ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,805 รายการ
โบราณคดีแบบชุมชนร่วมรัฐที่วัดบางพระ เป็นกระบวนการอนุรักษ์อุโบสถเก่าของวัดบางพระระหว่างสำนักสิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี ร่วมกับวัดบางพระและชุมชนบางแก้วฟ้า ดดยพบว่า ปัจจัยสำคัญในการอนุรักษ์แบบมีส่วนร่วมนั้น นอกจากทางราชการต้องจริงใจและตอบสนองชุมชนท้องถิ่นอย่างทันท่วงทีแล้ว ชุมชนท้องถิ่นต้องมีกลุ่มผู้นำที่เข้าใจในงานอนุรักษ์โบราณสถาน และคนในท้องถิ่นพร้อมที่จะร่วมสนับสนุน นอกจากนี้ยังพบว่าอุโบสถหลังเก่าวัดบางพระที่เห็นอยู่ในปัจจุบันสร้างขึ้นในสมัยต้นรัตนดกสินทร์ ประมาณรัชกาลที่3 และซ่อมในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยเป็นการสร้างทับอยู่บนซากอาคารหลังเดิมที่มีมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา
วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. นักเรียนและอาจารย์โรงเรียนบ้านดินดำเหล่าเสนใต้ อ.โนนคูณ จ.ศรีสะเกษ จำนวน ๑๑๐ คน เยี่ยมชมโบราณสถานปราสาทศีขรภูมิ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ โดยมีนายกรภัทร์ สุขใหญ่ พนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ นำชมและให้การต้อนรับ
หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา ร่วมกับ วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา
จัดโครงการสัปดาห์อนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี 2561
กิจกรรม "หัดนุ่งโจง ห่มสไบ ใส่ผ้าซิ่น"
วันที่ 5 เมษายน 2561
ณ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา
ทรรศการชั่วคราวเรื่อง " ปูนปั้น "
นิทรรศการเรื่อง " ปูนปั้น " เป็นนิทรรศการที่บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวปูน ว่าแท้ที่จริงนั้นปูนไม่ใช่ของที่พึ่งเกิดขึ้นใหม่แต่เป็นสิ่งที่มีมาแล้วและสามารถสืบย้อนกลับไปได้หลายศตวรรษ ปูนนั้นมีหลากหลายประเภท และมีชื่อเรียกแต่กต่างกันไป บ้างเรียกตามสี เช่น ปูนขาว ปูนแดง บ้างเรียกตามประเภทของงาน เช่น ปูนก่อ ปูนฉาบ และบ้างเรียกตามการผลิตปูน เช่น ปูนตำ ปูนหมัก เป็นต้น
ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบันมนุษย์รู้จักนำปูนมาใช้ในงานก่อสร้างเป็นเวลามากกว่าพันปีแล้ว โดยใช้เป็นวัสดุเชื่อมประสานหินหรืออิฐที่ใช้ในการก่อสร้างให้ติดกัน ปูนที่ใช้คือ “ปูนขาว” (lime) ซึ่งได้จากการเผาวัตถุที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแคลเซียมคาร์บอเนต (calcium carbonate) เช่น หินปูน หินอ่อน และเปลือกหอย เป็นต้น หากนำปูนขาวไปใช้เป็นวัสดุเชื่อมยึดหินหรืออิฐให้ติดกันเพื่อก่อเป็นผนัง กำแพง หรือเพดานก็จะเรียกว่า “ปูนสอ” (Mortar) แต่ถ้าใช้เป็นวัสดุฉาบหินหรืออิฐจะเรียกว่า “ปูนฉาบ” (plaster) และถ้าใช้ทำเป็นลวดลายหรือปั้นประดับตามอาคารจะเรียกว่า “ปูนปั้น” (stucco) ทั้งนี้ในปูนสอและปูนฉาบจะมีองค์ประกอบที่สำคัญ ๒ ส่วน คือ ปูนขาวและทราย ขณะที่ในปูนปั้นจะมีองค์ประกอบ ๔ ส่วน คือ ปูนขาว ทราย เส้นใย และกาว
ร่องรอยการใช้ปูนที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยพบในสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖ โดยพบการนำปูนขาวมาใช้งานสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมควบคู่ไปกับการใช้ดินเผาอย่างแพร่หลาย ส่วนใหญ่เป็นงานปูนปั้นประดับอยู่ตามฐานของอาคารและเจดีย์ ซึ่งแม้จะอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ แต่ก็ยังคงความงดงามและแสดงถึงเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมทวารวดีได้อย่างชัดเจน เช่น ภาพปูนปั้นเล่าเรื่องที่ฐานเจดีย์จุลประโทน จังหวัดนครปฐม, ภาพปูนปั้นนักดนตรีหญิงที่โบราณสถานเมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี, งานปูนปั้นประดับโบราณสถานที่วัดนครโกษา จังหวัดลพบุรี และงานปูนปั้นประดับโบราณสถานเขาคลังใน เมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นต้น
ความนิยมการใช้ปูนขาวในงานก่อสร้างยังคงสืบเนื่องเรื่อยมาจนถึงในสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น การใช้ปูนเป็นตัวฉาบและสออิฐในการก่อสร้างหมู่พระที่นั่งพระราชฐานชั้นใน พระบรมมหาราชวังและการปั้นปูนประดับกระเบื้องพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม เป็นต้นกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ ๔ จึงเริ่มมีการใช้ปูนซีเมนต์ในการก่อสร้าง โดยเป็นการใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์นำเข้าสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น สะพานพระจอมเกล้าข้ามแม่น้ำเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ เริ่มมีการใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์นำเข้ามากขึ้น เช่น ใช้เป็นส่วนประกอบของคอนกรีตในการเสริมฐานรากเดิมของพระอุโบสถวัดราชาธิวาส และใช้ทำโครงสร้างอาคารขนาดใหญ่อย่างพระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นต้น
กระทั่งในสมัยรัชกาลที่ ๖ จึงมีการตั้งโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ทำให้มีการใช้ปูนซีเมนต์ในงานก่อสร้างมากกว่าเดิม เช่น ใช้สร้างพระที่นั่งเทวราชสภารมย์ในพระราชวังพญาไทสร้างหอประชุมโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย และสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นต้นกระทั่งได้กลายเป็นที่นิยมใช้ในหมู่ประชาชนในเวลาต่อมา
ปัจจุบันคนไทยนิยมใช้ปูนซีเมนต์ในการก่อสร้างอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นส่วนประกอบสำคัญของคอนกรีตซึ่งใช้เป็นโครงสร้างที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน และสถาปัตยกรรมอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน ส่วนปูนขาวได้เปลี่ยนบทบาทเป็นวัสดุที่ใช้ในการอนุรักษ์โบราณสถาน เนื่องจากมีความยืดหยุ่นดีกว่าปูนซีเมนต์ หากแต่ก็ยังมีการใช้ในการทำปูนปั้นประดับตามศาสนสถานบางแห่งบ้าง
ว่าด้วยเรื่องปูนปั้น
ปูนปั้นเป็นงานศิลปกรรมประเภทหนึ่งที่ได้จากการใช้ปูนผสมกับวัสดุต่างๆ แล้วปั้นเป็นลวดลายประดับสิ่งก่อสร้างให้เกิดความสวยงาม จากหลักฐานทางโบราณคดีชี้ให้เห็นว่ามนุษย์ในพื้นที่ส่วนต่างๆ ของโลกรู้จักปั้นปูนประดับตกแต่งอาคารและศาสนสถานมาเป็นเวลานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นในอารยธรรมเมโสโปเตเมีย อารยธรรมกรีกอารยธรรมโรมัน และอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ เป็นต้น สำหรับในประเทศไทยมนุษย์รู้จักปั้นปูนประดับอาคารมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖ ดังปรากฏหลักฐานปูนปั้นประดับศาสนสถานสมัยทวารวดีตามที่ต่างๆและยังเป็นที่นิยมเรื่อยมาทั้งในล้านนา สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์
จากข้อมูลการศึกษาปูนปั้นโบราณทำให้ทราบว่า ปูนปั้นแต่ละแห่งมีส่วนผสมแตกต่างกันไป แต่หลักๆ จะประกอบด้วยส่วนผสมสำคัญ ๔ ส่วน คือ ปูนขาว ทราย เส้นใย และกาว ส่วนผสมทั้งสี่นี้ช่างโบราณจะนำมาตำหรือโขลกรวมกันให้เป็นเนื้อเดียว และเรียกปูนที่ได้จากขั้นตอนนี้ว่า “ปูนตำ” หรือบางแห่งก็เรียก ปูนโขลก ปูนทิ่ม และปูนสดคุณสมบัติของปูนตำเป็นปูนที่มีความเหนียวและความแข็งแรง เนื่องจากมีเส้นใย กาว และเม็ดทรายผสมอยู่ หากแต่ก็มีความอ่อนตัวพอที่จะสามารถนำไปปั้นให้เป็นลวดลายต่างๆ ได้ ซึ่งเมื่อปูนที่ปั้นถูกอากาศก็จะทำปฏิกิริยากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และกลายสภาพเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตที่มีความแข็งแรงอีกครั้งหนึ่ง
ปัจจุบันงานปูนปั้นในประเทศไทยยังคงมีผู้สืบทอดต่อกันมาในแต่ละสกุลช่าง แต่ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือปูนปั้นสกุลช่างเพชรบุรีซึ่งสืบทอดต่อมาจากครูพิน อินฟ้าแสง โดยอาจารย์ทองร่วง เอมโอษฐ์ ศิลปินแห่งชาติ กลุ่มช่างเหล่านี้จะมีบทบาททั้งในการซ่อมแซมอนุรักษ์ปูนปั้นโบราณ และการสร้างผลงานใหม่ประดับตามวัดวาอารามต่างๆ ลวดลายปูนปั้นที่ได้นอกจากจะแสดงถึงความงดงามและถ่ายทอดเรื่องราวที่ผู้ปั้นต้องการสื่อสารแล้ว ยังสะท้อนถึงภูมิปัญญาที่สืบเนื่องต่อมาซึ่งมีคุณค่าทางวัฒนธรรมอย่างมากด้วย
"บุ" หมายถึง การตี การแผ่ การกดทับ โดยการเอาโลหะที่มีลักษณะบางๆ ทำการหุ้มของบางสิ่งเข้าไว้ หรือการตีให้เข้ารูป การบุในเชิงช่างบุจึงหมายถึง การนำเอาโลหะชนิดใดชนิดหนึ่งมาตีแผ่ออกให้เป็นแผ่นบางๆ ตามขนาดที่ต้องการ แล้วนำไปหุ้มหรือปิดบนเค้าโครงของชิ้นงาน เพื่อปิดประดับเป็นผิวภายนอก ซึ่งบนแผ่นโลหะนั้นอาจจะมีการดุนลวดลาย เพื่อสร้างความสวยงามให้เกิดลายเป็นรอยนูนขึ้น โลหะที่นิยมใช้ ได้แก่ ทองคำ เป็นโลหะสีเหลืองสุกปลั่ง มีเนื้ออ่อน มีความเหนียว เงิน เป็นโลหะสีขาว เนื้อค่อนข้าง่อน ทองแดง เป็นโลหะแดง เนื้ออ่อน มีความเหนียวยืดหยุ่น บุให้เป็นแผ่นบางและรีดเป็นเส้นลวดได้ง่าย ทองเหลือง เป็นโลหะสีเหลือง ที่เกิดจากการผสมระหว่างทองแดงและสังกะสี มีคุณสมบัติคล้ายทองแดง แต่มีความแข็งแรงกว่า
๕ สิงหาคม ๒๕๕๘ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร จัดการประชุมเรื่อง "แนวทางการพัฒนาหอจดหมายเหตุแห่งชาติในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค" ณ ห้องประชุมหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี โดย นางสุนิสา จิตรพันธ์ รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธาน
การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อหาแนวทางพัฒนางานเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับงานจดหมายเหตุให้มีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานเดียวกัน
รายงานการเข้ารับการอบรม ณ ประเทศญี่ปุ่น
เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมเรื่อง การอนุรักษ์บานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น
ณ สถาบันวิจัยมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติ National Research Institute for Cultural Properties (NRICPT) ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
ระยะเวลา ๑๓ วัน (ระหว่างวันที่ ๑๕ – ๒๗ กันยายน ๒๕๕๗)
วิทยากรและทีมงาน
๑. Takeshi ISHIZAKI
Deputy Director General
Director, Center for conservation Science and Restoration Techniques
National Research Institute for Cultural Properties, Tokyo
๒. Masahiko TOMODA
Head, Conservation Design Section
Japan Center for International Cooperation in Conservation
National Research Institute for Cultural Properties, Tokyo
๓. Yasuhiro HAYAKAWA
Head of Analytical Science Section
Center for Conservation Science & Restoration Techniques
National Research Institute for Cultural Properties, Tokyo
๔. Masahide INUZUKA
Senior Researcher
Center for Conservation Science & Restoration Techniques
National Research Institute for Cultural Properties, Tokyo
๕. Katsura SATO
Research Fellow
Japan Center for International Cooperation in Conservation
National Research Institute for Cultural Properties, Tokyo
๖. Yoko FUTAKAMI
Head, Research Information Section
Department of Art Research, Archives and Information Systems
National Research Institute for Cultural Properties, Tokyo
๗. Yoshihiko YAMASHITA
Fixed-term Reseacher
Japan Center for International Cooperation in Conservation
National Research Institute for Cultural Properties, Tokyo
๘. Takayuki HONDA
Lecturer
Department of Applied Chemistry
Meiji University
กำหนดการอบรม
๑๕ กันยายน ๒๕๕๗
๐๕.๕๕ น. ออกเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ
๑๔.๐๐ น. ถึงสนามบินนาริตะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
และเข้าพักที่โรงแรมอูเอโนะเทอร์มินอล กรุงโตเกียว
๑๖ กันยายน ๒๕๕๗
๑๐.๐๐ - ๑๐.๔๐ น. พิธีเปิด
๑๐.๔๐ – ๑๑.๐๐ น. ฟังการบรรยาย เรื่อง โครงสร้างและผลงานของสถาบันวิจัยมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติ
๑๑.๐๐ – ๑๒.๓๐ น. ฟังการบรรยาย เรื่อง การควบคุมสภาพแวดล้อมในห้องปฏิบัติงานและการกำจัด แมลงในวัตถุก่อนดำเนินการอนุรักษ์
๑๓.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. ฝึกปฏิบัติการ ตรวจสอบสภาพวัตถุด้วยตาเปล่า
๑๖.๐๐ – ๑๗.๓๐ น. ฟังการบรรยาย เรื่อง การตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์เพื่อหาชนิดและองค์ประกอบ ของยางรักและไม้
๑๗ กันยายน ๒๕๕๗
๐๙.๓๐ – ๑๐.๓๐ น. ฟังการบรรยาย เรื่อง การตรวจสอบโครงสร้างของบานไม้ประดับมุกด้วยการ X-ray
๑๐.๓๐ – ๑๒.๓๐ น. ฟังการบรรยาย เรื่อง การตรวจสอบด้วยเครื่อง X-ray Fluorescence Spectrometer
๑๓.๓๐ – ๑๔.๓๐ น. ฟังการบรรยาย เรื่อง เครื่องประดับมุกในสมัยเอโดะที่ใช้เปลือกหอยแบบบาง เชื่อมโยงกับบานไม้ประดับมุก วัดราชประดิษฐ์
๑๔.๓๐ – ๑๗.๐๐ น. สรุปลักษณะการเสื่อมสภาพทางโครงสร้างและพื้นผิวของวัตถุ หลังจากตรวจสอบด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์
๑๘ กันยายน ๒๕๕๗
๑๐.๐๐ – ๑๑.๐๐ น. เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการตรวจสอบวัตถุด้วย X-ray Fluorescence
๑๑.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการถ่ายภาพโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. ฟังการบรรยาย เรื่อง ประวัติเครื่องรักญี่ปุ่น
๑๔.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. ฝึกปฏิบัติการดังนี้
- การเตรียมกาวหนัง กาวHPC
- การเตรียมแผ่นเปลือกหอย การลงสีและการปิดแผ่นเงินเปลว
- การตัดกระดาษกัมปิ การเตรียมกาวแป้งเพื่อใช้ผนึกส่วนที่ชำรุดชั่วคราว (เทคนิคโยโจ)
๑๙ กันยายน ๒๕๕๗
๑๐.๐๐ – ๑๒.๓๐ น. ฝึกปฏิบัติการดังนี้
- การเตรียมกาวหนัง (ต่อ)
- การใช้เทคนิคโยโจในการผนึกตัวอย่างชิ้นงาน
- ทดสอบประสิทธิภาพของกาวประเภทต่างๆในการผนึกตัวอย่างชิ้นงานที่มีรูปแบบแตกต่างกัน
๑๓.๓๐ – ๑๘.๐๐ น. สาธิตการเสริมความแข็งแรงของพื้นผิวบนชิ้นงานจริง
ฝึกปฏิบัติการกด ยึดและตรึง ส่วนที่ผนึกไว้ด้วยกาวโดยการใช้โครงไม้
๒๐ – ๒๑ กันยายน ๒๕๕๗ (วันหยุดเสาร์ – อาทิตย์)
๒๒ กันยายน ๒๕๕๗
๑๐.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. แสดงตัวอย่างกาวหนังประเภทต่างๆ อธิบายการกรีดยางรักของประเทศญี่ปุ่น ฝึกปฏิบัติการเตรียมกาวจากยางรัก
๑๕.๐๐ – ๑๘.๐๐ น. ฝึกปฏิบัติการผนึกขอบชิ้นงานด้วยกาวจากยางรักและการซ่อมเติมรอยแตกร้าวสาธิตการผนึกและยึดตรึงบนชิ้นงานจริง
๒๓ กันยายน ๒๕๕๗ (วันหยุดราชการ)
๒๔ กันยายน ๒๕๕๗
๐๙.๓๐ – ๑๒.๓๐ น. ฝึกปฏิบัติการดังนี้
- การเตรียม Filler
- การทำความสะอาดพื้นผิวรักด้วยสารเคมี
๑๓.๓๐ – ๑๔.๓๐ น. ฝึกปฏิบัติการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะการเสื่อมสภาพของยางรักและเปลือกหอย จากโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุแบบอื่นๆ
๑๔.๓๐ – ๑๘.๐๐ น. ฟังการบรรยาย เรื่อง ลักษณะเสื่อมสภาพของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่มียางรักและเปลือกหอยเป็นส่วนประกอบและตัวอย่างขั้นตอนการอนุรักษ์
๒๕ กันยายน ๒๕๕๗
๐๙.๓๐ – ๑๒.๓๐ น. ฝึกปฏิบัติการดังนี้
- การทำความสะอาดบนชิ้นงานจริง
- การทำพายไม้เพื่อเป็นเครื่องช่วยในการเติมส่วนที่หายไป
๑๓.๓๐ – ๑๘.๐๐ น. ฝึกปฏิบัติการผสม Filler และฝึกเติม Filler ในอัตราส่วนต่างๆ
๒๖ กันยายน ๒๕๕๗
๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.ฟังการบรรยาย เรื่อง กรณีศึกษาการอนุรักษ์โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและตอบข้อสงสัย
๒๗ กันยายน ๒๕๕๗
เดินทางกลับประเทศไทย จากสนามบินนาริตะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เวลา ๑๘.๔๕ น. ถึงสนามบินสุวรรณภูมิเวลา ๒๓.๒๕ น.
ค่าใช้จ่าย วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆในระหว่างการฝึกอบรม
ผู้เข้ารับการอบรม ๖ คน ประกอบด้วย
๑. ผู้แทนจากกรมศิลปากร ๔ คน ดังนี้
๑.๑ สำนักช่างสิบหมู่
นายธนาวัฒน์ ตราชูชาติ นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน
นายนภดล แกล้วทนงค์ นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน
๑.๒ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
นายสรรินทร์ จรัลนภา นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ
นายสุชาติ บูรณะ เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์ปฏิบัติงาน
๒. ผู้แทนจากสำนักพระราชวัง โรงเรียนช่างฝีมือในวัง (ชาย) ๒ คน ดังนี้
นายบุญชัย ทองเจริญบัวงาม หัวหน้าแผนกงานช่างฝีมือประดับมุก
นายณรงค์ชัย หูตาชัย อาจารย์ประจำแผนกงานช่างฝีมือประดับมุก
สรุปผลการอบรม
การอบรมในครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อนักอนุรักษ์ ช่างฝีมือ เจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้องกับการ ปฏิบัติงานด้านเครื่องรักประดับมุก ทั้งในครอบครองของพิพิธภัณฑ์ วัด หรือของเอกชนเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น
๑. ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในแนวทางการอนุรักษ์งานประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น
๒. เพิ่มพูนทักษะด้านวิธีการอนุรักษ์งานประดับมุกศิลปะญี่ปุ่น
๓. ได้เรียนรู้และเข้าใจถึงขบวนการตรวจสอบหาสาเหตุการเสื่อมสภาพของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ด้วยขบวนการทางวิทยาศาสตร์
๔. ได้เรียนรู้เรื่องวัสดุและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการอนุรักษ์งานประดับมุก
๕. ได้เข้าใจในทุกขั้นตอนก่อนที่จะได้ยางรักมาใช้ในงานศิลปะ เพื่อให้สามารถเลือกยางรักมา ใช้ในการอนุรักษ์ได้อย่างถูกประเภท
๖. ได้เข้าใจถึงประเภทและองค์ประกอบยางรักที่พบในภูมิภาคนี้
๗. เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้จากทั้งวิทยากรและผู้เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับงานประดับมุก ของไทยและญี่ปุ่น
๘. ทำให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาการอนุรักษ์โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุประเภทงานประดับ มุก ระหว่างไทยและญี่ปุ่น
๙. ทำให้บุคลากรที่เข้ารับการอบรม ได้รับประสบการณ์และนำความรู้ที่ได้ มาปรับใช้และปรับปรุงพัฒนากับงานในหน้าที่ความผิดรับชอบในหน่วยงานของตน
ข้อเสนอแนะ
๑. ความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่ได้จากการฝึกอบรม จะเป็นแนวทางหนึ่งในการนำมา ปรับใช้ในการอนุรักษ์โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ไม่เพียงงานประดับมุก แต่ยังรวมไปถึงการอนุรักษ์วัสดุประเภทอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
๒. ควรมีการเผยแพร่แนวทาง วิธีการดูแลรักษา และการอนุรักษ์งานแก่เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในประเทศ พร้อมทั้งควรมีการจัดอบรม โดยขอความร่วมมือนักอนุรักษ์ที่มีความเชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาเป็นวิทยากร เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับบุคลากร และผู้ที่ทำงานในด้านนี้
หมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง วรรณกรรมพุทธศาสนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 22 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับชาดทึบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534