ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ

ชื่อเรื่อง                               อาทิกมฺมปาลิ(ปาราชิกปาลิ)มหาวิยงฺคปาลิ(ปาราชิกัณฑ์) สพ.บ.                                  อย.บ.2/2กประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           56 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา          บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ลานดิบ ร่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา




ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           49/7ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              90 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


มหาสมยสุตฺต (มหาสมยสูตร) ชบ.บ 118/1 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 160/2เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อผู้แต่ง            อ.ดร.วราภรณ์ พูลสถิติวัฒน์ชื่อเรื่อง              งานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การประยุกต์ใช้หลักการวิเคราะห์หน้าที่เพื่อจัดทำต้นแบบ                           แผนผังแฟ้มเอกสารและตารางการกำหนดอายุเอกสาร : กรณีศึกษาสำนักงานคณบดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรครั้งที่พิมพ์          ๑สถานที่พิมพ์       กองทุนสนับสนุนการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรสำนักพิมพ์          -ปีที่พิมพ์              ๒๕๖๕จำนวนหน้า         ๔๕๐ หน้ารายละเอียด        เป็นงานวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อออกแบบและวางระบบการจัดเก็บเอกสารให้กับสำนักงานคณบดี                            คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ประเทศไทย โดยการสร้างแผนผังแฟ้มเอกสาร                            และตารางการกำหนดอายุเอกสารเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนระบบการจัดเก็บเอกสาร                           ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรและเป็นตัวอย่างสำหรับวางระบบเอกสารของหน่วยงานอื่น  


องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง "วันสมเด็จพระนารายณ์มหาราช 16 กุมภาพันธ์" วันสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มี 2 วัน คือ วันพระราชสมภพ 16 กุมภาพันธ์ และวันสวรรคต 11 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันรัฐพิธี สมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสรรเพชรญ์ พระมหากษัตริย์องค์ที่ 27 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ ปี พ.ศ. 2175 ตรงกับวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2175 วันที่ 16 กุมภาพันธ์ของทุกปี จึงถูกยกให้เป็น "วันสมเด็จพระนารายณ์มหาราช" มีการจัดงานวันสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่ลพบุรี ที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงสร้างขึ้นเหมือนเป็นราชธานีอีกแห่งหนึ่ง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์องค์ที่ 27 แห่งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 2199 พระองค์เป็นพระราชโอรสของ พระเจ้าปราสาททอง พระมหากษัตริย์ผู้ครองกรุงศรีอยุธยา กับพระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เหตุที่มีพระนามว่า "นารายณ์" มีที่มาน่าสนใจคือ มีพระญาติวงศ์เหลือบเห็นเป็น 4 กร พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย ทรงมีพระราชกรณียกิจที่สำคัญตลอดรัชกาลของพระองค์ ทั้งด้านการทหาร วรรณคดี และการทูต โดยเฉพาะการส่งคณะราชทูต นำโดยเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ไปเชื่อมสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส ในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งราชวงศ์บูร์บง สมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ การค้าขายกับต่างประเทศเจริญมาก ทรงให้ดัดแปลงเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีอีกแห่งหนึ่ง เพื่อป้องกันภัยจากฝรั่งที่เข้ามา นอกเหนือจากเมืองหลวงกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงได้รับยกย่องเป็น “มหาราช” พระองค์หนึ่งของไทย เสวยราชสมบัตินาน 29 ปี เสด็จสวรรคตเมื่อพระชนมายุ 51 พรรษา ได้มีการก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ที่จังหวัดลพบุรี และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรฯ รัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอนุสาวรีย์แห่งนี้เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 การจัดงานแผ่นดินวันสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่มีต่อจังหวัดลพบุรีและประเทศไทย เป็นงานประจำปีที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัดลพบุรี จัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ช่วงระหว่างวันคล้ายวันพระราชสมภพ เป็นงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับชาวลพบุรีเป็นอย่างมาก ความเป็นเอกลักษณ์ของงาน คือ การแต่งกายชุดไทย และเป็นงานที่รำลึกถึงองค์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ผู้ทรงสร้างความเจริญให้กับเมืองลพบุรี พระองค์สร้างเมืองลพบุรีให้เป็นราชธานีแห่งที่ 2 รองมาจากกรุงศรีอยุธยา และทรงประทับที่พระนารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นเวลาถึง 8 เดือน ใน 1 ปี และเสด็จสวรรคต ณ เมืองลพบุรีอีกด้วย การจัดงานในปี 2566 จะมีขึ้นในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ระหว่างวันที่ 10-19 กุมภาพันธ์ 2566 ที่จะตกแต่งประดับประดาด้วยแสงไฟที่สวยงาม ภายในงาน ชมขบวนแห่ประวัติศาสตร์จำลองประวัติศาสตร์ความเจริญ ในยุคสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่ชาติตะวันตกเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี มีรำบวงสรวง สวนนารายณ์นฤมิต ตำรับโอสถพระนารายณ์ ทหารวังเปลี่ยนเวร การแสดงละครลิง กิจกรรมแต่งชุดไทยจดทะเบียนสมรส หมากรุกคน ตลาดย้อนยุค ลานวัฒนธรรมและอาหารพื้นบ้าน การแสดงศิลปวัฒนธรรม ซาโม่น ตลาดมอญเมืองละโว้ ชิม ช้อป สินค้า OTOP ของดีจังหวัดลพบุรี สัมผัสการแสดง แสง สี เสียง ประวัติศาสตร์จินตนาการ ที่ยิ่งใหญ่ สุดอลังการ และ เปิดให้ชมฟรี อ้างอิง : บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541. ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วน : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลพบุรี ขอขอบคุณภาพบางส่วน : งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จ.ลพบุรี ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี


ชื่อผู้แต่ง          - ชื่อเรื่อง           ข้อคิดอิสระ การสนทนาระหว่างแม่ชีชาวป่า กับ แม่ชีชาวถ้ำ เรื่องหลักพระพุทธศาสนากับ                      ลัทธิพระเทวทัศน์ ครั้งที่พิมพ์        - สถานที่พิมพ์      กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์        ร.พ.แสวงสุทธิการพิมพ์ ปีที่พิมพ์           ๒๕๒๖ จำนวนหน้า      ๑๒๐ หน้า รายละเอียด                         หนังสือเล่มนี้ได้จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อรวบรวมหลักฐานแสดงเหตุผลคุณและโทษของอาหารการกิน ว่าจะรับประทานอย่างไร จึงจะเป็นสัปปายะแก่การปฎิบัติธรรม การพิจราณาจากความเห็นของบุคคลที่แสดงทัศนะที่แตกต่างกัน การคัดค้านกัน การสนับสนุนกัน การใช้ปัญญาค้นคว้า ทดลองพิสูจน์ด้วยความเที่ยงธรรม การใช้วิจารณญาณอย่างสุขุมรอบคอบ การสะสมปัญญาและเมตตาขึ้นทีละน้อยตามกำลังของแต่ละท่าน



เลขทะเบียน : นพ.บ.427/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 28 หน้า ; 4.5 x 58 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 154  (120-128) ผูก 4 (2566)หัวเรื่อง : มาลาวิภักค์--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม




          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ขอเชิญชมนิทรรศการปรับปรุงใหม่ เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ๒๕๖๖ เป็นต้นไป โดยการปรับปรุงการจัดแสดงครั้งนี้ ประกอบด้วย ห้องนิทรรศการชั้นล่าง จำนวน ๑ ห้อง ได้แก่ ห้องโถงบรรยายสรุปและนิทรรศการหมุนเวียน และห้องนิทรรศการชั้นบน จำนวน ๕ ห้อง ประกอบด้วย ห้องพุทธบูชา จำนวน ๓ ห้อง ห้องเจ้าผู้ครองนครน่าน จำนวน ๑ ห้อง และห้องหอคำนครน่าน จำนวน ๑ ห้อง            พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เปิดให้บริการทุกวันพุธ - อาทิตย์ (ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. (ปิดวันจันทร์ - อังคาร) ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๕๔๗๗ ๒๗๗๗ หรือกล่องข้อความ เฟสบุ๊กเพจ : Nan national Museum พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน


          นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากร โดยสำนักการสังคีต ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสมาคมแม่บ้านทหารบก สาขากองทัพภาคที่ 4 กำหนดจัดโครงการสังคีตสัญจร “กิจกรรมโขนพบโนรา มรดกวัฒนธรรมบนวิถีสืบสานและสร้างสรรค์” ณ ศูนย์ประชุมเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง โดยมี ผศ.ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2564 เป็นผู้แสดงในบทบาทโนราพระอินทร์แปลง และนายปกรณ์ พรพิสุทธิ์ นาฏศิลปิน กรมศิลปากร ร่วมแสดงเป็นพระราม เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมฟรี           กรมศิลปากร โดยสำนักการสังคีต ได้ดำเนินโครงการจัดการแสดงนาฏศิลป์และดนตรีสัญจรไปยังภูมิภาค ดุจเดียวกับ “ยกโรงละครแห่งชาติออกไปหาประชาชน” โดยการวิวัฒน์ปรับปรุงบทสำหรับการแสดงโขนให้รัดกุมขึ้น เพื่อดำเนินเรื่องไปอย่างรวดเร็ว และมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย ด้านฉาก แสง สี เสียง มาประกอบการแสดง เพื่อเพิ่มพูนอรรถรสให้งดงามตระการตา รวมทั้งขยายโอกาสในการแสดงออกสู่สายตาประชาชนมากขึ้น ซึ่งในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไปจะเป็นการแสดงครั้งใหญ่ของสำนักการสังคีต ที่บ่งบอกถึงการขยายบทบาทและวิสัยทัศน์ของกรมศิลปากรที่ก้าวล้ำกว่าเดิม โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง และสมาคมแม่บ้านทหารบก สาขากองทัพภาคที่ 4 นำ “โขน” และ “โนรา” ซึ่งเป็นมรดกวัฒนธรรมอันจับต้องไม่ได้ (Intangible Heritage) ของมวลมนุษยชาติที่ได้รับการประกาศรับรองอย่างเป็นทางการจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) มาต่อยอดเป็นสื่อวัฒนธรรมในการยึดโยงเชื่อมไทยให้เป็นหนึ่งเดียว ภายใต้แนวคิด “โขนเชื่อมไทย” ความหลากหลายของวัฒนธรรมพื้นถิ่นบนแผ่นดินเดียวกัน            โครงการสังคีตสัญจร “กิจกรรมโขนพบโนรา มรดกวัฒนธรรมบนวิถีสืบสานและสร้างสรรค์” กำหนดจัดการแสดงระหว่างวันที่ 4 - 5 สิงหาคม 2566 ณ ศูนย์ประชุมเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง โดยวันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม 2566 เวลา 14.00 น. การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด พระจักรีปราบกลียุค วันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม 2566 เวลา 14.00 น. การแสดงโขนพบโนรา เรื่อง  รามมกุฎอยุธยา ผู้สนใจเข้าชมติดตามกำหนดการสำรองที่นั่งได้ที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง โทร. 0 7520 1712 หรือ facebook page: Prince of Songkla University, Trang Campus 



องค์ความรู้ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันรพี 7 สิงหาคม” วันรพี ตรงกับวันที่ 7 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ผู้ทรงได้รับการยกย่องให้เป็น “พระบิดาแห่งกฎหมายไทย” เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นนักนิติศาสตร์และทรงวางระบบแบบแผนศาลยุติธรรม รวมถึงทรงจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยอันเป็นประโยชน์ใหญ่ยิ่งแก่ประเทศชาติ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยประสูติจากเจ้าจอมมารดาตลับ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2417 ทรงเข้าศึกษา ในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ แล้วเสด็จไปศึกษาต่อ ณ โรงเรียนมัธยมกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา 3 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมแล้ว ทรงสอบเรียนต่อกฎหมายที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดได้ด้วยพระชนมายุเพียงแค่ 14 ชันษา ได้ศึกษาต่อ จนจบหลักสูตรปริญญาตรีด้านกฎหมาย ชั้นเกียรตินิยม โดยใช้เวลาศึกษาเพียงแค่ 3 ปี ด้วยพระชันษาเพียง 20 พรรษา เมื่อปี พ.ศ. 2439 ทรงเข้ารับราชการในกรมเลขานุการ ทรงปฏิบัติงานเป็นที่พอพระราชหฤทัยในสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมชนกนาถ เป็นอย่างยิ่ง พระภารกิจของพระองคืนับได้ว่าเป็นภาระที่หนักยิ่ง ทรงเสียสละทุกอย่าง คิดถึงแต่งานเป็นใหญ่ ทรงยึดหลักที่ว่า “คนทุกคนต้องเคารพเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะทำอะไรต้องคิดถึง คนอื่น” ทรงยึดหลักความยุติธรรม และหลักที่ว่า “My life is service” คือ ชีวิตของข้าพเจ้าเกิดมาเพื่อรับใช้ประเทศชาติ ปี พ.ศ. 2462 ทรงประชวรด้วยโรควัณโรคที่พระวักกะ (ไต) ไปรักษาพระองค์ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พระอาการ ก็ไม่ทุเลา และพระองค์ได้สิ้นพระชนม์ ในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463 รวมพระชนมายุได้ 47 พรรษา ในวันที่ 7 สิงหาคมของทุกปี วงการนักกฎหมายได้ถือเอาวันที่พระองค์สิ้นพระชนม์ เป็นวันรำลึกถึงคุณงามความดีของท่านที่มีต่อวงการกฎหมายไทย โดยใช้ชื่อว่า “วันรพี” ขนานนามพระองค์ว่า “พระบิดาและปฐมาจารย์แห่งนักกฎหมายไทย” โดยจะมีการจัดกิจกรรมวันรพี วางพวงมาลาถวายราชสักการะเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ที่อนุสาวรีย์พระรูปพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ หน้าสำนักงานศาลยุติธรรม ศาลที่เป็นสถานที่ราชการทั่วประเทศ และคณะนิติศาสตร์ของทุกมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดยมีการจัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์ ผศ., อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549. ธวัลกร ฉัตราธรรม. วันสำคัญในรอบ 1 ปี ที่คนไทยต้องรู้. กรุงเทพฯ : แพรธรรม, ม.ป.ป.. ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี


Messenger