ้านนาแวง ต่อจากนั้น พันตรีดำรง ทัศนศร รองผู้บังคับศูนย์เฝ้าตรวจชายแดน ๓๐๓ กราบบังคมทูลถวายบรรยายสรุปสถานการณ์ เสร็จแล้วพระราชดำเนินทอดพระเนตรที่พักทหาร และทอดพระเนตรการติดต่อรอบกองบัญชาการฯ ตลอดจนมีพระราชปฏิสันถารกับผู้แทนหน่วยต่าง ๆ โดยทั่วถึง แล้วจึงเสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งต่อไปยังวัดโขงเจียมปุราณวาส
เวลา ๑๒.๐๐ น. เสด็จถึงวัดโขงเจียมปุราณวาส ตำบลนาแวง อำเภอเขมราฐ เสด็จขึ้นศาลาการเปรียญ ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย และมีพระราชดำรัสกับพระราชาคณะ และเจ้าอาวาสถึงความเป็นอยู่ของราษฎร ตลอดพระราชทานเวชภัณฑ์สำหรับพระภิกษุได้ใช้ร่วมกับราษฎร เสร็จแล้วเสด็จลงเพื่อทรงเยี่ยมราษฎรที่มาเฝ้าฯ อยู่อย่างล้นหลาม ได้มีพระราชปฏิสันถารกับราษฎรเหล่านั้นถึงสถานการณ์ตามชายแดนและความเป็นอยู่โดยทั่วไป แล้วจึงเสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งกลับไปยังโรงเรียนบ้านนาแวง ทรงเยี่ยมลูกเสือชาวบ้านจากจังหวัดอุบลราชธานีที่มาเฝ้าฯ ก่อนประทับเสวยพระกระยาหารกลางวัน ครั้นทรงพักผ่อนพระราชอิริยาบถตามพระราชอัธยาศัยแล้ว จึงเสด็จฯ โดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพถ่ายตามรอยเสด็จฯจังหวัดอุบลราชธานี
อ.ปัญญา แพงเหล่า