ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ
โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุชิ้นสำคัญของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรีที่จะนำเสนอในครั้งนี้ ก็คือ โบราณวัตถุรูปผู้ชายแบกตะกร้า ลักษณะมีเชือกสะพายอยู่บนบ่าด้านขวายืนอยู่บนฐานกลม มือซ้ายจับตะกร้า มือขวาถือม้วนเชือก ขนาดสูง ๔๕ เซนติเมตร ฐานกว้าง ๑๙ เซนติเมตร วัสดุทำมาจากโลหะ เป็นของที่เก็บรักษาอยู่ที่พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์มาแต่เดิม ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่ห้องพักผ่อนพระอิริยาบถ (พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์)
องค์ความรู้ทางวิชาการ
เรื่อง พัฒนาการทางวัฒนธรรมเมืองโบราณศรีฐาน
จากหลักฐานการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดี
โดย นางสาวทิพย์วรรณ วงศ์อัสสไพบูลย์
นักโบราณคดีชำนาญการ
สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น
ชื่อเรื่อง อาการวตฺตสุตฺต (อาการวัตตสูตร)
สพ.บ. 286/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 22 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา ชาดก เทศน์มหาชาติ คาถาพัน
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เสด็จพระราชดำเนินทรงงานในพื้นที่ภาคเหนือ : ตอนที่ ๔ ลำพูนตลอดระยะเวลา ๗๐ ปี ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติ พระองค์เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อรับทราบปัญหาและทรงหาแนวทางการแก้ไขปัญหาของประเทศชาติและประชาชน ทรงอุทิศพระวรกายบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการในการพัฒนาประเทศเพื่อความผาสุก ความเจริญรุ่งเรือง และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของพสกนิกรชาวไทย๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๔ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในโอกาสนี้ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญพระบรมฉายาลักษณ์พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่เสด็จพระราชดำเนินทรงงานในพื้นที่จังหวัดลำพูน เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดไม่ได้ ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช.
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (วิภังค์-มหาปัฏฐาน)
สพ.บ. 307/2ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 24 หน้า กว้าง 4.8 ซม. ยาว 57.2 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
วินยธรสิกฺขาปทวินิจฺฉย (วินยสิกฺขาปทวินิจฺเฉยฺย)
ชบ.บ.96/1-8
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.310/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 125 (302-305) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : เทวทูตสุตฺต(เทวทูตสูตร)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
นานา...น่ารู้จากเอกสารจดหมายเหตุ เรื่อง เรื่องเล่าจากไมโครฟิล์ม ตอน การปฏิสังขรณ์พระพุทธไตรรัตนนายก (หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิงวรวิหาร) ร.ศ.121
ชื่อผู้แต่ง จำนงค์ ทองประเสริฐ
ชื่อเรื่อง ปรัชญาตะวันตก : สมัยโบราณ
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๓
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ แพร่พิทยา
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๔
จำนวนหน้า ๗๓๐ หน้า
หนังสือ ปรัชญาตะวันตก : สมัยโบราณ เล่มนี้ กล่าวถึงวิชาปรัชญาเริ่มตั้งแต่สมัยก่อนโสคราเตส
ยุคของโสคราเตสเป็นต้นมา มีจุดมุ่งหมายที่จะให้นักศึกษาได้ทราบถึงแนวทฤษฎีของความคิดในปัญหาต่างๆ
ที่จะวิเคราะห์ด้วยวิธีการของปรัชญา เนื่องจากวิชาปรัชญาเป็นวิชาที่สอนให้คนเรามีเหตุผล ใจกว้าง พร้อมที่
จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและพร้อมนำเอาความคิดเห็นต่าง ๆ เหล่านั้นมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน
ได้ตามความเหมาะสม
บวชลูกแก้วหรือปอยส่างลอง ประเพณีบวชลูกแก้วหรือที่ชาวไทใหญ่เรียกว่า ประเพณีปอยส่างลอง มักจัดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม โดยจัดประมาณ ๓-๕ วัน เป็นประเพณีทางพุทธศาสนาที่จัดให้ลูกหลานเด็กผู้ชายที่มีเชื้อสายไทใหญ่อายุตั้งแต่ ๑๒ ปีขึ้นไป พบในจังหวัดแม่ฮ่องสอนและในจังหวัดเชียงใหม่บางอำเภอ ซึ่งคำว่าปอย หมายถึง งานหรือประเพณี คำว่า ส่าง แปลว่า น้อยหรือผู้บวชเป็นสามเณรแล้วลาสิกขา เป็นภาษาไทใหญ่ ส่วนคำว่า ลอง หรือ อลอง แปลว่า รัชทายาท ก่อนการจัดประเพณีปอยส่างล่อง เจ้าบ้านจะจัดทำกำหนดการเพื่อเชิญชาวบ้านหรือบุคคลที่สนิทคุ้นเคยกัน แล้วส่งคนไปบอกบุญตามบ้านต่าง ๆ เรียกว่า ตกเทียน โดยนำเทียนไปแจกและบอกกำหนดการ ผู้ที่ได้รับเชิญจะไปร่วมงานและนำของใช้หรือเงินไปช่วยเจ้าภาพตามกำลังศรัทธา เมื่อถึงวันงาน เริ่มด้วยการโกนผมของส่างลอง ให้เหลือแค่คิ้ว แต่งหน้า ทาปาก สวมใส่เครื่องประดับที่มีค่า เช่น สร้อยคอ กำไล แหวนและใช้ผ้าโพกศีรษะแบบชาวพม่า พร้อมเสื้อเชิงงอนปักดิ้นไหม นุ่งโจงกระเบนงดงาม คาดเอวด้วยเข็มขัดเงิน ผู้ที่เป็นพระอุปสมบทให้ส่างลอง เรียกว่า จองลอง และมีพี่เลี้ยงคอยปฏิบัติดูแลอย่างน้อยสามคน เรียก “ตะแปส่างลอง” ในวันแรกของงานซึ่งเริ่มพิธีในเวลาเช้ามืด โดยพี่เลี้ยงจะนำส่างลองไปซ่อน เพื่อเรียกเงินจากเจ้าภาพ เมื่อได้เงินแล้วจะนำส่างลองขี่ขึ้นคอแล้วแห่ในขบวนพิธี โดยนำม้าเปล่า ๑ ตัวเดินนำขบวน ซึ่งถือกันว่าเป็นม้าสำหรับเจ้าเมืองขี่นำไปทำพิธีการกุศล ขบวนแห่ส่างลองจะบรรเลงด้วยฆ้อง ฉาบและกลอง และตะแปส่างลองจะเต้นตามจังหวะเพลงโยกส่ายไปมาเพื่อสร้างความสนุกครื้นเครง นำขบวนแห่ไปตามสถานที่สำคัญ เช่น ศาลหลักเมือง เจ้าอาวาสหรือญาติผู้ใหญ่ เพื่อรับศีลรับพร วันที่สองเรียกว่า วันแห่ครัวหลู่ หรือวันแห่เครื่องปัจจัยไทยทานถวายพระสงฆ์ ไปตามถนนต่าง ๆ ตะแปส่างลองต้องให้ส่างลองขี่คอ และใช้ร่มทาสีทอง หรือที่เรียกว่า ร่มทีคำ ถือบังแดด ห้ามไม่ให้เท้าแตะพื้น เปรียบเหมือนส่างลองเป็นรัชทายาท ช่วงเย็นมีพิธีคำขวัญและสวดคำขวัญ เพื่อให้เห็นถึงบุญคุณของบิดาและมารดา หลังจากนั้นผู้คนที่สนิทกันเข้ามาอวยพรและพบปะสังสรรค์กันที่บ้าน วันที่สามหรือวันหลู่ ถือเป็นวันที่สำคัญ เพราะเป็นวันที่จะต้องนำเครื่องไทยทานถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ อาราธนาศีลและเปลี่ยนการแต่งกายจากชุดลำลองเป็นผ้าไตร เข้าเป็นสามเณรอย่างสมบูรณ์ มักบวชเป็นระยะเวลา ๑๕ วัน ไปจนถึง ๑ เดือนจึงจะสึกออกมา ประเพณีบวชลูกแก้วนี้ชาวไทใหญ่นิยมจัดขึ้นอย่างใหญ่โต บางคนใช้เงินที่สะสมไว้เป็นเวลาหลายปีเพื่อจัดงาน เพราะมีความเชื่อว่าเป็นงานพิธีซึ่งได้บุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ต่อตนเองและคนในครอบครัว ปัจจุบันงานประเพณีบวชลูกแก้วหรือปอยส่างลอง ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๑ เพื่อเป็นหลักฐานสำคัญของชาติและส่งเสริมให้คนในชุมชนเกิดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตนและเป็นการปกป้องคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรม นำไปสู่ความเข้าใจและเห็นคุณค่าในความแตกต่างทางวัฒนธรรมทั้งในระดับประเทศและระดับสากลผู้เรียบเรียง : นางสาวอริสรา คงประเสริฐ นักจดหมายเหตุภาพ : ๑. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. ภาพชุดงานสมโภชเชียงใหม่ ๗๐๐ ปี.๒. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. ภาพชุดการประกวดภาพเก่าเกี่ยวกับจังหวัดลำพูน.๓. เชียงใหม่นิวส์.๒๕๖๒.งานประเพณีปอยส่างลอง มนต์เสน่ห์ของศิลปะประเพณี วัฒนธรรม อันล้ำค่าและยิ่งใหญ่ของชาวไทใหญ่ (online). https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/936521/, สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๕.อ้างอิง : ๑. มณี พยอมยงค์. ๒๕๔๖. สารพจนานุกรมล้านนา. จ.เชียงใหม่: ดาวคอมพิวกราฟิก.๒. ธันวดี สุขประเสริฐ.๒๕๕๘. “ประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย : ปอยส่างลอง.” ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (online). https://www.sac.or.th/databases/rituals/detail.php?id=12, สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๖๕.๓. ปรมินทร์ นาระทะ. ๒๕๕๙. “ปอยส่างลองเวียงแหง เอกลักษณ์ชาวไทใหญ่” มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (Online). https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=532, สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๖๔.๔. เชียงใหม่นิวส์. ๒๕๖๒. งานประเพณีปอยส่างลอง มนต์เสน่ห์ของศิลปะประเพณี วัฒนธรรม อันล้ำค่าและยิ่งใหญ่ของชาวไทใหญ่ (online). https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/936521/ สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๕.
วันอาทิตย์ที่ ๑๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๔๓ น. สมเด็จพระกนิษฐาธิ ราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม ในการนี้ นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกรมศิลปากร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ประชาชนในพื้นที่ เฝ้าฯ รับเสด็จ ณ อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว โอกาสนี้ ทรงกดปุ่มเปิดแพรคลุมป้ายอุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม และทอดพระเนตรนิทรรศการภายในศูนย์บริการข้อมูล ซึ่งจัดแสดงเรื่องราวของปราสาทสด๊กก๊อกธม ความรู้เกี่ยวกับ “ปราสาท” สถาปัตยกรรมวัฒนธรรมเขมร เนื้อหาของจารึกสด๊กก๊อกธม รวมถึงการอนุรักษ์และบูรณะปราสาทสด๊กก๊อกธม ผ่านนิทรรศการสื่อผสม ทั้งป้ายคำบรรยาย หุ่นจำลองสามมิติ สื่อวีดีทัศน์ และการจัดแสดงโบราณวัตถุต่าง ๆ จากนั้นทรงประทับรถไฟฟ้าพระที่นั่ง เสด็จฯ ไปยังปราสาทสด๊กก๊อกธมทอดพระเนตรปราสาทสด๊กก๊อกธม ศาสนสถานในศาสนาฮินดูแบบไศวนิกาย ในรูปแบบศิลปะเขมรในประเทศไทยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกของประเทศไทย สร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๑๕๙๕ ตามพระราชบัญชาของพระเจ้าอุทยาทิตยวรมันที่ ๒ กษัตริย์เขมร เพื่อพระราชทานแด่ “พระกัมรเตงอัญศรีชเยนทรวรมัน” พระราชครูของพระองค์ ปราสาทสด๊กก๊อกธมนี้ เดิมชาวบ้านเรียกว่า ปราสาทเมืองพร้าว เนื่องจากเคยมีคนหลงเข้ามาใน บริเวณนี้และพบต้นมะพร้าว ต่อมามีการเรียกชื่อปราสาทเป็นภาษาเขมรว่า “สด๊กก๊อกธม” แปลว่า รกไปด้วย ต้นกกขนาดใหญ่ ปราสาทสด๊กก๊อกธมเป็นที่รู้จักครั้งแรกในพุทธศักราช ๒๔๔๔ โดยนายเอเตียน เอโมนิเยร์ นักวิชาการชาวฝรั่งเศสได้บรรยายถึงสภาพปราสาทไว้ในฐานะโบราณสถานที่มีความโดดเด่นที่สุดแห่งหนึ่งที่มนุษย์สร้างไว้ด้วยหิน และพบศิลาจารึกที่มีความสำคัญเหนือจารึกใด ๆ ในเขมรทั้งหมด ปราสาทสร้างด้วยหินทรายและศิลาแลง วางผังตามแนวแกนทิศตะวันออก – ตะวันตก มีทางเดินมุ่งเข้าสู่จุดศูนย์กลาง คือ ปราสาทประธาน คติการสร้างเป็นการจำลองเขาไกลาศ ที่ประทับของพระศิวะ กล่าวคือปราสาทประธาน เปรียบเสมือนเขาไกลาศ และทางดำเนินที่มุ่งเข้าหาปราสาทประธานเปรียบเสมือนสะพานที่เชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับสวรรค์ที่เป็นที่ประทับของเทพเจ้า กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานปราสาทสด๊กก๊อกธมครั้งแรก เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๘ และกำหนดเขตพื้นที่โบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔ ตอนพิเศษ ๘๑ ง วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๔๐ รวมพื้นที่โบราณสถาน ๖๔๑ ไร่ ๒ งาน ๘๒ ตารางวา ต่อมาพุทธศักราช ๒๕๓๘ - ๒๕๕๓ กรมศิลปากรได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์และพัฒนาปราสาทสด๊กก๊อกธม โดยดำเนินงานทางโบราณคดี และบูรณะปราสาทด้วยวิธีอนัสติโลซิส ซึ่งเป็นวิธีประกอบรูปโบราณสถานขึ้นจากซากปรักหักพัง ให้กลับมามีสภาพที่รักษาความเป็นของแท้และดั้งเดิมให้ได้มากที่สุด จากนั้นได้ดำเนินการจัดสร้างศูนย์บริการข้อมูล และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สำหรับจัดตั้งเป็นอุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม