ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ
ชื่อผู้แต่ง : หอสมุดแห่งชาติ, กรมศิลปากร
ชื่อเรื่อง : ชินมหานิทาน เล่ม ๒ ภาคภาษาไทย
ปีที่พิมพ์ : ๒๕๓๐
ครั้งที่พิมพ์ : -
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : ห้างหุ้นส่วน สามัญนิติบุคคล สหประชาพาณิชย์
จำนวนหน้า : ๓๒๓ หน้า
หมายเหตุ : จัดพิมพ์เฉลิมพระเกียรติในมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา ๕ รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
ชินมหานิทาน เป็นคัมภีร์ประเภทตำนานหรือประวัติ มีเรื่องราวของประพุทธเจ้าตั้งแต่อดีตครั้งเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีมาโดยลำดับจนกระทั่งถึงเสด็จดับขันธปรินิพพานและแจกพระบรมสารีริกธาตุเป็นที่สุด
ปลายนิ้ว.Season 4 Life.จันท์ยิ้ม.(3):1;ตุลาคม-พฤศจิกายน 2560
ลมหนาว เป็นสัญญาณที่บอกถึงช่วงเวลาปลายปีได้ใกล้ เข้ามาถึง แม้ทุกวันนี้อากาศบ้านเราจะร้อนกว่าปีก่อนๆ ก็ตาม แต่ยังพอมี ลมหนาวมาให้เราได้สัมผัสถึงฤดูกาลที่กําลังจะผ่านเข้ามา และพอที่จะ หยุดทบทวนสิ่งต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในตลอดหนึ่งปี
มันดีขึ้นหรือแย่ลง ? เราได้รับอะไรใหม่ๆ หรือสูญเสียอะไรไปบ้าง ? มีอะไรผิดไปจากความตั้งใจบ้าง ?
สิ่งหนึ่งที่เป็นข้อดีในคําถามข้างต้นเหล่านั้น คือเราได้ลอง หยุดทบทวน และเป็นโอกาสที่จะเริ่มต้นทําสิ่งที่ดีแล้ว ให้ดียิ่งขึ้น หรือ สิ่งที่เลวร้าย ให้กลายเป็นดีได้ในทุกๆ วัน
หาก “เรื่องดีๆ " เปรียบเหมือนฤดูหนาวที่หลายคนขอบ แม้จะเป็นช่วงสั้นๆ และตรงกันข้ามกับ “ปัญหา” เปรียบเสมือนกับ อากาศร้อนๆ ที่มีแทรกอยู่ในทุกฤดู และหลายคนจะไม่อยากพบเจอ แต่เราก็ปฏิเสธการมีอยู่ของมันไม่ได้
การใช้ชีวิตนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการทํางานศิลปะ กว่าจะเป็น อย่างที่เราคาดหวังไว้ กว่าจะสําเร็จ มักจะผ่านการลองผิดลองถูก ผ่านความอดทนมุ่งมั่น ความพยายามที่สม่ําเสมอ และที่สําคัญก็คือ การเรียนรู้ความผิดพลาด และปัญหาต่างๆ ที่เราพบเจอในปีนี้มาแก้ไข และป้องกันในปีต่อไปให้กับชีวิต
“ปีใหม่ คือการเริ่มต้นใหม่” ประโยคนี้เรามักจะหยิบมาใช้ กับหน้าที่การงาน การเงิน การวางแผนชีวิตให้ดีขึ้น ขณะเดียวกันก็ เป็นประโยคที่เราควรใช้ย้ําเตือนว่า การก้าวข้ามสู่ปีใหม่ นั่นหมายถึง เวลาของการใช้ชีวิตเราและคนรอบข้างนั้นลดลงด้วยเช่นกัน อย่างอายุ การเจ็บป่วย และเรี่ยวแรงที่เริ่มจะโรยรา ดังนั้นการให้เวลาหรือการดูแล คนที่เรารักและรักเรานั้น เป็นเรื่องที่ให้คนอื่นทําแทนหรือรอเริ่มต้นใหม่ ในทุกๆ ปี ไปเรื่อยๆ ไม่ได้เช่นกัน
แต่จะดีกว่า ถ้าเราชีวิตโดยคิดว่าวันนี้คือวันสุดท้ายของปี หรือวันสุดท้ายของชีวิต นั่นจะทําให้ทุกๆ วัน มีคุณค่ามากกว่าการเฝ้ารอ การเริ่มต้นในวันปีใหม่เพียงอย่างเดียว
แม้เราทุกคนมีโอกาสเริ่มใหม่ แต่ต้องไม่ลืมว่าไม่ใช่ตลอดไป และขอให้ปีใหม่ทั้งปีที่จะถึงนี้ เป็นตั้งกล่องของขวัญใบใหญ่ที่ทุกคนจะได้รับ ไม่ว่าสิ่งที่อยู่ในนั้นจะดีหรือร้าย แต่เราจะได้อะไรบางอย่างจากมันแน่นอน เพราะที่สุดแล้วมันจะเป็นของขวัญที่ดี ถ้าเราเรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน เพราะ “เรื่องราวในชีวิตของเราทุกคนคือผลงานศิลปะชั้นดีที่มีอยู่จริง"
นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมในสาระสำคัญต่าง ๆ และ
เพื่ออนุรักษ์สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ
ประชุมพระราชปุจฉา ภาคปกิรณกะ. พระนคร : กรมศิลปากร, 2508.
พระราชปุจฉาภาคนี้ เป็นหนังสือที่ให้ความรู้ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี และความเชื่อ ให้ความรู้ทางอักษรศาสตร์ ได้แก่ เรื่องพิธีวิสาขบูชา พระราชปุจฉารัชกาลที่ 3 ว่าด้วยพระราชกุศล สิ่งใดที่พระองค์ทรงบำเพ็ญไว้ พระราชปุจฉารัชกาลที่ 6 ว่าด้วยจะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศไปพระราชทานแก่คนต่างชาติซึ่งมิใช่พุทธศาสนิกชน ต้องทำอย่างไรจึงจะเป็นผลสำเร็จ เป็นต้น
องค์ความรู้ เรื่อง ตราประทับรุ่นแรกในประเทศไทย ที่พบในเมืองโบราณอู่ทอง จัดโดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
ชื่อเรื่อง : วัดโขงขาว
ผู้แต่ง : ชมรมวิชชุเวทย์ธรรมปฏิบัติ
ปีที่พิมพ์ : 2544
สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท.
สำนักพิมพ์ : ม.ป.พ.
THAI CULTURE, NEW SERIES No. 22
THE TOSACHĀT
IN THAI PAINTING
BY
ELIZABETH LYONS
ชื่อเรื่อง : มรดกพื้นถิ่น
ผู้เขียน : บุญยงค์ เกศเทศ
สำนักพิมพ์ : กากะเยีย
ปีพิมพ์ : 2558
เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : 978-616-7661-38-4
เลขเรียกหนังสือ : 333.7 บ532ม
ประเภทหนังสือ : หนังสือทั่วไป
ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป 1
สาระสังเขป : มรดกพื้นถิ่น อาจเป็นเหมือนมรดกที่ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าบุคคลใดที่จะเป็นทายาทสืบทอดอันพึงได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงดังเช่นมรดกส่วนตัวหรือมรดกของครอบครัว หากแต่คือ มรดกที่ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเป็นเจ้าของ และช่วยกันปกป้องรักษาสืบทอดให้ยั่งยืนสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น การปลูกฝังภูมิปัญญาผ่านตำนาน เรื่องเล่า จารีตประเพณี พิธีกรรมต่างๆ แม้แต่ข้าวของเครื่องใช้ในบ้านเรือน ยารักษาโรค งานหัตถกรรม จักสาน ผ้าทอต่างๆ ถือเป็นสิ่งที่ทรงคุณค่ามหาศาล เพราะที่สุดแล้วมรดกพื้นถิ่นก็จะมีคุณค่าทางภูมิปัญญาของบรรพชนที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ด้วยทรัพย์สินเงินทองแต่อย่างใด "มรดกพื้นถิ่น" เป็นการรวบรวมเรื่องราวมรดกความรู้ทางภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ได้บอกเล่าเรื่องราวสืบสานต่อกันมาอันเป็นเหมือนสมบัติธรรมชาติที่บรรพชนได้อนุรักษ์ไว้ เพื่อลูกหลานได้มีกินมีใช้ในภายภาคหน้า โดยมีเนื้อหาที่นำเสนอมากมายหลากหลายเรื่องมรดกภูมิปัญญาพื้นถิ่นทั่วทุกภาคของประเทศ อาทิ (1) ลูกต๋าว ถิ่นลั๊วะ ดงผาปูน บ่เกลือ เมืองน่าน (2) สาคู พืชชุ่มน้ำเมืองใต้ ดินแดนตำบลนาเสีย (3) แกง มะตาด แอ๊ปเปิ้ลมอญ หมากส่าน ของคนไท-ลาว (4) ปูเปี้ยว อีกหนึ่งภูมิปัญญาในการรักษาท้องทะเลและป่าชายเลน (5)ชาติพันธุ์ชอง บ้านคลองแสง ผลิตผลป่า สร้างค่าคนชุมชน (6) ภูเซิม เขาไม้ไผ่ที่นากลาง หนองบัวลำภู (7) ข้าวปุ้นซาว เคล้าน้ำยาดอของชาวพนมไพร (8) กวานฮาล็อก ปลาร้าคนมอญ คลองบางปรอก เมืองปทุมธานี (9) ปลาย่าง วังเวียง มรดกภูมิปัญญาของคนไท-ลาว (10) เสื่อ สาด วิถีการผลิตวัสดุธรรมชาติที่สืบทอดจากบรรพชน (11) หัวแฮด บ่อเกลือท่าสะอาด ลุ่มน้ำสงคราม (12) ข้าวฮาง อาหารพื้นบ้าน ภูมิปัญญาผู้ไท วาริชภูมิ (13) แควพระปรง ศูนย์เรียนรู้ยางนาบนพื้นที่ลุ่มน้ำปราจีนบุรี (14) กุดทิง พื้นที่ชุ่มน้ำแหล่งล่าสุด บึงกาฬ (15) พื้นที่ชุ่มน้ำ ชุมชนโนนยาง ป่าวัฒนธรรมอีกแห่งหนึ่งในอีสานใต้ ซึ่งมรดกพื้นถิ่นเหล่านี้นับว่าเป็น มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าควรแก่อนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่ตราบนานที่สุดเท่าที่จะนานได้ เพื่อคนรุ่นหลังและธำรงค์ไว้ซึ่งความเป็นชาติอันมีภูมิปัญญาและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์สืบต่อไป
ชื่อเรื่อง บทละครพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ วรรณกรรมเลขหมู่ 895.912 ม113บสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ ศิลปบรรณาคารปีที่พิมพ์ 2495ลักษณะวัสดุ 416 หน้าหัวเรื่อง บทละครไทย – รวมเรื่องภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก บทละครในเล่มมี 4 เรื่อง ได้แก่ บทละครรำ เรื่องศกุนตลา มัทนะพาธา ท้าวแสนปม และบ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์
ชื่อเรื่อง : ตำรับอาหารพื้นบ้านสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุมชนตำบลหนองบัว อำเภอเมืองกาญจนบุรี
ผู้เขียน : จุไรรัตน์ ประเสริฐสนิท
สำนักพิมพ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ปีพิมพ์ : 2556
เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : 978-974-606-000-4
เลขเรียกหนังสือ : 641.5 จ653ต
ประเภทหนังสือ : หนังสือทั่วไป
ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป 1
สาระสังเขป : ชุมชนตำบลหนองบัวเป็นชุมชนที่มีประวัติคู่เมืองกาญจนบุรีมาตั้งแต่โบราณกาล เพราะตั้งอยู่ในละแวกใกล้เคียงกันกับเมืองกาญจนบุรีเก่า ด้วยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแควใหญ่ซึ่งเป็นเส้นทางสัญจรหลัก ทำให้ชุมชนตำบลหนองบัวกลายเป็นชุมชนตลาดที่ใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า มีพ่อค้าคนจีนล่องเรือมาจากสมุทรสงครามมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกันกับผู้หาของป่ามาขายเป็นเหตุให้มีคนจีนมาตั้งถิ่นฐานบริเวณตลาดมากขึ้นจึงเกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมโดยเฉพาวัฒนธรรมด้านอาหาร ทั้งรูปแบบการประกอบอาหารและการรับประทานอาหารซึ่งยังคงอยู่ในชุมชนจนถึงปัจจุบัน " ตำรับอาหารพื้นบ้านสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุมชนตำบลหนองบัว อำเภอเมืองกาญจนบุรี " เป็นผลงานที่เกิดจากการวิจัยแบบมีส่วนร่วมซึ่งใช้การเก็บข้อมูลด้วยการทดลองตำรับอาหารต่างๆ ร่วมกับปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น นำเสนอเรื่องราวบริบทของชุมชนตำบลหนองบัว และอาหารพื้นบ้านในชุมชนตำบลหนองบัว ตำรับอาหารพื้นบ้านของชุมชน ได้แก่ น้ำพริกกะปิมอญ แยมหยวก แกงบวน ยำเห็ดโคนเปรี้ยว ยำหัวปลี สะเดา-น้ำปลาหวาน แกงป่าไก่ไทยมะเขือขื่น หน่อไม้ต้มกะปิ หมูพะโล้หน่อไม้แห้ง ทอดมันกัวปลี แกงเลียงหัวปลี แกงส้มหน่อไม้ดอง แกงส้มมะรุม แกงส้มตะคึก ข้าวต้มเห็ดโคน หมี่ผัด ขนมเบื้องไข่ เมี่ยงคำ ขนมตาล ลอดช่องไทย บัวลอยญวณ ข้าวเม่าคลุก ข้าวเหนียวเหลือง-หน้าปลาแห้ง ขนมกะลอจี๊ ขนมบ้าบิ่น ข้าวต้มมัด กล้วยตาก เห็ดโคนเปรี้ยว หน่อไม้ดอง หน่อไม้แห้ง พร้อมทั้งมีรายละเอียดสูตรเครื่องปรุง วิธีทำ รสชาติ และเคล็ดลับแต่ละเมนูให้ด้วย นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการศึกษาและพัฒนาตำรับอาหารในชุมชนตำบลหนองบัว ภาพกิจกรรม ผู้รู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารที่ร่วมให้ข้อมูล ผู้สาธิตการประกอบอาหารพื้นบ้านชุมชนตำบลหนองบัว หนังสือเล่มนี้จึงนับว่ามีความสมบูรณ์และทรงคุณค่าเหมาะสมสำหรับใช้เป็นข้อมูลในการศึกษา ค้นคว้าและสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารพื้นบ้านได้เป็นอย่างดี สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์จริงแก่ประชาชนและชุมชนเพื่อความกินดีอยู่ดี และความรักภาคภูมิใจในชุมชนของตนสืบต่อไป