ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.427/4กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 90 หน้า ; 4.5 x 59.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 154 (120-128) ผูก 4ก (2566)หัวเรื่อง : มาลาวิภักค์--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช ขอเชิญชวนเด็กๆ และเยาวชนผู้มีใจรักศิลปะ ร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน "จุ่มสี สะบัดแปรง แต้มแต่ง เขนยักษ์ เขนลิง " วันเสาร์ที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๒๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ ห้องประชุมใหญ่ หอสมุดแห่งนครศรีธรรมราช
ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ "ฟรี" ไม่เสียค่าใช้จ่าย (รับจำนวนจำกัด) สอบถามเพิ่มเติมได้ทาง Facebook หอสมุดแห่งชาติ นครศรีธรรมราช หรือ โทร. 0 7532 4137
องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม”
เพลง “ค่าน้ำนม” คงได้ยินได้ฟังกันมาตั้งแต่เด็ก หลายยุคหลายสมัยยังเป็นเพลงอมตะที่ฟังแล้วทำให้นึกถึงพระคุณของแม่ ที่มีเนื้อหากินใจว่า “แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง แม่เฝ้าหวงลูกแต่หลังเมื่อยังนอนเปล...” ทำให้เห็นถึงความรักของแม่ที่รักลูกถนอมลูก สงสารลูก จะไปไหนก็เป็นห่วง รับประทานอะไรก็คิดถึงลูก ลักษณะเหล่านี้ย่อมตรึงใจเรามิรู้วาย
วันแม่แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 12 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของไทย ที่ถือเอาวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินินาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นวันแม่แห่งชาติ
แต่เดิมนั้น วันที่ 12 สิงหาคม มิได้เป็นวันแม่แห่งชาติอย่างเช่นในปัจจุบัน แต่ได้มีการกำหนดเอาวันที่ 15 เมษายนของทุกๆ ปีเป็น วันแม่แห่งชาติ โดยเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีที่ได้ประกาศไว้เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 โดยสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีให้เป็นผู้จัดงานวันแม่มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2493 เป็นต้นมา เพราะเห็นว่าเป็นเดือนที่ฝนยังตกไม่ชุกนัก จะมีคนมาร่วมงานได้สะดวก โรงเรียนอยู่ระหว่างการหยุดเทอม นักเรียนว่างพอจะเข้าร่วมงานวันแม่ได้ การจัดงานไม่เพียงแต่มีการจัดพิธีทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น ยังมีการประกวดแม่ของชาติ การประกวดคำขวัญวันแม่ เพื่อเป็นเกียรติแก่แม่ และเป็นการเพิ่มความสำคัญของงานวันแม่ให้มีมากยิ่งขึ้น
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2519 ทางราชการได้เปลี่ยนแปลงวันแม่ใหม่ ให้ถือเอาวันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เนื่องจากเป็นวันพระราชสมภพ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินินาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวไทย เปรียบเสมือนแม่ของชาติ โดยมติเห็นชอบจากคณะกรรมการส่งเสริมศีลธรรมและจิตใจ โดยพิจารณาว่าแม่เป็นผู้มีพระคุณและมีบทบาทอย่างสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่จะได้รับการเทิดทูนและตอบแทนบุญคุณด้วยความกตัญญูกตเวที
การที่ทางราชการได้ประกาศกำหนดให้วันที่ 12 สิงหาคมของทุกปีเป็น วันแม่แห่งชาติ ย่อมก่อให้เกิดวันอันเป็นที่ระลึกที่สำคัญยิ่งของไทยเราวันหนึ่ง และกำหนดให้ถือว่า ดอกมะลิ สีขาวบริสุทธิ์ มีกลิ่นหอม ที่ใช้ได้ตั้งแต่เป็นดอกไม้สด จนกระทั่งแห้งเสมือนดั่งความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่เสื่อมคลาย เป็นสัญญลักษณ์แห่งความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่ตัวเรา
อ้างอิง : บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541.
ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้
นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี
พระพุทธรูปปางมารวิชัย
แบบศิลปะ : อยุธยา
ชนิด : สำริด
ขนาด : สูง 28 เซนติเมตร ตักกว้าง 18 เซนติเมตร
ลักษณะ : ประทับนั่งขัดสมาธิราบ แสดงปางมารวิชัย บนฐานหน้ากระดานแอ่นเป็นร่องตรงกลาง พระรัศมีเป็นเปลว ปรากฏพระอุษณีษะ เม็ดพระศกเล็ก พระพักตร์รูปไข่ พระกรรณยาว พระขนงโค้งต่อเป็นปีกกา พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์แย้มเล็กน้อย พระหนุสั้น พระศอเป็นปล้อง ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิปลายแยกเป็นเขี้ยวตะขาบ แลเห็นเม็ดพระถันด้านขวา และขอบสบงที่บั้นพระองค์
สภาพ : ชำรุด ส่วนฐานล่างด้านซ้ายและด้านหลังเนื้อสำริดแตกหักหายไป มุมฐานด้านขวามีรอยแตกร้าว
ประวัติ : พบที่วัดชุมนุมสงฆ์ ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ระหว่างวันที่ 11-13 ตุลาคม 2504 ย้ายจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2544
สถานที่จัดแสดง : ห้องศาสนศิลป์สุพรรณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi/360/model/12/
ที่มา: hhttp://www.virtualmuseum.finearts.go.th/suphanburi
องค์ความรู้สุพรรณบุรี เรื่อง ยืนยง โอภากุล
ผู้เรียบเรียง :
นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
-- องค์ความรู้จากเอกสารจดหมายเหตุ : หญ้าไม่ธรรมดา -- เมื่อหลายสิบปีก่อน หญ้าแฝกคือวัชพืชที่ไม่มีผู้ใดสนใจ ครั้นปี พ.ศ. 2523 พื้นที่การเกษตรหลายแห่งเสื่อมโทรม อีกทั้งยังเกิดภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง " หญ้าแฝก " กลับเป็นหนึ่งในตัวช่วยของเกษตรกรอย่างน่าอัศจรรย์. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ทรงมีพระราชดำริให้กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำเกษตรกรใช้หญ้าแฝกปลูกคลุมผืนดินไว้ เพราะพืชชนิดนี้หยั่งรากลึก แตกกอง่าย สามารถอุ้มน้ำ รักษาความชุ่มชื้น ป้องกันดินพังทลาย และฟื้นฟูระบบนิเวศได้รวดเร็ว. เกษตรจังหวัดพะเยาทราบถึงพระราชดำริ และนโยบายจากกรมส่งเสริมการเกษตรแล้ว จึงมีหนังสือราชการถึงนายอำเภอในจังหวัดเพื่อขอความร่วมมือดังต่อไปนี้ 1. ให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลปลูกหญ้าแฝกอย่างน้อยคนละ 50 กอ สำหรับศึกษาและขยายพันธุ์แก่เกษตรกร 2. แนะนำการปลูกหญ้าแฝกอย่างน้อยตำบลละ 10,000 ต้น พร้อมทั้งรายงานความก้าวหน้าทุกเดือน 3. รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ทำความเข้าใจเรื่องหญ้าแฝกแก่ประชาชน อีกทั้งปลูกเป็นตัวอย่างในพื้นที่สำนักงาน บ้านพัก และบริเวณที่สามารถเข้าศึกษาได้ต่อไป. นอกจากนี้ เกษตรจังหวัดพะเยายังแจกจ่ายแผ่นพับการปลูกหญ้าแฝก วิธีขยายพันธุ์ และการใช้ประโยชน์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นด้วย. อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานข้างต้นจำเป็นต้องใช้ระยะเวลา ถึงแม้ว่าหญ้าแฝกจะขึ้นง่าย โตไว ทนสภาพภูมิอากาศทุกสภาวะ ดังนั้นการให้รายงานความก้าวหน้าดังกล่าวจึงเป็นผลแสดงความสำเร็จอย่างค่อยเป็นค่อยไป หากน่าเสียดายที่ไม่พบรายงานการปลูกหญ้าแฝกประกอบในแฟ้มเอกสารจดหมายเหตุร่วมด้วย. ถึงกระนั้น ในปัจจุบันเราก็พบความสำเร็จจากการใช้หญ้าแฝกของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอยู่เสมอๆ ซึ่งทั้งหมดนี้นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้น ของพระมหากษัตริย์ผู้ประทับอยู่ในหัวใจชาวไทยตราบชั่วนิรันดร์.ผู้เขียน: นายธานินทร์ ทิพยางค์ (นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา).เอกสารอ้างอิง: หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา. เอกสารสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา พย 1.13.1/21 เรื่อง การส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝก [ 11 พ.ย. - 28 ธ.ค. 2535 ].#จดหมายเหตุ #องค์ความรู้จากจากจดหมายเหตุ #หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯพะเยา #เอกสารจดหมายเหตุ
"มังกรจีน""ลายมังกรดั้นเมฆ"ภาพจิตกรรมบนขื่อคานเครื่องบนวิหารวัดภูมินทร์ จ.น่านเทคนิคปิดทองล่องชาด (ล้านนาเรียกชาดว่า หาง)ในคติความเชื่อของจีน "มังกร" เป็นสัตว์วิเศษ มีพลังเหนือธรรมชาติ ที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ฟ้าฝน และไฟ มีความสัมพันธ์กับฤดูกาล การเปลี่ยนแปลงของวันเวลา ซึ่งมีความสำคัญต่อเกษตรกรรม รวมถึงเป็นสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์แทนอำนาจจักรพรรดิ ความสูงส่ง และเกียรติยศ สามารถปัดเป่าความชั่วร้ายและพลังลบต่างๆ พร้อมนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรือง อายุยืนยาว โชคลาภวาสนาจากการประดับลวดลาย "มังกรดั้นเมฆ" ที่วิหารวัดภูมินทร์ จ.น่าน สะท้อนถึงความนิยม อิทธิพลศิลปะจีนที่ผสมผสานในงานศิลปกรรมเมืองน่านได้เป็นอย่างดี เนื่องจากลักษณะของมังกรมีความคล้ายคลึงกับศิลปกรรมนาคที่ปรากฎในงานศิลปกรรมน่าน เช่น หัวเรือแข่ง เป็นต้น นอกจากนี้ยังสื่อความหมายทางสัญลักษณ์ที่บ่งบอกฐานานุศักดิ์ของผู้สร้างอารามแห่งนี้
วันที่ 31 ตุลาคม 2566 เจ้าหน้าที่หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรีเฉลิมพระเกียรติ ร่วมกันทำกิจกรรมบำรุงรักษาต้นไม้ กวาดใบไม้ และดูแลพื้นที่โดยรอบ เนื่องในวันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ.2566
สุภาษิตสอนสตรีของสุนทรภู่ผู้แต่ง : สุนทรภู่ต้นฉบับอยู่ที่ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี (ห้องหนังสือหายาก)โรงพิมพ์ : แสงทองการพิมพ์ปีที่พิมพ์ : 2506รูปแบบ : PDFภาษา : ไทยเลขทะเบียน : น. 31 บ. 13371 จบ. เลขหมู่ : 398.9 ส798สวสาระสังเขป : หนังสือจัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางวุทธพิทักษ์ (แฃ วาสนะโชติ) ณ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ 16 มีนาคม 2506 สุภาษิตสอนสตรีนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายว่า สุนทรภู่เห็นจะแต่งเรื่องราวในระหว่าง พ.ศ. 2380 จน พ.ศ. 2383 ในเวลาเมื่อกลับสึกออกมาเป็นคฤหัสถ์ แล้วต้องตกยากจนถึงลอยเรืออยู่ พิเคราะห์ดูตามสำนวน ดูเหมือนหนังสือเรื่องนี้สุนทรภู่จะแต่งขาย กล่าวความเป็นสุภาษิตสอนสตรีสามัญทั่วไป ความไม่บ่งว่าแต่งให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ ต้นฉบับเดิมที่หอพระสมุดฯ ได้มาเรียกว่าสุภาษิตไทย เป็นคำสมมตของผู้อื่น ดูเหมือนผู้สมมตจะไม่รู้ว่าเป็นกลอนของสุนทรภู่ด้วยซ้ำไป ถ้อยคำก็วิปลาสคลาดเคลื่อน ต้องซ่อมแซมในหอพระสมุดฯ หลายแห่ง แต่แต่งดีน่าอ่านไม่แพ้เรื่องอื่นเหมือนกัน สุภาษิตสอนสตรีมีฉันทลักษณ์ในรูปแบบกลอนแปดสุภาพ และมีใจความสำคัญเกี่ยวกับการสอนผู้หญิงให้ประพฤติตัวตามค่านิยมอันดีของสังคมไทยดั้งเดิม
นำเสนอข่าวสารของจังหวัดชลบุรีในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาให้ผู้อ่านได้ติดตามกันค่ะ
รวบรวมโดย นางสาวอาทิตยา พิบูลแถว บรรณารักษ์ปฏิบัติการ