ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ
ณัฐภัทน์ ซ้ายสุวรรณ.เทคโนโลยีขั้นเทพ ที่ควรมีในปีหน้า !.จันท์ยิ้ม.(3):1;ตุลาคม-พฤศจิกายน 2560
เคยดูภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์อย่าง Iron Man (ไออ้อน แมน) กันรึเปล่าครับ ?
แน่นอนว่าคําถามนี้ คงมีผู้อ่านราว 70-80 % เคยเห็นความเท่ ของ Tony Stark ตัวเอกของเรื่องผ่านตามาบ้างแล้วไม่มากก็น้อย และหลายคน โดยเฉพาะเด็ก ๆ คงวาดหวังว่า ถ้าวันหนึ่งเราได้ใส่ ชุดเกราะเท่ ๆ แบบไออ้อน แมนบ้างก็คงจะดี
และนี่คือ Exoskeletons (เอ็กส์โซสเกลเลชั่นส์) หรือใน ความหมายแบบไทยที่จะให้เข้าใจง่ายคือ โครงร่างแข็ง (หรือโครงกระดูก แข็ง) ภายนอกร่างกาย ที่เราจะมาคุยกันครับ
เจ้าโครงร่างฯ นี้ ถูกใช้มาระยะหนึ่งแล้วในหน่วยงานของทหาร และทางการแพทย์ ทางทหารนั้นช่วยให้ทหารแต่ละนายเมื่อสวมใส่แล้ว สามารถยกของหรือแบกของได้เกินขีดจํากัดของร่างกายมากขึ้น และ ยาวนานขึ้น ส่วนในทางการแพทย์นั้น ทํามาช่วยให้ผู้ป่วยที่มีปัญหา เรื่องการทรงตัวและเดินทําได้ดียิ่งขึ้น
Exoskeletons ครั้งนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ที่แตกต่าง ออกไปจากสองสิ่งที่กล่าวไปแล้วข้างต้น โครงการนี้เน้นจับไปที่การสร้าง ผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยให้กลุ่ม “คนงาน” สามารถลดความเจ็บปวดร่างกาย และทํางานได้ดีมากยิ่งขึ้นจากการมีเจ้าโครงร่างฯ นี้
ในกลุ่มคนงานบริษัท ฟอร์ด คนงานแต่ละคนยกแขนของพวกเขา วันละราว 4,600 ครั้ง ซึ่งนั่นเหมือนถึงจํานวนล้าน ๆ ครั้งต่อปีเลยทีเดียว ไม่แปลกที่จะเกิดอาการปวดหลังและปวดคอจากการทํางานหนักเช่นนี้ บริษัท Ekso Bionics บอกว่าผลิตภัณฑ์ที่ชื่อ Eksoestที่กําลังสร้างขึ้นนั้น สามารถช่วยให้คนงานเพิ่มน้ําหนักในงานยกได้ถึง 2.2 - 6.8 กิโลกรัม ต่อแขนหนึ่งข้าง
โครงร่างฯ นี้สามารถมีมูลค่าได้สูงถึงราว 3 ล้านบาท ($100,000) แต่มันจะลดลงอีกก็ต่อเมื่อโครงการนี้ไปสู่กระบวนการผลิตภาคอุตสาหกรรม ซึ่งราคาอาจลดลงมาเหลือราว 170,000 บาท ซึ่งน่าสนใจไม่น้อยหาก สามารถนํามาใช้กับธุรกิจที่ต้องการเพิ่มขีดความสามารถให้กับคนงาน
ถึงตรงนี้หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วทําไมเราจึงไม่ใช้ “หุ่นยนต์” ในการทํางานหนักแทนไปเลยล่ะ ? นี่เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทางโครงการ มุ่งเน้นพัฒนาโครงร่างแข็งภายนอกนี้ เพราะเขาเชื่อว่ามันมีความจําเป็น ที่ต้องให้ทั้งคนและหุ่นยนต์ทํางานร่วมกัน ด้วยการใช้มันสมองที่ ฉลาดหลักแหลมของมนุษย์ในการตัดสินใจทํางาน โดยมีความแข็งแรง ของโครงร่างฯ เป็นส่วนส่งเสริมประสิทธิภาพ
นี่คือเทคโนโลยีที่ภายในปีหน้าน่าจะเริ่มออกสู่วงกว้างมากขึ้น แต่กว่าจะเป็นที่รู้จักภายในประเทศไทยอาจต้องใช้เวลามากกว่านั้นอีก ระยะหนึ่ง แต่เชื่อเถอะครับว่า ในอนาคตอีกไม่นานเราจะได้เห็นภาพมนุษย์ ที่สามารถยกของหนัก หรือบินได้ด้วยเครื่องไอพ่น (ซึ่งตอนนี้ก็มีบางคน ทําได้แล้ว) จนกลายเป็นเรื่องชินตาในชีวิตประจําวันอย่างแน่นอน
โดย
เฮอร์เบิร์ต วาริงตัน สมิธ
(Herbert Warington Smyth)
นางสาวเสาวลักษณ์ กีชานนท์
แปลและเรียบเรียง
ชื่อเรื่อง : เรื่องเมืองสวรรค์
ชื่อผู้แต่ง : อนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ), พระยา
ปีที่พิมพ์ : 2497
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สมผล
จำนวนหน้า : 72 หน้า
สาระสังเขป : เรื่องเมืองสวรรค์ ของ เสฐียรโกเศศ เล่าถึงเมืองสวรรค์และชาวสวรรค์ตามที่มีกล่าวไว้ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง อธิบายถึงสวรรค์ในแต่ละชั้น ตัวอย่างเช่น จาตุมหาราชิกภูมิ คือสวรรค์ชั้นแรกเป็นที่อยู่ของเหล่าเทวดา สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตั้งอยู่เหนือเขาพระสุเมรุเป็นเมืองของพระอินทร์ สวรรค์ชั้นยามา อยู่สูงกว่าวิถีโคจรของดวงอาทิตย์ เป็นที่อยู่ของสุยามเทวราช มีปราสาทแก้วปราสาทเงินเป็นวิมาน รวมถึงสวรรค์ชั้นดุสิต สวรรค์ชั้นนิมมานรดี เป็นต้น
เครื่องสังคโลกที่ผลิตและได้รับการส่งออกไปอย่างกว้างขวางนั้น มีจุดเด่นประการหนึ่งคือมีการเคลือบผิว ซึ่งทำให้เครื่องสังคโลกนั้นมีความสวยงามมากยิ่งขึ้น และสีของเคลือบเหล่านั้นก็สามารถนำมาใช้ในการแบ่งประเภทของเครื่องสังคโลกได้ด้วย ดังนี้ ภาชนะไม่เคลือบผิว (Unglazed Wares) เป็นภาชนะที่ไม่ได้เคลือบด้วยน้ำยาเคลือบ มีสีเทาถึงสีน้ำตาลเข้ม บางชิ้นมีขี้เถ้าปลิวไปติดที่ผิวภาชนะ ทำให้ผิวมีความมันวาวเหมือนเคลือบผิว เรียกว่า “เคลือบขี้เถ้า” โดยมากมักเป็นภาชนะประเภทโอ่ง ไห ครก และแจกัน เครื่องเคลือบสีเขียว หรือเซลาดอน (Celadon Wares) เป็นเครื่องเคลือบในกลุ่มสีเขียวใส สันนิษฐานว่าพัฒนามาจากเครื่องถ้วยสีเขียวมะกอกหรือสีเขียวอมน้ำตาลของเครื่องถ้วยเชลียง และได้รับอิทธิพลมาจากเครื่องเคลือบสีเขียวแบบหลงฉวนของจีน เครื่องเคลือบประเภทนี้มีรูปแบบค่อนข้างหลากหลาย ได้แก่ ชาม จาน ถ้วย ขวดทรงป่อง กระปุกทรงน้ำเต้า กาน้ำ ตุ๊กตาเสียกบาล ตุ๊กตารูปสัตว์ เป็นต้น เครื่องเคลือบเขียนลายสีดำ หรือสีน้ำตาลใต้เคลือบ (Black/Brown Painting Underglaze Wares) เป็นเครื่องเคลือบที่ได้รับแบบอย่างมาจากเครื่องลายครามของจีน โดยมีการวาดลวดลายต่าง ๆ ด้วยสีน้ำตาลไหม้หรือสีดำบนผิวภาชนะ แล้วเคลือบด้วยน้ำยาเคลือบสีใสถึงสีเขียวใส รูปแบบภาชนะมักเป็นชาม จาน ตลับหรือผอบ แจกัน ขวด กาน้ำ และตุ๊กตา เป็นต้น ภาพ : ภาชนะ/วัตถุที่ไม่มีการเคลือบผิว ภาพ : เครื่องเคลือบสีเขียวหรือเซลาดอน ภาพ : เครื่องเคลือบเขียนลายสีดำ หรือสีน้ำตาลใต้เคลือบใส ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก
โคลงนิราศนรินทร์. พระนคร: โรงพิมพ์พานิชกิจ, 2499.พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายสุทธิชัย วิงประวัติ หัวหน้าแผนกที่ดิน กองที่ดิน สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 30 พฤษภาคม 2499 นิราศนรินทร์ เป็นวรรคดีที่มีชื่อเสียงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งโคลงนิราศนรินทร์ ถือว่าเป็นโคลงที่มีความไพเราะ เป็นการคร่ำครวญ และพรรณนาความรู้สึกอาลัยอาวรณ์ต่อหญิงคนรัก และเล่าถึงการเดินทาง เมื่อผ่านภูมิประเทศต่างๆ เริ่มจากคองขุด ถึงวัดแจ้ง (วัดอรุณ) ผ่านคลองบางกอกน้อย และล่องเรือไปจนถึงอ่าวไทย แล้วขึ้นบก ที่จังหวัดเพชรบุรี895.9113ค967ส
พระพุทธรูปลีลา
สำริด ลงรักปิดทอง ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐
พบจากเมืองโบราณสุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย นำไปประดิษฐานไว้ที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพฯ ก่อนนำมาจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๖
พระพุทธรูปแสดงอิริยาบถเดินโดยพระบาทซ้ายก้าวไปข้างหน้า พระบาทขวายกส้นพระบาทขึ้นเล็กน้อย ประทับบนฐานรูปดอกบัวหงาย รองรับด้วยฐานแปดเหลี่ยม ยกพระหัตถ์ซ้ายขึ้นในท่าประทานอภัย พระหัตถ์ขวาทอดลงข้างพระวรกาย พระพุทธรูปลีลา
นับเป็นงานสร้างสรรค์ประติมากรรมอันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของศิลปะสุโขทัย เป็นการสร้างสรรค์พุทธศิลป์ตามคตินิยมเรื่อง “มหาบุรุษลักษณะ” ที่มีความงามตามอุดมคติอย่างแท้จริง
โดยมีลักษณะพระพักตร์รูปไข่ พระเนตรเรียวเหลือบต่ำ พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่งงุ้ม พระโอษฐ์เรียวเล็กบาง พระหนุเป็นปม พระรัศมีเป็นเปลวเพลิง ขมวดพระเกศาขนาดเล็ก พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียงบางแนบพระวรกาย สังฆาฏิยาวจรดพระนาภีปลายหยักเป็นเขี้ยวตะขาบ
พระพุทธรูปลอยตัวนี้น่าจะหมายถึง พุทธประวัติตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากพระพุทธองค์โปรดพระมารดาแล้ว พระองค์เสด็จกลับลงมายังโลกมนุษย์ โดยเสด็จลงมาทางบันไดแห่งซึ่งอยู่ระหว่างกลางพระอินทร์และพระพรหมลงมาตามบันไดทองและบันไดเงินซึ่งเมื่อสร้างเป็นประติมากรรมลอยตัวจึงปรากฏเพียงรูปของพระพุทธองค์ในลักษณะก้าวเดินโดยไม่มีฉากประกอบ
นอกจากนั้นในการสร้างพระพุทธรูปลีลาลอยตัว ยังแสดงถึงเทคนิคขั้นสูงในการหล่อโลหะในช่วงยุคทองของการสร้างสรรค์ศิลปกรรมของสุโขทัยสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทอีกด้วย
ที่มาของข้อมูล
: หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
ข้อมูลนำชมโบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
ผ่าน QR code
จัดทำโดย นางสาวสาธิตา วรรณพิรุณ
คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
ชั้นปีที่ ๔ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก
โครงการสหกิจศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๓
บ้านเรือนบริเวณริมคลองดำเนินสะดวก พ.ศ.๒๔๗๙
"ดำเนินสะดวก” เป็นชื่อคลองที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯให้ขุดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๙ เชื่อมจากแม่น้ำท่าจีนเริ่มจากปากคลองบางยาง อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาครกับแม่น้ำแม่กลอง ต.บางนกแขวก อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม ขนาดคลองที่ขุดในระยะแรกมีความกว้าง ๖ วา (๑๒ เมตร) ลึก ๖ ศอก (๓ เมตร) ความยาว ๘๔๐ เส้น (๓๒ กิโลเมตรโดยประมาณ) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เมื่อครั้งยังเป็นที่พระสมุหกลาโหม เป็นผู้อำนวยการขุด โดยเกณฑ์แรงงานทหาร ข้าราชการ ประชาชน และจากการจ้างแรงงานกรรมกรชาวจีน การขุดนั้นใช้วิธีการขุดดินระยะหนึ่งแล้วเว้นไว้ไม่ต้องขุดดินระยะหนึ่ง เมื่อน้ำหลากมาจะเซาะดินที่เว้นไว้ไม่ได้ขุดพังทลายไป พร้อมทั้งมีการแบ่งคลองออกเป็นระยะๆระยะหนึ่งยาว ๑๐๐ เส้น (ประมาณ ๔ กิโลเมตร) จะมีเสาหินปักไว้เป็นหลักเขต แต่ละหลักได้จำหลักเลขไทย เลขโรมัน และเลขจีนกำกับไว้ทุกหลัก คลองนี้ใช้เวลาขุด ๒ ปี โดยใช้งบประมาณในการขุดเป็นค่าเงินในสมัยนั้นจำนวน ๑,๔๐๐ ชั่ง (๑๑๒,๐๐๐ บาท) โดยเป็นทรัพย์สินของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจำนวน ๔๐๐ ชั่ง (๓๒,๐๐๐บาท) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ จำนวน ๑,๐๐๐ ชั่ง เมื่อทำการขุดจนแล้วเสร็จ ได้มีการนำแผนผังคลองขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อขอพระราชทานนาม ซึ่งเมื่อทรงทอดพระเนตรแล้วทรงเห็นว่าคลองนี้มีเส้นทางตรงที่สุดกว่าคลองอื่นๆที่มีการขุดขึ้นในช่วงนั้น จึงได้รับพระราชทานนามว่า“ดำเนินสะดวก” และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้ประกอบพิธีเปิดคลองนี้เมื่อวันจันทร์เดือน ๗ ขึ้น ๔ ค่ำ (ตรงกับวันที่ ๒๕ พ.ค. พ.ศ.๒๔๑๑)
เรือบรรทุกหอมบริเวณคลองดำเนินสะดวก พ.ศ.๒๔๗๙
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เคยเสด็จพระราชดำเนินคลองดำเนินสะดวกหลายครั้งทั้งเสด็จประพาสและเสด็จพระราชดำเนินผ่านไปยังที่ต่างๆ ในปี ๒๔๓๑ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเสด็จประพาสไทรโยคครั้งที่ ๓ ปรากฏในพระราชนิพนธ์ว่า“...วันพฤหัสบดีขึ้น ๗ ค่ำเดือน ๓ ...เสด็จจากเมืองราชบุรีล่องลงไปถึงบ้านสี่หมื่นไปตามคลองดำเนินสะดวก ผ่านวัดโชติทายการามถึงหลักเจ็ด โคกไผ่ เมื่อถึงหลักห้าก็เป็นอันสิ้นสุดเขตเมืองราชบุรี...”
ต่อมาในปี ๒๔๔๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้นที่คลองดำเนินสะดวก ซึ่งจดหมายนายทรงอานุภาพ (สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) มหาดเล็กผู้ตามเสด็จได้บันทึกไว้ว่า “...ครั้นรุ่งขึ้นวันที่ ๑๖ ออกเรือล่วงหน้ามาคอยเสด็จอยู่ที่ปากคลองดำเนินสะดวก พอประมาณ ๔ โมงเช้ากระบวนเสด็จมาถึงเลยเข้าคลองต่อมา น้ำกำลังท่วมทุ่งคันคลองเจิ่งทั้งสองข้างแล่นเรือได้สะดวก พอบ่ายสัก ๓ โมงก็มาถึงหลักหกหยุดกระบวนประทับแรมที่วัดโชติทายการาม...”
เรือบรรทุกพริกในคลองดำเนินสะดวก พ.ศ.๒๔๗๙
ผลจากการขุดคลองดำเนินสะดวกในครั้งนั้น นอกจากจะเป็นส่งเสริมการค้าหลังการทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง การคมนาคมสัญจรไปมาติดต่อกันทางน้ำด้วยความสะดวกแล้ว ยังส่งผลให้ผู้คนอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยตลอดคลองดำเนินสะดวกเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นจำนวนมาก ดังรายงานเสด็จตรวจราชการมณฑลราชบุรีปี ๒๔๔๑ ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพระบุว่า “...ที่สองฟากคลองดำเนินสะดวก เปนที่ทิ้งให้รกร้างอยู่มากกว่าที่มีผู้ทำเปนไร่นา ได้ความว่าที่เหล่านี้ที่จริงเปนที่ดี แต่เปนที่มีเจ้าของอยู่ในวงษ์วานญาติของสมเด็จเจ้าพระยา...” เปรียบเทียบกับปี ๒๔๕๒ ซึ่งในพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อคราวเสด็จประพาสมณฑลราชบุรีกล่าวถึงถึงพื้นที่คลองดำเนินสะดวกไว้ว่า“...ในลำคลองระยะหลัก๑ หลัก๒ จนกระทั่งถึงหลัก ๓ เดิมเป็นจากและปรง เดี๋ยวนี้มีจากและปรงเข้าไปไม่ถึงหลัก ๑ เป็นไร่นาไปหมดได้ความว่าดีมาก...”แสดงให้เห็นว่ามีผู้เข้ามาอยู่อาศัยบริเวณคลองดำเนินสะดวกมีจำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้มีการขุดคลองลัดซอยมากกว่า ๒๐๐ คลองในเวลาต่อมา และมีการบุกเบิกป่ากลายเป็นนาเปลี่ยนจากนามาเป็นสวนเป็นไร่มากขึ้น
นอกจากนี้ในรายงานโครงการทดน้ำไขน้ำฯ ของมิสเตอร์ เยโฮมานวาเดอร์ ไฮเด กระทรวงเกษตราธิการ ได้กล่าวถึงปริมาณเรือที่เข้าออกในคลองดำเนินสะดวกนั้นมีเป็นจำนวนมากเพราะนอกจากจะมีเรือซื้อข้าวและเรือสินค้าดังกล่าวแล้ว ยังมีเรือสินค้าอื่นๆแทบทุกอย่าง ทั้งเครื่องอุปโภค บริโภคจากกรุงเทพฯ เข้ามาด้วย จำนวนเรือที่เข้าออกในคลองนี้ชั่วระยะเวลาเพียง ๕ วัน ในช่วงเดือนเม.ย.พ.ศ. ๒๔๔๕ มีจำนวนถึง ๓,๑๖๘ ลำ
การเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญของคลองดำเนินสะดวกนั้นยังเห็นได้จาก ในปี ๒๔๔๗ เจ้าพระยาเทเวศรวงษ์วิวัฒน์ เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ รับพระบรมราชโองการฯ ให้ประกาศแก่ประชาชนทราบโดยทั่วกันว่า คลองดำเนินสะดวกซึ่งทรงพระกรุณาให้กระทรวงเกษตราธิการขุดซ่อมใหม่ นั้นได้ขุดซ่อมเสร็จแล้ว กำหนดเปิดให้ประชาชนใช้คลองได้ตั้งแต่วันที่ ๑๘ พฤษภาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๓ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้กระทรวงเกษตราธิการเป็นเจ้าหน้าที่จัดการรักษาและซ่อมคลองนี้ไว้ให้เรียบร้อย เพื่อให้ประชาชนใช้คลองได้โดยสะดวกเสมอไป ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ออกกฎข้อบังคับไว้เพื่อดูแลรักษาคลองแห่งนี้ เช่น กฎเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ เป็นข้อบังคับสำหรับคลองดำเนินสะดวก กฎกระทรวงเกษตราธิการ สำหรับเจ้าพนักงานรักษาคลองดำเนินสะดวก หลักฐานต่างๆเหล่านี้ ล้วนสะท้อนให้เห็นว่าคลองดำเนินสะดวกหรือที่ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า“คลองใหญ่” เป็นคลองสายสำคัญสายหนึ่ง ที่มีเอกลักษณ์และความสำคัญทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างมาก ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเป็นเส้นทางคมนาคม ขนส่งสินค้า ตลอดจนสองฝั่งคลองยังเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่สำคัญที่มีความอุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของไทย นอกจากนี้การขุดคลองดำเนินสะดวก ยังส่งผลต่อการเมือง การปกครอง ทำให้พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินตามหัวเมืองต่างๆ และสามารถเข้าถึงชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรได้เนื่องจากมีการคมนาคมที่สะดวกขึ้น คลองดำเนินสะดวกจึงถือเป็นคลองที่สำคัญแห่งหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทย
คลองดำเนินสะดวก ภาพโดยคุณ ณัฐวุฒิ คล้ายศิริ
เรียบเรียง : นางสาวปราจิน เครือจันทร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี
อ้างอิง
มโน กลีบทอง,พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี,สำนักพิมพ์สมาพันธ์ จำกัด,พ.ศ.๒๕๔๔.
สถาบันดำรงราชานุภาพ “รายงานการเสด็จตรวจราชการมณฑลราชบุรี เมืองราชบุรีและเมืองสมุทรสงคราม พ.ศ.๒๔๔๑ ร.ศ.๑๑๗” การเสด็จตรวจราชการหัวเมืองของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ.๒๕๕๕.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี,พระบรมราชจักรีวงศ์กับเมืองราชบุรี,กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์,๒๕๒๕.พระบรมราชจักรีวงศ์กับเมืองราชบุรี, จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกเนื่องในมหามงคลสมัยสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี จังหวัดราชบุรี พุทธศักราช ๒๕๒๕.
หจช.,ร๕กษ๙/๕, รายงานโครงการทดน้ำไขน้ำสำหรับเขตที่ราบแห่งลาดแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้ของมิสเตอร์ เยโฮมานวาเดอร์ ไฮเด กระทรวงเกษตราธิการ ( ๒๔ ม.ค.ปี ๒๔๔๖,หน้า ๖๑).
ภาพ https ://collections .lib. uwm .edu/ digital/collection/agsphoto/
ชื่อเรื่อง เทศนาธัมมสังคิณี-ยมกปกรณ์สพ.บ. 193/6ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 44 หน้า กว้าง 4.5 ซ.ม. ยาว 56.9 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา บทสวดมนต์บทคัดย่อ/บันทึกเป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดพยัคฆาราม อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณภิธมฺมเทสนา (เทศนาสังคิณี-ยมก)สพ.บ. 127/3ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 32 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง ธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดประสพสุข ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.68/5กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 24 หน้า ; 4.6 x 54.5 ซ.ม. : ชาดทึบ-ล่องชาด-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา ฉลากไม้ไผ่ชื่อชุด : มัดที่ 44 (19-28) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ (8 หมื่น) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ปูนซีเมนต์เป็นวัสดุฉาบที่มีส่วนประกอบหลัก ได้แก่ หินปูน ดินเหนียว ซิลิก้า อลูมินา สินแร่เหล็ก ยิปซั่ม และสารประกอบอื่นๆ เพื่อช่วยให้ปูนนั้นมีคุณสมบัติเฉพาะที่ตอบสนองงานก่อสร้างในลักษณะต่างๆ ซื่อ เรียก ซีเมนต์(cement) มีที่มาจากภาษาโรมันว่า opus caementicium หลังจากนั้น ระหว่าง พ.ศ.๒๓๕๔ - ๒๓๖๗ โจเซฟ แอสป์ดิน(Joseph Aspdin) ชาวอังกฤษ ได้คิดค้นสูตรของวัสดุฉาบ อันเป็นส่วนผสมระหว่างหินปูนและดินเหนียว นำไปเผาและบดเป็นผง โดยเมื่อใช้งานต้องผสมทราย กรวด และน้ำ วัสดุฉาบที่คิดค้นขึ้นนี้มีสีเหมือนหินที่เกาะพอร์ตแลนด์ในอังกฤษ เมื่อจดสิทธิบัตรจึงมีชื่อว่า พอร์ตแลนด์ซีเมนต์ (Portland cement) ในประเทศไทย นับแต่อดีตปรากฏหลักฐานการใช้วัสดุฉาบในงานก่อสร้างอาคารศาสนสถานอิฐคือ ปูนหมัก ที่มีส่วนผสมของหินปูน เปลือกหอย ทราย กาว เส้นใย นอกจากนี้ ในงานนิพนธ์ สาส์นสมเด็จ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงระบุถึงการใช้วัสดุฉาบสิ่งก่อสร้าง ในบางท้องถิ่น เช่นที่ชลบุรี ว่า “...ที่เมืองชล เขาขุดเอาดินชนิดหนึ่งมาผสมกับปูนขาวและทราย ใช้ก่อก้อนหินเป็นผนังตึก และปั้นเป็นแผ่นอิฐก่อกำแพงก็มี ดินชนิดนั้นเรียกว่า ดินโคก ว่าขุดหาได้ตามโคก คือ ซีเมนต์เรานี่เอง ซีเมนต์ธรรมชาติไม่ว่า สิ่งใดๆคงจะได้ของธรรมชาติมาใช้ก่อน...” ส่วนการนำปูนซีเมนต์จากตะวันตกเข้ามาใช้ในงานก่อสร้างนั้น พ่อค้าจีนที่กรุงเทพฯได้นำเข้าซีเมนต์จากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง นับแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖ เพื่อลดการพึ่งพาต่างประเทศในการนำปูนซีเมนต์เข้ามาใช้ในการก่อสร้างของไทย โดยมุ่งใช้วัตถุดิบในการผลิตปูนซีเมนต์เป็น “...เป็นของที่หาได้ในประเทศสยามทั้งสิ้น นอกจากถ่านหินและจิบสัม (Gyp – sum) ดินเหนียวก็ขุดมาจากคลองที่อยู่ติดกับโรงงาน (บางซื่อ)...ส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งก็คือ หินปูน(Mort) ซึ่งใช้วิธีขุดด้วยมือจากตำบลบ้านหมอและขนลงมาบางซื่อโดยรถไฟ..” ทำให้ประเทศไทยเริ่มมีปูนซีเมนต์ที่ผลิตขึ้นจากวัตถุดิบในประเทศนับแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๔๕๘ จนถึงปัจจุบัน(ล่าง – ซ้าย) โรงงานผลิตกระเบื้องมุงหลังคาที่ใช้ซีเมนต์เป็นวัสดุในการผลิตซึ่งนำเข้าจากต่างประเทศ โดยฉูหยุน(Choo Yoon) พ่อค้าจีน(คนในบังคับของอังกฤษ) (ล่าง – ขวา) ฉูหยุน(Choo Yoon) พ่อค้าจีน(คนในบังคับของอังกฤษ) (บน) ภายในโรงงานผลิตกระเบื้องมุงหลังคา ของฉูหยุน บริเวณวัดสระเกศ บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด ที่บางซื่อ เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๕๑๕-------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : กองโบราณคดี-------------------------------------------------อ้างอิง- ที่มา https://wikipedia.org>wiki>:cement สืบค้นเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๓. - สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ.สาส์นสมเด็จ (พ.ศ.๒๔๗๕ – ๒๔๗๗) (พระนคร : โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์, ๒๔๙๙) หน้า ๖๘๑. - บริษัท ปูยซีเมนต์ไทย จำกัด. การทำปูนสิเมนต์ในสยาม ข่าวช่าง ฉบับพิเศษ เนื่องในงานฉลองพระนครครบ ๑๕๐ ปี เมษายน พ.ศ.๒๔๗๕ หน้า ๗๘ – ๗๙ และหน้า ๘๐ – ๘๑.