ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,813 รายการ

ชื่อเรื่อง                                สตฺตปฺปกรณภิธมฺมเทสนา (เทศนาสังคิณี-มหาปัฏฐาน)สพ.บ.                                  130/2ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           38 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 56 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 ธรรมเทศนา  บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับทองทึบ ได้รับบริจาคมาจากวัดประสพสุข    ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.70/ก/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  54 หน้า ; 5 x 57.5 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 45 (29-34) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฎฐกถา (ชนก-สุวณฺณสาม) --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.101/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  40 หน้า ; 4 x 53 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 60 (170-178) ผูก 3 (2564)หัวเรื่อง : เทวทูตสุตฺต (เทวทูตสูตร) --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.130/10ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  38 หน้า ; 4.7 x 54.6 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 76 (288-301) ผูก 10 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนสุตฺตฎีกา (ฎีกาธมฺมจกฺก)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


"กำเนิดเวียงกุมกาม" ...แค่ช่วงเวลาการกำเนิดเมืองทุกท่านอาจจะคิดว่าไม่น่าจะไม่มีอะไรมากนัก แต่ที่เวียงกุมกามไม่เป็นเช่นนั้น เพราะในช่วงตั้งเมืองหรือช่วงสมัยพญามังราย ประวัติศาสตร์ของเวียงกุมกามถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์มากที่สุด วันนี้พี่ไมค์จะมานำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเวียงกุมกามในสมัยพญามังรายก่อนอื่นเราไปดูกันว่าในตำนานสิบห้าราชวงศ์กล่าวถึงเวียงกุมกามไว้ว่าอย่างไรบ้าง -----พี่ไมค์สามารถถอดความจากตำนานสิบห้าราชวงศ์ได้ว่า “...เมื่อศักราช 648 พญามังรายได้สร้างเวียงกุมกาม โปรดให้ขุดคูเวียงทั้งสี่ด้าน ผันน้ำปิงเข้าใส่ สร้างบ้านสร้างเรือนสร้างพระราชวัง โปรดให้ขุดหนองชื่อ หนองต่าง โดยสร้างที่นี้เพื่อเป็นแหล่งค้าขาย วันหนึ่งพญามังรายปลอมพระองค์ไปสังเกตชาวบ้าน นั่งอยู่ริมน้ำปิงหันหน้าไปทางทิศตะวันออก พบเรือชนกันล่ม จึงโปรดให้สร้างสะพานกุมกาม...ต่อมาเมื่อศักราช 650 พระองค์โปรดให้สร้างเจดีย์ เพื่อเป็นที่ไหว้และบูชา จึงให้เอาดินจากหนองต่างมาก่อเจดีย์กู่คำ...ตามตำนานยังกล่าวถึงตำนานการสร้างวัดกานโถมไว้ว่า ที่แห่งนี้เคยมีต้นเดื่อเป็นที่สักการะบูชาโดยทั่วไป ใครมาขอสิ่งใดก็มักจะสมปรารถนา ต่อมาต้นเดื่อตายลงแต่คนก็ยังไปสักการบูชา ณ ที่แห่งนั้น จนกระทั่งในสมัยที่พญามังรายมาสร้างเวียงกุมกาม ได้มีพระมหาเถร 5 รูป โดยมีพระชื่อมหากัสสปะเป็นหัวหน้า เล็งเห็นว่าที่แห่งนี้มีความสงบ จึงเลือกเป็นที่บำเพ็ญสมณธรรม เมื่อพญามังรายมายังที่แห่งนี้ก็แล้วได้สนทนากับพระท่านก็เกิดความเลื่อมใสขึ้น จึงโปรดในช่างชื่อกานโถมสร้างพระพุทธรูป 5 องค์...” -----จากย่อหน้าที่ผ่านมา พี่ไมค์สามารถแยกเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเวียงกุมกามได้ดังนี้ 1.ศักราชที่สร้างเวียงกุมกาม 2.ผังเวียงกุมกาม (คูน้ำ-คันดิน) 3.วิถีชีวิตของคนในเวียงกุมกาม ทุกท่านสามารถอ่านรายละเอียดในแต่ละเรื่องโดยคลิ๊กภาพด้านล่างแล้วเลื่อนไปทีละรูป.. 1.ศักราชที่สร้างเวียงกุมกาม ตามเอกสารทางประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่กล่าวว่า เวียงกุมกาม สร้างขึ้นในศักราช 648 หรือ พุทธศักราช 1829 ยกตัวอย่างเช่น   ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ “...ถึงปีระวายเส็ดศักราชได้ 648 ตัว เจ้าพระยามังรายย้ายมาสร้างเวียงกุมกาม หื้อขุดเวียงที่สี่ด้าน ไปเอาน้ำระมิงค์เข้าใส่ คือ ตั้งลำเวียงรอดทุกเบื้อง ตั้งบ้านเรือนอยู่มากนัก...”   พงศาวดารภาคที่ 61 “...ถึงศักราช 648 ตัว ปีระวายเสดพระยามังรายเจ้า ก็ยกเอาหมู่รี้พลไปตั้งอยู่บ้านเชียงกู่มกวม แม่น้ำระมิง...”   พงศาวดารโยนก “...ครั้นถึงปีจอ อัฐศกจุลศักราช 648 พระยาเมงรายจึงย้ายสถานมาสร้างเวียงกุมกาม ณ ที่ใกล้น้ำระมิงค์ (พิงค์)...”   ยกเว้นชินกาลมาลีปกรณ์ที่จะกล่าวว่า พญามังรายสร้างเวียงกุมกาม ในปีพุทธศักราช 1846 ดังความว่า “...ต่อจากได้ชัยชนะเจ้าญีบาแล้ว พระเจ้ามังรายได้สร้างนครกุมกาม เมื่อจุลศักราช 665...”   ทั้งนี้มีนักวิชาการเสนอว่าปีที่สร้างเวียงกุมกามน่าจะเป็นปีพุทธศักราช 1837 ท่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในหนังสือ “เวียงกุมกาม การศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนโบราณในล้านนา” เขียนโดย สรัสวดี อ๋องสกุล 2.ผังเวียงกุมกาม (คูน้ำ-คันดิน) จากภาพถ่ายทางอากาศปีพุทธศักราช 2497 จะเห็นว่าผังเวียงกุมกามมีรูปเป็นสี่เหลี่ยม วางตัวตามทิศตะวันออกเฉียงใต้-ทิศตะวันตกเฉียงเหนือเรียบไปกับแม่น้ำปิงสายเดิม (ปิงห่าง) และเอกสารที่สนับสนุนว่าเวียงกุมกามมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมคือตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า “...หื้อขุดเวียงที่สี่ด้าน ไปเอาน้ำระมิงค์เข้าใส่...” และจากข้อความดังกล่าวยังเป็นตัวสนับสนุนว่าเวียงกุมกามน่าจะมีคูน้ำและคันดิน ทั้งนี้มีนักวิชาการอธิบายถึงเหตุผลที่พญามังรายเลือกทำเลที่ตั้งเป็นที่ลุ่มต่ำไว้ว่า น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากหริภุญชัย โดยทำเลแห่งนี้มีประโยชน์คือ เนื่องจากตั้งอยู่ติดกับลำน้ำปิงสายเดิมทำให้มีความสะดวกในเรื่องคมนาคม ซึ่งสามารถทำให้ชุมชนที่ตั้งอยู่สามารถพัฒนาเป็นชุมชนขนาดใหญ่ได้ในภายหลัง สามารถพัฒนาพื้นที่เกษตรกรรมได้เนื่องจากตั้งอยู่ติดกับลำน้ำปิงและมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ตำแหน่งของเวียงกุมกามตั้งอยู่ค่อนกลางอาณาจักล้านนาทำให้สะดวกต่อการปกครองเมืองต่าง ๆ ที่มาภาพ : เพจ Archaeology 7 Chiang Mai 3.วิถีชีวิตของคนในเวียงกุมกาม จากตำนานต่าง ๆ ได้บ่งชี้ให้เห็นเรื่องราวที่โดดเด่นของผู้คนในเวียงกุมกามไว้ดังนี้ - ศูนย์กลางการค้า เนื่องจากภูมิประเทศและทำเลที่เอื้ออำนวย ทำให้เวียงกุมกามกลายเป็นศูนย์กลางการค้า ตามตำนานกล่าวถึงกาดกุมกามไว้คือ “...เจ้ามังรายร่ำเปิงว่าไพร่กูนี้ยังสุขทุกข์เป็นอย่างใดใคร่รู้จึงแต่งตัวปลอม ถือกุ๊บตองตึง นุ่งผ้าผืนค่าร้อยคำภายใน นุ่งผ้าไทยภายนอก ไปเข้ากาดกุมกามนั่งอยู่แม่น้ำปิงอว่ายหน้าเมือวันออก (หันหน้าไปทางทิศตะวันออก) เล็งดูคนทั้งหลายเข้ากาด แล้วลงอาบน้ำปิง...” และ “...วันนั้นเจ้ามังรายหัน (เห็น) ชาวแช่ช้างเชียงเรือ (สันกำแพง) ที่มากาดกุมกาม เรือล่มสองเล่มสามเล่มทุกวัน เจ้ามังรายคะนึงใจว่าไพร่กูบ่ว่าตายอั้นแล จึงแปงขัวกุมกามแต่นั้นมาแล...”   - ความเชื่อ ตามตำนานสิบห้าราชวงศ์สื่อให้เห็นว่า ณ เวียงกุมกาม มีความเชื่อท้องถิ่นมาก่อน คือการเชื่อถือต้นเดื่อที่เคยอยู่บริเวณวัดกานโถม ต่อมาเมื่อมีพระมหาเถรมาบำเพ็ญสมณธรรมที่นี้ จึงได้สร้างวัดกานโถมขึ้น สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า พญามังรายได้ผสานเอาความเชื่อดั้งเดิมเข้ากับศาสนาพุทธ เนื่องจากเวียงกุมกามมีพลเมืองหลากหลายเชื่อชาติ คือ ลัวะ เมง เป็นต้น โดยเชื่อว่าชาวลัวะนับถือผีปู่แสะย่าแสะ ชาวเมงนับถือพุทธศาสนา ชาวไทนับถือผีปู่ย่าและผีแถน การนับถือศาสนาพุทธของพญามังรายยังเห็นได้จากการโปรดให้ก่อเจดีย์กู่คำตามตำนาน


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.6/1-1 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)





พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2524.                   ประกอบด้วยพระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้าตากสินพอสังเขป พระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ ตอนท้ายเป็นภาคผนวกแสดงเอกสารต่าง ๆ ซึ่งสามารถใช้ค้นคว้าประวัติศาสตร์สมัยกรุงธนบุรีได้



พระยาธรรมปรีชา (แก้ว  รักตประจิตร).  ไตรภูมิโลกวินิจฉัย ฉบับที่ 1.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2521.          หนังสือเรื่องไตรภูมิโลกวินิจฉัยนี้ เป็นหนังสือที่มีเค้าโครงเรื่องอย่างเดียวกันกับไตรภูมิพระร่วง หนังสือนี้แบ่งความสำคัญออกเป็น 4 ภาค คือ ภาคมนุสสกถา ภาคนิริยกถา ภาคเทวดากถา และภาควิสุทธิกถา เป็นสำนวนที่ 1 ต้นฉบับเดิมเป็นหนังสือตัวเขียนในคัมภีร์ใบลาน มีอยู่ 2 สำนวน


พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางสะอาด ภูพณิชย์ ณ เมรุวัดไตรมิตรวิทยาราม วันที่ ๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒ 


          ตลอดระยะเวลากว่า ๔๓ ปีที่พระนครคีรี ร้างไปนั้น โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่อยู่ในอาคารและห้องต่าง ๆ แต่เดิมได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่อื่น ยกเว้นเครื่องราชูปโภคบางองค์ที่อยู่ในสภาพชำรุด ภายหลังเมื่อกรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะอาคาร จึงนำเครื่องราชูปโภคทั้งหมดที่ได้รับมอบกลับคืนมาจากสำนักพระราชวัง และกระทรวงมหาดไทย นำมาขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุ อนุรักษ์ และนำออกจัดแสดงภายในพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ และพระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์ โดยจัดแสดงให้อยู่ในสภาพใกล้เคียงกับแบบเดิมให้มากที่สุด          โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่จัดแสดงและเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี จำแนกได้เป็น ๓ ประเภทใหญ่ ๆ คือ                   ๑. เครื่องราชูปโภคของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) เช่น พระแท่นบรรทม โต๊ะทรงพระอักษร โต๊ะและเก้าอี้รับแขก โต๊ะเสวย และโต๊ะเครื่องพระสำอาง เป็นต้น เครื่องราชูปโภคดังกล่าวนี้ได้แบบมาจากยุโรป ใช้ช่างจีนในเมืองไทยทำจึงมีลักษณะผสมระหว่างศิลปะยุโรป จีน และไทย นอกจากนี้ยังมีสิ่งของเครื่องใช้ เช่น เชิงเทียน แจกัน ขวดหมึกพร้อมที่วางปากกา ฯลฯ ซึ่งเป็นของที่ซื้อหรือส่งมาจากต่างประเทศ สมัยรัชกาลที่ ๕                  ๒. รูปหล่อโลหะสำริดและทองเหลือง ใช้สำหรับตกแต่งห้องต่างๆ ในพระที่นั่ง สันนิษฐานว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงซื้อมาจากต่างประเทศในคราวเสด็จประพาสยุโรป                  ๓. เครื่องกระเบื้อง ซึ่งมีทั้งเครื่องกระเบื้องของจีน เช่น กระถางต้นไม้และกี๋รองกระถาง เครื่องกระเบื้องของญี่ปุ่น ที่เป็นเครื่องราชูปโภค เช่น ชุดสรงพระพักตร์ และขวดเครื่องพระสำอาง เครื่องใช้ เช่น แจกัน ชุดอาหาร เป็นต้น          ในครั้งหน้าเราจะนำเสนอโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุชิ้นเด่นชิ้นใดรอติดตามกันได้เลย


องค์ความรู้ : อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เรื่อง : เจ้าพ่อปราสาททอง ศูนย์รวมศรัทธา ณ เชิงเขาพนมรุ้ง ณ ภูเขาพนมรุ้ง อันเป็นที่ตั้งของปราสาทพนมรุ้ง ศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดูอันศักดิ์สิทธิ์ ที่สร้างขึ้นตามรูปแบบวัฒนธรรมเขมรโบราณ ซึ่งผู้คนจากทั่วทุกสารทิศเดินทางมาสักการะขอพรอยู่เสมอ โดยเฉพาะในช่วงต้นเดือนเมษายนจะมีพิธีบวงสรวงและจัดงานประจำปีประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งอย่างยิ่งใหญ่อลังการ และอีกสถานที่หนึ่งซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชุมชนโดยรอบเขาพนมรุ้งก็คือ “ศาลเจ้าพ่อปราสาททอง” ตั้งอยู่เชิงเขาฝั่งตะวันตกในท้องที่ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ริมถนนทางขึ้นสู่อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เป็นศาลที่มีความสำคัญและผู้คนให้ความนับถืออย่างมาก ดังปรากฏในคำขวัญของอำเภอเฉลิมพระเกียรติว่า “เมืองพนมรุ้ง ทุ่งฝ้ายคำ นามพระราชทาน ตำนานทับหลัง ที่ตั้งเจ้าพ่อปราสาททอง ของดีผ้าภูอัคนี” ศาลเจ้าพ่อปราสาททองแห่งนี้ ไม่พบการกล่าวถึงในเอกสารหรือตำนานนิทานท้องถิ่นใดๆ แต่จากการสอบถามผู้สูงอายุในชุมชนที่มีอายุ ๗๐ – ๘๐ ปีในปัจจุบัน เล่าว่าตั้งแต่เด็กมีศาลไม้มุงสังกะสีที่เชิงเขา เรียกว่าศาลเจ้าพ่อปราสาททอง ชาวบ้านต่างเคารพยำเกรง มีเรื่องเล่าปาฏิหาริย์ต่างๆ ส่วนนาม “ปราสาททอง” เดิมคงเรียกขานจากการประทับทรงตามความเชื่อและอาจเกี่ยวเนื่องกับภูเขาพนมรุ้งที่มีปราสาทโบราณตั้งอยู่ โดยเชื่อว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่ จึงได้แสดงออกถึงความเคารพด้วยบุคลาธิษฐานผสมผสานกับความเชื่อท้องถิ่น เรียกกันในนาม “เจ้าพ่อปราสาททอง” ต่อมาได้สร้างศาลใหม่ขึ้นในพื้นที่เดิมเป็นศาลปูนมุงกระเบื้องจำนวนสองศาลตั้งลดหลั่นกันที่เชิงเขา โดยศาลด้านหน้าเป็นจุดที่ตั้งศาลเดิม ภายในมีก้อนหินธรรมชาติแทนรูปเคารพ มีผู้คนมากราบไหว้ขอพรบนบานเสมอ ปกตินิยมไหว้ด้วยดอกไม้ธูปเทียน เหล้าบุหรี่ หมากพลู หัวหมู ไก่ต้มหรือรูปปั้นช้างโดยเชื่อว่าช้างเป็นพาหนะขององค์เจ้าพ่อ มีพิธีไหว้ประจำปีในช่วงเดือนหกหรือราวเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงต้นฤดูทำนา ผู้นำชุมชนและชาวบ้านร่วมกันจัดพิธีบวงสรวงและประทับทรงตามความเชื่อเพื่อขอให้ฝนตกตามฤดูกาล ต่อมามีการสร้างประติมากรรมเจ้าพ่อปราสาททองขึ้นเป็นครั้งแรก ด้วยวัสดุปูนปั้นทาสีเสมือนคนจริง เป็นชายสูงวัย ผมขาว นั่งบนตั่งทอง มือจับไม้ตะพดวางราบบนเข่าทั้งสองข้าง มีพิธีอัญเชิญขึ้นประดิษฐานภายในศาล เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ด้วยเหตุนี้ทางคณะผู้ศรัทธาจึงได้ตกลงกำหนดเอาวันที่ ๒๖ กรกฎาคม เป็นวันบวงสรวงสมโภชประจำปีต่อไป คติการสร้างศาลประจำชุมชน ในจังหวัดบุรีรัมย์มักจะพบได้ทั่วไป ตามหมู่บ้านต่างๆ เรียกว่า ศาลปู่ตา ศาลตาปู่หรือศาลพ่อเฒ่า แล้วแต่การเรียกในกลุ่มชนชาติพันธุ์ต่างๆ โดยในจังหวัดบุรีรัมย์พบทั้งกลุ่มคนไทย- ลาว ไทย-เขมร ไทย-โคราช และชาวไทย-กวย โดยเชื่อว่าในแต่ละหมู่บ้านจะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองอยู่ มักจะสร้างบริเวณทางเข้าหมู่บ้าน เนินดิน เชิงเขา หรือริมหนองน้ำในเขตชุมชน ซึ่งป่าเขาพนมรุ้งเป็นพื้นที่กว้างมีชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อาศัยอยู่โดยรอบภูเขา จึงทำให้ศาลเจ้าพ่อปราสาททองเป็นอีกหนึ่งสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ศูนย์รวมศรัทธา เป็นที่เคารพบูชาของชาวบ้านทุกชุมชนในพื้นที่แถบนี้ เรียบเรียงโดย: นายสุทธินันท์ พรหมชัย ผู้ช่วยนักโบราณคดี อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง


Messenger